เรื่องเด่น อนัตตา เบญจขันธ์ "พระสุนทรธรรมากร" (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปํญโญ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธีระนะโม, 28 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,238
    lp.jpg

    พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปํญโญ)
    วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

    บทแสดงพระธรรมเทสนา
    ณ บัดนี้ ขอเชิญสาธุชน พุทธบริษัท ตั้งใจนอบน้อมนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ สำรวมกาย วาจาใจ ให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม และเป็นแนวทางแห่งสัมมาปฏิบัติ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเจ้าของพระศาสนาทรงเป็น ที่เคารพ สักการะ แต่พุทธบริษัทปวงชน ปวงชนทั้งหลาย ณ โอกาสบัดนี้ เป็นวันสำคัญ วันหนึ่ง
    ซึ่งบรรดาท่านนักบุญทั้งหลายมีภิกษุสามเณรพร้อมด้วยทายก ทายิกา แม่ชีร่วมกันทั้งหมด
    ที่ได้มาปฏิบัติธรรมในวันนี้ จำนวนประมาณแล้ว ๒๗๐ กว่าคน ในจำนวนก็ถือว่าเป็นทายาทของพุทธศาสนา และพวกเราเหล่าท่านทั้งหลาย ได้มารวมกันปฏิบัติธรรมในโอกาสนี้มีความประสงค์ในใจทุก ๆ
    ท่านหวังว่าจะขจัดมลทินคือกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในใจของพวกเราทั้งหลายนี้
    ดังนั้น ในวันนี้ที่หลวงปู่ได้ถือโอกาสมาเยี่ยมเยือน พวกเราทั้ง หลายเมื่อมาเห็นแล้ว ก็รู้สึกว่าเป็นที่ประทับใจ
    น่านับถือ น่าเอ็นดูที่พวกเราทั้งหลาย มีจิตใจบากบั่นถึงขนาดนี้
    ในขณะนี้ฤดูฝนเป็นฤดูที่พวกเราจะต้องทนต่อฝนและแดดทั้งหลายที่จะมาสัมผัสในร่างกายของเรา
    ถึงอย่างไรก็ดีพวกเราทั้งหลายก็ไม่ได้ถือว่าเป็นอุปสรรค อุปสรรคที่แท้จริงคือ ตัวที่มันอยู่ในใจของเรา
    ดังนั้นการมาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ พวกเราทั้งหลายหวังจะยกภาระอันหนักนี้เป็นที่ยึดมั่น ถือมั่น
    คิดอยู่ในจิตของเราท่านทั้งหลายเราต้องยกออกจากจิตใจของเรา เพราะมันหนัก ถ้าเราไม่ยกมันก็จะหนักอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น
    พระพุทธเจ้า ของเราได้เทศน์ตลอดเวลาว่า เรื่องเบญจขันธ์ ว่าเป็นของหนัก
    นอกจากจิตใจและร่างกายของคนเราทั้งหลายภาระอันหนักเพราะคนเรามันติดเบญจขันธ์
    ไม่ได้ติดอะไรมากกว่านี้เบญจขันธ์ไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ที่กายของเรานี่แหละ
    กายของเราเป็นหลักต้นของเบญจขันธ์ซึ่งในหลักท่านกล่าวว่า “ ภารา หะเว ปัญจักขันธา ” เบญจขันธ์เป็นของหนัก ทำไมจึงถือว่าหนัก ถ้าหนัก ทำไมเรายังเดินได้ นั่งได้ นอนได้ มันหนักที่ตรงไหน ถ้าเรามองให้ถนัด อันความหนักนี้มันไม่ได้หนักในเบญจขันธ์ มันหนักอยู่ในใจของเรา
