สาระย่อ มหาชาติชาดก (พระมหาเวสสันดร) พร้อมเพลงประจำกัณฑ์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 30 เมษายน 2009.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    1.กัณฑ์ทศพร

    - เป็นสำนวนของกรมพระปรมานุชิตชิโนสร
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์คือ สาธุการ มี 19 คาถา
    - กล่าวถึงการอภิเษกของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพีกับพระนางผุสดีพระธิดาพระเจ้ากรุงมัทราช ซึ่งในอดีตชาติเคยบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นมเหสีพระพระอินทร์ เมื่อจุติจากสวรรค์ได้ทูลขอพร 10 ประการและได้เป็นพุทธมารดาสมปรารถนา

    พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้

    ๑.ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
    ๒.ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
    ๓.ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
    ๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
    ๕.ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
    ๖. ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
    ๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
    ๘.ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
    ๙.ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
    ๑๐.ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้


    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์ทศพร ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนาถ้าเป็นสตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจบุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่ายมีรูปกายงดงามมีความประพฤติดีกิริยาเรียบร้อยทุกประการฯ



    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิตตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ
    ๑. ต้องกระทำความดี
    ๒.ต้องรักษาความดีนั้นไว้
    ๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น


    ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-7855.html

    และ

    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=1&Cate=7

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.570758/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087

    [​IMG]

    2.กัณฑ์หิมพานต์

    - เป็นสำนวนของ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ ดวงพระธาตุ มี 134 พระคาถา
    - กล่าวถึงการประสูติของ “พระเวสสันดร” พระราชโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้ากรุงสญชัยโดยวันเดียวกันนั้นช้างเผือกชื่อ “ปัจจัยนาค” ได้ถือกำเนิดที่โรงช้างต้น พระเวสสันดรได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีและมีพระราชโอรสนาม “ชาลี” กับพระธิดานาม "กัณหา"
    และมี ๘ พราหมณ์คน จากเมืองกลิงครัฐ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค และพระเวสสันดรทรงโปรดยกให้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรถูกขับออกจากวัง

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ย่อมได้สิ่งปรารถนาทุกประการครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสมบัติอันมโหฬารมีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้วจะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาล หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร บริวารมากมายนานาประการ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า รถยานพาหนะจะนับจะประมาณมิได้ประกอบด้วยสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถฯ


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑.คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
    ๒. โลกต้องการผู้เสียสละมิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
    ๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มามารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"
    ๔. จุดหมายแห่งการเสียสละอยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=2&Cate=7
     
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    3.ทานกัณฑ์

    - เป็นสำนวนของสำนักวัดถนน
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือพญาโศก มี 209 คาถา

    กล่าวถึงพระราชมารดา รับอาสาไปทูลวิงวอนขอโทษพระเจ้ากรุงสัญชัยให้ทรงลดหย่อนผ่อนโทษแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน เรียกว่า "สัตตสดกมหาทาน" แล้วทูลลาพระชนกชนนี ทรงขึ้นราชรถเวียนรอบเมือง มีพราหมณ์ ๔คนมาทูลขอม้าและราชรถพระองค์ก็เปลื้องปลดพระราชทานให้

    เนื้อเรื่อง
    พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนักพระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดาและขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป


    สัตตสตกมหาทานนั้น คือ ช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว โคนม๗๐๐ ตัว รถม้า ๗๐๐ คัน นารี ๗๐๐ นาง ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน ผ้าอาภรณ์ ๗๐๐ชิ้น

    เสด็จออกจากนครพระนางมัทรีพาพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จออกป่าด้วยมิทรงยอมอยู่ในวังแม้พระเวสสันดรจะยับยั้งห้ามปรามมิให้มาตกระกำลำบากด้วยกันในป่า
    ระหว่างทางที่เสด็จขึ้นราชรถทองไปนั้นมีพราหมณ์วิ่งมาทูลขอม้าบ้าง ขอราชรถบ้าง พระเวสสันดรก็ยกให้ทั้งสิ้นในที่สุดจึงต้องทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดาเสด็จเข้าป่าไป

