ออกซ่อมภาพเขียนฝาผนัง ในวัด ฟรี ทั้งใน เเละนอกประเทศ

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย นราสภา, 23 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    รับสร้างงาน ซ่อมเเซม บูรณะภาพเขียนฝาผนังอุโบสถ วิหาร หอไตร เเละอื่นๆ ที่เป็นงานเขียน ภาพฝาผนังทั้งหมด ทั้ง งานสลักใน ลงลักปิดทอง ใน มหาสูตรตามของ สํานักพระราชวัง เเละ สูตรลง นํ้าเคลือบ ปิดลัก สิบสามณรงค์ ตาม พระสูตรฝ่าย เหนือ ทั้งหมด

    หรือจะเป็นทำการ ประสะ และรองพื้นด้วยวิธีการแบบช่างโบราณ การร่างภาพจะมีแบบร่างขนาดเล็กและมีแบบขยายใหญ่เท่ากับพื้นที่บนผนังเพื่อทำ การปรุบนผนัง การระบายสีใช้พู่กันจุ่มสีผสมกาวกะถิน หรือตามสมัยนิยม เเล้วเเต่ผู้ว่าจ้าง

    เเละจัดสร้าง บานประตูเเกะสลัก น้าบรร ร่วมถึงการเเกะเชิงประตู หน้าต่าง ขอบคิ้ว วิหาร เเบบสลักใน เเละนอก

    โดยช่างผู้ชํานานงาน เฉพาะทาง โดยตรง

    เเละให้คําปรึกษา ทางด้านโครงสร้าง วางเเบบ ออกเเบบ ภาพเขียนฝาผนัง ทั้ง ยุคเก่า เเละใหม่

    ทั้งใน เเละนอก ประเทศ


    สนใจมีคําปรึกษา ติดต่อได้ที่ คุณ วีรชัย

    โทร 0801284737 หรือ pm มาปรึกษาได้ครับ




    เกร็ดเล็กๆ ที่นํามาฝาก เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐาน

    [FONT=&quot]1. งานจิตรกรรมไทย ([/FONT][FONT=&quot]Thai Painting)[/FONT]
    [FONT=&quot]งานจิตรกรรมไทยมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติ ([/FONT][FONT=&quot]Idealistic) ซึ่งมีลักษณะงดงามเกินความเป็นจริง ที่มองเห็นทั่วไปในธรรมชาติเพราะเป็นเรื่องที่สร้างขึ้นประกอบศาสนาซึ่งมีลักษณะเด่นๆ โดยรวมดังนี้ [/FONT]
    [FONT=&quot]1. มีลักษณะเป็นแบบอุดมคติ[/FONT]
    [FONT=&quot]2. เน้นรายละเอียดต่างๆ ลวดลายวิจิตรบรรจง[/FONT]
    [FONT=&quot]3. ยึดเอาจุดสนใจของเรื่องเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสม เช่นชาดกเรื่องพระเวสสันดรเน้นพระเวสสันดรเป็นจุดเด่น โดยการเขียนให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือคนอื่นๆ ในภาพเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]4. แสดงอารมณ์ด้วยเส้นขอบและท่าทาง ดังนั้นหน้าตาจึงคล้ายกันไปหมด ใช้ท่าทางบอกอารมณ์ว่าโกรธ ร่าเริง พอใจ ซึ่งนำมาจากท่าทางของโขนหรือละคร[/FONT]
    [FONT=&quot]5. นิยมเขียนภาพเป็นแบบ 2 มิติ ลักษณะเป็นภาพแบนๆ ใช้เส้นตัดขอบ ไม่มีการให้แสงเงาหรือตำแหน่งใกล้ไกล แต่ระยะหลังรับอิทธิพลของการเขียนภาพแบบตะวันตก มีลักษณะเป็นแบบทัศนียภาพ [/FONT][FONT=&quot]Perspective จิตรกรไทยที่นำมาใช้เป็นคนแรกและมีชื่อเสียงมากคือ ขรัวอินโข่ง ในสมัย ร.4[/FONT]
    [FONT=&quot]6. นิยมเขียนภาพแบบตานกมอง [/FONT][FONT=&quot]Bird’s eye view เป็นการเขียนบรรยายเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีเส้นซิกแซกกั้น เรียกว่าเส้นสินเทา หรืออาจใช้แนวภูเขา ต้นไม้กั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]7. มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา นิทานชาดก วรรณคดี[/FONT]


