"สูตรเว่ยหล่าง" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 11 กรกฎาคม 2009.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]

    "สูตรเว่ยหล่าง" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

    อยู่มาวันหนึ่ง พระสังฆปริณายกเรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมดแล้วประกาศว่า "ปัญหาแห่งการเวียนเกิดไม่มีที่สิ้นสุด เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ วันแล้ววันเล่า แทนที่จะพยายามเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากทะเลแห่งการเกิดตายอันขื่นขม ดูเหมือนว่าพวกเธอกลัับหมกมุ่นอยู่แต่ในบุญกุศลชนิดที่ถูกตัณหาลูบคลำเสียแล้ว อย่างเดียวเท่านั้น (กล่าวคือบุญกุศลที่เป็นเหตุให้เกิดใหม่) ถ้า จิตเดิมแท้ ของพวกเธอยังมืดมัวอยู่ บุญกุศลทั้งหลายก็ยังจะไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย จงตั้งหน้าค้นหาปรัชญา ( ปัญญา) ในใจของเธอเอง แล้วเขียนโศลก ( คาถา) มาให้เราโศลกหนึ่ง ว่าด้วยเรื่่อง จิตเดิมแท้ ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า จิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปริณายก) พร้อมทั้งธรรมะ (อันเป็นคำสอนเร้นลับของนิกายธยานะ) และฉันจะสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก (แห่งนิกายนี้)
    จงไปโดยเร็วอย่ารีรอในการเขียนโศลก การมัวตรึกตรองไม่จำเป็น และไม่มีประโยชน์อะไร ผู้ี่ที่รู้แจ้งชัดในจิตเดิมแท้ จะพูดได้ทันทีที่มีใครมาชวนพูดด้วยเรื่องนั้น และมันจะไม่ละไปจากคลองแห่งญาณจักษุของเขา แม้ว่าเขาจะำกำลังรบพุ่งชุลมุนอยู่กลางสนามรบก็ตามที"

    เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้น ศิษย์อื่นๆ (เว้นแต่ชินเชาหัวหน้าศิษย์) พากันถอยออกไปและกล่าวแก่กันและกันว่า "ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับคนชั้นพวกเราๆ ที่จะไปตั้งสมาธิเพ่งจิตเขียนโศลก ถวายคุณพ่อ เพราะว่าตำแหน่งสัีงฆปรินายกนั้น ใครๆ ก็เห็นว่าจะไม่พ้นมือท่านชินเชา ผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ไปได้ เมื่อเราเขียนใช้ไม่ได้ มันก็เป็นการลงแรงเสียเปล่าๆ "เมื่อได้ปรับทุกข์กันดังนี้แล้ว ศิษย์เหล่านั้นทุกคนได้พากันเลิกล้มความตั้งใจในการเขียน และว่าแก่กันว่า "เราจะไปทำให้มันเหนื่อยทำไม? ต่อไปนี้ เราคอยติดตามหัวหน้าของเรา คือชินเชาเท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ว่าเขาจะไปข้างไหน เราจะตามเขาในฐานะเป็นผู้นำ"

    ในขณะเีดียวกันนั้น ชินเชา ผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก ก็หยั่งทราบความเรื่องนี้ได้ด้วยตนเอง เ่ขารำพึงว่า "เมื่อพิจารณาดูถึงข้อที่ว่า เราเป็นครูสั่งสอนเขาอยู่ คงไม่มีใครเข้ามาเป็นคู่แข่งขัน ในการเขียนโศลกกับเรา แต่เรายังฉงนอยู่ว่า เราจะเขียนโศลกถวายพระสังฆปรินายกดีหรือไม่ ถ้าเราไม่เ่ขียน พระสังฆปรินายกจะทราบได้อย่างไรว่า ความรู้ของเราลึกซึ้งหรือผิวเผินเพียงไหน ถ้าวัตถุประสงค์ในการเขียนของเราในครั้งนี้ ได้แก่ความหวังจะำได้รับธรรมะจากพระสังฆปรินายก ก็แปลว่าเจตนาของเราบริสุทธิ์ แต่ถ้าเราเขียนเพราะอยากได้ตำแหน่งสังฆปรินายก นั่นแปลว่ามันเป็นความมีเจตนาชั่ว ในกรณีดังกล่าว จิตของเราก็เป็นจิตที่ข้องอยู่ในโลก และการกระทำของเราก็คือ การปล้นยื้อแย่งบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระสังฆปรินายก แต่ถ้าเราจะไม่เขียนโศลกยื่นท่าน เราก็ไม่มีโอกาสจะได้รับทราบธรรมะนั้น มันช่างยากที่จะตัดสินใจเสียจริงๆ"

