อธิบาย ปรัชญาปารมิตาสูตร โดยคุณสุวิจักร พงศ์พานภักดี วัดเทพพุทธาราม อ.เมือง ชลบุรี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สมภาพธรรม, 14 ตุลาคม 2008.

  1. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

    พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้วซึ่งปรัชญาปารมิตา <O:p</O:p
    เพ่งเห็นขันธ์ห้ามีความเป็นศูนย์ จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้<O:p</O:p
    สารีบุตร รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป รูปคือความศูนย์ <O:p</O:p
    ความศูนย์คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน<O:p</O:p
    สารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความศูนย์เป็นลักษณะ ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่มไม่ลด
    ฉะนั้น ในความศูนย์ จึงไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มีจักษุธาตุ กระทั่งไม่มีมโนธาตุ
    ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา กระทั่งไม่มีความแก่ ไม่มีความตาย <O:p</O:p
    และก็ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ ความตาย
    ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ไม่มีญาณ และก็ไม่มีการได้อะไร เพราะไม่มีอะไรจะได้<O:p</O:p
    พระโพธิสัตว์ ด้วยเหตุดำเนินตามปัญญาปารมิตา จิตย่อมไม่ขัดข้อง เพราะจิตไม่ขัดข้อง จึงไม่มีความสะดุ้งกลัว ละจากความวิปลาสเพ้อฝัน มีพระนิพพานเป็นที่สุด<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าทั้งสามกาล เนื่องด้วยดำเนินตามปัญญาปารมิตา จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ฉะนั้น จึงทราบว่า ปัญญาปารมิตา เป็นมหาศักดามนต์ เป็นมหาวิทยามนต์ เป็นอนุตตรมนต์ <O:p</O:p
    เป็นอสสมมนต์ สามารถดับสรรพทุกข์ได้ นี่เป็นสัจ ไม่มีผิดพลาด
    คติ คติ ปราคติ ปราสังคติ โพธิสวาหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  2. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    อธิบาย ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร โดย คุณสุวิจักร พงศ์พานภักดี อ.เมือง ชลบุรี<O:p</O:p
    ๑. อธิบายนามพระสูตร<O:p</O:p
    ปรัชญา คำๆนี้มีรากฐานมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ปัญญา หรือ ความรู้ ซึ่งความหมายของว่าปัญญาในที่นี้ไม่ได้มีความหมายเดียวกับความหมายของปัญญาที่ใช้กันทั่วไป ความหมายของปัญญา ที่ทั่วไปใช้กันหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในแขนงวิชาความรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินชีวิต ในการทำงาน หรือความจำได้หมายรู้ในศาสนธรรมคำสอนต่างๆ แต่ปัญญาในพระพุทธศาสนานี้หมายถึง ความรู้แจ้งในสรรพสิ่งตามเป็นจริงตามหลักสัจจธรรม อันเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด สละ ปล่อยวาง หมดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่ง เป็นความรู้ที่นำไปสู่ความอิสระไม่ขัดข้อง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง ปัญญา ในพระสูตรหรือในพุทธศาสนานี้ก็หมายถึงปัญญาอันหลังนี้โดยฝ่ายเดียว<O:p</O:p
    ปารมิตา คำนี้มีรากฐานมาจากภาษาสันสฤตเช่นเดียวกัน มีความหมายว่า “ไปสู่ฝั่งโน้น” หรือ “ข้ามไปฝั่งโน้น” เนื่องด้วยสรรพสัตว์มักถูกมอมเมาจากคำว่า “ตนของตน” อย่างเหนียวแน่น จนทำให้ต้องจมปลักอยู่ในทะเลทุกข์อยู่ตลอดเวลา แต่หากสามารถข้ามพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นที่ๆเปลี่ยนแปลงแปรผันตลอดกาล เต็มไปด้วยความกลัดกลุ้มกังวลได้ ไปสู่ที่ๆอันสงบสุข ไม่เกิดไม่ดับ ไม่เปลี่ยนแปลง พ้นความเปลี่ยนแปลง พ้นการเกิดการดับแล้ว เช่นนี้คือการข้ามไปฝั่งโน้น แต่ทว่าการที่จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น ก็จะมีความแตกต่างระหว่างฉับพลันกับเชื่องช้า ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ กล่าวคือเมื่อได้รู้แจ้งว่า ขันธ์ ๕ เดิมนั้นว่างเปล่า อายตนะ ๖ มิได้มีอยู่จริง ซึ่งเป็นการรู้แจ้งโดยฉับพลันทั้งกายและใจต่อธรรม เป็นอิสระไม่ขัดข้องโดยทันที พ้นทะเลทุกข์อย่างฉับพลัน อย่างนี้เรื่องว่ารู้แจ้งโดยฉับพลัน ส่วนความเชื่องช้า เป็นการรู้แจ้งเป็นไปโดยลำดับ จะดำเนินจากความศรัทธา นำไปสู่ความเข้าใจ จากความเข้าใจไปสู่การปฏิบัติ จากการปฏิบัตินำไปสู่การรู้แจ้ง ซึ่งเป็นการบำเพ็ญธรรมให้ก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับและสุดท้ายก็ลุสู่การรู้แจ้งเช่น เดียวกัน ณ จุดนี้ ถึงแม้ว่าการลุความรู้แจ้งที่มีช้าเร็ว แต่ฝั่งที่ข้ามไปแล้วนั้นหามีความแตกต่างผิดเพี้ยนกันไม่
