อยากได้ฤทธิ์ได้ปาฎิหารย์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 12 พฤษภาคม 2011.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เเค่อ่านให้จบ น้องรับรองว่าได้ชัว นราสภา เอาหัวเป็นประกัน

    เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ มาเป็นลำดับ อย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่ หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจ เรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

    ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน"เด็ดขาดแท้จริง" อย่างไร จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้ แต่สำหรับ ผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับ ผู้มีฤทธิ์ จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง "เล่นตลก" ชนิดหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก

    พระพุทธองค์ ทรงสะอิดสะเอียน ในเมื่อจะต้องมีการแสดงฤทธิ์ เว้นแต่ จะเป็น การจำเป็น จริงๆ ทรงห้าม พระสาวก ไม่ให้แสดงฤทธิ์ พระองค์เอง ก็ตรัสไว้ใน เกวัฎฎสูตร๑ ว่า พระองค์เอง ก็ไม่พอพระทัย ที่จะทรมานใคร ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และ อาเทศนาปาฎิหาริย์ เพราะมันพ้องกันกับ วิชากลางบ้าน ซึ่งพวกนักเลงโต ในสมัยนั้น เล่นกันอยู่ เรียกว่า วิชาคันธารี และมนต์มณิกา พระองค์ พอพระทัยที่สุด ที่จะใช้ อนุสาสนีปาฎิหาริย์ คือ การพูดสั่งสอนกัน ด้วยเหตุผล ที่ผู้ฟังจะตรองเห็นตามได้เอง อันเป็น การทรมาน ที่ได้ผลเด็ดขาด ดีกว่าฤทธิ์ ซึ่งเป็นของชั่วขณะ อันจะต้องหาวิธีทำให้ มั่นคง ด้วยการสั่งสอน ที่มีเหตุผล อีกต่อหนึ่ง ในภายหลัง

    แต่ถึงแม้ว่า ฤทธิ์จะเป็น เรื่องหลอกลวงตา อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอยู่บ้าง เพราะมันเป็นสิ่งที่ท่านผู้มีฤทธิ์ เคยใช้ต่อต้าน หรือ ทำลายอุปสรรค ของท่านสำเร็จมาแล้ว เป็นอันมากเหมือนกัน เมื่อเราปวดท้อง เพราะอาหารเน่าบูดในท้อง ยาขนานแรก ที่เราต้องกิน ก็คือ ยาร้อน เพื่อระงับความปวด ให้หายไปเสียขณะหนึ่งก่อน แล้วจึง กินยาระบาย ถ่ายของบูดเน่าเหล่านั้นออก อันเป็นการแก้ให้หายเด็ดขาด ในภายหลัง ทั้งที่ ยาแก้ปวดท้อง เป็นเพียง แก้ปวดชั่วคราว ไม่ได้แก้ สมุฎฐาน ของโรค มันก็เป็น ยาที่มีประโยชน์ อยู่เหมือนกัน ในเมื่อเรารู้จักใช้ เปรียบกันได้กับ เรื่องฤทธิ์ อันท่านใช้ ทรมานใคร ในเบื้องต้น แล้ววทำให้มั่นคง ด้วยปัญญา หรือ เหตุผลในภายหลัง ฉันใดก็ฉันนั้น

    แต่ถ้าไม่มีการทำให้มั่นคง ด้วยเหตุผล ที่เป็นปัจจัตตะ หรือ สันทิฎฐิโก ในภายหลัง ผลที่ได้มักไม่สมใจ เช่นเดียวกับ กินเพียง ยาระงับ ความเจ็บปวด อย่างเดียว แต่หาได้ ถ่ายโทษร้าย นั้นออกเสียไม่ มันก็กลับเจ็บอีก หรือ กลายเป็นโทษร้าย อย่างอื่นไป ควรใช้กำลังฤทธิ์ ในเบื้องต้น ใช้ปัญญา หรือ เหตุผล ในภายหลัง ย่อมได้ผลแนบแนียน และไพศาลกว่า ที่จะได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างเดียว คนบางพวก เลื่อมใสในศาสนา ด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จูงให้เข้า ปฏิบัติศาสนา จนได้รับ ผลของศาสนานั้นแล้ว แม้จะ มารู้ภายหลังว่า เรื่องฤทธิ์ เป็นเรื่องหลอก เขาก็ละทิ้ง เฉพาะเรื่องของฤทธิ์ แต่หาได้ ทิ้งศาสนา หรือความสุข ที่เขาประจักษ์ กับเขาเอง ในภายหลังนั้นไม่

    แต่มีปรากฏ อยู่บ้างเหมือนกัน ที่คนบางคน เลื่อมใสฤทธิ์ อย่างเดียว เข้ามาเป็นสาวก ของพระพุทธองค์แล้ว หาได้ทำให้ตน เข้าถึงหัวใจ แห่งพุทธธรรม ด้วยปัญญาไม่ ต้องหันหลัง กลับไปสู่ มิจฉาทิฎฐิ ตามเดิม เช่น สุนักขัตตะลิจฉวีบุตร เป็นต้น แต่ก็มีมากหลาย ที่ถูกทรงชนะ มาด้วยฤทธิ์ แล้วได้รับการอบรม สั่งสอนต่อ ได้บรรลุ พระอรหัตตผลไป เช่น ท่านพระองคุลิมาล เป็นต้น จึงเป็นอันว่า เรื่องฤทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่ น่ารู้สนใจ อยู่ไม่น้อย แม้จะไม่เป็นการสนใจ เพื่อฝึกฝนตน ให้เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่ก็เป็น การสนใจ เพื่อจะรู้สิ่งที่ควรรู้ ในฐานะที่ตน เป็นนักศึกษา หาความแจ่มแจ้ง ในวิชา ทั่วๆไป ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัย ในเรื่องฤทธิ์นี้ เป็นเพียง แนวความคิดเห็น ที่ขยายออกมา สำหรับ จะได้ช่วยกัน คิดค้นหาความจริง ให้พบใกล้ชิด เข้าไปหาจุด ของความจริง แห่งเรื่องนี้ ยิ่งขึ้นเท่านั้น

    ในบาลี พระไตรปิฎก เราพบเรื่องของฤทธิ์ ชั้นที่เป็น วิชชา หรือ อภิญญา หนึ่งๆ แสดงไว้ แต่ลักษณะ หรือ อาการว่า สามารถทำได้ เช่นนั้นๆ เท่านั้น หามีบทเรียนหรือ วิธีฝึกกล่าวไว้ด้วยไม่ อันท่านผู้อ่าน จะอ่านพบได้จาก พระบาลี มหาอัสสปุรสูตร หรือ สามัญญผลสูตร แล้ว, ในบาลี คล้ายๆ กับ ท่านแสดงว่า เมื่อได้พยายามฝึกจิต ของตนให้ผ่องใส จนถึงขนาด ที่เหมาะสม แก่การใช้มันแล้ว ฤทธิ์นั้นก็เป็นอันว่า อยู่ในกำมือ ต่อมาในชั้น อรรถกถา และคัมภีร์พิเศษ เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยเฉพาะ ได้อธิบายถึง วิธีฝึกฝน เพื่อการแสดงฤทธิ์ ไว้โดยตรง และดูคล้ายกับว่า ท่านประสงค์ ให้เป็น บุรพภาค ของ การบรรลุมรรคผล เสียทีเดียว

    ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เรื่องฤทธิ์ นี้เป็น เรื่องของพุทธศาสนา โดยตรง หรือ เป็นส่วนหนึ่ง ของพุทธศาสนา ในบาลีมัชฌิมนิกาย มีพุทธภาษิตว่า พระตถาคต สอนแต่เรื่องความทุกข์ กับ ความพ้นทุกข์ เท่านั้น ๒ ทั้งเรื่อง ของฤทธิ์ ก็ไม่เข้า หลักโคตมีสูตรแปดหลัก แต่หลักใด หลักหนึ่ง การที่เรื่องของฤทธิ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนาได้ ก็เป็น การเทียบเคียง โดยส่วนเปรียบว่า ผู้ที่ฝึกจิต ของตน ให้อยู่ในอำนาจ อาจที่จะ บรรลุมรรคผล ได้ ในทันตาเห็น นี้แล้ว จิตชนิดนั้น ก็ย่อมสามารถ ที่จะ แสดงฤทธิ์ เช่นนั้นๆ ได้ ตามต้องการ เมื่อต้องการ, และ อีกประการหนึ่ง ฤทธิ์ เป็นเครื่องมือ อย่างดี ที่จะ ทรมานบุคคล ประเภท ที่ไม่ใช่ นักศึกษา หรือ นักเหตุผล ให้มาเข้ารีต ถือศาสนา ได้, ในยุคพุทธกาล ยังเป็น ยุคแห่งจิตศาสตร์ ไม่นิยม พิสุจน์ค้นคว้า กันใน ทางวัตถุ เช่น วิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน มหาชน หนักไปในทางนั้น บรรดาศาสดา จึงจำเป็น ที่จะต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในเรื่อง ฤทธิ์ นี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งด้วย เราอาจกล่าวได้ว่า ฤทธิ์ เป็นของคู่กันกับ ลัทธิคำสอน มาตั้งแต่ ดึกดำบรรพ์ ก่อนพุทธกาล ซึ่งศาสดานั้น ใช้เป็นเครื่องมือ เผยแพร่ ศาสนาของตน แม้พระพุทธองค์ ซึ่งปรากฏว่า เป็นผู้ที่ทรง เกลียดฤทธิ์ ก็ยังต้องทรงใช้บ้าง ในบางคราว เมื่อจำเป็น ดังที่ปรากฏอยู่ในบาลีหลายแห่ง

    ครั้ง ก่อนพุทธกาล นานไกล ในยุคพระเวท พระเวทยุคแรกๆ ก็มีแต่คำสั่งสอน ในการปฏิบัติและบูชา เท่านั้น ครั้นตกมายุคหลัง เกิดพระเวทที่สี่ (อรรถวนเวท) ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์ อันเป็นไปในการให้ ประหัตประหาร ล้างผลาญ กัน หรือ ต่อสู้ ต้านทาน เวทมนต์ ของศัตรู ขึ้นด้วยอำนาจ ความนิยม ของมหาชน หรือ อาจกล่าวได้ อีกอย่างว่า ตามอำนาจ สัญชาตญาณ ของ ปุถุชน นั่นเอง นับได้ว่า ยุคนี้เป็นมูลราก ของสิ่งที่ เรียกกันว่า "ฤทธิ์" และนิยมสืบกันมา ด้วยเหตุที่ว่า มหาชน ชอบซื้อ "สินค้า" ที่เป็นไปทำนองฤทธิ์ มากกว่า เหตุผลทางปรัชญา ถ้าศาสนาใด ด้อยในเรื่องนี้ ก็จะมีสาวก น้อยที่สุด จะได้แต่ คนฉลาด เท่านั้น ที่จะเข้ามาเป็นสาวก ถ้าเกิดการแข่งขัน ในระหว่างศาสนา ก็เห็นจะเป็น ฤทธิ์ อย่างเดียว เท่านั้น ที่จะนำความ มีชัย มาสู่ตนได้ ในเมื่อให้มหาชนทั้งหมดเป็นกรรมการตัดสิน คือ ให้พวกเขา หันเข้ามา เลื่อมใส และเพราะเหตุนี้เอง ในบาลีจึงมีกล่าวประปรายถึงฤทธิ์ ส่วนในอรรถกถา ได้กล่าวอย่างละเอียดพิสดาร

    พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าว วิธีฝึกฤทธิ์ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อเอาชนะน้ำใจชาวเกาะลังกา นับตั้งแต่พระสังฆราชแห่งเกาะนั้น ลงมา อันนับว่าเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุด ของท่านผู้นี้ และได้กล่าวไว้ ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ว่า พระศาสดาของเรา ทรงแสดงฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ แข่งกับ ศาสดานิครนถเดียรถีย์ อันเรียกว่า ยมกปาฎิหาริย์ และเล่าเรื่อง พระศาสดาทรงแสดงปาฎิหาริย์ ย่อยๆ อย่างอื่นอีก เป็นอันมาก นี่ชี้ให้เห็นชัดทีเดียวว่า จะอย่างไรก็ตาม ได้มีการต่อสู้ และ แข่งขัน ในระหว่าง เพื่อนศาสดา ด้วยใช้ฤทธิ์ เป็นเครื่องพิสูจน์ ตามความนิยม ของมหาชน เป็นแน่แท้ ในยุคนั้น, แต่นักต่อสู้นั้นๆ จะเป็น องค์พระศาสดาเอง ดังที่ท่านผู้นี้กล่าว หรือ ว่าเป็นพวกสาวกในยุคหลังๆ หรือ ยุคของท่านผู้กล่าวเอง หรือ ราว พ.ศ. ๙๐๐ ก็อาจเป็นได้ ทั้งสองทาง

    อาจมีผู้แย้งว่า ถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้ จึงไปอยู่ใน บาลีเดิมเล่า ? พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่า มีอยู่คราวหนึ่ง ซึ่งถูก ถ่ายจากภาษาสิงหล กลับสู่ภาษาบาลี แล้ว เผา ต้นฉบับเดิม เสีย และผู้ที่ทำดังนี้ ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็น เอกอัคร แห่ง พระอรรถกถาจารย์ ทั้งหลาย นั่นเอง, ท่านผู้นี้เป็น พราหมณ์ โดยกำเนิด จึงนำให้ นักศึกษา หลายๆ คนเชื่อว่า ถ้าเรื่อง ของ พราหมณ์ หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์ เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น) ได้เข้ามาปนอยู่ใน พระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุ เข้าใน พระพุทธโอษฐ์ ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือ ของท่านผู้นี้ หรือ บุคคลประเภท เดียวกับท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วย ความหวังดี ให้คนละบาป บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับ ความเชื่อถือ ของคน ในครั้งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดา มิได้ทรงสอน เรื่องฤทธิ์ หรือ เรื่องฤทธิ์ มิได้เข้าเกี่ยวข้อง กับพุทธศาสนา ในครั้งพุทธกาลแล้ว มันก็น่าจะ ได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่. ท่านผู้ที่ดึงเข้ามา เกี่ยวข้อง ก็ได้ทำไป ด้วยความหวังดี เพื่อให้ พุทธศาสนา อันเป็นที่รัก ของท่าน ต้านทานอิทธิพล ของศาสนาอื่น ซึ่งกำลังท่วมทับ เข้ามานั่นเอง มิฉะนั้น น่ากลัวว่า พุทธศาสนาจะเหลืออยู่ในโลกน้อยกว่าที่เป็นอยู่ในบัดนี้มาก

