องค์พระจอมมุนีทรงเอาชนะพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์และสำคัญตนว่าเป็นผู้มีภพภูมิเที่ยงฯ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย deneta, 20 กุมภาพันธ์ 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    พุทธชยมงคลคาถาบรรยาย (จบ)

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

    ต่อไปพุทธชยมงคลคาถาที่ ๘ สวดว่า
    ทุคฺคาหทิฏฺฐิภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ
    พฺรหฺมํ วิสุทฺธิชุติมิทฺธิพกาภิธานํ
    ญาณาคเทน วิธินา ชิตวามุนินฺโท
    ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ
    แปลยกศัพท์ว่า
    <TABLE style="MARGIN-LEFT: 77.4pt; WIDTH: 366.05pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=488 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>มุนินฺโท</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>พระจอมมุนี </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ชิตวา</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ได้ทรงชนะ</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>พฺรหฺมํ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ซึ่งพรหม</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>พกาภิธานํ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ผู้มีอภิธานชื่อว่า พกะ</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>อิทฺธิ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ผู้มีฤทธิ์</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ชุติ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>รุ่งเรือง</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>วิสุทฺธิ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>สว่างไสว</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ทุคฺคาหทิฏฺฐิภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ทีมืออันภุชงค์คืองูพิษ อันได้แก่ทิฏฐิ คือความเห็นที่เป็นเหตุถือผิดขบเอาแล้ว</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>วิธินา</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ด้วยวิธี</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ญาณาคเทน</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>วางยาอันวิเศษ คือเทศนาญาณ</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ชยมงฺคลานิ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ขอชัยมงคลทั้งหลาย</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ภวตุ</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>จงมี</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>เต</TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>แก่ท่าน</TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>ตนฺเตชสา </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    www.vipthaiantique.com/<WBR>content/print.asp?id=8...
