เหรียญพระไพรีพินาศหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    จัดส่ง
    1735008917382.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    FB_IMG_1735115007789.jpg

    ขออนุญาตผู้เรียบเรียงชีวประวัติ พระสุนทรธรรมากร
    (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ)
    วัดธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    เพื่อเผยแพร่ประวัติครูบาอาจารย์ครับ
    นิมิตประหลาด
    ตอนอายุ ๑๙ ปี เดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย
    กับพระภิกษุ ๒ รูป โดยใช้เวลาเดิน ๑๕ วัน จึงถึง
    ได้ไปศึกษาการปฏิบัติจากชีปะขาวครุฑ ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติ
    เหมือนกันกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    ในขณะกำลังฝึกกรรมฐานอยู่นั้น ได้ปรากฏภาพนิมิต
    คือ พระอินทร์ลงมาทุกครั้ง อยู่ข้างๆ
    ในขณะที่นั่งสมาธิ เห็นทุกวันที่ปฏิบัติ
    จนตลอดว่า หลับตาลงก็เห็นแต่พระอินทร์ ไม่รู้จะแก้อย่างไร
    เพราะในขณะนั้น ก็ห่างจากครูบาอาจารย์ แก้นิมิตก็ไม่ได้
    ก็เห็นอยู่ทุกคืนๆ พอเห็นนานวันเข้าก็เกิดความพอใจ
    ในรูปร่างลักษณะของพระอินทร์ ในขณะนั้นใจก็อยากจะเป็นพระอินทร์
    แต่ก็ยังไม่ได้ปรารถนา เพียงคิดเฉยๆ การเห็นนิมิตคือพระอินทร์นั้น
    ท่านเล่าว่า เริ่มเห็นตอนที่ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม ตอนอยู่บ้านหนองหอยใหญ่
    อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    ถามพระอินทร์
    ท่านเล่าว่า วันนั้นเป็นวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ ท่านก็เริ่มนั่งสมาธิ
    พระอินทร์ก็ลงมาเหมือนเดิม ความรู้สึกในขณะนั้น
    ไม่ได้นั่งสมาธิ คือยืนที่ครกตำข้าว พระอินทร์ก็ลงมานั่งอยู่ที่หัวครกตำข้าว
    เมื่อท่านเห็นพระอินทร์ลงมา ก็ถามว่า
    “มหาบพิตรราชสมภาร เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนี้ มีวัตถุประสงค์อย่างไร”
    พระอินทร์ ตอบว่า “ที่โยมลงมาสู่มนุษย์โลกนี้ ก็เพราะต้องการอยากจะนิมนต์สามเณรขึ้นสวรรค์”
    จะให้อาตมาขึ้นเมื่อไร หลวงปู่ถามต่อไป “วันแรม ๑ ค่ำ” พระอินทร์ตอบ
    หลวงปู่ท่านคิดว่า แรม ๑ ค่ำ ก็เป็นวันพรุ่งนี้ และคิดต่อไปว่า ขึ้นสวรรค์ร่างกายเรายังหนักอยู่
    จะเหาะขึ้นไปเหมือนกับพระอินทร์ไม่ได้หรอก ก็คงจะไม่ได้เป็นแน่
    คิดไปคิดมาก็คิดว่า ถ้าขึ้นไปบนสวรรค์นี้ ดังนิมิตนี้ จะต้องไปแต่วิญญาณ
    ส่วนร่างกายคงจะไปไม่ได้ ถ้าไปแต่วิญญาณก็คงตาย
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    พิจารณาความตาย
    พอออกจากสมาธิ ก็มานั่งคิดพิจารณาว่า
    “เรานี้จะตายจริงๆ หรือ พรุ่งนี้”
    ตามความรู้สึกว่า ตายแน่ เพราะพรุ่งนี้เป็นวันแรม ๑ ค่ำ”
    คืนนั้นไม่นอน สมาธิต่อจนสว่าง
    พอสว่างแล้วก็ทำธุระปัดวาดกุฏิวิหาร
    ที่พักที่อาศัยตักน้ำเทกระโถนถวายพระ แล้วออกบิณฑบาตมาฉัน
    เมื่อฉันแล้ว ก็มาพิจารณาว่า หากเราตาย ก็ขอให้ตายตอนนั่ง
    ตายในขณะทำความเพียร จะไม่ตายในเวลาที่เราละความเพียรแล้ว
    ท่านนึกอยู่ในใจอยู่อย่างนี้ ก็เลยบอกพระภิกษุวันว่า
    อาจารย์ครับถ้าผมตาย ให้ตัดเอานิ้วมือผม นิ้วชี้ ข้างขวานิ้วหนึ่ง ข้างซ้ายนิ้วหนึ่ง
    ให้ตัดตรงโคลนนิ้ว ท่านบอกว่า ตายแล้วไม่เจ็บหรอก ให้ตากแดดให้แห้ง
    ถ้าไม่แห้งให้ย่างไฟก็ได้ ให้เอากลับไปให้แม่ของผม และบอกกับแม่ผมว่า
    ไม่ต้องเป็นห่วง ผมไปดีแล้ว ได้ไปสวรรค์ ตามคำของพระอินทร์พูด
    พระภิกษุวัน ก็กล่าวว่า ทำไมถึงพูดอย่างนี้ แต่ถึงอย่างไร สามเณรก็อย่าประมาท”
    สอนใจตนเอง
    หลวงปู่ก็พูดเท่านี้ แล้วจิตก็สอนตนเองว่า
    “ชีวิตนี้น้อยหนัก เมื่อถึงเวลาจะตายก็ต้องตาย
    ละร่างกายนี้ไป ชีวิตของคนเราไม่ยั่งยืน
    ทอดอาลัยในชีวิต ทำให้เกิดความกล้าไม่กลัว ”
    แล้วก็ทำความเพียรต่อไป ตั้งแต่เช้าถึงตอนเย็น
    เมื่อถึงเวลาทำวัตรเย็น ก็มาทำวัตรเย็นร่วมกับพระสงฆ์ เมื่อเสร็จแล้ว
    เข้าสู่ที่ปฏิบัตินั่งสมาธิ ออกจากสมาธิ ก็เดินจงกลมตลอด ออกจากเดินจงกลม
    ก็มานั่งสมาธิ ในช่วงที่พักผ่อนก็กำหนดลมหายใจไปเรื่อยจนหลับ
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    รู้ตัวตื่นขึ้นมา คิดว่า เราคงตายแล้ว
    ก็ร้องถามพระภิกษุที่อยู่ไม่ห่างนักว่า
    “อาจารย์ครับๆ” ก็ไม่มีเสียงตอบเงียบ ปลุกอย่างไรก็ไปขยับตัว”
    ก็มาคิดอีกว่า “คนตายเรียกคนเป็นอาจจะไม่ได้ยิน” ก็คิดต่อไปอีกว่า
    “เราตายแน่หรือ หรือว่ายังไม่ตาย” เอามือไปจับที่หนังสือตรงที่หัวนอน
    ก็ยังอยู่ปกติ จับดูมุ้งและถุงย่ามก็เป็นปกติ” มาคิดว่า
    ตายหรือไม่ตายก็ยังปกติอยู่” ก็สงสัยในใจอยู่
    ก็ลองปลุกพระที่อยู่ไม่ห่างอีกครั้ง
    ได้ยินเสียงท่านขานรับ แค่นั้นท่านก็รู้สึกตัวเลยว่า
    “เรายังไม่ตาย”ไม่นานก็สว่าง วันแรม ๑ ค่ำ ก็ผ่านไป
    ท่านก็คิดในใจว่า ไม่ตายแล้ว”
    หลังจากวันนั้นมา นิมิตที่พบเห็นพระอินทร์บ่อย ๆ
    ก็หายไปไม่ปรากฏอีกเลย
    รู้แล้ว ความหลงก็หายไป
    ท่านกล่าวกับข้าพเจ้าว่า
    “นิมิตทั้งหลาย ก็เป็นเพียงแค่ทางผ่านของการปฏิบัติ
    เหมือนเราเดินทางด้วยเท้า เราอาจเห็นสิ่งต่างที่อยู่ตามข้างทาง
    เห็นแล้วอย่าไปหลง เห็นแล้วอย่าไปติดอยู่
    ถ้าไปหลงไปติดอยู่ก็ไม่ไปถึงไหน ติดอยู่ตรงนั้นแหละ”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสมบูรณ์ครับ
    เหรียญกรมหลวงชุมพร นปช.หลังพระธาตุพนมและยันต์ดวงสมปราถนา หลวงปู่คำพันธ์ เนื้อทองแดง ขัดเงา
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    FB_IMG_1735111137328.jpg FB_IMG_1735111139975.jpg FB_IMG_1735111142580.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2024
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    FB_IMG_1735229621566.jpg

    เมื่อเดินธุดงค์รอนแรมจากอำเภอ กุสุมาลย์ ทะลุถึงเมืองสกลนคร ในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ได้พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส เมืองสกลนคร เมื่อเดินทางถึงวัดป่าสุทธาวาส ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของอาคันตุกวัตร คือผู้เข้าไปสู่อาวาสต้องแสดงความเคารพ ไม่แสดงความแข็งกระด้าง ลดผ้าห่มเฉวียงบ่า วางบริขารไว้ในที่อันสมควร ดูว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าในอาวาส ไม่ได้รับแขก เป็นโอกาสอันสมควร หลวงพ่อสิ้วจึงได้พาเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ขอพักค้างคืนอยู่กับท่าน ท่านพระอาจารย์เสาร์ไม่ขัดข้อง อนุญาตให้ฟักได้ คือในขณะนั้นต่างนิกายกันกับท่าน
    FB_IMG_1735229615892.jpg
    หลวงปู่เล่าว่า เมื่อได้ทัศนาและกราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ในครั้งแรก ได้เกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาจริยาวัตรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้คิดในใจว่า "เมื่ออายุของเราครบบวชพระได้ เราจะบวชในสังกัดธรรมยุติกนิกายแล้วจะติดตามไปปฏิบัติอยู่กับท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์" พักอยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าสุทธาวาสนี้ 2 คืน เมื่อฉันบิณฑบาตและจัดแจงบริขารลงในบาตร เตรียมการเดินทางเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อสิ้วจึงได้พาเข้ากราบนมัสการลาท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในขณะนั้นท่านได้เตือนให้ธรรมะว่า "ให้ตั้งใจให้ดี ตั้งสติให้ดีนะ" สามเณร บุญจันทร์พอได้ยินหลวงปู่เสาร์ให้โอวาทอย่างนั้น เกิดปีติเยือกเย็นซาบซ่านไปทั่วร่างกาย มีความเบากายเบาจิต คำที่ท่านเตือนให้โอวาทนั้นฝังอยู่ในจิตไม่ได้เลือนลาง
    เหรียญรุ่น 2 หลวงปู่บุญจันทร์กมโล วัดป่าสันติกาวาส อุดรธานี ออกวัดป่าโนนม่วง รุ่นเมตตา ปี๒๕๓๔ รุ่นเมตตา ศิษย์พระป่ากรรมฐาน ลป.เสาร์ ลป.มั่น
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241226_224951.jpg IMG_20241226_225014.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    ภายในเจดีย์-หลวงปู่บุญหนัก-ขันติโก-ณ-สำนักสงฆ์ป่าสัก-บ้านหม้อเหนือ.jpg
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก พระผู้ทรงอภิญญา ศิษย์หลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ในภาพจะเห็นว่าท่านเกศายาว คนอาจจะประมาทปรามาสท่านได้ แต่ท่านอธิษฐานของท่านไว้ อย่างไรไม่ทราบ มีเพียงแต่ลูกศิษย์บอกว่าเวลา ท่านปลงเกศาทีไร มีแต่คนมายื้อแย่งกันตลอด ท่านจึงปล่อยไว้ไม่ตัดอีกเลย
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๕๒
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้เมตตาเล่าถึงประวัติของ หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ว่า..