    ตัวที่หนักคืออุปาทาน ถ้าไปยึดไปถือ เบญจขันธ์อันนี้เป็นของธรรมชาติ มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    มันดับมันเปลี่ยนแปลงของมันเอง มันไม่ใช่เราเปลี่ยนเราไปเปลี่ยนธรรมให้เป็นตัวเราเอง มันเป็นไปไม่ได้ เมื่อเป็นไปไม่ได้ ก็หนักใจเป็นทุกข์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ อย่างนี้ คือ เบญจขันธ์ มีรูปเป็นต้น รูปนี้ก็คือ ร่างกายของเรากว้างศอก ยาววา หนาคืบ ที่เรามองเห็นกันอยู่นี้เขาเรียกว่า รูป รูปนี้ไม่รู้สึกตัวอยู่เฉย ๆ ของมัน มันบริหารงานของมันเอง แต่ตัวที่เป็นทุกข์มันหนักก็เพราะการไปยึดการถือว่าเป็นของเรา อะไรทั้งหมดว่าของเราทั้งหมด เมื่ออยากให้เป็นของเราสิ่งที่เราต้องการ ให้มันเป็นไม่อยากให้เจ็บ ไม่อยากให้แก่ ไม่อยากให้ตาย ไม่อยากจากสมบัติ
    อันนี้ไม่พึงปรารถนา เย็นเกินไป ร้อนเกินไป สิ่งที่ไม่ต้องการมันก็เป็นไปได้ เพราะธรรมชาติมันรับไปอย่างนั้น
    แต่รับก็ไปรับสิ่งที่มันเป็นว่าเป็นของเราเอง สิ่งนี้เมื่อมันมีรูปเกิดขึ้นมาแล้ว ตัวที่มันทำให้เราเกิดทุกข์
    เกิดสุข ก็คือตัวเวทนา “ เวทนา” แปลว่าความเสวย เสวยอารมณ์ที่มันสัมผัส ที่มันเข้ามา เย็นเกินไป ร้อนเกินไป แข็งเกินไป อ่อนนิ่มเกินไปทำให้เป็นทุกข์ ถ้ามันเฉย ๆ มันไม่ร้อนไม่เย็น ก็ไม่เป็นทุกข์
    บัดนี้เรากลับสู่อารมณ์ที่เราต้องการ เราต้องการอารมณ์ที่ถูกต้อง ที่มันสบายกาย สบายใจ พอใจ มันก็เป็นสุขเวทนาของมัน
    ตัวชี้ตัวเสวยให้รูปเป็นสุขเป็นทุกข์ถ้าไม่มีตัวนี้รูปก็ไม่รู้อะไรต่อจากนั้นทำไมถึงต้องรู้สึกว่า มันร้อน
    มันหนาว เป็นเวทนา ร้อนเกินไปก็ทุกข์ เย็นเกินไปก็ทุกข์
    จำได้หมดอันนี้เป็นลักษณะของสัญญาเมื่อสัญญามันเกิดขึ้นแล้ว ตัวเวทนาก็ต่อและสิ่งเหล่านี้
    นอกจากนั้นทำไมถึงเกิดสัญญาได้ เพราะมันจำได้ ตัวปรุงมันมีอยู่ “ ตัวปรุง” ก็คือตัวสังขาร
    สังขารก็คือความนึกคิดต่าง ๆ คิดดี คิดไม่ดี คิดตลอดเวลา ตัววิญญาณมัดจำ แล้วตัวเวทนาก็เสวยต่อเลยทำให้ร่างกายของเรา
    เป็นสุข เป็นทุกข์อยู่อย่างนี้ เมื่อมันมีตัวปรุง

    คือคนที่ถือของหนักไม่ยอมวาง ไม่ยอมปล่อย ก็เป็นทุกข์
    ที่สุด มีตัวปรุงขึ้นมาแล้ว ตัวที่รับรู้ว่าอันนี้สุข อันนี้ทุกข์ ก็คือตัววิญญาณ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ทั้งห้านี้เรียกว่า " เบญจขันธ์" เบญจขันธ์ เป็นของหนัก หนักในภาระการแบกการถือ

    คือคนที่ถือของหนักไม่ยอมวาง ไม่ยอมปล่อย ก็เป็นทุกข์ที่สุด
    เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่าเราอย่าไปยึดไปถือว่าเป็นของเรา มันเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระไตรลักษณ์
    คุมอยู่ไปถืออยู่ทำไม ปล่อยซะ วางซะ มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา มันเป็นอนัตตา ไม่อัตตา “ อัตตา” คือตัวตน
    แต่ตัวตนมันไม่มี พระพุทธเจ้าเคยสอนภิกษุ เบญจวัคคีย์ ๓๐ รูป ว่าให้แสวงหาตน
    ความจริงตนมีอยู่ ตนสมมติ ตนอันแท้จริง มันไม่มีให้แสวงหา ตนคือที่พึ่งอันยิ่งใหญ่ ที่พึ่งอันสุดท้าย
    ที่พึ่งอันประเสริฐสุด เรียกว่า “ สรณะทางสงฆ์” คือธรรมะยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าให้แสวงที่พึ่งวันนี้ จึงให้แสวงหาตน อันนั้นเป็นซากศพของเรา อาศัยซึ่งสิ่งซึ่งเป็นแก่นสาร ดังนั้น พวกเราทั้งหลายให้เข้าใจว่า
    เรามาปฏิบัติธรรมครั้งนี้เพื่อมาปล่อยวาง มาขจัด มาแก้ไข แก้ที่กายที่ใจของเรา ใจของเราคิดอย่างไร คิดดี คิดเป็นอกุศล อยู่ตรงนี้ ใจมันจะบอกอย่าไปตามกระแสที่มันคิดที่มันต้องการ แต่เราต้องมองดูว่าใจเราสะอาดหรือเปล่า
    ใจของเราบริสุทธิ์หรือเปล่าหรือยังมีอะไรเจือแฝงอยู่ในใจ
    เมื่อเรามองดูใจของเราว่ามีอะไร มันมีกิเลส มีโลภะ มีโทสะ หรือมีอะไรต่างๆอยู่ในกายของเรา เมื่อมันมีอย่างนี้ เราต้องแก้อย่างนี้ เมื่อเรามีมิจฉาทิฐิให้แก้ลงซะ ให้เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อเรามีราคะคือมีความรัก อันเจือปนไปด้วยกิเลส เราต้องละตรงนี้อย่าไปยึดมั่น มีโทสะคือความโกรธง่าย เมื่อสัมผัสทางหู ทางตา ทางจมูก
    ไม่สมปรารถนาเกิดโทสะขึ้นให้คอยสกัดแก้ไข ขจัด มันออกซะ
    มันมีความหลงงมงาย หลงในรูปร่างกายของตน ชีวิตของตน หลงในรูปของตนและของคนอื่นเข้า ต้องละความหลงไปซะ เราถือว่าเราเกิดก็ต้องตายแน่ ต้องดับแน่ ไม่จีรังยั่งยืน เราต้องการแต่ความดี เราไม่ต้องการความเสีย ต้องการความสุข ไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความบริสุทธิ์ใสสะอาด ไม่ต้องการความสกปรกโสมม เมื่อเราต้องการอย่างนี้ อะไรที่มันสกปรก
    สกปรกมันก็อยู่ที่ใจของเรานี่เอง ใจของเราไม่บริสุทธิ์ ศีลเราก็ไม่บริสุทธิ์ ศีลเราไม่บริสุทธิ์แสดงว่าใจเราสกปรก เมื่อใจเราสกปรก เรามาขจัดความสกปรกออกไป เอาความสว่างไสวมาแทน เมื่อเราแก้ได้อย่างนี้ กายของเราไม่มีปัญหา ใจมันคิดดี มันสร้างบุญกุศลบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น ถ้าใจเราคิดไปในทางที่ผิด มันก็กลับกลายไปในทางที่ผิดเพราะกายมันเป็นบ่าวของใจ ใจเป็นนาย ดังนั้น ที่เราทั้งหลายมาปฏิบัติธรรมเข้าบริวาสกรรม