เป็นเทวดา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 14 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    การได้เกิดเป็นเทวดา เป็นผลของกุศลกรรม เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ไม่พ้น
    ไปจากจิต เจตสิก และ รูป เลย สำหรับมนุษย์ที่ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ซึ่งเป็น
    การเกิดผุดขึ้นทันที คือ เป็นโอปปาติกกำเนิด ย่อมสามารถรู้ได้ว่าในชาติก่อนนั้นท่าน
    เกิดเป็นใคร และทำกรรมอะไรมาจึงได้มาเกิดในสวรรค์(เป็นเทวดา) ท่านย่อมสามารถ
    จำได้ เนื่องจากว่าช่วงเวลาระหว่างการเกิดเป็นบุคคลใหม่กับบุคคลเก่า ต่อเนื่องกัน
    ทันที จากประเด็นคำถามที่ถามมานั้น ก็พอจะตอบได้ดังกล่าวมานี้ เช่น ท้าวสักกะ
    ซึ่งเป็นเทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก่อนที่ท่านจะได้เกิดเป็นท้าวสักกะนั้น

    ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่ามฆมาณพ ได้เจริญกุศลทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์
    ด้วยกันมากมาย จนท่านได้สหายในการร่วมกันทำกุศล รวม ๓๓ คน (พร้อมทั้งบำเพ็ญ
    วัตรบท ๗ ประการ คือ เลี้ยงดูมารดาบิดา, มีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, พูดอ่อนหวาน,
    ละเว้นวาจาส่อเสียด,พูดคำสัตย์, เป็นผู้กำจัดความตระหนี่,ไม่มักโกรธ) ท่านมีภรรยา๔
    คน คือ นางสุนันทา นางสุจิตรา นางสุธรรมา และ นางสุชาดา ๓ คนแรกมีส่วนใน
    การเจริญกุศลกับท่าน มีแต่นางสุชาดาเท่านั้นที่ประมาทมัวเมาไม่ได้มีส่วนในการ
    เจริญกุศล เมื่อเป็นเช่นนี้ ชนเหล่านั้นเมื่อตายจากการเป็นมนุษย์แล้ว ท่านได้เกิดเป็น
    ท้าวสักกะ ภรรยา ๓ คน สหายทั้งหมดก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เช่นเดียวกัน
    ซึ่งท้าวสักกะท่านก็รู้ว่าอดีตภรรยาของท่านเกิดในสวรรค์เพียง ๓ คน ยกเว้นนาง
    สุชาดาคนเดียวเท่านั้นที่ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน แต่ในตอนหลังท่านลงมามาเกื้อกูล
    จนทำให้จากชาติที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ได้เกิดเป็นมนุษย์ในกรุงพาราณสี ต่อจากชาติ
    ที่เป็นมนุษย์นั้นจึงได้ไปเกิดเป็นธิดาของท้าวเวปจิตติจอมอสูร และได้เป็นมเหสีของ
    ท้าวสักกะในที่สุด แล้วท่านเหล่านั้น จำกันได้หรือเปล่าว่าใครเป็นใคร? ย่อมจำได้
    ย่อมรู้จัก
    ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรม คือเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรม
    ตามความเป็นจริง เพื่อละคลายความไม่รู้ และ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพ
    ธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล
    เทวดาบางครั้งจำได้เพราะว่าการเกิดนั้นเกิด
    ต่อทันที ก็จำกันได้บางครั้ง แต่สำหรับมนุษย์นั้นที่จำกันไมได้ส่วนใหญ่ จำชาติก่อน
    ไม่ได้เพระว่าต้องอยู่ในครรภ์เป็นตัวเล็กๆก่อน ต้องอาศัยเวลาในการเจริญเติบโต
    เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ก็จำไม่ค่อยได้ เว้นแต่พระโพธิสัตว์หรือผู้ที่สามารถรระลึกถึงชาติ
    ก่อนได้บ้างเท่านั้น ส่วนเทวดาส่วนใหญ่จะจำได้ตามที่อาจารย์คำปั่นได้กล่าวแล้วคือ