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์ทานกัณฑ์จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี และสัตว์สองเท้าสี่เท้าครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขอยู่ในปราสาทสร้างด้วยแก้ว ๗ ประการ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑.ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
    ๒.โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึงจบชีวิตด้วยการก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
    ๓.เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
    ๔. ยามบุญมีเขาก็ยกยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=3&Cate=7
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087

    [​IMG]

    4.กัณฑ์วนปเวสน์

    - เป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ พญาเดิน มี 57 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงกษัตริย์ทั้ง 4 เมื่อเสด็จไปถึงมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ได้ทูลเชิญให้พระเวสสันดรครองเมืองแต่พระเวสสันดรได้ทรงปฏิเสธ พระเจ้าเจตราษฎร์จึงให้เจตบุตรพรานป่าไปดูแลมิให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อเสด็จไปจนถึงเขาวงกต ได้พบพระอาศรมที่พระอินทร์สั่งให้พระวิศรรมเทพบุตรมาเนรมิตรไว้ให้ พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรีก็ทรงบวชเป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำมาเตรียมไว้
    ในป่านั้นอุดมด้วยผลไม้นานาชาติ มีสระโบกขรณีน้ำสะอาดใสไหลเย็น มีพฤกษาร่มรื่นและมีดอกไม้หอมหวลทั่วทั้งป่าราวกับวิมานทิพย์

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์เทศน์วนประเวศน์จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า จะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีปเป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด สามารถปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไปฯ


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล
    ๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยามเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ
    ๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้ เพราะการเสียสละของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันจะพึงได้ ด้วยความชื่นชม



    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=4&Cate=7
     
  5. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    5.กัณฑ์ชูชก

    - เป็นสำนวนของพระมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ เซ่นเหล้า มี 79 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงชูชกพราหมณ์ชราชาวเมืองกลิงคราษฎร์ มีภรรยาสาวชื่อนางอมิตตดา ซึ่งปรนนิบัติชูชกอย่างดี พราหมณ์หนุ่มจึงพากันอิจฉาด่าทอ ทุบตีภรรยาที่ไม่ปรนนิบัติต่อตนเช่นนั้นเลย นางพราหมณีเหล่านี้นั้นโกรธแค้นจึงมารุมต่อว่านางอมิตตดาอย่างรุนแรง ด้วนเทวดาดลใจ นางจึงบังคับให้ชูชกไปขอสองกุมารจากพระเวสสันดรมารับใช้นาง ชูชกจำใจทำตามเดินทางไปเขตเขาคันธมาทน์ใช้เพทุบายหลอกพรานเจตบุตรว่าเป็นทูตมาเชิญพระเวสสันดรกลับแคว้นสีพี เจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกทางไปเขาวงกตให้

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์ชูชกจะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ประกอบด้วยสมบัติ อันงดงามกว่าชนทั้งหลายจะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยาและบุตรธิดาก็็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑.ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย ยิ่งน้องเมียห้ามฝากเด็ดขาด อันตรายมาก
    ๒.ภรรยาที่ดีย่อมไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่ ข้าวดำ น้ำตัก ฟืนตอหักหา น้ำร้อน น้ำชาเตรียมไว้เสร็จ
    ๓.ของไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา ตำราหิโตปเทศกล่าวว่า "ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้ อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=5&Cate=7
     
  6. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    6.กัณฑ์จุลพน


    - เป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ คุกพาทย์ มี 35 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึง การบอกทางไปเขาวงกตให้ชูชกอย่างละเอียดของเจตบุตรพรานป่าพร้อมเลี้ยงอาหารและจัดเสบียงให้ชูชกไปกินกลางทาง

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์จุลพน แม้จะบังเกิดในปรภพใด ๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยดอกไม้หอมตลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยปทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบไปฯ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย
    ๒. คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด
    ๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตัว


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=6&Cate=7
     
  7. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087

    [​IMG]

