ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 เมษายน 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้ เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์
    ทรงบรรลุ จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. อรหัง คำว่า อรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงๆ อารมณ์กิเลสที่พระอรหังหรือที่เรียกว่า พระอรหันต์ละได้นั้น มี ๑๐ อย่างคือ

    . สักกายทิฏฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา
    ท่านละความเห็นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้ "โดยเห็นว่า ร่างกายนี้
    เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัยของนามธรรม
    คือ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์
    สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตา
    ปรานีสดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดี และอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่ว

    ที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาป ที่คอยเข้าควบคุมใจ วิญญาณ
    คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิว กระหาย เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และการสัมผัสถูกต้อง
    เป็นต้น วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต วิญญาณกับจิตนี้คนละอัน แต่
    นักแต่งหนังสือมักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย
    เพื่อความเข้าใจง่าย อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาอาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้น
    ก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาว วิญญาณนี้ ตามร่วมกับร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย
    แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็นประธาน
    ตายแล้ว จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่ คำว่าเราในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามา

    อาศัยกาย เมื่อท่านทราบอย่างนี้ ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า ขันธ์๕ คือร่างกายนี้
    เป็นเรา เป็นของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย
    คือขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไป ถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ
    ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใยในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยใไปตามกฏของธรรมดาเสมือนกับคน
    อาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึงเวลาลงก็นั่งไปแต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร
    ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถหรือเรือโดยสารนั้น เพราะทราบแล้วว่า

    มันไม่ใช่ของเรา เขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเรา ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตาม
    ทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีความรู้สึกอย่างนี้
    พรุพุทธเจ้าผู้เป็นจอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติที่ระลึกถึง
    พระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างนี้
    จะเป็นเครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์อย่างพระองค์"

    ข. วิจิกิจฉา พระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว
    โดยไม่เคลือบแคลงสงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง

    ค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล คือไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่แนะ
    ให้ใครละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล

    ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ ท่านหมดความรู้สึกทางเทศเด็ดขาด
    มีอสุจิเหือดแห้ง ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึกของท่านเลย

    ง. พยาบาท ท่านตัดความโกรธความพยาบาทได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานี
    เป็นปกติ

    จ. รูปราคะ ท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่าเลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้
    เป็นกำลังส่งให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน

    ฉ. ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้ โดยเห็นว่า อรูปฌานนี้ก็เป็นเพียง
    กำลังส่งให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน

    ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา
    เสียได้ โดยวางอารมณ์เป็นอุเบกขา คือเฉยๆ ต่อยศฐานบรรดาศักดิ์และฐานะความเป็นอยู่
    เพราะทราบแล้วว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล

    ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทางเสียได้ มีอารมณ์ผ่องใส
    พอใจในพระนิพพานเป็นปกติ

    ฌ. ท่านตัดอวิชชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่ง
    ที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่าเป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิง ท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น
    มีเกิดแล้วก็เสื่อม ในที่สุดก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง
    มีก็ใช้ เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์

    ท่านตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหน
    อะไรทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้
    เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอๆ ทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณ
    มากขึ้น เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไม่ยากนัก
    (จบข้อว่าด้วยอรหัง)

    ๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า
    พระองค์ทรงรู้อริยสัจทั้ง๔ คือ รู้ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัย
    คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา 3 ประการ คือ

    ๑. กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น
    ๒. ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า
    ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง

    ๓. วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฏธรรมดา มีความ
    ปรารถนาไม่ให้กฏธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตาย
    นั่นเอง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฏธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์

    ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทา
    ที่ปฏิบัติให้เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติ
    ๘ ประการดังต่อไปนี้

    ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมาวายาโม ความพยายามชอบ
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

    ในมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ ย่อลงเหลือสาม
    คือได้แก่ ศีล การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท สมาธิ
    การดำรงความตั้งมั่นของจิตที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดี เพื่อ
    เป็นบาทของวิปัสสนาญาณ ปัญญา ได้แก่การเจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริง
    ตามกฏธรรมดาไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฏธรรมดานั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2010
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    วิชาจรณสัมปันโนแปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    คือ ทรงมีความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน

    วิชชา แปลว่าความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ

    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาได้อย่าง

    ไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญใน

    การระลึกชาติได้อย่างเยี่ยม

    ๒. จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ความเกิดและความตายของสัตว์ โดยทรง

    รู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผล

    กรรมอะไรเป็นเหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุข

    ความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ

    ๓. อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป

    จรณะหมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยม ท่าน

    ประมวลความประพฤติที่พอจะนำมากล่าวไว้ได้โดยประมวลมี ๑๕ ข้อด้วยกัน คือ

    ๑. สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีล คือทรงปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง

    ๒. อินทรียสังวร ทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ

    ๓. โภชเนมัตตัญญุตา ทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร

    ๔. ชาคริยานุโยค ทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือมีสติสัมปชัญญะ

    ครบถ้วนบริบูรณ์

    ๕. สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลื่อบแคลงสงสัย

    ๖. หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล

    ๗. โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล

    ๘. พาหุสัจจะ ทรงสั่งสมวิชาการต่างๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี

    ๙. วิริยะ ทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

    ๑๐. สติ ทรงมีสติสมบูรณ์

    ๑๑. ปัญญา มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนง และทรงรู้แจ้งในอริยสัจ