    <O:p</O:p
    หฤทัย มีความหมายว่า หัวใจ หรือ ศูนย์กลาง หรือ แก่น<O:p</O:p
    สูตร ในที่นี้หมายถึง หนทาง ซึ่งก็คือหนทางสายหนึ่งของการบำเพ็ญธรรมที่นำไปสู่ฝั่งโน้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานถือว่าพระสูตรนี้ได้รวมเอาแก่นสาระของคำสอนในมหาปรัชญาปารมิตาสูตรจำนวน ๖๐๐ เล่ม มารวมไว้ในพระสูตรนี้ และถือว่าพระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่สำคัญพระสูตรหนึ่งในบรรดาพระสูตรสำคัญต่างๆ พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ชี้ตรงไปยังสัจจธรรมอันสูนสูงสุดโดยตรงอย่างแท้จริงและชี้ให้เห็นปัญญาที่แท้จริง อย่างละเอียดและมีความใหม่ตลอดเวลา
    <O:p</O:p
    จุดประสงค์ของการบำเพ็ญธรรมนั้น เป็นไปเพื่อโปรดตนเอง ปลดปล่อยตนเองออกจากความหลงผิด ออกจากจากไม่รู้แจ้งในสรรพสิ่ง อันเป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อโปรดตนเองได้แล้ว ก็ทำการโปรดผู้อื่น
    <O:p</O:p
    พระพุทธองค์ผู้ทรงเมตตากรุณาไม่มีประมาณจึงได้เทศนาพระสูตรนี้ขึ้น มีเจตนาที่จะปลดปล่อยความกลัดกลุ้มกังวลใจของสรรพสัตว์ให้พ้นจากทะเลทุกข์ไปสู่ฝั่งอันพ้นทุกข์คือพระนิพพาน แต่การข้ามฝั่งแห่งทุกข์ไปที่ที่พ้นทุกข์ต้องอาศัยการบำเพ็ญธรรมที่ถูกต้อง มีความรู้ความเห็นที่ถูกต้องตามสัจจธรรมอย่างลึกซึ้งเท่านั้น จึงจะสำเร็จได้ ผู้บำเพ็ญธรรมไม่สามารถข้ามพ้นทะเลทุกข์ไปด้วยการคาดเดา การคาดคะเน หรือข้ามด้วยการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนานา ตามความเห็นของตนโดยประการใดไม่ แต่เป็นการบำเพ็ญไปตามหลักสัจจธรรม รู้แจ้งในธรรมทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างเดียวเท่านั้น จึงจะสามารถข้ามฝั่งได้ และสำเร็จประโยชน์ของการบำเพ็ญธรรม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  3. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๒ . ศึกษา – ปฏิบัติ – เก็บเกี่ยวผล
    พระสูตรนี้ขึ้นต้นว่า <O:p</O:p
    “พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้วซึ่งปรัชญาปารมิตา เพ่งเห็นขันธ์ห้ามีความเป็นศูนย์ จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้”<O:p</O:p
    คำว่า “โพธิสัตว์” สามารถอธิบายได้ว่า หากบำเพ็ญแต่ปัญญาเรียกว่า โพธิ หากบำเพ็ญแต่บุญวาสนาเรียกว่าสัตว์ แต่ผู้บำเพ็ญพร้อมทั้งบุญและปัญญาจึงจะเรียกว่าโพธิสัตว์ อนึ่งคำว่า โพธิสัตว์ ยังหมายถึงผู้ที่โปรดตนเองและผู้อื่นให้รู้แจ้งโดยเสมอกัน<O:p</O:p
    อวโลกิตะ มีความหมายว่าว่า เพ่ง ซึ่งก็คือ จิตเพ่ง หรือ จิตเห็น อิศวรมีความหมายว่าอิสระ รวมความแล้ว อวโลกิเตศวร หมายถึง จิตเพ่งโดยอิสระ พอกล่าวถึงการเพ่ง สามารถแยกได้ว่า การเพ่งเป็นการรู้ การเห็น การพิจารณาอย่างแยบคายตามสัจจธรรมด้วยจิต ไม่ใช่ด้วยตา หรือด้วยการคิดนึกปรุงแต่งคาดคะเนใดๆ<O:p</O:p
    สรุปแล้วพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ก็คือ ผู้ที่เพ่งด้วยจิตเห็นสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริง ถูกต้องตามสัจจธรรมด้วยตนเองและแนะผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม การแนะหรือการโปรดให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามเรียกว่า ความกรุณา<O:p</O:p
    “เมื่อได้ปฏิบัติซึ้งแล้ว ซึ่งปรัชญาปารมิตา” นั่นหมายความว่า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญธรรมปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญาอันลึกซึ้งด้วยจิตตน เข้าถึงธรรมอันเยี่ยมยอดด้วยตน <O:p</O:p