    ระยะเวลาในการเกิด เกิดทันที แต่ก็มีเทวดาบางพวกที่จำกันไมได้ แม้เป็นพี่น้องกัน
    น้องจำพี่ได้ แต่พี่จำน้องไม่ได้ น้องเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ส่วนผู้พี่เกิดที่ดาวดึงส์
    ในเรื่องของนางสุภัททาและภัททา(วิมานวัตถุ)
    สภาวรูป หมายถึง รูปที่มีภาวะของตน ซึ่งเป็นลักษณะที่ปราฏให้รู้ได้ เช่น สี มี
    ลักษณะปรากฏให้รู้ได้ทางจักขุทวาร, เสียง มีลักษณะปรากฏให้รู้ได้ทางโสตทวาร
    เป็นต้น สภาวรูป มีทั้งหมด ๑๘ รูป คือ ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุไฟ ๑ ธาตุลม ๑
    (ซึ่งเป็นมหาภูตรูป ๔) จักขุปสาท ๑ โสตปสาท ๑ ฆานปสาท ๑ ชิวหาปสาท ๑
    กายปสาท ๑ (ซึ่งเป็นปสาทรูป ๕) อิตถีภาวรูป ๑ ปุริสภาวรูป ๑ (ซึ่งเป็นภาวรูป ๒)
    สี ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ และ โอชารูป ๑ รวมเป็นสภาวรูป
    ๑๘ รูป
    สภาวรูปทุกรูปมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะ (เพราะเหตุว่าจิต ๑
    ขณะใหญ่ มี ๓ อนุขณะย่อย )
    ที่ถามว่า ๑๗ ขณะจิตนั้น ประกอบด้วยจิตประเภทใดบ้างนั้น เป็นเรื่องที่จะต้อง
    พิจารณาเป็นความรู้ความเข้าใจของผู้ที่ศึกษา เพราะเหตุว่าชีวิตประจำวันไม่พ้นไป
    จากนามธรรม(จิตและเจตสิก) และ รูปธรรมเลย มีสภาพธรรมเหล่านี้เกิดดับอยู่ตลอด
    เวลา สำหรับสภาวรูปทุกรูปเกิดขึ้นตามสมุฏฐานของตน ๆ นั้น มีอายุเท่ากับจิตเกิด
    ดับ ๑๗ ขณะอย่างแน่นอน(แต่แม้กระนั้นก็สั้นแสนสั้น)ไม่ว่ารูปนั้นจะเป็นอารมณ์ของจิต
    หรือไม่ได้เป็นอารมณ์ของจิตก็ตาม หรือ จะเป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม
    จำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของพระธรรม
    ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอย่างละเอียด
    แต่ไม่ควรลืมจุดประสงค์ที่แท้จริง
    คือความเข้าใจใน"ลักษณะ"
    ของสภาพธรรม(ที่สมมติด้วยชื่อเพื่อให้เข้าใจ)
    ต้องแยกให้ออก
    ว่า เรื่องราว และ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฎขณะนี้
    ไม่ใช่ขณะเดียวกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
    รู้.......เพื่อละ(ความเห็นผิด)
    การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรมนั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุผลจึงจะเข้าใจ
    ได้แจ่มแจ้ง เช่น จะต้องรู้ว่าสภาพที่เห็นกับสภาพที่ได้ยินนั้นเหมือนกันหรือไม่
    ถ้าเหมือนกัน เหมือนกันอย่างไร ถ้าไม่เหมือน ไม่เหมือนกันอย่างไร สภาพเห็น
    และสภาพได้ยิน เป็นจิตปรมัตถ์ก็จริง แต่ไม่ใช่จิตเดียวกัน เพราะเหตุปัจจัยที่ทำ
    ให้เกิดต่างกัน จิตเห็นนั้น ต้องอาศัยสิ่งที่ปรากฏทางตา กระทบกับจักขุปสาท
    เป็นปัจจัยจึงจะเกิดได้ ส่วนจิตได้ยิน ต้องอาศัยเสียงกระทบกับโสตปสาทเป็น
    ปัจจัยจึงจะเกิดได้ จิตเห็นและ จิตได้ยินมีกิจต่างกันและเกิดจากปัจจัยต่างกัน
    วิถีจิต
    วีถิ ( แนวทาง , ทางเดิน ) + จิตฺต ( จิต )
    จิตที่เป็นไปตามแนวทาง หมายถึง จิตซึ่งรู้อารมณ์ที่ปรากฏในโลกนี้ทางทวาร ๖
    ถ้าเป็นไปตามแนวทางปัญจทวาร เรียกว่า ปัญจทวารวิถีจิต ถ้าเป็นไปตามแนว
    ทางมโนทวาร เรียกว่า มโนทวารวิถีจิต

