หัวใจของการปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 1 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]



    หัวใจของการปฏิบัติธรรม<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    <o:p></o:p>


    ว่าด้วยเรื่อง ทาน<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงพระนิพพาน ท่านผู้นั้นไม่มีอารมณ์ของความทุกข์ เพราะว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา และที่เราต้องให้ทานก็เพราะว่า เราไม่ต้องการมีขันธ์ 5 เมื่อการมีขันธ์ 5 เป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่เราต้องมีขันธ์ 5 ก็เพราะว่า เราติดอยู่ในวัตถุว่าสิ่งนั้นเป็นทรัพย์สินของเรา สิ่งนี้เป็นทรัพย์สินของเรา แล้วก็ธาตุ 4 ที่หุ้มห่อจิตอยู่ที่เป็นเรือนร่างที่จิตอาศัย อันนี้เป็นเราเป็นของเรา เป็นอันว่าเราเข้าใจผิด คิดว่าสิ่งที่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของเรา เมื่อเรามีความเข้าใจผิด มีความหลงผิดคิดอย่างนี้ ตัวเราจึงต้องเกิด ถ้าเรายังยึดเอาตัณหาเป็นที่ตั้ง เอาตัณหาเป็นสรณะ ฉะนั้น การให้ทานเป็นการตัดความอยาก ถ้าตัดความอยากได้เข้ามาแล้ว ก็เป็นการตัดอารมณ์ที่ติดในขันธ์ 5 ซึ่งทาน การให้ ก็มีแบ่งเป็นระดับของกำลังใจในการให้ทาน ซึ่งจะกล่าวดังต่อไป
    <o:p></o:p>
    พาหิรกทาน ทานที่เป็นการให้ในลำดับพระโสดาบัน กล่าวคือ ตัดสินใจในการให้ทาน เพื่อไม่หวังในการเกิด คือไม่ติดในวัตถุภายนอกทั้งหมด เพราะพิจารณาได้ว่า ในที่สุดวัตถุก็ดี เราก็ดี วัตถุที่เราให้ทานก็ตาม ร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 ก็ดี มันเป็นอนัตตา จะเล็งเห็นได้ว่า ทานได้แก่วัตถุก็เป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ถ้าติดมากเกินไปก็เป็นทุกขัง มีอารมณ์เป็นทุกข์ และเมื่อพลัดพรากจากมันแล้ว ในที่สุดอนัตตามาถึงแล้วก็ดึงไว้ไม่ได้ ในเมื่อมีชีวิต เราก็จะหาเงินมาเพื่อกิจการแห่งการเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวตามหน้าที่ แต่เมื่อร่างกายเราสลายลงไปเมื่อไร เรากับมันก็จากกัน อย่างนี้เป็นทานภายนอก คิดอย่างนี้นั้นก็ชื่อว่า เป็นกำลังใจของพระอริยเจ้าเบื้องต้น นั่นคือกำลังใจของ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2009
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]



    ว่าด้วยเรื่อง ศีล<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    <o:p></o:p>