    เมื่อเหตุผลมีอยู่ดังนี้ ข้อปัญหาต่อไป จึงมีอยู่ว่า เราจะปรับปรุง ความคิดเห็น และความเชื่อถือ ในเรื่องฤทธิ์ นี้อย่างไร ข้าพเจ้าเห็นว่า ฤทธิ์ เป็นเพียง เครื่องประดับ หรือ เครื่องมือ อย่างหนึ่ง ซึ่ง พุทธศาสนา เคยใช้ประดับ หรือ ใช้ต้านทานศัตรู มาแล้ว แต่หาใช่เป็น เนื้อแท้ของ พุทธวจนะ ซึ่งกล่าวเฉพาะ ความดับทุกข์ โดยตรงไม่ เพราะฉะนั้น เมื่อเราในบัดนี้ จะเข้าเกี่ยวข้อง กับฤทธิ์ อย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ก็เท่ากับ ที่เป็นมาแล้ว นั่นเอง เราไม่อาจถือเอามัน เป็นสรณะ อันแท้จริง อย่างไรได้ เพราะเหตุผล ดังที่ ข้าพเจ้า จะได้แสดงต่อไป ตามความรู้ ความเห็น ฝากท่านผู้รู้ ช่วยกัน พิจารณาหาความจริง สืบไป

    คำว่า ฤทธิ์ แปลว่า เครื่องมือ ให้สำเร็จ ตามต้องการ แต่ความหมายจำกัด แต่เพียงว่า เฉพาะ ปัจจุบัน ทันด่วน หรือ ชั่วขณะเท่านั้น เมื่อ หมดอำนาจ บังคับของฤทธิ์ แล้ว สิ่งทั้งปวง ก็กลับคืน เข้าสู่สภาพเดิม ผู้มีกำลังจิตสูง ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้สูง จนผู้ที่มีฤทธิ์ด้วยกัน ต้องยอมแพ้ เพราะมีอำนาจใจ ต่ำกว่า จิตเป็นธรรมชาติ อันหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้มีการฝึก ให้ถูกวิธี ของมันแล้ว ย่อมมีอำนาจมากพอ ที่จะครอบงำ สิ่งทั้งหลาย ที่มีจิตใจ ด้วยกัน ได้หมด ช้างป่าดุร้าย และน่าอันตรายมาก ถ้าเราไม่ได้ ค้นพบ วิธีฝึก มันแล้ว ก็ไม่อาจ ได้รับประโยชน์ อะไร จากมันเลย คนเรา ที่รู้จักคิดว่า ช้างนี้ คงฝึกได้ อย่างใจ และค้นพบ วิธีฝึก บางอย่าง ในขั้นต้น ก็นับว่า เป็นผู้ที่ทำ สิ่งที่ยากมาก แต่ผู้ที่ค้นพบ เรื่องของจิต และ วิธีฝึกมัน โดยประการต่างๆ นั้น นับว่า ได้ทำสิ่ง ที่ยาก มากกว่า นั้นขึ้นไปอีก

    ในยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อได้มีการสนใจ ในเรื่องจิตกันขึ้น นักจิตศาสตร์ ได้พยายาม ทดลอง โดยอาการต่างๆ แยกกันไป คนละสาย สองสาย จนในที่สุด ก็ได้ลุถึง คุณสมบัติ อันสูงสุด ที่จิต ที่เขาฝึก ถึงที่สุด ในแง่นั้นๆแล้ว สามารถจะ อำนายประโยชน์ ให้ได้ อันจำแนกได้ โดยประเภทหยาบๆ คือ

    (๑) เข้าถึงธรรมชาติ ที่เรียกว่า ทิพย์ แล้วหา ความเพลิดเพลิน จากสิ่งที่เรียกว่า วิสัยทิพย์ นั้นๆ

    (๒) มีอำนาจบังคับทางจิต สำหรับบังคับจิต ของเพื่อนสัตว์ ด้วยกัน เพื่อเอาผล เช่นนั้น เช่นนี้ ตามความปรารถนา

    (๓) สามารถรู้เรื่อง เกี่ยวกับ สากลจักรวาล พอที่จะให้ตน หมดความอยากรู ้อยากค้นคว้า อีกต่อไป เพราะตนพอใจ ในความรู้นั้นๆ เสียแล้ว

    (๔) สามารถปลงวาง สลัดออกเสีย ซึ่งความทุกข์ ทางใจ อันได้แก่ ลัทธิศาสนา ที่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ในจิต ทั้งมวล นับตั้งแต่ สุขใน ฌาน สมาธิ มรรค ผล นิพพาน เป็นลำดับๆ

    พวกใด ดำเนินสายแห่งการค้นคว้าของเขา เข้าไปในดงรกแห่งฤทธิ์วิธี ย่อมได้ผลใน สองประเภท ข้างต้น (ข้อ ๑-๒) พวกที่ดำเนินไป เพื่อฟันฝ่า รกชัฎ แห่งตัณหา อันเป็น ก้อนหินหนัก แห่งชีวิต ก็ได้ ผลประเภทหลัง (ข้อ ๓-๔) พวกแรก คือ พวกฤทธิ์ พวกหลัง คือ ศีลธรรม และ ปรัชญาในทางจิต ทั้งสองประเภทนี้ เป็นที่นิยม ของมหาชน อย่างคู่เคียง กันมา ในยุคที่ความนิยม ในทางจิตศาสตร์ ยังปกคลุม ดินแดน อันเป็นที่เกิดขึ้น แห่งวิชานี้ คือ ชมพูทวีป หรือ อินเดียโบราณ มหาชนในถิ่นนั้น ต่างได้รับผล สมประสงค์ กันทั้ง ฝ่ายฤทธิ์ และ ฝ่ายความพ้นทุกข์ ของจิต แต่ในที่นี้ จะได้กล่าวเฉพาะ เรื่องฤทธิ์ อย่างเดียว งดเรื่องของความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งเสีย

    ผู้ที่ฝึกใจตามวิธีที่ค้นคว้า และ สั่งสอนสืบๆ กันมา หลายชั่วอายุคน ได้ถึงขึดสุด อย่างถูกต้องแล้ว สามารถบังคับใจตนเอง ให้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ อันเกี่ยวกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ความรู้สึกในใจ อันเกิดขึ้นจาก รูป เสียง เป็นต้น นั้นๆ แล้ว ฝึกวิธี ที่จะส่งกระแสจิตนั้นๆ ไปครอบงำ จิตผู้อื่น ให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นนั้นบ้าง ในทางรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ทุกประการ ผู้ที่มีกำลังจิตอ่อนกว่า ทุกๆ คน แม้จะมี จำนวนมากมาย เท่าใด ก็จะรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นเดียวกันหมด เพราะใจของเขา ถูกอำนาจจิต ของผู้ที่ส่งมา ครอบงำ เขาไว้ ครอบงำ เหมือนกันหมด ทุกๆ คนจึงได้เเห็น หรือ ได้ยิน ได้ดมตรงกันหมด เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม บ้านเมืองที่งดงาม ฯลฯ ตามแต่ที่ผู้ออกฤทธิ์ ได้สร้างมโนคติ ขึ้นในใจ ของเขา แล้วส่งมาครอบงำ อำนาจครอบงำ อันนี้ เป็นไปแนบเนียน สนิทสนม ผู้ที่ถูกงำไม่มีโอกาสรู้สึกตัวในเวลานั้น ว่าถูกครอบงำ ทางจิต และ สิ่งที่รู้สึกนั้น ไม่ใช่ของจริง เมื่อเรานอนหลับ และ กำลังฝันอยู่ เราไม่อาจรู้ตัวว่า เราฝัน เรากลัวจริง โกรธจริง กำหนัดจริง ฉันใด ในขณะที่ เราถูกงำ ด้วยอำนาจฤทธิ์ ก็รู้สึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ ทุกอย่างฉันนั้น