    [FONT=&quot]หลักการเขียนภาพงานจิตรกรรมไทย มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 อย่างคือ[/FONT]
    [FONT=&quot]1.[/FONT][FONT=&quot] กนก คือลวดลายไทยที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติเช่นดอกไม้ ใบไม้ น้ำ เปลวไฟ[/FONT]
    [FONT=&quot]2.[/FONT][FONT=&quot] นาง (นารี) คือภาพคนทั้งหมด เช่น พระนางทั่วไป คน[/FONT]
    [FONT=&quot]3. ช้าง (คชะ)[/FONT][FONT=&quot] คือภาพสัตว์ทั้งหลายยกเว้นลิง[/FONT]
    [FONT=&quot]4. ลิง (กระบี่)[/FONT][FONT=&quot] คือลิงทุกตัวในวรรณคดีรวมทั้งยักษ์ด้วย[/FONT]
    <table class="MsoTableGrid" style="border-collapse:collapse;border:none;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; mso-yfti-tbllook:480;mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;mso-border-insideh: .5pt solid windowtext;mso-border-insidev:.5pt solid windowtext" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0"> <td style="width:112.95pt;border:solid windowtext 1.0pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-left:none;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt: solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-left:none;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt: solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-left:none;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt: solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="width:112.95pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-top:none;mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot]กนก[/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border-top:none;border-left: none;border-bottom:solid windowtext 1.0pt;border-right:solid windowtext 1.0pt; mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot]นาง (นารี)[/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border-top:none;border-left: none;border-bottom:solid windowtext 1.0pt;border-right:solid windowtext 1.0pt; mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot]ช้าง (คชะ)[/FONT]
    </td> <td style="width:112.95pt;border-top:none;border-left: none;border-bottom:solid windowtext 1.0pt;border-right:solid windowtext 1.0pt; mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="151">
    [FONT=&quot]ลิง (กระบี่)[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table>
    [FONT=&quot]กรรมวิธีการเขียนภาพไทย มักเขียนประดับตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด ([/FONT][FONT=&quot]Mural Painting) มีวิธีเขียนอยู่ 3 วิธีคือ [/FONT]
    [FONT=&quot]1. เขียนสีฝุ่นปูนแห้ง [/FONT][FONT=&quot]Tempera[/FONT][FONT=&quot] เป็นการเขียนโดยการผสมสีฝุ่นกับกาวหนังหรือ กาวกระถิน หรือไข่ขาวผสมน้ำผึ้ง แล้วเขียนลงบนผนังปูนที่ฉาบแห้งสนิทแล้ว สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้ดี ใช้เวลาเขียนนานมาก อายุของภาพสั้นเนื่องจากหลุดลอกได้ง่ายเมื่อโดนน้ำ หรือแสงแดด[/FONT]
    [FONT=&quot]2. การเขียนแบบปูนเปียก [/FONT][FONT=&quot](Fresco)[/FONT][FONT=&quot] คือการเขียนสีฝุ่นผสมลงบนผนังปูนหลังจากที่ช่างฉาบเสร็จหมาด ๆ เพื่อให้สีซึมเข้าไปในเนื้อปูน เป็นการเขียนแข่งกับเวลาที่ปูนจะแห้งตัวจึงต้องเขียนอย่างรวดเร็ว เก็บรายละเอียดได้น้อย แต่อายุของภาพจะยาวนานกว่าแบบแรก และลักษณะของภาพจะเป็นช่อง ๆ จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก[/FONT]
    [FONT=&quot]3. การเขียนแบบลงรักปิดทอง[/FONT][FONT=&quot] หรือการเขียนแบบสีฝุ่นผสมการปิดทองเพื่อเน้นจุดเด่นในภาพ เช่นงานเขียนลวดลายตู้พระธรรม ตู้พระไตรปิฎก[/FONT]
    <table class="MsoTableGrid" style="border-collapse:collapse;border:none;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; mso-yfti-tbllook:480;mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;mso-border-insideh: .5pt solid windowtext;mso-border-insidev:.5pt solid windowtext" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0"> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-left:none;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt: solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-top:none;mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot]จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์[/FONT]
    </td> <td style="width:225.9pt;border-top:none;border-left: none;border-bottom:solid windowtext 1.0pt;border-right:solid windowtext 1.0pt; mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot]จิตรกรรมสมัยเชียงแสน(ล้านนา)[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table>
    [FONT=&quot]วิวัฒนาการของจิตรกรรมไทย[/FONT]
    [FONT=&quot]จากหลักฐานของงานจิตรกรรมไทยนั้นปรากฏว่าเริ่มต้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยและมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน [/FONT]
    [FONT=&quot]1.สมัยสุโขทัย[/FONT][FONT=&quot] มีภาพที่แกะสลักหินเป็นลายเส้น ซึ่งเรียกว่าภาพแกะลายเบาอยู่ที่ช่องกำแพงวัดศรีชุม จ.สุโขทัย จิตรกรรมแบบระบายสีในสมัยสุโขทัยก็คือภาพผนังที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะของภาพเป็นการเขียนโดยใช้สีแดง สีขาวและสีดำ เข้าใจว่าสีอื่น ๆ เช่น สีเขียวยังไม่มีใช้ [/FONT]