    ศีลข้อที่ 1<o:p></o:p>
    การไม่ฆ่าสัตว์ ทำร้ายสัตว์ ก็อาศัย 1. มีความรัก 2. มีความสงสาร ถ้าเห็นสัตว์ควรที่จะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่า ขณะใดที่เราไม่ฆ่าสัตว์ ขณะนั้นเราเป็นผู้มีศีลข้อที่ 1 ถ้าพบของที่เราจะทำร้ายได้ สัตว์ที่เราทำร้ายได้ คนที่เราจะทำร้ายได้ แต่เราไม่ทำ เราไม่ทำจัดเป็นอภัยทาน อย่างนี้มีศีลข้อที่ 1 ถ้าเรารักษาศีลข้อที่ 1 ได้ ชาตินี้เราก็มีความสุข เพราะว่าเป็นคนที่มีศัตรูน้อย หรืออาจจะได้ศัตรูเลยก็ได้
    <o:p></o:p>
    ประการที่ 2 ถ้าตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็มีรูปร่างหน้าตาสวย ถ้าพ้นจากการเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า หรือพรหม มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างหน้าตาสวย มีอายุยืนยาว มีโรคน้อย โรคอาจจะมีบ้างแต่ว่ามีน้อย
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 2<o:p></o:p>
    คือ อทินนาทาน การลักการขโมยเขา เป็นการก่อศัตรู เป็นของไม่ดี ก็คิดว่าทรัพย์ของเราเราก็หวงแหน เราต้องการจะเก็บไว้ใช้สอย เราก็ไม่ควรไปเบียดเบียนทรัพย์ของเขา ถ้าเราละเมิดในศีลข้อที่ 2 ตายก็ต้องตกนรก พ้นจากนรกก็มาเป็นเปรต พ้นจากเปรตก็เป็นอสุรกาย พ้นจากอสุรกายก็มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน พ้นจากสัตว์เดรัจฉานก็มาเป็นคน มาเป็นคนก็ถูกไฟไหม้บ้านบ้าง ลมพัดให้บ้านพังบ้าง โจรปล้นบ้านบ้างอย่างนี้ เพราะโทษของอทินนาทาน ถ้าบังเอิญเราไม่ละเมิดศีลข้อนี้ เราสามารถทรงศีลข้อนี้ได้ เราตายจากความเป็นคนก็เป็นเทวดา เป็นนางฟ้า หรือพรหม ถ้าพ้นจากนั้นแล้วมาเป็นคนจะไม่มีอันตราย จากอันตรายทั้ง 4 เราก็มีความสุข
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 3<o:p></o:p>
    กาเมสุมิจฉาจาร การละเมิดความรักของบุคคลอื่น ตายแล้วต้องตกนรก ลงนรกขุมใหญ่ก่อน แล้วจึงมาเข้ายมโลกียนรก (ปีนต้นงิ้ว) ก็เป็นอันว่าโทษการละเมิดศีลข้อนี้ นอกจากจะลงนรกแล้วก็มาเป็นเปรต จากเปรตเป็นอสุรกาย จากอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้ามาเป็นคน คนในปกครองจะว่ายากสอนยาก ดื้อด้าน ไม่อยู่ในโอวาท
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 4<o:p></o:p>
    มุสาวาท ถ้าโกหกก็มีสภาพเช่นเดียวกัน เขาก็จับลงนรกเหมือนกัน ต่อมาถ้าเรารักษาได้เราก็เป็นเทวดาได้ เป็นนางฟ้าก็ได้ เป็นพรหมก็ได้ ทำไมว่า รักษามุสาวาทจะเป็นพรหมได้ไหม สัจจะบารมี ถ้าเป็นฌานใช่ไหม คำว่าฌาน ไม่จำเป็นจะต้องนั่งหลับตาเสมอไป ถ้าเราจะถือ่าเราจะรักษาสัจจะ คือความเป็นจริงอะไรก็ตาม ถ้าไม่เป็นความจริงเราจะไม่พูด เราจะรักษาอย่างนั้นไว้ เรารักษาไว้โดยไม่ต้องระมัดระวัง มันมีอารมณ์ชิน อย่างนี้ท่านเรียกว่าฌาน ทำอย่างนี้เป็นพรหมได้ อย่าไปนึกว่าฌานต้องไปนั่งหลับตา ไอ้นั่นเขาฝึกการเข้าฌาน ไม่ใช่ผู้ทรงฌาน สำหรับผู้ทรงฌาน ไม่จำเป็นต้องนั่งหลับตา จะใช้กำลังฌานเมื่อไรก็ได้ สามารถใช้ได้ทันที ทีนี้หากว่าเรามีสัจจบารมี ถ้าเราขาดก็ลงนรกเหมือนกัน ถ้าเราดี เราเป็นเทวดา เป็นพรหม เราก็มีความสุข
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 5<o:p></o:p>
    การดื่มสุราเมรัย ถ้าเราละเมิด ตายจากความเป็นคนลงนรกเหมือนกัน ว่าเรื่อยเหมือนกัน เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เหมือนกันหมด ถ้าเกิดเป็นคนใหม่ ถ้าเราเป็นนักดื่มแบบเบา ๆ ก็จะเป็นคนที่มีโรคปวดศีรษะบ่อย ๆ ถ้าเป็นนักดื่มปานกลาง ก็จะเป็นโรคเส้นประสาท ถ้าเป็นนักดื่มอย่างหนัก ก็จะเป็นโรคบ้า ถ้าเราไม่ดื่มสุราและเมรัย ตายแล้วจะเป็นเทวดา เป็นพรหมได้
    <o:p></o:p>
    สรุปดังนั้น ความทุกข์ทุกอย่าง 5 ประการ จึงเกิดจากการละเมิดศีลทั้ง 5 คือ<o:p></o:p>
    1. การป่วยไข้ไม่สบาย มาจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในชาติก่อน<o:p></o:p>
    2. ทรัพย์สมบัติเสียหาย เสียด้วยน้ำ เสียด้วยไฟ เสียด้วยโจร เสียด้วยลม ก็ตาม มาจากเราเคยลักเราเคยขโมยเขามาในชาติก่อน <o:p></o:p>
    3. ลูกหลานดื้อด้านเลี้ยงยาก มาจากโรคเจ้าชู้นอกใจสามีภรรยาในชาติก่อน<o:p></o:p>
    4. โทษที่เราพูดดี พูดตามความเป็นจริง แต่ไม่มีใครเขาเชื่อ ไม่มีใครอยากฟัง ทั้ง ๆ ที่ใช้วาจาไพเราะ ก็มีคนไม่ชอบ อันนี้มาจากมุสาวาทในชาติก่อน คือโกหก<o:p></o:p>
    5. การเป็นโรคเส้นประสาทก็ดี การปวดหัวหนักก็ดี เป็นประจำ และการเป็นบ้าก็ดี มาจากโทษการดื่มสุราเมรัยในชาติก่อน ชาติก่อนเราทำชั่วไว้มันก็ตั้งใจมาริดรอนในชาตินี้
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้รักษาศีล 3 ขั้น คือ<o:p></o:p>
    1. เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง<o:p></o:p>
    2. เราไม่ยุยงบุคคลอื่นทำลายศีล<o:p></o:p>
    3. จะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว อันนี้ต้องจำ ต้องปฏิบัติ<o:p></o:p>
    คนที่จะรักษาศีลได้ต้องเป็นคนมีปัญญา ในเมื่อเรามีปัญญา รู้ว่าศีลเป็นของดี เราก็ใช้อารมณ์ปกติคุมกำลังของศีล คือใช้สติสัมปชัญญะ สตินึกไว้เสมอว่าศีลของเรามีกี่สิกขาบทที่เราจะต้องปฏิบัติ ควบคุมกำลังใจ ทรงศีลไว้ให้ปกติ ดังนั้นการทำลายศีลเป็นปัจจัยของความเลว ถ้าเราไปยินดีด้วย ก็หมายความว่าช่วยให้เราเลวมากขึ้น นี่เป็นอันว่า ถ้าจิตของเราเข้าไปควบคุมศีลอยู่อย่างนี้แล้ว ก็ใช้สติสัมปชัญญะใคร่ครวญ จริยาที่แสดงออกทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี แม้แต่อารมณ์คิดทางใจก็ดี มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า พูดอย่างนี้ศีลจะขาดไหม บกพร่องในศีลไหม ทำอย่างนี้เป็นการละเมิดศีลไหม อารมณ์แบบนี้เป็นอารมณ์ใช้ที่ปราศจากความเมตตาปรานีไหม หรือปราศจากความสันโดษไหม<o:p></o:p>
    เป็นอันว่า เอาสติเข้าไปนึกไว้ว่า สิกขาบทมีเท่าไร แล้วก็เอาสติสัมปชัญญะเข้าไปรู้ตัวในการกระทำ การพูด การคิด ทางกาย วาจา และจิต อาการที่จิตคุมอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่า สมาธิ สมาธิตัวนี้เขาเรียกว่าเป็น สีลานุสสติกรรมฐาน นี่จะเห็นว่า ถ้ามีความฉลาดก็ไม่ต้องนั่งหลับตา ศีลก็บริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    - ในเรื่องของศีลนี้ องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์โสภาคย์ทรงแนะนำว่า ถ้าจะให้ศีลบริสุทธิ์รู้สึกว่าจะไม่หนักอะไรนัก ถ้ารู้จุดของเหตุนั่นคือ ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 ครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าศีลอะไรทั้งหมดมันก็ดีไปหมดทุกอย่าง แต่นอกจากจะมีพรหมวิหาร 4 ครบถ้วนแล้วก็ยังดีไม่พอ ต้องมีสติสัมปชัญญะควบคุมกำลังใจไว้เสมอ เมื่อมีสติสัมปชัญญะควบคุมกำลังใจไว้แล้ว ถ้ามีสติสัมปชัญญะมากเกินไปก็มักจะเฟ้อเหมือนกัน ฉะนั้น ศึลที่จะทรงได้ดีนั้น อีกด้านหนึ่งจะต้องมีปัญญาเข้าไปควบคุม ปัญญากับสตินี้จะต้องเท่ากัน ถ้าสติมากไปก็ฟุ้งอีก ปัญญามากไปก็ฟุ้งเกินไป เวลาสตินึก ปัญญาก็ควบคุมว่า ไอ้สิ่งที่ตัวนึกไว้นี้มันถูกต้องตามสิกขาบทที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไหม เมื่อใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอยู่ ถ้าจะให้ดีไปอีก ให้บริสุทธิ์จริง ก็จะต้องมีหิริและโอตตัปปะ คือมีความละอายในจิตที่เราคิดว่าจะทำลายศีล เกรงกลัวผลของความชั่วที่จะเกิดจากศีลถูกทำลายแล้ว ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทุกท่าน ทรงกำลังใจอยู่ได้อย่างนี้ คือ
    <o:p></o:p>
    1. มีพรหมวิหาร 4<o:p></o:p>
    2. มีสติ<o:p></o:p>
    3. มีสัมปชัญญะ<o:p></o:p>
    4. มีปัญญา<o:p></o:p>
    5. มีหิริ โอตตัปปะ
    <o:p></o:p>
    - ในเมื่อเห็นว่าศีลดีแล้ว เราต้องรักษาศีลให้มั่นคง เอาศีลจับเป็นอารมณ์ของใจ ก่อนจะหลับ สำรวจศีลว่าวันนี้ครบตัวไหนบ้าง ตื่นขึ้นมาใหม่ ตั้งใจทรงศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็โลกธรรม 8 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนินทาและสรรเสริญ อย่าให้มันขึ้นมาอยู่กับใจ นิพพานเป็นอารมณ์ ทั้งนี้ อารมณ์ของเราก็ยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน แต่อยู่ในขอบเขตของศีล เรายังมีความโกรธอยู่บ้าง แต่ว่าอยู่ในขอบเขตของศีล โกรธแต่ไม่ฆ่าเขา เรายังมีความหลงอยู่บ้าง แต่ทว่าใจเรารักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นปกติ ตอนนี้เป็นตัวดึงกรรมฐานไม่ให้ลดตัวลง มีแต่ว่าจะดีขึ้น ความแจ่มใสของจิตจะมีขึ้นทุกวัน และจิตจะทรงตัวอยู่ด้านของอารมณ์แจ่มใสเป็นปกติ การขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ จะมีแต่ความแจ่มใสไม่เศร้าหมอง อารมณ์อย่างนี้ท่านเรียกกันว่า พระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น ความเป็นพระโสดาบันนี้จึงมีความสำคัญอยู่ที่ศีล ถ้าหากว่าทุกท่านมีศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องกล่าวย้อนไปถึงการเคารพในพระรัตนตรัย ทั้งนี้ เพราะว่าศีลมาจากพระรัตนตรัยทั้งสามประการ การที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่าเป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยอยู่แล้ว ฉะนั้น ศีลของท่านทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องอาศัยเมตตากับกรุณาเป็นสำคัญ และยังมีเพื่อนอีกสองเป็นฝ่ายสนับสนุน นั่นก็คือมุทิตา กับอุเบกขา รวมความว่า ถ้าทรงศีล 5 บริสุทธิ์ได้ ไม่สงสัยในพระไตรสรณคมน์ได้ ไม่ลืมความตาย เป็นพระโสดาบันชั้นหยาบ ต่อไปเป็นพระโสดาบันขั้นละเอียด ก็ทรงกรรมบถ 10 จิตมีกำลังสูง นอกจากศีล 5 แล้ว มีกรรมบถเข้าช่วย
