สติปัฏฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไม่ใช่ใคร, 10 มกราคม 2012.

  1. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    (ก๊อปปี้มานะครับ)


    สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้งสติ, สฺติ
    แปลกันมาว่า ระลึก ปัฏฐาน แปลว่า
    การตั้งมั่น สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้ง
    มั่นซึ่งสติ, พระพุทธเจ้าสอนให้ตั้งสติ
    มั่น พิจารณากาย พิจารณาเวทนา
    พิจารณาจิต พิจารณาธรรม จึงแยก
    สติปัฏฐานออกเป็น ๔ คือ กายานุปัสสนา
    พิจารณากาย, เวทนานุปัสสนา พิจารณา
    เวทนา, จิตตานุปัสสนา พิจารณาจิต.
    ธัมมานุปัสสนา พิจารณาธรรม.
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดง
    สติปัฏฐานการตั้งสติไว้ในอารมณ์ที่ควร
    ระลึกว่า เป็นเอกายนมรรคทางไปอัน
    เอก ทางไปอันเดียว เพื่อความบริสุทธิ์
    เพื่อก้าวล่วงโศก ( ความแห้งใจ ) และ
    ปริเทวะ ( ความคร่ำครวญ ) เพื่อดับ
    ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่
    พระอริยเข้าถึง เพื่อทำธรรมที่ไม่มี
    กิเลสเครื่องร้อยรัดให้แจ้ง.
    สติปัฏฐานการตั้งสตินั้น เมื่อว่า
    จำเพาะความระลึกก็คงเป็นอย่างเดียว
    แต่เมื่อแยกตามอารมณ์ที่ระลึกตามจริต
    ของบุคคล ก็เป็น ๔ คือ กายานุปสฺสนา
    พิจารณากาย ๑ เวทนานุปสฺสนา
    พิจารณาเวทนา ๑ จิตฺตานุปสฺสนา
    พิจารณาจิต ๑ ธมฺมานุปสฺสนา พิจารณา
    ธรรมที่ประกอบกับจิต ๑.
    ท่านแสดงว่า บรรดาบุคคลย่อมมี
    จริตต่าง ๆ กันเป็น ๔ จำพวก: จำพวก ๑
    มีตัณหาจริตอย่างอ่อน ( เพราะเปลี่ยน
    แปลงง่าย ) ย่อมเป็นผู้ติดกายคือหนัก
    อยู่ในกาย, จำพวก ๑ มีตัณหาจริตอย่าง
    กล้า ( เพราะเปลี่ยนแปลงยาก ) ย่อม
    เป็นผู้ติดเวทนา คือหนักอยู่ในเวทนา,
    จำพวก ๑ มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน ย่อมเป็น
    ผู้ติดจิตคือหนักอยู่ในจิต, จำพวก ๑ มี
    ทิฏฐิจริตอย่างแรงกล้ว ย่อมติดธรรม คือ
    หนักอยู่ในธรรม. คนที่ติดกาย ( คือรูป )
    หนักอยู่ในกาย มุ่งกายเป็นใหญ่ พึงเห็น
    ตัวอย่าง เช่นคนที่มุ่งการแต่งกายให้สะ-
    สวยด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ที่เขานิยม
    กันตามสมัยหรือที่ตนชอบใจว่าเป็นสำคัญ
    ถึงต้องเป็นภาระลำบาก ในการแสวงหา
    ในการรักษา ในการประดับประดาตกแต่ง
    และถึงจะคับจะแข็งจะหนักจะรุงรังจะไม่
    สะดวกก็สู้ทน ตลอดถึงอาหารและที่อยู่
    อาศัย ก็เช่นเดียวกัน เพราะทำให้เพลิด
    เพลินเห็นเป็นสุข แต่เปลี่ยนแปลงง่าย
    เขานิยมกันอย่างไร ก็เปลี่ยนไปอย่างนั้น
    ไม่มั่นคง. ส่วนคนที่ติดเวทนา หนัก
    อยู่ในเวทนา มุ่งสุขเวทนาเป็นใหญ่ พึง
    เห็นตัวอย่างเช่นคนที่มักเห็นไปว่า การที่
    ทำเช่นนั้นเป็นการลำบาก เป็นทุกข์
    เปล่า ๆ ไม่ใช่เป็นสุขจริงเลย และไม่ต้อง
    การเช่นนั้น, การประดับประดาตกแต่ง
    อะไร ๆ ไม่ต้องการ ผ้านุ่ง ห่ม อาหาร
    ที่อยู่อาศัย จะเป็นอย่างไร ใครจะชม
    หรือติก็ช่าง คงต้องการแต่ให้สะดวกสบาย
    อย่างเดียวเป็นสำคัญ ด้วยเห็นเป็นสุข
    คนที่คิดเห็นเช่นนี้เปลี่ยนแปลงยากเพราะ
    ถือตามความชอบของตน. ส่วนคนติด
    จิต หนักอยู่ในจิต มุ่งจิตเป็นใหญ่ พึง
    เห็นตัวอย่าง เช่นคนที่มักเห็นไปว่า จิต
    เท่านั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ ถ้าไม่ถูกรบ
    กวนให้เดือดร้อนขุ่นมัว ก็เป็นพอใจ.