    คำที่ต้องทำความเข้าใจให้มาก ก็คือ เพ่ง และ ปฏิบัติ กิจในพุทธศาสนาอันสำคัญคือการนำคำพูดไปปฏิบัติให้สำเร็จผล ตามจริงแล้วไม่เพียงแต่ในศาสนาเท่านั้นที่จะหนักไปในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตาม ควรหนักไปในทางปฏิบัติให้มากยิ่งกว่าพูด หรืออย่างน้อย พูดและปฏิบัติต้องเป็นไปเสมอกัน เพราะผู้บำเพ็ญธรรมในสมัยนี้ชอบพูดมากกว่าปฏิบัติ หรือพูดเสียอย่างเดียว พูดในสิ่งที่ได้อ่าน พูดในสิ่งที่ได้ฟัง พูดในสิ่งตนเองคิดเองด้วยการคาดคะเน เดาสุ่ม ตามจินตนาการอันเพ้อฝัน ไม่ตรงตามหลักสัจจธรรม จึงพากันต้องหลงงมงาย หลงโลก แหวกว่ายในทะเลทุกข์กันตลอดเวลา<O:p</O:p
    ทีนี้มีคำถามต่อไปอีก แล้วใช้อะไรเพ่ง อะไรปฏิบัติละ จึงจะรู้แจ้ง <O:p</O:p
    คำตอบก็คือ เพ่งด้วยจิต ปฏิบัติที่จิตด้วยจิต”<O:p</O:p
    เพ่งด้วยจิต คือ การรู้เห็นด้วยจิตสรรพสิ่งที่ได้ประสบในขณะนั้นๆตามเป็นจริงแห่งสัจจธรรม <O:p</O:p
    อะไรคือการปฏิบัติที่จิตด้วยจิต ผู้บำเพ็ญธรรมส่วนใหญ่คิดว่า การปฏิบัติที่จิตด้วยจิต ก็คือการนำธรรมะคำสอนที่ได้ฟังได้อ่าน มาคิดปรุงแต่งตามความจำจากการฟังการอ่านเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตามคติตน บางคนก็วางจิตไม่ไปข้างหน้า ไม่ไปข้างหลัง ไม่อยู่นอก ไม่อยู่ใน อยู่ตรงกลางๆ แล้วจะรู้แจ้งเอง บางท่านคิดและจำว่าร่างกายเราไม่เที่ยงอย่างนั้นอย่างนี้ เกิดแล้วต้องตาย สกปรกอย่างนั้นอย่างนี้ คิดปรุงแต่งธรรมะที่ฟังที่อ่านตลอดเวลา แต่สุดท้ายก็ไม่รู้แจ้งอยู่ดี หลงวนเวียนในทะเลทุกข์อีกตามเดิม ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่การพิจารณาธรรมตามเป็นจริง ปฏิบัติธรรมตามเป็นจริง และรู้ธรรมตามเป็นจริง แต่เป็นการรู้ธรรมตามความจำที่ได้ฟังมา บวกกับความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งเป็นการกลบเกลื่อนธรรมด้วยความคิดปรุงแต่งจากความจำ<O:p</O:p
    ถ้าจะปฏิบัติที่จิตด้วยจิต เราต้องรู้ว่า จิต เป็นอย่างไร <O:p</O:p
    ถ้ากล่าวว่า จิตก็คือจิต จิตไม่เป็นอะไรเลย อันนี้คงเข้าใจกันลำบาก จิตเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ รู้ทุกข์ รู้สุข รู้ชั่ว รู้ดี รู้อกุศล รู้กุศล จิตเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างลักษะใดๆ ไม่กว้าง ไม่ยาว ไม่ตื้น ไม่ลึก วัดไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าใหญ่หรือเล็ก มืดหรือสว่าง ไม่เป็นสัตว์ บุคคล เป็นหญิงหรือชาย บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไรเลย <O:p</O:p
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จิตเดิมนั้นประภัสสร เพราะกิเลสจรมา จิตจึงเศร้าหมอง <O:p</O:p
    เมื่อทราบว่าจิตเป็นเช่นไรแล้ว ต้องทราบอีกต่อไป จิตควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะรู้ธรรมตามเป็นจริงได้<O:p</O:p
    จิตที่ควรแก่การงานเท่านั้นจึงจะรู้แจ้งในธรรมได้ อะไรคือจิตที่ควรแก่การงาน ซึ่งก็คือจิตที่ปราศจากเครื่องกั้นหรือความเศร้าหมอง อันได้แก่ ความลุ่มหลงมัวเมาในกาม ในลาภ ยศ สรรเสริญ ความพยาบาท ขุ่นเคือง ความฟุ้งซ่าน หงุดหงิดงุ่นง่าน วิตกกังวล หดหู่เซื่องซึม ท้อถอย ความลังเลสงสัยตัดสินใจอะไรไม่ได้ พูดให้เข้าใจง่ายๆ จิตที่ควรแก่การงาน ก็คือจิตที่ร่าเริง เป็นสุขเบิกบาน ขยัน ไม่ขี้เกียจและตั้งมั่นในปัจจุบัน พร้อมกันนั้น ต้องไม่มีการแยกแยะสิ่งที่รับรู้ว่าดีว่าชั่ว ว่าดำ ว่าขาว และไม่วิตกกังวล พอพูดอย่างนี้ บางคนต้องถามต่อไปว่า ถ้าจะทำได้อย่างนี้ต้องนั่งสมาธิอย่างเดียวละซิ ถึงจะทำได้ ตามจริงแล้วทำได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่ายืนเดินนั่งนอน เพราะการปฏิบัติธรรมต้องทำทุกอิริยาบถทุกสถานที่ ไม่ใช่เลือกสถานที่ปฏิบัติ ต้องไปที่วัดอย่างเดียว วัดกรรมฐานเท่านั้น วัดป่าเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่ายึดในสถานที่และก็ไม่ใช่จิตที่ควรแก่การงาน จิตที่ควรแก่การงานจะไม่ติดในสถานที่ และเวลา เพราะการรู้แจ้งในสัจจธรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา<O:p</O:p
    ฉะนั้นแล้ว ผู้บำเพ็ญธรรมควรตั้งจิตให้ควรแก่การงานให้ได้ และควรให้ตั้งจิตนี้ให้ได้ทุกอิริยาบถ ทุกาล ทุกสถานที่ ทุกเหตุการณ์ แล้วปฏิบัติที่จิตด้วยจิต การปฏิบัติที่จิตด้วยจิตก็คือ จิตรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาทุกขณะเวลาตามเป็นจริง ไม่ไปปรุงแต่งในสิ่งที่รู้ที่เห็น ให้รับรู้ตามเป็นจริง สุขก็สุข ทุกข์ก็ทุกข์ ชอบใจก็ชอบใจ ไม่ชอบใจก็ไม่ชอบใจ เหงาก็เหงา ไม่ไปปรุงแต่งต่อว่าสุข สุขอย่างไร เหงา เหงาเพราะอะไร ให้รู้อย่างเดียวว่าสุข ว่าเหงา <O:p</O:p
    ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติอย่างลึกซึ้งด้วยจิตท่านั้นจึงจะเรียกว่าการปฏิบัติที่แท้จริง และเป็นผู้ที่จะเก็บเกี่ยวผลแห่งการบำเพ็ญธรรมได้เท่านั้น<O:p</O:p
    การรู้ตามเป็นจริงตามสภาวธรรมที่รู้จริงๆในขณะนั้นๆ โดยไม่คิดปรุงแต่งแยกแยะต่อไปว่าเป็นอะไร ไม่ยึดผูกพันว่าเป็นเราเป็นของๆเรา เป็นการรู้แบบพุทธะนั่นเอง<O:p</O:p
    ขอกล่าวถึงคำว่า ปัญญา เพิ่มเติม ความหมายของปัญญานั้นให้หมายถึงปัญญาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ที่มาของปัญญานั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ ปัญญามาจากการฟัง ปัญญามาจากการขบคิด และปัญญาจากการปฏิบัติ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ปัญญาคือความรู้ที่นำไปขจัดสิ้นแห่งความกลัดกลุ้มกังวลใจ ความเศร้าหมองออกจากจิต ข้ามพ้นทะเลทุกข์ ไปสู่ฝั่งโน้น
    <O:p</O:p
    อะไรเล่าคือปัญญาที่ได้จากการฟัง บุคคลใดเมื่อได้สดับธรรมคำสอนแล้วสามารถพาตนข้ามไปฝั่งโน้นได้ทันที อย่างนี้เรียกว่า ปัญญาจากการฟังดังเช่นพระพาหิยะผู้เป็นเลิศในการตรัสรู้ธรรมอย่างรวดเร็ว พอฟังคำสอนจากพระพุทธเจ้าเพียงไม่กี่ประโยคก็ข้ามฝั่งโน้นได้ทันที <O:p</O:p
    ปัญญาที่มาจากการขบคิดพิจารณาโดยแยบคายแล้วข้ามฝั่งโน้นได้นั้นคือสดับธรรมะแล้ว ต้องนำไปขบคิดพิจารณาให้รู้แจ้งในแก่นสาระของธรรมที่ตนเองขัดข้องหรือสงสัย เมื่อหมดความสงสัยในธรรมนั้นก็พาตนเองข้ามฝั่งโน้นได้
    <O:p</O:p
    ส่วนปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติก็คือได้สดับ แล้วนำไปขบคิดให้เข้าใจ แล้วเกิดศรัทธา แล้วน้อมนำธรรมนั้นเข้ามาสู่ใจตนเป็นแพข้ามไปฝั่งโน้น การนำตนไปสู่ฝั่งโน้นเรียกว่าการปฏิบัติทั้งสิ้น การรู้แจ้งในธรรมที่พาตนข้ามฝั่งได้นั้นเรียกว่าปัญญา ซึ่งจะเกิดอย่างไรไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคือพาตนเองข้ามฝั่งได้เป็นพอ การข้ามฝั่งโน้นมีความช้าเร็วต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับตนเองปิดกั้นตนเองด้วยอะไร อะไรคือสิ่งปิดกั้นตนเองไม่ให้ข้ามฝั่งโน้นได้ คือ ความทะยานอยากแสวงหาในสิ่งทั้งปวง ความเห็น ความยึดมั่นผูกพันว่าสิ่งทั้งปวงเป็นตน เป็นของๆตน และการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยความไม่รู้ตามหลักสัจจธรรม ถ้าผู้ใดมีสิ่งกีดกั้นแน่นหนามากก็ต้องใช้เวลามาก ผู้ใดมีอย่างเบาบางก็ข้ามฝั่งได้เร็ว
    <O:p</O:p
    ผลแห่งการปฏิบัติและลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น ก็คือ “เพ่งเห็นขันธ์ห้า มีความเป็นศูนย์ จึงข้ามพ้นสรรพทุกข์ทั้งปวงได้” ขันธ์ห้ามีความเป็นศูนย์ ธรรมทั้งปวงก็มีความเป็นศูนย์เช่นกัน นี้คือทัศนียภาพแห่งปัญญา การที่จะอธิบายให้กระจ่างแจ้งเข้าใจได้ทันที นั้นยาก เพราะมีความหมายที่ลึกซึ้งต้องแจ่มแจ้งด้วยใจตนเท่านั้นจึงจะเข้าใจได้สมดังประโยคที่ว่า เป็นปัจจัตตัง วิญญูหิ ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตน แต่ก็สามารอธิบายให้เป็นพื้นฐานแนวทางนำไปปฏิบัติได้
    <O:p</O:p
    เรามาทำความเข้าใจกับขันธ์ ๕ ก่อนว่าขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร ขันธ์ ๕ นั้นก็เป็นนามที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยอธิบายให้ผู้บำเพ็ญธรรมเข้าใจแล้วนำไปสู่การปฏิบัติข้ามไปฝั่งโน้น ศูนย์หรือบางท่านก็กล่าวว่า ความว่าง นั้นก็เป็นนามหนึ่งซึ่งบัญญัติขึ้นมาเช่นเดียวกัน แต่โดยสภาวธรรมตามเป็นจริงแล้วไม่มีขันธ์ห้า สักแต่ว่าขันธ์ห้า ศูนย์สักแต่ว่าศูนย์ ทั้งสองอย่างมิได้มีอยู่จริง เป็นเพียงนามบัญญัติเท่านั้น
    <O:p</O:p
    ขันธ์ ๕ คือ กองรวม หรือ การสะสมประชุมกันของสิ่งต่างๆ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น แบ่งเป็น ๕ อย่างคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือรูปร่างกายกับจิต แต่การสะสมประชุมรวมกันนี้ ไม่ได้อยู่ใน สภาพที่เงียบสงบ แต่เป็นสภาพที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นกล่าวได้ว่า ขันธ์ ๕ คือสภาพธรรมที่สะสมประชุมกันเป็นกองที่ผันแปรตลอดเวลา ขันธ์ ๕ นี่แหละที่สร้างความป็นตัวตน สร้างชีวิตของสรรพสัตว์หรือของของเราขึ้นมา พูดง่ายๆก็คือชีวิตร่างกายของเรานี่แหละ