    7.กัณฑ์มหาพน

    - เป็นสำนวนของพระเทพโมลี (กลิ่น)
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ เชิดกลอง มี 80 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางไปถึงอาศรมพระอัจจุตฤษีก็ได้ใช้เพทุบายลวงว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร พระอัจจุตฤษีหลงเชื่อจึงต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดีแล้วแนะทางไปเขาวงกตให้อย่างละเอียด เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค่ำ เฒ่าชูชกก็ซ่อนตัวบนชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ยอมยกลูกให้ใครแน่

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาพน จะได้เสวยสมบัติในดาวดึงส์เทวโลกนั้น แล้วจะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมาก มีอุทยานและสนระโบกขรณีเป็นที่ประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิจนิรันดรฯ


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าได้
    ๒. สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์
    ๓. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=7&Cate=7
     
  8. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    8.กัณฑ์กุมาร

    - เป็นสำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ โอดเชิดฉิ่ง มี 11 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    ค่ำคืนนั้นเอง พระนางมัทรีทรงสุบินร้ายว่า มีบุรุษผิวดำร่างสูงใหญ่นุ่งผ้าย้อมฝาด สองหูทัดดอกไม้แดง มือถือดาบใหญ่ ตรงเข้าจิกพระเกศาแล้วแทงดาบใส่ดวงพระเนตร ควักดวงตาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นกรีดพระอุระควักเอาพระทัยไปทั้งดวง

    พระนางร้องลั่นสะดุ้งตื่นบรรทมพระวรกายสั่นสะท้าย รีบไปหาพระเวสสันดรเพื่อจะให้ทำนายฝัน แต่เมื่อเข้าไปในอาศรมพระเวสสันดรก็ตรงตรัสว่า "น้องหญิงจงเล่าความอยู่ที่ข้างนอกเถิด" พระนางมัทรีทรงทูลเล่าพระสุบินนั้นพระทัยสั่น

    พระเวสสันดรทรงทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรุ่งเช้า แต่ทรงตรัสแก่พระนางว่าเป็นความตรากตรำลำบาก จึงทำให้เกิดธาตุวิปริตดังนี้

    เมื่อรุ่งเช้าพระนางมัทรีมีลางสังหรณ์ไม่อยากเสด็จเข้าป่า จึงตรัสสั่งพระโอรสและธิดาให้อยู่ใกล้ ๆ เสด็จพ่อ ครั้นพระนางมัทรีไปแล้ว เฒ่าชูชกจึงรีบเข้าไปยังบริเวณอาศรมทันที

    เมื่อพระกุมารชาลีเข้าไปถามต้อนรับ ชูชกสังเกตรู้ว่าพระกุมารเป็นเด็กฉลาด จึงทรงร้องตวาดไล่ไปด้วยหวังจะข่มให้กลัวแล้วหนีไป แล้วเฒ่าชูชกก็เข้าเฝ้าพระเวสสันดร พยายามอ้างถึงความลำบากยากเข็ญนานาประการ ในการเดินทางฝ่าอันตรายมาถึงป่านี้ ก็เพื่อขอปิยบุตรไปช่วยงานที่บ้าน เนื่องจากตนจนยากไม่มีเงินซื้อทาสได้ พระเวสสันดรทรงตรัสอนุญาต

    ชาลีกุมารแอบได้ยินจึงพาน้องสาวไปซ่อนที่ใต้ใบบัวข้างสระน้ำเฒ่าชูชกเห็นเด็กทั้งสองหายไป ก็แกล้งติเตียนตัดพ้อพระเวสสันดรด้วยคำบริภาษว่า "ไหนล่ะที่พระองค์บริจาคทาน ปากยกให้แต่ไหนละเด็กร้ายทั้งสองคงจะคิดหนีไปแล้ว พระองค์มิได้มีจิตบริจาคทานตามที่ลั่นสัจจะไว้เลย" เมื่อสดับดังนั้น พระเวสสันดรจึงทรงเสด็จออกตามหาทั่วบริเวณ