    <o:p></o:p>
    - ศีลที่เราต้องการสมาทานจริง ๆ ทำอย่างไร ต้องดูระดับของท่านผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์ ท่านที่เข้าถึงไตรสรณคมน์คือ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ ท่านทรงศีล 5 บริสุทธิ์ แต่ว่าจิตของท่านด้านไปนิดหนึ่ง ท่านสมาทานศีลเพื่อหวังกามาวจรสวรรค์เป็นสำคัญ คิดเสียว่าถ้าเรามีศีลแล้วไม่ตกนรกเท่านี้เป็นพอ ถ้าทรงศีลแบบนี้ชื่อว่าจิตอยู่ในขั้นกามาวรจสวรรค์ ถ้าจะเรียกเป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ก็เป็นเพียงขั้น ขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ ความมั่นคงยังไม่พอ แต่ว่าทำกำลังจิตของท่านให้บริสุทธิ์ มีความมุ่งมั่นผูกมัดอยู่ในศีลให้เป็น เอกัคคตารมณ์ โดยนิยม แล้วรักษาศีลเป็นฌาน คำว่าศีลเป็นฌาน ก็หมายความว่า เราจะไม่ยอมให้ศีลขาดเด็ดขาด ศีลนี้เราไม่ยอมให้บกพร่อง ทรงอารมณ์ให้เป็นปกติ การเคลื่อนไหวทุกอย่างเราจะคุมอารมณ์ของศีลให้เป็นปกติ ไม่ยอมให้ศีลนี่มันคลาดจากจิตของเรา อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรง
    สีลานุสสติกรรมฐาน
    <o:p></o:p>
    แล้วเป็นอะไร ก็เป็นพระโสดาบัน กับพระสกิทาคามี อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง 4 คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีผล ผลทางอบายภูมิไม่มี สำหรับผู้ทรงศีลแบบนี้ที่ว่ากันเฉพาะศีล 5 ถ้าท่านผู้ใดสามารถทรงศีล 8 ได้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีปัจจัยจะได้พระอนาคามีในปัจจุบัน และก็ได้โดยรวดเร็ว
    <o:p></o:p>
    - เมื่อจิตรักศีลเป็นปกติ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์ คนที่เข้าถึงไตรสรณคมน์ คำว่าคนนี้หมายถึงพระ หมายถึงเณรหมด คำว่าเข้าถึงไตรสรณคมน์ ชาตินี้เวลาที่ตายลงอบายภูมิไม่เป็น ถ้าเวลาตายจิตอยู่ในไตรสรณคมน์ขั้นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ ตายแล้วท่านเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรสวรรค์ ถ้ากำลังใจของท่านตั้งมั่นอยู่ในศีลบริสุทธิ์ คิดว่าร่างกายจะตายก็ช่างมัน สิ่งที่เราต้องการคือศีลบริสุทธิ์ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฌาน ก่อนจะตายจิตใจเป็นฌาน ตายแล้วท่านก็จะเป็นพรหม เพราะอำนาจสีลานุสสติกรรมฐาน
    <o:p></o:p>
    แต่ทว่าสมมติว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังไม่ตาย เมื่อกำลังใจของท่านทรงศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็มานั่งคิดว่า การที่เราทรงศีลบริสุทธิ์เพื่ออะไร ศีลและกรรมบถสิบเป็นมนุษยธรรม เป็นธรรมที่ทำให้คนเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดีแล้วก็ศีลบริสุทธิ์ ศีลนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ คนทรงศีลบริสุทธิ์อยู่เป็นมนุษย์ก็มีความสุข ตายแล้วก็ไปเกิดในสุคติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็เป็นมนุษย์พิเศษ ดีมาก สมบูรณ์ทุกอย่าง หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา สีเลนะ โภคสัมปทา ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็มีความร่ำรวยทรัพย์ เยือกเย็น ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็มีทิพย์สมบัติมาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงพระนิพพาน นี่เป็นอันว่าพอถึงจุดนี้ เราก็มั่นใจว่า ศีลตัวเดียวที่เรารักษา ถ้ากำลังใจของเราดี ประกอบด้วยปัญญาเล็กน้อย เราก็เข้านิพพานได้
    <o:p></o:p>
    - คนที่เข้าถึงพระนิพพานได้ อันดับแรกก็ต้องทรงศีลบริสุทธิ์ และนอกจากนี้ก็ทรงอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่น มีปัญญารู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริง เราก็มานั่งคิดว่าทำไมศีลของเราจึงจะบริสุทธิ์ ความจริงนักปฏิบัติมักจะสนใจผิดคิดว่าการเจริญพระกรรมฐานนั้น จะต้องนั่งหลับตากันท่าเดียวมันจึงจะมีผล ถ้าหากว่าเป็นการฝึกด้านสุขวิปัสสโกนี้ ความจริงจะไม่นั่งหลับตาเลยก็ใช้ได้ มันขึ้นกับอารมณ์ใจ ศีลของเราบริสุทธิ์ได้ก็อาศัยเรามีสมาธิ สมาธิจะทรงตัวได้ก็เพราะอาศัยศีลบริสุทธิ์ เป็นอันว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลกัน ฉะนั้น ถ้าเราจะถือเหตุจริง ๆ ก็ต้องถือปัญญา คนใดถ้าไร้ปัญญา คนนั้นหาศีลไม่ได้ และคนใดไร้ศีล บุคคลนั้นจะมีสมาธิไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเจริญภาวนาครั้งแรก ก่อนที่จะภาวนา ขอทุกคนเคารพในศีลก่อน ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ขาดตกบกพร่องอย่างนี้ การเจริญภาวนาไม่เกิดผล ต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ ฌานสมาบัติจึงเกิด ทีนี้การบกพร่องของศีลย่อมมีบ้างเป็นของธรรมดาของแต่ละบุคล ถ้าเวลาอยู่บ้าน ก่อนที่จะภาวนาให้สมาทานศีลก่อนเป็นการยับยั้ง ถ้าเรารู้สึกว่าจิตของเรามีศีล อารมณ์จะเป็นสุข ในเมื่ออารมณ์เป็นสุข สมาธิมันก็เกิด เมื่อสมาธิเกิด จิตมีความเยือกเย็น ปัญญามันก็เกิด
    <o:p></o:p>
    - ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีล มีการรักษาแบบหยาบ ๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่สำเร็จผลใด ๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงสังวรเรื่องศีลให้มาก คำว่าสังวรนี่แปลว่าระวัง อันดับแรก ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน ไม่ใช่บริสุทธิ์เฉพาะเวลาที่สมาทานพระกรรมฐาน ให้ศีลบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก ถ้าศีลของท่านบริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออก การเจริญสมาธิก็เป็นของง่าย เพราะศีลจะมีขึ้นได้เพราะอาศัยเมตตา ความรักซึ่งกันและกัน กรุณา ความสงสารซึ่งกันและกัน คนที่มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร อารมณ์เย็น จิตมีความเยือกเย็น ความฟุ้งซ่านของจิตไม่มี ความเร่าร้อนของจิตไม่มี อารมณ์ก็สบาย ในเมื่ออารมณ์สบายมีความเยือกเย็น จิตก็ทรงสมาธิได้ดี ความอาฆาต พยาบาท หรือการจองล้างจองผลาญคิดประหัตประหารซึ่งกันและกัน หรือความโลภโมโทสันอยากได้ทรัพย์ของบุคคลอื่น การที่จะละเมิดความรัก หรือการที่จะมุสาวาท การที่จะดื่มสุราเมรัยไม่มี ในเมื่ออาการ 5 อย่างนี้ไม่มีแล้ว จิตก็มีความสบาย มีอารมณ์เป็นสุข อันดับแรกจึงควรปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้ว สมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัว ปัญญามันก็เกิด นี่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌานและวิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    - การรักษาศีลของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าต้องดูตามกำลัง พระพุทธเจ้าท่านไม่มีการเครียด ท่านปฏิบัติตามความเหมาะสม ถ้าไม่ดีแต่งอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องดูนางวิสาขา นางวิสาขาท่านมีเครื่องมหาลดาปสาธน์ราคา 16 โกฏิ นางวิสาขาทรงเครื่องอย่างนี้ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยคิดว่าเลยใช่ไหม จะว่าเขาแต่งเกินไปไม่ได้ เพราะเขามีอย่างนั้น และเวลาเราเข้าสังคมก็เหมือนกัน ปล่อยหน้าเซียว ๆ เข้าไปก็ไม่เหมาะสม เราก็ต้องแต่งตามเขา แต่อยู่บ้านเราก็ไม่ได้สนใจเกินไป เราก็ใช้แก้งทาหน้าบ้าง ทาได้ ทาเฉพาะความเหมาะสมอยู่เป็นสุข ไม่ไปอวดใคร เพื่อกิเลสอันนี้ ไม่ถือ ต้องดูแค่พอดี ๆ และศีลนั้นมันขาดยาก มันจะต้องขาดด้วยเจตนา ตั้งแต่เวลานี้ไปจะเป็นตายอย่างไรก็ตามไม่ละเมิดศีลห้าแน่ ตั้งใจไว้ให้แน่เป็นอันดับแรก เว้นไว้แต่เผลอ เผลอเขาไม่ถือว่าทำลายศีล บางวันเราอาจจะเผลไปบ้างก็เป็นของธรรมดา ถ้าบังเอิญรู้ตัวว่าเผลไป เราก็ยับยั้งมันเสียใหม่ ว่าเราจะไม่ทำต่อไป และข้อสำคัญขอให้ค่อย ๆ ฝึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญที่ศีล อย่าเร่งรัดเกินไป ถ้าเร่งรัดเกินไปเป็นการทรมานตัว ค่อย ๆ ระมัดระวัง วันนี้เราตั้งใจรักษาศีล 5 ให้ครบถ้วน เวลาจะนอนก็นั่งนึกนอนนึก คิดว่าตั้งแต่เช้าจนกว่าจะเข้าถึงเวลานอน เราพลาดศีล 5 ข้อไหนบ้าง ถ้าบังเอิญพบพลาดเราก็ตั้งใจคิดว่า วันพรุ่งนี้เราจะไม่ยอมพลาดทั้งหมด อันนี้ใหม่ ๆ มันอดพลาดไม่ได้ เป็นของธรรมดา
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]



