พุทธภูมิอินเดีย นมัสเตเนปาล

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย paang, 1 เมษายน 2009.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระมหาเจดีย์เพาธนาถ เจดีย์ใหญ่สุดในเนปาล


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เดินทางร่วมไปกับบริษัทไทย ออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อกราบนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดียและเนปาล 5 วัน

    ได้เห็นเรื่องราวแปลกใหม่ ในดินแดนอันเก่าแก่ และเป็นต้นแบบอารยธรรมเอเชีย

    ที่ทำให้คิดหนักในการไปเยือนอินเดียและเนปาลครั้งนี้คือ มาตรฐานของความสะอาดของบ้านเมือง อาหารการกิน ห้องน้ำ ห้องพัก ที่อาจทำให้นักท่องเที่ยวหน้าใหม่ไม่ค่อยสนุกกับการไปเยือน

    ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 8820 ในเวลา 12.10 น. ใช้เวลาราวสองชั่วโมงกว่าๆ ลงจอดส่งผู้โดยสารบางส่วนที่ต้องการไปเยือนตำบลพุทธคยา และรอรับผู้โดยสารที่ต้องการขึ้นเครื่องไปเมืองพาราณสี

    ผู้โดยสารจากประเทศไทยนั่งรออยู่ในเครื่องบินราวๆ 20 นาที เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็พาพวกเราเหินฟ้าต่อไปยังจุดหมายแรกของทริป คือท่าอากาศยานนานาชาติพาราณสี ในเวลาบ่ายสามโมงครึ่ง

    เดินทางด้วยรถบัส เช็กอินที่โรงแรมภายในเมืองพาราณสี ได้รับแจ้งว่าพระราชรัตนรังษี (ท่านเจ้าคุณพระวิเทศโพธิคุณ) ท่านเจ้าคุณเจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ จะทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตให้คณะ

    ใช้เวลาร่วมชั่วโมงจากสนามบินมายังโรงแรม เพราะสภาพการจราจรคับคั่ง รวมถึงการจำกัดความเร็วของรถบัส กว่าจะฝ่าความคับคั่งของผู้คนที่เดินขวักไขว่บนท้องถนน รถราและพาหนะนานาชนิด ทั้งที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงและที่กินหญ้าเป็นอาหาร ทำเอาผู้โดยสารหน้าใหม่ในอินเดียทั้งหลายต้องเป็นผู้ตื่นตัวตลอดเวลา

    ขณะเดียวกันก็มีเสียงกรี๊ด วี้ดว้าย ยามเมื่อโชเฟอร์แตะเบรกหลังรถคันอื่นไม่ถึงคืบ หรือในยามที่พบว่ารถของเราวิ่งสวนกับรถอีกคันได้ทั้งๆ ที่ห่างกันไม่ถึงคืบ

    มิน่ารถยนต์หลายคันที่เห็นถึงไม่มีกระจกข้าง แต่ในที่สุดก็ถึงที่พักโดยสวัสดิภาพ

    ตีห้าของคืนวันแรกที่ไปถึง ประเดิมภารกิจด้วยการไปยังแม่น้ำคงคา แม้แค่สิบกว่านาทีหลังลงจากรถไปยังแม่น้ำ แต่ก็เป็นเวลาที่ยาวนานสำหรับหลายคน เพราะทุกคนต้องระแวดระวังกับของเสียประเภทต่างๆ ที่มีคนทิ้งไว้ รวมถึงผู้คนที่นอนอยู่ตามทางแคบๆ ที่เราเดินผ่านไป เพราะยามนั้นทั้งมืดและหมอกลงค่อนข้างหนา

    จากนั้นก็เดินต่อแถวกันไปขึ้นเรือ ล่องไปตามแม่น้ำโดยฝีพายอินเดีย ชมพิธีบูชาพระอาทิตย์และการอาบน้ำล้างบาปของชาวฮินดูริมแม่น้ำและพิธีการเผาศพที่มีมานานกว่า 4,000 ปี ว่ากันว่ากองไฟยังไม่เคยดับมอดเลย

    ฟ้าเริ่มสาง หมอกก็เริ่มจาง พอที่จะทำให้มองเห็นสิ่งปลูกสร้างบนฝั่งที่เพิ่งเดินฝ่ามา มีคนบอกว่าสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำคือที่พักของคนที่ใกล้ตาย หรือมรณาโฮเตล