    <O:p</O:p
    รูปก็คือร่างกายตัวตนของเรานี่เอง เป็นสภาพธรรมหนึ่งที่เกิดจากการประชุมรวมกันของธาตุ ๔ อันได้แก่ ปฐวีธาตุ สภาพธรรมที่แค่นแข็ง อาโปธาตุ สภาพธรรมที่เอิบอาบ ซึมซาบไป เตโชธาตุ สภาพธรรมที่อบอุ่น ความร้อน และวาโยธาตุ สภาพธรรมที่พัดผันไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกายของคนอื่นๆ สัตว์ต่างๆ ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เป็นวัตถุไม่ว่าจะมีมาแล้ว ตั้งอยู่ในปัจจุบัน หรือจะเป็นไปในอนาคต ที่หยาบ ละเอียด ใกล้ ไกล สุขุม ประณีต รูปมีความไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะ
    <O:p</O:p
    เวทนา คืออารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ <O:p</O:p
    สัญญา คือ ความจำได้ หมายรู้สิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง ๖ <O:p</O:p
    สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง สภาวะที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศล เป็นอกุศล <O:p</O:p
    วิญญาณ คือ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ต่างๆ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ <O:p</O:p
    ที่ว่า ขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นอย่างไร ขอยกตัวอย่าง สมมติว่า มีคนๆหนึ่งที่เราไม่เคยชอบหน้ากันเลยมาแต่อดีต อาจเป็นเพราะเคยกระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองต่อกันมา จวบจนวันหนึ่ง บังเอิญได้พบคนๆนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ช่วงขณะเราได้เห็นคนนั้น จะมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นเรา เป็นเขาขึ้นมาที่จิตทันที คือการแบ่งแยก เห็นรูปกายนี้ เป็นตน เป็นของๆตน หวงแหนขึ้นมาทันที โดยไม่ต้องคิดต้องพิจารณาเลย ความรู้สึกอันนี้แหละที่เรียกว่า รูป เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น <O:p</O:p
    เมื่อยึดในรูปกายเสร็จไม่พอ ความรู้สึกที่ไม่ชอบที่ได้พบคนๆนี้ เราไม่ชอบ ความไม่ชอบใจเป็นตน เป็นของๆตน ซึ่งก็คือ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ความที่จำได้ว่า คนๆนั้นเป็นทำความขุ่นเคืองใจต่อเราอย่างไรในอดีตที่ผ่านมา อันนี้คือสัญญาความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกที่คิดว่าอดีตนั้นยังคงอยู่ ตั้งอยู่เป็นนิตย์ ทั้งๆที่ได้ผ่านไปแล้ว จบไปแล้ว นั่นแหละเรียกว่า สัญญา อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น <O:p</O:p
    การแบ่งแยกเรา เขา เขาดี เขาชั่ว เราดี เราเด่นนั้น คือสังขารการปรุงแต่ง ความที่รู้สึกว่ามีเขา มีเราจริง เขาดี เขาชั่วจริง ซึ่งก็คือ สังขารอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น และการไปเห็นด้วยตา รู้ด้วยใจ และรู้สึกว่าเป็นเราเห็น เรารู้ อันนี้ก็คือ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น
    <O:p</O:p
    ดังนั้น การพิจารณาขันธ์ ๕ ตามหลักสัจจธรรมนั้นให้รู้ตามขันธ์ ๕ ตามเป็นจริงตามอาการที่เกิดขึ้นจริงๆ รูปก็คือรูป เวทนาก็คือเวทนา สัญญาก็คือสัญญา สังขารก็คือสังขาร วิญญาณก็คือวิญญาณไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆเรา จึงจะเห็นแจ้งขันธ์ ๕ เป็นศูนย์ได้
    <O:p</O:p
    คำว่า ศูนย์ หรือ ความว่าง ส่วนใหญ่ผู้บำเพ็ญธรรมยังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไปมากตีความหมายคำว่า ศูนย์ นี้คือความสูญสิ้น ไม่มีอะไรเลย แต่ตามเป็นจริงแล้ว ศูนย์ในพุทธศาสนานี้มีความหมายลึกซึ้งซับซ้อนมากหลาย อีกทั้งยังรวมเอาแนวคิดปรัชญาหรือปัญญาขั้นสูงเอาไว้ทั้งหมด มีผู้รู้บางท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า ศูนย์คือแก่นสาระของพุทธศาสนา ฉะนั้น ผู้ที่ต้องการข้ามไปฝั่งโน้นต้องปฏิบัติให้ลึกซึ้งอย่างแจ่มแจ้งศูนย์โดยไม่คาดคะเน เดาสุ่มใดๆเลย ซึ่งผู้เข้าใจความศูนย์ด้วยอาการนี้เท่านั้นจึงจะรู้แจ้งในความศูนย์ เมื่อรู้แจ้งความศูนย์แล้วจึงจะพาตนข้ามฝั่งได้ ก็คือต้องเห็นขันธ์ ๕ มีความเป็นศูนย์จึงจะได้เก็บเกี่ยวผลอันอุดมเลิศได้<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  4. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๓. ขันธ์ ๕ คือ ความศูนย์