    ส่วนคนที่ติดธรรม ( คืออารมณ์ที่เกิดกับ
    ใจ ) หนักอยู่ในธรรม พึงเห็นตัวอย่าง
    เช่นคนที่มักเห็นว่า ธรรมที่เกิดกับจิตที่
    ประกอบกับจิตไม่เป็นที่ชอบ จิตก็เดือดร้อนขุ่นมัว
    และมักคิดหาเรื่องที่ชอบให้จิตนึก.
    ทุกประเภท ( ทั้ง ๔ อย่าง ) ถ้ายัง
    ไม่ได้สมประสงค์ก็ตะเกียกตะกาย ถ้าได้ก็
    หลงติด ถ้าเสื่อมก็เดือดร้อน พระพุทธ
    ศาสนาสอนให้ประพฤติตนให้เป็นสุข และ
    ให้มีเมตตากรุณาแก่ผู้อื่น แต่จะประพฤติ
    ให้เป็นสุขมั่นคงได้ ก็ต้องรู้จักตามเป็น
    จริง ไม่เช่นนั้น ย่อมไม่ได้สุขถาวร หรือ
    ได้บ้างก็น้อย ไม่เหมือนได้ทุกข์ที่บางคน
    รู้สึกว่าได้มาก และมักจะเห็นว่าสุขหรือ
    ทุกข์ มีมาแต่เหตุภายนอก ซึ่งอาจเป็น
    ได้เพียงสุขกายหรือทุกข์กายเท่านั้น ไม่
    ค่อยเห็นว่าสุข หรือทุกข์เกิดแต่เหตุภายใน
    คือตนเอง ซึ่งเป็นสุขใจหรือทุกข์ใจอย่าง
    สุขุม จนถึงทำดีหรือชั่ว ก็เป็นไปว่าเพราะ
    เขาชมหรือเขาติเท่านั้น ถ้าไม่มีใครชม
    ไม่มีใครติ ก็เปล่าทั้งนั้น เมื่อเช่นนี้ ก็
    ยากที่จะหาความสุขใจได้ ถึงจะมั่งมีทรัพย์
    สักเท่าไรก็ตาม ก็คงยากที่จะหาสุขได้อยู่
    นั้นเอง. อนึ่ง สุขและทุกข์ที่ถือว่ามีมา
    เพราะเหตุภายนอกนั้น ก็เปลี่ยนไปตาม
    ชั้นตามชนิดของบุคคลที่มีฐานะต่าง ๆ กัน
    เพราะเหตุภายนอกนั้น อาจเปลี่ยนแปลง
    ไปได้เสมอ ใครจะบังคับให้คงเป็นอยู่
    อย่างไรแต่อย่างเดียว เป็นอันยากหรือไม่
    ได้. เมื่อรวมความลง ก็เพราะรูปต้อง
    ประสบตา เสียงต้องประสบหู กลิ่น
    ต้องประสบจมูก รสต้องประสบลิ้น
    โผฏฐัพพะต้องประสบกาย แล้วอารมณ์
    คือเรื่องนั้น ๆ ก็ต้องประสบใจเพราะใจนึก
    คิดเป็นธรรมดา รูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ และเรื่องที่ใจนึกรวมเรียกสั้น
    ว่าอารมณ์อย่างหนึ่ง ๆ เพราะเป็นที่ยึด
    หน่วง. ถ้าไม่รู้เท่าก็ไปยึดเอาอารมณ์
    นั้น ๆ มาให้เกิดสุขเกิดทุกข์ตามที่ชอบใจ
    และไม่ชอบใจ ถ้าอารมณ์นั้น ๆ เป็นที่
    ชอบใจ ก็ให้เกิดสุข ถ้าเป็นที่ไม่ชอบใจ
    ก็ให้เกิดทุกข์. ตามธรรมดาของอารมณ์
    นั้น ๆ ย่อมมีมาประสบเปลี่ยน ๆ กันไป
    เสมอ ๆ จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจ
    หวังทั้งหมด ย่อมไม่ได้ ถ้าไม่รู้ไปยึดเข้า
    ก็ให้กระตือรือร้นไปตาม คือ ให้ต้องการ
    ได้ส่วนที่ชอบอันยังไม่ได้ ให้ต้องการส่วน
    ที่ไม่ชอบอันมาประสบสูญสิ้นไปเสีย เมื่อ
    เช่นนี้ สุขใจหรือทุกข์ใจก็เกิดมีขึ้นแก่ตน
    ไตร่ตรองดูก็จะเห็นได้. การที่ไปยึดเอา
