เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ และวินิบาตสิ้นแล้วเป็นพระโสดาบัน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 12 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๘๙/๔๐๗
    ๙. คิหิสูตร
    [๑๗๙] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแวดล้อมด้วยอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน
    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มี
    พระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรว่าดูกรสารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง
    ผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และมีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้
    โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการและ
    คฤหัสถ์ผู้นั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
    ดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น
    ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าคฤหัสถ์ย่อมเป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕
    ประการเป็นไฉน ดูกรสารีบุตร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑
    อทินนาทาน ๑กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
    แห่งความประมาท ๑ คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้ ฯ
    คฤหัสถ์เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งธรรมเครื่อง
    อยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรสารีบุตรอริยสาวกในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระ
    ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นธรรม
    เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมด
    จดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว ฯ
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
    ธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่อง
    อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๒ ...
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ...เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่ง
    กว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๓ ...
    อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ
    ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข
    ในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่
    หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว คฤหัสถ์ผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดย
    ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ดูกรสารีบุตร
    เธอทั้งหลายพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง ผู้นุ่งห่มผ้าข้าว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕
    ประการ และมีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
    ปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้และคฤหัสถ์นั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า
    เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้วเป็น
    พระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ
    บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย สมาทานอริยธรรมแล้ว
    พึงเว้นบาปเสีย ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อความพยายามมีอยู่
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ไม่พึงแตะต้องของที่เจ้าของไม่ให้ ยินดีด้วยภริยา
    ของตนไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น และไม่พึงดื่มสุราเมรัยเครื่องยังจิตให้หลง
    ใหล พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเสมอ และพึงตรึกถึงพระธรรมเสมอ
    พึงอบรมจิตให้ปราศจากพยาบาท อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวโลก
    ทักษิณาทานที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญให้แล้ว ในสัตบุรุษก่อน
    ในเมื่อไทยธรรมเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นทักษิณามีผลไพบูลย์ ดูกรสารีบุตร
    เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา ในบรรดาโคดำ ขาว แดง หมอก
    พร้อย หม่น หรือแดงอ่อน ชนิดใดชนิดหนึ่ง โคที่ฝึกแล้วย่อมเกิดเป็น
    โคหัวหน้าหมู่ใด หัวหน้าหมู่ตัวนั้นเป็นโคที่นำธุระไปได้ สมบูรณ์ด้วย
    กำลัง เดินได้เรียบร้อยและเร็ว คนทั้งหลายย่อมเทียมโคตัวนั้นในการขน
    ภาระไม่คำนึงถึงสีของมัน ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใน
    ชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล
    ปุกกุสะ บรรดามนุษย์เหล่านั้นทุกๆ ชาติ คนผู้ที่ฝึกแล้ว ย่อมเกิดเป็นผู้
    มีวัตรดี ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล กล่าวคำสัตย์ มีใจประกอบด้วย
    หิริ ละชาติ และมรณะได้แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ปลงภาระลงแล้ว ไม่
    ประกอบด้วยกิเลส ได้ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรม
    ทั้งปวง ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่นก็ทักษิณาที่บำเพ็ญในผู้นั้น ผู้ปราศจาก
    ความกำหนัด เป็นบุญเขต ย่อมมีผลไพบูลย์ ส่วนคนพาลผู้ไม่รู้แจ้ง
    มีปัญญาทราม ไม่ได้สดับ ย่อมให้ทานในภายนอก ไม่คบหาสัตบุรุษ
    ส่วนชนเหล่าใด ย่อมคบหาสัตบุรุษผู้มีปัญญาดี ได้รับยกย่องว่าเป็นนัก
    ปราชญ์ ชนเหล่านั้นตั้งศรัทธาไว้ในพระสุคตเป็นเค้ามูลแล้ว ย่อมไปสู่
    เทวโลก หรือพึงเกิดในตระกูลสูงในโลกนี้ ชนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต ย่อม
    บรรลุนิพพานโดยลำดับ ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

    เรามีนรกกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๘๖/๔๖๙
    ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
    [๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่ง
    อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริย
    สาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้น
    เห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
    เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
    มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
    [๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อม
    ประสพภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกขโทมนัสที่
    เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวร
    อันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ ... บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
    บุคคลผู้พูดเท็จ ... บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสพ
    ภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็น
    ไปทางใจก็มี ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย เมื่อ
    อริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอัน อันนั้น
    เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.
    [๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรคฤหบดี
    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...
    ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวก
    ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.
    [๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย
    ปัญญา เป็นไฉน? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาท
    อย่างเดียว โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้
    ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วย
    ประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอก
    โดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์
    ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด
    ดีแล้วด้วยปัญญา.
    [๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
    อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อัน
    อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์
    ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
    เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
     

แชร์หน้านี้

Loading...