    ที่หน้าหอสำนักของพระสังฆปรินายกนั้น มีช่องทางเิดินตลอดสามช่อง ที่ผนังของช่องเหล่านี้ โลชุน จิตรกรเอกแห่งราชสำนักได้เขียนภาพต่างๆ จาก "ลังกาวตารสูตร" แสดงถึงการกลับกลายร่างของผู้ที่เข้าประชุม และเขียนภาพอันแสดงถึงชาติวงศ์ ของพระสังฆปริณายกทั้งห้าองค์ เพื่อเป็นความรู้ของประชาชน และให้ประชาชนได้ทำสักการะบูชา

    เมื่อชินเชาแต่งโศลกเสร็จแล้ว ได้พยายามที่จะส่งต่อพระสังฆปริณายกตั้งหลายหน แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้จะถึงหอสำนักของพระสังฆปริณายกทีไร หัวใจเต้นเหงื่อกาฬแตกท่วมตัวทุกที เขาไม่สามารถที่จะแข็งใจเข้้าไปส่งได้สำเร็จ ชั่วเวลาเพียง 4 วัน เขาพยายามถึง 13 ครั้ง ในที่สุดเขาก็ตกลงใจว่า "เราจะเขียนมันไว้ที่ฟาผนังช่องทางเดินให้พระสังฆปริณายกท่านเห็นเองดีกว่า ถ้าถูกใจท่าน เราจึงค่อยออกมานมัสการท่าน และเรียนท่านว่าเราเป็นผู้เขียน ถ้าท่านเห็นว่ามันผิดใช้ไม่ได้ ก็แปลว่าเราได้เสียเวลาไปหลายปีในการมาอยู่บนภูเขานี้ และทำให้ชาวบ้านหลงเคารพกราบไหว้เสียเป็นนาน โดยไม่คู่ควรกันเลย และเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แปลว่าเราไม่ได้ก้าวหน้าในการศึกษาพระธรรมเลยแม้แต่น้อย มิใช่หรือ?"

    ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืนในวันนั้น ชินเขาถือตะเกียงลอบไปเขียนโศลกที่เขาแต่งขึ้นไว้ ที่ผนังช่องทางเดินทานทิศใต้ โดยหวังอยู่ว่า พระสังฆปริณายกจะได้เห็นและหยั่งทราบถึงวิปัสสนาญาณที่่เขาได้บรรลุโศลกนั้นมีว่า

    "กายของเราคืิอต้นโพธิ์(1)
    ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
    เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง
    และำไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"


    (1) ต้นโพธิ์ในที่นี้ หมายถึงไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่นได้แก่ไม้ตระกูลมะเดื่อ(Ficus) ทั่วไป ข้อนี้้หมายถึงความไม่มีแก่นสารของร่่างกาย และเห็นความสำคัญอยู่ที่ใจ ซึ่งจะต้องคอยรักษาให้สะอาดตามสภาพเดิมอยู่เสมอ ขอเตือนผู้อ่านและผู้ศึกษาให้กำหนดจำข้อความในตอนนี้ให้ดีเพราะเป็นข้อความที่ชี้ให้เห็นว่า เซ็นไม่เห็นพ้องกับมติที่ว่ามีอาตมัน ซึ่งจะทราบได้เมื่ออ่านต่อไปถึงตอนข้างหน้า ซึ่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งกระจก -ผู้แปลเป็นไทย

    พอเขียนเสร็จ เขาก็รีบกลับไปห้องของเขาทันที โดยไม่มีใครทราบการกระทำของเขา ครั้นไปถึงแล้วเขาวิตกต่อไปว่า "พรุ่งนี้ถ้าพระสังฆปริณายกเห็นโศลกของเรา และพอใจ ก็แปลว่าเราพร้อมที่จะได้รับธรรมะอันลึกซึ้งของท่าน แต่ถ้าท่านติว่าใช้ไม่ได้ มันก็แปลว่าเรายังไม่สมควรที่จะได้รับธรรมะอันนั้น เนื่องจากความชั่วที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนๆ มาหุ้มห่อใจเราอย่างหนาแน่น มันเป็นการยากเย็นเหลือเกิน ในการที่จะทายว่า พระสังฆปริณายกจะมีความรู้สึกอย่างไรในโศลกอันนั้้น" เขาได้คิดทบทวนอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งคืนยันรุ่ง นั่งก็ไม่เป็นสุขนอนก็ไม่เป็นสุข