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกรูปหนึ่งเคยจาริกธุดงค์ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่หลายปีจึงกลับลงมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าสัก บ้านหม้อเหนือ
    ท่านอยู่ที่วัดป่าสักนี้ตั้ง ๔๐ ปีนู้น ไม่ใช่ง่ายๆ นะ ท่านต้องอด ต้องทน สู้กับโรคภัยไข้เจ็บของท่าน เดือน ๕ แดดร้อนๆ นี่ มีคนไปสังเกตดูว่าท่านจะอยู่ยังงัย ไปส่องดู ท่านนั่งสมาธิจนเหงื่อออกเต็มตัว ท่านจะอยู่แต่กุฏิของท่านนั่นหละ การที่ท่านจะได้ลงมาพื้นดินนี่มีน้อยนัก ท่านจะเดินจงกรมอยู่ระเบียง พอเดินเหนื่อยท่านก็เข้าไปนั่งภาวนา พอภาวนาเหนื่อยท่านก็ออกมาเดินจงกรมอยู่อย่างนั้นหละ พอถึงเวลาสรงน้ำก็ไปสรงน้ำ มีเท่านี้กิจวัตรของท่าน เพราะฉะนั้นท่านถึงมีญาณ รู้อดีต รู้อนาคต อย่างที่คนแถวนั้น ผู้ใกล้ชิด ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้เห็นพบประสบมาแล้วนั้นละ
    หลวงปู่บุญหนักนี้ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เคยเทศน์ยกย่องท่านว่า.. ท่านอาจารย์บุญหนักเป็นผู้มีคุณธรรมสูง เป็นผู้มีความรู้รู้อดีตรู้อนาคต เหตุที่ท่านไว้ผมยาวเพราะปลงผมแล้วท่านจะป่วยหนัก เพราะท่านมักป่วยออดๆ แอดๆ มาแต่หนุ่มแล้ว สมัยหนึ่งท่านเคยไปขออยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่เชียงใหม่ แต่หลวงปู่มั่นทราบว่าท่านมักจะป่วยบ่อยๆเลยให้ท่านไปรักษาอาการป่วยก่อนเพราะจะเป็นอุปสรรคในการภาวนา เรื่องความรู้ความเห็นของท่านเคยได้ยินว่า ชาวบ้านใครจะตาย ก่อนตาย ๓ วัน ๕ วันท่านทราบก่อนเลย
    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ท่านเป็นพระที่หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ไปมาหาสู่พุดคุยสนทนาธรรมอยู่ตลอด ตอนหลวงปู่บุญหนัก อาพาธหนัก หลวงปู่เหรียญ ได้มาเยี่ยมครั้งสุดท้ายและบีบนวดให้ เมี่อท่านสิ้นแล้วหลวงปู่เหรียญ ก็จัดการพิธีศพให้ และสร้างเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก ไว้ที่วัดป่าอรัญญบรรพต ตรงทางขึ้นเนิน ใกล้ศาลากลางเปรียญ และได้สร้างโรงเรียนบ้านหม้อเหนือ (หลวงปู่เหรียญอุปถัมภ์) ขึ้นในบริเวณที่เป็นสำนักสงฆ์ของหลวงปู่บุญหนัก

    เจดีย์-หลวงปู่บุญหนัก-ขันติโก.jpg
    #หลวงปู่บุญหนัก_ขันติโก
    ท่านอยู่ที่วัดป่าสักนี้ตั้ง 40 ปีนู้น ไม่ใช่ง่ายๆ นะ ท่านต้องอด ต้องทน สู้กับโรคภัยไข้เจ็บของท่าน
    เดือน 5 แดดร้อนๆ นี่ มีคนไปสังเกตดูว่าท่านจะอยู่ยังงัย ไปส่องดู ท่านนั่งสมาธิจนเหงื่อออกเต็มตัว ท่านจะอยู่แต่กุฏิของท่านนั่นหละ การที่ท่านจะได้ลงมาพื้นดินนี่มีน้อยนัก ท่านจะเดินจงกรมอยู่ระเบียง พอเดินเหนื่อยท่านก็เข้าไปนั่งภาวนา พอภาวนาเหนื่อยท่านก็ออกมาเดินจงกรมอยู่อย่างนั้นหละ พอถึงเวลาสรงน้ำก็ไปสรงน้ำ มีเท่านี้กิจวัตรของท่าน
    เพราะฉะนั้นท่านถึงมีญาณ รู้อดีต รู้อนาคต อย่างที่คนแถวนั้น ผู้ใกล้ชิด ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้เห็นพบประสบมาแล้วนั้นละ......
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เล่าถึงประวัติของ หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก

    หลวงปู่บุญหนัก ขันติโก เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น อีกรูปหนึ่ง
    เคยจาริกธุดงค์ไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่อยู่หลายปี
    จึงกลับลงมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ป่าสัก บ้านหม้อเหนือ
    เมื่อหลวงปู่บุญหนักมรณภาพ จึงได้สร้างโรงเรียนบ้านหม้อเหนือ (หลวงปู่เหรียญอุปถัมภ์) ขึ้นในบริเวณที่เป็นสำนักสงฆ์ของหลวงปู่บุญหนัก
    FB_IMG_1735232678178.jpg FB_IMG_1735232684851.jpg
    เหตุที่หลวงปู่บุญหนักไว้ผมยาว เพราะเมื่อท่านปลงผมก็มักจะเจ็บป่วย บางคราวถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ท่านจึงไม่ปลงผม
    แม้ท่านจะอายุมากแล้ว แต่ผมของท่านก็ยังคงดำสนิทต่างจากคนทั่วไปดังที่เห็นในรูป
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปถ่ายหลวงปู่บุญหนัก เลี่ยมประกบจีวรหลวงปู่ด้านใน
    ให้บูชา 1,500 บาทครับ

    IMG_20241226_225220.jpg IMG_20241226_225204.jpg IMG_20241226_225250.jpg IMG_20241226_225309.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    mhs (2)_resize.jpg
    เมื่อเอ่ยถึงเมืองแม่กลอง หรือจัดหวัดสมุทรสงครามแล้ว นักเล่นนักสะสมพระเครื่องจะต้องนึกถึงพระเกจิที่แก่กล้า วิทยาคมอย่างยอดเยี่ยม อาทิ “ หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม , หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ , หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี และหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ” ซึ่งในปัจจุบันพระเกจิอาจารย์ทีได้กล่าวนามไปแล้วนั้น ได้มรณภาพละสังขารไปแล้วทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันยังมีพระเถราจารย์ที่มากไปด้วยความรู้ความสามารถและได้สืบทอดสรรพวิชาอาถรรพณ์และศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเอาไว้ได้อย่างเข้มขลัง ไม่แพ้ครูอาจารย์ ในอดีต เป็นเพชรน้ำเอกแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบัน
    พระเถราจารย์ที่มหาชนกราบไหว้ด้วยหัวใจท่านนี้คือ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม หลายท่านที่เข้าไปนมัสการกราบขอศีลขอพรจากท่าน ล้วนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ยังไม่เคยพบพระที่มีอัธยาศัยดี ยินดีต้อนรับญาติโยมโดยไม่เลือกชั้นวรรณะเช่นท่านมาก่อน ยิ่งได้สนทนาธรรมรับฟังคำสอนสั่งของท่าน หลายท่านถึงกับเปลี่ยนแปลงปรับนิสัย มีชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น ได้พบแสงสว่างแห่งธรรมนำมาปฏิบัติในชีวิต จนเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ตลอดจนครอบครัว และผู้ใกล้ชิดก็มีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
    “ พ่อผมอยากบวช ” เด็กน้อยที่ชื่อ ด.ช.ปอย อยู่กำเนิด บอกกับบิดาเมื่อครั้งไปงานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนที่หลวงพ่อท่านเจ้าคุณกิตติวุฑโฒ ( พระเทพกิตติปัญญาคุณ) อดีตเจ้าสำนักจิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้จัดงานในครั้งนั้น
    คำตอบทีได้รับจากผู้เป็นพ่อคือเสียงเอ็ดตะโรทำให้เด็กตัวน้อยถอดใจ และไม่กล้าขอบวชอีกเลย เพราะกลัวผู้เป็นพ่อตี ตามประสาเด็ก แต่ด้วยบุญวาสนาที่เคยก่อเกิดไว้ในชาติภพและได้ถูกกำหนดเส้นทางชีวิตให้เป็นผู้สืบทอดสรรพวิทยาคุณจากครูบาอาจารย์ผู้เรืองอาคมแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศเมื่อครั้งอดีตกาล และได้รับมอบหมายเป็นที่วางใจจากเกจิอาจารย์หลายท่านให้คงรักษาสรรพคุณวิทยาการให้ดำรงคงอยู่ โชคชะตาที่เป็นดังเส้นทางชีวิตจึงลิขิตให้ ด.ช.ปอย ได้ก้าวสู่ร่มกาสาวพัตกร์ในเวลาต่อมาอย่างไม่คาดฝัน
    ด้วยจริยาวัตรงดงาม สุภาพอ่อนโยน มีอัธยาศัยดี เมตตาต่อทุกผู้ทุกนามที่เข้าไปกราบนมัสการศีล โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนามากความสามารถ ความศรัทธาที่ก่อเกิดจากประชาชนอย่างล้นหลามนี้เอง ที่ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข เจ้าอาวาสวัดประดู่ ตำบลประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระที่ประชาชนกราบไหว้ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง
    ด.ช. ปอย อยู่กำเนิด ผู้ถูกลิขิตให้เป็นผู้สืบทอดสรรพวิทยาแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 เดือน 8 ปีฉลู ณ บ้านบางสะใภ้ ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นบ้านเดิมของมารดาชื่อนางบุญเรือง อยู่กำเนิด บิดาชื่อนายประสิทธิ์ อยู่กำเนิด มีพี่น้องร่วมครรภ์มารดา 5 คน ตัวของท่านเป็นบุตรคนที่ 3 แต่ด้วยแสงไฟแห่งอายุขัยของพี่ชายทั้ง 2 ดับมอดลงตั้งแต่เด็ก ๆ ท่านจึงกลายเป็นพี่ชายคนโตโดยปริยาย
    ครอบครัวของท่านได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อำเภออัมพวา ซึ่งเป็นบ้านของโยมพ่อ และเข้าเรียนฝึกเขียนอ่านถึง 3 ที่ โรงเรียนวัดช่องลม โรงเรียนวัดประดู่ และจบชั้น ป.7 ที่โรงเรียนวัดใหญ่สามัคคี
    วิบากกรรมในอดีตชาติเปรียบดังมารผจญวัยเด็กของท่านไม่เคยแข็งแรงเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป ท่านเป็นเด็กร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอจวนเจียนจะตามพี่ชายทั้ง 2 ไปก็หลายคราจนพ่อของท่านได้นำตุ๊กตาเด็กไว้ผมจุก ผมแกละ ผมเปีย และผมปอย ซึ่งเป็นผมทรงโบราณมาให้ท่านเลือก ท่านก็เลือกตุ๊กตาผมปอยถึง 2 ครั้ง
    ตามโบราณกาลของไทยในการให้เด็ก ๆ ที่ไม่รู้ประสีประสาเป็นผู้เลือกตุ๊กตา เพราะผู้ใหญ่ท่านเห็นว่าเด็ก ๆ ที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเลี้ยงยาก ถ้าให้ไว้ผมธรรมดาคงจะไม่ดี จึงแก้เคล็ดด้วยการให้เด็กเสี่ยงทายทรงผม พอเปลี่ยนทรงผมแล้วจะกลายเป็นเด็กแข็งแรง เลี้ยงง่าย นับจากนั้นมาท่านก็ไว้ผมปอยจนกระทั่งบวชเป็นสามเณร
    ผลกรรมของท่านในวัยเยาว์ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เมื่อครั้งที่ท่านยังจำความได้ท่านป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิด บ้วนปากออกมามีแต่ลิ่มเลือดสีดำ โยมพ่อของท่านเห็นเช่นนั้นก็ตกใจรีบอุ้มลูกรักลงเรือจากคลองวัดประดู่ไปหาหมอที่จังหวัดราชบุรีทันที
    เคยมีผู้รู้กล่าวว่า “ วันมหัศจรรย์เกิดขึ้นได้ทุกวัน เพียงแต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเราในวันนี้เท่านั้น ” ในวันนั้นเองวันมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นกับครอบครัวอยู่กำเนิด โดยปกติแล้วเส้นทางสัญจรทางเรือจะมีการรับส่งผู้โดยสารเป็นระยะ
    แปลกแต่จริง ! วันนั้นไม่มีผู้โดยสารขึ้นลงเรือสักคนเดียว เรือวิ่งฉิวถึงจุดหมายในพริบตา ทันที่หมอจะช่วยชีวิตของท่านไว้ได้อย่างฉิวเฉียด
    ในช่วงที่ท่านเรียนชั้น ป.6 ท่านมีฝีขึ้นที่คอบวมจากคางขึ้นไป หมอเจ้าของไข้บอกเพียงว่าท่านอาจจะเป็นมะเร็ง ให้เพียงยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และให้นอนดูอาการอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น
    คนเราทุกคนย่อมมีผลกรรมที่ได้กระทำไว้ในอดีตชาติกันทุกคน เพียงแต่จะได้รับการผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือมีวาสนาต้องกันกับใครในชาติปางก่อน ณ โรงพยาบาลแห่งนั้น มีนายแพทย์ท่านหนึ่งชื่อคุณหมอสมหมาย วันนั้นคุณหมอเดินตรวจคนไข้ตามปกติ แล้วมาหยุดที่ ด.ช.ปอย ต่างคนต่างมองตาเหมือนมีอะไรบางอย่างสื่อถึงกัน คุณหมอสมหมายรีบเข้าไปหาโยมพ่อของท่านขอทำการผ่าเอาฝีออก เพราเกรงว่าจะช้ำอยู่ข้างใน
    โยมพ่อของท่านอนุญาตให้ทำการาผ่าฝีทันทีและพบว่าหนองอยู่เต็มไปหมด หัวฝีโผล่ขึ้นมาเม็ดหนึ่ง แล้วถ้าช้าเกินกาลว่านี้เชื้อร้ายจะขึ้นสมองแน่นอน คุณหมอสมหมายผ่าเอาฝีออกให้ เป็นตัววาสนาที่มีคนมาดูแลรักษาเหมือนเคยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันมาก่อน
    เมื่อโชคชะตากำหนด ย่อมยากที่จะหลีกพ้นไม่ว่าจะหลีกหนีไปลู่ทางไหน สุดท้ายก็ย่อมต้องกลับมาดังพรหมท่านลิขิตไว้ หลังจากที่ท่านเคยร้องขอต่อผู้เป็นพ่อว่าขอบวช แต่กลับถูกเอ็ดตะโรเสียยกใหญ่ จนท่านเลิกล้มความตั้งใจไปแล้วครั้งหนึ่งเท่านั้น ก็มีเหตุบังเอิญอย่างไม่ทราบสาเหตุ โรคหอบเข้ามาเคาะประตูชีวิตถึงหน้าบ้านท่านอย่างไม่มีใครรู้ตัว ท่านหอบโยนทั้งตัวหายใจไม่ออกแน่นหน้าอก โยมแม่ของท่านต้องลุกขึ้นมาติดเตาไฟให้ นอนเหมือนคนอยู่ไฟอาการหอบจึงค่อย ๆ คลายทุเลา
    ความเจ็บปวดของลูกทำให้ผู้เป็นพ่อทรมานสุดหัวใจ ระลึกนึกได้ว่าลูกเคยขอบวช หากยังให้เป็นฆราวาสเช่นนี้คงไม่ดีแน่ จึงถามลูกรักว่า “ อยากบวชใช่ไหม ”
    “ ถ้าให้บวชก็บวช ” เสียงที่เปล่งออกมาของท่าน เหมือนคนปกติทั่วไป ไม่มีอาการของคนเจ็บไข้ได้ป่วยปรากฏ เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้น โยมพ่อของท่านไม่รอช้ารีบอุ้มลูกรักเข้าสู่อ้อมกอดตรงไปที่วัดทันที เมื่อถึงวัดท่านเจ้าอาวาสถามถึงวัตถุประสงค์ของสองพ่อลูกในเย็นย่ำวันนั้น
    “ เอ็งมาทำไมกัน ”
    “ ผมจะเอาลูกมาบวชครับ ”
    ท่านเจ้าอาวาสจึงหันไปถามเด็กชายปอยในวัยเพียง 13 ขวบ ว่า “ เอ็งจะบวชเพื่ออะไร ”
    “ ผมอยากเรียนนักธรรม และเรียนบาลี ” เด็กชายตอบด้วยน้ำเสียงหนักแน่นและแววตาที่มุ่งมั่น สิ้นคำตอบของเด็กชาย ท่านเจ้าอาวาสจับโกนหัวและสั่งให้ตระเตรียมจีวรแล้วบวชให้ในวันนั้นทันที เพราะในตอนเช้ามีงานบวชพระ เด็กชายปอยจึงได้เข้าบวชเป็นสามเณรที่วัดปัจจันตาราม จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีหลวงพ่อสุด สิริธโร ( พระครูสมุทรธรรมสุนทร) วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ดังลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นอุปัชฌาย์จำพรรษา จากนั้นไปเรียนบาลีที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ศึกษาเล่าเรียนวิชาอะไรก็ตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้เองอาจารย์หลายท่านจึงพร้อมใจถ่ายทอดสรรพวิชาอย่างไม่หวงแหนแต่อย่างใด
    วันหนึ่งขณะที่ท่านกวาดลานหน้าอุโบสถวัดมหาธาตุอยู่นั้น (ท่านจำพรรษาในโบสถ์) มีชายแปลกหน้าคนหนึ่งซึ่งท่านไม่เคยพบมาก่อนมาอาศัยหลบร้อนผ่อนคลายอยู่ที่หน้าอุโบสถแล้วตะโกนเรียก
    “ เณร.......... เณร.................. นิมนต์มาทางนี้หน่อย ”
    ชายแปลกหน้าผู้นั้นได้มอบคาถาไว้ให้ท่านบทหนึ่ง โดยให้ท่านท่องจำให้ขึ้นใจ และเล่าว่าคาถาบทนี้ได้มาเมื่อครั้งบวชเป็นพระและเดินธุดงค์ไปทางเชียงใหม่ ซึ่งสมัยนั้นเป็นป่าดงดิบมีอันตรายอยู่รอบตัว พอเดินธุดงค์ไปได้สักระยะ มีชีปะขาวท่านหนึ่งมาปรากฏกายห้ามไว้มิให้เดินทางต่อ แต่ด้วยสัตย์และจิตที่ตั้งใจไว้ว่าจะต้องธุดงค์ด้วยเท้าให้ถึงเชียงใหม่ให้ได้ ถึงสิ้นชีพกลางทางก็ยอมเพราะชีวิตนี้ได้อุทิศแด่พระพุทธเจ้าไปแล้ว
    ชีปะขาวท่านนั้นจึงได้มอบคาถาบทนี้ให้ เมื่อร่ำเรียนจนมั่นใจว่าท่องขึ้นใจแล้ว ก็เดินธุดงค์สู่เชียงใหม่ทันทีโดยไม่ยอมหยุดพัก
    เมื่อใกล้ถึงจุดหมาย ชีปะขาวท่านเดิมปรากฏกายให้เห็นอีกครั้ง มันเป็นไปได้อย่างไรที่ชีปะขาวจะมาถึงก่อน ! ? แล้วทวงถามให้ท่องคาถาที่ได้มอบไว้ให้ ชายแปลกหน้าเมื่อครั้งเป็นพระธุดงค์ท่องคาถาให้ฟังอีกครั้ง แต่ตกไป 2 ตัว ชีปะขาว ท่านนั้นจึงให้ท่องใหม่จนคล่องแคล่วแล้วต่างคนต่างแยกย้ายกันไปตามจุดหมายปลายทาง