    ชาลีราชกุมารมิอยากให้พระราชบิดาออกร้องเรียกนานไป จึงจูงน้องออกมา

    พระเวสสันดรขอให้กัณหา ชาลี ติดตามเฒ่าชูชกไปเถิด แต่ให้รอร่ำลาพระนางมัทรีก่อน

    เฒ่าชูชกไม่ยอมฟัง รีบหาเชือกเถาวัลย์มาผูกมัดพระโอรสพระธิดา แล้วเอาหวายเฆี่ยนตีต่อหน้าพระเวสสันดร พลางฉุดกระชากลากไปอย่างโหดเหี้ยม

    กัณหา ชาลี ถูกตีรุนแรงก็ร่ำไห้หาพระบิดาพระมารดา พระเวสสันดรทรงกันแสง แต่ก็ตั้งมั่นในสัจจะที่พระองค์ตั้งจิตไว้

    ก่อนไปนั้นชูชกว่า ถ้าจะไถ่ตัวกันหาชาลีได้ต้องให้ ทาส ทาสี ช้าง ม้า โคนม ทองคำ สิ่งละ ๑๐๐ แก่ชูชก

    ครั้นเมื่อเฒ่าร้ายนำตัวพระกุมารและกุมารีไปแล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ดินฟ้าวิปโยคครืนครั่น ฟ้าผ่าน่าสะพรึงกลัวไปทั่วป่าหิมพานต์

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์กุมาร ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรยมาอุบัติ ก็จะได้พบศาสนาของพระองค์จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหันตผล พร้อมปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้ฯ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
    ๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า "ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก"
    ๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประนาม
    ๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ "ลูก"


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=8&Cate=7
     
  9. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    9.กัณฑ์มัทรี

    - เป็นสำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ ทยอยโอด มี 90 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงพระนางมัทรีออกจากพระอาศรมไปหาผลไม้ในป่า พระทัยหวาดหวั่นด้วยประหวัดถึงสองกุมาร ผลไม้ก็หาได้ยากจนพลบค่ำกำลังจะกลับอาศรม เทวดาก็จำแลงเป็นสัตว์ร้ายขวางอยู่พระนางมัทรีต้องวิงวอนอย่างอ่อนโยนอยู่นานจึงผ่านมาได้ เมื่อกลับถึงอาศรมพระเวสสันดรมิได้แจ้งความจริงโดยทันทีด้วยเกรงว่านางจะโศกเศร้าจนไม่อาจทนทานได้ จึงกล่าวแสร้งด้วยโวหารแสดงความหึงหวง พระนางมัทรีน้องพระทัยออกเที่ยวแสวงหาสองกุมารตลอดคืนจนสลบไป พระเวสสันดรแก้ไขให้ฟื้นขึ้นแล้วตรัสบอกความจริง พระนางมัทรีจึงทรงอนุโมทนา

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว ทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลายจะไปในที่แห่งใด
    ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญทุกหนแห่ง


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ "ลูกดีเป็นที่ชื่นใจของพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ" รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้ เพราะฉะนั้นพึงเป็นลูกแก้ว ลูกขวัญ ลูกกตัญญู ที่ชาวโลกชื่นชม พรหมก็สรรเสริญฯ


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=9&Cate=7
     
  10. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087

    [​IMG]

    10.กัณฑ์สักกบรรพ

    - เป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจองเกล้าเจ้าอยู่หัว
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ กลม มี 43 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงพระอินทร์เมื่อทรงทราบถึงบุตรทานนี้ เกรงว่าจะมีผู้อื่น มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์มาทูลขอเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรประทานให้ พระอินทร์ทรงอนุโมทนาแล้วถวายพระนางคืนพระเวสสันดร จากนั้นจึงแสดงองค์ให้ปรากฏและให้พรพระเวสสันดร 8 ประการดังนี้

