อภิธรรม-ปรมัตถธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 8 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0> อภิธรรม -ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฎิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>ปรมัตถธรรม นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สภาวธรรม</TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ปรมัตถธรรม หรือ สภาวธรรม นี้มี ๔ ประการ คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>๑. จิต
    ๒. เจตสิก
    ๓. รูป
    ๔. นิพพาน
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้</TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>จิต คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัสถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่างๆ, เรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)



    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, มนายตนะ เป็นต้น[/FONT]


    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิก เป็น นามธรรม ที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิตเป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะมีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความเโกรธหรือความโลภนี่นเอง จิตเปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิก เปรียบเสมือน ตัวยา ที่อยู่ ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิก ก็เกิดโดย ไม่มีจิต ไม่ได้เช่นกัน

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0> นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะ คือ

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ (จิต เจตสิก รูป) ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต+เจตสิกและรูปจะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก)

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้า ถึงให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็นอริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ff0000 height=25>ความหมายของ บัญญัติธรรม</TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>บัญญัติ ธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นหรือบัญญัติชื่อขึ้น เพื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นาย ก นาง ข สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๑๐ บาท ธนบัตร ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>แม้ แต่สิ่งที่เรียกว่า ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม รถยนต์ คน และสัตว์ ฯลฯ ท่านก็ยังจัดว่าเป็น บัญญัติธรรม เพราะยังหนีไม่พ้นเรื่องของการสมมุติ

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ff0000 height=25>ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือการสมมุติ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>หาก พูดในแง่ของปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่มีอยู่จริงหรือธรรมชาติที่อยู่เหนือการสมมุติแล้ว ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. ยศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการสมมุติ เป็นเพียงการอุปโลกน์กันขึ้นมาเท่านั้น ส่วนต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ หนังสือ ปากกา นาฬิกา พัดลม และรถยนต์ ถึงจะมีความแตกต่างกันโดยลักษณะก็จริงอยู่แต่โดยสภาพความเป็นจริงตาม ธรรมชาติ (ปรมัตถธรรม) แล้ว สิ่งเหล่านี้ เกิดจาก การรวมตัว ของมหาภูตรูปทั้ง ๔ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ที่ปราศจากจิต+เจตสิก จึงเรียกว่าเป็น รูปธรรมเหมือนกันทั้งหมดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ส่วน มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้วถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มีนาย ก ไม่มีนาง ข มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>ดัง นั้นไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ</TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ[/FONT]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย [/FONT]

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกัน คือ

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>เราก็มี จิต เจตสิก รูป
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]เขาก็มี จิต เจตสิก รูป[/FONT]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป[/FONT]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจำแนกให้แตกต่างกันด้วยอำนาจของกรรมที่กระทำไว้ในอดีต
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>จิต + เจตสิก และรูป มีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการ คือ
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา[/FONT]
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้[/FONT]

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติเรียกว่า ไตรลักษณ์
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>โดย สรุปแล้ว จิต+เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็นสัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสาระอะไรเลย เป็นเพียง การประชุมกัน ของ ส่วนประกอบ ที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อกัน อย่างรวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับแสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็น ของใคร ไม่มีใคร เป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่า จากความ เป็นนั่น เป็นนี่ ตามที่ สมมุติ กันขึ้นมา แต่เป็น สภาวธรรม อันเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรม เหล่านี้ ก็คงมีอยู่ ตามธรรมชาติ พระพุทธองค์ เป็นแต่เพียง ผู้ทรงค้นพบ และนำมา เปิดเผย ให้เรา ทั้งหลาย ได้ทราบ เท่านั้น

