อะไรชื่อว่าปัญญา ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GoingMarry, 5 พฤษภาคม 2012.

  1. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ที่ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด
    ที่ชื่อว่ารู้ชัดนี้ คืออย่างไร คือความรู้โดยประการต่าง ๆ พิเศษยิ่งกว่าอาการคือ
    ความหมายรู้ และความรู้แจ้ง จริงอยู่ แม้เมื่อสัญญา วิญญาณ และปัญญา
    จะเป็นความรู้ด้วยกัน แต่สัญญาเป็นสักแต่ว่าความหมายรู้อารมณ์ เช่น รู้จักว่า
    สีเขียว สีเหลือง เป็นต้นเท่านั้น แต่ไม่อาจให้ถึง ความแทงตลอดซึ่งลักษณะว่า
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้ วิญญาณย่อมรู้จักอารมณ์ว่า สีเขียว สีเหลือง
    เป็นต้นด้วยและย่อมให้ถึงความแทงตลอดซึ่งลักษณะได้ด้วย แต่ไม่อาจจะให้
    ก้าวหน้าไปถึงความปรากฏแห่งมรรคได้ ส่วนปัญญาย่อมรู้อารมณ์และให้ถึง
    ความแทงตลอด ซึ่งลักษณะด้วยอำนาจแห่งนัยดังกล่าวแล้ว ทั้งให้ก้าวหน้าไป
    ถึงความปรากฏแห่งมรรคด้วย

    อุปมาเหมือนคน ๓ คน คนหนึ่งเป็นเด็กที่ยังไม่มีความรู้ (ในเรื่องการใช้จ่าย)
    คนหนึ่งเป็นชาวบ้าน (ธรรมดา) คนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดูเงิน เมื่อเขาเห็นกองเหรียญ
    กษาปณ์ที่เขาวางไว้บนแผ่นกระดานที่ดูเงิน เด็กที่ยังไม่มีความรู้ ย่อมรู้แต่เพียงว่า
    เหรียญกษาปณ์ ที่สวย งาม ยาว สั้น สี่เหลี่ยมหรือกลมเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่า ของชนิดนี้
    เขาสมมติว่า เป็นรัตนะ ใช้แลกเปลี่ยน เครื่องอุปโภคบริโภคของมวลมนุษย์ คนชาวบ้าน
    ย่อมรู้ว่า เหรียญกษาปณ์เป็นของสวยงาม และรู้ว่า เป็นของที่เขาสมมติเป็นรัตนะ
    ใช้แลกเปลี่ยนเครื่องอุปโภคบริโภคของมวลมนุษย์ แต่ไม่รู้จักเลือกว่า เหรียญนี้แท้
    เหรียญนี้ปลอม เหรียญนี้มีราคาเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนเจ้าหน้าที่ดูเงิน ย่อมรู้ประการเหล่านั้น
    ทั้งหมด และรู้จริง ๆ แม้แลดูเหรียญกษาปณ์ก็รู้ ได้ฟังเสียงเคาะ ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส
    ชั่งดูด้วยมือก็รู้ และรู้จนกระทั่งว่า ทำที่บ้าน ที่หมู่บ้าน ในเมือง หรือที่ภูเขา ที่ฝั่งแม่น้ำ
    ชื่อโน้น และรู้จนกระทั่งว่าอาจารย์คนโน้นทำฉันใด อุปไมยนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น ก็สัญญา
    ย่อมเป็นเหมือนการเห็นเหรียญกษาปณ์ของเด็กที่ยังไม่มีความรู้ เพราะถือเอาสักว่า อาการ
    คือความปรากฏแห่งอารมณ์ ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น วิญญาณย่อมเป็นเหมือนว่าการเห็น
    เหรียญกษาปณ์ของชาวบ้าน เพราะถือเอาอาการของอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น
    และให้ถึงการแทงตลอดลักษณะที่สูงขึ้นไป ส่วนปัญญาย่อมเป็นเหมือนการเห็น เหรียญ
    กษาปณ์ของเจ้าหน้าที่ดูเงิน เพราะถือเอาอาการของอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น
    และให้ถึงการแทงตลอดลักษณะและให้ถึงความปรากฏแห่งมรรคแม้ที่สูงขึ้นไปกว่านั้น
    เพราะฉะนั้น ความรู้โดยประการต่าง ๆ ที่พิเศษยิ่งกว่าอาการคือความหมายรู้และความรู้แจ้ง
    นี้แหละพึงทราบว่า ความรู้ชัด คำแก้ปัญหาว่า “ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด”
    ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวหมายถึงความรู้ชัดนี้

