เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 มิถุนายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เมตตา คือความปรารถนาดีโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ มีไมตรีจิตอันบริสุทธิ์ ปราศจากความผูกพัน ยึดติด ลุ่มหลง ในผู้ที่ตนแผ่เมตตาอยู่ ถ้ายังหวังผลตอบแทน หรือผูกพัน ยึดติด ลุ่มหลง ก็ไม่นับว่าเป็นเมตตาที่แท้จริง เช่น ความรักระหว่างสามีภรรยาที่ปรารถนาให้คู่ชีวิตเป็นสุข เรียกว่าความรักด้วยตัณหา (ตัณหาเปมะ)ไม่ใช่เมตตาธรรม

    ความรักระหว่างญาติพี่น้อง มักเป็นความผูกพันที่เกิดขึ้นระหว่างบิดามารดาที่มีต่อบุตรธิดา หรือญาติสนิทที่มีต่อกันและกันเรียกว่าความผูกพันในครอบครัว (เคหัสสิตเปมะ) ไม่ใช่เมตตาธรรมเช่นกัน

    เมตตาเป็นความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ไม่ใช่ความรักใคร่หรือความผูกพัน จึงทำให้ผู้อบรมภาวนาเป็นนิตย์มีความสุขใจ อิ่มเอิบใจ ไม่คิดถึง กังวล หรือเศร้าโศกเสียใจ ส่วนความรักใคร่ระหว่างสามีภรรยา และความผูกพันในครอบครัว มีสภาพตรงกันข้าม ความรักใคร่ระหว่างสามีภรรยา เป็นความรักที่เร่าร้อน ความผูกพันในครอบครัวก็มีแต่ความทุกข์ใจ เช่น เมื่อบิดามารดาต้องพลัดพรากจากบุตรธิดา ก็มักจะคิดถึง กังวล เศร้าโศกเสียใจเร่าร้อนกระวนกระวายใจ โดยกลัวว่าบุตรธิดาจะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ประสงค์ ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากความผูกพัน

    พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงลักษณะ หน้าที่ อาการปรากฏ และเหตุใกล้เคียงของเมตตาไว้ดังนี้
    ๑. ลักษณะขอเมตตา คือ ปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น (หิตาการปวตฺติลกฺขณา)
    ๒. หน้าที่ของเมตตา คือ ก่อประโยชน์สุขแก่บุคคลอื่น (หิตูปสงฺหารรสา)
    ๓. อาการปรากฏของเมตตา คือ กำจัดความอาฆาตพยาบาท (อาฆาตวินยปจฺจุปฏิฐานา)
    ๔. เหตุใกล้เคียงของเมตตา คือ ความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อบุคคลอื่น (มนาปภาวปทฏิฐานา)

    เมตตามีสองประเภท คือ
    ๑. เมตตาที่มีขอบเขต จำกัดบุคคล (โอทิสสกเมตตา)
    ๒. เมตตาที่ไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดบุคคล (อโนทิสสกเมตตา)

    ศัตรูของเมตตามีสองประเภท คือ ศัตรูไกลกับศัตรูใกล้ ศัตรูไกล ได้แก่ โทสะ เพราะโทสะเป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับเมตตา ส่วนศัตรูใกล้ ได้แก่ ความรักใคร่ระหว่างสามีภรรยา (ตัณหาเปมะ) และความผูกพันในครอบครัว (เคหัสสิตเปมะ) ในขณะที่แผ่เมตตาแก่ผู้ที่เรารักใคร่หรือผูกพันอยู่ เมตตาที่เกิดก่อนจะกลับกลายไปเป็นความรักใคร่หรือความผูกพันไป

    ________________________________________________________________________-

    จิตชื่อว่า..เมตตา.. เพราะรักชื่อว่า..เจโต.. เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่า..วิมุตติ..เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสที่ครอบงำจิต)ทั้งปวง
    จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย จึงได้ชื่อว่า...เมตตาเจโตวิมุตติ...


    อานิสงส์ ๑๑ ประการของคนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำทำให้ชำนาญ
    ทำให้เจริญขึ้นแล้วทำให้มากขึ้นแล้วสั่งสมดีแล้วทำให้บังเกิดขึ้นดีแล้วเรียกว่า
    การทำ..เมตตาเจโตวิมุตติ..

    อานิสงส์ ๑๑ ประการคือ
    ๑.นอนหลับเป็นสุข
    ๒.ตื่นเป็นสุข
    ๓.ไม่ฝันร้าย
    ๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
    ๖.เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
    ๗.ไฟ พิษ หรือศัสตรา ไม่กล้ำกรายในตัวของเขา
    ๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว
    ๙.ผิวหน้าผ่องใส
    ๑๐.ไม่หลงตาย
    ๑๑.หากยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

    เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคลมี ๕ อย่าง
    ขอให้
    ๑.สัตว์ (ดิรัจฉาน)
    ๒.ปาณะ(สัตว์ที่มีชีวิต)
    ๓.ภูต (ผี ปีศาจ วิญญาณ)
    ๔.บุคคล(คน)
    ๕.อัตตภาพ (ปัจเจกชน)

    ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
    จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

    เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคลมี ๗ อย่าง
    ขอให้
    ๑.สตรี
    ๒.บุรุษ
    ๓.พระอริยเจ้า
    ๔.ปุถุชน
    ๕.เทวดา
    ๖.มนุษย์
    ๗.วินิปาติกะ(ผู้ถูกทรมาน(ในนรก))

    ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
    จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

    เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่างคือ

    ขอให้

    ๑.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศบูรพาตะวันออก

    ๒.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศปัจฉิมตะวันตก

    ๓.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศอุดรเหนือ

    ๔.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศทักษิณใต้

    ๕.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศอาคเนย์ตะวันออกเฉียงใต้

    ๖.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศพายับตะวันตกเฉียงเหนือ

    ๗.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศอีสานตะวันออกเฉียงเหนือ

    ๘.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศหรดีตะวันตกเฉียงใต้

    ๙.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศเบื้องล่าง

    ๑๐.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
    ในทิศเบื้องบน

    ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
    จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

    เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ คือ
    ๑.เว้นการบีบคั้น
    ๒.เว้นการฆ่า
    ๓.เว้นการทำให้เดือดร้อน
    ๔.เว้นความย่ำยี
    ๕.เว้นความเบียดเบียน
    ๖.จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวร
    ๗.จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
    ๘.จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์


    http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&st=8
     

แชร์หน้านี้

Loading...