    ผู้ออกฤทธิ์บางคน สามารถออกอำนาจบังคับ เฉพาะคน ยกเว้นให้บางคน คนในหมู่นั้น แม้นั่งอยู่พร้อมกันในที่เดียวกัน จึงเห็นต่างๆกัน ดังเราจะได้ยิน ในตอนที่ เกี่ยวกับ พระศาสดา ทรมานคน บางคน ที่เข้าไปเผ้า พระองค์ ในที่ประชุมใหญ่ และพระองค์ ทรงบันดาล ด้วย อิทธาภิสังขาร เฉพาะผู้นั้น ให้เห็น หรือ ได้ยิน อย่างนี้ อย่างนั้น เพื่อทำลาย ทิฎฐิ หรือ มานะ บางอย่าง ของเขาเสีย

    เมื่อผู้ที่ทำการต่อสู้กัน ต่างก็มีฤทธิ์ด้วยกัน นั่นย่อมแล้วแต่ อำนาจจิต ของใคร จะสูงกว่า หรือ มีกำลังแรงกว่า เมื่อผู้มีฤทธิ์ ฝ่ายหนึ่ง ได้บันดาล ให้ทุกๆ คนในที่นั้น เห็นภาพ อันน่ากลัว มาคุกคาม อยู่ตรงหน้า เช่นนั้นๆ แล้ว ถ้าหาก อีกฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจจิต สูงกว่า ก็อาจรวบรวม กำลังจิตของตน เพิกถอนภาพ อันเกิดจาก อำนาจฤทธิ์ ของฝ่ายแรก กวาดให้เกลี้ยง ไปเสียจาก สนามแห่งวิญญาณ แล้วบันดาล ภาพอันน่ากลัว ซึ่งเป็น ฝ่ายของตน ขึ้น คุกคาม บ้าง แม้ว่า ในขณะที่คนนั้นๆ ถูกอำนาจฤทธิ์ ครอบงำ อยู่ และ เขาไม่อาจทราบว่า นั่นเป็น กำลังฤทธิ์ ดุจตกอยู่ใน ขณะแห่งความฝัน ก็ดี เขายังได้รับการศึกษา และความเชื่อ มาก่อนแล้วว่า มีวิธี ที่จะต่อสู้ ต้านทาน ซึ่งเป็น การเพิกถอนฤทธิ์ ของฝ่ายหนึ่ง เช่นนั้นๆ ด้วย จึงโต้ตอบ กันไปมา จนกว่า ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง จะสิ้นฤทธิ์

    ในรายที่ไม่ได ้ทำการต่อสู้ ประหัตประหาร กันโดยตรง แต่ต่อสู้ เพื่อแข่งขัน ชิงเกียรติยศ อย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อเรียกเอา ความเลื่อมใส ของมหาชน มาสู่ พวกของตัวนั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือ มีการต้านทาน เพื่อมิให้ อีกฝ่ายหนึ่ง แสดงฤทธิ์ ของเขาได้สมหมาย ซึ่งถ้าหาก การต้านทาน นั้นสำเร็จ ฝ่ายโน้นก็แพ้ แต่ต้นมือ ถ้าต้านทานไม่สำเร็จ ก็ต้องหาอุบาย กวาดล้าง อำนาจฤทธิ์ ในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งถ้ายังทำไม่ได้อีก ตนก็ตกเป็น ฝ่ายแพ้ ฤทธิ์ของผู้ที่มี ดวงใจบริสุทธิ์ เป็นอริยบุคคล ย่อมมีกำลังสูง และหนักแน่น ยั่งยืนกว่า ของฝ่ายที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส เป็นธรรมดา เพราะเหตุว่า จิตของผู้มีกิเลส ถูกกิเลสตัดทอน เสียตอนหนึ่งแล้ว ยังอาจที่จะ ง่อนแง่น คลอนแคลน ได้ ในเมื่ออิฎฐารมณ์ หรือ อนิฎฐารมณ์ มากระทบ ในขณะที่ ต่อสู้กันนั้น อีกประการหนึ่ง ผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่ทำเพราะเห็นแก่ตัว จึงมีกำลัง ปีติปราโมทย์ ความเชื่อ และ อื่นๆ ซึ่งเป็นดุจเสบียงอาหารของฤทธิ์ มากกว่า ย่อมได้เปรียบในข้อนี้

    ในรายที่ไม่มีการต่อสู้กัน เป็นเพียงการทรมาน ผู้ที่มีกำลังใจ อ่อนกว่า แต่มีมานะ หรือ ความกระด้าง เพราะเหตุบางอย่าง ย่อมเป็นการง่ายกว่า ชนิดที่ต่อสู้กัน คนธรรมดา สตรี เด็กๆ เพียงแต่อำนาจสะกดจิตชั้นต่ำๆ ซึ่งยังมีเหลือออกมา ถึงสมัยปัจจุบันนี้บ้าง ก็อาจที่จะเป็น อำนาจงำ ให้ตกอยู่ใต้ อำนาจของผู้แสดง นั้นได้ เสียแล้ว แม้ว่าสมัยนี ้จะเป็นสมัย ที่ไม่ค่อยมีใครเชื่อ ในเรื่องนี้ และทั้งผู้ฝึก ก็มิได้เป็น "นัก" ในเรื่องนี้ อย่างเอาจริง เอาจัง ก็ในสมัยโบราณ คนทุกคนเชื่อในเรื่องฤทธิ์ และผู้ฝึก ก็ฝึก อย่างเอาจริง เอาจัง เรื่องของฤทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่แนบเนียน และเป็นเรื่องจริง ได้อย่างเต็มที่ ในสมัยนั้น ความที่ทุกคนเชื่อก็ดี ความที่ผู้ฝึกเองก็เชื่อ และตั้งใจฝึกเป็นอย่างดี ก็ดี ล้วนแต่เป็น สิ่งส่งเสริม ในเรื่องฤทธิ์ ให้เป็นเรื่องจริง เรื่องจัง ยิ่งขึ้นไปอีก

    เราอาจกล่าวได้ว่า ในยุคโบราณยุคหนึ่ง ความเชื่อในเรื่องนี้ มีเต็มร้อยเปอร์เซนต์ อิทธิพลในเรื่องฤทธิ์ จึงมีได้ เต็ม ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมันถูกฝา ถูกตัว แก่กัน ครั้นมาบัดนี้ ทั้งความเชื่อ และการฝึกฝน มีเหลือน้อย ไม่ถึง ห้าเปอร์เซนต์ เลยกลายเป็น เรื่องเหลวไหล เสียเก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ บางที มีแต่ตัว ไม่มีฝา บางทีมีฝา แต่ไม่มีตัว ต่างฝ่าย ต่างก็ขี้เกียจเก็บ เลยทิ้งให้ ค่อยหาย สาปสูญไป ความยั่วยวน อันเกิดจากฝีมือ ของนักวิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน กำลังมีอิทธิพล มากขึ้นๆ ในอันที่จะ ให้จิตของคนเรา ตกต่ำ อ่อนแอ ต่อการที่จะบังคับตัวเอง ให้ว่างโปร่ง เพื่อเป็นบาทฐาน ของฤทธิ์ ได้ เมื่อว่างผู้แสดงฤทธิ์ ได้ นานเข้า ความเชื่อในเรื่องนี้ ก็สาปสูญไป ทั้งของผู้ที่จะฝึกและของผู้ที่จะดู

