อุบายในการละการเพ่งโทษผู้อื่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เดี่ยว7, 20 ตุลาคม 2008.

  1. เดี่ยว7

    เดี่ยว7 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +10
    อุบายในการละการเพ่งโทษผู้อื่น
    [​IMG]<O:p></O:p>
    ถาม :จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะหายากที่เพ่งโทษผู้อื่นได้ขาดเช่นเวลาเห็นคนทั้งหลายประพฤติกายทุจริตวจีทุจริตทำใจให้ประกอบด้วยความเมตตากรุณาใจที่เพ่งโทษอาจหายไปได้ชั่วคราว
    <O:pแต่พอเมตตากรุณาเสื่อมไปใจชนิดนั้นอาจเกิดขึ้นได้อีกข้าพเจ้าไม่มีอุบายที่จะละได้เพราะฉะนั้นจึงต้องหนีจากหมู่ขึ้นมาอยู่กับเขาขอท่านจงช่วยบอกอุบายให้ด้วย
    [​IMG]<O:p
    ตอบ :การเพ่งโทษคนอื่นนั้นสำคัญนักเพราะขาดเมตตากรุณาเป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตนและคนอื่นสมด้วยพระพุทธภาษิตว่า
    <O:pปรวชฺชานุปสฺสิสฺสะ เมื่อบุคคล มักตามมองดูซึ่งโทษของผู้อื่น<O:p
    นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน เป็นผู้มีความหมายจะยกโทษอยู่เป็นนิจ<O:p
    อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลนั้น<O:p
    อารา โส อาสวกฺขยา บุคคลนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
    [​IMG]<O:p
    เพราะฉะนั้นควรทำในใจให้แยกออกไปเป็นอริยสัจ ๔<O:p
    ส่วนบุคคลนั้นต้องทำความเห็นว่าเป็นขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) หรืออายตนะ๖(อายตนะ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจซึ่งสิ่งที่เราใช้รับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง จิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก) เป็นประเภททุกขสัจ(สภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ยั่งยืนคงทนอันเป็น ตัวทุกข์)
    [​IMG]<O:p
    ความประพฤติชั่วด้วยกายวาจา ใจ ของบุคคลนั้นเป็นสมุทัย(สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหาคือความอยากได้อยากเป็น ไม่อยากได้ไม่อยากเป็น
    เช่นเมื่อตาเห็นสิ่งของเกิดความอยากได้สิ่งของที่ตามองเห็น สมุทัยความอยากก็ปรากฏขึ้น
    ทีนี้พอมีความอยากปรากฏขึ้นแล้วจิตเองหลงไปตามความอยากจิตก็จะมีความดิ้นรนให้ได้สิ่งของนั้นมา
    จิตที่ดิ้นรนไปตามอำนาจของความอยากนั้นเองคือทุกข์ที่เกิดขึ้นจากเหตซึ่งเหตุก็ุคือความอยาก เรียกว่าสมุทัย ) เพราะเขาไม่ได้เจริญมรรคจึงไม่ถึงนิโรธ<O:p
    เพราะฉะนั้นถ้าไม่ชอบ หรือเพ่งโทษว่าไม่ดีก็ต้องเพ่งส่วนสมุทัย<O:p
    ส่วนคนนั้นเป็นขันธ์ ๕ หรืออายตนะ ๖กลับจะน่าสงสาร<O:p
    เพราะการทำผิดเช่นนั้น เป็นส่วนสมุทัย(ตัณหา)ให้ทำ<O:p
    เพราะผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติก็มีอริยสัจ ๒<O:p
    ขันธ์๕ อายตนะ๖ นั้นเป็นทุกขสัจ
    <O:pกิเลสความอยากนั้นเป็นสมุทัยจึงได้ประพฤติกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริต
    [​IMG]<O:p
    เหมือนทารกที่ไม่รู้จักไฟจึงได้จับเพราะไม่ทราบว่าร้อน
    ส่วนผู้ใหญ่เขาไม่จับเพราะเขารู้ว่าร้อนข้อนี้ฉันใดผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติฉันนั้น<O:p
    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2008
  2. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
  3. เดี่ยว7

    เดี่ยว7 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +10
    [​IMG]
    ถาม : ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติมีอริยสัจ๒ คือทุกข์กับสมุทัย เวลาที่เข้าไปเพ่งโทษ ขันธ์๕ อายตนะ๖ ของเราเป็นทุกขสัจ
    การเพ่งโทษเขานั้นเป็นสมุทัย เวลานั้นเรากับเขาก็ไม่แปลกอะไรกัน
    เพราะมีแต่ทุกข์กับสมุทัย ๒ อย่างเท่านั้น
    ตอบ : ถูกแล้ว ถ้าไม่ทำความเห็นให้เป็นอริยสัจ๔ ก็ยากที่จะหายจากใจที่เพ่งโทษคนอื่น
     
  4. เดี่ยว7

    เดี่ยว7 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +10
    [​IMG]
    ถาม : ถ้าเช่นนั้นแล้ว พระเสขบุคคลทั้งหลาย(พระเสขบุคคล หมายถึง บุคคลยังต้องศึกษาในสิกขา ๓ เพื่อดับกิเลส ได้แก่ บุคคล ๗ ประเภทคือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคมิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหันตมรรค )ผู้ทำกิจของอริยสัจ ๔ ท่านคงไม่มีความเพ่งโทษผู้อื่นกระมัง
    ตอบ : แน่ทีเดียว ข้าพเจ้าเข้าใจว่าพระเสขบุคคลทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั้น ย่อมจะไม่เพ่งโทษคนอื่น จึงได้พ้นจากความเบียดเบียน
    เพราะพ้นจากความเบียดเบียนจึงพ้นจากบาป
    เพราะพ้นจากบาปจึงพ้นจากทุคติ
    คือได้ทำกิจของอริยสัจ ๔ ท่านจึงมีความเพ่งโทษใครๆ อาสวะทั้งหลายนั้นจึงไม่เจริญขึ้น(อาสวะกิเลส หมายถึง กิเลสสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือรับคุณธรรมได้ยาก ที่แอบซ่อนนอนเนื่องซึมซาบย้อมจิต เพียงรอสิ่งที่มากวน มากระตุ้นเร้าให้กิเลสที่นอนเนื่องตกตะกอนนอนก้น คืออยู่ในลักษณาการที่ดับลงไปอย่างชั่วคราวที่อยู่ในจิตให้ขุ่นมัวคุกรุ่นขึ้นมาเป็นกิเลสหรือองค์ธรรมสังขารกิเลสต่อไปนั่นเอง) ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จนเป็นพระอเสขบุคคล( พระอรหันต์ ผู้ชื่อว่า อเสขบุคคล พระอเสขบุคคล คือ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษา อะไรอื่นอีกต่อไป)
    [​IMG]

    จากหนังสือ" ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้" โดยพระอาจารย์ลี ธัมมธโร
     
  5. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "เพราะพ้นจากความเบียดเบียนจึงพ้นจากบาป
    เพราะพ้นจากบาปจึงพ้นจากทุคติ"


    ขออนุโมทนาค่ะ


     

แชร์หน้านี้

Loading...