"เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา" - คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่3

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หม้อหุงข้าว..!, 19 มีนาคม 2012.

  1. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓</CENTER><CENTER> </CENTER>[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์ อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ

    จบจิตตวรรคที่ ๓
    <CENTER></CENTER>http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394
     
  2. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๖ / ๙.

    <CENTER>๖. เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา [๒๙]

    ข้อความเบื้องต้น </CENTER>พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กุมฺภูปมํ" เป็นต้น. <CENTER>
    ภิกษุ ๕๐๐ รูปอยู่ในไพรสณฑ์ </CENTER>ได้ยินว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูป ในกรุงสาวัตถี เรียนกัมมัฏฐานตราบเท่าพระอรหัตในสำนักพระศาสดาแล้ว คิดว่า "เราจักทำสมณธรรม" ไปสิ้นทางประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ได้ถึงบ้านตำบลใหญ่<WBR>ตำบล<WBR>หนึ่ง. ลำดับนั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่จัดไว้อังคาสด้วยภัตตาหารทั้งหลาย มีข้าวยาคูเป็นต้นอันประณีตแล้ว เรียนถามว่า "พวกท่านจะไปทางไหน ขอรับ", เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า "พวกเราจักไปสถานตามผาสุก" จึงวิงวอนว่า "นิมนต์พวก<WBR>ท่าน<WBR>อยู่<WBR>ในที่นี้ ตลอด ๓ เดือนนี้เถิด ขอรับ, แม้พวกกระผมก็จักตั้งอยู่ในสรณะ รักษาศีลในสำนักของพวกท่าน." ทราบการรับนิมนต์ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงเรียนว่า "ในที่ไม่ไกล มีไพรสณฑ์ใหญ่มาก, นิมนต์พวกท่านพักอยู่ที่ไพรสณฑ์นั้นเถิดขอรับ" ดังนี้แล้วส่งไป.

    ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้นแล้ว. <CENTER>
    เทวดาทำอุบายหลอนภิกษุ </CENTER>พวกเทวดาผู้สิงอยู่ในไพรสณฑ์นั้นคิดว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมีศีล ถึงไพรสณฑ์นี้โดยลำดับแล้ว, ก็เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายพำนักอยู่ในที่นี้, การที่พวกเราพาบุตรและภาดาขึ้นต้นไม้ไม่ควรเลย" จึงนั่งลงบนพื้นดิน คิดว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายอยู่ในที่นี้คืนเดียวในวันนี้ พรุ่งนี้จักไปเป็นแน่." ฝ่ายพวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน ในวันรุ่งขึ้น แล้วก็กลับมายังไพรสณฑ์นั้นนั่นแล พวกเทวดาคิดว่า "ใครๆ จักนิมนต์ภิกษุสงฆ์ไว้ฉันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น จึงกลับมา, วันนี้จักไม่ไป, พรุ่งนี้เห็นจักไปแน่" ดังนี้แล้ว ก็พากันพักอยู่ที่พื้นดินนั้นเอง ประมาณครึ่งเดือนโดยอุบายนี้.
    แต่นั้นมา พวกเทวดาคิดว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลายเห็นจักอยู่ในที่นี้นั่นแล ตลอด ๓ เดือนนี้, ก็เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในที่นี้ทีเดียวแล พวกเราแม้จะขึ้นนั่งบนต้นไม้ ก็ไม่ควร ถึงสถานที่จะพาเอาพวกบุตรและภาดานั่งบนพื้นดินทั้ง ๓ เดือน ก็เป็นทุกข์ของพวกเรา, พวกเราทำอะไรๆ ให้ภิกษุเหล่านี้หนีไปได้จะเหมาะ, เทวดาเหล่านั้นเริ่มแสดงร่างผีหัวขาด และให้ได้ยินเสียงอมนุษย์ ในที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน และในที่สุดของที่จงกรมนั้นๆ