    [FONT=&quot]2. สมัยอยุธยา[/FONT][FONT=&quot] มีงานจิตรกรรมที่สำคัญ ๆ ดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]2.1 จิตรกรรมสีปูนเปียก ([/FONT][FONT=&quot]Fresco) ที่ปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [/FONT]
    [FONT=&quot]2.2 ภาพผนังในเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [/FONT]
    [FONT=&quot]2.3 ภาพผนังในพระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี [/FONT]
    [FONT=&quot]2.4 ภาพผนังโบสถ์วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี [/FONT]
    [FONT=&quot]นอกจากนั้นยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่อื่น ๆ อีกเช่น ที่วัดพุทธไธสวรรย์ จังหวัดอยุธยา วัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี ภาพในหอเขียนวังสวนผักกาด และเป็นที่น่าสังเกตว่าการเขียนภาพแบบที่มองจากที่สูงหรือแบบนกมอง [/FONT]
    [FONT=&quot]3. สมัยธนบุรี[/FONT][FONT=&quot] มีภาพไตรภูมิซึ่งแสดงถึงโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ โลกมนุษย์ และนรก ปัจจุบันนี้ภาพจิตรกรรมไทยในสมุดไตรภูมิของสมัยธนบุรีถูกเก็บรักษาไว้ในพระที่นั่งศิวโมกข์วิมานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ[/FONT]
    [FONT=&quot]4. สมัยรัตนโกสินทร์[/FONT][FONT=&quot] เนื่องจากได้มีการสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงต้องระดมเอาศิลปินมาจากอยุธยาเพื่อช่วยกันเขียนภาพฝาผนังในวัดต่าง ๆ เหล่านั้น รูปแบบการเขียนภาพของศิลปินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาพในสมัยต่อมาอย่างยิ่ง อาจจะเรียกว่าเป็นสมัยสูงสุด ([/FONT][FONT=&quot]Classic) ของกิจกรรมไทยก็ได้ ดังตัวอย่างจากผลงานของพระที่นั่งพุทธไธศวรรย์ หรือที่วัดสุทัศน์และวัดสุวรรณารามเป็นต้น [/FONT]
    <table class="MsoTableGrid" style="border-collapse:collapse;border:none;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; mso-yfti-tbllook:480;mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;mso-border-insideh: .5pt solid windowtext;mso-border-insidev:.5pt solid windowtext" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0"> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-left:none;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt: solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot][​IMG][/FONT]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="width:225.9pt;border:solid windowtext 1.0pt; border-top:none;mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-alt:solid windowtext .5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot]ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ดาวดึงส์[/FONT]
    </td> <td style="width:225.9pt;border-top:none;border-left: none;border-bottom:solid windowtext 1.0pt;border-right:solid windowtext 1.0pt; mso-border-top-alt:solid windowtext .5pt;mso-border-left-alt:solid windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="301">
    [FONT=&quot]จิตรกรรมไทยสมัยปัจจุบัน[/FONT]
    </td> </tr> </tbody></table> [FONT=&quot]ศิลปินได้สร้างผลงานที่มีความแตกต่างกันถึง 5 ประเภทดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]- ประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องเทวดา เรื่องเทพนิยายลึกลับ และเรื่องของบุคคลในราชวงศ์ [/FONT]
    [FONT=&quot]- ประเภทที่เกี่ยวกับการใช้ตัวละครของรามเกียรติ์[/FONT]
    [FONT=&quot]- ประเภทที่เกี่ยวกับการฟ้อนรำ การเกี้ยวพาราศี และบุคคลชั้นสูง ซึ่งมีความแตกต่างกันตามยศศักดิ์[/FONT]
    [FONT=&quot]- ประเภทที่เกี่ยวกับคนธรรมดาสามัญ แสดงชีวิตความเป็นอยู่ มีการแทรกเรื่องราวประเภทตลกขบขัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ร่าเริงของคนไทย[/FONT]
    [FONT=&quot]- ประเภทที่เกี่ยวกับฉากนรกมักแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ธรรมดาแต่เป็นเรื่อง ราวที่เกี่ยวกับการลงโทษมนุษย์อย่างรุนแรงที่สุดตามแต่จะจินตนาการขึ้นมาได้ ตัวอย่างภาพเหล่านี้ปรากฏอยู่ตามวัดสำคัญ ๆ คือ ภาพผนังของพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ภาพผนังวัดดุสิตตาราม ภาพผนังที่วัดสุทัศน์ ภาพผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพผนังวัดเชตุพนวิมลมังคลารามแลวัดสุวรรณาราม เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]ผลงานจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากจะมีอยู่ในกรุงเทพมหานครดังกล่าวแล้ว ยังมีภาพผนังตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดอื่น ๆ อีกเช่น ที่วัดสุวรรณดารารามจังหวัดอยุธยา วัดใหญ่อินทารามจังหวัดชลบุรี วัดราชบูรณะจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งการเขียนภาพผนังของวัดทางภาคเหนือที่จัดทำขึ้นมาในช่วงเวลานี้อีก ด้วย เช่นที่วัดพระสิงห์จังหวัดเชียงใหม่ วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]5. สมัยปัจจุบัน[/FONT][FONT=&quot] โดยมากมักจะถือเอาสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นจุดเริ่มต้น ผลงานศิลปะต่าง ๆ ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมาเป็นส่วนมาก รวมทั้งงานด้านจิตรกรรมด้วยทำให้มีการประยุกต์วิธีการเขียนภาพและวัสดุต่าง ๆ มาเป็นวัสดุสมัยใหม่ตามแบบตะวันตก เช่นใช้สีอะครีลิคหรือสีน้ำมันแทนสีฝุ่น หรือแม้กระทั่งใช้เทคนิคการพิมพ์ภาพแทนการเขียนภาพ ส่วนรูปแบบในการเขียนก็มีการนำเอาจินตนาการแปลกใหม่มาผสมกับรูปแบบจิตรกรรมประเพณีแบบดั้งเดิม ทำให้ภาพเขียนที่เป็นแบบสมัยใหม่และนำไปตกแต่งอาคารบ้านเรือนได้แทนที่จะปรากฎอยู่แต่บนผนังโบสถ์ วิหาร เช่นแต่ก่อน แนวโน้มของจิตรกรรมไทยคงจะมีการเขียนด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับยุคสมัยไปเรื่อย ๆ และแพร่หลายไปสู่สาธารณะมากขึ้นกว่าสมัยที่ผ่านมา [/FONT]