เข้าบริวาสอันนี้ เพื่อบำเพ็ญตนเองให้มีสมาธิ ให้มีความเพียร ให้มีความอดทน ให้เกิดขันติบารมี เกิดสัจจะบารมี เกิดวิริยะบารมี เกิดเมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ให้เกิดตรงนี้ เมื่อเรามีพร้อมความสะอาดในใจ ก็สะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น สะอาดหมด กายสะอาด ใจสะอาด สวยหมดทั้งพระทั้งเณรทั้งโยม

    ดังนั้นพวกเราทั้งหลาย ที่มาปฏิบัติธรรมครั้งนี้ จงวางภาระอันหนัก อย่างที่หลวงปู่พูดแล้ว อย่าไปยึด
    ไปถือว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มันเป็นได้แค่เพียงสมมติแค่นั้น แต่โดยธรรมแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่
    ไม่อยู่ในการถือการคิด ไม่ได้เอ็นดูเราหรอก ยิ่งหัวเราว่าเราโง่ เพราะเราไปยึดของที่ไม่มีแก่นสาร
    ของพวกนี้มันเป็นของสกปรกไม่ควรยึด การแบกเราควรวาง “ หะลาหาโร จะ ปุคคโล”
    บุคคลที่แบกของหนักคือบุคคลที่ไม่ยอมปล่อยวาง “ ภาราทานัง ทุกขัง โลเก” บุคคลที่แบกของหนัก เป็นทุกข์ที่สุดในโลก

    ไม่มองดูทางโลก
    มองไกลๆตัวเราออกไป อย่างคนที่แบกของหนักแบกอยู่นั่น ไม่ยอมวางไม่ยอมปลงสักที ผลสุดท้ายก็หลังขดหลังงอ มันเป็นทุกข์หนักก็เพราะแบก พอวางลงหายไปหมด พอพักก็สบายอันนี้ก็เช่นกัน เมื่อเราแบกหนักๆ เราลองปล่อยดูซิ เมื่อเราปล่อยเราก็สบาย ถ้าแบกไม่วางเลยก็จะเป็นทุกข์ที่สุด พวกเราที่ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ พอไม่ปล่อยวาง ก็ยิ่งเป็นทุกข์ ถ้าวางได้ก็เป็นสุข สมกับที่ท่านเทศน์ว่า บัญญัติว่า " ภาระนิกเข ปะนัง สุขัง โลเก"
    ผู้ที่วางของหนักได้แล้ว เป็นสุขที่สุดในโลก ไม่มีสุขอื่นเท่าเทียมได้ อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย
    ท่านวางหมดแล้วเป็นสุขหมดแล้ว " นิพพานัง ปะระนัง สุขัง" นิพานเป็นสุขอย่างยิ่งถึงแล้วพวกเรากำลังเดินๆ ตามทางพระพุทธเจ้าเดินตาม " มัฌชิมาปฏิปทา" ทางเดินเดียวทางนี้เป็นทางที่หักจากข้าศึก หนีจากกิเลสทั้งหลาย กำลังเดินอยู่นี้ก็เพื่อหวังความสุขจากพระอริยะเจ้าทั้งหลายไปถึงแล้ว ไปถึงได้ ถ้าเราพยายาม เอื้อมมือเดียวก็ไม่ถึง ถ้าพยายามไกลก็ถึงได้นี่ของพวกท่านทั้งหลาย จงคิดพิจารณาว่า จะแก้ตรงไหน จะวางที่ใจเรานี่แหละ นี่ก็เราว่า " อัญญัง
    ภารัง อะนาทิยะ"
    เมื่อวางภาระได้แล้วร่างกายของเราจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน เราไม่ยึดถือไม่ถือเหมือนร่างกายของคนอื่นเขาเจ็บปวด
    เขาร้องไห้ไม่ใช่ร่างกายเรา เราก็นั่งดูเฉยๆเพียงแต่เกิดสังเวชเท่านั้นเอง ไม่ได้ร้องไห้กับเขา
