หลายโอเอสบนหน้าจอเดียว-อนาคตที่เลือกได้บนไซเบอร์สเปซ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    หลาย'โอเอส'บนหน้าจอเดียว-อนาคตที่เลือกได้บนไซเบอร์สเปซ

    หลาย "โอเอส" บนหน้าจอเดียว อนาคตที่เลือกได้บน ไซเบอร์สเปซ

    คอลัมน์ Click World

    [​IMG]

    ธุรกิจไอทีนับเป็นแวดวงหนึ่งที่เรียกได้ว่า มีการพัฒนาชนิดเร่งเครื่องกันมิดจิกปลายเท้า กระทั่งผู้ใช้บางคนที่เผลอตกเทรนด์เพียงชั่วแวบเดียว ยังอาจหลุดขบวนไปโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

    ไม่เพียงแต่เรื่องของสปีดของการพัฒนาความสามารถและความทันสมัยของเทคโนโลยีเท่านั้น ที่เป็นจุดเด่นของวงการไอที เรื่องการพัฒนาระบบการทำงานเพื่อตอบสนองการใช้งานเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่วงการนี้ให้ความใส่ใจ และสร้างทางเลือกเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังนับเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าทันสมัยแก่ผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

    เมื่อไม่นานมานี้ "อีลิค ลาร์คิน" จาก "พีซีเวิรลด์ ด็อท คอม" ได้เล่าเรื่องการพัฒนาระบบปฏิบัติการ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ง่ายๆ ว่า "โอเอส" โดยเขาบอกว่า ทุกวันนี้ประเด็นที่คนพูดถึงกันมากเกี่ยวกับเรื่องโอเอสมักวนเวียนอยู่ที่คุณจะเลือกใช้โอเอสจากค่ายไหน บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพ็อกเกตพีซีของคุณ

    แต่ในอนาคตอันใกล้ ประเด็นว่าจะเลือกใช้ โอเอสใดโอเอสหนึ่งบนคอมพิวเตอร์จะหมดไป เพราะขณะนี้มีกลุ่มเด็กเนิร์ด 4 คน ได้แก่ เจฟ เมลเลน, โจ วอง, แซม ฮั่ง และ ศรีน พันกุลุรี ซึ่งทั้งหมดกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ แต่ต่างสถาบัน โดย 2 คนแรกเรียนที่เอ็มไอที ส่วนแซมมาจากมหาวิทยาลัยคอลเทค และศรีนจากสแตมฟอร์ด

    ทั้งนี้โครงการของกลุ่มเด็กเนิร์ด คือการทดลองใช้งานโอเอสหลายชนิดบนหน้าจอเดียวกัน โดยรวบรวมเอาโอเอสทั้งที่มีลิขสิทธิ์และฟรีโอเอสเข้ามาไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน ผ่านหน้าเว็บ www.youos.com หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นระบบปฏิบัติการบนเว็บไซต์ก็น่าจะได้

    ในบทความของลาร์คินระบุว่า ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีการสร้างภาพจำลอง หรือ virtualization technology ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถทำงานด้วยระบบปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบบนคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวได้ไม่ยากเลย

    ด้วยเหตุนี้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องจึงแปลงสภาพไปสู่ "จักรกลจำลอง" ซึ่งทำงานได้ทั้งในโปรแกรมที่มีแล้วในเครื่องของมันเอง หรือเปิดเข้าหน้าเว็บไซต์ระบบปฏิบัติการ เพื่อเลือก โอเอสอื่นๆ ใช้งานพร้อมกัน

    สำหรับผู้คล่องแคล่วเรื่องคอมพิวเตอร์และสนุกกับการทดลองใช้ของใหม่ เทคโนโลยีใหม่ๆ แล้ว ถือว่าสนามเด็กเล่นของทีมเว็บซาไกทั้ง 4 คนนี้ ช่างน่าลองมากๆ

    ว่ากันว่า ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า การเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการของคนยุคนั้นจะสามารถเลือกให้เข้าคู่กับเว็บบราวเซอร์ซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบันได้

    "การเลือกระบบปฏิบัติการให้เข้ากับเว็บ บราวเซอร์ในอนาคต ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกกระเป๋า รองเท้า ให้เข้ากับเสื้อผ้านั่นเอง" ลาร์คินกล่าว

    ทั้งนี้ยังมีปัจจัยที่เอื้อให้เทคโนโลยีด้านนี้เติบโตและก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการคิดค้นและพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้สามารถทำงานสร้างองค์ประกอบที่ใช้งานได้รวดเร็วและลื่นไหลมากขึ้น

    ตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ เช่น ในกรณีของ "เอเอ็มดี และอินเทล" ยักษ์ 2 ตนของวงการชิปเมนบอร์ด ซึ่งสังเกตได้ว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 2 ค่าย ต่างแข่งขันพัฒนาฮาร์ดแวร์การสร้างภาพบนหน้าจอให้สมจริงสมจังกันขนานใหญ่

    ส่วนหนึ่งของการพัฒนาน่าจะมาจากการแข่งขันในตลาดคอมพิวเตอร์เกมเมอร์ ซึ่งต้องการการแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่คมชัดเหมือนจริง

    ดังนั้นซีพียูจากบริษัทเหล่านี้จึงได้รับการออกแบบและพัฒนาให้รองรับการทำงานร่วมกับการ์ดจอรุ่นใหม่ที่ต้องการการประมวลผลที่รวดเร็วมากที่สุด

    ส่วนค่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ก็ให้ความใส่ใจกับการพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เพื่อเอื้อให้เกิดการใช้งานโอเอสหลายระบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเหมือนกัน

    ไม่ว่าจะเป็นค่ายแอปเปิลที่ยอมเปิดรับและสร้างซีพียูที่สามารถทำงานร่วมกับโอเอสของค่ายอื่นได้แล้ว หลังจากถือตัวเป็นเอกเทศมานานปี ขณะที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์บูทคอม ก็อนุญาตให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทสามารถทำงานพร้อมกันบนโอเอสวินโดวส์ได้

    ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเครื่องแมคสามารถทำงานร่วมกับวินโดวส์หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์จากค่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น VMWare หรือ Xen ล้วนทำให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้การแสดงผลหน้าจอจะสามารถเปิดรับการใช้งานหลายโอเอสได้พร้อมกันบนหน้าจอเดียวกัน หรือใช้งานหลายแอปพลิเคชั่นได้อย่างสบาย ไม่ต้องจำกัดค่ายได้เลย

    ด้านผู้พัฒนาระบบการแสดงผล 3 มิติ เช่น NooFace ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยที่พัฒนาการรับส่งสัญญาณภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานหลายโอเอสให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

    "ทอม แลมส์" นักวิเคราะห์เทคโนโลยีโอเอสจาก "ไอเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล" กล่าวว่า ระบบการจัดการไฟล์ในยุคต่อไปจะแตกต่างไปจากการสร้างไดเร็กทอรี่ 3 ส่วนแบบเดิมๆ อย่างสิ้นเชิง แต่จะพัฒนาไปสู่การจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลหรือดาต้าเบสมากขึ้น

    "ระบบการจัดการไฟล์ของวินโดวส์ วิสต้า วินเอฟเอสจะสูญสลายไป แต่วิธีคิดของระบบปฏิบัติการตัวนี้จะยังคงทำงานเป็นเครือข่ายการค้นหาอยู่ต่อไป" แลมส์กล่าวอย่างมั่นใจ








    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02com06091049&day=2006/10/09
     

แชร์หน้านี้

Loading...