    ปัญจทวารวิถีจิต
    ปญฺจทฺวาร ( ๕ ทาง ) + วีถิ ( วิถี ) + จิตฺต ( จิต )
    วิถีจิตทางทวาร ๕ หมายถึง วิถีจิตทุกดวงที่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏทางปัญจทวาร
    ทั้งหมด ๑๔ ขณะ ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทวิปัญจวิญญาณ ๑ สัมปฏิจ-
    ฉันนจิต ๑ สันตีรณจิต ๑ โวฏฐัพพนจิต ๑ ชวนจิต ๗ ตทาลัมพณจิต ๒
    มโนทวารวิถีจิต
    มโนทฺวาร ( ทางใจ ) + วีถิ ( แนวทาง , ทางเดิน ) + จิตฺต ( จิต )
    วิถีจิตทางใจ หมายถึง วิถีจิตทุกดวงที่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏทางมโนทวาร ทั้ง
    หมด ๑๐ ขณะ ตั้งแต่มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ชวนจิต ๗ ตทาลัมพณจิต ๒ ( ถ้า
    เป็นอัปปนาวิถี จะมีวิถีจิตไม่ถึง ๑๐ ขณะ และถ้าเป็นขณะที่เข้าสมาบัติ จะมีวิถีจิต
    มากจนนับไม่ได้ )
    อรรถที่เป็นลักษณะของจิตประการที่ ๓ ที่ว่า ชื่อว่าจิต เพราะเป็น
    ธรรมชาติอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก แสดงให้เห็นว่าในชีวิตตามความเป็นจริง
    บางขณะก็เป็นกิเลส บางขณะก็เป็นกรรม บางขณะก็เป็นวิบาก ซึ่งถ้าเข้าใจ
    ชัดในเรื่องวิถีจิต ก็จะเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นพิจารณารู้ว่า ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้
    กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ และคิดนึกนั้น ขณะใดเป็นกิเลส ขณะใดเป็นกรรม และ
    ขณะใดเป็นวิบาก เช่น ขณะที่เห็น :
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่วิบากจิต
    จักขุวิญญาณ เป็นวิบากจิต
    สัมปฏิจฉันนะ เป็นวิบากจิต
    สันตีรณะ เป็นวิบากจิต
    โวฏฐัพพนะ ไม่ใช่วิบากจิต
    ชวนะ ไม่ใช่วิบากจิต
    ตทาลัมพนะ เป็นวิบากจิต
    วิถีจิตทางปัญจทวารมี ๗ วิถี
    วิถีจิตที่ ๑ คือ อาวัชชนวิถี ได้แก่ ปัญจทวารวัชชนจิต
    วิถีจิตที่ ๒ คือ ทวิปัญจวิญญาณจิตดวงหนึ่งดวงใด คือ จักขุวิญญาณ หรือ
    โสตวิญญาณ หรือฆานวิญญาณ หรือชิวหาวิญญาณ หรือกาย
    วิญญาณ
    วิถีจิตที่ ๓ คือ สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ
    จิตดวงหนึ่งดวงใดที่ดับไป
    วิถีจิตที่ ๔ คือ สันตีรณจิต พิจารณาอารมณ์
    วิถีจิตที่ ๕ คือ โวฏฐัพพนจิต ทำกิจกระทำทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิต
    หรือกิริยาจิต (เฉพาะพระอรหันต์) เกิดต่อ
    วิถีจิตที่ ๖ คือ ชวนวิถีจิต โดยศัพท์ “ชวนะ” แปลว่า แล่นไป คือ ไปอย่าง
    เร็วในอารมณ์ด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิตหรือกิริยาจิต ( เฉพาะ
    พระอรหันต์)
    วิถีจิตที่ ๗ คือ ตทาลัมพนวิถี หรือตทารัมมณวิถี ตทาลัมพนวิถีจิตเกิดขึ้น
    กระทำกิจรับรู้อารมณ์ต่อจากชวนวิถีจิต เมื่ออารมณ์นั้นยังไม่
    ดับไปเพราะรูป ๆ หนึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะจิต คือ ...
    ขณะที่รูปเกิดขึ้นกระทบทวารและกระทบ...
    อตีตภวังค์ เป็นขณะจิตที่ ๑
    ภวังคจลนะ เป็นขณะจิตที่ ๒
    ภวังคุปัจเฉทะ เป็นขณะจิตที่ ๓
    ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นขณะจิตที่ ๔
    (ทวิ) ปัญจวิญญาณ เป็นขณะจิตที่ ๕
    สัมปฏิจฉันนะ เป็นขณะจิตที่ ๖
    สันตีรณะ เป็นขณะจิตที่ ๗
    โวฏฐัพพนะ เป็นขณะจิตที่ ๘
    ชวนะที่ ๑ เป็นขณะจิตที่ ๙
    ชวนะที่ ๒ เป็นขณะจิตที่ ๑๐
    ชวนะที่ ๓ เป็นขณะจิตที่ ๑๑
    ชวนะที่ ๔ เป็นขณะจิตที่ ๑๒
    ชวนะที่ ๕ เป็นขณะจิตที่ ๑๓
    ชวนะที่ ๖ เป็นขณะจิตที่ ๑๔
    ชวนะที่ ๗ เป็นขณะจิตที่ ๑๕ ( รวมชวนจิต ๗ ขณะ )

