วิธีคิด 10 มิติ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 17 ตุลาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    วิธีคิด 10 มิติ



    [​IMG]

    ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่"ความรู้ คือ อำนาจ" อย่างไรก็ตามผู้ที่จะสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆให้เกิดอำนาจได้นั้นจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งผู้ที่จะสามารถเป็นเช่นนั้นได้จะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิตนั่นคือ "คิดเป็น"

    การคิด(Thinking) คือการที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตนในการนำเอาข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ มาจัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น

    การคิดเหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน"เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล"ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบคนที่ "คิดเป็น"จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับหินที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสมย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุดในขณะเดียวกัน คนที่ "คิดไม่เป็น"ก็เหมือนกันคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกันหรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่าก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมาจึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจนและเป็นระบบระเบียบ
    ความสามารถในการคิด ทำให้มนุษย์มีความเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างจากสัตว์สามารถแก้ปัญหาให้กับตนเองได้สามารถคิดสร้างสรรค์เครื่องทุ่นแรงสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้สามารถสร้างความสุข ให้กับตนเองและปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยธรรมชาติได้การคิด ทำให้คนไม่ถูกหลอกด้วยการตีความหรือยอมรับการตีความข้อมูลอย่างผิดๆ และไม่เชื่อถือสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆแต่จะวินิจฉัยไตร่ตรอง และพิสูจน์ความจริง อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    วิธีคิด : การเรียงหินสะเปะสะปะ เพราะคิดไม่เป็น


    [​IMG]

    การคิดของคนในสังคมไทยเป็นการคิดที่จะสร้างปัญหามากกว่าก่อให้เกิดการพัฒนาตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล จนถึงแม้บางครั้งระดับผู้นำทางความคิดในสังคมสังคมไทยจึงอยู่ในภาวะอ่อนแอทางความคิด

    เราเป็นคนที่เชื่อง่ายถูกหลอกง่าย เพราะเราไม่คิดหรือคิดไม่เป็นเรามักเชื่อตามบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้อาวุโสนักวิชาการหนังสือพิมพ์ ฯลฯ หรือไม่ก็เชื่อตามโชคชะตา หรือคิดไปเองว่าใช่แน่ๆหลายครั้งเราจึงถูกหลอกทางความคิดอย่างง่ายๆเพราะไม่เรียนรู้ที่จะเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองและไม่พยายามตั้งคำถาม กับสิ่งที่ควรสงสัย

    เราตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ผิดเพราะคิดผิด ดราไม่ได้คิดวิเคราะห์และคิดเปรียบเทียบ ผลดี ผลเสียอย่างรอบคอบ ขาดการคิดอย่างบูรณาการและการคิดเชิงอนาคต จึงทำให้คิดผิดโดยคิดมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้าหรือคิดอย่างไม่สมดุลและเข้าข้างตนเองอย่างอคติ บางครั้งเราเห็นคนอื่นๆทำบางสิ่งได้ก็มักคิดว่า สิ่งนั้นถูกต้อง และสมควรเลียนแบบเช่นในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเรามุ่งรวยแบบเก็งกำไรทั้งเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้นโดยไม่คำนึงถึงผลเสียซึ่งที่หากวิเคราะห์ตามข้อเท็จจริงย่อมเข้าใจได้ว่ามันน่าจะเกิดปัญหาขึ้นในที่สุด เป็นต้น
    เราไม่สามารถคิดแก้ปัญหาให้กับตนเองได้เช่นเราแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้กับตนเองไม่ได้ต้องพึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) อย่างเกินเหตุในการเข้ามาจัดการแก้ไขทางเศรษฐกิจ ของประเทศทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ประยุกต์สูตรการแก้ไขปัญหาแบบเข้าใจบริบทที่แตกต่างของสังคมไทยจนทำให้เมื่อนำมาใช้อย่างเถรตรงจึงเกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย

    เราไม่สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ เช่น เราคิดเทคโนโลยีใหม่ๆเองไม่ได้ เพราะเราไม่เคยลงทุนอย่างจริงจังในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานเราไม่มีนักคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเพียงพอ ภายในประเทศซึ่งทำให้เราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากค่านิยมสังคม ระบบ และบริบทต่างๆ ในสังคมไทย ไม่เอื้อให้คนคิด อาทิ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ค่านิยมสังคม"ไม่ต้องคิด" สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นเผด็จการทางความคิดกล่าวคือไม่เปิดโอกาสให้คนคิดแตกต่างแต่เน้นการเชื่อฟังมากกว่าการมีอิสระเสรีภาพทางความคิดตั้งแต่ระบบครอบครัวที่เน้นการเชื่อฟังเป็นหลัก พ่อแม่เป็นผู้ออกคำสั่งเด็กที่อยู่ในโอวาทเชื่อฟัง จะได้รับการชมเชย ส่วนเด็กที่ชอบคิดใช้เหตุผลที่แย้งจากผู้ใหญ่ก็จะถูกมองว่า ชอบเถียง สะท้อนจากภาษิตและคำพังเพยต่างๆ อาทิเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด อาบน้ำร้อนมาก่อน ฯลฯ

    ค่านิยมสังคม"ไม่ต้องคิด" ไม่สอนให้คนคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้เป็นแต่สอนให้จำวิธีประเมินผล คือ คนที่ท่องจำได้มากเป็นคนเก่งคนที่เชื่อฟังครูไม่ซักถาม ไม่โต้แย้ง คือ นักเรียนที่ดี เด็กที่คิดมากๆทั้งคิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์ คิดถกเถียงวิพากย์ใช้เหตุผลกับครูผู้สอนจึงมักอยู่ในระบบการศึกษาไทยไม่ได้ เพราะถูกมองว่าก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังการเรียนจึงไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กคิดเป็นเมื่อเติบโตมาจึงกลายเป็นสภาพที่คนในประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะที่คิดไม่เป็นและแก้ไขปัญหาให้กับตนเองไม่ได้

    ระบบการเมือง "ไม่ต้องคิด"เราอยู่ในระบบของการรวมศูนย์อำนาจ จาก"บนลงล่าง" มาโดยตลอด ทำให้เราแม้ไม่ต้องคิด ก็มีคนมาช่วยเหลือ สั่งการยิ่งกว่านั้นการคิดมากเกินไปอาจเป็นการทำร้ายตนเองได้โดยไม่รู้ตัวคนที่คิดแตกต่างจากฝ่ายมีอำนาจปกครองมักจะได้รับการมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
    ถ้าคิด ... อาจมีปัญหาคนที่ไม่ต้องใช้ความคิดเลย ก็สามารถอยู่ในสังคมได้หากเขาเชื่อฟังและกระทำตาม ในทางตรงกันข้าม คนที่มีความสามารถในการคิดการใช้เหตุผลคิดมาก คิดสร้างสรรค์ คิดวิพากย์ในสังคม นอกจากจะมีน้อยแล้วอาจถูกต่อต้านหากความคิดนั้นขัดแย้งกับผู้มีอำนาจในสังคมนอกจากนี้สังคมยังไม่ส่งเสริมให้คนมีความคิดแตกต่างหลากหลายเช่นนักวิชาการที่มีแนวคิดใหม่ๆ มักจะต้องถูกดูดเข้าสู่กระบวนการไตรภาวะคือภาวะกดคน ที่เกิดขึ้นเมื่อพบว่าคนมีฝีมือหรือทำดีเด่นมากเกินกว่าคนปกติทั่วไปซึ่งหากคนนั้นสามารถแหวกผ่านภาวะนี้ไปได้ ก็ต้องเข้าสู่ ภาวะลองของคือสังคมเปิดโอกาสให้เขาแสดงฝีมือแต่ด้วยใจที่อยากให้เขาไปไม่รอดมากกว่าที่จะสนับสนุน และหากลองของแล้วความสามารถผ่าน ก็จะเข้าสู่ภาวะใช้ประโยชน์ คือ ได้รับการยอมรับจากสังคมซึ่งมีน้อยคนนักที่จะหลุดผ่าน จนมาถึงขั้นสุดท้ายได้ส่วนใหญ่จะไม่มีใครกล้าทำดีเพราะกลัวภัย หรือกลัวมีปัญหา เนื่องจาก"ไม่มีใครอยากเห็น เราเด่นเกิน"อันเป็นอุปสรรคในการสร้างผู้มีปัญญาในสังคมไทย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    สังคมเน้น"เลียนแบบ" มากกว่าคิดเองสังคมไทยเป็นสังคมที่ชื่นชมแนวคิดตะวันตกทั้งโดยรู้ตัว และไม่รู้ตัวหากพิจารณาแนวคิดการพัฒนาประเทศที่เรานำมาใช้ในทุกวันนี้ล้วนลอกเลียนมาจาก แนวคิดตะวันตกแทบทั้งสิ้นเท่าที่สำรวจดูแทบจะไม่มีแนวคิดใด ที่คนไทยเป็นผู้ที่คิดขึ้นมาจากรากของความเป็นไทยไม่ว่าจะเป็น ประชาธิปไตย ธรรมรัฐประชาสังคมคนไทยเพียงแต่แปลคำภาษาไทยสวยๆ กำกับไว้และอ้างราวกับว่าตนเองเป็นผู้ที่คิดแนวคิดนั้นขึ้นซึ่งแท้จริงแล้วก็เพียงแต่เป็นการรับแนวคิดตะวันตกโดยไม่อ้างอิงจากนักคิดบางคนที่ตนชื่นชอบมานั่นเองและหลายครั้งก็ไม่ได้คิดประยุกต์อย่างรอบคอบ ว่าความคิดที่นำเข้ามานั้นเหมาะสมกับสังคมไทยหรือไม่