    หัวใจของการปฏิบัติธรรม<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    <o:p></o:p>


    ว่าด้วยเรื่อง ภาวนา<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    1. เรื่องของสมาธิ<o:p></o:p>
    -ในตอนต้น บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะเริ่มเจริญพระกรรมฐาน ขอให้จุดธูปบูชาพระก่อน อันดับแรกนะ แล้วก็ตั้งใจจำรูปพระพุทธรูป ลืมตาดูท่านจำให้ได้ ไม่หลับตาก็ได้ ตั้งใจจำภาพพระไว้ แล้วก็บูชาพระตามที่เคยบูชา หลังจากนั้นแล้วก็สมาทานพระกรรมฐาน ถ้าสมาทานไม่ไหวก็ไม่ต้อง ตั้งนะโม 3 จบ ว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ใช้ได้
    <o:p></o:p>
    ต่อจากนั้นไปก็นั่งขัดสมาธิ นั่งที่บ้านญาติโยมทั้งหลาย จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ จะนั่งพับเพียบก็ได้ จะนั่งเก้าอี้ก็ได้ นั่งห้อยขาก็ได้ ตามชอบใจ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเอาตามสบาย นั่ง นอน ยืน เดิน ทั้งสี่อย่างนี้มีผลเสมอกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องนั่งเฉย ๆ อย่างเดียว
    <o:p></o:p>
    -เวลาปฏิบัติ เริ่มทำสมาธิ ตัดกังวลเสียก่อน สิ่งใดที่จะห่วงใยยกเลิกทิ้งไป และก็ตัดสินใจว่าจะต้องปฏิบัติให้มีผลตามคำแนะนำ ไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย ทุกคนเมื่อตัดกังวลไม่ห่วงแม้แต่ร่างกาย แล้วก็ตั้งใจสมาทานศีล เรื่องศีลนี่ความจริงไม่ใช่จะมีเฉพาะเวลาปฏิบัติ ศีลนี่เป็นเครื่องค้ำจุนฌานสมาบัติ สมาธิ หรือญาณ จะมีขึ้นได้เพราะศีล ถ้าศีลบกพร่อง ฌานก็พร่องด้วย ถ้าศีลสมบูรณ์แบบ สมาธิหรือฌานจึงจะสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทุกคนคุมอารมณ์ให้ดีในพรหมวิหาร 4 ให้จิตทรงตัว คำว่าปกติ ต้องเหมือนศีล ศีลนี่ต้องบริสุทธิ์ทุกวัน และพรหมวิหาร 4 ต้องทรงตัว และเวลาเจริญพระกรรมฐาน ไม่ได้หมายความว่า ใช้เวลานั่งสมาธิเสมอไป ถ้าเราใช้แต่เวลาที่นั่งสมาธิ เวลาสงัด จิตใจเราจึงจะกำหนดถึงพระกรรมฐานอย่างนี้ใช้ไม่ได้ เนื้อแท้การเจริญพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตาม ต้องใช้อารมณ์ของเรานี้นึกถึงกรรมฐานเป็นปกติตลอดวัน อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่า ท่านเข้าถึงพระกรรมฐาน และพระกรรมฐานเข้าถึงท่าน และการนั่งสมาธิให้คนเห็น พระพุทธเจ้าท่านทรงปรับว่าเป็นอุปกิเลส มันจะมีการโอ้อวดอยู่ในตัวเสร็จ ใช้ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    -สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจ ตามขั้นตอนก็มีอยู่เยอะ ทุกคนเวลาทำ ให้พอใจในอารมณ์ที่ทรงอยู่เวลานั้น จะทรงอยู่ระดับไหนก็ตาม ให้พอใจในอารมณ์นั้น จิตใจจะได้ไม่มีความกลุ้ม การเริ่มต้นสมาธิ ให้กำหนดจับลมหายใจเข้าออก ทำความรู้สึกว่าเวลานี้หายใจเข้า เรารู้อยู่ หายใจออก เรารู้อยู่ แล้วก็ภาวนาตาม คำภาวนานี้ไม่จำกัด ใครจะภาวนาอย่างไรก็ได้ตามชอบใจ ถ้าไม่เคยภาวนาเลย ให้ใช้คำภาวนาว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2009
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]




    เรื่องของญาณ 4<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    <o:p></o:p>

    -ปฐมฌานนี่เป็นฌานที่หนึ่ง ที่บรรดาพวกเราเหล่าพุทธบริษัทต้องทำให้ได้ เพราะเป็นฌานโลกีย์ อาการที่ทรงฌานที่หนึ่งนี้ไม่มีอะไรยาก เราใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 ก็ดี ภาวนาบทใดบทหนึ่งก็ดี หรือว่าจะพิจารณาลมหายใจเข้าออกก็ดี ให้จิตมันทรงอยู่อย่างนี้เป็นปกติ นี่หมายความว่าไม่ยอมให้ใจของเราเคลื่อนจากอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเราอยากจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เมื่อว่างจากกิจอื่น จิตมันจะมีความรู้สึกไปโดยอัตโนมัติ รู้ลมเข้าลมออก หรือภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อะไรก็ช่าง จะพิจารษายังไงก็ช่างให้จิตมันทรงตัว แล้วทรงจนกระทั่งให้อารมณ์จิตนี่แม้แต่ได้ยินเสียงภายนอกเข้ามาจิตก็ไม่รำคาญ สามารถใช้คำภาวนาและพิจารณาได้ตามอัธยาศัย อย่างนี้ชื่อว่าปฐมฌาน
    <o:p></o:p>
    -พอจิตเข้าถึงฌานที่สอง คำภาวนาหายไปเฉย ๆ หยุดไปเอง เมื่อคำภาวนาหยุดไปเอง เราก็มีใจสบายชุ่มชื่นดีกว่า เพราะว่าไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ พอเริ่มก็มีความชุ่มชื่นสบายแล้วก็สุข เอกัคตารมณ์ทรงตัวดีก่าฌานที่หนึ่ง ตอนนี้เราจะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงไปหน่อยกว่าเดิม กว่าฌานที่หนึ่ง ตอนนี้ก็มีหลาย ๆ ท่าน เมื่อจิตถอยลงมาถึงปฐมฌาน คือ ทรงฌานที่ 2 ได้ไม่นานรู้สึกตัวว่า ตายจริง นี่เราลืมภาวนาไปเสียแล้วรึ หรือเราหลับไป แต่ความจริงนั้นไม่ใช่หลับ มันก็โงก อาการจะโงกไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ทั้งนี้ไม่ใช่หลับ คือจิตเข้าถึงปฐมฌาน เราทิ้งภาวนาไปเอง ถ้าเข้าถึงฌานที่ 2 คือ ทุติยฌาน จะทิ้งภาวนาไปเอง
    <o:p></o:p>
    -สำหรับฌานที่สามนี้จะรู้สึกว่าลมหายในเบามาก ร่างกายเราจะตัด ความอิ่มเอิบจะหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น มีความสบาย ๆ ขาดความอิ่ม แต่จิตจะทรงตัวมาก อารมณ์จะไม่เคลื่อนไหว หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก เบาลงไปมาก เสียงที่ดังมาก ๆ เราได้ยินเหมือนกันแต่เบามาก มีการทรงตัวแบบแน่นสนิท มีความรู้สึกเหมือนกับว่าร่างกายของเราเกร็งไปทั้งตัว แต่ความจริงนั้นเป็นเรื่องอาการของจิตไม่ใช่เรื่องอาการของกาย
    <o:p></o:p>
    -แล้วตอนนี้ถ้าคนทั้งหลายเข้าถึงฌานที่สาม แล้วก็ทรงฌานที่สามได้ดี สมมติว่าเช้ามืดท่านตื่นขึ้นมานอนอยู่หรือนั่งอยู่ก็ตาม จิตทรงสมาธิถึงฌานที่สามได้ดี วันทั้งวันนั้นรู้สึกว่าเราไม่ต้องการอยากจะพูดกับใคร อาการพูดมันจะน้อยทั้งวัน เพราะว่าจิตมันทรงตัวได้ดี ถ้าอาการมีอย่างนี้กับท่าน ก็ขอให้ท่านภูมิใจว่า เราทรงฌานได้ดีมาก แต่ทว่าเลิกแล้วก็อยากจะพูดอยากจะคุย อยากจะสนทนาปราศรัย อยากจะพูดมาก
    <o:p></o:p>
    -นั่นก็แสดงว่า สำหรับอารมณ์ที่เป็นฌานของท่าน มันได้แต่เวลาที่นั่งอยู่หรือปฏิบัติอยู่เท่านั้น พอเวลาเลิกแล้ว กำลังฌานนั้นไม่ได้ตามจิตของท่านไปด้วย อย่างนี้ไม่ดี ควรจะพยายามรักษาให้มันทรงอยู่ได้ทั้งวัน ถ้าทรงไม่มากก็ทรงน้อย อย่างน้อยที่สุดก็ให้จิตมันอยู่ในอุปจารสมาธิในวันทั้งวันนี่ละ สามารถจะทรงได้ถ้าจิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ ในวันทั้งวันนี่ละสามารถจะทรงได้ ถ้าจิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธินี่เราก็คุยกับชาวบ้านได้ แต่ว่าคุยน้อยไปหน่อย ถ้าจะพูดก็พูดในเรื่องที่เป็นสาระจริง ๆ เรื่องที่เป็นอกุศลทุกอย่างจะไม่ยอมพูด ใจจะไม่ยอมคิดในเรื่องของอกุศล
    <o:p></o:p>
    -ฌานที่สี่ท่านกล่าวว่าตัดสุขเสียได้ มีองค์สองเหมือนกัน ตัดสุขออกไปเหลือแต่เอกัคตา แล้วเพิ่มอุเบกขาเข้ามา เอกัคตานี่แปลว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อมันตัดสุขออกไปได้ ไม่สัมผัส การกระทบกระทั่งจิตไม่รับการสัมผัส เสียงจะมาจากภายนอกดังเท่าไรก็ตามที หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก การสัมผัสจากลมแรงก็ดี เหลือบยุงจะเข้ามาเกาะตัวก็ดี ไม่มีความรู้สึก แต่ว่าอาการทางจิตไม่ใช่หลับ มีความรู้สึก มีสติสัมปชัญญะทรงตัว เป็นคนมีสติสัมปชัญญะดีมาก มีความสว่างไสวในจิต จงอย่าลืมคำว่าฌานนี้ไม่ใช่นั่งหลับ จิตจะทรงตัวสมาธิดี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นี้เป็นการฝึกอารมณ์จิตของเราให้มีการทรงตัวเพื่อเตรียมรับสภานการณ์ที่จะเจริญวิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    -จิตของฌาน 4 มีเอกัคตากับอุเบกขาเป็นปกติ จิตดวงนี้ต้องจำเอาไว้ว่า ต้องให้มันทรงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามันทรงตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วเรื่องทิพจักขุญาณมันง่ายเหลือเกิน ยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ถ้าว่า ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้ว ท่านที่มีความรู้ในขั้นนี้จริง ๆ ท่านบอกว่า ถ้ายังใช้อารมณ์จิตของตนรู้อยู่ ท่านบอกว่าใช้ไม่ได้ ต้องหาทางเข้าถามถึงพระ ถามพระสอนกันตอนไหน จับภาพนิมิตพระองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นเป็นบรรทัดฐาน เรียกว่าภาพพระพุทธนิมิต จับแล้วเวลาที่ต้องการอยากจะทราบอะไรก็ถามพระ พระบัญชาการมาอย่างไรเป็นคำตอบที่เราได้ปรากฎรับเอง แล้วก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องจำไว้เลยทีเดียวว่า พระลักษณะนี้ที่เราเห็น เราถามแล้ว ทรงพยากรณ์ตรงตามความเป็นจริงทุกประการ จำภาพพระไว้ ถ้าทำอย่างนี้จนชำนาญก็เลิก ฝึกวิธีอื่น ต้องการอะไรก็ถามพระ
    <o:p></o:p>
    -ถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌาน 4 หรือฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ก็ตาม เวลาที่จิตสงัด ปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัว เพราะอะไร เพราะเมื่อมีความเกิดขึ้น แล้วก็มีความป่วย ความตาย ในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ตามที ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น ปัญญามันจะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการเกิดต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง 3 ประการทิ้งเสียให้หมด คือตัดอำนาจของความโลภด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของความโกรธ ด้วยการเจริญเมตตาบารมี และตัดรากเหง้าของความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของขันธ์ 5 ปัญญามันจะเห็นชัดว่า ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก ถ้ามันได้ถึงจริง ๆ
    <o:p></o:p>
    -คำว่าเอกัคตารมณ์ ก็คืออารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งในที่นี้เรานิยมเรียกว่า ฌาน อารมณ์มันจะทรงตัว ก็มีหลายคนเคยถามว่า อารมณ์เป็นหนึ่งดิ่งอย่างนี้จะทำอย่างไรต่อไป ก็ขอตอบว่า เวลานั้นไม่ใช่เวลาที่ทำอย่างอื่น ถ้าจิตเป็นฌานมีอารมณ์ทรงตัวเป็นเอกัคตารมณ์ อารมณ์เป็นหนึ่งอย่างนั้นต้องปล่อยไปตามนั้น เพราะอะไรจึงปล่อย เพราะเราต้องการให้อารมณ์ว่างจากกิเลส เวลานั้นถ้าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในลมหายใจเข้าออกก็ดี ในคำภาวนาก็ดี ในนิมิตก็ดี ถ้าจิตจับเฉพาะอย่างนั้น กิเลสจะเข้ากวนใจไม่ได้ มันจึงเป็นหนึ่ง มีอารมณ์ดิ่งก็ควรจะพอใจว่า เวลานี้จิตเราว่างจากกิเลส เราต้องการจุดนี้
    <o:p></o:p>
    -ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ ขณะนั้นเชื่อว่าจิตของเราเป็นสมาธิตามความต้องการ ถ้าหากว่าภาวนาไป ๆ ใจมันเกิดความสบาย คำภาวนาหยุดไปเฉย ๆ เป็นความสุขที่ยิ่งกว่า อย่างนี้ก็จงอย่าตกใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 ถ้าบังเอิญภาวนาไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ปรากฎว่า ไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าออกมีหรือเปล่า มันมีอาการเฉย ๆ มีอาการจิตใจสบาย ๆ อยางนี้เป็นอาการของฌานที่ 4 จัดว่าเป็นอารมณ์ฌานที่มีความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]