    รวมเป็นอายุของรูปที่เกิดตั้งแต่อตีตภวังคจิตถึงชวนจิตดวงสุดท้าย
    เป็น ๑๕ ขณะ รูปจึงยังไม่ดับ อายุของรูปยังเหลืออีก ๒ ขณะจิต วิสัยของผู้ที่
    เป็นกามบุคคลนั้น เมื่อชวนจิตแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว แต่
    รูปนั้นยังไม่ดับ การสะสมของกรรมในอดีตที่ข้องอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ ย่อมเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นเป็นตทาลัมพนวิถีจิต รับรู้อารมณ์
    นั้นต่ออีก ๒ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิตที่กระทำกิจรู้อารมณ์ต่อจากชวนะวิถีนั้น เป็น
    วิถีจิตสุดท้ายที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารหนึ่ง ๆ และต่อจากวิถีจิตสุดท้ายทาง
    ทวารหนึ่ง ๆ แล้ว ภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อไปจนกว่าวิถีจิตวาระต่อไปจะเกิดขึ้นรู้
    อารมณ์ทางทวารใดทวารหนึ่ง ขณะใดที่เป็นภวังคจิต โลกนี้ไม่ปรากฏ ความ
    ทรงจำทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่
    ปรากฏเลย ขณะที่นอนหลับสนิทเป็นภวังคจิตโดยตลอดนั้น ไม่มีความรู้ ความ
    จำใด ๆ เรื่องโลกนี้เลย และเมื่อจุติจิตเกิดกระทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคล
    นี้ ปฏิสนธิจิตก็เกิดต่อ และวิถีจิตที่จะเกิดต่อไป ก็เป็นเรื่องของโลกอื่นต่อไป แต่
    เมื่อจุติจิตยังไม่เกิด แม้ว่าภวังคจิตจะไม่รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของโลกนี้เลย แต่เมื่อ
    ใดวิถีจิตเกิดขึ้น ก็ยับยั้งไม่ได้ที่จะรู้อารมณ์ของโลกนี้ คือ สี เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ และเรื่องราวต่าง ๆ ของโลกนี้ต่อไปอีก