    บัดนี้ จะย้อนกลับไปหาเรื่องของการฝึก เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น (มิใข่เพื่อรื้อฟื้นขึ้นฝึกกัน) ผู้ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ต้องเป็นผู้ที่มีใจ เป็นสมาธิง่าย กว่าคนธรรมดา เพราะเรื่องนี้ มิใช่เป็นสาธารณะ สำหรับคนทั่วไป แม้ผู้ที่เชื่อและตั้งใจฝึกจริงๆ ถึงฝึกสมาธิได้แล้ว ท่านยังกล่าวว่า ร้อยคนพันคน จึงจะมีสักคนหนึ่ง ที่จะเขยิบตัวเอง ขึ้นไป จนถึงกับ แสดงฤทธิ์ได้ การปฏิบัติ เพื่อรู้อริยสัจ หลุดพ้นไปจากทุกข์ได้ เสียอีก ที่เป็นสาธารณะกว่า ! คนบางประเภท หลุดพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยเหตุผล ที่แวดล้อมเหมาะสม จูงความคิด ให้ตกไป ในแนวแห่ง ความเบื่อหน่าย และปล่อยวางได้ โดยไม่ต้องเกี่ยวกับ การฝึกสมาธิเลย จึงกล่าวย้ำ เพื่อกันสงสัย ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดา เราๆ การฝึกเพื่อพระนิพพาน เป็นของง่ายกว่า ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ให้ได้ถึงที่สุด ยิ่งถ้าจะฝึกเพื่อทั้งฤทธิ์ และพระนิพพาน ทั้งสองอย่างด้วยแล้ว ก็ยิ่งยาก มากขึ้นไปอีก ในหมู่พระอรหันต์ ก็ยังมีแบ่งกันว่า ประเภทสุกขวิปัสสก และประเภทอภิญญา คือแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และแสดงได้

    ผู้ฝึกสมาธิ เพื่อมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อใจเป็นสมาธิแล้ว ก็น้อมไปสู่ การคิดค้นหาความจริง ของชีวิต หรือ ความทนทุกข์ ของสัตว์ ว่า มีอยู่อย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร จะดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนผู้ที่ฝึก เพื่อฤทธิ์นั้น แทนที่จะน้อมไปเพื่อคิดค้นหาความจริง เขาก็น้อมสมาธิ นั้นไปเพื่อ การสร้างมโนคติ ต่างๆ ให้ชำนาญ ซึ่งเป็นบทเรียน ที่ยากมาก เมื่อเขาสร้าง ภาพแห่งมโนคติ ได้ด้วยการบังคับจิต หรือวิญญาณของเขา ได้เด็ดขาด และ คล่องแคล่ว แล้ว ก็หัดรวมกำลังส่งไป ครอบงำสิ่งที่อยู่ใกล้ จะขยายวงกว้าง ออกไปทุกที เพื่อให้ ภาพแห่งมโนคติ นั้นครอบงำใจ ของผู้อื่น ตามที่ เขาต้องการ ความยากที่สุด ตกอยู่ที่ตนจักต้อง ดำเนินการ เปลี่ยนแปลงภาพ นั้นๆ ให้เป็นไป ตามเรื่องที่ต้องการ ดุจการฉายภาพยนต์ ลงในผืนจอ แห่งวิญญาณ ของผู้อื่น จึงเป็นการยากกว่า การที่เจริญสมาธิ เพื่อสงบนิ่ง อยู่เฉยๆ หรือคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องเดียว โดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดี ความลำบาก นั้นๆ มิได้เป็นสิ่งที่ อยู่นอกวิสัย เพราะเมื่อจิต ได้ถูกฝึก จนถึงขีด ที่เรียกว่า "กัมมนีโย" นิ่มนวล ควรแก่ การใช้งานทุกๆ อย่างแล้ว ก็ย่อมใช้ได้ สมประสงค์

    ฤทธิ์ตามที่กล่าวไว้ ใน นิทเทสแห่งอภิญญา ของฝ่ายพุทธศาสนานั้น ดูคล้ายกับ ยืมของใครมาใส่ไว้ เพื่อแสดง ความสามารถของจิต อันสูงสุดประเภทนี้ ให้ครบถ้วน นอกจาก ไม่เป็นไป เพื่อความพ้นทุกข็ โดยตรงแล้ว ยังไม่ค่อย ตรงกับ อาการที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงอยู่บ้าง ในบางคราว ในบาลีไม่ได้แสดงวิธีฝึก ไม่ได้แสดงวี่แววว่า ควรฝึก หรือจำเป็น และไม่ค่อยปรากฏว่า พระมหาสาวกองค์ได้ ได้รับประโยชน์ หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงนำความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่า เรื่องอภิญญาเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าว เพื่อแสดง คุณสมบัติของจิต ที่ฝึกแล้วถึงที่สุด ให้ครบถ้วนเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ของพระสาวกเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ การฝึกก็เป็นอันว่า ต้องต่างกันด้วย ไม่มาก ก็น้อย จากวิธีที่เขาฝึกกันในสายของฤทธิ์โดยตรง เพราะเรื่องโน้น เป็นเรื่องของผู้ขวนขวาย เพื่อเสียสละ มิใช่เรื่องของผู้ขวนขวาย เพื่อรับเอา

    ในพระบาลีกล่าวแต่เพียงว่า เมื่อจิตเป็นจตุตถฌานคล่องแคล่วดีแล้ว ก็น้อมไปเพื่ออภิญญา เช่นนั้นๆ สำเร็จได้ ด้วยอำนาจ จตุตถฌาน นั่นเอง เมื่อการน้อมนั้นๆ สำเร็จก็จะสามารถทำได้ เช่นนั้นๆ ดูเหมือนว่า ถ้า น้อมไปเพื่ออภิญญานั้นๆ ไม่สำเร็จ ก็น้อมเลยไป เป็นลำดับๆ ข้ามไปหา การคิดค้น เรื่องอริยสัจ เลยทีเดียว คล้ายกับว่า มีไว้เผื่อเลือก หรือ สำหรับคน ที่มีอุปนิสัยบางคน ในบาลีบางแห่ง ไม่มีกล่าวถึง อภิญญาเลย เมื่อกล่าวถึง จตุตถฌานแล้ว ก็กล่าวถึง วิชชาสาม คือ ระลึกถึงความเป็นมา แล้วของตนในอดีต ความวิ่งวนของหมู่สัตว์ ในสังสารวัฎ และเหตุผล เรื่อง อริยสัจ เป็นที่สุด พระบาลี ชนิดหลังนี้ มีมากกว่า ที่กล่าวถึง อภิญญา และที่กล่าวถึง จตุตถฌาน แล้ว กล่าวอริยสัจเสียเลย ก็มีมากกว่ามาก

    ในอรรถกถาซึ่งเป็น คำอธิบายของพระบาลี ก็มิได้กล่าววิธีฝึกฤทธิ์นั้นๆ มักแก้ในทางศัพท์ ทางข้อธรรมะแท้ๆ หรือ มิฉะนั้น ก็ทางนิยายเลยไป แต่ได้ท้าให้ค้นดู เอาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะ ผู้ร้อยกรอง อรรถกถา กับผู้แต่งวิสุทธิมรรค เป็นคนเดียวกัน หรือ วิสุทธิมรรคมีอยู่แล้ว ก่อนการแต่งอรรถกถานั้นๆ

    ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเรื่องของการฝึกฤทธิ์อย่างพิสดาร จนกล่าวได้ว่า ไม่มีคัมภีร์ใด มีพิสดารเท่า ในวงของ คัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนา ด้วยกัน เพราะความพิสดารนั่นเอง จำเป็นที่ข้าพเจ้า จะต้องขอร้อง ให้ท่านพลิกดู ในหนังสือชื่อนั้น ด้วยตนเอง ด้วยว่า เหลือที่จะ นำมาบรรยาย ให้พิสดาร ในที่นี้ได้ เมื่อกล่าวแต่ หลักย่อๆ ก็คือ ขั้นแรก ท่านสอน ให้หาความชำนาญ จริงๆ ในการเพ่งสีต่างๆ และวัตถุ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม จนติดตาติดใจ เพื่อสะดวกในการ สร้างภาพแห่งมโนคติ ในขั้นต่อไป อันเรียกว่า เพ่งกสิณ ซึ่งเป็น สิ่งมีมาก่อนพุทธกาล มิใช่สมบัติของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