    แต่พระสังฆปริณายกได้ทราบอยู่ก่อนแล้วว่า ชินเชาผู้นี้ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้ และเขายังไม่ซึมทราบในจิตเดิมแท้ (Essence of Mind)

    พระสังฆปริณายก ได้กล่าวแก่โลชุนช่างเขียนว่า "เสียใจที่ได้รบกวนท่านให้มาจนถึงนี่ บัดนี้เห็นว่า ผนังเหล่านี้ไม่ต้องเขียนภาพเสียแล้ว เพราะสูตรๆ นั้นได้กล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งที่มีรูป หรือมีความปรากฏกิริยาอาการ ย่อมเป็นอนิจจังและเป็นมายา" ฉะนั้นควรปล่อยโศลกนั้นไว้บนผนังอย่างนั้น เพื่อให้มหาชนได้ศึกษาและท่องบ่น และถ้าเขาปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้นั้น เขาก็จะพ้นทุกข์ื ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ทีู่ผู้ปฏิบัติตามพึงได้รับนั้นมีมากนัก"

    ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว พระสังฆปริณายกได้สั่งให้นำเอาธูปเทียนมาจุดบูชาที่ตรงหน้าโศลกนั้น และสั่งให้ศิษย์ของท่านทุกคนทำความเคารพ แล้วจำเอาไปท่องบ่น เพื่อให้เขาสามารถพิจารณาเห็น จิตเดิมแท้ เมื่อศิษย์เหล่านั้นท่องได้แล้ว ทุกคนพากันออกอุทานว่า "สาธุ"

    ครั้นเวลาเที่ยงคืน พระสังฆปริณายกได้ให้คนไปตามตัวชินเชามาที่หอ แล้วถามว่าเขาเป็นผู้เขียนโศลกนั้นใช่หรือไม่ ชินเชาได้ตอบว่า "ใช่ขอรับ กระผมมิได้เห่อเหิมเพื่อตำแหน่งสังฆปริณายก เพียงแต่หวังว่าคุณพ่อจะกรุณาบอกให้ทราบว่า โศลกนั้นแสดงว่่ามีแววแห่งปัญญาอยู่ในนั้นบ้างสักเล็กน้อย หรือหาไม่"

    พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า "โศลกของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่รู้แจ้ง จิตเดิมแท้ เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้วเป็นนาน แต่เจ้ายังไม่ได้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป การแสวงหาความตรัสรู้อันสูงสุดด้วยความเข้าใจอย่างของเจ้าที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ยากที่จะสำเร็จได้"

    "การที่ใครจะบรรลุอนุตตรสัมโพธิได้นั้น ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า จิตเดิมแท้อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้ ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้นทุกๆ สิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป ตถตา (คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นชื่อของจิตเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไร ใจของผู้นั้น ก็จะยังคงอยู่ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" สถานะเช่นนนี้ ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้ ถ้าเจ้าสามารถเห็นสิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้ เจ้าจะได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด"

    "เจ้ากลับไปเสียก่อนดีกว่า ไปคิดมันอีกสักสองวัน แล้วเขียนโศลกอันใหม่มาให้ฉัน ถ้าโศลกของเจ้าแสดงว่า เจ้าเข้าพ้นประตูไปแล้ว ฉันจะมอบผ้ากาสาวพัสตร์ และธรรมะ (แห่งนิการธยานะ) ให้แก่เจ้าสืบทอดไป"

    ชินเชา กราบพระสังฆปริณายกแล้วหลีกไป เวลาล่วงเลยมาหลายวันเขาก็ยังจนปัญญา ในการที่จะเขียนโศลกอันใหม่ มันทำให้ใจของเขาหกหัวกลับ ไม่รู้บนล่างเหมือนคนถูกผีอำ เป็นไข้ทั้งที่ตัวเย็นชืดเหมือนกับที่คนกำลังฝันร้ายจะนั่งหรือเดินอย่างไร ก็ไม่พบอิริยาบถที่ผาสุก


    นำมาจากหนังสือ "สูตรเว่ยหล่าง" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ


     

แชร์หน้านี้

Loading...