    ร่างกายของเราเองถ้าวางอย่างนั้นได้ เราจะไปทุกข์ทำไม นี่เราแก้อย่างนี้เราไม่ยึดติดในที่อยู่ ที่อาศัยไม่ยึดติดวัตถุ ทางนอกกับภาระไม่ยึดติดทั้งนั้น เราปล่อยวางไว้เสมออันนี้เรียกว่าเรากำลังขุดราก รากของความอยาก ความทะเยอะทะยาน
    เมื่อเราขุดได้สำเร็จก็เรียกว่าเราถอนแล้ว ถอนตัณหา ถอนราก ถอนโคลน ถอนหมด เลย เมื่อถอนได้ " นิจฉาโต ปะรินิพพุโต"
    หายหิวหายอยาก อันนี้ แสดงว่าพวกเราถึงแล้ว ถึงความหมดจดถึงความใสสะอาด ความสุขอันเกษมที่เราต้องการพากันถึงหมด ด้วยวิธีนี้ พวกเราทั้งหลายเมื่อเราปฏิบัติ มาถึงตอนนี้แล้ว ให้พินิจพิจารณาดู
    ในเรื่องที่เราปฏิบัติมาตั้งแต่เบื้องต้นถึงขนาดนี้ จิตเราวางได้
    วันนี้ วันหน้า เราจะแก้อย่างไร แก้จิตตัวเองแก้กายตัวเองให้สำรวมกาย สำรวมใจ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ว่าจะเห็นรูปก็ดี
    ยินเสียงก็ดี ดีไม่ยินดี ชั่วไม่ยินดี วางจิตเป็นกลาง ไม่เข้าไม่ออก ปล่อยวางไว้ เราอยู่กลาง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ขื่นไม่ขม อยู่สบายๆเวลาสำรวมดี ศีลเราบริสุทธิ์ ปัญญาเกิดขึ้นได้โดยเร็ว เพื่อความใสสว่างแจ่มแจ้งในการปฏิบัติ
    มันจะรู้มันจะเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ในการทำสมาธิได้อย่างสงบ ความถูกเข้าบังคับจิต เกิดกระแสใสสว่างขึ้น อันนี้ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลาย ที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว จนถึงวันนี้
    เป็นวันที่หลวงปู่ให้โอวาทเพื่อเพิ่มเติมแสงตะเกียง แต่หลวงปู่แก้ให้ไม่ได้ พวกท่านต้องแก้เองท่านบอกทางแล้วก็แก้เอง เดินเอง บอกแล้วไม่แก้ไม่เดินก็เป็นเรื่องของคนๆนั้น พุทธองค์ไม่ทรงบังคับ
    ในท้ายที่สุดนี้หลวงปู่ก็พูดมาเยอะแล้วท่านทั้งหลาย ก็ต้องเข้าจำวัดแล้ว และจะเข้านิวาสต่อไป หลวงปู่จะขออาราธนา
    เอาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้าและพระสงฆ์ อันเป็นองค์พระรัตนตรัย ที่เราเคารพสักการะกราบไหว้ทุกวันนี้
    และบุญบารมีที่หลวงปู่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่แรกจนถึงบัดนี้ มาผสมผสานมาเป็นภาวะปัจจัยช่วยหนุนจิตใจของพวกท่าน
    ทั้งหลายให้มีแต่ความสุข ความเจริญ ด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ แคล้วคลาดจากภัยพิบัติ ให้มีจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    เพื่อเข้าถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกท่านเทอญ ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กุมภาพันธ์ 2018

แชร์หน้านี้

Loading...