    ผู้เพ่งต่อฤทธิ์ต้องหนักไปในการฝึกกสิณ เท่ากับผู้เพ่งต่อพระนิพพานหนักไปในการฝึกแห่งอานาปานสติ และกายคตาสติ เป็นต้น ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ ส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ในโลก หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ว่า โลก เท่าที่ปรากฏแก่ ความรู้สึก ของคนทั่วไป ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง เมื่อสิ่งเหล่านี้ ติดตา และติดใจ จนคล่องแคล่ว พระโยคีนั้น ก็อาจสร้าง มโนคติภาพ อันเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป ทุกอย่าง กสิณ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ศึกษา ในฝ่ายฤทธิ์ สีขาว สีเขียว และสีต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน เป็นสีของสิ่งทั้งหลาย บรรดามีในโลกนี้

    การฝึกอุทธุมาตกอสุภ คือ การเพ่งจำซากศพ ที่ตายได้สี่ห้าวัน กำลังขึ้น พองเขียว จนติดตา และขยายสัดส่วน ให้ใหญ่เล็ก ทำนองย่อ และ ขยายสเกล อยู่ไปมา ตลอดจน ให้ลุกเดิน เคลื่อนไหวได้ ต่างๆ จนติดตา ติดใจ ชำนาญ ทุกประเภท เช่นนี้ ช่วยให้ประสาท ของผู้นั้น เข้มแข็ง ต่อความกลัว จนมีใจ ไม่หวั่นไหว ได้จริง ในที่ทั้งปวง ทั้งช่วยส่งเสริม ในการสร้าง มโนคติ ในเรื่องกลิ่น เป็นต้น ได้เป็นพิเศษ รวมความว่า ในขั้นแรก ต้องฝึกการอดทน การบังคับใจ ของตนเอง ให้อยู่ในมือ จริงๆ การชำนาญ สร้างภาพ ด้วยใจ อย่างเดียว ตลอดถึง ความกล้าหาญ ความบึกบึน หนักแน่น ของประสาท ทั้งสิ้น

    เมื่อชำนาญใน ขั้นนี้แล้ว จึงฝึก การส่งภาพ ทางใจ หรือ ที่เรียกว่า อธิษฐานจิต เพื่อความเป็น เช่นนี้ เช่นนั้น ครอบงำผู้อื่น ถ้าหาก มีความชำนาญ และกล้าแข็งพอ อาจที่จะ บันดาลให้ คนทั้งชมพูทวีปรู้สึก หรือเห็น เป็นอันเดียวกันหมดว่า ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเคยอยู่ ทางทิศเหนือนั้น บัดนี้ได้ ขยับเลื่อน ลงมาอยู่ ทางทิศใต้ หรือ กลางมหาสมุทรอินเดีย เสียแล้ว เป็นต้นได้ แต่เพราะ ความที่อำนาจใจ นั้นๆ ไม่พอ จึงเท่าที่เคยปรากฏกันมาแล้ว มีเพียงในวงคนหมู่หนึ่ง หรือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น

    สมตามที่ชื่อของมัน คือคำว่า ฤทธิ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องมือช่วย แก้อุปสรรค ให้สำเร็จ กะทันหัน ทันอก ทันใจ คราวหนึ่ง เท่านั้น เพราะว่า แม้หาก พระโยคีองค์ใด เคลื่อน ภูเขาหิมาลัย ได้ด้วย อำนาจฤทธิ์ เมื่อท่านคลายฤทธิ์ หรือตายเสีย ภูเขาหิมาลัย ก็จะ วิ่งกลับสู่ที่เดิม เท่านั้นเอง นักโทษ ที่มีฤทธิ์ อาจบันดาล ให้เขา เห็นตน เหาะลอย อยู่ในอากาศได้ แต่ย่อม ไม่อาจที่จะ ทำลาย เครื่องจองจำ นั้นได้ ถ้าหากมัน เป็นเครื่องมือ ที่แน่นหนา แข็งแรงพอ แต่นักโทษผู้นั้น มีทางที่จะใช้ ฤทธิ์นั้น ให้เป็นประโยชน์ แก่ตน หรือ มีโอกาส ให้อุบาย อันใด อันหนึ่ง หรือ เขาสั่งปล่อย เพราะ กลัวอภินิหาร ของตน

    เมื่อตนคล่องแคล่วใน การอธิษฐานจิต แผ่มโนคติภาพ ไปครอบงำ สัตว์อื่น ได้เช่นนี้ ก็เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่จะมากหรือน้อย ย่อมแล้วแต่ความสามารถของตน

    เมื่อมาถึงตรงนี้ ก่อนแต่จะจบ ควรย้อนกลับไป พิจารณาถึง เรื่องฤทธิ์นี้ กันมาใหม่ ตั้งแต่ต้นอีก สักเล็กน้อย แต่พิจารณากัน ในแง่แห่ง ประวัติศาสตร์ ของวิชา ประเภทนี้ วิชาเรื่องนี้ ฟักตัวมันเอง ขึ้นมาได้ด้วย ความอยากรู้ และ อยากเข้าถึง อำนาจบางอย่าง ซึ่งอยู่เหนือ คนธรรมดา มันเป็น ความอยาก ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญของ คนบางพวก ที่อุตรี เชื่อว่า จิตนี ้แปลกประหลาดมาก น่าจะมี คุณสมบัติพิเศษ บางอย่าง ซึ่งเมื่อผู้ใด อุตส่าห์ฝึกฝน จนรู้เท่าถึงแล้ว อาจเอาชนะ คนที่รู้ไม่ถึงได้ เป็นอันมาก ความคิดนี้ เป็นเหตุให้ ยอมพลีเวลา ตลอดทั้งชีวิต เพื่อการค้นคว้า ทดลอง อันเรียกว่า บำเพ็ญตบะ ในยุคที่คนเราถือ พระเป็นเจ้า ย่อมหวัง ความช่วยเหลือของ พระเป็นเจ้า อย่างเต็มที่ ด้วยอำนาจสมาธิ ที่มีต่อ สิ่งที่ เขาเชื่อว่าเป็น พระเป็นเจ้านั่นเอง ที่ได้เป็น บาทฐาน ให้เขาพบ วี่แวว ของฤทธิ์ ในครั้งแรก สักเล็กน้อย และ เป็นเงื่อนให้คนชั้นหลังดำเนินตามหลายสิบชั่ว อายุคน เข้า คนที่ตั้งใจจริง เหล่านั้น ก็ได้พบ แปลกขึ้น เป็นอันมาก จนปะติดปะต่อเข้าเป็นหลักเป็นเกณฑ์สำหรับสั่งสอนกัน

