สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 5 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘๙/๒๘๘
    [๔๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ ฯ
    [๔๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น
    เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
    ไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้ได้
    ชื่อว่า ปาจีนวังสะสมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า ติวรา หมู่มนุษย์ชื่อติวรา มีอายุประมาณ
    สี่หมื่นปีหมู่มนุษย์ชื่อติวราขึ้นปาจีนวังสบรรพตเป็นเวลา ๔ วัน ลงก็เป็นเวลา ๔ วัน สมัยพระผู้มี
    พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อ
    ว่าวิธูระ และสัญชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธานไป
    แล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียง
    เท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น
    ดังนี้ ฯ
    [๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อว่าวงกฏ สมัยนั้นแล
    หมู่มนุษย์มีชื่อว่า โรหิตัสสะ มีอายุประมาณสามหมื่นปีมนุษย์ชื่อว่าโรหิตัสสะขึ้นวงกฏบรรพต
    เป็นเวลา ๓ วัน ลงก็เป็นเวลา ๓ วันสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
    พระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
    โกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าภิยโยสและอุตตระ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นทำกาละไปแล้ว
    และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ พอเพื่อจะ
    หลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพตนี้มีชื่อว่าสุปัสสะ สมัยนั้น
    แล หมู่มนุษย์มีชื่อว่าสุปปิยา หมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยามีอายุประมาณสองหมื่นปี หมู่มนุษย์ที่ชื่อว่า
    สุปปิยาขึ้นสุปัสสบรรพต เป็นเวลา ๒ วัน ลงก็เป็นเวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
    สัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป ได้มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าติสสและ
    ภารทวาชะดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้วมนุษย์
    เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลาย
    ไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    [๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อเวปุลละทีเดียว ก็บัดนี้
    หมู่มนุษย์เหล่านี้มีชื่อว่ามาคธ หมู่มนุษย์ที่ชื่อมาคธมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน
    ผู้นั้นมีอายุเพียงร้อยปี น้อยกว่าก็มี เกินกว่าก็มี หมู่มนุษย์ชื่อมาคธขึ้นเวปุลลบรรพตเพียง
    ครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ เสด็จอุบัติขึ้น
    แล้วในโลก ก็เราแลมีสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชื่อแห่งบรรพตนี้จักอันตรธาน หมู่มนุษย์เหล่านี้จักทำกาละ และเรา
    ก็จักปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ไม่น่าชื่นใจ
    อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อ
    จะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    [๔๖๑] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
    ตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    ปาจีนวังสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อติวระ วงกฏบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อ
    โรหิตัสสะ สุปัสสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยาและเวปุลลบรรพต
    ของหมู่มนุษย์ชื่อมาคธะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นแล
    เสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น
    สงบระงับไปเป็นสุข ดังนี้ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...