    1.ให้พระเจ้ากรุงสญชัยมารับกลับนคร

    2.ให้ได้ช่วยนักโทษประหารให้รอดพ้นจากความตาย

    3.ให้ได้เป็นที่พึ่งแก่คน 3 วัย

    4.ให้มีใจยินดีต่อภรรยาตนเพียงผู้เดียว

    5. ให้โอรสมีอายุยืน อำนาจมาก

    6.ให้มีสรรพาหารไว้บำเพ็ญทานโดยเทวดาบรรดาลให้

    7.ให้ทรัพย์ที่บริจาคทานไม่หมดสิ้นและไม่เบื่อหน่ายในการบริจาคทาน

    8.ให้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงเมื่อสิ้นชีพ

    หรืออีกอย่างหนึ่ง

    ๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ
    ๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้
    ๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา
    ๔. ให้มั่นคงในมเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น
    ๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์
    ๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น
    ๗. ให้มีอาหารทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า
    ๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตรร่างเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไปทันที

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์สักกบรรพ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยลาภยศ ตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง ๔ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลฯ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์ หรือในกำปั่นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความ(ของ)ดีดีเด็ดเหมือนเพชรเหมือนทอง ถึงไร้เจ้าของก็เหมือนตัวยัง ถึงใส่ตู้อุด ถึงขุดหลุมฝัง ก็มีวันปลั่งอะหลั่งฉั่งชู การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่านย่อม


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=10&Cate=7
     
  11. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
    11.กัณฑ์มหาราช

    - เป็นสำนวนของพระปรมานุชิตชิโนรส
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ กราวนอก มี 69 พระคาถา


    เนื้อเรื่อง
    กล่าวถึงเมื่อชูชกพาสองกุมารหลงทางมาสู่หน้าพระลานกลางเมืองสีพี พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นเข้า เมื่อทรงทราบเรื่องก็ได้ทรงไถ่สองกุมารคืนตามพระเวสสันดรกำหนดค่าไว้ พระชาลีได้มีโอกาศชี้แจงเหตุผลการบำเพ็ญความดีของพระเวสสันดรต่อหน้าหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเตรียมไพร่พลเสด็จไปรับพระเวสสันดรกลับเมือง พอดีกับที่พราหมณ์ 8 คนจากเมืองกลิงคราษฎร์นำช้างปัจจัยนาคมาคืน พระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาราชจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชา เมื่อจากโลกมนุษย์ไป ก็จะได้ไปเสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะเป็นต้นฯ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน

    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=11&Cate=7
     
  12. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]
    12.กัณฑ์ฉกษัตริย์

    - เป็นสำนวนของกรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    - เพลงพิณพามย์ประจำกัณฑ์ ใช้เพลง ตระนอน มี 36 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง

    การเสด็จพระราชดำเนินของพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนาเป็นขบวนเสด็จ จากรุงเชตุดรนครหลวง ถึงเขาวงกตเป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ เท่ากับ ๙๖๐ กิโลเมตร

    กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกันด้วยในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน จึงได้ร่วมเดินทางไปยังเขาวงกตพร้อมกัน

    กองขบวนเกียรติยศ พร้อมมโหรีและไพร่พล ก็เคลื่อนสู่ป่าด้วยเสียงอันกึกก้องลั่นป่า พระเวสสันดรเข้าพระทัยว่า กองในพระราชวังคงจะมาประหารพระองค์ จึงทรงพาพระนางมัทรีไปหลบซ่อนในพุ่มไม้

    ครั้นพระเจ้ากรุงสัญชัยบอกความให้ทราบ พระนางมัทรีก็ออกมาถวายบังคม ต่างก็ร่ำไห้ด้วยสลดใจกันถ้วนทั่วในเคราะห์กรรมนี้ แม้บรรดาเสนาอำมาตย์และนางกำนัลต่างก็ร้องไห้กันทั่ว

    พระราชาตรัสให้พระเวสสันดรลาผนวชกลับคืนสู่เวียงวัง พระนางผุสดีก็ขอให้พระนางมัทรีคืนสู่พระราชวังเถิด พระนางมัทรีได้แต่กันแสงสวมกอดกัณหาพระธิดา และพระโอรสชาลีไว้แนบอกด้วยทรงคิดถึงยิ่ง บริเวณป่าเต็มไปด้วยเสียงคร่ำครวญระงมจนหมดสติไปทั้งสิ้น