    สารีบุตร รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป รูปคือความศูนย์ ความศูนย์คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน
    <O:p</O:p
    คำว่า ศูนย์ ในพระสูตรนี้ ไม่ใช่ความสูญสิ้น ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เสมือนห้องโล่งๆที่ไม่มีอะไรตั้งอยู่เลย แต่เป็นเป็นคำที่ใช้แสดงความหมายอย่างหนึ่ง
    <O:p</O:p
    ถ้าจะกล่าวถึงความศูนย์ให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน ก็ต้องกล่าวถึง มูลฐานของความศูนย์ ให้เข้าใจก่อน ซึ่งก็คือเรื่องของ เหตุปัจจัย เหตุปัจจัยมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เข้าใจความศูนย์ได้อย่างลึกซึ้ง ถ้าไม่เข้าใจทราบความหมายของเหตุปัจจัยอย่างถ่องแท้ ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของความศูนย์ได้
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตรอัครสาวกฝ่ายขวาผู้เลิศด้านปัญญา เดิมท่านเป็นนักบวชในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ในทันทีที่ท่านได้ฟังธรรมสุภาษิตบาทหนึ่งจากพระอัสสชิเถระว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตกล่าวถึงความดับแห่งธรรมนั้นด้วย คาถาบาทนี้ ถ้าเป็นเราฟังในขณะนี้ ก็ไม่รู้สึกว่ามีความสำคัญประการใด แต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีปัญญาเป็นเลิศได้ยินคาถาบาทนี้เท่านั้น ท่านก็สละจากลัทธิพราหมณ์ ตรงไปสู่พระพุทธเจ้าทันที และขอบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสาวกของพระองค์ ด้วยคาถาบาทนี้ท่านพระสารีบุตรได้เห็นแจ้งในเหตุปัจจัย และเห็นแจ้งในความศูนย์ของธรรมทั้งปวง
    <O:p</O:p
    เหตุปัจจัย เป็นคำกล่าวที่ธรรมดาๆ แต่เป็นความจริงแท้ตลอดกาลไม่มีวันเสื่อม พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า เมื่อทราบเข้าใจอย่างแน่ชัดในเหตุปัจจัย ก็ทราบพุทธธรรม นำตนข้ามฝั่งได้ พระพุทธองค์ทรงพบ สรรพสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นสัจจธรรมที่แท้จริงไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
    <O:p</O:p
    เหตุผลของเหตุปัจจัย พระองค์ไม่ได้คิดค้นขึ้นเองแต่พระองค์ทรงเห็นด้วยจิตตามความเป็นจริงในความเป็นเหตุเป็นผลของเหตุปัจจัยในสิ่งทั้งปวง เมื่อทรงเห็นเหตุปัจจัยแล้วก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าทันที และการนำเอาเรื่องของเหตุปัจจัยมาสอนแก่สรรพสัตว์นั้นก็คือพุทธศาสนานั่นเอง
    <O:p</O:p
    เหตุปัจจัย ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับปัจจัยและผล เหตุคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดผลโดยตรง ปัจจัยเป็นสิ่งช่วยเหตุที่ทำให้เกิดผลโดยทางอ้อม ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น สิ่งใดที่เกิดแต่เหตุปัจจัยนั้นไม่ยั่งยืน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หมุนเวียนเรื่อยไป เกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิด
    <O:p</O:p
    แม้ขันธ์ ๕ หรือชีวิตของเรานี้ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน รูปร่างกายก็เกิดแต่เหตุปัจจัย เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ก็เกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน รูปร่างกายนี้อันเป็นที่ประชุมกันของธาตุทั้ง ๔ เกิดแต่เหตุปัจจัยคืออวิชชา ตัณหา อุปาทานและกรรม ขันธ์ ๕ นั้นอยู่ดีๆ ไม่ได้ปรากฏขึ้นมาทันที ว่าเป็นขันธ์ ๕ หากเกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงกล่าวว่า เดิมทีขันธ์ ๕ นั้นว่างเปล่า หรือเป็นศูนย์ แม้ขันธ์ ๕ ตั้งอยู่ ถ้าพิจารณาแยกแยะจนถึงความเป็นธาตุทั้ง ๔ ก็แสดงความเป็นศูนย์ของขันธ์ ๕ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ขันธ์ ๕ นั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นคนเราเติบโตจากเด็กทารกที่นอนแบเบาะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เป็นเด็กที่คลานได้ เดินได้จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จวบจนแก่หงอก
    <O:p</O:p
    ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้นก็แสดงถึงความไม่มีอะไรล้วนๆ ซึ่งก็คือความศูนย์นั่นเอง และนี่เองที่ว่า ความศูนย์คือรูป
    <O:p</O:p
    เวทนา ความเสวยอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เกิดแต่เหตุปัจจัย เพราะผัสสะอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสุข จึงได้เสวยอารมณ์สุข เพราะผัสสะอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสุขนั้นดับไป ความเสวยอารมณ์สุขนั้นก็ดับไป จึงเห็นได้ว่า สุขนั้นก็ไม่ได้เที่ยงเกิดแล้วดับ ซึ่งก็คือความไม่มีอะไรล้วนๆ ก็คือศูนย์นั่นเอง ส่วน สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีสภาพศูนย์เช่นเดียวกัน
    <O:p</O:p
    ความจริง ความมีอยู่สิ่งต่างๆนั้นเป็นความมีที่ไม่อื่นไปจากศูนย์ ความศูนย์นั้น เป็นความศูนย์ที่ไม่อื่นไปจากความมีอยู่ คนเราเมื่อพูดถึงว่ามี ก็จะยึดอยู่ในความมี เมื่อพูดว่าศูนย์ ก็มักจะยึดอยู่ในความศูนย์เช่นกัน ฉะนั้น ในปรัชญาปารมิตาสูตร จึงต้องกล่าวว่า รูปไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากรูป เพื่อมิให้ยึดติดในสิ่งทั้งปวงและมิให้ยึดในความศูนย์ซึ่งเป็นความดับสูญไป คือไม่ยึดในความมีและไม่ละจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เมื่อทำได้อย่างนี้แล้วจึงจะแจ่มแจ้งในหลักแห่งความศูนย์แท้
    <O:p</O:p
    ขอสรุปย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า สิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัย สิ่งนั้นไม่อื่นไปจากศูนย์ ศูนย์ไม่อื่นไปจากสิ่งนั้น