    [FONT=&quot]จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์[/FONT][FONT=&quot] ( คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ [/FONT][FONT=&quot]200 ปี . 2525 : 18-22 )[/FONT]

    · [FONT=&quot]สมัยรัชกาลที่ [/FONT][FONT=&quot]1 ศิลปินสำคัญได้แก่ พระอาจารย์นาค จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะเฉพาะสรุปได้ดังนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] 1. โครงสร้างสีส่วนใหญ่ใช้สีแดง นิยมเขียนเส้นสินเทากั้นภาพปราสาทท้องฟ้า[/FONT]
    [FONT=&quot] 2. แสดงฐานะแตกต่างด้วยสี เช่น องค์พระพุทธเจ้าทรงสีแดงคล้ำ ที่เนื้อปิดทอง[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชการที่ [/FONT][FONT=&quot]2 ศิลปินสำคัญได้แก่ หลวงเสนีย์บริรักษ์ (ครูคงแป๊ะ)หลวงวิจิตเจษฎา(ครูทองอยู่ )[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชการที่ [/FONT][FONT=&quot]3 ศิลปินสำคัญได้แก่ ครูทองอยู่[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชการที่ [/FONT][FONT=&quot]4 เริ่มนำวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตกตามหลักทัศนียภาพมาผสมผสานกับจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ผลก็คือ ผลงานสื่อให้เห็นระยะใกล้ - ไกล แสดงความรู้สึกแบบ 3 มิติ กล่าวได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของจิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะแบบอุดมคติ และแบบเหมือนจริง เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส พระอุโบสถวัดมหาพฤฒารามกรุงเทพมหานคร พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา จิตรกรเอกคือ พระอาจารย์อินโข่งหรือเรียกกันว่า “ ขรัวอินโข่ง ”[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชการที่ [/FONT][FONT=&quot]5 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะไทยแบบประเพณี และศิลปะแบบสมัยใหม่ จิตรกรเริ่มถ่ายทอดรูปแบบที่แสดงความรู้สึกส่วนตัวและเนื้อหาสัมพันธ์กับยุคสมัย ขณะเดียวกันจิตรกรรมในส่วนภูมิภาคยังคงยึดศิลปะแบบอุดมคติ เช่น จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วิหารวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ วิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชการที่ [/FONT][FONT=&quot]6 พ . ศ .2456 ตั้งโรงเรียนเพาะช่าง ให้การศึกษาศิลปะวิทยาการหลายสาขาทั้งแบบประเพณีนิยมและแบบสากลนิยม[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชกาลที่ [/FONT][FONT=&quot]7 เป็นปีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณีในพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย พระเทวาภินิมมิต ( ฉาย เทียมศิลปไชย ) เป็นผู้ควบคุม ร่วมกับจิตรกร เช่นหลวงจิตรยง ครูทองอยู่ อินมี ครูเลิศ พ่วงพระเดช นายสวงษ์ ทิมอุดม และคนอื่นๆ ภาพเขียนมีรูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณีแสดงระยะใกล้ - ไกล เนื้อหาเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ขณะที่พระยาอนุศาสตร์ จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) เขียนจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้สีน้ำมันแทนสีฝุ่น รูปแบบเป็นศิลปะสากล แสดงความรู้สึกระยะใกล้ - ไกลแบบ 3 มิติ เน้นกายวิภาคคนให้ถูกสัดส่วน การให้แสง - เงา ระยะของสีและการสร้างบรรยากาศเลียนแบบธรรมชาติ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระนเรศวรมหาราช พ . ศ .2476 ตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ( โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ) โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci, ค . ศ .1892-1962) ชาวอิตาลี เป็นผู้วางรากฐานจัดการศึกษาเกี่ยวกับวิชาช่างสาขาจิตรกรรม และประติมากรรมในรูปแบบศิลปะไทยแบบประเพณี และศิลปะสากล[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชกาลที่ [/FONT][FONT=&quot]8 สถาบันทางศิลปะของรัฐสนับสนุนเปิดการแสดงงานศิลปะ การประกวดภาพจิตรกรรม พ . ศ .2486 จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาบันศิลปะขั้นอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ มีหน้าที่ผลิตศิลปินสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย และศิลปะไทยแบบประเพณี[/FONT]
    · [FONT=&quot]สมัยรัชกาลที่ [/FONT][FONT=&quot]9 พ . ศ .2492 จัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย[/FONT]

