ศาสนพิธี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 5 ธันวาคม 2007.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ศ า ส น พิ ธี

    [​IMG]

    พิธีี คือ แบบอย่าง แบบแผน หรือรูปแบบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเรียกว่า ศาสนพิธีี

    ความจริงเรื่อง ศาสนพิธี เป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนา และเป็นเรื่องเกิดขึ้นทีหลังศาสนา หมายความว่า มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ เกิดตามมาภายหลัง แม้ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นเหตุเกิดศาสนพิธีในพระพุทธศาสนานี้ ก็เนื่องจากมีหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงวางไว้แต่ในปีที่ตรัสรู้ เพื่อสาวกจะได้ถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา อันเรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์" ในโอวาทนั้น มีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป ๓ ประการคือ

    ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
    ๒. สอนให้อบรมกุศลให้พร้อม
    ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว

    โดยหลักการทั้ง ๓ นี้ เป็นอันว่าพุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง จนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสร้างได้ กับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ด้วยการพยายามทำตามคำสอนในหลักการการนี้ เป็นการพยายามทำดี เรียกว่า " ทำบุญ" และการทำบุญนี้แหละพระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุ คือที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยย่อ ๆ ๓ ประการ เรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" คือ

    ๑. ทาน การบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงพุทธบัญญัติ
    ๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล

    [​IMG]

    บุญกิริยานี้เอง เป็นแนวให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเค้าให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม คือ ในกาลต่อ ๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญ ไม่ว่าจะปรารภเหตุใดๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปภาวนาด้วยการสวดมนต์เองหรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควร เพราะนิยมทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดีดังกล่าวนี้ และทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงเกิดพิธีกรรมขึ้นมากประการ เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น ฉะนั้น ศาสนพิธีจึงมีมากมาย เมื่อแยกเป็นหมวดก็สงเคราะห์ได้ ๔ หมวด คือ
     
  2. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ๑.หมวดกุศลพิธี

    [​IMG]
    ความหมาย

    เรื่องกุศลพิธี เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรม ความดีงามทางพระพุทธ ศาสนาเฉพาะตัวบุคคล คือ เรื่องสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธศาสนา ตามพิธีนั่นเอง ซึ่งพิธี ทำนองนี้มีมากด้วยกัน เมื่อจัดเข้าเป็นหมวดเดียวกัน จึงให้ชื่อหมวดว่า
     
  3. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]

    ความหมาย

    บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยทั่วไป ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องต้องการ สิริมงคลบ้าง เรื่องตายบ้าง ในเรื่องเหล่านี้นิยมทำบุญทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำบุญเลี้ยงพระและ ตักบาตร เป็นต้น เพราะประเพณีนิยมดังนี้ จึงเกิดมีพิธีกรรม ที่จะต้องปฏิบัติขึ้นและถือสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล ฉะนั้น ในเรื่องพิธีทำบุญ หรือเรียกว่า บุญพิธี จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำมากล่าวในหมวดนี้ โดยแยกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. ทำบุญงานมงคล

    ๒. ทำบุญงานอวมงคล

    แต่ละประเภทมีความมุ่งหมายและเหตุผล ตลอดถึงระเบียบปฏิบัติพิธี แตกต่างออกไป เป็นกรณี ๆ อีกหลายอย่าง ดังจะนำมาชี้แจงแต่เพียงที่สำคัญ ๆ ให้เข้าใจต่อไป

    พิธีทำบุญเลี้ยงพระ

    การทำบุญเลี้ยงพระ ตามปกติที่ทำกัน มักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็น เรียกกันอย่างสามัญว่า สวดมนต์เย็น รุ่งขึ้น เวลาเช้า (บางกรณี เวลาเพล) ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่า เลี้ยงพระเช้า (เลี้ยงพระเพล) หรือฉันเช้า (ฉันเพล) และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วย บางคนมีเวลาน้อย ย่นเวลามาทำพร้อมกัน ในวันเดียว ในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวก โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาเจริญพระพุทธ มนต์ก่อน จบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลา เดียวกัน อย่างนี้เรียกว่า ทำบุญเลี้ยงพระ

    การทำบุญเลี้ยงพระนี้ นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป ที่เรียกว่า ทำบุญ งานมงคลนั้น ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าว เพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ โดยปรารภ เหตุที่ดีเป็นมูล เกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิต เช่น ฉลองพระบวชใหม่ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับ การริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ตามปรารถนาด้วยดี ตลอดไป เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญแต่งงาน หรือเรียกว่ามงคลสมรส เป็นต้น ส่วนที่เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล ได้แก่ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดี เนื่องจากมีการตาย ขึ้นในวงญาติ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้น เพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลาย ๆ แก่ผู้ที่ยังอยู่ งานทำบุญ โดยปรารภเหตุนี้ เรียกว่า ทำบุญงานอวมงคล

    การทำบุญทั้ง ๒ ประเภทนี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทายก ทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญ เรียกว่า ฝ่ายเจ้าภาพ ๑ ฝ่ายปฏิคาหก ผู้รับทานและ ประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่า ฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก ๑ ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธี กำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภท ของงาน เป็นขนบประเพณีสืบมา ดังต่อไปนี้

    [​IMG]





     
  4. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ๑. ทำบุญงานมงคล

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่าง ๆ นั้น ในที่นี้เรียกว่า
     
  5. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    ๒. ทำบุญงานอวมงคล

    การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้

    ก. งานทำบุญหน้าศพ

    พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ

    ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่
     
  6. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]

    ความหมาย

    พิธีถวายทานต่าง ๆ เรียกว่า ทานพิธี ในที่นี้จะกว่าเฉพาะทานพิธีสามัญ ที่จำเป็น และนิยมบำเพ็ญกันอยู่ทั่วไป และจะกล่าวเฉพาะระเบียบปฏิบัติกับคำถวาย ของฝ่ายทายกเท่านั้น

    การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า
     
  7. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]

    ความหมาย


    พิธีกรรมที่จะกล่าวในบทนี้เป็นพิธีเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการ ประกอบพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วในหมวดต้น ๆ มาชี้แจงเพื่อความรู้ และเพื่อเป็นทางปฏิบัติ แต่จะกล่าวเฉพาะเรื่องที่มิได้ชี้แจงไว้ข้างต้นเพียง ๕ เรื่องเท่านั้น คือ

    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

    ๒. วิธีประเคนของพระ

    ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย

    ๔. วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม

    ๕. วิธีกรวดน้ำ

    จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปตามลำดับ

    ++++++++++++++++++++

    ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ

    ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฏว่า ตนมีความนับถือ ด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฏนี้ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่ พระพุทธรูปรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น ๑ พระภิกษุสามเณรผู้ทรง เพศอุดมกว่าตน ๑ การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้ จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ

    ก. ประนมมือ

    ข. ไหว้

    ค. กราบ

    ประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...