    เมื่อวิชานี้ ถูกแพร่ข่าวรู้มาถึง คนในบ้าน ในเมือง ก็จูงใจ พวกชายหนุ่ม นักรบ หรือ กษัตริย์ ให้ออกไป ขอศึกษาจาก พวกโยคีนั้น ถึงในป่า มีเรื่องเหลือ เป็น นิยาย อยู่ตามที่ หนังตะลุง มักเล่นกัน โดยมาก คนป่า หรือ ยักษ์บางตน ก็มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องนี้ เท่า หรือ มากกว่า คนบ้าน หรือ มนุษย์ ถึงกับ รบกัน และ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ พวกเทวดาหรือ พวกที่เอาแต่ เล่นสนุก ไม่ปรากฏว่า มีฤทธิ์ เพราะสมาธิ ไม่ค่อยดี กระมัง ในตอนแรกๆ ผู้มีฤทธิ์นั้น ค้นคว้า กันเพียง ขั้นที่สำเร็จ สมความต้องการ ไม่ได้ค้นถึง เหตุผล ของฤทธิ์ ไม่เป็น นักปรัชญา หรือ ทฤษฎีในเรื่องนี้ แต่เป็นเพียงนักปฏิบัติการ ตามที่สั่งสอน สืบๆ กันมา ขณะเมื่อ ในอินเดีย กำลังรุ่งเรือง ด้วยวิชา ประเภทนี้ ทางฝ่ายยุโรป ไม่มีความรู้ ในเรื่องนี้เลย เมื่อทางอินเดียเสื่อมลง ทางยุโรป ได้รับเพียง กระเส็น กระสาย เล็กน้อย ไม่พอที่จะรุ่งเรืองด้วย จิตวิทยา ประเภทนี้ อย่างอินเดียได้ มีแต่ฤทธิ์ ของซาตาน หรือมาร เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีพิษสง อะไรนัก และเป็นเรื่อง ทางศาสนา มากกว่า

    เมื่อวิชานี้ ได้เสื่อมลง ในอินเดียแล้ว ในทางปฏิบัติการ แต่ทางนิยาย ยังมีเหลืออยู่ ไม่สาบสูญ และยิ่งกว่านั้น ที่แน่นอนที่สุด คือ ได้ถูกคนชั้นหลัง ต่อเติม เสริมความ ให้วิจิตร ยิ่งขึ้นไป จนคนชั้นหลัง ในบัดนี้ ปอกเปลือก ตั้งหลายชั้นแล้ว ก็ยังไม่ถึงเยื่อในได้เลย ความเดา ทำให้ขยาย ความจริง ให้เชื่อง จนฤทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงวิชา สำหรับใช้แก้ อุปสรรค กะทันหัน เล่นตลก กับคนที่รู้ไม่ถึง กลับกลาย เป็นเรื่องจริงแท้ๆ ไป ดุจเดียวกับ เรื่องทางวัตถุอื่นๆ คนในชั้นหลังเป็นอันมาก เชื่อว่าอะไรทุกๆ อย่างจริงตามนั้น ทั้งที่ตนตอบไม่ได้ว่า ถ้าจริงเช่นนั้น ทำไมเวลาปรกติ ผู้มีฤทธิ์ ยังต้องเดิน ไปไหน มาไหน ไม่เหาะ เหมือนคราวที่ แสดงฤทธิ์ แข่งขัน ทำไมต้องทำนา ทำสวน หรือ ออกบิณฑบาต ขอทาน ไม่บันดาล เอาด้วยฤทธิ์ เป็นต้น ฤทธิ์ที่เคยเป็น เพียงการลองดี กันด้วย กำลังจิต ก็กลายเป็น เรื่องทางวัตถุ หนักขึ้น จนคนบางคนในชั้นหลัง หวังจะมีฤทธิ์ เพื่อให้หาเหยื่อ ให้แก่ตน ตามกิเลสของตน ผลที่ได้รับในที่สุด ก็คือ การวิกลจริต !

    สรุปความสั้นๆ ที่สุดในเรื่องฤทธิ์ ที่ได้กล่าวมา อย่างยืดยาว นี้ ก็คือว่า ฤทธิ์ เป็นเพียง คุณสมบัติพิเศษ ส่วนหนึ่งของจิตเท่านั้น เรื่องของจิต อันนี้เป็น พวกนามธรรม จะให้สำเร็จผล เป็นวัตถุไม่ได้ เช่นเดียวกับวัตถุในความฝัน มันจะเป็น วัตถุอยู่ ก็ชั่วเวลา ที่เราไม่ตื่น จากฝันเท่านั้น ของที่นฤมิตขึ้น ด้วยอำนาจฤทธิ์ สำเร็จประโยชน์ ชั่วเวลา ที่คนเหล่านั้น ยังตกอยู่ใต้ อำนาจจิต ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย ที่เราเรียกกันว่า โลกนี้ก็ตาม ถ้ามีอะไร มาดลบันดาล ให้จิตของเรา ทุกคน วิปริต เป็นอย่างอื่นไป โลกนี้ก็จะปรากฏ แก่เรา อย่างอื่น ไปทันที ดุจกัน สิ่งทั้งหลายสำเร็จ อยู่ที่ใจ รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหมด มีคุณสมบัติขึ้นมาได้ ก็เพราะเรา มีสิ่งที่เรียกกันว่า ใจ ถ้าไม่มีใจ โลกนี้ก็พลอยไม่มีไปด้วย รวมความสั้นๆ ได้ว่า สิ่งทั้งหลายสำเร็จจากใจ ใจสร้างขึ้น ใจเป็นประธาน หรือ หัวหน้าแต่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอะไรก็ตาม มาดลบันดาล ให้ใจ เปลี่ยนเป็น อย่างอื่นไป สิ่งทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยใจ ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าอำนาจ ดลบันดาล นั้นเป็นของ ชั่วขณะ สิ่งนั้นก็ แปรปรวน ชั่วขณะ ด้วย

    ในโลกนี้ ไม่มีอะไร เที่ยงอยู่แล้ว เราจะสร้างฤทธิ์ เพื่อเอาชนะ สิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น น่าจะไม่ได้รับผลที่น่าชื่นใจ เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ทั้งหลาย แทนที่จะ ใช้เวลา ไปค้นคว้า ในเรื่องฤทธิ์ ท่านจึงใช้ชีวิต ที่เป็นของ น้อยนิด เดียวนี้ ค้นคว้า หาสิ่งที่เที่ยง และเป็นสุข คือ พระนิพพาน แม้ว่า เรื่องฤทธิ์ และพระนิพพาน ต่างก็ เป็นวิทยาส่วนจิต ด้วยกันก็จริง แต่แตกต่างกัน ลิบลับ ด้วยเหตุผล ดังกล่าวมาแล้ว

    เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้า อุบัติขึ้น ในอินเดีย พระองค์ทรงบัญญัติ บาทฐาน ของฤทธิ์ ว่า มีอยู่ สี่ อย่าง คือ ความพอใจ ความเพียร ความฝักใฝ่ และ ความคิดค้น เรียกว่า อิทธิบาท เมื่อทำได้ ผลที่ได้รับ คือ มรรคผลนิพพาน เพราะคำว่า ฤทธิ์ ของพระองค์ จำกัดความเฉพาะ เครื่องมือให้สำเร็จ หรือ ลุถึง นิพพาน เท่านั้น ฤทธิ์ ซึ่งเคยได้ผล เป็นของตบตา และชั่วคราว ก็ได้เปลี่ยน มาเป็น สิ่งซึ่งให้ผล อันมีค่าสูงสุด และแน่นอน ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 พฤษภาคม 2011
  2. annedisonge

    annedisonge สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +2
    อ่านจบ ก็ได้ความอดทน เห็นๆ ครับ
     
  3. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เกิดจาก มานะ

    ความอดทนที่ได้ หากเกิดจากมานะ ในทางสัมมาก็ดีไป เเต่ส่วนมากมัก เกิดจากความ อยาก ของกิเลศ ในการใฝ่รู้