    อารมณ์นั้น ๆ มาให้เป็นเหตุเกิดสุขหรือ
    ทุกข์ ก็เพราะยึดมั่นตนของตนก่อน จน
    แน่นหนาจนชินจนเคย, จนไม่ต้องนึกถึง
    จึงไปนึกอารมณ์ภายนอก. พระพุทธ-
    ศาสนาสอนให้พิจารณาเห็นตามเป็นจริง
    ถอนความยึดถือมั่น ทั้งส่วนที่เห็นว่าเป็น
    ตน ทั้งส่วนที่เห็นว่าเกี่ยวข้องแก่ตนเสีย
    เพื่อให้มีจิตผ่องใสบริสุทธิ์ อันเป็นสุขอย่าง
    ประณีต จึงได้แสดงสติปัฏฐานการตั้งสติ
    อันเป็นอุบายไว้ว่า ทางนี้เป็นทางไปอัน
    เอก เพื่อความหมดจด เพื่อความก้าว
    ล่วงโศกและร่ำไร เพื่อดับไปแห่งทุกข์
    และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรม เพื่อทำ
    พระนิพพานให้แจ้ง ของสัตว์ทั้งหลาย
    คือสติปัฏฐาน ๔. ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐานนี้
    พึงมีเพียรรู้ตัว มีสติบำบัดอภิชฌาความ
    อยากได้ และโทมนัส ความเสียใจใน
    โลกเสีย.
    มีนักธรรมแสดงว่า ตามธรรมดาคน
    เราในชั้นต้นติดกาย จะทำอะไรก็มุ่งทำนุ
    บำรุงกายนั้นแหละเป็นใหญ่ เช่นต้อง
    อาศัยผ้านุ่งห่มตามธรรมดาก็เพื่อจะปกปิด
    ร่างกายและกำจัดเย็นร้อนเกินสมควร, แต่
    ผู้ติดกายไม่ใช่เท่านั้น นุ่งผ้านุ่งห่มให้งด
    งามสะสวย ให้วิเศษมีราคาแพง แม้จะ
    ลำบากแก่กาย คือของจะต้องแข็ง ต้องคับ
    ต้องหนัก ก็ทนได้ มุ่งแต่จะให้กายสะสวย
    งดงาม หรือดีทัดเทียมกับเขา หรือยิ่งกว่า
    เขา นี่เป็นผู้ติดกาย, อาหารโดยตรงก็
    เพื่อจะทำนุบำรุงร่างกายให้เป็นไปได้ จน
    กว่าจะถึงที่สุด, แต่ผู้ติดกายมุ่งจะให้ได้
    อาหารที่นิยมว่าวิเศษ ถึงตัวเองจะไม่ชอบ
    ใจ แต่เขานิยมกันว่าดีก็ขืนแสวงหา, ที่
    อยู่อาศัย ตามธรรมดาก็เพียงแต่จะกันเย็น
    ร้อน ลม ฝน อยู่ให้เป็นสุขสบาย, แต่ผู้
    ติดกายไม่เพียงเท่านั้น ต้องการให้มีอยู่
    อาศัยสะสวยงดงามใหญ่โต แม้ต้องลำบาก
    ในการบริหารรักษา แต่ก็ทนเอา, ผู้ติด
    กายเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้
    พิจารณากายให้เห็นว่า กายนี้ก็สักแต่ว่า
    กายเท่านั้น เป็นอยู่ชั่วคราวในที่สุดก็แตก
    สลายไป จะทำนุบำรุงกายเท่าไร ๆ ให้
    วิเศษอย่างไร ๆ กายก็ทนอยู่ไม่ได้, แต่
    ตามพระบาลีในสติปัฏฐาน ท่านให้
    พิจารณากำหนดลมหายใจออกและกลับเป็น
    ข้อต้น. เพราะอะไร ? ก็เพราะร่างกาย
    ที่จะเป็นอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยลมหายใจ ถ้า
    ไม่มีลมหายใจก็ตาย, ท่านจึงให้พิจารณา
    ลมหายใจ อย่างที่เรียนกันมา ปฏิบัติกัน