    โรคทั้งหลายมีจามไอเป็นต้น เกิดแก่พวกภิกษุแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นถามกันและกันว่า "ผู้มีอายุ โรคอะไรเสียดแทงคุณ? โรคอะไรเสียดแทงคุณ?" กล่าวว่า "โรคจามเสียดแทงผม, โรคไอเสียดแทงผม" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ผู้มีอายุ วันนี้ ผมได้เห็นร่างผีหัวขาดในที่สุดที่จงกรม, ผมได้เห็นร่างผีในที่พักกลางคืน, ผมได้ยินเสียงอมนุษย์ในที่พักกลางวัน, ที่นี้เป็นที่ควรเว้น, ในที่นี้ ความไม่ผาสุกมีแก่พวกเรา, พวกเราจักไปที่สำนักของพระศาสดา." ภิกษุเหล่านั้นออกไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. <CENTER>
    พระศาสดาประทานอาวุธ </CENTER>ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจักไม่อาจเพื่ออยู่ในที่นั้นหรือ?"
    ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า อารมณ์อันน่ากลัวเห็นปานนี้ ปรากฎแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พำนักอยู่ในที่นั้น, เพราะเหตุนั้น จึงมีความไม่ผาสุกเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงคิดว่า "ที่นี้ เป็นที่ควรเว้น." ทิ้งที่นั้นมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว.
    พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปในที่นั้นนั่นแลสมควร.
    ภิกษุ. ไม่อาจ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่เอาอาวุธไป, บัดนี้ พวกเธอจงเอาอาวุธไปเถิด.
    ภิกษุ. ถือเอาอาวุธชนิดไหนไป? พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า "เราจักให้อาวุธแก่พวกเธอ. พวกเธอจงถือเอาอาวุธที่เราให้ไป" ดังนี้แล้ว ตรัสเมตตสูตรทั้งสิ้นว่า
    "ผู้รู้สันตบท (บทอันสงบ) พึงกระทำสิกขา ๓
    หมวดใด, ผู้ฉลาดในประโยชน์ ควรกระทำสิกขา ๓
    หมวดนั้น ผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเป็นผู้องอาจ เป็น
    ผู้ตรง เป็นผู้ซื่อตรง เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้ไม่ทะนงตัว."

    เป็นอาทิ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยายเมตตสูตรนี้ จำเดิมแต่ไพรสณฑ์ภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ภายในวิหาร" ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระศาสดา ออกไปถึงไพรสณฑ์นั้นโดยลำดับ พากันสาธยายเป็นหมู่ในภายนอกวิหาร เข้าไปสู่<WBR>ไพรสณฑ์<WBR>แล้ว, <CENTER>

    เทวดากลับได้เมตตาจิต </CENTER>พวกเทวดาในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น กลับได้เมตตาจิต ทำการต้อนรับภิกษุเหล่านั้น, ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร. ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการนวดฟั้นกาย, ทำการอารักขาให้อย่างเรียบร้อยในที่นั้นแก่พวกเธอ, (เทวดา) ได้เป็นผู้นั่งสงบ ดังพนมจักร. ขึ้นชื่อว่าเสียงแห่งอมนุษย์ มิได้มีแล้วในที่ไหนๆ. จิตของภิกษุเหล่านั้นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. พวกเธอนั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา เริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในตนคิดว่า "ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้เช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้ว. <CENTER>
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคาถากำชับ </CENTER>พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเริ่มวิปัสสนาแล้ว จึงทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ตรัสว่า "อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นกับด้วยภาชนะดินโดยแท้ เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้แล้ว ทรงฉายพระโอภาสไป แม้ประทับอยู่ในที่ ๑๐๐ โยชน์ ก็เป็นประหนึ่งประทับนั่งในที่เฉพาะหน้าของภิกษุเหล่านั้น ทรงฉายพระฉัพพรรณรังสี มีพระรูปปรากฎอยู่
    ตรัสพระคาถานี้ว่า
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>๖. <TD>กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา <TR vAlign=top><TD><TD>นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา<SUP>๑-</SUP> <TR vAlign=top><TD><TD>โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน <TR vAlign=top><TD><TD>ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน<SUP>๒-</SUP> สิยา. <TR vAlign=top><TD><TD>[บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ, กั้นจิต <TR vAlign=top><TD><TD>อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา <TR vAlign=top><TD><TD>พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ____________________________

    <SUP>๑-</SUP> ฐเปตฺวา.