    ทั้งหลายเหล่านี้ที่ไม่มีรูปคือจิตและเจตสิกที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกัน ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ว่า
    “นี้ผัสสะ นี้เวทนา นี้ปัญญา นี้เจตนา นี้จิต” ดังนี้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก พระผู้มีพระภาคทรงทำแล้ว
     
  2. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ในปัญหาข้อว่า ลักษณะ กิจ ผล เหตุใกล้ของปัญญานั้น เป็นอย่างไร ?
    นี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

    ปัญญา มีการแทงตลอดสภาวธรรมเป็นลักษณะ
    มีการกำจัดความมืดคือโมหะที่ปกปิดสภาวะความเป็นจริงของธรรมทั้งหลายเป็นกิจ
    มีความไม่หลงเป็นผล
    ก็สมาธิเป็นเหตุใกล้ของปัญญานั้น

    โดยพระบาลีว่า
    “ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง” ดังนี้
     
  3. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    แปร่งๆนะ น่าจะยก ฉบับเต็มมานะครับ หรือทำลิงค์เทียบเคียงก็ดีนะครับ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    บทความนี้ เคยอ่านผ่านตามาแล้ว

    เป็นคำขยายมาจากพุทธพจน์ โดยอรรถกถาอีกที

    ในส่วน วิเสสลักษณะ พรรณาถึงลักษณะของปัญญา มีอยู่ในพระไตรปิฏก อภิธรรม หรือในมิลินทปัญญาที่ใช้อุปมา

    ลองศึกษาดูใน ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา และในส่วนอรรถกถาในพระไตรปิฏกครับ
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่หลงอ่านผ่านตามาแล้ว เห็นว่ามีการเพิ่ม ตัด หรือตกหล่น ไหมครับ
    ผมก็แค่อ่านแล้วเห็นว่า เนื้อหาน่าจะขาดไป จึงลองค้นเท่าที่ทำได้จาก google
    ผมจึงเห็นเอาเองว่า ฝากถึง จขกท.ว่าน่าจะทำลิงค์ไว้ก็ดีนะครับ
     
  6. ตื่นแย้ว

    ตื่นแย้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +9
    ผู้ที่ได้ปัญญาทางพุทธเป็นพระอรหันต์ที่มีอภิญญา 6 ครบ จะรู้ความจริงเรื่องเหล่านี้ แต่ท่านจะพูดหรือไม่ นั่นอีกประเด็ดหนึ่ง


    มารบูรพาเขียน:
    ใครเป็นผู้สร้าง ถ้าทางพุทธ ก็บอกว่า เพราะไม่รู้ อะไรต่อมิอะไรจึงถือกำเนิดขึ้น

    ก็งงเหมือนกัน เป็นตรรกะที่เข้าใจยาก แล้วต้องรู้อะไร จึงจะรู้เสียทีว่า เกิดมาได้อย่างไร (นับย้อนไปก่อนไข่กับอสุจิจะผสมกัน) กิเลส ตัณหา อุปทาน พาให้เกิด ประมาณนั้น

    แสดงว่า พระเจ้าในทางศาสนาคริสต์ ที่สร้างมนุษย์ ก็คงเทียบได้กับ กิเลส ตัณหา อุปทาน ที่สร้างมนุษย์ ในศาสนาพุทธ


    ตอบ

    1. พระพุทธเจ้า ตรัสบอกกับเถรวาทเริ่มจากตอนที่ กิเลสอวิชชาสามารถหลอกลวงจิตปภัสสรของพวกเราได้แล้ว ทำให้จิตปภัสสรของพวกเรา หลงเข้ามาอยู่ในโลกแห่งมายา ที่เสมือนจริง พระพุทธเจ้าสอนให้พ้นทุกข์ไปก่อน จึงจะรู้ว่า ผู้สร้างแม่งเป็นใคร ก็พวกมึงนั่นแหละ ตอนที่เป็นนิพพานธาตุเป็รผู้สร้าง

    2. จิตปภัสสรของพวกเรา ก็จิตของพวกเราที่บริสุทธิ์ที่สุดนั่นแหละ พวกเราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า ที่เรียกว่า พระอรหันต์ หรือ พุทธะ ที่กำลังฝันอยู่เพราะ - ความยึดมั่นถือมั่น - เพราะกรรมที่เราทำกับผู้อื่น - เพราะอำนาจของกิเลสอุปทาน