    เรื่องของวิปัสสนาญาณ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    -การขึ้นต้นของการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าเอากันเต็มแบบจริง ๆ ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณก่อน คือว่าใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน ให้คิดถึงไตรลักษณญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันดับแรก ท่านให้คิดถึงความเป็นจริงของไตรลักษณญาณ
    <o:p></o:p>
    1. ทุกขัง การเกิดมาในโลก การมีชีวิตของคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ที่มันทุกข์ก็เพราะอาการต่าง ๆ มันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง มันไม่มีการทรงตัว ความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เด็ก ความหิวก็เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์ การประกอบกิจการทุกอย่างเหน็ดเหนื่อยก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ และในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ มีความทุกข์ตั้งแต่เด็ก ต่อมาเป็นผู้ใหญ่และก็แก่ตายในที่สุด มีความทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง ต่อไปก็อนัตตาตามลำดับ
    <o:p></o:p>
    2. อนัตตา คิดตามความเป็นจริงว่าคนหรือสัตว์ก็ดีที่เกิดมาในโลกนี้ ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมดทั้งโลก เราก็ตายเหมือนกัน
    <o:p></o:p>
    -เรื่องของวิปัสสนาญาณนั้น ส่วนสำคัญถ้าจะกล่าวให้ละเอียดก็คือ ตอนต้นที่จะเริ่มทำสมาธิ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคนใช้กำลังปัญญาก่อน ปัญญานี่เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาญาณ อันดับแรกใช้ปัญญาของสมาธิ โดยการใช้อารมณ์เมตตาจิต เมตตาความรัก กรุณา ความสงสาร แผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง คือทั้งโลก ให้มีความรู้สึกว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งหมด
    <o:p></o:p>
    กรุณาความสงสาร ถ้าคนหรือสัตว์ก็ตามเขามีความทุกข์ ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ เราจะช่วยให้เขามีความสุข ตั้งใจตามนี้ไว้ก่อนเป็นอันดับแรก
    <o:p></o:p>
    -เมื่อจิตมีอารมณ์โปร่ง มีความสุขดีแล้ว ต่อไปให้นึกถึงด้านวิปัสสนาญาณขั้นอ่อน มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า โลกนี้มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงไม่มีการทรงตัว เราเองเกิดจากท้องมารดาใหม่ ๆ เป็นเด็กเล็ก ต่อมาก็เปลี่ยนแปลง กลายเป็นเด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน จนมาเป็นคนแก่ เป็นเพราะมันไม่เที่ยง ขณะที่ทรงร่างกายอยู่มันก็ไม่เที่ยง มีการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ ที่อาการไม่เที่ยงทำให้เราเป็นทุกข์ ในที่สุดพึงเข้าใจว่าในที่สุดเราก็ต้องตาย ก่อนตายเราก็เลือกทางไปว่าเราจะไปทางไหน ถ้าเราไปสวรรค์ เพียงแค่ให้ทานก็ได้ รักษาศีลก็ได้ ถ้าจะไปพรหมโลก ก็ต้องเจริญสมาธิจิตให้ได้ญาณสมาบัติ แต่ถ้าต้องการนิพพาน ก็ต้องให้เข้าใจตามความเป็นจริงด้วยปัญญา มีความเข้าใจว่าโลกนี้เป็นทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ร่างกายมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ถ้าเรายังมีร่างกายแบบนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์ไม่สิ้นสุด ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดมีร่างกายแบบนี้จะมีกับเราชาตินี้ชาติเดียวเป็นชาติสุดท้าย เราไม่ต้องการเกิดแบบนี้อีก เราต้องการนิพพาน
    <o:p></o:p>
    -ความจริงศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สามประการนี้จะแยกกันไม่ได้ บางท่านบอกว่า สุกขวิปัสสโกไม่ต้องใช้สมถะเลย ใช้แต่วิปัสสนาญาณตัวเดียว อันนี้ผิด ถ้าพูดอย่างนี้แสดงว่า ท่านผู้พูดไม่ได้อะไรเลย อันแรกปรับปรุงศีลให้ดี เมื่อปรับปรุงศีลดีแล้วสมาธิก็ทรงตัว เมื่อสมาธิทรงตัวปัญญามันก็เกิด ที่เป็นพื้นฐานของการเจริญฌาน และวิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    -เราปฏิบัติวิปัสสนาญาณจริง ๆ ให้เริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล แล้วก็ทำจิตเป็นสมาธิ โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก่อน เมื่อรู้ลมเข้าออก ก็ใช้คำภาวนาตาม พอจิตเริ่มเป็นสุข ต่อไปก็ใช้ปัญญาพิจารณา การใช้ปัญญาพิจารณานี่จะไม่ทรงตัวนาน ประเดี๋ยวจิตก็เริ่มฟุ้งซ่าน ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่านก็ทิ้งวิปัสสนาญาณเสีย จับสมถะภาวนาใหม่ คือรู้ลมหายใจเข้าออกใหม่ ต้องสลับกันไปสลับกันมาแบบนี้ ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทสามารถทรงตัวถึงปฐมฌานเพียงใด เวลานั้นการกำจัดกิเลสขั้นพระโสดาบันและสกิทาคามีก็มีขึ้น สรุปได้ว่า ถ้าจะทำวิปัสสนาญาณ ให้เริ่มจับลมหายใจเข้าออกก่อน กับคำภาวนา พอจิตเริ่มเป็นสุข พอใจเริ่มสบาย ๆ ก็ใช้ปัญญา ทิ้งภาวนาเสีย ใช้ปัญญาพิจารณา แต่ยังรู้ลมเข้าออกอยู่ ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และพิจารณาไปด้วย เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ มีกำลังที่จะต่อสู้กับนิวรณ์ได้ จึงกล่าวได้ว่า การทำวิปัสสนาพื้นฐานเดิมจริง ๆ ต้องมีศีลก่อน เมื่อจิตมีศีลแล้วก็ต้องทรงสมาธิ ถ้าศีลและสมาธิไม่มี วิปัสสนาญาณไม่มีผล กำลังใจจะไม่สามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ฉะนั้น คำว่าวิปัสสนาญาณ ซึ่งแปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง เป็นบทที่ใช้ปัญญาโดยเฉพาะ แต่ใช้เฉพาะปัญญาจริง ๆ นี่ไม่ได้ จะต้องมีศีลกับสมถะพร้อมวิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    -บุคคลผู้บวชมา 100 ปี และก็มีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาไม่บกพร่อง แต่ว่าไม่เคยเจริญสมาธิจิต ท่านมีศีลครบก็จริง แต่ทว่าไม่เคยทำสมาธิจิต ไม่เคยระงับนิวรณ์ บวชมามากอย่างไร ถึงมีศีลบริสุทธิ์ก็สู้บุคคลที่ทำจิตว่างจากกิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่งไม่ได้ อานิสงส์มากกว่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศีลถ้าว่ากันถึงศีลจริง ๆ ก็มีอานิสงส์แค่กามาวจรสวรรค์ ถ้าหากว่าท่านผู้นั้นไม่ปฏิบัติในสีลานุสสติกรรมฐาน แค่ระวังสิกขาบท จะไปเป็นพรหมไม่ได้<o:p></o:p>
