เจริญโพชฌงค์ ๗ ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 5 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๕๖/๔๑๓
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผล
    มาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้ว
    อย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ
    ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย
    ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย
    ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หาย
    ใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา
    เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนา
    ชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแลในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาใน
    เวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้
    ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายใน
    สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
    เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน
    กิเลส หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้
    วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่า
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ในสมัยนั้น
    สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้น
    อยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึง
    ความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วย
    ปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วย
    ปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว
    ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติ
    สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจ
    เกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ ในสมัยนั้น
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุ
    ผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาเห็นกายในกาย

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๕๒/๓๖๔
    [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับ
    กายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    กายสังขารเป็นไฉน ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
    เป็นกายสังขาร ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
    บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจ
    เข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
    เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป
    ความน้อมไปความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง
    แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไปความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความ
    ไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะ
    กายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า
    จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย
    สังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่
    ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ
    และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า
    จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้ ความ
    ได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ
    และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตี
    กังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อย
    ลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อ
    เสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็
    เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำ
    ด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่
    หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย
    นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและ
    ลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิต
    แห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลม
    อัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า
    ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล
    ย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา
    คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๕๓/๓๖๔
    [๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่นเมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุ
    บางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา
    โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พิจารณาเห็นจิตในจิต

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๕๔/๓๖๔
    [๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯเมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติ
    ปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพฯลฯ ภิกษุบาง
    รูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
    จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญ
    ญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า
    สติปัฏฐานภาวนา ฯ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พิจารณาธรรมในธรรม

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๖๐/๓๖๔
    [๔๑๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    คำว่า อนิจฺจํ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ากระไร
    ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
    ไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์
    ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ เมื่อเห็นความ
    เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้ ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความ
    ไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและ
    มรณะ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรม
    ทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสนา
    ญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วย
    สตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณา
    ธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
     
  6. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    กราบโมทนา สาธุ
    ในบุญกุศลที่ได้เผยแพร่
    พระธรรมด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...