    คนใกล้ตายเหล่านี้จะมาเช่าพักอาศัยเพื่อรอวันตาย เพื่อจะได้ทำพิธีศพที่แม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

    บางตึกเป็นบ้านเรือนของผู้ที่ทำหน้าที่เหมือนสัปเหร่อบ้านเรา ไกด์บอกว่าคนที่จะจองที่พักที่นี่ได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใกล้ตายจริงๆ เท่านั้นทางโรงแรมจึงจะรับไว้
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

    2.ของที่ระลึก กาฐมาณฑุ

    3.ธรรมเมกขสถูป

    4.พระมหาเจดีย์สยัมภูวนาถหรือวัดลิง

    5.อาบน้ำล้างบาปริมคงคา

    6.คลินิกไทยในอินเดีย

    7.กลางกรุงพาราณสี

    8.จราจรคับคั่งในอินเดีย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ต่อจากนั้นคณะของเราก็เดินทางต่อไปยังเมืองสารนาถ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงพาราณสี 7 ก.ม.เพื่อกราบนมัสการธรรมเมกขสถูป ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ พระมูลคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า เสาศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก กลุ่มซากกุฏิ และนำชมเจาคันธีสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์ก่อนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    รวมถึงได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองสารนาถ ซึ่งไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้

    จากนั้นออกเดินทางไปเมืองกุสินาราซึ่งกินเวลาเกินที่คาดหมายไว้คือ 9 ช.ม. เพราะสภาพการจราจรที่ติดขัด กว่าจะเดินทางไปถึงโรงแรมที่พักในกุสินาราก็เกินไป 10 กว่าช.ม.

    หรือจากสองทุ่มเป็นเกือบเที่ยงคืน

    เช้าต่อมาไปนมัสการสถานที่ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน และสถูปพระเจ้า อโศกมหาราชที่ดำริให้สร้างพระสถูปนี้ขึ้น

    ที่นี่ได้มีโอกาสร่วมทำบุญสมทบทุนในการก่อสร้าง กุสินาราคลินิก เพื่อร่างกายและจิตใจ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ซึ่งคลินิกแห่งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสถานทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ มูลนิธิฮารานามซิงห์ ฮารบันส์กอร์ (สัจจเทพ) กรุงนิวเดลี เพื่อเป็นสาธารณกุศลช่วยรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นสื่อกลาง

    คลินิกแห่งนี้จะเปิดร่วมกับทางการอินเดียในวันที่ 12 ส.ค.2543 รับตรวจรักษาโรคทั่วไปด้วยแพทย์ปริญญา ทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ

    และยังจะเชิญแพทย์อาสาทั้งในอินเดียและจากกรุงเทพฯ มาให้การตรวจรักษาผู้ป่วยด้วย ที่สำคัญยังรักษาฟรี ให้บริการผู้ป่วยโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา

    พระราชรัตนรังษีเผยว่า ที่ต้องสร้างวัดไทยรวมถึงสถานรักษาพยาบาลอย่าคิดว่าไทยมาสร้างวัดให้แขก ขนสินทรัพย์ในประเทศมาให้อาบัง คิดอย่างนี้ระวังเป็นบาปทางใจ

    เพราะที่เรามาอยู่เป็นต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา เมืองแห่งพุทธบิดา เป็นดินแดนที่ให้อะไรกับเรามาก่อนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบาตร ไตรจีวร พระไตรปิฎก บทสวดมนต์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเป็นอยู่ในบ้านพุทธ เมืองไทย พูดอย่างไม่อายว่าเราได้มาจากแขกทั้งนั้น

    การสร้างวัดไทยในอินเดีย เป็นการถวายเป็นพุทธบูชา หมายถึง บูชาพระคุณองค์ผู้เป็น "นาถะ" ของโลก เป็นการตอบแทนคุณพระพุทธศาสนา

    ผลพลอยได้ของการมีวัดไทยในอินเดียเท่ากับเป็นการสงวนพื้นที่ไว้ดูแลคนของเรา คนไทยที่ไปประกอบกิจทางศาสนา ได้ปฏิบัติธรรมตามสะดวกในดินแดนอันเป็นสัปปายะ สำหรับผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

