อาทิสมานกายและการฝึกพลังจิต

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย bluebaby2, 23 มิถุนายน 2012.

  1. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    อาทิสมานิกาย : หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
    เนื่องจากการทำสมาธิมีความมุ่งห<wbr>มายที่จะเสริมพลังจิต ดังนั้นการที่ผู้จะเริ่มต้นเข้า<wbr>สู่จุดแรกจึงมีความจำเป็นจะต้อง<wbr>ทราบข้อเท็จจริงของอาทิสมานกาย เพราะว่าเขาคือผู้ที่จะรองรับพลังจิตนี้โดยความที่เป็นหน่วยประ<wbr>สานงาน กายหยาบที่เราเห็นกันอยู่นี้เป็<wbr>นตัวประสานภายนอก ถ้าไม่มีกายหยาบเราจะอธิบายหรือ<wbr>พูดกันไม่รู้เรื่องเพราะไม่มีสั<wbr>มผัส การชี้บอกหรือบ่งบอกสื่อสารกันต้องเป็นกายหยาบการรวบรวมก่อนเกิ<wbr>ดความรู้สึกเป็นกายละเอียด เพราะเป็นผู้ประสานระหว่างจิต ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ไม้เข้าใจ<wbr>รายระเอียด คือ จับจุดไม่ได้ สมาธิจะไม่รับการประสานที่ดีแม้<wbr>ผู้นั้นมีสมาธิแต่เขาไม่ทราบข้อ<wbr>เท็จจริงของอาทิสมานกาย ก็เท่ากับสื่อสารไม่ดี ขาดระบบ แม้กายหยาบก็เช่นกันถ้าเขาใช้กา<wbr>รสื่อสารแบบโบราณอยู่หรือจะสื่อ<wbr>ออกมาได้ "ข้าพเจ้าจะอยู่ยังไงก็อย่างนั้<wbr>น ก็เท่ากับเสียประโยชน์เพราะปัจจุบันสื่อกันแค่วินาทีเดียว" ก็เหมือนผู้ทำสมาธิไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาทิสมาน<wbr>กายทำให้สื่อได้ช้าเสียเวลา ข้าพเจ้าขอสำทับว่ามีความจำเป็น<wbr>อย่างยิ่งที่เราจะต้องสัมผัสกับ<wbr>อาทิสมานกายให้ได้ ก้าวไกลออกไปในเรื่องนี้คือ การขยายโครงสร้างของอาทิสมานกาย<wbr>ด้วยพลังจิต สิ่งที่เกิดขึ้นในกายละเอียดนี้<wbr>เป็นความสังเกต หมายถึงความลึกของจิต เราจะเข้าใจก็ต่อเมื่อเกิดกระแส<wbr>จิตอย่างไรก็ตามเราจะต้องเข้าใจ<wbr>ว่าเวลานี้เรายังไม่รู้ไม่เห็นอ<wbr>าทิสมานกาย แต่มันเป็นความจำเป็นที่จะต้องท<wbr>ราบล่วงหน้า ทั้งนี้เพราะต้องการให้นักศึกษา<wbr>ครูสมาธิจะได้รู้จักแนวทางเอาไว้ คือมีความจำเป็นอย่างหนึ่งของกา<wbr>รพัฒนาสมาธิ อย่างไรก็ตามการทำสมาธิก็ทำไปตา<wbr>มปกติ ดีบ้างไม่ดีบ้าง ไม่เป็นไร มีหน้าที่คือทำสมาธิอย่างเดียว หมายความว่าทำไปเรื่ิอยๆ สำหรับการสื่อสารของอาทิสมานกาย<wbr>นั้น จะชัดเจนก็ต่อเมื่อเกิด "วสี" คือความชำนาญ การจับทางสมาธิได้ดังที่อธิบายว่าเวลาจิตสงบอาการเป็นอย่างไร ในเรื่องอาทิสมานกาย ยังมีสิ่งจะต้องทำความเข้าใจอีก<wbr>มากนักจะได้หาวิธีเจาะลึกต่อไป

    ก่อนแต่จิตจะเริ่มต้น คือกำลังเข้าสู่ความสงบอันเป็นส<wbr>มาธิ จึงเป็นแหล่งแห่งความเริ่มขึ้นอ<wbr>ย่างมีความหมาย ใคร่จะเปรียบเทียบถึงคนที่เกิดม<wbr>าเป็นมนุษย์ ถ้าแรกเกิดไม่มี ก็ไม่มีมนุษย์เพราะแรกเกิดมี จึงมีมนุษย์ แต่เมื่อแรกเกิดมาครั้งแรกนั้นห<wbr>ากไม่ดูแล เด็กจะตายเรียกว่าสูญสิ้นแห่งชา<wbr>ติแต่ถ้าดูแลดีๆ ก็ช่วยสร้างชาติ ประเทศชาติจะอยู่ได้เพราะมีเด็ก<wbr>เกิดมา และเกิดมาดูแลกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีมนุษย์โลกเกิดขึ้นเป็นโลกก<wbr>ว้างมีปบระเทศทั่วโลก เราจะเปรียบถึงจิตใจที่ถูกให้เกิดความสงบ