    ถึงทุกวันนี้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ยังไม่ทราบชื่อชายแปลกหน้า และไม่เคยเห็นมานอนที่หน้าอุโบสถอีกเลย หลังจากที่ถ่ายทอดคาถาบทสำคัญไว้ให้ท่านได้เก็บรักษา
    ครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านพักอยู่ในอุโบสถวัดมหาธาตุ ท่านได้ฝันว่ามีโยมท่านหนึ่งพาลงไปใต้ผืนดินคล้ายถ้ำ ภายในนั้นไม่มีทางออกแม้แต่ทางเดียวแต่กลับมีพระพุทธรูปทองคำองค์เล็กองค์ใหญ่เรียงรายมากมาย
    “ เณรอยากมาอยู่ที่นี่ไหม โยมผู้นั้นถาม ”
    “ ไม่หรอก ไม่อยู่ อาตมากลัว ”
    โยมผู้นั้นโยนคำถามสำคัญต่อไปว่า “ เณร............... ท่องวิรูปักเขได้ไหม ”
    “ ท่องไม่ได้ ไม่เคยท่องเลย ”
    สิ้นเสียงตอบของเณรน้อยโยมผู้นั้นก็จับมือของท่านแล้วให้ขึ้นบท “ วิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” แล้วพาเดินผ่านผนังถ้ำออกมาอยู่ที่โล่ง
    “ เณร ........ ดูวิญญาณที่เขาพามาจากเมืองมนุษย์สิ ” ชายแปลกหน้าชี้ชวนให้ดูเหล่าวิญญาณกลุ่มใหญ่ที่เดินเข้ามา
    “ เราจะไม่ให้เขาเห็นเรานะเณร ”
    โยมแปลกหน้าจับมือเณรไว้แน่น บอกกับเณรว่า “ เณรขึ้นวิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” พลัน !!! มหัศจรรย์บังเกิด วิญญาณเหล่านั้นพากันเดินผ่านไป เหมือนไม่มีสิ่งใดอยู่ตรงหน้า
    โยมแปลกหน้าพาเณรเดินทางต่อไป โดยชักชวนให้ไปดูคนกำลังจะฆ่ากัน แล้วให้ท่อง “ วิรูปักเข ” แล้วต่อด้วย “ หิ เม เมตตัง เมตตัง ” ทั้งสองเหาะเหินล่องลอย แล้วมาหยุดลงบนพื้นดิน โยมแปลกหน้ากล่าวขึ้นด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ ว่า “ วิญญาณดวงนี้ยังไม่ถึงที่ตาย เดี๋ยวต้องไปหาหน่อย ”
    คนที่กำลังจะฆ่ากันเมื่อเห็นโยมแปลกหน้าก็รู้ว่าเป็นยมฑูต จึงหยุดการฆ่าฟันหายวับไปทันที
    “ โยมจะกลับแล้วนะเณร ภายหน้าถ้ามีอะไรเดือดร้อน ให้นึกถึงโยม แล้วโยมจะมาช่วย แต่ก่อนที่โยมจะไปเณรเอามือแตะมือของโยมก่อน ”
    เพียงมือสัมผัสมือ โยมแปลกหน้าก็หายวับไป ด้วยวัยเยาว์ของเณรน้อยแม้จะอยู่ในฝันก็ซุกซนปีนป่ายขึ้นไปบนยอดต้นยาง หวังจะทดสอบว่าโยมแปลกหน้าได้ลั่นวาจาไว้จริงหรือไม่ คิดได้ดังนั้นแล้วจึงกระโดดจากยอดต้นยางลงมา
    แรงโน้มถ่วงของโลกมิอาจทำให้ร่างของเณรน้อยระคายเคืองจากแรงกระแทก ร่างของเณรค่อย ๆ ร่อนลงสู่พื้นดินอย่างช้า ๆ เมื่อสองเท้าสัมผัสพระแม่ธรณีก็สะดุ้งตื่น ถึงเวลาออกบิณฑบาตรพอดี
    สามเณรน้อยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างมุ่งมั่นตั้งใจให้สมตามวัตถุประสงค์จนสามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ โดยในปีนั้นท่านได้พบกับโยมสุธี พัฒนสุพงษ์ ซึ่งเป็นนักพยากรณ์ที่ท่านยกย่องว่าแม่นยำยิ่งกว่าตาเห็น
    ท่านได้ให้โยมสุธีพยากรณ์ว่าท่านจะสามารถสอบเปรียญธรรมในครั้งนั้นได้หรือไม่
    “ สบายเณร ได้แน่นอน ไม่ต้องคอยหรอก ” แล้วท่านก็สอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ดังคำพยากรณ์
    ในปีต่อมาท่านจะสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนเลย ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ พากเพียรพยายามศึกษาด้วยตนเอง มุมานะจนเข้าสอบในครั้งนั้น แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจ พากเพียรพยายามศึกษาด้วยตนเอง มุมานะจนเข้าสอบในครั้งนั้น แต่ความไม่มั่นใจในการสอนเพราะไม่ได้มีเวลาเข้าเรียน ท่านจึงเดินทางไปหาโยมสุธีเพื่อให้ช่วยพยากรณ์อีกครั้ง
    “ สอบได้ ” โยมสุธีตอบด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น
    แล้วท่านก็สอบเปรียญ 4 ประโยคได้ดังคำพยากรณ์ของโยมสุธีอีกครั้ง เหมือนมีวาสนาต่อกัน โยมสุธีได้ถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์ให้กับท่าน เน้นย้ำว่าวิชานี้ยังไม่เคยถ่ายทอดให้กับผู้ใด มีเพียงหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์อันล้ำค่าวิชานี้
    คำพยากรณ์ครั้งสุดท้ายของโยมสุธีเปรียบดังคำกล่าวลาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ และยืนยันว่าวิชาพยากรณ์ของท่านไม่เป็นรองใคร ในช่วงเดือนมีนาคมหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้กล่าวกับโยมสุธีว่า
    “ โยม อาตมาจะบวชวันที่ 10 กรกฎาคม นี้นะ ” ท่านกล่าวเชิญชวนอาจารย์ของท่าน
    “ โอ๊ย ! ผมหมดอายุไปแล้วละเณร ถ้าวันที่ 10 ผมยังไม่ตายนะ ผมจะไปงานอุปสมบทแน่นอน แต่น่าเสียดาย ผมจะหมดอายุแล้ว ”
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์พินิจพิจารณาด้วยตาเนื้อเห็นว่าสังขารของโยมสุธียังแข็งแรงดี เดินเหินคล่องแคล่ว ไม่น่ามีโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ จะเป็นไปได้อย่างไรที่โยมสุธีจะสิ้นอายุไขก่อนเวลาอันควร
    วันที่ 10 กรกฎาคม 2526 ในช่วงเวลาบ่าย ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปัจจันตาราม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระธรีญาณมุนี (สนิท เขมจารี ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพระครูสาครสุทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดปัจจันตารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อพระครูนิพัทธิ์วรการ ( หลวงพ่อเพี้ยน สุวณฺณปทุโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    วันนั้นไร้วี่แววของโยมสุธีมาร่วมงานจนกระทั่งท่านทราบข่าวจากญาติโยมว่า โยมสุธีได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อเวลา 7 โมงเช้า หลังจากที่เข้าห้องไอซียูเมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา
    อาจารย์ท่านแรกของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่ถ่ายทอดศาสตร์พยากรณ์ที่เรียกว่า “ วิชาทักษะพยากรณ์ ” ยืนยันอานุภาพแห่งวิชาที่ได้ถ่ายทอดด้วยชีวิตของท่านเอง
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เริ่มเรียนกรรมฐานครั้งแรกกับหลวงปู่คำ วัดดอยสุเทพ อาจารย์ตา วัดเขาแก้ว จังหวัดสระบุรี หลังจากฝึกกรรมฐานก็ไปเรียนทางสายอาคมกับฆราวาสชื่อ ครูนาค ที่เป็นโต้โผลิเก
    ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้สืบทอดและรักษาสรรพวิชาการไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าเหตุใดครูนาค ถึงเอ่ยกับท่านว่า “ ให้รีบไปนะ จะไม่อยู่แล้ว ” ท่านก็รีบไปหา ได้รับตำราต่าง ๆ มากมายมาคัดลอกไว้ เมื่อคัดลอกเสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปหาครูนาคอีกครั้ง คราวนี้ครูนาคท่านสอนวิธีการใช้แล้วให้กลับมาท่องจำครูนาคท่านสอนให้เรียนแบบแก้ ไม่ได้สอนเรียนแบบผูกแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่าอย่าเรียนวิชาผูกเลย มันบาป ให้เรียนแก้จะดีกว่า (ท่านบอกว่าส่วนใหญ่เป็นวิชาเกี่ยวกับการทำเสน่ห์และคุณไสย)
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะระลึกอยู่เสมอว่าตัวเรานี้เป็นเพียงผู้ช่วยของครูบาอาจารย์เท่านั้นเป็นเพียงลูกมือ วิชาทั้งหมดเป็นของครูบาอาจารย์ เราเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดและบอกกล่าวให้ครูท่านช่วย ว่าคนนั้นคนนี้เป็นอะไรมา เราจะถอนคุณไสยให้เขานะ ซึ่งเรื่องคุณไสยหรือการโดนของนั้นเป็นเรื่องของกรรมในแต่ละคนที่จะพบเจอ การจะถอนคุณไสยให้ทุเลาเบาบางจึงอยู่ที่ผลบุญผลกรรมของแต่ละคนด้วยส่วนหนึ่ง