    อยู่ในอานาปานสติเป็นข้อต้น ข้อสุดท้าย
    ให้พิจารณากายให้เห็นว่า เป็นของที่ต้อง
    ตาย ตั้งต้นแต่พิจารณากายที่ตายวันหนึ่ง
    ๒ วัน ๓ วัน ขึ้นพอง สีเขียวคล้ำ น้ำ
    เหลืองไหล จนเหลือแต่กระดูกและ
    เอ็น จนถึงเหลือแต่กระดูก กระดูกก็ผุ,
    พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงเช่นนี้ เพื่อจะ
    ได้ไม่ยึดกาย. เมื่อไม่ยึดกายว่าเป็นเราเป็น
    ของเรา เป็นตัวเป็นตนของเราแล้วความ
    โลภมุ่งที่จะให้ได้ของที่ทำนุบำรุงกายก็เบา
    บางลงไป เป็นอันแยกกายออกไปส่วนหนึ่ง
    ผู้พิจารณาเป็นส่วนหนึ่ง, ถ้าไม่พิจารณา
    เช่นนั้นแล้ว คนกับกายก็เป็นอันเดียวกัน
    ไป ถ้าพิจารณากายให้เห็นตามเป็นจริง ผู้
    พิจารณาจะรู้สึกตัวได้ว่า ตัวเป็นผู้พิจารณา
    กายก็เป็นกาย, ถ้าพิจารณาได้จนเห็นตาม
    เป็นจริง แม้ชั่วครู่ชั่วขณะ ก็สงบความ
    ยึดกายว่าเป็นของเรา เราเป็นกาย กาย
    เป็นตัวเป็นตนของเราได้. ( กายานุ-
    ปัสสนา )
    แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น อาจจะมาติด
    เวทนา คือติดสุข คือไม่เกี่ยวข้องกับกาย
    จนเกินไป แต่ยังชอบสุขชอบสบาย, คน
    ที่ติดเวทนาเช่นนี้ พึงเห็นได้ว่าไม่ค่อยจะ
    เอื้อเฟื้อกับการตกแต่งร่างกาย, อาหารก็
    ไม่มุ่งถึงของดีของเลว เพ่งให้ทำนุบำรุง
    ร่างกายได้ก็แล้วกัน, ที่อยู่อาศัยก็พอเป็น
    สุข จะสะสวยงดงาม เขาจะนิยมกันหรือ
    ไม่นิยมก็ไม่ว่า มุ่งแต่ความสุขความสบาย,
    ถ้ามุ่งสุขเวทนาคือเสวยสุขเช่นนี้ ไม่ได้สุข
    สมปรารถนาก็เดือดร้อน ได้สมปรารถนา
    ก็หมกมุ่นมัวเมา การที่มุ่งให้ได้สุขก็เป็น
    โลภะ ไม่ได้สุขก็เกิดเดือดร้อนไม่พอใจก็
    เป็นโทสะ ได้สุขแล้วก็หลงอยู่ในสุขก็เป็น
    โมหะ. เวทนาตามธรรมดา สุขก็ตาม
    ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ไม่
    ใช่คงที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เกิด
    ขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไป, เช่นสุขเกิดขึ้น
    แล้วก็ดับ กลายเป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์
    ไม่ใช่สุขบ้าง ทุกขืเกิดขึ้นแล้วก็ดับ แล้ว
    ก็เปลี่ยนเป็นสุขบ้าง วนเวียนกันอยู่เช่นนี้,
    ถ้ามัวติดเวทนาอยู่แล้ว ก็ต้องหมกมุ่น
    อยู่กับเวทนา, พระพุทธเจ้าจึงสอนให้
    พิจารณาเวทนา ให้เห็นเวทนา สักแต่ว่า
    เป็นเวทนา ผู้พิจารณาเป็นผู้พิจารณา
    ไม่ใช่เป็นเวทนา, นี่เป็นวิธีแยกเวทนา
    กับผู้พิจารณาออกจากกัน. ( เวทนานุ-
    ปัสสนา ).