    หามันให้เจอ ว่า เพราะอะไรที่ทําให้เราสามารถ อ่านข้อความที่ยาวๆ อันนี้ได้
    นั้น เเหล่ะ ประโยชสูงสุด

    ขอให้เจริญในธรรมค่ะ
     
  4. SpecDum

    SpecDum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +489
    อนุโมทนาด้วยนะครับ อ่านแล้วเพิ่มศรัทธาได้มาเลย
    ขอนคุณนะครับ ^-^
     
  5. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    โมทนาสาธุจ๊ะ.. :cool:



     
  6. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    โยว่ๆๆ ...สวัสดี...ผู้ตั้งกระทู้
    สวีดัส ผู้ตอบ กระู้...ทู้
     
  7. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เย่ เย่ หวัดดีผู้เข้ามาเยี่ยมชม


    บรรลุในธรรม เรื่องสะเทือน รึยังเจ้าค่ะ

    ในเวปนี้ ท้าต้องการ ธรรม ที่ ทํา ได้จริง สายของ จารย์ใหญ่ห้องนู้นนั่นเเหล่ะ เจ๋ง สุดเเล้ว

    ลองไปฝากตัวกะ พี่ปราบ รึยัง ยิ่งถ้าเป็นขานั้นล่ะก็ หึ หึ หึ สุด สุด


    เเต่ถ้าจะเอาเเบบเบาๆ ค่อยๆไป ก็ เเนะให้ไปทางป้า ขรัว

    หรือจะเอาเเบบ ห้วนๆ ก็ต้อง ลุงขัน

    น้อง เป็น น้องได้เเบบทุกวันนี้ก็ พวก พ่ออภิมหาจําเริญห้อง นั้นน่ะเเหล่ะค่ะ

    รักเเกทั้งห้อง เเต่ไม่รู้เขาจะเกียดน้องกันทั้งห้องรึปล่าว โฮ๊ะ โฮ๊ะ โฮ๊ะ

    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ
    ไปเรื่อยๆ ขอรับ
    ส่วนใหญ่ จะทะลุ จุดเดือด มากกว่า ขอรับ
     
  9. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ขอให้ปฏิบัติดีดังปากว่า ครูอาจารย์จะได้ไม่เสียแรงที่อุสา ทุ่มเท สอนให้มาเป็นคน
     
  10. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    พอพี่เทพ พิมมาเช่นนี้

    พอพี่เทพ โพธ์งาม พิมกลับมาเช่นนี้ ก็ทําให้น้องรู้สึกระอายเป็นยิ่งนัก

    เที่ยวสอนคนนั้นไปเรื่อย เที่ยวว่ากล่าว ตักนั้น มาเตือนโน้น ตรงนั้นที ตรงนี้ที
    โดยที่ตนเองก็ไม่ได้ ทะลุ ในธรรมอันเเตกฉานวิชา อันใดมากนัก
    ยิ่งอ่านยิ่งทําความเข้าใจ ก็ ยิ่งรู้สึกกระดากเขิน อาย ในบางลีลาของตน

    ยิ่ง มีคําว่าครู อาจารย์ มาคํ้าคอหอยทางซีกขวาอีกตะหาก ยิ่งทําให้รู้สึกเเย่เพิ่มขึ้นไปอีกมากเป็นทวี

    ปฎิบัติบ้าง ไม่ปฎิบัติบ้าง หลุดนั้น ลืมนี่ หลุดนี่ เเล้วก็กลับไปลืมนั้นอยู่ประจํา
    สติ ก็มีไปทางอวิชา เสียมากล้น ไร้คุณสมบัติในการเป็นผู้สอน ผู้ชี้เเนะ เสียจริงๆ เรานี่มันช่างมิเจียมตน มิรู้จักรประมาณตนเอาเสียเลย ช่างขลาเบาในปัญญาเป็นที่ยิ่งนัก

    ข้อความของพี่ เทพโพธ์งามในวันนี้ เป็นเสมือนกระจกเงาบ้านใหญ่ ที่คอยสะท้อนถึง อริยะสัต ได้ดียิ่งนัก

    กราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งในคําเตือนอันสูงค่าเยี่ยงนี้

    กราบขอบคุณมากมายเจ้าค่ะ





    ที่นี้ เรามาเข้าเรื่องที่หลายคนกําลังรอกันอยู่ดีกว่า ที่กระทู้ก่อน เรื่อง เคล็ดของคาถา พี่เทพบอกว่า เคล็ดลับ เนี้ย มันเป็นประการเช่นไร ไหน หึ ยังมิเห็นพี่เข้าไปตอบเลยค่ะ ปล่อยให้เพื่อนรอกัน ระงม

    รบกวนพี่เทพบอกเคล็ดลับให้เเก่เพื่อนสมาชิก ดั่ง คําอ้างที
    รบกวนทีเถอะเจ้าค่ะ มิเช่นนั้นเดี๋ยวคนที่เขารอฟังอยู่เขาอาจจะ นําสํานวนที่ไว้เตือนตนของน้อง กลับ มาโยนใส่คุณพี่ได้น่ะเจ้าค่ะ




    <table id="post4701700" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-width: 0px 1px; border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255);" width="175">เทพคาถา
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Oct 2009
    ข้อความ: 57
    พลังการให้คะแนน: 25



    [​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_4701700" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> ตัวผมเองได้พบเจอของจริงมาแล้ว

    ว่าของจริงเป็นไปตามหลักเช่นนี้จริง

    คือยิ่งฝึกต้องยิ่งเก่ง แถมไม่ต้องใช้เวลามากมาย
    เหมือนคนอื่นทั่วไป เพียง อาศัย เทคนิคง่ายๆ เล็กๆน้อย
    ที่ใครๆต่างมองข้าม แถม เป็นไปตามหลัก วิทยาศาสตร์ด้วย
    ซำ สามารถ เร่ง กำลังได้ดังใจ ไม่เหมือน แนวทางดั่งเดิม
    ที่ใช้ไปครั้ง2ครั้งจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ดังใจ ยิ่งฝึกยิ่งแย่ลงๆ
    </td></tr></tbody></table>
    รบกวน สั่ง สอน เผยเเพร่ เพื่อเเผ่ เป็นธรรมทานด้วยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  11. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ถ้ายังมีคำนี้อีก เทพโพธ์งาม จิตยังคิดไม่ดีอีก ประชดประชันอีก แสดงถึงส่วนลึกจิตที่........ยากต่อการปฏิบัติเป็นนักหนา อย่าแรกต้องปรับพื้นฐานจิตใจส่วนลึก คิดดีก่อน แล้วจะเรียนรู้ปฏิบัติ ธรรม ต่อจนถึงชั้นสูงได้ ง่าย ถ้าอยู่ดีๆเรียนชั้นสูง ท่านก็จะเป็นเช่นทุกวันนี้และ

    ส่วนเรื่องการพูดกล่าวเคล็ดวิชา ผมได้พูดในนั้นแล้ว จนกระจ่าง จงไปอ่านและคิดด้วยตัวเอง
     
  12. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ค่ะ

    ขอบคุณค่ะ ที่เเนะนําเรื่องของ จิตในส่วนลึก ยินดีเเละเห็นด้วยว่าเป็นเช่นนั้นจริง มี จิตส่วนไม่ดีปนอยู่ นิด นิด ขอบคุณค่ะ

    ถ้าพี่เทพ ไม่ชอบ คําว่าเทพโพธิ์งาม วันหน้าน้องจะไม่พิมเช่นนี้อีกค่ะ ขอโทษด้วยค่ะ พี่เทพคาถา
     
  13. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เปลี่ยนรูปแทนตัวได้ป่ะ? "พี่นราสภา"
     

แชร์หน้านี้

Loading...