    โดยที่มิได้ศึกษาจากผู้ใดมาในกาลก่อน ทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง

    ๑๒. ปฐมฌาน ทรงฝึกฌานจนได้ปฐมฌาน

    ๑๓. ทุติยฌาน ทรงฝึกจนได้ฌานที่สอง

    ๑๔. ตติยฌาน ทรงฝึกสมาธิจนได้ฌานที่สาม

    ๑๕. จตุตถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ ๔ ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ

    ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยา คือความประพฤติของพระองค์ อันเป็นแบบอย่างที่บรรดา

    พุทธสาวกจะพึงปฏิบัติตามให้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพื่อผลไพบูลย์ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล

    เพราะพระองค์ทรงมีความประพฤติอย่างนี้ จึงทรงบรรลุมรรคผล หากพุทธศาสนิกชน

    ที่นับถือพระองค์ปฏิบัติตาม ก็มีหวังได้บรรลุมรรคผลในชาติปัจจุบัน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    ๔. สุคโต

    แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด
    พระองค์นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้
    ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้
    รับความสุขในทางปฏิบัติ


    ๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่ง
    การทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และ
    พระนิพพาน อันเป็นดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทา
    ที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้นๆ


    ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใด
    มีความสามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ
    พระองค์ทรงมีญาณพิเศษที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไร
    จึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วยพระญาณนั้นจึงมีความสามารถฝึกได้ดี
    เป็นพิเศษ


    ๗.
    สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งนี้ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์
    เท่านั้น แม้เทวดาและพรหม พระองค์ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัย
    แต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่า
    พระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปรกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์
    เหมือนกัน


    ๘. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายถึง
    คำว่าพุทโธก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
    สติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง


    ๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใครๆ ที่พระองค์
    เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้
    โดยอาศัยที่พระองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชาคือความโง่

    ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาดหลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับ
    บัญชา พระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาได้ต่อไป พระองค์ทรงพบ
    ความสุขที่ยอดเยี่ยมไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน


    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดา

    พุทธศาสนิกชนระลึกนึกถึง จัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน คือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์

    ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า เมื่อพระโยคาวจร คือท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐานได้

    คำนึงนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ตามที่เขียนมานี้ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะ

    นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าในลักษณะอื่น แต่เป็นไปตามแบบพระพุทธจริยาแล้ว

    จนจิตมีความเคยชิน ระงับนิวรณธรรมห้าประการเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ

    แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ ท่านว่าท่านผู้นั้นสามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้

    เพราะอาศัยความเลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง คือจะได้สำเร็จ

    มรรคผลได้โดยฉับพลัน

    พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และ

    เป็นแบบตรงตามพระพุทธประสงค์ เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐาน

    ที่มีอารมณ์คิด จึงมีกำลังเพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้ แต่ที่ท่าน

    สอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธานุสสตินี้ท่านสอนแบบควบหลายๆอย่างรวมกัน เช่น

    แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    เป็นอนัตตา ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่าน

    บอกว่าการพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น

    ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้

    บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่ท่านบอกว่า ก่อนภาวนาควรพิจารณาขันธ์เสียก่อน

    และไม่ต้องรีบภาวนา ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มี

    ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัย

    ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้

    สามฐานนี้ ให้กำนหดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา พร้อมกันนั้นท่าน

    ก็ให้ภาวนา พุทธ ภาวนาเมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก แล้วท่านให้นึกถึง

    ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ

    คิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้

    กรรมฐาน ๔ อย่างร่วมกัน คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนด

    ลมหายใจเข้าออก เป็นอานาปานานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน

    ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ ท่านมีความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง กำลังพุทธา-

    นุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณมีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน

    ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัยสุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้น

    ก็พอใจในวิปัสสนาญาณ ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน

    แบบท่านวัดปากน้ำภาษีเจริญ

    ท่านสอนแบบพุทธานุสสติควบแบบอื่นเหมือนกัน โดยท่านให้กำหนดลม ๗ ฐาน

    แล้วภาวนาว่า สัมมาอรหัง แล้วกำหนดดวงแก้ว ตามแบบของท่านควรวิจัยอย่างนี้

    กำหนดฐานลม เป็นอานาปานานุสสติ ภาวนาเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน กำหนด

    ดวงแก้ว เป็นอาโลกกสิณ เป็นกสิณกลาง เป็นเหตุให้ได้ทิพยจักษุญาณ และได้มโนมยิทธิ

    รวมความว่าท่านอาจารย์ในกาลก่อนท่านฉลาดสอนเพราะท่านได้ผ่านถึง ท่าน

    ไม่ทำแบบสุกเอาเผากินและไม่ใช่สอนแบบเดาสุ่ม ขอท่านนักปฏบัติควรทราบไว้และอย่า

    เอาคำภาวนาเป็นเหตุสร้างความสะเทือนใจในกันและกัน จะกลายเป็นสร้างบาปอกุศลไป



    www.watpanonvivek.com

     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2010
  5. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    ขออนุโมทนาสาธุธรรม เป็นอย่างสูง ครับ





    ------------------------------------------------------------------------------------------------
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย วัดเขาชี หมู่ ๑๕ ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย-วัดเขาชี-จ-พิษณุโลก.233681/

    http://www.watkhaochee.com/ <O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...