    พระอินทร์บนสรวงสวรรค์เล็งทิพยเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงบันดาลสายฝนให้โปรยปรายเป็นอัศจรรย์ ในป่าชุ่มชื้นด้วยในโบกขรพรรษที่มิสาดให้ผู้ใดเปียกปอน บรรดาพระราชวงศ์ก็ทรงฟื้นขึ้นมาด้วยความแช่มชื่นปราโมทย์ หลังจากนั้นได้ขอลุแก่โทษและทูลอาราธนาให้พระเวสสันดรทรงลาผนวช

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์ฉกษัตริย์ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยพร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุก ๆ ชาติแลฯ

    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. พรากมีวันพบ จากมีวันเจอ จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
    ๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉานบันดาลสันติสุขแก่ส่วนรวม
    ๓. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา


    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=12&Cate=7

    และ

    http://www.watsungwej.moe.go.th/modules.php?name=News&file=print&sid=17
     
  13. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]

    13. กัณฑ์นครกัณฑ์

    - เป็นสำนวนของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    - เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ กลองโยน มี 48 คาถา
    - รวม 13 กัณฑ์ 1,000 พระคาถา

    เนื้อเรื่อง

    เมื่อพระเวสสันดรทรงลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี

    พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น

    ชาวเมืองต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังคงทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาจึงสวรรคตแล้วไป
    ปรากฎอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต


    รวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา ต้องนิราศจากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์นครกัณฑ์ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติ ข้าทาสชายหญิง ธิดาสามี หรือบิดามารดาเป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง จะทำการใด ๆ ก็พร้อมเพรียงกัน ยังการงานนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี


    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    การทำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น


    ข้อคิดประจำชาดก
    ชาดกเรื่องนี้มีคติธรรม สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณงามความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิตบาปหยาบร้ายก็ต้องได้ภัยเพราะตัวเอง ดั่งชูชกนั้นเอง<!-- / message --><!-- sig -->


    http://school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-7971.html

    http://www.watsungwej.moe.go.th/modules.php?name=News&file=print&sid=17

    http://www.rayong-culture.org/convention.php

    http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=kobkob&topic=13&Cate=7


     
  14. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีสืบแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจัดระหว่างเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมบริเวณที่จัดเทศน์มหาชาติจะมีการประดับด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย เพื่อให้คล้าย
    นิโครธาราม ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสเทศนาเรื่อง
    มหาเวสสันดรชาดกของพระพุทธองค์ ผู้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์ใดจะจัดเครื่องกัณฑ์มีธูปเทียนดอกไม้เงินตามจำนวนคาถาในกัณฑ์นั้น และเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุให้เข้ากับกัณฑ์โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าฟังเทศน์มหาชาติครบ 13 กัณฑ์ พันคาถาภายใน 1 วัน จะเกิดมหานิสงส์ได้ไปเกิดในสมัย
    พระพุทธศรีอาริยเมตไตรย์

    http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-7855.html


     
  15. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    เครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ

    เรื่องเครื่องกัณฑ์เทศน์ไม่จำกัดแน่นอน ในเรื่องการทำบุญ นอกจากเงิน ดอกไม้ ธูปเทียน ติดกัณฑ์เทศน์แล้ว เมื่อนึกถึงพระเวสสันดรออกไปบำเพ็ญเพียรธรรมในป่า คนก็จะจัดสภาพแวดล้อมสถานที่เทศน์เป็นป่า เครื่องกัณฑ์เทศน์ก็จะเป็นกล้วย อ้อย มะพร้าว ข้าวสาร อาหารแห้ง สำหรับการเดินทางไกล การสร้างพระอาราม เป็นเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์สร้างกุฏิเสนาสนะก็มี ในวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน มีตอนที่ขุนช้าง นางศรีประจันเตรียมการดังพรรณนาไว้ว่า