    ประการที่ 2 คือไม่สามารถจะควบคุมอารมณ์ให้ระงับนิวรณ์ได้ เห็นไหมกิเลสหยาบยังท่วมทับใจอยู่ แต่ที่ทรงอยู่ได้เพราะเป็นการระวังตัวไว้เฉพาะเวลาเท่านั้นเอง สำหรับสมาธิจิต แต่ความจริงคำว่าจิตว่างจากกิเลส จะว่าถึงสมาธิอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องวิปัสสนาญาณควบคู่กันด้วย เฉพาะสมาธิจิตจริง ๆ สามารถไปเกิดเป็นพรหมได้ ถ้ามีวิปัสสนาญาณควบคุม แม้แต่วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่งก็ก้าวเข้าใกล้นิพพานเข้าไปทุกที สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้ โดยเเฉพาะพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันก็ดี สกิทาคามีก็ดี ทั้งสองท่านมีสมาธิไม่สูง มีปัญญาไม่มาก ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลบริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    -เวลาเจริญวิปัสสนา เขาต้องใช้สมถะคุม ถ้าไม่ใช้สมถะคุมก็ไหลลงนรกไป เพราะถ้าไม่ใช้สมถะคุมมันไปไม่ได้ อันดับแรก เขาเข้าฌานให้เต็มที่ จิตตั้งอยู่ในอุเบกขารมณ์ ทรงฌานให้สบาย ใช้เวลาเท่าไรก็ตาม รู้สึกว่าสบาย จิตทรงอารมณ์มั่น ถอยหลังจิตมาถึงอุปจารสมาธิ ก็มาพิจารณาขันธ์ 5 หรือว่าพิจารณาภาพกสิณ เทียบกับขันธ์ 5 ก็ได้ จะพิจารณาร่างกายในขันธ์ 5 ในรูปลักษณะของวิปัสสนาญาณ 9 ก็ได้ ในลักษณะของอริยสัจก็ได้ เป็นต้นว่า พิจารณาดูกายเรามันทรงตัวดีหรือเปล่า ร่างกายของเราเป็นปัจจัยของความสุขหรือความทุกข์ อันดับแรกให้ดูว่าร่างกายของเรามีอะไรบ้าง ขั้นแรก กายของเรามีธาตุ 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เข้ามาผสมกัน รวมกันเข้ามาเป็นกาย แล้วก็มีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุเข้ามาผสมให้เกิดความรู้สึก แล้วก็มีจิตเข้าสถิตสิงอยู่ในกาย คือ มีการเคลื่อนไหวได้ แต่ส่วนทั้งหมดนี้มันไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยงเพราะว่ามีการไม่ทรงตัวแท้จริง มันมีการเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง ตัวเล็กแปลงเป็นโตขึ้นมาทีละน้อย ๆ เมื่อโตถึงที่สุด ถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็ทรุดตัวลง ค่อย ๆ ทรุดตัวทีละน้อย ๆ ทุกวัน กลางคนแล้วก็เป็นคนแก่ตายไป ในที่สุดที่เราจะเห็นว่าร่างกายของเราที่ไม่มีการทรงตัว ในที่สุดมันก็พัง<o:p></o:p>
    ในเมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือร่างกายเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ เมื่อมีลมปราณอยู่เพียงใด มีแต่ความทุกข์ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหิว เดี๋ยวกระหาย อยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูกมีหลาน อยากได้ทรัพย์ หาความพอไม่ได้ จนกระทั่งแก่จะตายหายใจไม่ไหวยังไม่นึกว่าจะตาย อยากโน่น อยากนี่ไม่มีวันจบ นี่สภาพของการเกิดมาภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหา นี่มันไม่ดี มันมีแต่ความทุกข์ ร่างกายมันต้องตายและพังไปในที่สุด มีแต่ความสกปรก ไอ้คนที่เกิดมาในโลกนี้ กายของใครมันวิเศษกว่ากันมีไหม ไม่มี ทุกคนสกปรกหมด นี่หาความไม่ดีของร่างกายให้ปรากฎ จะเห็นว่ามันประกอบไปด้วยความทุกข์ พระอรหันต์ทั้งหลายพิจารณาร่างกายแบบนี้จึงวางร่างกายเสียได้
    <o:p></o:p>
    เมื่อพิจารณาวิปัสสนาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เมื่อพิจารณาไป จิตพอจะเริ่มเฝือ อารมณ์จะทรงตัวไม่ได้ ก็ทิ้งวิปัสสนาญาณเข้าหาฌาน 4 ใหม่ พักอารมณ์สบายแล้ว พออารมณ์เป็นอุเบกขารมณ์ มันไม่นึกอะไร มันทรงตัวเลย สบายมีกำลัง ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิพิจารณาใหม่ เพียงเท่านี้ ไม่ช้าไม่นานเท่าไร กำลังใจจะเกิดรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง คือปัญญามันเกิด ตอนนี้ไปว่ากันตรงวิปัสสนาญาณ นี่บารมีอย่างกลางไม่เกิน 7 เดือนเป็นพระอรหันต์
    <o:p></o:p>
    -การตัดกิเลสจริง ๆ ต้องใช้วิปัสสนาญาณ ถ้าฌานสมาบัติของท่านดี วิปัสสนาญาณมีความคมกล้า ก็สามารถตัดกิเลสได้เร็ว โดยมากคนจะเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ เพราะอารมณ์ที่ทรงฌานจริง ๆ มันมีอารมณ์หนักและก็แน่นหนามาก คนจะติดตรงนี้ จิตมีกำลังสูง ที่เข้าใจว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์เพราะอะไร เพราะเจอะรูปที่สวย เคยชอบมันก็เฉย มีสภาพเฉยหมด เฉยนี่เป็นสภาพหนักแน่ของจิต นี่เป็นอารมณ์ของฌานโลกีย์ ก็มีหลายท่านเจออาการแบบนี้ ก็นึกว่าท่านบรรลุมรรคผลขั้นสูง เป็นพระอรหันต์ ต่อมาไม่ช้าฌานเสื่อมลง ความรู้สึกต้องการในรูป เสียง กลิ่น รส ก็เกิดขึ้น
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น สมถะและวิปัสสนากรรมฐานจึงต้องไปด้วยกัน ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ สรุปก็คือ ก่อนที่จะคำนึงถึงวิปัสสนาญาณก็จงทำใจให้มีความสุขด้วยอำนาจของสมาธิจิตก่อน เมื่อจิตมีสมาธิดีแล้ว ก็ใช้ปัญญาพิจารณาให้ปรากฎ เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าหากยังเห็นไม่พอเพราะจิตมันซ่าน ก็ดับความรู้สึกในการพิจารณาเสีย กลับมาภาวนาและทรงจิตให้หยุดในอารมณ์เดิมก่อนให้จิตสบายเป็นสมาธิ ทำสลับกันไปสลับกันมา
    <o:p></o:p>
    -การพิจารณาวิปัสสนาญาณควรมุ่งตัดกิเลสเป็นตอน ๆ ไป ถ้าตอนใดคิดว่าจะละให้เด็ดขาดก็ยังละไม่ได้ ก็ไม่ย้ายข้อที่ตั้งใจจะละต่อไปในข้ออื่น ๆ ต้องย้ำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่ในข้อนั้น จนเห็นว่าตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบแล้ว จึงเลื่อนไปพิจารณาละข้อต่อไป อย่าทำแบบสุกเอาเผากิน คราวเดียวมุ่งละหมดทั้ง 10 หรือคราวละหลาย ๆ ข้อ ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นพวกโมฆกรรม คือทำไม่ได้ผลไป การเจริญวิปัสสนาต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่าทำแบบคิดว่าพอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย
    <o:p></o:p>
    -วิปัสสนาญาณ นี่คือตัวปัญญา เกิดขึ้นได้เมื่อมีสมาธิเกิดขึ้น จิตใจระงับนิวรณ์ อารมณ์ก็เยือกเย็น กิเลสระงับ เวลานั้นกิเลสในใจเรายังไม่ฟู ไม่ดิ้นรน ระงับตัว มันนอนนิ่ง เมื่อกิเลสนอนนิ่ง จิตเป็นสุข ปัญญาด้านตัดกิเลสก็จะเกิดเอง ดังนั้น ไอ้การทรงฌานที่เป็นฌานโลกีย์มันก็ไม่แน่เหมือนกัน พระพุทธเจ้ายังเรียกว่าเป็นอนิยตบุคคล จะถือว่าตายแล้ว มีคติดิ่งไปสู่สุคติโดยเฉพาะก็ยังไม่ได้ มันจะสลายตัวเมื่อไรก็ได้ เรียกว่าฌานประเภทลูกผีลูกคนเอาแน่อะไรไม่ได้นัก<o:p></o:p>
    เมื่อทำจิตเข้าถึงฌานสมาบัติแล้วก็ต้องเร่งรัดวิปัสสนาญาณ อย่างเลวที่สุด ก้าวจิตเข้าไปสู่พระโสดาบันให้ได้ อย่างนี้ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วถือว่าเป็นผู้มีคติแน่นอน ตายแล้วไปสวรรค์แน่ ตายแล้วไปพรหมแน่ สุดแต่เราต้องการจะไป
    <o:p></o:p>
    -วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ<o:p></o:p>
    1. พิจารณาตามแบบวิปัสสนาญาณ 9 ตามนัยวิสุทธิมรรค<o:p></o:p>
    2. พิจารณาตามนัยอริยสัจ 4<o:p></o:p>
    3. พิจารณาขันธ์ 5 ตามนัยพระไตรปิฎกที่มีมาในขันธวรรค
    <o:p></o:p>
    ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เราเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ 9 เป็นการค่อยปลดค่อยเปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเองแลเะนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐมก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือให้เห็นอนัตตาในขันธ์ 5 เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค และในขันธวรรค ในพระไตรปิฎกว่า ผู้ใดเห็นขันธ์ 5 ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็นอริยสัจ ก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ 5
    <o:p></o:p>