    3. จิตของพวกเราที่บริสุทธิ์ที่สุดมีจำนวนเป็นอนันต์ แต่จะเรียกว่ามีเพียง 1 ก็ได้ = พระปฐมพุทธเจ้า, อาทิพุทธเจ้า, อัลเลาะห์, พระบิดา, นิพพาน, ศิวะ, ปรมาตมัน ฯลฯ

    4. กิเลส อวิชชา เปรียบเสมือนไวรัส พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้สติปัฏฐาน 4 เป็นโปรแกรมฆ่าไวรัสเหล่านี้ จริงๆ..มีหลายวิธิที่เราจะฆ่าไวรัสกิเลสอวิชชา จะกลับไปสู่ความเป็นพุทธะ หรือความเป็นบุตรของพระเจ้า(อรหันต์)ได้ เช่น

    - ใช้ความเชื่อและศรัทธาในพระปฐมพุทธเจ้า, อาทิพุทธเจ้า, อัลเลาะห์, พระบิดา, นิพพาน, ศิวะ, ปรมาตมัน

    ศาสนาคริสต์ก็ให้เชื่อและศรัทธาในพระบุตร (ยน.14:6)
    "เราเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต ไม่มีใครไปหาพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา"

    ศาสนาพุทธมหายานก็ให้เชื่อและศรัทธาในพระอมิตาภพุทธเจ้า

    5. ถ้าเราจะไม่ออกจากความเป็นพระเจ้าหรือพุทธะก็ได้ ดังเช่นพระเยซู พระศิวะ พระพิฆเนศ พวกท่านก็ไม่ได้ออกจากความเป็นพระเจ้าหรือพุทธะของท่าน ตอนที่มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นกายทิพย์

    สรุป

    ตอนนี้คุณหายงงหรือยังล่ะ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้ยังลูกศรใส่เรา แต่ถ้าใช้ตรรกะก็ต้องบอกว่า ปรมาตมัน หรือตรีมูรติ หรือนิพพาน หรือองค์พระผู้เป็เเจ้่ เป็นผู้สร้าง เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคนในศาสนาพราหมณ์มาก่อน ชื่อของท่านตอนที่บวชคือ "มุนีสมณะ" หรือ "ศากยะมุนี" อาจารย์ของท่านก็เป็นพราหมณ์ 2 คน ชื่อ อุทกดาบส และอาฬารดาบส

    พราหมณ์ทุกคน รวมทั้งพระพุทธเจ้าด้วย ค้าหาสิ่งเดียวกันคือ "โมกษะ" = ทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ = ไปรวมกับปรมาตมันหรือนิพพาน

    การที่พระพุทธองค์ไม่สอนถึงผู้ยิงศรใส่เรา คือตัวเราเอง หรือตัวมึง และตัวกูเอง เป็นผู้ยิงศรใส่ตัวเอง เมื่อคนๆนั้นเป็นพระอรหันต์ สามารถกำจัดกิเลสตัณหาอวิชชาได้แล้ว เขาก็ย่อมต้องรู้เองว่า:

    "กูเองนั่นแหละ ที่ยิงศรใส่ตัวกูเองจากการคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหาอวิชชา"

    พระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาตามพระฉายของพระเจ้า--- พระเจ้าต่างจากมนุษย์ตรงที่จิตของท่านมหาบริสุทธิ์ แต่จิตมนุษย์ยังสกปรกอยู่ เพราะยังมีความโลภ โกรธ หลง และความยึดมั่นถือมั่นอยู่ เมื่อเราขจัดสิ่งสรกปรกเหล่านั้นไปได้ เราก็จะหมดความทุกข์ กลายเป็นพระเจ้า(พุทธะ)ของเราตามเดิม
     
  7. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ปัญญินทรีย์

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    สูกรขาตวรรคที่ ๖
    โกสลสูตร
    ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
    [๑๐๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า.


    [๑๐๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช(ราชสีห์) โลกกล่าว ว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด
    บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.


    [๑๐๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ
    สัทธินทรีย์ เป็น โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
    วิริยินทรีย์ เป็น โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
    สตินทรีย์ เป็น โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
    สมาธินทรีย์ เป็น โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
    ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้


    [๑๐๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าว ว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด
    บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

    จบ สูตรที่ ๑
    _____________________________________________



    มรรคจิต...มรรคสมังคี...โพธิปักขิยธรรม...???