    แม้ในเรื่องของพกาพรหมหรือพกพรหมที่อ้างในคาถาสุดท้ายนี้ ก็ได้มีแสดงติดมาในคัมภีร์พระไตรปิฎกเหมือนกัน ว่า ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ในพระเชตวนาราม อันเป็นอารามที่อนาถบิณฑิกสร้างถวายในกรุงสาวัตถี สมัยนั้นพรหมชื่อพกะ ได้มีความเห็นที่ผิด อันเป็นบาปบังเกิดขึ้นว่า ที่นี้เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน เป็นอย่างเดียว ไม่ที่จะเคลื่อน คือไม่ต้องจุติเคลื่อนไปเป็นธรรมดา เป็นที่ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ไม่มีที่แล่นออกอื่นที่จะยิ่งไปกว่านี้ คือหมายความว่า พรหมโลกที่พกพรหมอุบัติขึ้นนี้ เป็นที่ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติอีกต่อไป เป็นที่ที่เที่ยง เป็นที่ที่ยั่งยืน แล้วก็ไม่มีที่จะแล่นออกที่ยิ่งไปกว่านี้ คือที่สุดเพียงเท่านี้
    พระพุทธเจ้าจึ่งได้เสด็จขึ้นไปโปรดและก็ได้รับการต้อนรับจากพกพรหม พกพรหมก็ได้กราบทูลแสดงทิฏฐิ คือความเห็นดังกล่าวของตน พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า พกพรหมนั้นยังมีอวิชชา ยังอยู่กับอวิชชา มากล่าวที่ ๆ ไม่เที่ยง ไม่แน่นอนยั่งยืนเป็นอย่างเดียว ที่ยังมีจุติ คือความเคลื่อนไปเป็นธรรมดา ว่าเป็นที่ ๆ เที่ยง ที่ยั่งยืน ที่แน่นอนเป็นอย่างเดียว ที่ไม่จุติเป็นธรรมดา มากล่าวที่ ๆ ยังมีเกิด แก ตาย มีจุติ มีอุปบัติ ว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ มากล่าวที่ซึ่งยังมีที่ ๆ จะแล่นออกยิ่งขึ้นไปกว่าอีกว่าไม่มีเสียแล้วดังนี้
    พกพรหมจึ่งได้กราบทูลว่า ตนและสหายรวมกัน ๗๒ ต่างได้ทำกรรมที่เป็นบุญไว้ จึงมาเกิดในพรหมโลกนี้ ซึ่งไม่ต้องเป็นไปในอำนาจของใครอีก ล่วงชาติ ล่วงชราเสียได้ รู้จบเวท บรรลุถึงที่สุด ชนทั้งหลายเป็นอันมากต่างก็พากันกระซิบกระซาบ ต้องการที่จะมาสู่ภพเช่นนี้
    พระพุทธเจ้าจึ่งได้ตรัสว่า พระองค์ได้ทรงทราบว่าอายุของพกพรหมและสหายที่ว่าอยู่ยั่งยืนตลอดไปนั้น อันที่จริงมีอายุเพียงแสนนิรัพพุทะ (สังขยามีจำนวนสูญ ๖๘ สูญ) เท่านั้น ซึ่งก็นับว่าเป็นอายุที่น้อยไม่ยืนยาว
    พกพรหมจึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ก็เมื่อพระองค์ได้ทรงรู้ทรงเห็นไม่มีที่สิ้นสุด ทรงก้าวล่วงชาติชราได้ ก็ขอให้ตรัสบอกศีลและวัตร คือกรรมเก่าของพกพรหมเองว่าได้ทำอะไรมาบ้าง ซึ่งพกพรหมจะพึงรู้ได้
    พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสบอกว่า พกพรหมได้ประกอบกุศลกรรมมาหลายอย่าง ได้ทรงระลึกได้เหมือนอย่างหลับแล้วตื่นขึ้น ก็เป็นต้นว่า พกพรหมได้เคยช่วยมนุษย์ ซึ่งหิวกระหายไม่มีน้ำจะดื่ม ให้มีน้ำดื่มเป็นอันมาก ได้ช่วยมนุษย์ที่ถูกโจรจับไป แก้ไขให้หลุดออกมาได้ ได้ช่วยมนุษย์ที่เดินทางในทะเล ถูกนาคที่ชั่วร้ายจะล่มเรือ ให้พ้นจากอันตรายได้ ตลอดจนถึงพระพุทธเจ้าเอง เมื่อครั้งหนึ่ง ได้เป็นบุคคลที่ชื่อว่ากัปปะ ก็ได้เคยเป็นศิษย์ของพกพรหม และก็ได้สำคัญว่า พกพรหมเป็นผู้ที่มีความรู้เหล่านี้เป็นต้น