    -จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารสมาธิ แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก ถ้าใครสามารถทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณมันรู้สึกว่าง่ายบอกไม่ถูก ถ้าฌาน 4 เต็มอารมณ์แล้ว เราจะใช้วิปัสสนาญาณ ก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เราจะต้องตัดตัวไหนล่ะ ตัดราคะ ความรักสวยรักงาม เราก็ยกอสุภกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยกกายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่าไอ้สิ่งที่เรารักน่ะ มันสะอาดหรือว่ามันสกปรก กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลังที่กล้ามาก ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก ประเดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุผลชัด พอตัดได้แล้วมันไม่โผล่นะ รู้สภาพยอมรับความเป็นจริงหมด เห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อสีสันวรรณะขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของท่านพวกนี้ไม่ได้ แต่ถ้าได้สมาธิไม่ถึงฌาน 4 ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้ เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมากทำทีละขั้น ๆ นั้นจนเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบ แล้วจึงค่อยเลื่อนไปฌานต่อไปเป็นลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้ เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
    <o:p></o:p>
    -เรื่องญาณต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเป็นของมีจริง แต่ขออย่างเดียว อย่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัทเอาแต่คิดกับอ่านตำรา แล้วก็พูด แค่นี้มันใช้ไม่ได้ อย่าลืมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต้องใช้อารมณ์เป็นสำคัญ ให้ปรับปรุงอารมณ์ ไม่ใช่ปรับปรุงวัตถุ พิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานตัวเดียว คือพิจารณาขันธ์ 5 ร่างกาย ว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา ให้เข้าใจ แล้วก็ถอยหลังไปดูร่างกายที่เราทิ้งมาแล้ว มันเป็นอะไรมาบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เป็นคนบ้างเท่าไร ดูให้มันช่ำใจ จะเกิดความเชื่อในตัวเอง แล้วก็ท่านที่ไม่ต้องเกิดอีกมีบ้างไหม อันนี้ไม่ยาก ถ้าสร้างอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ อันนี้เราจะใช้ทิพจักขุญาณเห็นพระนิพพานได้อย่างแจ่มใสแล้วก็ชัดเจน ถ้าอารมณ์ของท่านยังไม่ถึงโคตรภูญาณเพียงใด อย่าเพิ่งพูดไปนะเรื่องนิพพาน แล้วก็ยังไม่ได้ทิพจักขุญาณด้วย ไม่ได้โคตรภูญาณด้วย ยังไม่ต้องพูดกันเรื่องนิพพาน พูดเท่าไรผิดเท่านั้น ไม่ต้องห่วง ไม่พูดไม่ผิดดีกว่า
    <o:p></o:p>
    -การจะตัดนิวรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวรูปมันก็ตัดง่าย เราเอาความรู้ความสามารถของเราที่มีอยู่ในด้านอภิญญา เอามาใช้เป็นเครื่องประกอบ<o:p></o:p>
    อันดับแรก เอาอทิสมานกายยกใจขึ้นไปที่พระจุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงที่นั่นแล้วจะเห็นว่า กายใจในที่นั้นมันเป็นนามธรรม เทวดาหรือพรหมทั้งหมดเป็นกายนามธรรม พระอริยเจ้าที่เราเห็นเป็นนามธรรม ทุกคนไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่มีอะไรทั้งหมด สบายทุกอย่าง โรคภัยไข้เจ็บไม่มี และถ้าเราไปด้วยกำลังที่หนักแน่น มันก็ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เมื่อยเหมือนกัน การไปก็คล่องตัว นึกปั๊บเดียวมันก็ถึง นี่กำไรในการที่ไม่มีขันธ์ 5
    <o:p></o:p>
    ถ้าเราจากที่นั้นไป ถ้าเราจะไปพรหมนึกปั๊บเดียว แค่นึกก็ถึงพรหม ไปเห็นสภาพของพรหมมีความสุขสงัดคำว่าแก่ไม่มี คำว่าป่วยว่าตายไม่มี นอกจากวาระมันจะถึงมันก็เคลื่อนไป ต่อไปถ้าไปถึงพระนิพพาน เราก็เหยียดหยามทั้งหมด ทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เพราะที่นั้นเป็นแดนที่เต็มไปด้วยความสุขจริง ๆ แล้วเรามองลงมาดูข้างล่าง ถึงนิพพานก็ได้ ถึงเทวดาหรือพรหมก็ได้ มองมาดูมนุษย์ ถ้ามองมาดูมนุษย์แล้วก็จะเห็นสภาพของเมืองมนุษย์ที่มันเต็มไปด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเกลื่อนกล่นไปด้วยการงาน มีความสกปรกโสโครกหาที่แน่นอนไม่ได้ ร่างกายที่เราทิ้งไปมันก็เหมือนตอไม้ซึ่งไม่มีประโยชน์ ร่างกายนี่ไม่ช้าก็พัง สิ่งที่เราจะทรงได้จริง ๆ ก็คือ อารมณ์ที่เราไปสวรรค์ ไปพรหม ไปพระนิพพาน
    <o:p></o:p>
    -วิธีการตัดง่าย ๆ ก็ใช้กำลังของทิพจักขุญาณ มองดูกายในของเราให้เป็นปกติ เห็นร่างกายเราดูข้างใน เห็นร่างกายคนอื่น เราก็ดูข้างในอีก มองลึกเข้าไปเห็นน้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายว่ามันเต็มไปด้วยความโสโครก ตัวนี้เป็นตัวสมถภาวนา
    <o:p></o:p>
    สำหรับด้านวิปัสสนาภาวนา ก็ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาว่าร่างกายของคนนี้ กายของเราก็ดี มันไม่ทรงอยู่แค่นี้ ขณะที่ทรงอยู่มันเต็มไปด้วยความสกปรก ต้องประกอบการงานเหน็ดเหนื่อย มันก็มีความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาแทรกอยู่เสมอ ทำให้เราป่วยมากขึ้น นอกจากนั้นร่างกายมันต้องพัง พังแล้วเราก็อยู่ไม่ได้ เราต้องไป ก็คิดอย่างนี้เสมอ
    <o:p></o:p>
    เห็นหน้าคนเมื่อไร อย่ามองหน้า อย่ามองผิว มองทะลุเข้าไปในท้องเลย ทะลุหนังเข้าหาเนื้อ ทะลุเนื้อเข้าหาตับ ไต ไส้ ปอด มองต่อไปถึงความแก่ ความป่วย ความตาย ในที่สุดใจของเรามีความเบื่อหน่ายในกาย ถ้าใจของเราไม่ต้องการกายเมื่อไร เรียกว่า กายคตานุสสติกรรมฐาน ท่านเป็นอริยเจ้าเบื้องสูง คือ เป็นพระอรหันต์
    <o:p></o:p>
    -วิปัสสนาญาณนี้ ในระยะต้นให้ควบคุมอารมณ์ใจอยู่ในอำนาจของสมถภาวนา ให้นานที่สุดที่จะทรงได้ เมื่อทรงอยู่ได้ด้วยดีแล้ว ต่อไปก็ใช้อารมณ์สมาธินี้พิจารณาขันธ์ 5 เห็นว่าขันธ์ 5 นี้เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เป็นอันว่าขันธ์ 5 นี้ แม้เราจะปรนเปรอขนาดไหนก็ตาม มันก็ไม่ตามใจเรา เราไม่ต้องการให้มันแก่ มันก็จะแก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วย มันก็จะป่วย เราไม่ต้องการให้มันพลัดพรากจากเรา หรือเราพลัดพรากจากมัน เราก็ทำไม่ได้ ในที่สุด เราไม่ต้องการอยากให้ตายมันก็ตาย ห้ามไม่ได้ ขันธ์ 5 คือร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา นี่ว่าโดยย่อ เราพิจารณาขันธ์ 5 การเจริญวิปัสสนาญาณก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่ก็รวมอยู่ในขันธ์ 5 ว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ จะพิจารณาแบบไหนก็ตาม ถ้าเลยขันธ์ 5 ไปไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
    <o:p></o:p>
    -เห็นคนที่เขาเดินผ่านไปผ่านมา ดูข้างนอกแล้วมองข้างใน ว่าร่างกายของเขาเต็มไปด้วยความสะอาดหรือเต็มไปด้วยความสกปรก คนสวยที่เขาต้องการประคับ-ประคองกันมันน่าประคับประคองตรงไหน มันไม่มีอะไรที่ควรแก่การประคับประคองเลย เพราะสภาวะของเขามีสภาพไม่ต่างกับถุงอุจจาระ มันเป็นของเหม็น มันห่ออยู่ข้างใน ถ้าลักษณะหน้าตาผิวพรรณสวย ก็นึกว่าเอาผ้าแพรห่ออุจจาระ ถ้าลักษณะผิวพรรณข้างนอกไม่สวย ก็แสดงว่าเอาผ้าดิบมาห่ออุจจาระ หรือกระสอบห่ออุจจาระ คิดถึงความรังเกียจในร่างกายของเราและของเขา ให้อารมณ์มันทรงตัว และคิดต่อไปว่า คนทั้งหลายเราก็ดี เขาก็ดี จะทรงสภาพอยู่อย่างนี้หรือ ในที่สุดมันก็ตายหมด ทำอารมณ์ใจให้ทรงตัวอย่างนี้เป็นปกติ อย่าสนใจคำนินทาและสรรเสริญ อย่าสนใจโลกธรรม 8 ประการ มันมาอย่างไรก็ให้มันไปอย่างนั้น อย่าไปยุ่งกับมัน อย่าถือเป็นสาระเป็นแก่นสาร