    [FONT=&quot]รูปแบบการจัดวางตำแหน่งภาพจิตรกรรมฝาผนังในอาคารและความหมายแฝง[/FONT]
    [FONT=&quot] ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พบตามโบสถ์ วิหาร ในวัดทั่วไป ส่วนที่มักมีภาพจิตรกรรมเขียนอยู่ คือ ผนังหุ้มกลองด้านหน้า ( ผนังตรงข้ามพระประธาน ) ผนังหุ้มกลองด้านหลัง ( ผนังด้านหลังพระประธาน ) ผนังด้านข้าง พระประธานทั้ง 2 ด้าน ตั้งแต่เหนือขอบหน้าต่าง ขึ้นไปจนถึงเพดานซึ่งรวมเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ คอสอง ” ผนังระหว่างช่องหน้าต่างและบนบานประตู หน้าต่างทั้งด้านหน้า - ด้าน หลัง และบนเพดานการจัดวางเนื้อหาเรื่องราวภาพจิตรกรรมฝาผนังในอาคาร โดยมากมักนิยมจัดวางตำแหน่งภาพซึ่งแฝงความหมายอันเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนาดังต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=&quot] 1. ผนังหุ้มกลองด้านหน้า ( ผนังตรงข้ามพระประธาน ) เหนือขอบประตู นิยมเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญเต็มทั้งผนัง เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายแฝงว่าพระพุทธเจ้าทรงเอาชนะพญามารซึ่งเปรียบได้ กับการที่พระองค์สามารถละกิเลสทั้งปวงจนสามารถตรัสรู้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นหน ทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=&quot] 2. ผนังหุ้มกลองด้านหลัง ( ผนังด้านหลังพระประธาน ) นิยมเขียนภาพไตรภูมิ ซึ่งเป็นภาพจำลองของจักรวาลตามความคิดของคนโบราณ บางแห่งอาจเขียนภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพุทธมารดา บนสวรรค์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พร้อมทั้งเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ โลกมนุษย์และนรกภูมิให้เห็นทั่วถึงกัน เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายแฝงว่าพระพุทธเจ้าทรงหันหลังให้กับการเวียนว่าย ตายเกิดซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง มุ่งแสวงหาสัจธรรมเพื่อสั่งสอนให้สัตว์โลกทั้งหลายหลุดพ้นจากความทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot] 3. ผนังด้านข้างพระประธานทั้ง 2 ด้าน ตั้งแต่เหนือขอบหน้าต่างขึ้นไปจนถึงเพดานซึ่งรวมเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ คอสอง ” นิยมเขียนภาพเทพชุมนุม เป็นรูปเทวดา อสูร ครุฑ นาค นั่งเรียงเป็นแถว แบ่งเป็นชั้น ทุกภาพต่างประนมมือหันหน้าเข้าหาพระประธาน รวมถึงหมู่วิทยาธร ฤาษี คนธรรพ์ถือช่อดอกไม้ทิพย์ซึ่งจิตรกรนิยมวาด ไว้บริเวณคอสองตอนบนสุดใกล้กับเพดานและใช้เส้นสินเทารูปหยักฟันปลาเป็นเส้นแบ่งจากภาพเทพชุมนุม เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายแฝงว่าหมู่เทพ ทั้งปวงทุกชั้นฟ้าต่างมาชุมนุมกันเพื่อฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยใช้พระประธานเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์[/FONT]