    ครั้งแรกจำเป็นตัองกำหนดรู้ให้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง เพือทำการดูแลรักษาให้เป็นอิสระ<wbr> เพื่จะได้มีการวิวัฒนาการต่อไปอ<wbr>ย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่<wbr>จะต้องทราบอย่างถ่องแท้ และการอธิบายก็ต้องลึกซึ้งละเอี<wbr>ยดถี่ยิบเพื่อความเข้าใจอันดี

    สิ่งที่เรียกว่าแรกเกิดของจิตรว<wbr>มนั้น คือการเริ่มสมาธิอันกำลังจะก่อตัวขึ้น จึงจำเป็นต้องดูแลให้ดี มิฉะนั้นสมาธิจะก่อตัวเป็นความจ<wbr>ริงต่อไม่ได้ มันจะสูญสิ้นไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นเพื่อดำเนินการก่อให้เกิ<wbr>ดนับว่าสำคัญ เกิดมาแล้วรักษาให้เจริญงอกงามก็นับว่าสำคัญ จึงจำเป็นต้องพบตัวจริงของสมาธิ<wbr>ให้จงได้เสียก่อรอันดับแรก อะไรเป็นตัวจริงของสมาธิ? นี่คืิอคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเช่นเดียวกัน ดังนั้นถึงต้องหาคำตอบ

    ในที่นี้มีสิ่่งที่ต้องทำความเข้าใจ คือการกำหนดว่ากายนี้คือกายหยาบ<wbr> นี่คือกายละเอียด นี่คืิจิตหยาบ นี่คือจิตละเอียด

    กายหยาบคือร่างกาย ร่างกาย มีขาสองขา สองแขน ศีรษะหนึ่งเป็นรูป ถูกกำหนดว่าเป็นกายหยาบ กายหยาบกำหนดให้ใช้ทำงานอย่างไร<wbr> ให้ใช้เพื่อประสานงานระหว่างกาย<wbr>กับใจ เพราะเราบังคับให้ทำงานไปได้ทุก<wbr>ๆ อย่าง ตามความต้องการของใจ กายหยาบจะรับความรู้สึก ดังนั้นจุดเริ่มต้นจึงต้องมีกาย<wbr>หยาบมิฉะนั้นจะทำสมาธิขึ้นมาไม่<wbr>ได้ แต่กายหยาบมีจำกัดเวลา เช่น 50-100 ปี หมดสภาพจะใช้อะไรก็ใช้เสียในระย<wbr>ะกาลเวลา คนเราจึงมาเข้าใจเอาว่าเราคือกา<wbr>ยหยาบ ทำสารพัดตามความอยากของใจคนกายห<wbr>ยาบรับไหวบ้างไม่ไหวบ้่าง ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดที่เป็<wbr>นธรรมในการมีสมาธิ เพราะจำเป็นต้องทำให้เกิดผลประโ<wbr>ยชน์อันที่ถูกกำหนดขึ้นจากความเ<wbr>ป็นจริงของพระพุทธเจ้าคือสมาธิ โดยอาศัยกายหยาบนี้ประสานงานให้<wbr>เกิดความจริงที่ถูกกำหนดขึ้นโดย<wbr>ธรรมที่ถูกกลั่นกรองเข้ามา

    มาพูดถึงการกำหนดกายละเอียด หมายถึงกายทิพย์ หรืออาทิสมานกายนี้ จะมีอยู่ภายในที่ใกล้เคียงกับใจ<wbr>ที่สุด แต่กายทิพย์นี้จะมาประสานกายกับ<wbr>ใจเหมือนกายหยาบไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในบังคับของใจ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากายทิพย์จะแสดงออกได้เมื่อสภาพกายหยาบไม่สามารถแสดงได้<wbr> แต่ใจที่ถูกอบรมมาขั้นหนึ่งจึงจ<wbr>ะเข้ามาสัมผัสกายทิพย์ได้ ดังนั้นกายทิพย์จึงถูกกำหนดขึ้น<wbr>อย่างลับๆ ซึ่งจะต้ิงลี้ลับสำหรับบุคคลที่<wbr>มีกายหยาบ บางทีกายทิพย์นี้ต้องทำงานเมื่อ<wbr>กายหยาบหมดสภาพคีนตาย กายทิพย์จะทำงาน 100 เปอร์เซนต์ จึงเป็นความลี้ลับของกายอหยาบอย่างยิ่ง เราอาจจะสัมผัสกายทิพย์อย่างไม่<wbr>รู้ตัว เพราะหยาบกับละเอียดอยู่ด้วยกัน<wbr> ดังนั้นจึงต้องศึกษาเอาไว้เพียง<wbr>เท่านี้ก่อน เพื่อป้องกันการสับสนเดี๋ยวจะเกิดความหงุดหงิด