    พกพรหมก็ได้กล่าวรับรองว่า พระองค์ได้ทรงทราบจริง พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้ได้ตรัสรู้จริง แล้วก็ทรงทราบคนอื่นตามเป็นจริงด้วย และพระองค์ก็ได้ทรงมีพระอานุภาพที่รุ่งเรือง ส่องพรหมโลกให้สว่างดั่งนี้ ก็เป็นว่าพกพรหมนี้กลับได้ความเห็นที่ถูกต้อง ละความคิดที่ว่าตนได้บรรลุถึงภูมิภพที่เที่ยงที่ยั่งยืนเสียได้ ดังนี้
    แม้ในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่แสดงไว้ อันได้สาระคือแก่นสารในส่วนหลักของพระพุทธศาสนาในข้อที่ว่า ตามหลักพุทธศาสนานั้น เมื่อยังมีชาติ คือความเกิด จะเกิดในที่ใดก็ตาม แม้เกิดในพรหมโลกซึ่งมีอายุยืนมาก แต่ว่าก็จะต้องมีจุติ คือความเคลื่อน คือต้องมีเกิดมีดับ เพราะฉะนั้นที่ซึ่งไม่แก่ ไม่ตายนั้น ก็ต้องเป็นที่ ๆ ไม่เกิด คือนิพพานในพุทธศาสนา เมื่อได้บรรลุถึงนิพพานอันดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น ไม่เกิดอีก จึงเป็นอันว่า ได้บรรลุอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย ก็คือไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงมีแสดงไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือไม่พึงยึดถือว่า เป็นตัวเรา ของเรา แม้ว่าจะบรรลุถึงนิพพานไม่เกิดอีก แต่ก็ไม่สูญ เป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่ว่าเมื่อถอนธรรมทั้งปวงเสียได้หมด ก็เป็นอันว่าถอนวาทะที่จะพูดเสียทุกทาง จึงไม่มีทางที่จะบัญญัติถ้อยคำขึ้นพูดถึงว่าอะไรต่อไปเป็นอันยุติ เพราะเมื่อยังไม่ยุติ ยังพูดถึงกันอยู่ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ก็แปลว่ายังไม่จบยังไม่สิ้น เมื่อจบสิ้นก็แปลว่ายุติที่จะพูดถึงกันต่อไป ไม่มีที่จะยกขึ้นมาเป็นนั่นเป็นนี่อะไรอีกต่อไป ท่านจึงเปรียบเหมือนดังว่า ไฟสิ้นเชื้อดับไป ไม่ถึงความนับว่าไฟไปข้างไหนอย่างไร แต่ว่าไฟก็ไม่สูญ ฉันใดก็ดี ท่านผู้ที่บรรลุนิพพานสิ้นกิเลสและกองทุกข์ทั้งหมดแล้ว ดับขันธ์ไม่เกิดอีก ก็เป็นผู้ที่ไม่สูญ แต่ก็พ้นจากทางของถ้อยคำที่จะกล่าวถึงว่าอะไร เป็นอันยุติกันเสียทีหนึ่ง จะพูดว่าจิต ว่าวิญญาณ หรืออะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น จะพูดว่าตัวตนก็ไม่ได้ทั้งนั้น จะพูดว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขารอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ก็เป็นยุติกันทั้งหมด จบกันเสียทีหนึ่ง ดั่งนี้เป็นหลักในพุทธศาสนา และก็ได้มีคาถาปิดท้าย สวดว่า
    เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคล อฏฺฐคาถา
    โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที
    หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ
    โมกขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ
    แปลยกศัพท์ว่า
    <TABLE style="MARGIN-LEFT: 77.4pt; WIDTH: 366.05pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=488 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    โย