    [FONT=&quot] 4. ผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ผนังส่วนนี้มีพื้นที่กว้างพอประมาณเรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]“ ห้องพื้นผนัง ” ส่วนมากจิตรกรนิยมเขียน ภาพเป็นเรื่องที่จบในตอนเดียวกัน แล้วแต่ว่า จะหยิบยกเรื่องตอนใดมาวาด แต่มักเป็นตอนสำคัญที่รู้จักกันทั่วไป เช่นพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าแสดง ยมกปาฏิหาริย์ทรมานเหล่าเดียรถีร์ หรือเลือก เขียนภาพชาดกที่พบเสมอคือทศชาติชาดก แบ่งเขียนเป็นห้องๆละ 1 – 2 พระชาติ หรืออาจแบ่งเขียนเป็นตอนๆ จากเรื่องขนาดยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก ก็แบ่งเขียนผนังละ 1 – 2 กัณฑ์ ก็มี แต่นิยมเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกันไปจนจบเรื่องตามจำนวนช่องผนังที่มี เช่นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย ผนังด้านซ้ายของพระประธานเขียนเรื่องทศชาติชาดกเรียงไปโดยลำดับ ส่วนผนังด้านขวามือ พระประธานเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เรียงกันไปจนครบทุกกัณฑ์[/FONT]
    [FONT=&quot] 5. บานประตู [/FONT][FONT=&quot]– หน้าต่าง โดยทั่วไปนิยมทำเป็นภาพเทวดาถืออาวุธยืนบนแท่นมียักษ์แบกหรือยืนบนหลังสัตว์พาหนะซึ่งรวมเรียกว่า ” ทวารบาล ” มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบไทยประเพณีหรือแบบไทยปนจีนที่เรียกว่า ” เซี่ยวกาง ” โดยอาจทำเป็นภาพเขียนระบายสี ลายรดน้ำ หรือไม้แกะสลักก็ได้ บางแห่งอาจทำลวดลาย ให้มีความหมายสัมพันธ์กับสถานที่ก็ได้ เช่นบานประตู – หน้าต่าง ของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ทำเป็น ลายรดน้ำรูประฆัง เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot] 6. เพดาน มักนิยมเขียนภาพผูกลวดลายเป็นดอกดวง เรียกว่า [/FONT][FONT=&quot]” ดาวเพดาน ” หมายถึงดวงดาวในจักรวาลซึ่ง สัมพันธ์กับภาพจิตรกรรมบนผนังด้านหลัง และด้านข้างพระประธาน ส่วนในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีการติดต่อกับจีนมาก ภาพบน เพดานก็จะสอดแทรกสัญลักษณ์มงคลของจีน แฝงไว้ด้วย เช่นค้างคาว ดอกโบตั๋น เป็นต้นรูปแบบของการจัดวางภาพจิตรกรรมฝาผนังที่กล่าวมานั้น สามารถ ใช้เป็นตัวอย่างพื้นฐานเบื้องต้น ในการศึกษาและชมภาพจิตรกรรมฝาผนังให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในประเทศไทย แต่ละแห่งอาจแตกต่างกันโดยวางตำแหน่งของ ภาพสลับที่กันได้ ไม่เป็นแบบแผนแน่นอนตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตรกรจะพิจารณาเห็นสมควร การดูภาพจิตรกรรมฝาผนังให้เข้าใจจึงเป็นเรื่องที่ทำให้เกิด ความสนุกสนานในการชม ได้รับความรู้และคติสอนใจที่แฝงอยู่ในภาพ รวมถึงเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญา ของบรรพชน อันจะนำไปสู่การตระหนัก ในคุณค่าตลอดจนร่วมมือกันอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป[/FONT]

