มารู้ จัก รูปสัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 22 มกราคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผุ้มาใหม่ในกรรมฐานควรพิจารณาให้เข้าใจ....


    อรรถกถา


    ในอรรถกถา ท่านได้อธิบายคำว่า รูปสัญญา เป็นต้นไว้ดังจะแสดงต่อไป คือ รูปสัญญานั้นท่านตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า รูเปสุ สณญา รูปสณญา แปลว่า


    ความจำในรูปทั้งหลาย เรียกว่ารูปสัญญา ดังนี้ ส่วนสัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญานั้นท่านไม่ได้พูดถึง เข้าใจว่าท่านให้เทียบกับรูปสัญญา ที่ท่านว่าไว้แล้วนั้นเพราะฉะนั้น จึงได้ความว่า สัญญานั้นแปลว่าความจำ แยกออกไปเป็น 6 ตามสิ่งที่จำทั้ง6 นั้น คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพ ธรรม ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วนั้นในกัณฑ์ก่อน เพราะฉะนั้นจงเข้าใจเถิดว่า รูปสัญญานั้น แปลว่าความจำรูป สัททสัญญาแปลว่าความจำเสียง คันทสัญญา แปลว่าความจำกลิ่น รสสัญญา แปลว่า ความจำรส โผฏฐัพพสัญญา แปลว่าความจำโผฏฐัพพะ ธัมมสัญญา แปลว่า ความจำธรรม ดังนี้ คำว่าสัญญาคำนี้ พวกเราไม่ได้หมายความว่าจำ หมายความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความหมายสำคัญ เช่น คำว่าหนังสือสัญญาเป็นต้น ความจริงนั้นตามความมุ่งหมายเดิมของภาษา มคธ หรือภาษาบาลีแล้ว เขาหมายถึงความจำทั่วไปเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อได้ยินคำว่าสัญญา ในภาษาบาลีแล้วจงเข้าใจว่า หมายความจำทั่วไป ไม่ได้หมายถึงสัญญาต่างๆอย่างที่พวกเรานิยมใช้กันทุกวันนี้ สัญญาคือ ความจำในภาษาบาลีที่มีอยู่ในธรรมนั้นมีมากประเภท เช่น ในขันธ์ 5 ก็มีคำว่าสัญญา เพราะในขันธ์5 ท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใน ปิยรูป สาตรูป ก็มีคำว่าสัญญา คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธัมมสัญญา ในทางวิปัสสนาก็มีคำว่าสัญญา อันได้แก่สัญญา 10 มีคำว่าอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาเป็นต้น และในหมวดธรรมอื่นๆก็ยังมีคำว่าสัญญาอีกเป็นอันมากเฉพาะในข้อว่าด้วยสิ่งที่ควรรู้ยิ่งนี้ หมายสัญญา 6 คือ หมายรูปสัญญาตลอดถึงธัมมสัญยา ดังที่ว่าแล้วนี้ คำว่าสัญเจตนานั้น ท่านได้ตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า สณเจตยตีติ สณเจตนา แปลว่า ธรรมชาติใดคิดพร้อมธรรมชาตินั้นชื่อได้ว่าสัญเจตนา เพราะฉะนั้นคำว่า สัญเจตนา ซึ่งมีอยู่ในคำว่า รูปสัญเจตนาเป็นต้น จึงแปลว่าความคิดพร้อม แต่คำว่าความคิดพร้อมนี้ไม่มีใช้ในภาษาของเรา จึงได้นิยมแปลกันว่า ความจงใจ โดยเหตุนี้คำว่า รูปสัญเจตนา จึงต้องแปลว่า ความจงใจในรูป คือความคิดในเรื่องรูป สัททสัญญา ความจงใจในเสียง คือความคิดพร้อมในเรื่องเสียง คันธสัญเจตนา ความจงใจในเรื่องกลิ่น รสสัญเจตนา ความจงใจในเรื่องรส คือความพร้อมในเรื่องรส โผฏฐัพพสัญเจตนา ความจงใจในโผฏฐัพพะ คือความพร้อมในโผฏฐัพพะ ธัมมสัญเจตนา ความจงใจในเรื่องธรรม คือความคิดพร้อมในเรื่องธรรม ดังนี้ ก็ความคิดพร้อมนั้นได้แก่อะไร ได้แก่ความรวมกำลังใจมาพร้อมกันคิดการรวมกำลังใจมาพร้อมกันคิดนั้น เราจะเรียกว่าอะไรดี ก็จะเห็นได้ว่า เราควรเรียกว่าความจงใจ เพราะฉะนั้น คำว่า เจตนาก็ดี สัญเจตนาก็ดี จึงหมายความจงใจเช่น คำว่า เจตนาฆ่าคน ก็หมายความว่าจงใจฆ่าคนเป็นต้น โดยเหตุนี้ จงเข้าใจเถิดว่า ความจงใจในรูป เสียง กลิ่ง รส โผฏฐัพพะ ธรรมนั้นก็ได้แก่ ความรวมกำลังใจมาพร้อมกันคิดในเรื่อง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม ดังนี้