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    นรชนใด

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    สปญฺโญ

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    มีปัญญา

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    มตนฺที

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ไม่เกียจคร้าน

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    วาจโน

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    สวดก็ดี

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    สรเต

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ระลึกก็ดี

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ซึ่งพระพุทธชยมงคล ๘ คาถา

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    เอตาปิ

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    แม้เหล่านี้

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    ทินทิเน

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ทุก ๆ วัน

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    นโร

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    นรชน

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    หตฺวาน

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ละเสียได้

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    จุปทฺทวานิ

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ซึ่งอุปัทวอันตรายทั้งหลาย

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    อเนกวิวิธานิ

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    เป็นอเนกคือมิใช่อย่างเดียว

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    อธิคเมยฺย

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    พึงบรรลุ

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    สุขํ

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>
    ซึ่งสุข

    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 153pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=204>
    โมกฺขํ





    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 213.05pt; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=284>คือความพ้น หรือความพ้นซึ่งเป็นสุข ดั่งนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ได้แสดงมาในพุทธชยมงคลคาถา ซึ่งเป็นบทสวดที่นิยมสวดกันอยู่ทั้งในหมู่ภิกษุ และหมู่คฤหัสถ์ฆราวาสผู้มุ่งชัยมงคลทั้งหลาย ฉะนั้น ก็พึงทราบว่า การสวดเมื่อระลึกทำความเข้าใจไปตามความของบทที่สวด อันแสดงถึงชัยมงคลของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงชนะมาทุก ๆ ครั้ง ล้วนด้วยธรรมทั้งนั้น เช่นด้วยบารมีธรรมทั้ง ๑๐ มี ทาน เป็นต้น และที่แสดงไว้เป็นข้อ ๆ ในแต่ละคาถาฉะนั้น ก็พึงทำความเข้าใจว่า ชัยมงคลนั้นจะพึงสำเร็จได้ ก็ต้องปฏิบัติให้มีธรรมเหล่านี้ขึ้นในตน เช่น ทาน เป็นต้น หรือเช่น ขันติและข้ออื่น ๆ ที่แสดงไว้ในแต่ละคาถา และเมื่อใช้ธรรมมาเป็นเครื่องชนะดั่งนี้ ได้ชื่อว่า ได้ปฏิบัติเพื่อชัยมงคลตามทางพุทธศาสนา ย่อมจะชนะได้ และสิ่งที่ชนะนั้น ก็พึงเข้าใจว่า ก็ชนะกิเลสในจิตใจของตนเอง หรือว่าชนะจิตใจ ก็คือชนะกิเลสที่ในจิตใจของตนเอง เมื่อชนะกิเลสในจิตใจของตนเองได้ ก็ชื่อว่าได้ชนะด้วยความชนะอันเลิศตามทางพุทธศาสนา ดั่งนี้เป็นเนื้อหาของพุทธชยมงคลคาถาเหล่านี้ ซึ่งเมื่อสวดเมื่อระลึกปละปฏิบัติตามไปก็จะบรรลุถึงโมกขสุข สุขคือความพ้นอันแท้จริงคือความพ้นกิเลสนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นความพ้นชั่วคราว พ้นเฉพาะอย่างก็ตาม พ้นได้เมื่อใดก็ได้โมกขสุขเมื่อนั้น เมื่อความโลภเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น ความหลงเกิดขึ้น ใช้บารมีหรือในข้ออื่น ใช้ขันติ ใช้เมตตาเป็นต้น เอาชนะเมื่อโลภ โกรธ หลง สงบลงไปได้ ก็เป็นอันว่าได้โมกขสุขกันครั้งหนึ่ง ๆ ดั่งนี้ ก็เป็นชัยมงคลตรงตามทางพุทธศาสนา ก็เป็นอันว่ายุติเพียงเท่านี้
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/somdej-13-08.htm
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>บทพาหุงมหากา.wma</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทรงชนะมาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2009
  2. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    ความโดยพิศดาร

    พกพรหมชาดก

    ว่าด้วยศีลและพรตของพกพรหม


    [​IMG]

