เรื่องเด่น หลวงตาม้าท่านกล่าวถึง..ผู้ที่เป็นวิตกจริตและเหนื่อยหน่ายอยากออกจากกองทุกข์ จะทำอย่างไร?

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 9 เมษายน 2022.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,456
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ?temp_hash=9aed792e706afd6d7b774885e53b92f3.jpg



    หลวงตาม้าท่านกล่าวถึง..ผู้ที่เป็นวิตกจริตและเหนื่อยหน่ายอยากออกจากกองทุกข์ จะทำอย่างไร?


    หลวงตา: ค่อนข้างยากที่ปรับเปลี่ยนเพราะมีอัตตาสูงเกินคนปกติสามัญโดยทั่วไป เพราะคิดว่าตัวเองเก่ง มีความคิดพิสดารกว่าคนอื่น จึงรู้สึกว่าไม่ต้องการจะเปลี่ยนหรือปรับปรุงอะไร และไม่ได้เสียใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทำไปในอดีตนัก มักไม่ค่อยรู้เนื้อรู้ตัวเพราะตัวเองอยู่ในความคิดเกือบตลอดเวลาแตกต่างจากพวกโทสะจริตที่จะมีช่วงเวลาเสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้วและเห็นปัญหาของตัวเอง พยายามขบคิดแก้ไขปัญหาเมื่อมีโอกาส อย่างไรก็ตามผู้เป็นวิตกจริตสามารถพัฒนาและปรับปรุงจิตใจตัวเองโดยผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะตั้งใจทำ วิธีดังต่อไปนี้

    1.ต้องเลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากพาเราไป ต้องเลือกคิดว่า ควรคิดอะไร สิ่งที่ผุดขึ้นมาในจิตควรคิดไหม ควรทำไหม ถามตัวเราเองว่าคิดฟุ้งซ่านไปแล้วมีประโยชน์อะไร เป็นความคิดสร้างสรรค์หรือในทางทำลาย ต้องรีบวางแผนชีวิตว่า ในชีวิตเราต้องการบรรลุอะไร
    2.ต้องฝึกนั่งสมาธิให้มากๆ เพราะจิตคิดมากเหนื่อยมากไม่มีพลัง จิตยิ่งสงบ สติปัญญาก็จะยิ่งแหลมคมมากยิ่งขึ้น คนจะรู้ว่าตัวเองไม่มีสมาธิต่อเมื่อเริ่มปิดตาสวดมนต์หรือทำสามาธิ จึงจะเห็นความคิดผุดๆ โผล่ๆ จนเราตามไม่ทันและไม่สามารถควบคุมความคิดได้ พวกเอ็งทำได้หรือเปล่าหล่ะ (หลวงตาหัวเราะ ฮ่า ๆๆๆ )
    3.สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา เพราะจิตใจไม่มีกรอบเวลา จึงต้องสร้างกำหนดการให้แน่ชัด มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามกำหนด ด้วยคำว่า ระเบียบวินัย เพียงคำเดียวก้สามารถทำให้วิตกจริตรวมความคิดเป็นหนึ่ง เกิดพลัง สามาธิขึ้นมาโดยฉับพลัน
    4.ต้องฝึกมองภาพรวม คิดทุกอย่างครบวงจร ไม่คิดเป็นจุดๆ เนื่องจากจิตจะลงลึกและลงรายละเอียดมาก จนมองไม่เห็นภาพรวมภาพใหญ่ๆ ทำให้ไม่สามารถหาทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังประสบได้เพราะไม่เห็นภาพรวม
    5.ทำงานทีละอย่างให้เสร็จเรียบร้อยโดยไม่ต้องพวงกับงานอื่นที่ยังไม่ทำ
    6.หากทำอะไรผิดพลาดลงไป อย่าคิดทำร้ายตนเอง ให้คิดเสียว่า โลกนี้มันยากต่อการควบคุมให้เป็นไปตามใจปรารถนาเพราะแม้แต่ความคิดของเราเอง เรายังไม่มีปัญญาควบคุมให้จดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลาติดต่อกันนานโดยไม่คิดเรื่องอื่น สวดมนตืพระมหาจักรพรรดิ อย่างเดียวไปเรื่อยๆ เดียวก็ดีเอง (หลวงตาหัวเราะ)
    7.จงพูดแต่สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่ก่อประโยชน์ สิ่งที่น่าชวนฟังของคนทั้งปวง และจงหลีกเลี่ยงการนินทาว่าร้าย หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น เพราะการพูดดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดศิลข้อสี่ยังเป็นการเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกครั้งที่เอ่ยปาก ควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้สึกตามที่คนฟังรู้จัก เมื่อนั้นจะรู้เองว่าควรพูดอะไร พูดขนาดไหน พูดอย่างไร และพูดไปทำไม

    เรียบเรียงจากคติธรรมคำสอนของ
    พระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร
    (หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ


    กำลังจักรพรรดิ์หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ-หลวงตาม้าวิริยธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,456
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    การแผ่บุญ หรือการสัพเพฯ อัญเชิญพระเข้าตัว
    น้อมอาราธนาบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ, บารมีรวมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่องค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา, บารมีรวมพระปัจเจกฯ, พระโพธิสัตว์, พระธรรม, พระอริยสงฆ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและอนาคต
    ..น้อมมา..ผ่านที่เรา..ซึ่งมีรูปนาม พร้อมเจริญเมตตา(คือมีความปรารถนาดี ) แล้วแผ่บุญให้กับโลกของโอปปาติกะ, มนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย แผ่ไปทั้งสามแดนโลกธาตุอย่างไม่มีประมาณ (หรือเจาะจงแผ่ให้ใครก็ได้ หรือนึกแผ่ให้กับครูบาอาจารย์, บิดามารดา, หมู่ญาติ, ผู้มีพระคุณ, เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เป็นต้น)
    >>ซึ่งในขณะเราสวดมนต์ ก็เป็นการแผ่บุญไปด้วย โดยอธิษฐานให้บุญกุศลที่เราสร้าง ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบันและอนาคต ให้แผ่ไปโดยอัตโนมัติตลอดชีวิต
    (พระเดชพระคุณหลวงตาม้า)
    AcRRhkgbxVVDzcO5hl-fI_0u1SW_PCj-5&_nc_ohc=MJYpQREpRscAX-f4jMj&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk29-1.jpg
    กำลังจักรพรรดิ์หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ-หลวงตาม้าวิริยธโร
     

แชร์หน้านี้

Loading...