    <SUP>๒-</SUP> อรรถกถา ว่า อนิเวสโน. <CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปมํ ความว่า รู้จักกายนี้ คือที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือเช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.
    บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า
    ธรรมดานครมีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน ๔ แพร่ง มีร้านตลาดในระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิดว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระท้อนกลับไป ฉันใด,
    กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนาจิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้นๆ พึงฆ่าด้วยอาวุธ คือปัญญาอันสำเร็จแล้วด้วยวิปัสสนา และสำเร็จแล้วด้วยอริยมรรค ชื่อว่าพึงรบ คือพึงประหารกิเลสมารนั้น ดุจนักรบยืนอยู่ในนคร รบหมู่โจรด้วยอาวุธมีประการต่างๆ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น ฉะนั้น"
    สองบทว่า ชิตญฺจ รกฺเข ความว่า กุลบุตร เมื่อต้องเสพอาวาสเป็นที่สบาย ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และการฟังธรรมเป็นเหตุสบายเป็นต้น เข้าสมาบัติในระหว่างๆ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตหมดจด ชื่อว่าพึงรักษาธรรมที่ชนะแล้ว คือวิปัสสนาอย่างอ่อนที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว.
    สองบทว่า อนิเวสโน สิยา ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่มีอาลัย.
    อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า นักรบทำซุ้มเป็นที่พักพลในภูมิประเทศเป็นที่ประชิดแห่งสงคราม<SUP>๑-</SUP> รบอยู่กับพวกอมิตร เป็นผู้หิวหรือกระหายแล้ว เมื่อเกราะหย่อน หรือเมื่ออาวุธพลัดตก ก็เข้าไปยังซุ้มเป็นที่พักพล พักผ่อน กิน ดื่ม ผูกสอด (เกราะ) จับอาวุธแล้ว ออกรบอีก ย่ำยีเสนาของฝ่ายอื่น ชนะปรปักษ์ที่ยังมิได้ชนะ รักษาชัยชนะที่ชนะแล้ว. ก็ถ้าว่านักรบนั้น เมื่อพักผ่อนอย่างนั้นในซุ้มเป็นที่พักพล ยินดีซุ้มเป็นที่พักพลนั้น พึงพักอยู่ ก็พึงทำรัชสมบัติให้เป็นไปในเงื้อมมือของปรปักษ์ฉันใด,
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมสามารถรักษาวิปัสสนาอย่างอ่อน ที่ได้เฉพาะแล้ว ย่อมชนะกิเลสมาร ด้วยความได้เฉพาะซึ่งมรรคอันยิ่ง, ก็ถ้าว่า ภิกษุนั้นย่อมพอใจสมาบัติอย่างเดียว ไม่หมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรคและผลได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรักษาธรรมที่ควรรักษา พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ คือพึงทำสมาบัติให้เป็นที่เข้าพักแล้วไม่ติดอยู่ ได้แก่ไม่พึงทำอาลัยในสมาบัตินั้น.
    พระศาสดาตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงทำอย่างนั้น" พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้.
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> สงฺคามสีเส ในสีสประเทศแห่งสงคราม คือในสมรภูมิหรือสนามรบ


    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในที่นั่งเทียว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สรรเสริญชมเชยทั้งถวายบังคมพระสรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองของพระตถาคต มาแล้ว ดังนี้แล. <CENTER> </CENTER><CENTER>เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา จบ. </CENTER><CENTER> </CENTER>
    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=13&p=6
     
  3. paderm

    paderm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +4
  4. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ที่เขาว่ากันว่า ต้องหาฐานที่ตั้งจิตให้เจอก่อน นี้เป็นยังไงครับ
     