    <o:p></o:p>
    -เมื่อมาเจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นพิจารณาขันธ์ 5 หรือในอริยสัจ 4 พอมาพิจารณาอารมณ์อย่างนี้เข้า จิตกลับมีความเบาขึ้น ความแน่นสนิทน้อยลงไป ตอนนี้นักเจริญกรรมฐานใหม่ ๆ ที่ยังมีอารมณ์เข้าไม่ถึงมักจะไม่ชอบใจ คิดว่าอารมณ์สมาธิมีความหนักแน่นน้อยเกินไป มีความเข้าใจว่าอารมณ์ใจของเราเสื่อมจากความดีไปเสียแล้วก็ได้
    <o:p></o:p>
    เมื่ออารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้น จงสร้างความรู้สึกของใจเสียใหม่ให้มันถูกต้องว่า การเจริญพระกรรมฐานเราต้องการอะไรกัน ความจริงที่ถูก การเจริญพระกรรมฐานเรามีความต้องการตัดอำนาจของราคะ ความรักในเพศตัดอำนาจโลภะ ความปรารถนาอยากได้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตัดอำนาจโทสะและพยาบาท การจองล้างจองผลาญ การคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นให้ถึงความพินาศ ตัดอำนาจของโมหะ ความหลง โดยคิดว่าร่างกายนี้มันเป็นของเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นเรา เป็นของเรา ถือเราถือเขาเป็นสำคัญ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ นึกเห็นตามความจริง ถ้าเราเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความจริงให้พบจนกระทั่งจิตสลด คิดว่าร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริง ๆ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจังโดยการบังคับให้ทรงตัวได้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้ เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม
    <o:p></o:p>
    -เมื่อร่างกายมันเป็นของสกปรก เป็นของไม่เที่ยง มีอนัตตาคือสลายตัวไปในที่สุด จิตก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ผูกพันในรูปกายใด ๆ ทั้งหมด จะเป็นที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม เห็นว่าไม่เป็นสาระ หรือว่าไม่เป็นแก่นสาร มีแต่ความสกปรก เครื่องประดับที่แต่งกายเป็นของหลอกลวงไม่มีอะไรดี ผ้าผ่อนท่อนสไบหามาแล้วอย่างดี สีสดสวย เดี๋ยวก็ทรุดโทรม ความจริงนึกว่าสวมแล้วก็เก็บ จะใช้ใหม่ก็ต้องซัก ต้องฟอก นี่แสดงว่ามันสกปรก เครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ก็คอยปัดคอยสีขัดเกลา ทำลายสิ่งสกปรกอยู่เสมอ ทีนี้อะไรมันเป็นของสะอาด เป็นอันว่าวัตถุก็ดี สิ่งที่มีชีวิตก็ดีมันก็ของไม่สะอาดทั้งหมด จิตคิดอย่างนี้ให้มันปกติ จิตก็ตัดความรักเสียได้ เพราะความรักที่มันเกิด เราเข้าใจว่ามันดี เข้าใจว่ามันสวย เข้าใจว่ามันสะอาด อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของตัณหา ดึงไปอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น การทำลายอารมณ์รักภายในใจเสียได้เป็นอารมณ์วิปัสสนาญาณ ต้องมีอารมณ์ให้ทรงอยู่เป็นปกติ
    <o:p></o:p>
    จงจำไว้ว่า อารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง อันนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอารมณ์ของดิรัจฉาน ดิรัจฉานก็หมายความว่า ไปขวาง คือมันขวางจากความดี เราจึงควรตัดความโลภด้วยการให้ทาน ตัดความโกรธด้วยการเจริญพรหมวิหาร 4 ตัดความหลงด้วยการยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายมันจะเป็นอะไรเกิดขึ้น และจงมีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงด้วยความจริงใจ เมื่อเคารพแล้วก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน โดยการพิจารณากายของเราว่าไม่ดี ไม่มีการทรงตัว ความรักด้วยอำนาจของตัณหามันก็จะน้อยลงไป หรือไม่ก็หมดลงเลย ส่วนความโลภ ให้พิจารณาว่า จะตะเกียกตะกายไปเพื่อประโยชน์อะไร เราตายแล้วมันก็ไม่ไปกับเรา และความโกรธอยากจะฆ่าเขา ก็ให้พิจารณาว่า เราและเขาก็จะต้องตายเหมือนกัน จะไปฆ่าให้เสียเวลาทำไม เพราะฆ่าไม่ฆ่ามันก็ต้องตายอยู่แล้วนั่นเอง ทีนี้ความหลงนั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู แม้แต่ร่างกายของเรามันยังไม่เป็นของกูเลย แล้วร่างกายคนอื่น วัตถุอื่น มันจะเป็นของเราหรือ วิธีการตัดเขาตัดที่ตรงนี้
    <o:p></o:p>
    -ให้พิจารณาเป็นปกติเสมอว่า ร่างกายมันจะแก่ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะป่วยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ของรักของชอบใจที่พลัดพรากจากเราไปก็ถือว่าเป็นธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ให้คิดเสียว่าเมื่อร่างกายมันพังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้ หากว่าชาตินี้ถ้าไม่สามารถจะไปนิพพานได้ ถ้าอารมณ์ใจท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ดีไม่ดีไปพักอยู่แค่เทวดาหรือพรหมไม่กี่วัน เพียงแค่พระศรีอาริย์ตรัส เห็นหน้าพวกท่านเข้า พระพุทธเจ้าท่านจะเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐาน หรือปฏิกูลบรรพฉับพลันทันที เพราะองค์สมเด็จพระชินสีห์รู้ทุนเดิมของเรา ถ้าฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระทศพลเพียงกัณฑ์เดียว อย่างเลวที่สุดได้พระโสดาบัน ถ้าฟังซ้ำอีกทีก็ได้อรหัตผล ตัวอย่างก็มีเยอะที่ปรากฎในพระพุทธประวัติ ดังเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับท่านพาหิยะว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2009
  6. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    .
    ^^ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ ค่ะ ^^

    .
     
  7. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    อนุโมทนาจ้ะ
    สาระธรรมยาวเยอะดีอ่านไม่ทัน
    ขออนุญาตเก็บไว้อ่านต่อนะจ๊ะ
     
  8. pmntr

    pmntr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +2,244
    กราบโมทนาในสิ่งดีๆเหล่านี้
    ขอให้ทุกท่านปฏิบัติได้โดยไวเถิด
     
  9. Pateleven

    Pateleven Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +44
    ได้แนวทางใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจเยอะมากครับ ขออนุโมทนา สาูธุครับ
     
  10. datchanee

    datchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +1,276
  11. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงในส่วนแห่งธรรมทาน ที่ครบถ้วนบริบูรณ์
    ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงพระนิพพาน ขอบูชาพระคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาล
    ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้นำพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จ
    พระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า มาสอนลูกหลานและพุทธ่บริษัท
    เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน ในชาติปัจจุบัน สาธุ อนุโมทามิ

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง

    เชิญท่านแวะชมและโมทนาบุญ
    มีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มจากเดิมอีกหลายรายการครับ

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...