ส่งการบ้าน(1)พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ อัตตรักขิตสูตรที่ ๕ ค่ะ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ตะหลิวสีชมพู, 13 กรกฎาคม 2009.

  1. ตะหลิวสีชมพู

    ตะหลิวสีชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +42
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค




    <CENTER>อัตตรักขิตสูตรที่ ๕ </CENTER>[๓๓๗] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันได้เข้าที่ลับ พักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า ชนพวกไหนหนอแล ชื่อว่าเป็นผู้รักษา ตน ชนพวกไหนหนอแล ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ข้าพระองค์ได้คิดต่อไปว่า ก็ชนบางพวกแลย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ ไม่รักษาตน ถึงแม้พลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะพึงรักษาเขา ถึง เช่นนั้นชนพวกนั้น ก็ชื่อว่าไม่เป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะ เหตุว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วย กาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะไม่รักษาเขา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าการรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายใน มิใช่ เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ฯ

    [๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ถูกแล้วๆ มหาบพิตร ก็ชนบาง พวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ถึงแม้ชนพวกนั้นจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา ถึง เช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่าไม่รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่า การรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น ชนพวก นั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ชนพวกนั้นจะไม่มีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่ารักษาตน ข้อนั้นเป็น เพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการ รักษาภายนอก ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ฯ

    [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    การสำรวมด้วยกายเป็นการดี การสำรวมด้วยวาจาเป็นการดี
    การสำรวมด้วยใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป
    เรากล่าวว่า เป็นผู้รักษาตน ฯ

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.636831/[/MUSIC]

    :z9
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...