    "ผู้เดินทางมาบูชากราบไหว้พระพุทธเจ้าตามพุทธสถานในพุทธภูมิล้วนมากันด้วยพลังศรัทธา อันเกิดจากพุทธวจนะที่ทรงชี้นำ เหมือนว่าเป็นการเชื้อเชิญ หรือกวักพระหัตถ์ให้โอกาสทองมาได้รับสิ่งดีๆ แก่ชีวิต โดยนำสังเวชนียสถาน 4 แห่งมาเป็นสื่อการเข้าถึงพระรัตนตรัย"
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    วิถีเนปาล/พระราชรัตนรังษี

    ของที่ระลึกรายล้อม//พระราชวังโบราณ กาฐมาณฑุ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    นี้คือคำที่พระพุทธองค์ทรงสอนในมหาปรินิพพานสูตรให้วิถีแก่เราได้เข้าใกล้พระองค์ โดยอาศัยสังเวชนียสถานเป็นสื่อนำเข้าถึงสิ่งควรที่จะดู ควรจะเห็น ควรให้เกิดสังเวชแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย และพึงนมัสการด้วยความเคารพ ต่อที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และปรินิพพาน

    สำหรับวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองปีการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นเสมือนศูนย์กลางหนึ่งของคนไทยที่อาศัยอยู่ในอินเดีย หรือคนไทยที่เดินทางมาเยือนถิ่นพุทธภูมิ และนอกจากเป็นที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังเป็นเสมือนสถานศึกษาและให้ทุนการศึกษากับพระสงฆ์เดินทางมาศึกษาต่อและเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือพระธรรมทูต

    สถานที่ต่อไป คือสวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ประเทศเนปาล โดยต้องทำบัตรผ่านแดนที่ด่านโสเนารีก่อน ระหว่างรอทำบัตรมี "ส้วมดี มีสุข 960" ภายใต้แนวคิด "สวรรค์บนดินชายแดนอินเดีย-เนปาล" ห่างจากเขตชายแดนอินเดียก่อนเข้าสู่ลุมพินีประมาณ 2 ก.ม.

    นอกจากจะเป็นที่ปลดทุกข์แล้วยังเป็นที่พักรับประทานอาหาร ถวายเพลพระ เป็นศูนย์รวมของนักเรียนไทยและคนไทยที่จะเดินทางต่อไปยังเนปาล ซึ่งบางครั้งอาจประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การจลาจลในเนปาล จนทำให้ด่านปิดทำการ ซึ่งเกิดได้บ่อยครั้ง ก็จะทำให้คนไทยมีที่พักรอด่านเปิดทำการ

    พระราชรัตนรังษีเล่าความเป็นมาของห้องส้วมนี้ว่า เดิมจะขอเช่าที่ดินวัดพม่าเพื่อสร้างส้วม แต่ทางนั้นไม่ยอม เลยต้องตัดใจซื้อที่ดินในนามมูลนิธิวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2550 ที่ผ่านมา และมีโครงการขยายสาขาส้วมดีมีสุขนี้ทั่ว สังเวชนียสถานต่อไป

    เมื่อทำบัตรผ่านแดนเสร็จก็ตรงเข้าพักที่โรงแรมฝั่งเนปาล ตื่นเช้ามาเดินทางไปสวนลุมพินีวัน โดยสายการบินภายในประเทศ โดยบินผ่านเทือกเขาเอเวอเรสต์

    ช่วงบ่าย สักการะมหาเจดีย์เพาธนาถ เจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเนปาล เมื่อมองขึ้นไปยังเจดีย์จะเห็นแนวธงที่ติดห้อยลงมาจากยอดเจดีย์ถึงพื้น โดยเป็นทั้งสี่มุมของเจดีย์ สร้างสีสันให้กับเจดีย์

    ชาวเนปาลบอกว่าเป็นธงแห่งพุทธมนต์ เมื่อลมพัดก็จะพัดพาความศักดิ์สิทธิ์แห่งมนต์นั้นมาห่อหุ้มคุ้มครองตัวเรา และบ้านเมืองไว้ตลอดเวลา

    บริเวณของเจดีย์ก็มีสินค้าหลากหลายให้ขาช็อปละลายทรัพย์ แต่หากคาดหวังว่าจะซื้อเครื่องประดับทำจากหินเนปาล ที่บรรดาผู้ค้าแม่ค้าไทยทั้งหลายอ้างว่านำเข้ามาจากเนปาลนั้น พอไปถึงที่กลับไม่เห็นหินที่ว่า แถมสินค้าหลายอย่างก็คล้ายกับที่มีในไทยแต่ราคาถูกกว่ามาก