    ครานั้นเจ้าจอมหม่อมขุนช้าง น้ำใจกว้างขวางให้ฟุ้งซ่าน
    เด็กเอยหาไม้อย่าได้นาน จักสานกระจาดนั้นเตรียมไว้
    เอาเงินตราไปซื้อหาสังเค็ด บริขารเบ็ดเสร็จทั้งน้อยใหญ่
    หาผ้าเนื้อดีมาทำไตร ที่ผู้หญิงนั้นไปหาเครื่องกัณฑ์
    ข้าวแป้งระแนงตำทำเป็นผง มุกกลมขนมกงเร่งจัดสรร
    สิ่งหนึ่งอย่างน้อยต้องร้อยอัน อย่ากลังเปลืองน้ำมันไปซื้อมา
    ....................ฯลฯ
    คราวนั้นฝ่ายนางศรีประจัน เรียกข้าด่าลั่นอยู่อึงมี่
    แม่พิมพ์ช่วยแม่บ้างมาข้างนี้ เข้ามานี่ช่วยกันทันเวลา
    บ่าวไพร่ทำขนมประสมปั้น ชุบแป้งทอดน้ำมันอยู่ฉ่าฉ่า
    เฮ้ยไฟร้อนนักชักฟืนรา อีคงควักตักมาว่าเกรียมดี
    ขนมกรุบขนมกรอบเห็นชอบที คลุกน้ำตาลพริบพรีใส่ที่ไว้
    ข้าวเม่ากวนแป้งนวลชุบทอด เอาไม้แยงแทงหลอดใส่ยอดไข่
    มะพร้าวน้ำตาลหวานไส้ใน สุกแทงขึ้นไว้อ้ายลูกโดน

    เห็นภาพการทำข้าวของเครื่องใช้ในการติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติของสมัยนั้นได้อย่างดี

    http://www.watsungwej.moe.go.th/modules.php?name=News&file=print&sid=17
     
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ พระคุณเจ้า เจ้าค่ะ

    การเทศน์มหาชาติ
    ถือกันว่า ใครได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทุกกัณฑ์ จะได้รับอานิสงฆ์ใหญ่
    ความนิยมเทศน์ นิยมกันมาตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย และ กรุงศรีอยุธยา เดิมแต่งเป็นภาษามคธ มีพระคาถาพันหนึ่ง เรียกว่า “ พระคาถาพัน”ปัจจุบันแต่งเป็นร่ายยาว พิธีเทศน์ของราษฎรนิยมทำกันในวันออกพรรษา (เดือน ๑๑) นิยมฟังให้จบภายในวันเดียว แต่ปัจจุบันขึ้นอยู่กับความสะดวก มิใคร่ถือฤดูกาลเป็นที่แน่นอน<O:p

    เนื้อหาเรื่องเทศน์มหาชาติหรือเวสสันดรชาดก มีสาระความดีงามหลายอย่าง แต่หนักไปในทางเสียสละ ความไม่เห็นแก่ตัว เป็นเรื่องเร้าใจให้ผู้ฟังปลูกฝังนิสัยเมตตาการุณย์ และแสวงหาโอกาสสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้ตกยาก แม้ตนจะลำบากก็ยินดี ดังพระเวสสันดรเป็นอุทาหรณ์ คนส่วนใหญ่ได้ฟังเทศน์มหาชาติ ก็จะเกิดอุปนิสัยโน้มเอียงตามเยี่ยงของพระเวสสันดร