    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พกพรหมแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้
    ความพิสดารว่า ท่านพกพรหมเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า สิ่งนี้เที่ยง ยั่งยืน สืบเนื่องๆ กันไป ไม่มีการเคลื่อนธรรมดา สิ่งอื่นนอกจากนี้ ที่ชื่อว่าพระนิพพานเป็นที่ออกไปของสัตวโลกไม่มี
    ได้ยินว่า พระพรหมองค์นี้เกิดภายหลัง เมื่อก่อนบำเพ็ญฌานมาแล้ว จึงมาเกิดในชั้นเวหัปผลา ท่านให้อายุประมาณ ๕๐๐ กัปป์สิ้นไปในชั้นเวหัปผลานั้นแล้ว จึงเกิดในชั้นสุภกิณหาสิ้นไป ๖๔ กัป แล้วจุติจากชั้นนั้น จึงไปเกิดในชั้นอาภัสรา มีอายุ ๘ กัปป์ ในชั้นอาภัสรานั้น ท่านได้เกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ เพราะท่านระลึกถึงการจุติ (ตาย) จากพรหมโลกชั้นสูงไม่ได้เลย และระลึกถึงการเกิดขึ้นในพรหมโลกชั้นนั้นก็ไม่ได้ เมื่อไม่เห็นทั้ง ๒ อย่าง (ทั้งการเกิดและการตาย) ท่านจึงยึดถือความเห็นอย่างนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพกพรหมนั้น ด้วยเจโตปริยญาณแล้ว จึงทรงหายพระองค์ไปจากพระเชตวันมหาวิหาร ปรากฏพระองค์บนพรหมโลก อุปมาเหมือนหนึ่ง คนมีกำลังแข็งแรงเหยียดแขนออกไปแล้ว คู้แขนที่เหยียดออกไปแล้วเข้ามาก็ปานกัน ครั้งนั้น พระพรหมเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลว่า มาเถิดท่านสหาย ท่านมาดีแล้วท่านสหาย นานนักท่านสหาย ท่านจึงจะได้ทำปริยายนี้ คือการมาที่นี้ เพราะสถานที่นี้เป็นสถานที่เที่ยง เป็นสถานที่ยั่งยืน เป็นสถานที่สืบเนื่องกันไป เป็นสถานที่ไม่มีการเคลื่อนเป็นธรรมดา เป็นสถานที่มั่นคง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แต่ว่าสถานที่อื่นที่ชื่อว่า เป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่านี้ไม่มี
    เมื่อพกพรหมทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้กะพกพรหมว่า พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่ ในอำนาจของอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาแล้วหนอ เพราะได้พูดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละว่าเป็นของเที่ยง และได้พูดถึงธรรมที่สงบอย่างอื่น ว่าเป็นธรรม เป็นที่ออกไปจากทุกข์ อันยิ่งยวดไม่มีธรรมอื่นที่เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่า
    พระพรหมได้ฟังคำนั้นแล้วคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี่ จะอนุวัตรคล้อยตามเราด้วยประการอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ถูกแล้ว แต่เกรงกลัวการอนุโยคย้อนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำนองเดียวกับโจรผู้ด้อยกำลัง ได้รับการตีเล็กน้อย ก็บอกเพื่อนฝูงทุกคนว่า ฉันคนเดียวหรือเป็นโจร ? คนโน้นก็เป็นโจร คนโน้นก็เป็นโจร เมื่อจะบอกเพื่อนฝูงของตนแม้คนอื่นๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:
    [๑๐๓๕] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์มีอยู่ ๗๒ คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มี
    อำนาจแผ่ทั่วไป ล่วงชาติและชราได้แล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นที่
    สุด สำเร็จได้ด้วยพระเวท ชนเป็นอันมากมุ่งหวังอยากให้เป็นอย่าง
    พวกข้าพระองค์ <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>ความว่า ข้าแต่พระ โคดม ไม่ใช่เพียงแต่ข้าพระองค์คนเดียวเท่านั้น ที่แท้แล้ว พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน ในพรหมโลกนี้ ล้วนเป็นผู้ได้ทำบุญมาแล้ว และได้ล่วงเลยความเกิดและความแก่ไปแล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่าถึงพระเวทแล้ว เพราะพวกข้าพระองค์ถึงแล้วด้วยพระเวททั้งหลาย ข้าแต่พระโคดม การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย ได้แก่การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
    คนอื่นมากมายพากันทำอัญชลีพวกข้าพระองค์ ปรารถนาอยู่ว่า เราทั้งหลายควรจะเป็นแบบนี้