    การเปิดกว้างเพื่อรับความเจริญ หรือความคิดสำเร็จรูปจากประเทศตะวันตกโดยปราศจากการคิด จากรากฐานของความเป็นไทยส่งผลให้สิ่งที่เรารับมานั้นสวมเข้าได้ไม่สนิทกับสังคมไทยเนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะตัวมีค่านิยมสังคม มีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในเรื่องที่รับมานั้นแตกต่างกัน เช่นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแต่ค่านิยมเดิมยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิยมอาวุโสนิยม อุปถัมภ์นิยมไม่ได้ยึดหลักประชาธิปไตยนิยมอย่างแท้จริงสะท้อนให้เห็นจากการที่ประเทศไทยปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารมานานกว่าครึ่งหนึ่งของระยะเวลานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยระบอบการผปกครองเช่นนี้ไม่ได้เอื้อให้คนในสังคมต้องคิดแต่เน้นการเชื่อฟังอยู่ใต้อำนาจผู้ปกครองเป็นหลัก
    คนไทยจึงมีวัฒนธรรมการคิดอยู่น้อยเราไม่มีวัฒนธรรมการคิด และการเขียนมีแต่วัฒนธรรมการฟัง กับการพูดคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือแต่ชอบดูรายการโทรทัศน์ หังรายการวิทยุดราย่อมคิดไม่เป็นเพราะเราใช้เวลาส่วนใหญ่วันละ 2-3ชั่วโมงดูรายการโทรทัศน์ที่มักไม่ประเทืองหรือแม้พยุงปัญญาและไม่ได้ใช้เวลาที่มีอยู่ในการอ่านหนังสือสนทนาเชิงปัญญาหรือแสวงหาความรู้ เราไม่ชอบสั่งสมข้อมูลไม่สนใจประวัติศาสตร์ไม่สนใจที่จะต่อยอดความรู้ก่ายกันขึ้นทางปัญญาแต่นิยมที่จะเลียนแบบและคัดลอกมาทั้งหมด อย่างสำเร็จรูปคนไทยต้องเรียนรู้ที่จะ "คิด"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    การพัฒนาประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับการลอกเลียนแบบความเจริญจากประเทศที่เจริญแล้ว ว่า"ลอกแบบ" ได้เหมือนเพียงใดแต่การพัฒนาประเทศให้เจริญไปสู่ทิศทางใดนั้นขึ้นอยู่กับ "ฐานคิด"ของคนในประเทศ ที่สอดคล้องกับความเจริญที่เราต้องการจะไปเป็นสำคัญ