    คำว่า วิญญาณ เป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต ที่กระทำกิจต่างๆ กันไป เช่น
    ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ได้แก่
    จักขุวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำทัศนกิจ คือ กิจเห็น
    โสตวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำสวนกิจ คือ กิจได้ยิน
    ฆานวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำคายนกิจ คือ กิจได้กลิ่น
    ชิวหาวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำสายนกิจ คือ กิจลิ้มรส
    กายวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำผุสสนกิจ คือ กิจรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
    ที่ (จิต) ชื่อว่า “มนายตนะ” อธิบายในคำว่ามนายตนะนั้น
    มนะ พึงทราบว่า อายตนะ เพราะความหมายว่า เป็นที่อยู่
    อาศัย เป็นบ่อเกิด เป็นที่ประชุม และเป็นเหตุ จริงดังนั้น
    แม้ผัสสะ เป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้ รูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะภายนอก ย่อมประชุมที่มนะ โดยความเป็นอา-
    รมณ์ แม้เพราะความหมายว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุแห่ง
    ผัสสะ เป็นต้น โดยอรรถว่าเป็นสหชาตปัจจัย

    ******************************************
    แต่เดิมก่อนศึกษาคิดว่า วิญญาณ คือ ผี หรือจิตของคนที่ตายไป
    แล้วตามมาช่วย หรือ มาหลอกหลอน มาเข้าฝัน มาจองเวร จาก
    ความเข้าใจผิดเพราะการเชื่อแนวไสยศาสตร์ตามๆ กันไป โดยถูก
    ปลูกฝังให้ไหว้ ให้สักการะ โดยไม่มีเหตุผลอธิบายแจ่มแจ้ง บอก
    เราแต่เพียงว่าไม่ให้ลบหลู่ เดี๋ยวจะอยู่ไม่เป็นสุข
    ปัญจวิญญาณธาตุ
    ปญฺจ ( ห้า ) + วิญฺญาณ ( สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ) + ธาตุ ( สภาพที่ทรงไว้ , สภาพที่
    ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน )
    วิญญาณธาตุ ๕ หมายถึง สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน คือ จิต ซึ่งเป็นธาตุ
    ๕ อย่าง ได้แก่
    ๑. จักขุวิญญาณาตุ ( จักขุวิญญาณ ๒ ดวง )
    ๒. โสตวิญญาณาตุ ( โสตวิญญาณ ๒ ดวง )

    ๓. ฆานวิญญาณาตุ ( ฆานวิญญาณ ๒ ดวง )
    ๔. ชิวหาวิญญาณาตุ ( ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง )
    ๕. กายวิญญาณาตุ ( กายวิญญาณ ๒ ดวง )

    ปัญจวิญญาณ
    ปญฺจ ( ห้า ) + วิญฺญาณ ( สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ , จิต )
    จิตซึ่งเกิดที่วัตถุ ๕ หมายถึง จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา
    วิญญาณ กายวิญญาณ อย่างละ ๒ ดวง คือ เป็นกศุลวิบาก ๑ ( ผลของบุญ )
    อกุศลวิบาก ๑ ( ผลของบาป ) รวมเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ( วิญญาณ ๕ ทั้ง
    ๒ ฝ่าย ) เป็นอเหตุกจิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด คือ มีสัพพจิตสาธารณ-
    เจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวงเท่านั้น ( เจตสิกที่เป็นสาธารณะแก่จิตทั้งปวง )
    ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ
    ฉะนั้น ควรระลึกเสมอว่าการศึกษาให้เข้าใจเรื่องจิต เจตสิก รูปนั้น ก็
    เพื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ที่เกิด
    ขึ้นปรากฏแต่ละขณะตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อนจากที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงตรัสรู้และทรงแสดง ถ้าศึกษาเข้าใจอย่างหนึ่งแต่ปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ไม่รู้
    ตรงลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามที่ได้ศึกษา ก็ไม่สามารถที่จะ
    ดับกิเลสได้
    พระไตรปิฎก คือ พระธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงอันเกิดจากพระปัญญา
    ของ พระพุทธเจ้า อันลึกซึ้ง สุดประมาณ ดังนั้น การศึกษาพระไตรปิฎก คือ
    ศึกษา คำสอนของพระปัญญาพระพุทธเจ้าจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้รู้ อ่านเอง
    คิดเองไม่ได้ครับ เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าใจเพราะพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง
    หากแต่ว่าพระไตรปิฎกก็คือ การแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ โดยนัย
    ต่างๆอันสมควรแก่อุปนิสัยของสัตว์โลก ดังนั้น เมื่อศึกษาพระไตรปิฎกก็คือเพื่อ
    เข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสทุกๆประการ นี่คือจุดประสงค์ที่
    ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็จำได้แต่ไม่เป็นไปเพื่อการน้อมประพฤติปฏิบัติคือเพื่อเข้าใจ
    สิ่งที่มีในขณะนี้และเป็นไปเพื่อการละทั้งหมด