  6. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ</BIG> <CENTER class=D>๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส</CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ </CENTER><CENTER></CENTER>ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สตฺโต ได้แก่ ผู้ข้อง.
    บทว่า คุหายํ ได้แก่ ในกาย.
    ก็กายท่านเรียกว่า ถ้ำ เพราะเป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้ายๆ มีราคะเป็นต้น.
    บทว่า พหุนาภิฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสมีราคะเป็นต้นมากปิดบังไว้ด้วยบทว่า พหุนาภิฉนฺโน นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายใน.
    บทว่า ติฏฐํ ได้แก่ เมื่อตั้งอยู่ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น.
    กามคุณ ท่านกล่าวว่าโมหนะ ในบทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห. ด้วยว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมหลงในกามคุณนี้ เป็นผู้หยั่งลงในกามคุณเหล่านั้น ด้วยบทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายนอก.
    บทว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส ความว่า นรชนผู้มีอย่างนั้นเป็นรูปนั้นอยู่ไกล คือไม่ใกล้ จากวิเวกทั้ง ๓ อย่างมีกายวิเวกเป็นต้น. เพราะเหตุไร? เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.
    ท่านอธิบายว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ย่อมไม่เป็นของที่นรชนจะละได้โดยง่าย.
    บทว่า สตฺโตติ หิ โข วุตฺตํ ท่านกล่าวว่าโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สัตว์ นรชน มาณพ.
    พระพุทธพจน์ว่า คุหายํ ที่พระสารีบุตรเถระอธิบายว่า คุหา ตาว วตฺตพฺพา ความว่า ถ้ำควรกล่าวก่อน. ในบทว่า กาโยติ วา เป็นต้น ประกอบบทดังนี้ก่อนว่า กายก็ดี ถ้ำก็ดี ฯลฯ หม้อก็ดี.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย ได้กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานกถาในหนหลังโดยนัยเป็นต้นว่า
    ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ของสิ่งน่าเกลียดทั้งหลาย.
    ชื่อว่า ถ้ำ เพราะอรรถว่าเป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้ายๆ มีราคะเป็นต้น. อาจารย์<WBR>พวก<WBR>หนึ่ง<WBR>กล่าว<WBR>ว่า เพราะอรรถว่าปกปิด ก็มี, ดุจในประโยคมีอาทิว่า ไปรับอารมณ์ได้ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่างมีหทัยรูปเป็นถ้ำที่อาศัย ดังนี้.
    ชื่อว่า ร่างกาย เพราะอรรถว่าถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นเผา ดุจในประโยคมีอาทิว่า เขาเหล่านั้นละร่างมนุษย์แล้ว ดังนี้.
    ชื่อว่า ร่างกายของตน เพราะอรรถว่ากระทำให้มัวเมา ดุจในประโยคมีอาทิว่า ร่างกายของตนเป็นของเปื่อยเน่าทำลายไป เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ดังนี้.
    ชื่อว่า เรือ เพราะอรรถว่าสัญจรไปในสังสารวัฏ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้เถิด เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว ดังนี้.
    ชื่อว่า รถ เพราะอรรถว่ามีอิริยาบถดุจในประโยคมีอาทิว่า รถคือร่างกาย มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อดังนี้.
    ชื่อว่า ธง เพราะอรรถว่าลอยเด่น ดุจในประโยคมีอาทิว่า ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ ดังนี้.
    ชื่อว่า จอมปลวก เพราะเป็นที่อยู่ของเหล่ากิมิชาติทั้งหลาย ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าจอมปลวกนี้แล เป็นชื่อของกายซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้. เหมือนอย่างว่า จอมปลวกภายนอก ท่านเรียกว่า จอมปลวก ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือคายออก ผู้คายออก คายความริษยาออก คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก. ด้วยว่าจอมปลวกนั้น ชื่อว่าจอมปลวก เพราะอรรถว่าคายสัตว์ต่างๆ มีงู พังพอน หนูและตุ๊กแกเป็นต้น.

    ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่าตัวปลวกทั้งหลายใช้จะงอยปากคาบดินก้อนเล็กๆ มาคายออกก่อขึ้นสูงประมาณสะเอวบ้าง ประมาณชั่วบุรุษบ้าง แม้ฝนตกถึง ๗ สัปดาห์ก็ไม่พังทลาย เพราะน้ำมันคือน้ำลายที่ตัวปลวกทั้งหลายคายออกเชื่อมยึดไว้. แม้ในฤดูร้อน เมื่อเอาดินกำมือหนึ่งแต่จอมปลวกนั้นมาบีบด้วยกำมือที่จอมปลวกนั้น น้ำมันก็ไหลออก.

    ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่าคายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ด้วยประการฉะนี้. แม้กายนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า คายออกซึ่งของไม่สะอาดมีประการต่างๆ โดยนัยเป็นต้นว่า คายขี้ตาจากนัยน์ตา.
    พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพทั้งหลายทิ้งอัตภาพด้วยสละความใคร่ในอัตภาพนี้ ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก เพราะอรรถว่าอันพระอริยะทั้งหลายคายแล้ว ก็มี.

    อนึ่ง กายนี้อันกระดูกสามร้อยท่อนตั้งไว้ มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีเนื้อเป็นเครื่องฉาบทา หุ้มห่อไว้ด้วยหนังสด ย้อมไว้ด้วยผิว ล่อลวงเหล่าสัตว์. ทั้งหมดนั้นอันพระอริยะทั้งหลายคายแล้วทีเดียว ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก เพราะอรรถว่าคายความริษยาออก ก็มี.

    กายนี้เชื่อมไว้ด้วยน้ำมันคือตัณหา ที่พระอริยะทั้งหลายคายแล้วนั่นแลเพราะตัณหาให้เกิดแล้วอย่างนี้ว่า ตัณหาให้บุรุษเกิด แล่นไปสู่จิตของบุรุษนั้น ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก เพราะอรรถว่าคายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ก็มี.
    เหล่าสัตว์ต่างๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ นอนเจ็บไข้ ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง. จอมปลวกนั้นเป็นเรือนคลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ฉันใด
    แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นก็ฉันนั้น มีกิมิชาติประมาณแปดหมื่นเหล่า โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ เหล่าสัตว์ที่อาศัยเอ็น เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิดถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกายนั่นแหละ โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนคลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ดังนั้นจึงนับว่าจอมปลวก.

    ชื่อว่า รัง เพราะเป็นที่เก็บ คือเป็นรังแห่งโรคเป็นต้น ดุจในประโยคว่า รูปนี้เป็นรังแห่งโรคผุพัง ดังนี้.
    ชื่อว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งของชอบใจและของไม่ชอบใจ ดุจในประโยคว่า นครคือกายของตน เป็นต้น.
    ชื่อว่า กระท่อม เพราะอรรถว่า เป็นเรือนที่อยู่อาศัยแห่งปฏิสนธิ ดุจในประโยคว่า พิจารณาในกระท่อมซึ่งมี ๕ ประตู เป็นต้น.
    ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นของเปื่อยเน่า ดุจในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า โรค ว่าฝี ว่าลูกศร นี้เป็นชื่อของกาย เป็นต้น.
    ชื่อว่า หม้อ เพราะอรรถว่า แตก ดุจในประโยคว่า รู้แจ้งกายนี้อันเปรียบได้กับหม้อ เป็นต้น.
    บทว่า กายสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า การกล่าวนี้ คือมีประการดังกล่าวแล้ว เป็นชื่อของที่อยู่ของสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายซึ่งสำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔
    บทว่า คุหายํ ได้แก่ ในสรีระ.
    บทว่า สตฺโต ได้แก่ ติดแน่น.
    บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติดแน่นด้วยอาการต่างๆ มีความกำหนัดในวรรณะเป็นต้น.
    ชื่อว่า ข้องทั่วไป ด้วยสามารถแห่งความกำหนัดในสัณฐาน.
    ชื่อว่า ติดอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือในถ้ำนั้นว่างาม เป็นสุข.
    ชื่อว่า พันอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือว่าเป็นตน.

    อ่านต่อตรงนี่ :
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=1
     
  7. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    โมทนาสาธุ ค่ะ

    อ่านแล้วทำให้ขบคิดพิจารณาจากกายไปถึงโลกเลยค่ะ เพราะดูเหมือนว่าลูกโลกใบนี้จะคล้ายๆกับจอมปลวก
     

แชร์หน้านี้

Loading...