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ff0000 height=25>การสวดพระอภิธรรมในงานศพ</TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ทุก ท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือตั้งศพสวดพระอภิธรรมในบัตรเชิญ หรือในหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อเชิญไปร่วมงาน บำเพ็ญกุศล แด่ท่านผู้วายชนม์ อยู่บ่อยๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่าน มาถึงตรงนี้ ย่อมทราบดีแล้วว่า หมายถึงอะไร
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>ตาม หลักฐาน ของท่านผู้รู้ กล่าวว่า มีการนำเอา พระอภิธรรม มาสวด ในพิธีศพ ของพุทธศาสนิกชน ชาวไทย ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา และท่าน ได้ให้ความเห็นไว้ว่า การบำเพ็ญกุศล ในงานศพ เพื่ออุทิศ ให้ผู้วายชนม์ นั้น เป็นเรื่อง เกี่ยวกับ ความรัก ความกตัญญู ต่อผู้วายชนม์ ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชน ชาวไทย นำเอาคัมภีร์ พระอภิธรรม เข้ามาเกี่ยวข้อง กับประเพณี นี้นั้น ตามข้อ สันนิษฐาน คงจะเกิด จากเหตุผล ประการต่าง ๆ ดังนี้


    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ประการ แรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจาย สรีระกาย ซึ่งเป็น กลุ่มก้อน ออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อันเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ซึ่งต้อง มีเสื่อมสลาย ไปตามสภาวะ มิสามารถ ตั้งอยู่ได้ ตลอดไป การได้ฟัง พระอภิธรรม จะทำให้ ผู้ฟัง น้อมนำ มาเปรียบเทียบ กับการจากไป ของผู้วายชนม์ ทำให้ เห็นสัจจธรรม ที่แท้จริง ของชีวิต ท่านโบราณ บัณฑิต คงจะเห็นว่า ในงานเช่นนี้ เป็นโอกาส อันดี ที่ท่านผู้ฟัง และท่าน ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในงานศพ จะสามารถ พิจารณาเห็น ความจริง ของชีวิต ได้ง่าย จึงได้นำ เอาพระอภิธรรม มาแสดง ให้ฟัง
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>อีก ประการหนึ่ง เพราะเห็นว่า ในการตอบแทน พระคุณพุทธมารดา ของ พระสัมมา สัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้ เสด็จขึ้นไป ทรงแสดง พระอภิธรรม เทศนา บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งสิ้นพระชนม์ ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการี อันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็น บัณฑิต จึงได้ นำเอา พระอภิธรรม เข้ามาเกี่ยวข้อง ในการ บำเพ็ญกุศล ให้แก่ ผู้วายชนม์ โดยถือว่า เป็นการสนอง พระคุณมารดา บิดา ตามแบบ อย่างพระจริยวัตร ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่า ท่านผู้วายชนม์ จะมิใช่ มารดาบิดา ก็ตาม แต่การนำเอา พระอภิธรรม มาแสดง ในงานศพ ก็ถือเป็น ประเพณี ไปแล้ว

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ประการ สุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรม เป็นคำสอนขั้นสูง ที่มีเนื้อหา ละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดง ในงานบำเพ็ญกุศล ให้แก่ ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์ จะได้บุญมาก
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ecffff height=0>การ สวดพระอภิธรรม ก็คือ การนำเอา คำบาลี ขึ้นต้น สั้นๆ ในแต่ละคัมภีร์ ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มาเรียง ต่อกัน การสวด พระอภิธรรมนี้ บางที เรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงาน พระศพ บุคคลสำคัญ ในราชวงศ์ เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยน มาจาก คำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั่นเอง (สัตต = เจ็ด, ปกรณ์ = คัมภีร์, ตำรา)

    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fff2f2 height=0>ต่อ มา ภายหลัง มีผู้รู้ ได้นำเอา คาถา ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของ พระอนุรุทธาจารย์ มาสวด เป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น-ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอา คำบาลี ในตอนต้น และตอนท้าย ของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉท มาเรียงต่อกัน เป็นบทสวด</TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD width=592>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=592></TD></TR><TR><TD width=592>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=592></TD></TR><TR><TD width=592>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=592></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=596>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=596>
    [FONT=Arial,Helvetica,sans-serif]ข้าพเจ้า ตั้งจิตอุทิศผลบุญกุศลนี้ไปให้ไพศาล ถึงมารดาบิดาและอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติ มิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวร เทวดา และเทวัญ ขอให้ท่านร่วมอนุโมทนาด้วยเทอญ...

    ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่าน
    ขอขอบคุณ
    [/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://paitoon_inthavong.tripod.com/id44.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...