    ผู้พิจารณาเวทนา บรรเทาความยึด
    เวทนาได้ แต่อาจจะไปติดจิต คือ ไป
    มุ่งให้จิตอยู่สบายสงบ, ใครมากวนทำให้
    ยุ่งเหยิงก็ไม่ชอบ ชอบอยู่เฉย ๆ ไม่ให้
    ใครมารบกวน, แต่ก็ไม่ได้เสมอไป แม้
    จะไม่มีใครมารบกวน ความคิดของตัวเอง
    ก็รบกวน คือไปคิดดีบ้าง คิดชั่วบ้าง
    คิดไม่ดีไม่ชั่วบ้าง อยู่คนเดียว, บางคราว
    ก็ดีใจ บางคราวก็เสียใจ บางคราวก็มึน
    ซึม, พระพุทธเจ้าจึงสอนให้พิจารณาจิต,
    ลำพังแต่จิตคนเราธรรมดา ไม่อาจจะเห็น
    ว่าเป็นอย่างไร จะเห็นได้ก็แต่เมื่อมีอาการ,
    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้
    พิจารณาอาการของจิต ก็ คือ ให้พิจารณา
    อาการของจิต ถ้าจิตประกอบด้วยราคะก็
    ให้รู้ว่า นี่จิตประกอบด้วยราคะ. จิต
    ปราศจากราคะ ก็ให้รู้ว่า นี่จิตปราศจาก
    ราคะ. จิตประกอบด้วยโทสะ ก็ให้รู้ว่า
    นี่จิตประกอบด้วยโทสะ. จิตปราศจาก
    โทสะ ก็ให้รู้ว่า นี่จิตปราศจากโทสะ. จิต
    ประกอบด้วยโมหะ ก็ให้รู้ว่านี่จิตประกอบ
    ด้วยโมหะ. จิตปราศจากโมหะ ก็ให้รู้ว่า
    นี่จิตปราศจากโมหะ. นี่โดยทั่วไปเป็น ๓
    อาการ, แต่ท่านสอนให้พิจารณาต่อไปอีก.
    จิตย่อหย่อน คือจิต ท้อแท้ เรียกว่า
    จิตตสังเขป, จิตฟุ้งซ่าน ซัดส่าย เรียกว่า
    จิตตวิกเขป.
    เราพิจารณาจะเห็นได้ว่าบางคราวมีจิต
    ย่อหย่อน บางคราวก็มีจิตฟุ้งซ่านซัดส่าย
    ท่านให้พิจารณาให้รู้ไว้ คือ ถ้ามีจิตย่อหย่อน
    ก็ให้รู้มี จิตฟุ้งซ่านซัดส่ายก็ให้รู้.
    บางคราวจิตกว้างขวางเผื่อแผ่ซึ่งเรียก
    ว่า มหัคคตจิต จิตถึงความเป็นใหญ่
    คือกว่างขวางเผื่อแผ่, บางคราวตรงกันข้าม
    ไม่กว้างขวาง ไม่เผื่อแผ่, ท่านก็ให้
    พิจารณาให้รู้ คือมีจิตถึงความเป็นใหญ่
    คือกว้างขวางเผื่อแผ่ก็ให้รู้, เมื่อตรงกัน
    ข้ามไม่เป็นเช่นนั้นก็ให้รู้.
    บางคราวจิตขยันขันแข็งอาจหาญ รู้
    สึกว่าสามารถจะทำอะไรต่ออะไรได้. ซึ่ง
    เรียกว่า สอุตตรจิต. บางคราวตรงกัน
    ข้าม ท้อแท้ ขี้เกียจ ท่านก็ให้พิจารณา
    ให้รู้ คือถ้าจิตอาจหาญขยันขันแข็งก็ให้รู้
    ว่าเป็นอย่างนั้น. ถ้าเกียจคร้านซบเซาก็ให้
    รู้ว่าเป็นอย่างนั้น.
    จิตตั้งมั่นคือมุ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว
    ซึ่งเรียกว่า สมาหิตจิต หรือจิตฟุ้งซ่านไม่
    ตั้งมั่น ท่านก็ให้พิจารณาให้รู้ตามเป็นจริง.
    จิตพ้น ซึ่งเรียกว่า วิมุตตจิต คือ
    พ้นจาก โลภะ โทสะ โมหะ หรือพ้นจาก
    ความยุ่งเหยิงอะไรในชั่วขณะหนึ่ง หรือ
    ไม่พ้นยังมัวยุ่งเหยิงพัวพันอยู่ก็ให้รู้.