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  5. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๔. ความจริงอันสูงสุด

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  6. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๖. จิตมิใช่จิต

    ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา กระทั่งไม่มีความแก่ ไม่มีความตาย และก็ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ ความตาย”<O:p</O:p

    ข้อความนี้จะกล่าวถึงความเป็นศูนย์ของ เหตุปัจจัย ๑๒ ประการ (ปฏิจจสมุปบาท) <O:p</O:p
    เพราะอวิชชามี สังขารจึงมี <O:p</O:p
    เพราะสังขารมี วิญญาณจึงมี <O:p</O:p
    เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี <O:p</O:p
    เพราะนามรูปมี อายตนะจึงมี <O:p</O:p
    เพราะอายตนะมี ผัสสะจึงมี <O:p</O:p
    เพราะผัสสะมี เวทนาจึงมี <O:p
    เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี<O:p
    เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี <O:p</O:p
    เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี <O:p</O:p
    เพราะภพมี ความเกิด ความแก่ ความตาย ความพลัดพราก ความทุกข์ทั้งปวงจึงมี
    <O:p</O:p
    อวิชชา ความไม่รู้แจ้งในธรรมทั้งปวงตามเป็นจริง<O:p</O:p
    สังขาร ความคิดปรุงแต่งว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ และไม่มีอยู่<O:p</O:p
    วิญญาณ สภาพธรรมที่รู้<O:p</O:p
    นามรูป คือขันธ์ ๕<O:p</O:p
    อายตนะ คือ อินทรีย์ ๖<O:p</O:p
    ผัสสะ คือ การประชุมพร้อมกันของ อินทรีย์ ๖ อายตนะ ๖ และ วิญญาณ ๖<O:p</O:p
    เวทนา ความเสวยอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์อันเกิดแต่ผัสสะเป็นเหตุ<O:p</O:p
    ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ความแสวงหา ความใคร่ ความเพลิดเพลิน ความยินดี ความพอใจ ชอบใจ <O:p</O:p
    อุปาทาน คือความยึดมั่นผูกติดในสิ่งทั้งปวงว่าเป็นตน เป็นของๆตน เป็นของเกี่ยวเนื่องด้วยตน <O:p</O:p
    ภพ คือ คือที่อยู่ กล่าวคือ มีความยินดีและยึดมั่นในสภาวะที่ตนได้ประสบและดำรงอยู่
    <O:p</O:p
    ตามหลักความศูนย์เพ่งเห็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ มีความเป็นศูนย์แล้ว แม้เหตุปัจจัย ๑๒ ประการ ก็ต้องมีความเป็นศูนย์เช่นเดียวกัน เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตตรธรรมสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเพราะรู้แจ้งเหตุปัจจัยและหลักความศูนย์ แล้วเจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้แจ้งเหตุปัจจัยจากที่ใด พระองค์ทรงรู้แจ้งจากจิตพระองค์เอง พระองค์ทรงพิจารณา ความทุกข์ของคนเรา เกิดขึ้นได้อย่างไรและทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ พระองค์ทรงพิจารณาเหตุปัจจัยนี้ โดยมีความทุกข์ทั้งปวงเป็นรากฐาน ทรงเห็นว่าเพราะการเกิดเป็นเหตุ จึงมีทุกข์ตามมา ทรงพิจารณาต่อไปว่า อะไรเป็นเหตุของการเกิด ทรงพบว่า ภพนั่นเองเป็นเหตุของการเกิด ทรงพิจาณาเรื่อยไป จนผ่านไปถึงอวิชชา พระองค์ก็ทบทวนไปมาหลายๆครั้ง ที่สุดก็ทรงพบว่าเหตุปัจจัย มีที่ตั้งจากจิต เมื่อเข้าใจหลักนี้แล้ว จึงจะไปถึงแดนแห่งความเห็นแจ้ง
    <O:p</O:p
    เหตุปัจจัยมีที่ตั้งจากจิต คำกล่าวนี้มีความหมายที่สำคัญและลึกซึ้งมาก กล่าวคือ เมื่อจิตลุ่มหลง ก็คือสัตว์โลก เมื่อจิตเห็นแจ้ง ก็คือพุทธะ ผู้ที่กักขังตนเองอยู่ใน ความมีอยู่แห่งตนอันเล็กน้อย ก็ยังมีทุกข์อยู่ แต่ถ้าผู้ที่ถูกกักขังนี้ หลุดจาก ความมีอยู่แห่งตนอันเล็กน้อยนี้ เห็นแจ้งจิตตนด้วยจิต ความทุกข์เหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปทันที ดังนั้นความสำคัญทั้งหมดของการบำเพ็ญธรรมอยู่ที่ จิต อันเดียวเท่านั้น
    <O:p</O:p