    เมื่อท่านท่องจำจนขึ้นใจ ก็เดินทางกลับไปหาครูนาค ปรากฏว่าครูนาคได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ครูนาคยังมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีอาการของคนเจ็บไข้ได้ป่วยปรากฏให้เห็นแม้แต่น้อย หลังจากศึกษาวิชาจากครูนาค ท่านไปเรียนกับ ครูสุข นายเวียน เกี่ยวกับวิชาแคล้วคลาด และไปเรียนกับ ครูสุตา ที่ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเก่งเรื่องต่อกระดูกสันหลัง โดยใช้น้ำมันงา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีสามล้อเกิดอุบัติเหตุ หมอได้วินิจฉัยว่าจะต้องตัดแขน สามล้อคนนั้นไม่อยากพิการแขน จึงหนีออกจากโรงพยาบาลไปหาครูสุตา เพื่อต่อเส้นเอ็นและกระดูกให้ปรากฏว่าทุกวันนี้สามารถทำงานได้ตามปกติ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ท่านได้พบฆราวาสท่านหนึ่ง ชื่อครูรวม เก่งกาจเรื่องสักยันต์ ตัวท่านเองไม่ชอบการสักยันต์เท่าไหร่ เพราะเมื่อตรองดูแล้ว ถ้าพ่อแม่มาเห็นลูกสักลายจะเสียใจ จึงไม่หัดสักยันต์ แต่เรียนวิชาสักเอาพอเป็นความรู้เท่านั้น ครูรวมท่านจึงถ่ายทอดเรื่องอักขระขอม และวิชาสักยันต์ให้ โดยให้ไปสักกับต้นกล้วยให้เชี่ยวชาญคล่องแคล่ว เป็นวิชาอันล้ำค่าให้หลวงพ่อ-มหาสุรศักดิ์ได้เก็บและรักษาสืบทอดต่อไป
    เรื่องนี้ต้องย้อนความกลับไปเมื่อครั้งหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไปอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเปรียญ 5 ประโยค ขณะนั้นครูรวมท่านยังนุ่งห่มจีวรเป็นพระอยู่นั้น ด้วยความเมตตาจากท่านเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ท่านได้แนะนำพระมหาสุรศักดิ์ให้ได้พบกับครูผู้ที่จะประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้อีกท่านหนึ่ง
    “ นี่ท่านมาหาอาจารย์รวมหลังแห้งนะ อยู่ในอุโบสถ ถ้าสนใจวิชาก็เข้าไปดูสิ ”
    ความที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้ในวิชาท่านจึงรีบไปที่อุโบสถทันที แต่จะทำอย่างไรดีถึงจะได้รู้จักกัน เพราะไม่เคยพูดจาปราศัยกันมาก่อน ที่ข้างตัวของครูรวมมีกระดานเขียนอักขระยันต์ไว้ว่า “ นะโมพุทธายะ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เห็นแสงสว่างทันที รู้วิธีที่จะทำความรู้จักกับครูรวมจึงแกล้งอ่านอักขะยันต์ที่เขียนไว้ในกระดานไม่ออก
    “ เอ๊ะ ............. นะ มะ อะไร นะ ”
    “ นะโมพุทธายะไงท่าน ” แล้วมิตรภาพก็เริ่มก่อตัวขึ้น
    เรื่องฝีไม้ลายมือในการสักยันต์ของครูรวมเป็นที่กล่าวขานยิ่งในยุคนั้น มีการกล่าวกันว่าลายสักยันต์ของครูรวมเข้มขลัง และเรืองเดชด้วยอาคมเป็นอย่างยิ่ง เวลาที่ครูรวมสักยันต์ให้ลูกศิษย์ของท่านเสร็จ ท่านจะใช้ขั้วข้าวเปลือกที่ทั้งแหลมทั้งคมกรีดลงไปอีกครั้ง
    ขณะที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมคงคา ครูรวมท่านเอามีดตาลใส่ย่ามเข้ามาหาถึงกุฏิแล้วดึงมีดตาลออกมาจากในย่าม
    “ อาจารย์เอามีดมาได้อย่างไร เดี๋ยวตำรวจก็จับเอาหรอก ”
    ครูรวมตอบยิ้ม ๆ “ แหม ...... ท่านมหา มันรู้สึกคันที่มือ ผมไม่รู้เป็นอะไร ” แล้วครูรวมก็เอามีดตาลถากมือเหมือนกับท่านจะร้อนวิชาจึงแสดงให้ดู
    ช่วงที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์หัดเขียนหนังสือขอมใหม่ ๆ ตัวหนังสือยังไม่สวยเท่าใดนัก ครูรวมผู้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้สอนสั่งกำชับว่า “ ต้องเขียนอย่างนี้ เขียนให้มันสวยและดูขลังหน่อย ”
    “ คนเราวาสนาไม่เหมือนกัน อาจารย์เขียนสวย คนอื่นเขียนไม่สวย จะให้เขียนสวยเหมือนกับอาจารย์ได้อย่างไร ”
    เงียบ ! ครูบารวมท่านไม่ปริปากสักคำ แม้ลูกศิษย์จะเถียง นี่เองที่ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เกิดความเกรงใจในครูบาอาจารย์และตั้งใจเขียนหนังสือขอมให้สวยขึ้นสุดความสามารถ ทุกครั้งที่ครูรวมมาหาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่วัดปทุมคงคา หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะพยายามลองคัดตัวอักษรเขียนให้ได้ตามลายมือของอาจารย์ เป็นการหมั่นฝึกฝนวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดและตั้งใจที่จะทำให้อาจารย์ภูมิใจในตัวลูกศิษย์
    หลายเดือนผ่านไปหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้มีโอกาสพบกับครูรวม ยังไม่ทันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะกล่าวคำพูดใด ครูรวมท่านก็ทักขึ้นก่อนว่า
    “ ท่านมหา ผมฝันว่ามีคนมาคัดลอกเลียนลายมือของผมนะ ”
    เมื่อครั้งวันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จัดงานไหว้ครู หลังเสร็จสิ้นพิธี ต้องเก็บเตาไฟให้เรียบร้อย ญาติโยมที่มาช่วยงานต่างนำถ่านมากองรวมไว้ที่หน้าเตา ผ่านไปเพียงครู่ข้างบนไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้า แต่ข้างล่างยังมีถ่านไฟแดงครุกรุ่นอยู่ ลูกศิษย์คนหนึ่งไม่รู้ความจะเข้าไปเก็บเตา ผิดท่าประการใดไม่ทราบเท้าเหยียบเข้าไปเต็มเปา ไฟแดง ๆ เจอเนื้อนุ่ม ๆ มันก็ไหม้เท่านั้น
    ลูกศิษย์ผู้โชคร้ายวิ่งมาหาหลวงพ่อ มาหาหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ ร้องโอดโอยขอร้องให้ช่วยรักษา พอดีครูรวมท่านนั่งอยู่ข้าง ๆ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จึงขอให้ครูรวมท่านช่วยดับไฟให้ลูกศิษย์เพื่อเอาบุญ
    “ พรวด ! ” ครูรวมท่านเป่าทีเดียวเท่านั้น ลูกศิษย์คนดังกล่าวที่ก่อนหน้านี้ร้องครวญครางเจ็บปวดเจียนตาย กลับนิ่งเงียบทำตาปริบ ๆ พอเช้าวันรุ่งขึ้นเรียกมาดูอาการ ปรากฏว่าไม่มีแผลให้เห็นเหมือนกับว่าเนื้อนั้นไม่เคยต้องไฟแม้แต่น้อย
    เรื่องเล่าวิชาอาคมของครูรวมยังไม่จบเพียงเท่านี้ วันหนึ่งครูรวมเอาผ้าโพกหัวเข้าไปทางป่าท่านเจอรังผึ้งขนาดใหญ่อยู่ในโกดังที่ใช้เก็บศพ ท่านเห็นดังนั้นจึงไปตักน้ำใส่ขันมาตั้งไว้
    “ เอ้า ...อยู่กันอดน้ำ กินน้ำซะ ”
    เหมือนกับว่าเหล่าฝูงผึ้งจะฟังภาษาคนรู้เรื่องแบบว่านอนสอนง่าย ผึ้งทั้งฝูงก็ย้อยรังลงไปทั้งรังในขันน้ำ แล้วครูรวมท่านก็ถางป่าของท่านต่อไป พอเสร็จภารกิจ ครูรวมกลับมาดุที่ขันน้ำพบว่าผึ้งตายเกือบหมด มีเหลือรอดไม่กี่ตัวอยู่ข้างบนสุดของขันนิดหน่อยเท่านั้น ที่อยู่ในก้นขันน้ำนอนตายเต็มไปหมด
    “ แหม...กูเอาน้ำให้กิน พวกมึงลงไปกินน้ำกันจนตายเลยนะ ”
    ด้วยความเมตตาสรรพสัตว์ ครูรวมถือขันน้ำใบนั้นมาเคาะลงในสังกะสี แล้วเอาผ้ากั้นตัวผึ้งไว้ให้น้ำไหลออก แล้วลากสังกะสีแผ่นนั้นไปหน้าพระประธาน เอากะละมังมาครอบฝูงผึ้งไว้ แล้วท่านกราบหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ที่นั่งทบทวนตำราอยู่ก่อนหน้านี้ จากนั้นนั่งมองฝูงผึ้งที่สิ้นลมถูกกะละมังครอบร่าง สักครูหนึ่งครูรวมเอยกับหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ว่า
    “ มหา...ท่านช่วยเปิดดูหน่อยได้ไหม พวกมันฟื้นกันหรือยัง ”
    “ ยังไงนี่ตารวม ผึ้งมันตายไปหมดแล้ว จะฟื้นขึ้นมาได้ยังไง ” ท่านว่าตามที่เห็น
    “ เปิดดูหน่อยเถอะ มันฟื้นกันหรือยัง ”
    “ จะบ้าหรอตารวม ก็เห็นอยู่ว่าผึ้งมันปีกยับเยินไปหมดแล้ว จะฟื้นขึ้นมาได้ยังไง ”
    แล้วท่านก็เปิดกะละมังนั้นออกดูเพราะไม่อยากขัดใจ ปรากฏว่าฝูงผึ้งที่หลับใหลจากความตายฟื้นขึ้นมาบินออกไปจนหมด
    ภาพขยาย... ภาพขยาย... ภาพขยาย...