    รวบรวมลงไปแล้ว ก็คือ จิตเป็น
    อย่างไร แม้เป็นไปในทางดี ก็ให้รู้ว่านี่เป็น
    ไปในทางดี เป็นไปในทางชั่ว ก็ให้รู้ว่า
    นี่เป็นไปในทางชั่ว, พิจารณาดูจิต จิต
    เป็นอย่างไร ให้รู้อย่างนั้น. ในสติปัฏฐาน
    ท่านไม่ได้สอนให้กำจัดความชั่วออกจาก
    จิต หรือทำดีให้เกิดขึ้นในจิต แต่ท่านให้
    ดูให้รู้ตามเป็นจริง เมื่อจิตมีอาการดี ก็ดู
    ให้รู้ตามเป็นจริง เมื่อจิตมีอาการชั่ว ก็
    ให้ดูให้รู้ตามเป็นจริง. การดูจิตที่มีอาการ
    ต่าง ๆ นั้นเป็นทางปัญญา, ดูจิตมีอาการ
    ชั่ว ดูอาการชั่วที่เกิดขึ้นกับจิต, อาการ
    ชั่วที่เกิดขึ้นทนปัญญาที่ดูไม่ได้ ก็สงบไป
    เสื่อมไป หายไป แต่ถ้ามีอาการที่ดียิ่งดู
    เท่าไร ก็ยิ่งดีประณีตยิ่งขึ้นไป, เพราะ
    ฉะนั้น ในสติปัฏฐานท่านไม่ได้สอนให้ละ
    ท่านสอนให้ดูให้รู้ตามเป็นจริง นี่เป็น
    จิตตานุปัสสนา.
    จิตที่จะมีอาการที่ดี หรืออาการที่ชั่ว
    ก็เพราะธรรม, ธรรมท่านแยกไว้เป็น ๓
    คือ :-
    ธรรมส่วนชั่ว เรียกว่า นีวรณ์ แปล
    ว่า ธรรมเครื่องกั้นไม่ให้บรรลุคุณความดี
    ได้แก่ :-
    กามฉันท์ ความพอใจในรูป เสียง
    กลิ่น รส โผฏฐัพพะ.
    พยาบาท ความมุ่งร้ายผู้อื่น สัตว์อื่น.
    ถีนะ ง่วงเหงา มิทธะ ง่วงนอน
    รวมเข้าก็เป็น ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาว
    นอน.
    อุทธัจจะ ความฟุ้ง ฟุ้งไปรับอารมณ์
    ต่าง ๆ กุกกุจจะ ความรำคาญ คนที่
    อยู่นิ่งไม่ได้ รำคาญ ต้องเที่ยวไปโน่น
    ไปนี่ อาการเช่นนี้เรียกว่า กุกกุจจะ,
    เพราะมีอาการไม่หยุดอยู่อย่างเดียวกัน
    ท่านจึงเรียกรวมว่า อุทธัจจกุกกุจจะ
    อีกอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉา ความไม่แน่
    ใจ ลังเล สงสัย จะทำอะไรดีหรือไม่ดี
    ไม่แน่ ทำอย่างนั้นดีหรือก็ไม่แน่ ทำ
    อย่างนี้ดีหรือก็ไม่แน่, ไม่แน่ใจเลย ทำ
    อะไรไม่ได้ดี.
    กามฉันท์, พยาบาท, ถีนมิทธะ,
    อุทธัจจกุกกุจจะ, วิจิกิจฉา จึงเป็นีวรณ-
    ธรรม ธรรมเป็นเครื่องกั้นไม่ให้บรรลุ
    ความดี นี่เป็นส่วนชั่ว, ท่านให้ดูให้รู้
    ตามเป็นจริง ข้อใดมีอยู่ก็ให้รู้ว่ามี ข้อ
    ใดไม่มีอยู่ก็ให้รู้ว่าไม่มี, เมื่อดูอยู่เช่นนี้
    นีวรณ์ก็จะทนอยู่ไม่ได้ต้องหลบหายไป.
    ธรรมส่วนกลาง ๆ คือ ขันธ์ ๕ อาย-
    ตนะ ๖ นี่ไม่ใช่ชั่วไม่ใช่ดี เพราะเป็นผล
    ที่มีสืบเนื่องมาจากกรรมเก่า มีตาสำหรับ
    เห็น มีหูสำหรับได้ยิน มีจมูกสำหรับดม
    กลิ่น มีลิ้นสำหรับลิ้มรส มีกายสำหรับถูก
    ต้องโผฏฐัพพะ มีมนะสำหรับนึกคิดเรื่อง
    แล้วเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ เวทนา
    สัญญา สังขาร นี่เป็นไปตามธรรมดา,
    ปุถุชนเราก็มี พระอรหันต์ก็มี, เพราะ
    ฉะนั้น ไม่ใช่ดี ไม่ใช่ชั่ว, แต่คนนั่น
    แหละ คนดีก็ใช้ ขันธ์ อายตนะ ใน
    ทางที่ดี คนชั่วก็ใช้ ขันธ์ อายตนะ ใน
    ทางที่ชั่ว, เพราะฉะนั้น ขันธ์ อายตนะ
    จึงเป็นกลาง ๆ ไม่ใช่ดี ไม่ใช่ชั่ว แต่
    เป็น ทุกขสัจ สภาพที่จริงคือทุกข์, ดู
    ปัญจขันธ์ อายตนะให้เห็นตามเป็นจริง
    ไม่ให้เอาขันธ์ เอาอายตนะมาเป็นตัว
    เป็นตน ให้เป็นผู้ดูขันธ์ ดูอายตนะ นี่
    อย่างหนึ่ง.