    ตกเย็นไปเยือนตลาดสินค้าย่านทาเมลน่า ไปถึงเกือบสองทุ่ม ประกอบกับไฟฟ้าดับทั้งเมือง ทำให้บรรยากาศการช็อปหดไป สอบถามจากคนที่นี่บอกว่าเป็นการประหยัดพลังงานตามนโยบายรัฐบาล

    ส่วนสินค้าที่นักช็อปจะได้เจอที่นี่มีตั้งแต่เสื้อผ้าสไตล์เนปาล ผ้า พรม ราคาไม่แพง ต่อรองได้สบายๆ เพราะพ่อค้าแม่ค้าใจดี และดูเหมือนว่าจะถูกชะตากับบรรดานักช็อปคนไทยเป็นพิเศษ หากรู้ว่าเป็นคนไทยก็จะลดราคาและชวนคุยเรื่องสัพเพเหระมากกว่าการขายของ

    นับว่าเป็นอีกเสน่ห์ของชาวเนปาล

    วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ ไปชมความงามของพระราชวังโบราณของกาฐมาณฑุและบริเวณชุมชนหนุมานโธก้า ใจกลางกาฐมาณฑุ

    นอกจากจะมีกลุ่มพระราชวังต่างๆ ให้ชมแล้ว ยังเป็นย่านตลาดขายสินค้าตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก ส่วนใหญ่ทำมาจากทองเหลือง ดูแล้วคลาสสิคน่าซื้อ สนนราคาต่อรองกันได้

    ที่น่าสนใจคือ เทวสถานกุมารี หรือเทวดาเดินดิน ซึ่งชาวเนปาลเชื่อว่าเป็นเทพธิดาที่มีชีวิตอยู่คู่บ้านคู่เมือง คัดเลือกจากบุตรสาวแห่งพุทธตระกูล "ศากยวงศ์" ที่สืบทอดมากว่า 2,000 ปี และจะหมดสิทธิ์การเป็นกุมารีทันทีเมื่อเด็กหญิงมีเลือดออกจากร่างกายครั้งแรก

    เที่ยงวันไปสักการะพระมหาเจดีย์สวยัมภูนาถ หรือวัดลิง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ามานะเทวะในปี ค.ศ.420 ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาทางทิศตะวันตกของกาฐมาณฑุ ที่นี่เต็มไปด้วยลิงสมชื่อ หากนักท่องเที่ยวไปเยือนก็ควรระมัดระวังตัว ไม่ควรหิ้วข้าวของพะรุง พะรัง เพราะอาจถูกลิงแย่งไปได้

    พระมหาเจดีย์มีดวงตาและคิ้วโดยรอบ ชาวเนปาลเชื่อว่าด้วยดวงตานี้จะทำให้มองเห็นความดีของผู้คน ซึ่งชาวพุทธนิกายมหายานได้สร้างกงล้อภาวนาขึ้นมา เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการสวดมนต์ ทำวัตรเช้าและเย็น โดยการหมุนกงล้อภาวนาพร้อมกับท่องมนต์ว่า "โอม มณี ปัทเมหุม" ภายในกงล้อภาวนาบรรจุคัมภีร์ 84,000 พระธรรมขันธ์ เชื่อกันว่าเมื่อหมุนหนึ่งรอบ หมายความว่าเราได้สวดมนต์ตามพระคัมภีร์ 84,000 พระธรรมขันธ์ไปด้วย

    คงเพราะกาฐมาณฑุหนึ่งในสี่เมืองที่องค์การยูเนสโกยกให้เป็นเมืองมรดกโลก ทำให้ทุกวันนี้ที่นี่ยังเป็นเมืองที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรม ตึกรามบ้านช่องต่างๆ ในเมืองก็มีความกลมกลืนกันกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

    จากภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างทิเบตและอินเดีย ทำให้คนเนปาลหน้าตาคมขำแบบแขกแต่ผิวเหลืองขาวแบบทิเบต หรือคนหน้าตาหมวยๆ ผิวขาวๆ ใส่ส่าหรี

    และแม้ว่ากว่า 80% จะนับถือศาสนาฮินดู แต่ผู้คนที่นี่ก็อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือน

    เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ใครต่อใครตกหลุมรักเนปาลมาอย่างต่อเนื่อง



    วรนุช มูลมานัส รายงาน
    ที่มา www.khaosod.co.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...