    ย้อนกลับมาพูดอีกทีว่า จิตหยาบ จิตละเอียด เพราะจิตหยาบอยู่กับกาย เป็นไปตามเรื่องของอารมณ์ สัญยาคิดไปตามเรื่องราว ในเรื่องตาเห็น กล้องจุลทรรศ์เห็น เอกซ์เรย์เห็นคิดค้นหาความเจิรญ<wbr>งอกงามตามความวิวัฒนาการของสมอง<wbr>มนุษย์ การพิสูจน์ต้องด้วยเทคนิควิทยาศ<wbr>าสตร์ จึงจะพิสูจน์ได้ แต่อาทิสมานกายจะทำการพิสูจน์อย่างนั้นไม่ได้เพราะนี่คือกายทิพ<wbr>ย์จิตละเอียด เพราะฉะนั้นจึงถูกกำหนดว่า "กายทิพย์" อย่างไรก็ตาม กายทิพย์เกิดขึ้นด้วยความสามารถ<wbr>แห่งการเจริญสมาธิของผู้บำเพ็ญส<wbr>มาธิ แม้เช่นนั้นก็ไม่สมควรจะจินตนาก<wbr>ารให้มากเกินไป ที่จริงที่กล่าวมานี้เพียงชี้แน<wbr>วทาง เพื่อให้เข้าใจไว้บ้างเท่านั้น แม้มันลี้ลับก็ควรรู้ความจริงไว้ในบางส่วน ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการกำหนดจึงควรทำให้เกิดความสุขในระดับคร<wbr>อบครัวและระดับทำกิจการงาน ระดับให้เกิดความฉลาดในการดำรงชีวิต มีความสุขอันมีการเป็นได้ระดับห<wbr>นึ่งของความโปร่งใส โดยกำหนดเอาขั้นพื้นฐานก็ใช้ได้<wbr>เพียงพอ

    เพื่อความกระจ่่างในเรื่องของอา<wbr>ทิสมานกาย จึงมีการกำหนดลงไปว่า จิตเข้าภวังค์เท่านั้นที่จิตจะอ<wbr>ยู่นิ่งที่อาทิสมานกาย เมื่อจิตเข้าสู่กายละเอียดแล้วทำไมร่างกายจึงไม่ตาย อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกาย<wbr>หยาบและกายละเอียดตรงนี้จงเข้าใ<wbr>จว่า อาทิสมานกายนั้นแม้จะเข้าใจว่าต้องแยกกันแต่หาได้แยกกันไม่ อาทิสมานกายก็ยังคงอยู่ในกายหยา<wbr>บนี้เอง เพราะความสัมพันธ์ระหว่างกายหยา<wbr>บกายละเอียดจะอยู่ตรงขันธ์ 5 คือร่างกาย

    รูป คือ ร่างกาย
    เวทนา คือ ความเสวยสุข-ทุกข์
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
    สังขาร คือ ความปรุงแต่ง
    วิญญาณ คือ ความรู้

    เมื่อเวลานอนหลับ หมายถึงจิตเข้าภวังค์ ย่น เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ที่กายละเอียด เมื่ออยู่ตรงนี้แล้วทั้ง 4 อย่าง จะลดระดับการทำงาน ส่วนวิญญาณนั้นจะประสานงานด้วยก<wbr>ารสั่งงานของจิต พิทักษ์ชีวิต จากนั้นจะติดต่อมายังร่่งกายในส่วนสำคัญ คือลมหายใจ เมื่อวิญญาณได้จังหวะคือพอกับเว<wbr>ลา ก็จะกระตุ้น เวทนา สัญญา สังขาร ทั้ง 3 อย่าง หรือ 3 ขันธ์ นี้ให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ แต่ถ้าอาทิสมานกายพร้อมด้วย 4 ประการนั้นออกจากร่างกายโดยไปแล<wbr>ะไม่กลับ ก็ชื่อว่าสินชีวิตร่างกายเน่าเปื่อยสลายตัวไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...