    เมื่อครั้งที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์กลับมาที่วัดประดู่ ท่านได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หยอดเพราะครูสุนทรธรรมกิจ ชินว์โส) วัดแก้วเจริญ ให้ช่วยงานเป็นพระเลขาฯ ของท่าน ทำให้ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาทำไหมมงคล 7 สี เรียนตะกรุดโลกธาตุ เรียนวิชาทำตะกรุดมหาระงับปราบหงสา และวิชาทำตะกรุดโสฬสมงคล
    “ เป็นวิชาสมภาร ต้องเรียนไว้ ” หลวงปู่หยอดกล่าวย้ำกับท่าน
    หากจะกล่าวถึงเรื่องราวของขลังแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง หลวงปู่แจ้งท่านเป็นต้นตำรับของตะกรุดมหาปราบ โสฬสมงคล โลกธาตุ เชือกตะขาบไฟ ซึ่งหลวงปู่ยิ้มท่านได้เรียนสืบทอดมาจากหลวงปู่แจ้ง และวิชาอันล้ำค่านี้ก็ได้กลับมาสู่วัดประดู่อีกครั้ง จากความเมตตาของหลวงปู่หยอดที่ท่านได้เมตตาเรียกหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เข้าไปถ่ายทอดวิชาด้วยตัวท่านเอง
    ความจริงแล้วหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ต้องการเล่าเรียนวิชานี้เพื่อสืบทอดต่อไป แต่ไม่กล้าเข้าไปขอเรียนจากหลวงปู่หยอด เกรงท่านจะตอบปฏิเสธแล้วจะมองหน้าท่านได้ไม่เต็มตา เมื่อได้รับความเมตตา จึงเป็นเรื่องที่น่าปิติยิ่งนัก
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้มุ่งมั่นศึกษาอย่างจริงจัง สรรพวิชาใด ๆ หากต้องการก็สามารถที่จะคัดลอกจากตำราหนังสือต่าง ๆ ได้ แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้น
    “ หากมีใครถามว่าเราสืบทอดวิชามาได้อย่างไร ก็ตอบเขาไม่ได้นะสิ ” ท่านไม่ยอดเป็นศิษย์ไม่มีครูเด็ดขาด
    ในวันที่ท่านเข้าไปกราบหลวงปู่หยอดฝากตัวเป็นศิษย์ ก่อนที่หลวงปู่หยอดจะรับพานท่านถามหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ว่า “ รับปากได้หรือไม่ จะไม่ด่าไม่แช่งคนไปตลอดชีวิต ”
    “ ได้ครับ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์รับคำ
    หลวงปู่หยอดท่านได้เล่าให้พระมหาสุรศักดิ์ฟังว่า สมัยที่หลวงปู่ใจไปเรียนกับหลวงปู่ยิ้ม ท่านจะเอาดินสอมาขีดวงไว้ให้รอบ สั่งหลวงปู่ใจว่าให้มองเทียนที่ไหม้ถึงตรงนี้ให้ดับ มองให้ดับแล้วถึงจะเรียนวิชา หากเทียนไม่ดับ ไม่ต้องเรียน
    หลวงปู่ใจปฏิบัติตามสั่งอย่างเคร่งครัด แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ จนกระทั่งท่านกลับมานอนพักที่เรือน แล้วกลับขึ้นไปปฏิบัติใหม่ตามคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ คราวนี้เทียนดับ ?
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์คิดว่านี้คงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของครูบาอาจารย์โบราณที่ท่านยังหวงวิชา ถ้าทำตามกฎที่ตั้งไว้ไม่ได้ ไม่ต้องเอาวิชาไป เช่นกันที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้รับคำกับหลวงปู่หยอด ว่าจะไม่ด่าไม่แช่งใครตลอดชีวิต แม้ว่าบางคนจะน่าด่า น่าแช่ง แต่เมื่อได้ลั่นวาจาไว้กับครูบาอาจารย์เมื่อระลึกนึกถึงคำสัตย์ที่ได้ให้ไว้ เปรียบเหมือนเป็นการอุปการคุณแก่ตัวท่าน ทำให้ท่านมีสติมีตบะ เป็นศิริมงคลแก่ตัวท่านสืบมา
    ดังที่ได้กล่าวไปแล้วท่านหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาทำเบี้ยแก้กับหลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ได้เรียนวิชาเป่าแผ่นทองคำจากหลวงปู่พิชัย ฐิติลาโภ (หลวงปู่ดำ) ปรมาจารย์ผู้เฒ่าแห่งวัดเขาหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พระผู้เชี่ยวชาญในวิชาการเป่าทองเข้าตัว
    ซึ่งวิชาเป่าทองเข้าตัวนี้ หลวงปู่ดำได้ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ดูก่อน โดยทองที่จะเป่านี้หลวงปู่ท่านได้ยกขึ้นมา 3 แผ่น แล้วให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ลองเปิดดูก่อนว่ายังมีทองอยู่หรือไม่ จากนั้นหลวงปู่ดำท่านก็เป่าพรวดเดียวทองหายหมดเลย !!! ไม่มีเหลือสักแผ่นเดียว
    ความมุมานะของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ ได้เล่าเรียนวิชาเป่าทองเข้าตัวจนเชี่ยวชาญแคล่วคล่องเป่าทองหายได้ต่อหน้าหลวงปู่ดำ เหลือเชื่อ ! เมื่อหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์กลับมาที่วัดประดู่ ท่านกลับเป่าทองหายไม่ได้เลยสักแผ่น ท่านกลับไปหาหลวงปู่คำ เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับอาจารย์ฟัง
    “ ท่านมหาว่ายน้ำเป็น แต่คิดว่าว่ายน้ำไม่เป็น ” หลวงปู่ดำเอ็ดหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ด้วยปริศนาที่ซ่อนเร้นคำตอบไว้ให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้ขบคิด ซึ่งหมายถึง ความมั่นใจในตนเอง ทุกอย่างอยู่ที่เรามั่นใจ อยู่ที่ใจ และต้องหมั่นฝึกฝนใช้ชำนาญ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์แก้ปริศนานั้นด้วยปัญญา และประสบความสำเร็จสมปรารถนา ดังปรากฏเป็นเรื่องเล่าขานทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เมื่อผู้ใดมีของดีย่อมมีผู้อยากลองของอยากลองวิชา หลวงปู่ดำได้เล่าให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ฟังว่า ครั้งหนึ่งมีแขกขายมุ้งมาลองวิชากับท่านโดยเอาด้านเขียนของปากกาปักที่พื้น ปากกาด้ามนั้นตั้งตรงไม่มีโอนเอน
    หลวงปูดำท่านนึกในใจว่าแขกขายมุ้งผู้นี้ดูถูกพุทธศาสนา หาว่าพุทธศาสนาทำอย่างเขาไม่ได้ ท่านจึงนำแผ่นทองออกมา “ บั้ง ” เปิดดูซิมีทองในกระดาษหรือไม่ แขกขายมุ้งเปิดดูด้วยความลำพองเห็นมีทองอยู่ในกระดาษอยู่มัดหนึ่ง หลวงปู่ดำบอกให้แขกขายมุ้งยื่นหน้ามาหาท่านใกล้ ๆ แล้วเป่าพรวดเดียวเข้าไปในหน้าของแขกขายมุ้งผู้นั้น
    “ เอ้า ” ลองดูใหม่ซิบัง ยังมีทองอยู่หรือไม่ แขกขายมุ้งเปิดแผ่นกระดาษออกมาก็ตกใจหน้าซีด เมื่อไม่พบแผ่นทองสักแผ่นเดียวในกระดาษ ทั้ง ๆ ที่เห็นกับตาเนื้อของตัวเองว่าก่อนหน้านี้ยังมีทองแผ่นอยู่มัดหนึ่ง
    “ มันเข้าไปอยู่ในกบาลของเอ็งหมดแล้ว ” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ไม่รู้ว่าแขกขายมุ้งจะโชคดีหรือโชคร้าย ที่มีทองอยู่ในตัวถึง 100 แผ่นแต่ไม่สามารถนำทองออกมาจากตัวได้สักแผ่นเดียว
    เรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา โยมพ่อของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ย่อมหลีกหนีไม่พ้น เมื่อโยมพ่อไม่สบาย ท่านนำส่งไปยังคลินิกแห่งหนึ่งของรองศาสตราจารย์นายแพทย์วิญญู ท่านทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยปกติแล้วคลินิกแห่งนี้เก็บค่ารักษาราคาแพง แต่นายแพทย์ท่านนี้ไม่เคยคิดค่ารักษาพยาบาลโยมพ่อของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เลยสักครั้ง
    คงเป็นด้วยบุญวาสนาแต่ปางก่อนที่เคยร่วมทำกันมา ในเวลาต่อมามารดาของนายแพทย์ผู้ใจบุญท่านนี้ล้มป่วยถึงขนาดที่คณะแพทย์งดเยี่ยมต้องใช้เครื่องช่วยหายใจยื้อชีวิต ญาติทำได้แค่เพียงส่องดูอาการจากช่องกระจกเล็ก ๆ ที่หน้าห้องเท่านั้น เมื่อหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ทราบข่าวจากญาติโยมท่านจึงเร่งรุดไปเยี่ยมทันที แล้วกล่าวกับนายแพทย์วิญญูว่า