    ที่ผ่านมาประเทศไทยมีปัญหาหลากหลายด้านการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยากลำบากปัญหาสำคัญ เนื่องจาก สังคมไทยขาด"นักคิด" ที่ทำหน้าที่ในการนำความคิดของคนในประเทศนำแนวทางการพัฒนาอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน และขาดประชาชนที่"คิดเป็น"ดังนั้น หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้ไม่เสียเปรียบไม่ถูกหลอกง่าย และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้เราจำเป็นต้องให้คนไทย "คิดเป็น" คือรู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้องเมื่อข้อมูลเข้ามาปะทะ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง อย่างไม่ผิดพลาด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  6. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ผมขอเสนอแนวทางของผมเองว่าการที่คนในประเทศ จะสามารถคิดเป็นนั้นจำเป็นต้องได้รับการเปิดทางและแนะแนวให้มีความสามารถในการคิด ครบ 10 มิตินั่นคือ

    ประการแรกการคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)หมายถึงความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆแต่ตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมติฐานและข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลังและพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกลู่ทางต่างๆที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้นเพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้อเสนอเดิม

    ประการที่สองการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)หมายถึงการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น

    ประการที่สามการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)หมายถึงความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

    ประการที่สี่การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)หมายถึงการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    ประการที่ห้าการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)หมายถึงความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างไม่ขัดแย้งแล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

    ประการที่หกการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)หมายถึงการขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

    ประการที่เจ็ดการคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)หมายถึงความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิมไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสมโดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้

    ประการที่แปดการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)หมายถึงความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสมเพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    ประการที่เก้าการคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking)หมายถึงความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสมเพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    ประการที่สิบการคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)หมายถึงความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  7. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ในยุคของการล่าอาณานิคมในอดีตที่บีบให้ประเทศไทยต้องปรับตัว ให้ทันสมัยเพื่อความอยู่รอดของประเทศอย่างตั้งตัวไม่ทันได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนเฉพาะ "หน้าฉาก" กล่าวคือระบบต่างๆที่มีความทันสมุยเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศโดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง"หลังฉาก" ด้วย กล่าวคือไม่ได้เปลี่ยนที่รากฐานความคิดของคนในประเทศให้พร้อมกับสิ่งใหม่ๆที่ได้รับการหยิบยื่นให้ อย่างมีจุดยืนที่เป็นตัวของตัวเองแต่การทำให้คนของเราคิดเป็นเช่นนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลง "หลังฉาก"กล่าวคือ เปลี่ยนที่รากฐานความคิดของคนในสังคม

    ถ้าคนในสังคมของเรารู้จักวิธีคิดทั้ง10 มิติจะช่วยให้เราเป็นผู้ชนะในศตวรรษที่ 21ได้เพราะจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จและยากที่จะผิดพลาดในการติดสินใจทำสิ่งใดๆเราจะไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่ายๆแต่จะคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อม ให้กับอนาคตที่จะมาถึง ได้อย่างรอบคอบซึ่งรายละเอียดและการสอนวิธีคิดในแต่ละมิตินั้นผมได้เขียนหนังสือเพื่อพัฒนาทักษะการคิดมิติละหนึ่งเล่มเพื่อให้สามารถบรรจุเนื้อหาและรายละเอียดในการคิดแต่ละมิติได้อย่างครบถ้วน


    ข้อมูลจาก http://www.nanajitang.com/forums/redirect.php?tid=2&goto=lastpost
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่รู้ว่าคิด คิดแล้วไม่รู้ รู้ว่าคิด คิดแล้วรู้ ^-^
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    บางคนไม่รู้ ว่าไม่รู้ จึงไม่ได้ฉุกคิด ^-^
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    วิธีหลง 10 มติ