    พระศาสดา ครั้นทรงสดับถ้อยคำของพกพรหมนั้นแล้ว จึงตรัส คาถาที่ ๒ ว่า:
    [๑๐๓๖] ดูกรพกพรหม อายุของท่านนี้น้อย ไม่มากเลย ท่านมาสำคัญว่าอายุ
    ของท่านมากตั้งแสนนิรัพพุทะ (ร้อยคูณแสน ๑๐ ล้านปี) ดูกร
    พกพรหม เรารู้อายุของท่าน <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>ความว่า การนับมีคำอธิบายว่า สิบสิบปีเป็นร้อย สิบร้อยเป็นพัน ร้อยพันเป็นแสน ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ ร้อยแสนโกฏิชื่อว่าปโกฏิ ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ ชื่อว่า ๑ นหุต ร้อยแสนนหุตชื่อว่า ๑ นินนหุต นักคำนวณที่ฉลาดสามารถนับได้เพียงเท่านี้ การนับต่อจากนี้ไป เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรดาการนับเหล่านั้น ร้อยแสนนินนหุต เป็น ๑ อัพพุทะ ๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้น ชื่อว่า ๑ อหหะ จำนวนเท่านี้ปีเป็นอายุของพกพรหมที่เหลืออยู่ในภพ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอายุนั้นจึงได้ตรัสอย่างนี้
    พกพรหมได้สดับพระพุทธพจน์นั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:
    [๑๐๓๗] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า พระองค์รู้กำหนดอายุของข้า
    พระองค์ และตรัสว่ารู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นผู้ล่วงชาติชราและความโศก
    ได้แล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกการสมาทานพรต และศีลวัตร ของข้า
    พระองค์ ครั้งก่อนว่าเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทราบตามความเป็นจริง
    ที่พระองค์ตรัสบอก?
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำเรื่องอดีตทั้งหลาย มาตรัสบอกแก่พกพรหม จึงได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า:
    [๑๐๓๘] ท่านได้ช่วยมนุษย์เป็นอันมากผู้ถูกแดดแผดเผา กระหายน้ำจัดให้ได้ดื่ม
    น้ำ เราระลึกถึงการสมาทานพรต และศีลวัตรครั้งก่อนของท่านนั้นได้
    ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>ได้ยินว่า พกพรหมนั้นในกัปป์ ๆ หนึ่ง เป็นดาบสอยู่ที่ทะเลทรายกันดารน้ำ ได้นำน้ำดื่มมาให้คนจำนวนมาก ที่เดินทางกันดาร อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าพวกหนึ่ง เดินทางไปถึงทะเลทรายที่กันดารน้ำ ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คนทั้งหลายไม่สามารถกำหนดทิศทางได้ เมื่อเดินทางไปได้ ๗ วัน ก็สิ้นฟืนสิ้นน้ำ หมดอาหาร ถูกความอดอยากครอบงำ คิดว่า บัดนี้ พวกเราไม่มีชีวิตแล้ว พากันพักเกวียนเป็นวงรอบแล้ว ต่างก็ปล่อยโคไปแล้วก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตน
    ครั้งนั้น ดาบสรำลึกไป เห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้วคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด จึงได้บันดาลให้กระแสน้ำคงคาเกิดขึ้น เฉพาะหน้าของพวกพ่อค้าด้วยอานุภาพฤทธิ์ของตน และได้เนรมิตไพรสณฑ์แห่งหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกล ชนเหล่านั้นได้ดื่มน้ำและอาบน้ำให้โคทั้งหลายอิ่มหนำสำราญ แล้วจึงพากันไปเกี่ยวหญ้า เก็บฟืนจากไพรสณฑ์ กำหนดทิศได้แล้ว ข้ามทางกันดารไปได้โดยปลอดภัย
    [๑๐๓๙] ท่านได้ช่วยมหาชน ผู้ถูกหมู่โจรจับไปจะให้เป็นเชลยให้พ้นมาได้ ที่ริม
    ฝั่งแม่น้ำเอณิ เรายังระลึกถึงการสมาทานพรต และศีลวัตรครั้งก่อน
    ของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>เล่ากันมาว่าดาบสนั้น ในกาลต่อมาได้อาศัยบ้านชายแดนตำบลหนึ่งพักอยู่ที่ไพรสณฑ์แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำ ครั้นวันหนึ่ง พวกโจรชาวเขาลงมาปล้นบ้านนั้น จับเอาคนจำนวนมากให้ขึ้นไปบนเขา วางคนสอดแนมไว้ที่ระหว่างทาง เข้าไปสู่ซอกเขาแล้วให้นั่งหุงต้มอาหาร ดาบสได้ยินเสียงร้องครวญครางของสัตว์มีโคและกระบือเป็นต้น และ เสียงร้องของคนทั้งหลายมีเด็กชายและเด็กหญิงเป็นต้นคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอเขาทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วจึงแปลงร่างเป็นพระราชาแวดล้อม ด้วยเสนามีองค์ ๔ ได้ให้ตีกลองศึกไป ณ ที่นั้น พวกคนสอดแนม เห็นดาบสนั้นแล้วได้บอกแก่พวกโจร พวกโจรคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการทะเลาะกับพระราชาไม่สมควรแล้ว จึงพากันทิ้งเชลยไว้ไม่กินอาหาร หนีไปแล้ว ดาบสนำคนเหล่านั้นให้กลับไปอยู่บ้านของตนหมดทุกคน