    ธรรมส่วนดี ก็ได้แก่ โพชฌงค์
    มีสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น มีอุเบกขา-
    สัมโพชฌงค์ เป็นสุดท้าย, ไปอ่านดูใน
    โพชฌงค ์ ๗ แล้วจึงอธิบายถึงเรื่องโพช-
    ฌงค์จะว่าแต่เพียงย่อ ๆ ก่อน โพชฌงค์ ๗
    เป็นธรรมส่วนดี เมื่อมีสติสัมโพชฌงค์
    เกิดขึ้น ก็รู้สึกตัวว่ามีสติสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น
    เป็นลำดับไป จนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    ให้ดูรู้จักธรรมที่เป็นส่วนดี คือ โพชฌงค์
    ให้รู้ตามเป็นจริง. โพชฌงค์ เป็นธรรม
    ส่วนดี ยิ่งดูเท่าไร ก็ยิ่งดี ยิ่งประณีต
    ขึ้นไป ไม่เหมือนส่วนชั่ว ซึ่งเมื่อดู
    แล้วหลบไม่แสดงตัว, นี่เป็น ธัมมานุ-
    ปัสสนา.
    พิจารณากายเรียกว่า กายานุปัสสนา,
    พิจารณาเวทนาเรียกว่า เวทนานุปัสสนา,
    พิจารณาจิตเรียกว่า จิตตานุปัสสนา,
    พิจารณาธรรมเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา.
    นักธรรมบางท่านแสดงว่า นี่แหละเป็น
    อุบาย หรือเป็นวิธีจะให้ผู้พิจารณาแยก
    กาย เวทนา จิต ธรรม ออกเป็นส่วน
    หนึ่ง ผู้พิจารณาก็เป็นผู้พิจารณาส่วนหนึ่ง
    ผู้พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณา
    จิต พิจารณาธรรม จนรู้จักกาย รู้จัก
    เวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม ก็เป็นผู้รู้
    ขึ้นในเวลานั้น แม้รู้ขั่วขณะก็เป็นผู้รู้ใน
    ขณะนั้น ; แต่ถ้าไม่รู้ ก็หลงไป กับ กาย
    เวทนา จิต ธรรม, นี่สติปัฏฐาน ๔ มีวิธี
    ที่จะพิจารณาโดยย่อดังนี้. ( โอ. ๑/๑๗๙-๑๘๖ ).
    ธรรมที่แสดงไว้ในสติปัฏฐานแยกเป็น
    ๓ คือส่วนชั่วได้แก่ นิวรณ์ คือ กามฉันท์
    พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
    วิจิกิจฉา ถ้าเกิดขึ้นที่จิต ก็ให้ดูให้รู้ว่า
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดูไป นิวรณ์ทั้ง ๕ เป็น
    ธรรมที่ชั่วทนปัญญาที่ดูไม่ได้ก็จะสงบ ต่อ
    แต่นั้นก็จะเหลืออยู่แต่ขันธ์ ๕ และอาย-
    ตนะ ๖ ซึ่งเป็นผลของเหตุเก่าอันมีขึ้น
    หรือมีอยู่ที่เป็นเหตุให้บุคคลคิด, ขันธ์ ๕
    อายตนะ ๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรง
    แนะนำให้พิจารณารู้จักขันธ์ ๕ ให้รู้จักอาย-
    ตนะ ๖ ว่าเป็นอย่างไร แล้วดูขันธ์ ๕
    อายตนะ ๖ ให้เห็นตามเป็นจริง ให้เป็น
    ผู้ดูไม่ใช่เป็นขันธ ๕ ไม่ใช่เป็นอายตนะ ๖
    เมื่อเป็นผู้ดูอยู่ ขันธ์ ๕ ก็เป็นส่วนหนึ่ง
    อายตนะก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ดูหรือเป็น
    อารมณ์ที่จะพึงดู, เมื่อดูเช่นนี้แล้ว จิตก็
    จะประกอบด้วยธรรมยิ่งขึ้นไป เหลือแต่
    กุศลกรรม ธรรมส่วนดีอันได้แก่โพช-
    ฌงค์ ๗ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น พิจารณา
    หรือตั้งสติพิจารณาดู เป็นสติสัมโพชฌงค์
    พิจารณาดูธรรมที่เกิดขึ้นกับจิต เป็น
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. พยาบามพิจารณา
    เป็นวิริยสัมโพชฌงค์. ทั้ง ๓ โพชฌงค์
    นี้ประกอบกันเข้า ก็จะประสบผล คือ
    ความเอิบอิ่มใจเป็นสุข จนถึงวางใจเป็น
    กลาง ไม่ยินดียินร้าย ซึ่งเรียกว่า อุเบกขา
    สัมโพชฌงค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็รู้สึกตัว
    เป็นผู้ดู ธรรมก็เป็นธรรม ผู้พิจารณา
    ก็เป็นผู้พิจารณา แต่จะเห็นได้ หรือจะ
    รู้สึกได้ ก็ด้วยบุคคลที่มีปัญญาประณีต
    ละเอียด ใช้ปัญญาที่ประณีตละเอียด
    พิจารณานี่เป็นสัจจธรรม ธรรมที่เป็นจริง
    อีกส่วนหนึ่ง ( วชิร. ๕๕๕-๕๕๖ ).
