เรื่องของ "จิต" และ เรื่องของ "วิญญาณ"

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย telwada, 13 กันยายน 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เรื่องของ "จิต" และ เรื่องของ " วิญญาณ"

    เจริญในธรรมท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เห็นผู้ใฝ่รู้ในทางพุทธศาสนา ถกเถียงกันในเรื่องของ จิต และ วิญญาณ กันมามากมาย บ้างก็เข้าใจผิด บ้างก็เข้าใจถูก เพราะต่างคนต่างรู้ ต่างคนต่างฉลาด แม้ตำราเรียนในระดับ มหาวิทยาลัยฯบางแห่ง ก็ยังเขียนในเรื่องของ จิต และ วิญญาณ ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง

    ข้าพเจ้าเคยเขียนบทความในเรื่อง "จิต เจตสิก รูป นิพพาน" โดยการใช้ศัพท์ภาษาปัจจุบัน ซึ่งเป็นการอธิบายในเรื่องของ "จิต"โดยรวม

    ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจักได้อธิบายในเรื่องของ "จิต" และ "วิญญาณ" ตามศัพท์ภาษาที่ได้นำมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต เพื่อให้ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ ได้คิด ได้พิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้ไม่ถกเถียงกัน เพื่อจะได้ไม่บิดเบือนหลักธรรมคำสอน และท่านทั้งหลายจักได้มีความรู้ ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ดังต่อไปนี้.-

    "จิต" หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

    ความหมายของคำว่า "จิต"ข้างต้นนั้น เป็นความหมายที่นำมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ ซึ่ง ในความหมายข้างต้น
    จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ,สภาพที่นึกคิด,ความคิด,ใจ ซึ่งได้มีคำอธิบายเพิ่มเติมในการจำแนกจิตเอาไว้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ถ้าหากท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ย่อมจักเกิดความเข้าใจได้ดีว่า
    จิต ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ใจ และ สมอง อีกทั้งยังหมายรวมไปถึง ระบบประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการรู้อารมณ์ ความคิด สภาพที่นึกคิด เพราะ การที่มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะสามารถรู้อารมณ์ การนึกคิด หรือ ความคิด ได้นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลความจำที่มีอยู่ในสมอง ซึ่งสมองจะทำงานร่วมกับหัวใจ รวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ อันเป็นปัจจัยหรือเหตุที่จะทำให้มนุษย์เกิด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด ขึ้นมาได้

    คำว่า "ธรรมชาติที่รู้อารมณ์" หมายถึง ธรรมชาติแห่ง สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์
    รวมไปถึง ความคิด สภาพที่นึกคิด อันเกิดจากการปรุงแต่งของระบบการทำงานของร่างกาย เกิดจากการปรุงแต่งของข้อมูลความจำที่มีอยู่ในสมองและหัวใจ
    ดังนั้น "จิต" ก็คือ หัวใจและสมอง (รวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ) ที่เป็นหน่วยทำงานทำให้เกิด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์,สภาพที่นึกคิด,ความคิด

    "วิญญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ
    ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น)
    ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
    ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น)
    ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส)
    ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
    ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)


    "วิญญาณ" เป็นหน่วยย่อยของ "จิต" ถึงแม้ว่า ความหมายของคำว่า วิญญาณ จะหมายถึง จิต (ตามพจนานุกรมฯ) เพราะ "จิต"เป็นหน่วยใหญ่ในการทำงาน โดยมี หน่วยย่อย คือ "วิญญาณ" หลายๆหน่วยประกอบกันทำให้เกิด "ความรู้แจ้งในอารมณ์" ถ้าหากจะอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ
    การที่บุคคลจะมองเห็นได้ จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ภาพ แสง ดวงตา ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนย่อยต่างๆมากมายภายในดวงตา เส้นประสาทตา สมอง หัวใจ อย่างนี้เป้นต้น
    การได้ยิน(เสียง) ,ได้กลิ่น,รู้รส,รู้สิ่งต้องกาย(โผฏฐัพพะ),รู้เรื่องในใจ(ธรรมารมณ์) ก็เช่นเดียวกัน
    ดังนั้น "วิญญาณ" จึงเป็นส่วนย่อยของ"จิต"
    "จิต" จะมีความหมาย ในเรื่องของ ระบบความจำ ความคิด การปรุงแต่งของระบบการทำงานของร่างกาย และระบบการปรุงแต่ง ทางข้อมูลความจำ และปรุงแต่งทางด้านความคิด
    "วิญญาณ" จะมีความหมาย ในเรื่องของ ส่วนย่อยของ จิต คือเป็นส่วนในรายละเอียดของ อวัยวะต่างๆของร่างกายที่รับสัมผัส ซึ่ง"จิต" จะทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์ "วิญญาณ" จะทำให้รู้แจ้งในอารมณ์
    ที่ได้รับรู้มา

    สรุป ในเรื่องของ "จิต" และ "วิญญาณ" จิต กับ วิญญาณ มีความหมายคนละอย่าง แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ต่อเนื่องกัน
    จิต เป็นเรื่องของ ระบบส่วนใหญ่ วิญญาณ เป็นเรื่องของ ระบบส่วนย่อย

    จิต เป็น สภาพธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์
    วิญญาณ เป็น สภาพที่ทำให้รู้แจ้งในสิ่งที่รับรู้อารมณ์ ต่อเนื่องจาก จิต ยกตัวอย่างเช่น มองเห็น เป็น จิต ส่วน วิญญาณ ทำให้รู้แจ้งว่า สิ่งที่มองเห็นนั้น เป็น ต้นไม้ อย่างนี้เป็นต้น


    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ผู้เขียน
    ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2012
  2. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    รู้ได้ไงอ่ะลุงจ่า ทำไมเก่งจัง
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เข้าใจผิดแล้ว คุณหลานนกปีกหัก เอ๋ย ข้าพเจ้าไม่ได้เก่งอะไรดอกขอรับ แต่ข้าพเจ้าพอจะมี ความชำนาญการอยู่บ้าง ก็แค่นั้นเองขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...