    “ เอาอย่างนี้ไหมโยม น่าจะทำพิธีสืบชะตาให้โยมแม่นะ ” หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์แนะ
    ด้วยความกตัญญูของนายแพทย์ เกรงว่าการทำพิธีสืบชะตาให้มารดาจะทำให้ผู้ให้กำเนิดกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา จึงตอบปฏิเสธด้วยความสุภาพ เพื่อให้มารดาของตนได้ไปอย่างสบายจะดีกว่า
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ระลึกนึกถึงบุญคุณที่นายแพทย์ท่านนี้ได้เคยช่วยชีวิตโยมพ่อของท่านไว้เมื่อกลับมาถึงกุฏิท่านได้จุดเทียนเล่มหนึ่ง แล้วอธิฐานจิตระลึกถึงความฝันเมื่อครั้งยังเป็นสามเณร
    “ หากเมื่อคราวที่อาตมาเป็นสามเณรได้เห็นโยมท่านหนึ่งเป็นยมทูต หากเรื่องดังกล่าวเป็นความจริง เทียนที่อาตมาปักไว้ขอให้อย่าดับ ขอให้มอดหมดไปตลอดเล่ม แต่หากความฝันนั้นเป็นเพียงความฝันลมๆแล้ง ๆ แม้เพียงลมพัดผ่านเพียงแผ่วเบาก็ขอให้เทียนนั้นดับไป หากในความฝันเป็นจริงขอให้ช่วยต่ออายุโยมแม่ซึ่งเป็นมารดาของนายแพทย์วิญญูด้วย ”
    เช้าวันใหม่ เทียนไหม้หมดไปทั้งแท่งทั้ง ๆ ที่จุดไว้กลางห้องโถง แม้แต่หน้าต่างก็ไม่ได้ปิดไว้สักบานเดียว สิ่งที่ยากจะอธิบายได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน อาการของมารดาผู้เป็นแพทย์มีอาการดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
    แปลก ! ที่ลูกสะใภ้ที่เข้าช่วยดูแลอาการให้กับมารดาของนายแพทย์ท่านนั้น กลับถูกรถชนเสียชีวิต!!
    เรื่องนี้ทำให้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไม่กล้าขอต่อชีวิตให้กับผู้ใดอีกเลย แม้กระทั่งโยมพ่อของท่าน เพราะท่านไม่รู้ว่ายมทูตจะมาเอาชีวิตของใครไปแทน หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์หาได้เกรงกลัวกับความตาย หากยมทูตจะนำวิญญาณของท่านไปแทนวิญญาณของโยมพ่อ ท่านย่อมเสียสละชีวิตของท่านได้ แต่ท่านไม่อาจล่วงรู้ได้เลยว่ายมทูตจะนำพาชีวิตของใครไปแทน ท่านจึงไม่กล้าขอต่อชะตาชีวิตโยมพ่อกับยมฑูต สุดท้ายโยมพ่อของท่านก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ท่านได้ตรึกตรองในใจว่า การมีครูบาอาจารย์มากนั้นเป็นเรื่องที่ดีเพราะแต่ละท่านได้สอนสั่งแต่เรื่องดี ๆ ทั้งนั้น อย่างเมื่อคราวเรียนวิชา “ นะปัดตลอด ” กับหลวงพ่อจ่าง วัดเขื่อนเพชร ซึ่งท่านมีอายุมากแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นเลิศ ครั้งเมื่อเดินทางไปเล่าเรียนวิชาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ครั้งเมื่อเดินทางไปเล่าเรียนวิชาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จึงเตรียมเพียงกระดาษและปากกาติดตัวไปเท่านั้น เพื่อจดคาถาตามคำบอกของหลวงพ่อจ่าง ปรากฏว่าท่านจดตามไม่ทัน พอหลวงพ่อจ่างท่านสอบถาม หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์อึกอักไม่สามารถตอบได้ จึงต้องกลับมาศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ทำให้ท่านได้เรียนรู้ถึงการเรียนกับพระผู้ใหญ่ว่า
    “ ต้องเอาเทปไปบันทึกไว้ถึงจะดี ” แปลอีกนัยหนึ่งคือ การทำสิ่งใดต้องรอบครอบเตรียมพร้อมเสมอ
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ได้เรียนวิชาทำขุนทะเล (ปลัดขิก) กับอาจารย์สิงห์ วัดหนองโพธิ์ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อบุตร วัดพรหมวิหาร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง หลวงพ่อโศกท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ สมัยยังอยู่จำพรรษาที่วัดปากทะเล จังหวัดเพชรบุรี
    เวลาที่หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ทำขุนทะเลมักมีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่าน โดยเวลาที่ท่านทำขุนทะเล ท่านจะบอกกล่าวเฉพาะหลวงปู่แก้ว วัดปากทะเล หลวงปู่โศก วัดปากคลอง หลวงปู่บุตร วัดพรหมวิหารและอาจารย์เส็ง แต่ท่านไม่ได้บอกกล่าวหลวงพ่ออี๋แม้สักครั้ง
    เมื่อท่านเข้าสู่นิทรา ท่านฝันว่า มีพระภิกษุชรารูปร่างอ้วนนิด ๆ ขาว ๆ ท้วม ๆ เดินเข้าเดินออกในกุฏิของท่าน เหมือนมาทักท้วงว่าข้ามผ่านท่าน ไม่กล่าวถึงท่านได้อย่างไร ทำไมถึงไม่บอกล่าวท่าน หลังจากนั้นเวลาที่ท่านทำขุนทะเลท่านจะกล่าวถึงหลวงพ่อ
    ทุกวันนี้หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์จะทำวัตถุมงคลเฉพาะของหลวงปู่ใจ ( พระราชมงคลวุฒาจารย์) วัดเสด็จ หลวงปู่หยอด ชินว์โส วัดแก้วเจริญ วิชาที่เรียนมาจากอาจารย์รวมก็มีทำบ้าง นอกจากนี้ยังมี “ ยันต์มงกุฎพรหม ” ตามตำราของหลวงปู่แจ้งที่ได้เก็บรักษาเอาไว้และไม่ลืมกล่าวกับเจ้าของวิชาว่า
    “ หลวงปู่ ลูกจะขอสืบทอดวิชาเพื่อไม่ให้สูญหาย ขอให้หลวงปู่อนุญาตให้ลูกได้เรียน เพื่อจะได้สร้างวัด สร้างพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ”
    แล้วหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ก็ทำได้สมประสงค์ จนเป็นที่ล่ำลือไปทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบันนี้
    เรื่องราวที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรที่ท่านได้อ่านไปนั้น ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด ดังเช่นตัวอย่างของบุคคลท่านหนึ่ง กำนันตี๋ หรือคุณสหัสไชย เกียรติเกษมสุข กำนันตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ที่แต่เดิมนั้นกำนันตี๋เป็นคนใจร้อนวู่วาม พอได้มาพูดคุยกับหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดประดู่แล้ว ทำให้ดวงตาเห็นธรรม ได้ธรรมะและวิธีปฏิบัติกลับบ้าน
    จากคนใจร้อนวู่วาม กลายเป็นคนที่สุขุมใจเย็น เป็นที่ยกย่องของประชาชนในปกครอง มีชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด และยังกล่าวว่าตนเองเคยเดินทางไปกราบเจ้าอาวาสมาแล้วหลายวัดพบว่าแตกต่างจากเจ้าอาวาสวัดประดู่อย่างมาก เพราะหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ให้ความเป็นกันเอง ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ คนรวยคนจนเท่าเทียมกันหมด ใครที่ถวายของท่านให้ท่านก็จะนำมาแจกจ่ายแก่คนยากจนเพื่อดำเนินชีวิตต่อไป
    ส่วนพระเครื่องที่ได้จากมือหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์นั้นกำนันตี๋กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นเพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์เฉียดตายมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 กำนันตี๋ได้รับพระขุนแผนปฐมฤกษ์ จากหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ไปได้ไม่นาน ขณะเดินทางกลับราชบุรีไปบ้านไร่ เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถคันหน้าเกิดเพลาหักกระเด็นมาเกือบโดนรถของกำนันตี๋ที่นั่งอยู่ ซึ่งน่าจะกระเด็นเข้ามาโดยตรง เพราะพื้นถนนเป็นผิวเรียบไม่ขรุขระ แต่ปรากฏว่าเพลาดังกล่าวกระเด็นไปอีกทิศทางหนึ่ง ซึ่งกำนันตี๋เชื่อว่าเป็นเพราะพระขุนแผนปฐมฤกษ์ ที่ขึ้นคอเอาไว้นั่นเอง ที่ทำให้แคล้วคลาดรอดตายมาได้ดังปาฏิหาริย์
    ภาพขยาย..... ภาพขยาย..... ภาพขยาย.....
