เรื่องเด่น หลวงพ่อพระราชพรหมยานสรุปโพชฌงค์7

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 22 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    20-2-2-1.jpg



    เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ศึกษามาแล้ว ว่าการปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว เร็วหรือไม่เร็วก็ชื่อว่าเข้าถึงมรรคผล เมื่อก่อนนี้เราก็ว่ากันมาตั้งแต่ อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเป็นการศึกษา แต่ถ้าจะปฏิบัติกันจริงๆ ละก็ ท่านจะต้องขึ้น โพชฌงค์ ๗ ก่อน ฉันไม่เหมือนชาวบ้านเขาแล้ว ถ้าเราจะเอามรรคผลกันจริงๆ ก็ต้องใช้โพชฌงค์ ๗ ก่อนอันดับแรก เพราะกำลังใจของเราต้องเข้าถึงโพชฌงค์ เราต้องมีโพชฌงค์ ๗ มาเป็นกำลังใจ อันดับแรกก่อนคือ

    ๑. ต้องเป็นคนมี สติ
    ๒. ธัมมวิจยะ ธัมมวิจยะนี่ใคร่ครวญธรรมะที่เราพึงปฏิบัติ และข้อวัตรปฏิบัติ
    ๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
    ๔. มี ปีติ สร้างปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ นี่หมายความว่า การปฏิบัติแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าถึงพระนิพพานแน่ อย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักแค่สวรรค์ดีขึ้นไปหน่อยไปพักแค่พรหม ดีที่สุดเราถึงพระนิพพาน เรารู้ความจริงแบบนี้ ปีติ คือความอิ่มใจมันก็เกิด ก็คิดว่า เรานี่ยังไงๆ ก็ไม่ตกนรกแน่ ความภาคภูมิใจที่เกิดอย่างนี้เราเรียกว่าปีติ
    ๕. ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ สงบของปัสสัทธิ มีอยู่ ๒ จุด คือ สงบจากนิวรณ์และสงบจากกิเลส ให้มีอารมณ์นิ่ง มีอารมณ์สงบ ไม่ยอมให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ หรือไม่ยอมให้กิเลสเข้ามารบกวนใจ
    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งใจมั่น
    ๗. อุเบกขา วางเฉย หมายความว่า ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นที่เข้ามารบกวนใจ

    นี่สิ่งทั้ง ๗ ประการนี้เรียกว่า โพชฌงค์ คือว่า องค์เป็นเครื่องตรัสรู้จะต้องมีประจำใจอยู่ก่อน สอนแปลกเสียแล้ว ก็ต้องสรุปสินะ ไม่ได้ขึ้นตอนต้น เพราะว่าการขึ้นตอนต้นท่านถือตามหลักตามเกณฑ์ว่าควรจะปฏิบัติ นี่เมื่อเรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ โพชฌงค์ ๗ นี่เป็นอารมณ์ประจำใจ คือเราคิดไว้เสมอว่า

    ๑. เราจะมี สติ รู้อยู่ ในที่นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
    ๒. เราต้องใช้ ธัมมวิจยะ ใช้ปัญญา ธรรมะที่พึงจะปฏิบัติว่าที่เขาสอนเรานี่หรือว่าตำราที่กล่าวมานี่ มันตรงตามความเป็นจริงหรือยัง
    ๓. มีความเพียร คือ วิริยะ ถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียว ขี้เกียจมันก็ไม่ได้อะไร
    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ เต็มใจในการที่จะปฏิบัติ หวังในผลที่จะพึงได้
    ๕. ปัสสัทธิ รักษาอารมณ์ให้สงบอยู่เสมอ
    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา
    ๗. อุเบกขา กันอารมณ์อื่นไม่ให้เข้ามายุ่ง อุเบกขานี่แปลว่า ความวางเฉย อารมณ์อื่นนอกจากที่เราจะต้องการมันเข้ามายุ่ง เราขับมันไปเลย


    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/maha44.htm#tamma0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2018
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,828
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    sadhu2.jpg
     
  3. นรวร มั่นมโนธรรม

    นรวร มั่นมโนธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +113
    สาธุคับ
     
  4. madeaw23

    madeaw23 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +188
    กราบสาธุครับ
     
  5. Norawon

    Norawon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +208
    สาธุคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...