    รวม...เล็ง...ยิง...???

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  8. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ขอโทษด้วยครับที่ไม่ลงฉบับเต็ม จริงๆแล้วอยากให้อ่านง่ายๆ
    ฉบับเต็มอ่านยากอยู่ ลองดูครับ
    วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๔ ขันธนิเทศ หน้าที่ ๑ - ๕ - วิกิซอร์ซ
     
  9. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    คำสั่งเสีย

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค๓.
    มหาปรินิพ
    พานสูตร (๑๖)
    .
    .
    .
    [๑๐๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลาประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

    ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรม เหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากด้วยดี โดยประการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ของชน เป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    ก็ธรรมที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่เรา แสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ... ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาสาธุครับ ความเข้าใจเกิดได้แก่บุคคลที่ตั้งมั่นด้วยความเพียร

    เพียงแค่รู้ แต่ไม่เข้าใจ ย่อมแก้ปัญหาไม่ได้ ฉันใด รู้เพียงแต่ธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจในธรรมได้ ฉันนั้น

    สาธุครับ
     
  11. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    ปัญญามีกี่อย่าง​


    ปัญหาข้อว่า “ปัญญามีกี่อย่าง” วิสัชชนาว่า อันดับแรก ว่าโดยลักษณะ
    คือการแทงตลอดสภาวธรรม ปัญญามีอย่างเดียวเท่านั้น

    ปัญญามี ๒ อย่างคือ โลกียปัญญา ๑ และโลกุตตรปัญญา ๑ เป็น
    ๒ อย่าง โดยนัยอย่างเดียวกันนั้น คือ ปัญญามีอาสวะ ๑ และไม่มีอาสวะ ๑
    ปัญญาที่กำหนดนาม ๑ และที่กำหนดรูป ๑ ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสมนัส ๑ และที่
    เกิดร่วมกับอุเบกขา ๑ ปัญญาที่เป็นทัสสนภูมิ ๑ และที่เป็นภาวนาภูมิ ๑

    ปัญญาเป็น ๓ อย่าง คือเป็นจินตามยปัญญา ๑ สุตมยปัญญา ๑
    และภาวนามยปัญญา ๑ โดยนัยเดียวกันนั้นคือ ปัญญาที่เป็นปริตตารัมมณะ ๑
    ที่เป็นมหัคคตารัมมณะ ๑ และที่เป็นอัปปมาณารัมมณะ ๑ ปัญญาที่เป็น
    อายโกศล ๑ ที่เป็นอปายโกศล ๑ และที่เป็นอุปายโกศล ๑ และปัญญาโดย
    อภินิเวส ๓ มีอัชฌัตตาภินิเวส (มุ่งมั่นข้างใน) เป็นต้น

    ปัญญาเป็น ๔ อย่าง คือเป็นญาณในสัจ ๔ และเป็นปฏิสัมภิทา ๔
    ในส่วนแห่งปัญญาเหล่านั้น ปัญญาที่เป็นอย่างเดียว มีเนื้อความชัดเจนแล้ว
     
  12. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ยังต้องศึกษา อีกมากนะขจรเส้นขนมจีน 555 อันนี้ไม่แก้ให้นะครับ เพราะมันเหมือนคำพูดคนบ้า ไม่รู้จะแก้ไง ครับ เอาเป็นว่า ปัญญา คือ ทำลายความไม่รู้ คือ การทำลายอวิชชา นั้นเป็นความเข้าใจผิด
    ที่พบบ่อย ในหมู่ชาวพุทธ

    เรื่องนี้อธิบายยากครับ ถ้าใครเคยอ่าน งานของท่านนาครชุน ก็จะรู้ครับว่า ความเข้าใจแบบนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ นึกถึงเรื่องบัวคือปัญญา อวิชชาคือโคลนตมไว้ครับ ไม่มีโคลนแล้วจะมีบัวได้ไง ทำลายโคลนหมดก็ไม่มีบัวครับ...

    ท่านติช นัทท์ ฮัทท์ หรือ พุทธทาส ท่านเน้นประเด็นนี้ชัดครับลองไปอ่านสักเล่มสองเล่มสิ ....

    อยากได้คำอธิบายเพิ่มมาถามทีหลังเองนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...