    ถ้าท่านได้อ่านเรื่องราวของพระดีศรีแม่กลองท่านนี้แล้ว จะเดินทางไปกราบสักการะท่านก็ไม่ยาก วัดประดู่ จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ใกล้กรุงเทพฯ เพียงลัดฝ่ามือเท่านี้เอง โดยเฉพาะการที่ได้เข้าไปชมฝีมือการปั้นหุ่นดินสอพองของหลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ฯ ด้วยแล้ว ต้องยอมรับกันในแวดวงนักปั้นที่เดียวว่างานปั้นหุ่นของท่านไม่เป็นสองรองใคร
    นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาและฝึกอบรมเยาวชนในชุมชนให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ พาผู้มีจิตศรัทธาเข้าชมพิพิธภัณฑ์พร้อมอธิบายเรื่องราวที่มาที่ไปได้อย่างคล่องแคล่วสนุกสนาน เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ท่านต้องการให้เยาวชนเข้าวัดสนใจในพุทธศาสนา ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติใช้ได้จริง พร้อมกันนี้ยังได้สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปะวัฒนะธรรมการทำหัวโขน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกทำหัวโขนและเศียรครูต่าง ๆ มีการศึกษาเรียนรู้และสาธิตโดยไม่มีการหวงวิชาแต่อย่างใด
    หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์เป็นผู้วางรูปแบบในการพัฒนาวัดให้เกิดความสะอาด สงบ ร่มรื่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน อันเป็นแนวทางให้โครงการ “ วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ” ประสบความสำเร็จและเป็นแนวทางในการพัฒนาวัดไปสู่ความสำเร็จและเป็นแนวทางในการพัฒนาวัดไปสู่ความยั่งยืน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้มีจิตศรัทธาแวะเวียนเข้าไปเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและกราบนมัสการสนทนาธรรมกับท่านมหาสุรศักดิ์อย่างไม่ขาดสาย
    พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกโข) น.ธ. เอก ป.ธ. 5 เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง เจ้าคณะตำบล วัดประดู่ ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม อายุ 55 ปี 33 พรรษา ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2504 โยมบิดาชื่อ นายประสิทธิ์ โยมมารดาชื่อนางบุญเรือง อยู่กำเหนิด เรียนจบชั้น ม.ศ.3 มีความชำนาญด้านศิลปกรรม งานประฏิมากรรม ( งานปั้น ) หลวงพ่อพระมหาสุรศักด์ ท่านได้บรรพชา ( บวชเป็นสามเณร )ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2519 ที่วัดปัจจันตาราม จ.สมุทรสาคร โดยมีพระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวงพ่อสุด วัดกาหลง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ท่านอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ที่วัดปัจจันตาราม โดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม. เป็นพระอุปัชฌาย์ได้รับฉายา
    อติสกโข หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและตั้งใจเรียนภาษาบาลีไวยกรณ์จน พ.ศ. 2519 ก็สามารถสอบนักธรรมตรีได้ พ.ศ. 2520 ท่าน สอบนักธรรมโทได้ พ.ศ. 2521 ท่านสอบนักธรรมเอกได้ที่ สำนักเรียน วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม. หลวงพ่อพระมหาสุรศักด์ ท่านมีความมานะ ศึกษา ทางธรรม มาโดยตลอดปี พ.ศ. 2529 สามารถสอบไล่ได้ ป.ธ. 5 ที่สำนักเรียน วัดปทุมคงราชวรวิหาร กทม. ท่านมีความชำนาญเรื่องการแสดงพระธรรม เทศนา วิชาโหราศาสตร์ วิชาออกแบบการก่อสร้าง ต่อมา พ.ศ.2533 ชาวบ้าน อ.อัมพวา ได้กราบนมัสการเรียนเชิญท่านมาจำพรรษารักษาการณ์ แทน เจ้าอาวาส วัดประดู่ พ.ศ.2534 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดประดู่ พ.ศ.2547 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์และได้เลื่อน
    ตำแหน่งมาโดยตลอด พ.ศ.2554 ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูพิศาลจริยาภิรม พ.ศ.2559 ท่านได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสนาธุระ ในราชทินนามที่พระภาวนาวิสุทธิโสภณ
    วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม
    ประวัติ วัดประดู่พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม สร้างขึ้นปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจาก วัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้ตรี ชนิดสามัญ ในสมัยหลวงปู่แจ้ง เป็น เจ้าอาวาส วัดประดู่ ท่านเป็นพระที่มีวิชาไสยเวทย์แก่กล้ามีลูกศิษย์ เช่น หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่ ใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ร.ศ.123 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นทางชลมารคมายัง วัดประดู่ฯ แห่งนี้ พระองค์ทรงทำครัวเสวยพระกระยาหารเช้าที่ วัดปรดู่ พระองค์ทรงพระราชศรัทธาต่อ หลวงปู่ แจ้งฯได้นิมนต์ท่านเข้าพระราชวังหลายครั้งที่สำคัญ พระองค์ ท่านได้ถวายเครื่องราชศรัทธาที่สำคัญให้ไว้กับหลวงปู่ แจ้งฯ เช่น เรือพระที่นั่งพร้อมเก๋ง 4 แจว พระแท่นบรรทม ตาลปัตรพัดรอง( พระนารายณ์ทรงครุฑ ) นาฬิกาปราริส สลกบาตร พร้อมฝาบาตรไม้ฝังมุก ฯ ปัจจุบันทาง วัดประดู่ฯ จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ กทม. ได้เสด็จทรงเยี่ยมคณะพระสงฆ์ วัดประดู่ฯและทรงอนุญาตให้สร้าง พิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระ ญาน สังวรฯวัดบวรนิเวศ กทม.ด้วย นำมายังซึ่งความปิติยินดีของคณะสงฆ์ วัดประดู่ฯและประชาชนโดยทั่วกัน
    พระมหาสุรศักดิ์ ท่านเรียนวิชาไสยเวทย์จากครูบาอาจารย์ดังนี้ วิชาโหราศาสตร์ จาก อาจารย์สุกรี พัฒนสุพงศ์ วิชาสักยันต์ จากอาจารย์ รวม สุขศรี วิชาอาคมจาก ครูนาค จ. กาญจนบุรี วิชาทำตะกรุดโลกธาตุ ตะกรุด ยันต์โสรฬมงคล ตะกรุดโภคทรัพย์ ตะกรุดมหาระงับปราบหงษา ตะกรุดมหาปราบ ไหมเบญจรงค์ 5 สี จากพระครูสุนทรธรรมกิจ ( หลวงพ่อ หยอด ชินวโส อดีต เจ้าอาวาส วัดแก้วเจริญ ) วิชาเป่าทอง จากหลวงปู่ ดร. พิชัย วัดเขาหงส์ จ. ลพบุรี วิชานะปัดตลอด จาก หลวงปู่จ่าง วัดเขื่อนเพชร จ.เพชรบุรี วิชาทำเบี้ยแก้ จาก หลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว จ. นครปฐม วิชาทำสีผึ้งน้ำมันมหาเสน่ห์ จากอาจารย์เสน่ห์ บ้านบางกล้วย จ.ราชบุรี วิชาประสานกระดูก จากอาจารย์สุดตา จ.ร้อยเอ็ด วิชาต่างๆจาก อาจารย์สุข ในเวียง จ. ร้อยเอ็ด วิชาทำขุนทะเล (ปลัดขลิก) จากอาจารย์เส่ง ศรีคำ วิชากัมมัฎฐาน จากหลวงปู่คำ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ วิชากัมมัฎฐาน จากหลวงพ่อ ตา วัดเขาแก้ว จ. สระบุรี พระมหาสุรศักดิ์ ท่านจัดสร้าง วัตถุมงคลเช่น เหรียญ รูปหล่อ ตะกรุดต่างๆ ผ้ายันต์ เบี้ยแก้ พ่อขุนทะเล ฯลฯ มีประสบการณ์ ด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันตามแนวพระเกจิอาจารย์สาย จ.สมุทรสงคราม
    ภาพขยาย.... ภาพขยาย.... ภาพขยาย...
    ที่มาโดย :: นิตยสารพระเครื่องเซียนพระ ฉบับที่ 546 และฉบับที่ 547 :: Web Design Factory
    web peakaji.com
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่อย่างสูงครับ
    1735577686813.jpg
    เหรียญพระไพรีพินาศปลุกเสกปี ๒๕๕๘ สวยเดิมผิวรุ้งครับ
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241230_235234.jpg IMG_20241230_235438.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    FB_IMG_1735532936133.jpg


    FB_IMG_1735666562123.jpg

    สวัสดีปีใหม่ทุกๆท่านครับขอนำพรของครูบาอาจารย์
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,793
    ค่าพลัง:
    +21,346
    วันนี้จัดส่ง


    1735731408102.jpg

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2025 at 18:36

แชร์หน้านี้

Loading...