มาทวน สมุทัย กัน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 20 มีนาคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กัณฑ์ที่ ๗๘
    คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ว่าด้วยสมุทัยอริยสัจ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยายํ ตณฺหาติ ยา อยํ ตณฺหา ฯ โปโนพฺภวิกาติ ปุนพฺภกรณํ ปุนพฺภโว โส สีลมสฺสามิ โปโนพฺภกาติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภัร์ปฏิสัมภิทามรรม กัณฑ์ที่ ๗๘ ว่าด้วยสมุทัยอริยสัจ สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน หาประมาณมิได้

    อรรถกถา<o:p></o:p>
    ก็คำว่า สมุทัยอริยสัจ แปลว่า ความจริงของพระอริยเจ้า คือ สมุทัย ฯ สมุทัยนั้น แปลว่า เหตุให้เกิด ฯ นั้น ได้แก่เหตุให้เกิดทุกข์ ฯ นั้น ในพระบาลีว่า ได้แก่ตัณหาอันทำให้เกิดอีก อันปรพกอบด้วยความเพลิดเพลิน อันยินดียิ่งในสิ่งนั้น ๆ ตัณหานั้น เมื่อว่าโดยประเภท ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ เมื่อกจะเกิดก็จะเกิดในบียรูป สาตรูป เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ในบียรูป สาตรูป ฯ บียรูปผ สาตรูปนั้น แปลว่า สิ่งที่รักที่พอใจ ๆ นั้น มีทั้งที่ตาแลเห็น และตาไม่แลเห็น ท่านได้จำแนกไว้เป็น ๑๐ หมวด ๑๐ หมู่ ๑๐ ประการ ด้วยกัน คือ ท่านจำแนกไว้ว่า ได้แก่อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๑ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ๑ วิญญาณ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆาณวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ๑ สัมผัส ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆาณสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ๑ เวทนา ๖ คือ เวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆาณสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ๑ สัญญา ๖ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธรรมสัญญา ๑ สัญเจตนา ๖ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา โผฏฐัพพะสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ๑ ตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ๑ วิตก ๖ คือ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ๑ วิจาร ๖ คือ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร โผฏฐัพพะวิจาร ธรรมวิจาร ๑ รวมเป็น ๑๐ หมวด ด้วยกัน ดังนี้ ฯ ท่านทั้งหลายจงจับใจความไว้ว่า ตัณหา ๓ ประการนั้น ย่อมเกิดในบียรูป สาตรูป ทั้ง ๖๐ นี้ ย่อมตั้งอยู่ในบียรูป สาตรูป ทั้ง ๖๐ นี้ ทั้งจงจำไว้ว่า บียรูป สาตรูป ทั้ง ๖๐ นี้ เมื่อย่อลงก็คงเป็น ๑๐ คือ อายตนะภายใน ๑ ภายนอก ๑ วิญญาณ ๑ สัมผัส ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ สัญเจตนา ๑ ตัณหา ๑ วิตก ๑ วิจาร ๑ ย่อลงมาก็คงเหลือ ๒ คือ อายตนะภาในกับภายนอกเท่านั้น คำว่า ตัณหา เกิดในอายตนะภายในภายนอก และตั้งอยู่ในอายตนะภายในภายนอกนั้น พอเป็นที่เข้าใจได้ง่าย ด้วยว่า ตัณหาย่อมเกิดและตั้งอยู่ในอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารณ์ ส่วนข้อที่ว่า ตัณหาเกิดและตั้งอยู่ในวิญญาณ ๖
    สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ นั้น ยังเป็นที่เข้าใจได้ยาก หากจะตั้งปัญหาขึ้นว่า ตัณหาเกิดในวิญญาณ ๖ คือ เกิดในจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆาณวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณนั้น คือ เกิดอย่างไร และตัณหาตั้งอยู่ในวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น คือ ตั้งอยู่อย่างไร ดังนี้ ก็จะตอบได้ยากมาก จะทำความอึดอัดใจให้แก่ผู้ที่คิดจะตอบ ถึงแม้ว่า ข้ออื่น ๆ ต่อไปก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงควรคิดให้เข้าใจในข้อนี้เสียก่อน เพราะเมื่อเข้าใจในข้อนี้แล้ว ก็จะเข้าใจในข้ออื่นต่อไป เพราะฉะนั้น จึงตอบปัญหาข้อนี้ตามอัตโนมัติไว้ว่า เมื่อเกิดจักขุวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตาขึ้นแล้ว ตัณหาอันเกี่ยวกับสิ่งที่ตาเห็นนั้นก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อเกิดโสตวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางหู เกิดฆาณวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางจมูก เกิดชิวหาวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางลิ้น เกิดกายวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางกาย เกิดมโนวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางใจขึ้นแล้ว ตัณหาอันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รู้สึกทางจมูก และทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้น ก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ตั้งอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงได้ใจความในข้อต่อ ๆ ไปว่า เมื่อเกิดสัมผัสอันใดขึ้น ตัณหาก็เกิดสัมผัสอันนั้น ตั้งอยู่ในสัมผัสอันนั้น เมื่อเกิดเวทนาอันใดขึ้น ตัณหาก็เกิดเวทนาอันนั้น เมื่อสัญญาอันใดเกิดขึ้น ตัณหาก็เกิดและตั้งอยู่ในสัญญาอันนั้น เมื่อสัญเจตนาอันใดขึ้น ตัณหาก็เกิดและตั้งอยู่ ในสัญเจตนาอันนั้น เมื่อตัณหาอันใดเกิดขึ้น ตัณหาอย่างอื่นก็เกิดและตั้งอยู่ในตัณหาอันนั้น เมื่อวิตกวิจารอันใดเกิดขึ้น ตัณหาก็เกิดและตั้งอยู่ในวิตกวิจารอันนั้น ดังนี้ ฯ ข้อที่ว่า ตัณหาเกิดในตัณหานั้น เป็นข้อที่น่าคิดว่า ตัณหาเกิดในตัณหาอย่างไร เมื่อฟังดูแล้วก็น่าลำบากใจในการที่จะตอบ เพราะคำนี้เป็นคำที่ไม่มีเทียบในภาษาของเราได้โดยง่าย แต่เมื่อคิดให้ละเอียดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า คำนี้เป็นคำที่เข้าใจง่าย เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า ตัณหาเกิดในตัณหานั้นคืออย่างไร ก็ให้ย้อยถามว่า คนเราเกิดที่ไหน เกิดในคนหรือต้นไม้ หรือเกิดในหีบในห่อสิ่งใด เมื่อย้อนถามอย่างนี้ เขาก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า คนเราก็เกิดในคนเราจะไปเกิดในสัตว์ ในต้นไม้ ในหีบห่ออย่างไรได้ คนเราก็เกิดในคนสัตว์ก็เกิดในตัวสัตว์ เมื่อเขานึกได้อย่างนี้แล้ว เขาก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า คำว่า ตัณหาเกิดในตัณหานั้น ได้แก่ตัณหาใหม่เกิดในตัณหาเก่า คือ ตัณหาอันใดเกิด ตัณหาอันนั้นก็เป็นที่เกิดของตัณหาใหม่ เปรียบเหมือนคนใดเกิดก่อน ต่อมาคนนั้นก็ต้องเป็นที่เกิดของคนภายหลัง คือ ได้เป็นพ่อแม่ของคนเกิดภายหลัง เพราะฉะนั้น คำว่า ตัณหาเกิดในตัณหานั้น ก็ได้แก่ตัณหาใหม่เกิดในตัณหาเก่า เหมือนคนเกิดในคนฉะนั้น ถ้าอย่างนั้น หากจะเรียกว่า ตัณหาเก่าเป็นเป็นพ่อแม่ตัณหาจะได้หรือไม่ ตอบว่า ได้ เมื่อได้ก็เป็นอันว่า ตัณหาต้องมีลูกหลานเหลนต่อ ๆ ไปไม่รู้จักจบสิ้น อย่างนั้นซิ แก้ว่า อย่างนั้น เพราะอะไร เพราะว่า ตัณหาเกิดแล้วก็เกิดอีก เกิดต่อ ๆ กันไป เป็น พ่อ แม่ ลูก หลาน เหลน กันเป็นลำดับ เอาละ เป็นอันว่าได้ใจความละว่า ตัณหาเกิดในตัณหา เหมือนคนเกิดในคน สัตว์เกิดในสัตว์ดังที่ว่ามาแล้ว ก็บียรูป สาตรูป ซึ่งแบ่งเป็น ๑๐ หมวด ๆ ละ ๖ ๆ นั้น หากจะย่อให้สั้นลงไปอีกจะได้หรือไม่ แก้ว่า ได้ คือ ย่อลงไปอีกก็มีเพียง ๒ อันได้แก่อายตนะภายในภายนอกเท่านั้น เพราะว่า วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ หรือยกคำว่า ๖ ออกเสีย ก็เหลือเพียงวิญญาณ สัมผัส เวทนา สัญญา สัญเจตนา ตัณนา วิตก วิจาร เท่านั้น สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกับอายตนะภายนอก ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะย่อที่จะเกิดที่อยู่แห่งตัณนาลงมาให้สั้นแล้ว จึงคงเหลือเพียง ๒ คือ อายตนะภายในภายนอกเท่านั้น ตัณนาทั้ง ๓ ประเภท นั้น เมื่อจะเกิด ก็เกิดในอายตนะภายในภายนอกทั้งนั้น คือ เกิดใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ในอายตนะภายในภายนอกเหล่านี้ ฯ ตัณหาเกิดใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น คือ อย่างไร คือ เมื่อสัตว์โลกทั้งหลายได้เห็น ตา หู จมูก ลิ้น กายของตน และนึกถึงใจของตน เกิดความพอใจก็มี เกิดความไม่พอใจก็มี เมื่อเกิดความพอใจก็จัดเป็นกามตัณหา เมื่อเกิดความไม่พอใจอย่างไรแล้ว ก็อยากให้เป็นอยู่อย่างนั้น ความอยากให้เป็นอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ภวตัณนา เมื่อไม่พอใจ ก็ไม่อยากให้มีเป็นอยู่ ความไม่อยากให้มีอยู่เป็นอยู่นั้น เรียกว่าวิภวตัณหา ฯ ก็ กามตัณหา ภสตัณหา วิภวตัณหา เกิดใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น คืออย่างไร คือ เมื่อได้เห็น รูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ นึกถึงอารมณ์ที่พอใจแล้ว ก็เกิดความรัก ความชอบ ความอยากได้ ความต้องการ ความรัก ความชอบ ความอยากได้ ความต้องการ ซึ่งเป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นกามตัณหา เมื่อได้มาแล้ว อยากให้เป็นของตนอยู่เสมอไป หรืออยากให้เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ ก็เป็นภสตัณหา เมื่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้นไม่เป็นที่พอใจของตน ตนก็ไม่อยากให้มีอยู่เป็นอยู่ ความไม่อยากให้มีอยู่ เป็นอยู่อย่างนั้นแหละ เป็นภวตัณหา แต่ตามอรรถกถาแห่งคัมภีร์สัทธัมมปกาสินีนี้ว่า กามตัณหานั้น ได้แก่ความยินดีในกามคุณ ๕ ภวตัณหานั้น ได้แก่ความยินดีในรูปภพ อรูปภพ รูปณาน อรูปณาม วิภวตัณหานั้น ได้แก่ความยินดีอันประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ คือ ความดีประกอบกับความเห็นว่า สัตว์โลกตายแล้วขาดสูญ ฯ คำว่า บียรูป สาตรูปนั้น ในอรรถกถาคัมภีย์นี้ว่า ได้แก่ความรักและความถูกใจ ส่วนตัณหาดังที่ว่ามาแล้วนั้น ว่าตามคัมภีร์อื่นนอกจากคัมภีร์นี้ ประกอบกับความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ เป็นอัตโนมัตาธิบาย ขอท่านผู้ฟังทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า ตัณหานั้น ย่อมทำให้เกิดขึ้น ย่อมประกอบด้วยความเพลิดเพลินยินดี ย่อมยินดีในอารมณ์นั้น ๆ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ตัณหานั้น ได้แก่ธรรมชาติที่ทำให้เกิดอีก และธรรมชาติอันประกอบกับความเพลิดเพลินยินดี อันยินดีในสิ่งนั้น ๆ คือ ยินดีในอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ฯ ความยินดีในอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ นั้นแหละ เป็นตัณหา แต่ว่าความยินร้ายในอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ก็เป็นตัณหาเหมือนกัน คือ เป็นวิภวตัณหา ฯ หากจะแปลคำว่า ตัณหา ออกให้เป็นภาษาของเราแล้ว ก็ต้องแปลว่า ความสะดุ้ง ความสะดุ้งนั้น แปลออกำปอีกชั้นหนึ่งว่า ความดิ้นรน ๆ นั้น ได้แก่ความอยาก ๆ นั้น แยกแกเป็น ๓ ประการ คือ ความอยากได้ ๑ ความยากให้มีอยู่เป็นอยู่ ๑ ความไม่อยากให้มีอยู่เป็นอยู่ ๑ ดังนี้ สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ<o:p></o:p>
    หากพิดผิดกราบขอขมาพระรัตนะไตรด้วยเทอญ
    จักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในจักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่ถูกปองร้าย ไม่มีความคับแค้น จงมีแต่ความสุขเถิด
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...