    [๑๐๔๐] ท่านได้ทุ่มเทกำลังเข้าช่วยพวกมนุษย์ ผู้ไปเรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้
    พ้นจากนาคราชผู้ตัวดุร้าย มักทำมนุษย์ให้พินาศ เรายังระลึกถึงการ
    สมาทานพรตและศีลวัตรครั้งก่อน ของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่น
    ขึ้นจำได้ ฉะนั้น <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>ในกาลต่อมา ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้งนั้นคนทั้ง หลายพากันผูกเรือขนาน ๒๓ ลำติดกัน แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้ ที่ยอดเรือขนาน นั่งกินนั่งดื่มอยู่ในเรือขนาน แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวก เขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม ข้าวปลาเนื้อและหมากพลูเป็นต้น ที่ เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้วลงแม่น้ำคงคานั่นเอง พญา นาคชื่อว่าคังเคยยะโกรธว่า คนพวกนี้โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบน เรา หมายใจว่า เราจักรวบคนเหล่านั้นให้จมลงในแม่น้ำคงคาหมดทุกคน แล้วเนรมิตอัตภาพใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง แหวกน้ำขึ้นมา แผ่พังพานลอยน้ำไปตรงหน้าคนเหล่านั้น พวกเขาพอเห็นพญานาค เท่านั้น ก็ถูกมรณภัยคุกคามส่งเสียงร้องลั่นขึ้นพร้อมกันทีเดียว ดาบส ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพวกเขา ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ คิดว่า เมื่อ เราเห็นอยู่ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วได้รีบเนรมิตอัตภาพ เป็นเพศครุฑบินไปด้วยอานุภาพของตน โดยติดต่อกันโดยพลัน พญา นาคเห็นครุฑนั้นแล้ว หวาดกลัวความตายจึงดำลงไปในน้ำ พวก มนุษย์ถึงความสวัสดีแล้วจึงได้ไปกัน
    [๑๐๔๑] อนึ่ง เราเองมีชื่อว่ากัปปะ ได้เคยเป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า
    ท่านเป็นดาบสที่มีปัญญาและวัตรดีผู้หนึ่ง เรายังระลึกถึงการสมาทานพรต
    และศีลวัตรครั้งก่อนของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>รายละเอียดปรากฎในเกสวชาดก จตุกกนิบาตชาดก ความโดยย่อมีดังนี้
    ดูก่อนท้าวมหาพรหม ในอดีตกาลในเวลาท่านเป็นเกสวดาบส อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เราตถาคต เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ชื่อว่า กัปปะ เรานั้นได้มีความสนิทสนมต่อเกสวดาบส และได้เป็นผู้คุ้นเคยกันและกันยิ่งนัก เมื่อเกสวดาบสพร้อมศิษย์ทั้งหมดมายังเมืองพารณสี พระราชานิมนต์เกสวดาบสให้พำนักในอุทยานและส่งเหล่าศิษย์กลับไปยังป่าหิมพานต์ตามเดิม เกสวดาบสเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รำคาญใจ เป็นผู้ใคร่จะเห็นกัปปดาบสนั้น ไม่เป็นอันได้หลับนอน เกิดอาพาธขึ้น แพทย์หลวงก็รักษาไม่หาย พระราชาจึงส่งท่านกลับไปอยู่กับเหล่าศิษย์ดังเดิม เมื่อท่านได้อยู่ใกล้ชิดกับศิษย์ผู้ใกล้ชิด โรคก็สงบไป เมื่อนารทะอำมาตย์มาเยี่ยมท่านครั้งที่ ๒ เห็นท่านหายจากโรค จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า:
    ท่านเกสีผู้มีโชค ไยเล่าจึงละทิ้งจอมคน
    ผู้ให้ความต้องการทุกอย่างสำเร็จได้ มายินดีใน
    อาศรมของท่านกัปปะ
    ท่านได้กล่าวคำนี่กะอำมาตย์นารทะ นั่นนั้นว่า:
    ดูก่อนท่านนารทะ สิ่งที่ดีน่ารื่นรมย์ใจมี
    อยู่ ต้นไม้ทั้งหลาย ที่รื่นเริงใจก็ยังมี ถ้อยคำ
    ที่เป็นสุภาษิตของกัสสป ให้อาตมารื่นเริงใจได้