    [FONT=&quot]งานประติมากรรมไทย ([/FONT][FONT=&quot]Thai Sculpture)[/FONT]
    [FONT=&quot]งานประติมากรรมไทยเป็นงานที่เกี่ยวข้องหรือรับใช้ศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติมาแต่ดั้งเดิม จึงมักมีงานอยู่ 2 แบบคือ งานประติมากรรมเกี่ยวกับพระพุทธรูป โดยทั่วไปมักเรียกงานว่าปฏิมากรรม (ซึ่งเป็นงานที่เด่นที่สุด) และงานประติมากรรมตกแต่งอาคารสถานที่ เหตุที่นำเอาพระพุทธรูปมาเป็นหลักในการศึกษาประติมากรรมไทยเพราะเหตุว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]1. มีความงดงามถึงขั้นสูงสุด ([/FONT][FONT=&quot]Classic) ตามแบบอุดมคติ[/FONT]
    [FONT=&quot]2. มองเห็นความแตกต่างของฝีมือแต่ละสกุลช่างได้ชัดเจน[/FONT]
    [FONT=&quot]3. มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด[/FONT]

    <table cellpadding="0" cellspacing="0" align="left"><tbody><tr><td height="0" width="0">
    </td><td width="304">
    </td><td width="44">
    </td><td width="220">
    </td></tr><tr><td height="88">
    </td><td colspan="2">
    </td><td rowspan="3" style="border:.75pt solid black; vertical-align:top;background:white" bgcolor="white" height="312" width="220">
    </td></tr><tr><td height="223">
    </td><td style="border:.75pt solid black; vertical-align:top;background:white" bgcolor="white" height="223" width="304">
    </td></tr><tr><td height="1">
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    โมทนา สาธุ ๆ
    ในบุญกุศลทุกอย่างเพื่อสืบต่อ
    พระพุทธศาสนาด้วยครับ
     
