อิทัปปัจจยตา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 5 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๑๘/๔๙๔
    ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
    สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
    ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวล
    เข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆ
    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้
    ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
    ลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วย
    สามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมี
    ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า
    สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
    และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอน
    อัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราช
    ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้.
    แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
    และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้ง
    หลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์
    เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี
    เพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลาย จงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์
    เพื่อสุขตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้
    กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความ
    ดำริอย่างนี้หรือว่า คนย่อมนำไปเผาเสีย ซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย. ความดำรินั้นไม่
    มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วย
    ตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ
    สิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน
    ฉันนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่
    ของท่านทั้งหลาย ... วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด
    วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุ
    อย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
    และสมจริงตามภาษิตว่า
    ดูกรคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมล้วนและความ
    สืบต่อแห่งสังขารล้วน ตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็น
    ขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่
    ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
    นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารรู้ลามกว่า
    ดูกรมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์ ร่างกายนี้เป็นกอง
    แห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะเรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขาร
    ล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมีเพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อ
    ขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์อย่างเดียว
    ย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
    แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
    และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้น
    แหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอด
    ถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้น ค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา ...
    สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี
    ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุนั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวล
    อะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
     

แชร์หน้านี้

Loading...