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงความที่โรคของท่านเกสวดาบสนี้ เป็นสิ่งที่พระองค์ผู้ทรงเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ทำให้สงบได้ด้วยประการอย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะให้มหาพรหมทั้งหมดรู้กรรมที่พกพรหมนั้นทำไว้ในมนุษยโลกนั่นเอง จึงตรัสคำนี้ไว้
    พกพรหมนั้น ระลึกถึงกรรมที่ตนได้ทำไว้ ตามพระดำรัสของพระศาสดาได้แล้ว เมื่อจะทำการสดุดีพระตถาคต จึงได้กล่าวคาถา สุดท้ายไว้ว่า:
    [๑๐๔๒] พระองค์ทรงทราบชัดอายุของข้าพระองค์ ได้แน่นอน แม้สิ่งอื่นพระองค์
    ก็ทรงทราบ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะเหตุนั้นแล
    พระรัศมีอันรุ่งเรืองของพระองค์นี้ จึงได้ส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่
    พระศาสดา เมื่อทรงให้พกพรหมรู้พระพุทธคุณของพระองค์ไป พลางทรงแสดงธรรมไปพลาง จึงทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรมจิตของพระพรหมประมาณหมื่นองค์พ้นจากอาสวะทั้งหลาย แล้ว เพราะไม่ยึดมั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นที่พึ่งของพระพรหมทั้งหลายด้วยประการอย่างนี้ ได้เสด็จจากพรหมโลกมาพระเชตวันวิหาร แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทำนองที่ได้ทรงแสดงแล้วในพรหมโลกนั้น แล้วแล้วทรงประชุมชาดกว่า เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้แก่พระพรหม ในบัดนี้ ส่วนกัปปมาณพได้แก่เรา ตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล
    จบ พกพรหมชาดก
     
  3. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา

    บทสวดพุทธชัยมงคลคาถา​

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ เป็นต้น
    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ
    ขี่พระยาคชสารชื่อ ครีเมขละ พร้อมพลมารโห่ร้องมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมี
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    อาฬะวะกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง
    มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    ช้างนาฬาคีรีตัวประเสริฐ เป็นช้างเมามันโหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า
    มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมี
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
    ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า
    ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์
    ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง
    ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
    พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน
    ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์
    ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธงเป็นผู้มืดมัวเมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนา
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ
    นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานนันโทปนันทะนาคราชผู้มีฤทธิ์
    ให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน
    ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    คำแปล
    ท้าวผกาพรหม ผู้มีฤทธิ์และสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
    มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ
    ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    บทสุดท้าย
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
    คำแปล
    บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน
    บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้
    และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ

    หมายเหตุ * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม
    (เต แปลว่าท่าน เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    ที่มา http://www.agalico.com/board/archive/index.php/t-6773.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...