    พระสุตตันตปิฎก....
    หากพิมผิด กราบขอขมาพระรัตนไตร

    เพิ่มเติม.................จักษุ ที่เรียกว่าดวงตา คือ สิ่งใดเห็นหรือของสำหรับเห็นสำหรับดู
    โสต นั้น เรียกว่า หู คือสิ่งที่ฟังหรือของสำหรับฟัง สิ่งที่ฟังเสียง<O:p></O:p>
    ฆานะ นั้น เรียกว่าจมูก สิ่งที่ สูด ดม <O:p></O:p>
    ชิวหา นั้น เรียกว่า ลิ้น คือ สิ่งที่นำไปซึ่งชีวิตหรือสำหรับทำชีวิตให้เป็นไป<O:p></O:p>
    กาย นั้น คือ สิ่งที่เป็นที่เกิดแห่งของน่าเกลียดเป็นที่เกิดแห่งของหมักดอง<O:p></O:p>
    มโน นั้น เรียกว่า ใจ คือ รู้ รู้สึก สิ่งที่มีหน้าที่รู้ <O:p></O:p>
    รูป คือ สิ่งที่รู้ฉิบหาย รู้แปรปรวนไปด้วยสิ่งต่างๆ มีร้อนเย็น เป็นต้น<O:p></O:p>
    เสียง คือ สิ่งใดเปล่งออกไป หรือ สิ่งที่เปล่งออกไปจากกายในแห่งสิ่งนั้น<O:p></O:p>
    กลิ่น คือ สิ่งที่ฟุ้งไป หรือสิ่งใดไปสู้ที่นั้นๆคือทำพื้นที่ของตนให้สะอาด<O:p></O:p>
    รส คือ สิ่งที่เป็น ที่ยินดีหรือสัตว์ทั้งหลายยินดีในสิ่งใดสิ่งนั้นชื่อ ว่ารส<O:p></O:p>
    โผฏฐัพพะ คือ สิ่งที่บุคคลถูกต้องหรือสิ่งใดเป็นของอันบุคคลถูกต้อง<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ธรรม คือ สิ่งใดที่ทรงไว้คือสิ่งที่มีประจำอยู่หรือสิ่งเหล่าใดทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนเพราะฉนั้น สิ่งใดมีอยู่ประจำในโลกสิ่งนั้นก็เรียกว่าธรรมทั้งนั้น<O:p></O:p>
    สิ่งที่มีประจำอยู่ในโลก เมื่อว่าโดยย่อมีอยู่ 3 คือ<O:p></O:p>
    1. สัตว์คือ ทุกรูป นาม ทั้งหยาบ ละเอียด<O:p></O:p>
    2. สังขารคือ สิ่งที่ถูกปัจจัยทั้งหลายพร้อมกันกระทำขึ้น<O:p></O:p>
    3. อาการ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น แปรไป<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2009
  2. Noppadol.Ve

    Noppadol.Ve เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +245
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
    ส่วนคำว่า "รูป" ในภาษาบาลี เท่าที่จำได้ มีบทวิเคราะห์ว่า
    รุปฺปตีติ รูปํ (ธมฺมชาตํ)
    ธรรมชาติใด ย่อมถึงการแตกสลายไปด้วยเหตุปัจจัยมี ความเย็น ความร้อน เป็นต้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า รูป
    มีคำอธิบายว่า
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ซึ่งถือว่าเป็นรูปทั้งหมดเพราะสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง ๕) ย่อมถึงความเสื่อมสลายไปด้วยเหตุต่าง ๆ ตามธรรมชาติ
    คือมิอาจยืนยงคงเป็นรูปอยู่อย่างเดิมเช่นนั้นตลอดไปได้
    ล้วน เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ทุกสรรพรูป
     

แชร์หน้านี้

Loading...