  3. love997

    love997 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    478
    ค่าพลัง:
    +1,898
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วย ขอแม่พระธรณีและพระยายมบาล จงเป็นพยานในการทำบุญนี้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำบุญในครั้งนี้เพื่อน้อมบูชาพระรัตนตรัยทั้ง 3 สรณะสูงสุดแห่งชีวิตของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรมทุกพระธรรมขันธ์ พระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าทุกๆ พระองค์ พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์เจ้า พระมหาโพธิสัตว์เจ้า พระบรมโพธิสัตว์เจ้า พระอนิตยโพธิสัตว์ พระนิตยโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายทั้งปวงทั่วทั้งสากลโลก องค์ท่านท้าวสักกเทวราชองค์พ่อปู่พระอินทร์ องค์พระแม่ย่า องค์ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ท่านเวสสุวรรณ ท่าวท้าวธตรฐ ท่านท้าววิรุฬหก ท่าวท้าววิรูปักษ์ พร้อมถึงบริวารของท่านทุกๆพระองค์ องค์พระสยามเทวาธิราชเจ้าทุกๆพระองค์ องค์พ่อพญายมราช องค์พ่อพิฆเนศ องค์พ่อวิษณุกรรม องค์ครูบาอาจารย์ทุกๆพระองค์ องค์พ่อปู่ฤาษีนารายณ์ องค์พ่อปู่ฤาษีตาไฟ องค์พ่อปู่ฤาษีตาวัว องค์พ่อปู่ฤาษีนารอด องค์พ่อปู่ฤาษีเสด็จพ่อแก่ องค์พ่อปู่ฤาษีกไลยโกฏฺ องค์พ่อปู่ฤาษีปู๋เจ้าสมิงพราย องค์พ่อปู่ฤาษีพยัคฆา องค์พ่อปู่ฤาษีนาคาราช องค์พ่อปู่ฤาษีเพชรฉลูกัณฑ์ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายที่ได้ทำแล้วแก่บิดามารดาทุกภพทุกชาติ อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ทุกภพทุกชาติ เจ้าบุญนายคุญทุกภพทุกชาติ ญาติสนิทมิตรสหายทุกภพทุกชาติ เทพพรหมเทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน หมื่นโลกธาตุแสนโกฏิ พระเพลิง พระพาย แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ มนุษย์ทั้งหลายในอนันตจักรวาล ท่านทั้งหลายที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในภูมิอบายทั้ง 4 อันได้แก่ ภูมินรก ภูมิเปรต ภูมิอสูรกาย และภูมิสัตว์เดรัจฉาน ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยได้ช่วยแปลสภาพบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ให้สัตว์ในอบายภูมิทั้ง 4 ให้ได้รับผลบุญในครั้งนี้ด้วย ขอเจ้ากรรมและนายเวรทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ขอท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงมาอนุโมทนาบุญ และอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ
    ขอส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้กระทำมานี้ แผ่ไปให้ไพศาล ท่านที่ได้ทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ท่านที่มีความสุข ขอให้ท่านได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ขอท่านทั้งหลายเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิธาน ธนสารสมบัติ ขอให้ส่วนกุศลผลบุญในครั้งนี้เป็นพลวะปัจจัย อุปนิสัยตามส่งให้ข้าพเจ้า และสัพพะทุกดวงวิญญาณในสังสารวัฏนี้ ได้พบกับพระพุทธศาสนาทุกภพทุกชาติ ได้เกิดเป็นมนุษย์ที่มีสัมมาทิฏฏิ หมั่นทำบุญทำทาน เพื่อสละความโลภ หมั่นรักษาศีลและเจริญพรหมวิหาร 4 เพื่อระงับความโกรธ หมั่นเจริญภาวนา ทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อนุสัยและอาสวะให้หมดสิ้นไป ได้สำเร็จซึ่งมรรค 4 ผล 4 ตลอดจนได้เข้าถึงแดนทิพย์พระนิพพานเอกันตบรมสุขกันทุกท่าน รวมทั้งขอข้าพเจ้าได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระวิริยาธิกะพุทธเจ้าองค์หนึ่งเมื่อบุญบารมีถึงพร้อมแล้ว ตลอดจนถึงกาลเวลาอันสมควรแล้วในอนาคตเบิ้องหน้าด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...