    ประการแรกการคิดเชิงไหลตามน้ำ (Normative Thinking)หมายถึงความตั้งใจ
    ที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไหลคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ อย่าตั้งคำถาม
    ท้าทายหรือโต้แย้งสมมติฐานและข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ต้องพยายามเปิดแนวทาง
    ความคิด เข้าลู่ทางต่างๆที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้นเพื่อให้คำตอบ ให้ยุติจบไปตามข้อเสนอ
    เดิม

    ประการที่สองการคิดเชิงรับเคราะห์ (Apathetic Thinking) หมายถึงรวมๆองค์
    ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลย ไม่ต้องหาความสัมพันธ์เชิง
    เหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อยุ่งยากในการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิด
    ขึ้น

    ประการที่สามการคิดเชิงลอกเลียน (Artifical-Type Thinking)หมายถึงความ
    สามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งเดิม ไม่ต้องไป
    สร้างสิ่งใหม่ คงตามวัตถุประสงค์ที่หมายเอา

    ประการที่สี่การคิดเชิงไม่เปรียบเทียบ (Non-Comparative Thinking)หมายถึง ไม่
    ต้องพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆเพื่อให้เกิด
    ความเข้าใจสามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน สรุปไปเลยว่าไม่ก่อประโยชน์ใน
    การหาความแตกต่าง การแก้ปัญหาก็ไม่จำเป็นเพราะไม่ต้องเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    ประการที่ห้าการคิดเชิงมโนวิบัติ (Confuse Thinking) หมายถึงความสามารถใน
    การสับปรับข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดแบบขัดแย้งก็ไม่สน จนไม่อาจนำ
    มาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

    ประการที่หกการคิดเชิงทำลาย (Destroyed Thinking) หมายถึงลดขอบเขต
    ความคิดเข้ามา จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดเก่าๆ ที่มีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบ
    ที่พื้นๆที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น จะได้ไม่ต้องคิดมากทำมาก หวังมาก พ้นสมมติง่ายๆ

    ประการที่เจ็ดการคิดเชิงขโมยใช้ (Robbed Thinking) หมายถึงความสามารถใน
    การนำเอาสิ่งที่มีอยู่ท้ายๆสุดไปใช้ประโยชน์ตรงๆเ ในบริบทของตนไปเลย ไม่ต้องไปเก้อ
    เขิน โดยคงหลักการของสิ่งเดิมไว้ไปเลย

    ประการที่แปดการคิดเชิงพุ่งชน (Stright Thinking) หมายถึงความสามารถใน
    การกำหนดแนวทางที่แน่วแน่ที่สุด ปัดป้องเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง พุ่งเข้าหา
    แกนหลักได้ไม่ต้องสนใจความเหมาะสม ไม่ต้องพะวงกับการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับ
    สนุนเรื่องใดๆ

    ประการที่เก้าการคิดเชิงชราการ (Detegrative Thinking) หมายถึงความ
    สามารถในการลดทอนโคลงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องออกจากแกน
    หลักได้อย่างแปลกประหลาด ไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

    ประการที่สิบการคิดเชิงทื่อทึ่ม (Stubbon Thinking) หมายถึงความสามารถใน
    การหยุดคิด คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ต้องสนใจ จบสมมติ

    ( แหะ แหะ เป็นบทความดัดแปลงล้อเล่นกับสันโดษนะครับ อย่าเอาไปอ้างอิง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    โอ้ย นี่ไม่ใช่แบบที่ 11 นะ เป็น Robbed Thinking ขะโมยเอาทั้ง
    ดุ้นไม่ต้องปรับแก้หรือทำอะไร คงสภาวะเดิมไว้ ไม่ต้องเก้อเขิน
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นึกว่าบรรลุ ^-^
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ประการที่แปดการคิดเชิงพุ่งชน (Stright Thinking)

    Exp :

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ประการแรกการคิดเชิงไหลตามน้ำ (Normative Thinking)

    Exp :

    refer : http://palungjit.org/showthread.php?t=153929

    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...