    นั่นคือความเห็นแก่ตัวจะค่อยๆ เบาบาง หากเป็นไปได้ว่า ทั้งโลกไม่มีคนเห็นแก่ตัวเลยแล้ว โลกสมัยพระศรีอาริยเมตตไตรก็จะผ่านเข้ามาหาเอง ความทุกข์ร้อนความทุกข์ยากจะไม่มี มีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข โดยมิต้องรอให้ตายเสียก่อนแล้วจึงไปเกิดประสบพบพานยุคพระศรีอาริย์ในชาติหน้า
    <O:p</O:p
    การที่ชาวพุทธไทย นิยมการฟังเทศน์มหาชาติกันอย่างไม่เบื่อหน่าย นอกจากจะเพลิดเพลินในการฟัง เพราะประกอบด้วยท่วงทีลีลาทำนองที่แตกต่างกันไปแล้ว ก็เห็นจะเป็น อานิสงฆ์ของเทศน์มหาชาติ ท่านกล่าวว่า ผู้ใดได้ฟังมหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ ๑,๐๐๐ พระคาถา จบในวันเดียว จะมีอานิสงฆ์ถึง ๕ ประการคือ
    <O:p</O:p
    ๑. จะเกิดในศาสนาพระศรีอาริยเมตตไตรย ซึ่งมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต<O:p</O:p
    ๒. จะได้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพย์สมบัติอันโอฬาร<O:p</O:p
    ๓. จะไม่ไปเกิดในอบาย เมื่อตายแล้ว<O:p</O:p
    ๔. จะเป็นผู้มีลาภ ยศ ไมตรี มีความสุข<O:p</O:p
    ๕. จะได้บรรลุมรรคผลพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เหตุที่เรียก มหาชาติเพราะเป็นการประชุมงแห่งบารมีครั้งยิ่งใหญ่ คำว่า “บารมี” หมายถึง การบำเพ็ญคุณธรรมที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จ คือ พระโพธิญาณ ๑๐ พระชาติ

    <O:p</O:p
    ๑. พระเตมีย์ใบ้ - ทรงบำเพ็ญ เนขัมมบารมี คือ การถือบวช<O:p</O:p
    ๒. พระมหาชนก - ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี คือ ความเพียร<O:p</O:p
    ๓. พระสุวรรณสาม –ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี คือ ความรัก ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข<O:p</O:p
    ๔. พระเนมราช – ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจอันแน่วแน่<O:p</O:p
    ๕. พระมโหสถ – ทรงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี คือ ความรอบรู้<O:p</O:p
    ๖. พระภิรทัต – ทรงบำเพ็ญ ศีลบารมี คือ สำรวมกาย วาจา ใจ<O:p</O:p
    ๗. พระจันทกุมาร – ทรงบำเพ็ญ ขันติบารมี คือ ความอดทน<O:p</O:p
    ๘. พระนารทะ -ทรงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี คือ การวางใจเป็นกลาง<O:p</O:p
    ๙. พระวิฑูรบัณฑิต – ทรงบำเพ็ญ สัจจบารมี คือ การรักษาความสัตย์ และความซื่อตรง <O:p

    ด้วยความเชื่อ อันเป็นพื้นฐานดั่งเดิม มหาชาติเวสสันดรชาดกนี้ เป็นค้มภัร์แห่งมงคล เป็นคัมภีร์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เพราะเนื้อความเนื้อหาในท้องเรื่องนั้น มีกระแสความเมตตา การเสียสละ ความช่วยเหลือเจือจุน อยู่ในนั้น สอนให้รู้จักความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มิเห็นแก่ตัว อันจะเป็นเหตุบันดาลให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้น จึงถือว่าผู้ใดได้สดับรับฟังศึกษาเทศน์มหาชาติ ย่อมจะเป็นแนวทางอันจะโน้มไปสู่ความสุข ความเจริญ ถึงกับมีความเลื่อมใส ยึดมั่นว่า แม้จะฟังไม่รู้เรื่อง เช่น ฟังคาถาพันก็จะเกิดเป็นสิริมงคลมากมาย และมักนิยมเอาน้ำพุทธมนต์ นำพรจากพระคาถาที่พระเทศน์มาอาบและประพรมอาคารบ้านเรือน เพื่อหวังให้เกิดความสงบร่มเย็นเป้นสุขแก่สมาชิกในครอบครัว สังคม บ้านเมือง
    <O:p</O:p
    <O:p<O:p</O:p
    ฉะนั้น การศึกษารับฟังเรื่องเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตน จำเร็ญรอยตามปฏิปทาพระโพธิสัตว์เวสสันดร นั่นคือบูชาคารวะพระองค์ท่านด้วยความเสียสละ กำจัดความเห็นแก่ตัวให้ลดลงทีละเล็กทีละน้อย จะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีส่วนช่วยให้โลกสันนิวาส คือ สังคมมนุษย์น่าอยู่ น่าอาศัย อบอุ่นขึ้น ดังพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้ว
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

แชร์หน้านี้

Loading...