    ท่านแสดงอานิสงส์ของการบำเพ็ญสติ
    ปัฏฐานไว้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งได้บำเพ็ญสติ
    ปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึง
    หวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งผลทั้ง ๒ คือ
    ความรู้ทั่วถึง (ซึ่งท่านแสดงกันว่า
    ความเป็นพระอรหันต์) ในภพที่เห็นอยู่
    ( คือปัจจุบัน ) ๑ หรือเมื่อกิเลสที่เข้าไป
    ยึดถือยังเหลือมีอยู่ ( ก็คงถึง ) ความเป็น
    อนาคามี ๑ ๗ ปีจงยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    พึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ตลอด
    ๖ ปี---- ตลอด ๕ ปี---- ตลอด ๔ ปี----
    ตลอด ๓ ปี---- ตลอด ๒ ปี---- ตลอด ๑
    ปี---- ตลอด ๗ เดือน---- ตลอด ๖
    เดือน---- ตลอด ๕ เดือน---- ตลอด ๔
    เดือน---- ตลอด ๓ เดือน---- ตลอด ๒
    เดือน---- ตลอด ๑ เดือน---- ตลอดกึ่ง
    เดือน---- ตลอด ๗ วัน---- ผู้นั้นพึงหวัง
    ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งผลทั้ง ๒ คือ
    ความรู้ทั่วถึงในธรรมที่เห็นอยู่นี้ ( คือ
    ปัจจุบัน ) ๑ หรือเมื่อกิเลสซึ่งเข้ายึด
    ถือยังเหลืออยู่ ( ก็คงถึง ) ความ
    เป็นอนาคามี ๑.
    ทางนี้เป็นเครื่องไปอันเดียว เพื่อ
    วิสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง
    โศกและปริเทวะทั้งหลาย เพื่ออัสดงค์
    ( ดับไป ) แห่งทุกข์และโทมนัสทั้งหลาย
    เพื่อบรรลุธรรมที่ ( พระอริยะ ) เข้า
    ถึง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือสติ-
    ปัฏฐาน ๔ นี้ คำใดที่ ( เราคือพระผู้
    มีพระภาค ) กล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้น
    ( อันเรา ) อาศัยทางคือสติปัฏฐานนี้
    กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ( สติ. ปัพพ. )

    โดยอาโป
     
  2. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ยุคปัจจุบันมีตำรา อาจารย์แต่งตำราออกมามาก

    ซื่งอาจไม่ถูกต้องตามที่พุทธองค์สอนก็ได้

    เมื่อตีความคลาดเคลื่อน ย่อมปฏิบัติคลาดเคลื่อน ผลย่อมคลาดเคลื่อน จึงไม่แนะนำให้อ่าน

    ศึกษาสติปัฏฐานสี่นั้น เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ควรศึกษาจากพระไตรปิฏกครับ

    ในส่วนของพระสุตันปิฏก และ อภิธรรมปิฏก

    ส่วนมากแสดงไว้ย่อมาก เข้าใจยาก

    หากไม่เข้าใจนั้น มีอรรถกถาขยายความอยู่ ใช้เทียบเคียงกับ คำภีร์วิสุทธิมรรคได้


    สติปัฏฐาน ๔ - วิกิพีเดีย
     

แชร์หน้านี้

Loading...