    ขออธิบายคำกล่าวที่ว่า เหตุปัจจัยมีที่ตั้งจากจิต หรืออีกประการหนึ่ง จะกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงล้วนเกิดจากจิต ก็ไม่ผิด จิตเดิมแท้นั้นบริสุทธิ์เป็นประภัสสร ว่างเปล่า เป็นศูนย์อยู่แล้ว หากมีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอยู่ ตั้งอยู่ นั่นแหละคือสิ่งทั้งปวงล้วนเกิดจากจิต ถ้าหากไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเกิดขึ้น จิตก็คือจิต และถึงแม้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆเกิดขึ้น จิตก็ยังคงเป็นจิตอยู่ดี ความรู้สึกนึกคิดก็เป็นความรู้สึกนึกคิดไม่ใช่จิต เพียงแต่จิตไปรับรู้เท่านั้นว่า มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้น
    <O:p</O:p
    คนเราหากคิดในสิ่งที่ชั่วร้ายก็จะกระทำชั่วร้ายกลายเป็นแดนนรกไป หากคิดในสิ่งที่ดีงาม ก็จะกระทำในสิ่งที่ดีงาม กลายเป็นแดนสวรรค์ คิดพยาบาทกลายเป็นอสูรร้าย เมตตากรุณากลายเป็นพระโพธิสัตว์ ปัญญากลายเป็นพุทธะ ลุ่มหลงมัวเมากลายเป็นแดนทุคติ จิตมีความแปรเปลี่ยน ผันแปรได้หลายอย่าง แต่สำหรับคนลุ่มหลงมัวเมาเท่านั้นที่มาอาจรู้แจ้งจิตตามเป็นจริงได้ นำพาแต่ความหายนะ ความทุกข์มาสู่ตนตลอดเวลา แต่เมื่อใดเมื่อรู้แจ้งจิตตน เมื่อนั้นปัญญาเกิด เป็นพุทธะขึ้นทันที ข้ามไปสู่ฝั่งโน้นได้ทันที
    <O:p</O:p
    และจิตนี้ ก็ไม่ตกอยู่ในกาลเวลา ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน อดีตอนาคตปัจจุบันล้วนเป็นมายา ความสำคัญมั่นหมายปรุงแต่งขึ้นมาเองเท่านั้นว่าอดีตคือสิ่งที่ผ่านมามาแล้ว อนาคตคือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ปัจจุบันคือสิ่งที่เป็นอยู่ ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะสำคัญมั่นหมายว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง ปรุงแต่งขึ้นมายังไม่พอ ยังไปคิดสำคัญผิดว่าอยู่จริงอีก ก็เลยกักขังตนเองในห้วงแห่งธรรมทั้งปวง
    <O:p</O:p
    ผู้บำเพ็ญธรรมที่เห็นแจ้งในความเป็นศูนย์ของเหตุปัจจัยแล้ว ก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านี้อย่างเย็นชา และไม่ได้ปฏิเสธชีวิต แต่จะดำรงชีวิตกับเหตุปัจจัยนี้อย่างสมดุล เป็นผู้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เบิกบาน อิสระ ไปมา อย่างไร้กังวล หมดภาระที่ต้องแบกหาม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2008
  7. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๗. ความจริงอันสูงสุด<O:p</O:p

     
  8. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๘. ไร้การได้ ไร้การมี

     
  9. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๙. พ้นกังวล - จิตเกษม

     
  10. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๑๐. ธรรมอันยิ่งใหญ่

     
  11. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๑๑. ศาสตร์แห่งชีวิต
    <O:p</O:p
     
  12. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    ๑๒. สัจจธรรมที่เปิดเผย
    <O:p</O:p
     
  13. สมภาพธรรม

    สมภาพธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +845
    บทสรุปสำหรับการปฏิบัติ

    พวกเราทุกคนเกิดมาแล้ว มีความทุกข์ทั้งปวงครอบอยู่ มีความทุกข์อยู่เบื้องหน้าไม่ว่าเดินไปที่ใดๆก็ตาม ทำอย่างไรจึงไม่ทุกข์อีก พระพุทธเจ้าตรัสถึงหนทางอีกสายหนึ่งที่ข้ามพ้นทุกข์ทั้งปวงได้อย่างแน่นอน ซึ่งก็คือปัญญาปารมิตาสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสอย่างชัดเจนและอย่างละเอียดในปัญญาปารมิตาสูตรว่า
     
  14. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.422132/[/MUSIC]

    บทสวดนี้ เป็นบทที่ผมชอบมากที่สุดเลยครับ

    ขอกราบอนุโมนาด้วยนะครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...