    เอาบุญมาฝากได้ร่วมงานถวายสังฆทานมีคนไปถวายสังฆทานเยอะมาก
    และถวายประมาณ 500 ชุด และเมื่อวานนี้ได้ให้อาหารเป็นทานแก่เด๋ก
    และวันนี้ตื่นตั้งแต่ ตี 2 ลุกขึ้นมาฟังธรรมเป็นชั่วโมง เสร็จแล้วสวดมนต์
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญ เทวตานุสติ สีลานุสติ และกรรมฐานอย่างอื่นอีกมากกาย
    ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป ได้สักการะพระธาตุ อาราธนาศีล รักษาศีล
    ได้ให้อาหารสัตว์เป็นทานตามข้างถนนทุกวัน และตั้งใจว่าจะกำหนดอิริยาบทย่อย
    เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ เจริญอนุสติ ฟังธรรม ทำความสะอาดที่สาธารณะ
    ให้ธรรมะเป็นทาน และเมื่อวานนี้และวันนี้ได้ให้อภัยทานด้วย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญนมัสการ หลวงพ่อขาว กลางป่าเขียว วัดพระขาว จังหวัดนครราชสีมา

    ถ้าเอ่ยถึงหลวงพ่อขาว หลายคนคงนึกถึงพระเกจิอาจารย์สักรูปอันเป็นที่เคารพนับถือในวัดแห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ถ้าถามถึงหลวงพ่อขาวกับชาวโคราชแล้ว คนเมืองนี้ส่วนใหญ่หากไม่ร้องอ๋อ!?! ก็อาจจะพยักหน้าหงึกๆยืนยันว่ารู้จักดี เพราะหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปสีขาวนวลองค์มหึมาที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนริมยอดเขา ในวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดพระขาว”

    วัดพระขาว ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันพิสุทธิ์ร่มรื่นเขียวครึ้ม ณ เชิงเขาสีเสียดอ้าหรือ เขาเทพพิทักษ์ หมู่บ้านกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นจากดำริของ พระอาจารย์ท่านพ่อลี (พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) ในปี พ.ศ. 2510 และแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2512 ปัจจุบันมี “พระครูพิทักษ์มัชฌิมเขต” เป็นเจ้าอาวาส

    วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเป็นที่ประดิษฐาน“พระพุทธสกลสีมามงคล” (ชื่อพระราชทาน)หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” ตามรูปลักษณ์และขนาดของพระพุทธรูปองค์นี้ ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะหลายกิโลเมตร

    หลวงพ่อขาว เป็นการสร้างขยายส่วนมาจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีพุทธลักษณะอันงดงามคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย โดยองค์หลวงพ่อขาว หล่อด้วยคอนกรีตทั้งหมดมีน้ำหนักถึง 3000 ตัน หน้าตักกว้าง 13 วา สูงจากพื้นดิน 112 เมตร
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลเทอญ
     
  2. วีระชัยมณี

    วีระชัยมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,128
    ค่าพลัง:
    +2,548
    สาธุครับ...ถ้าอยากไปนมัสการหลวงพ่อขาวนี้ ต้องทำยังไงละครับ....รบกวนบอกทางด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...