เรื่องเด่น เหตุใดน้ำท่วมในรัฐเกรละถึงทำให้คนตายมหาศาล

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 21 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    นาวิน ซิงห์ คาถา ผู้สื่อข่าว บีบีซี

    _103104742__103068205_048706621-1.jpg
    Image copyright AFP
    คำบรรยายภาพ น้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี

    มหาอุทกภัยในรัฐเกรละ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 350 คนแล้วนับจากเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา บีบีซีพาไปหาคำตอบว่าเหตุใดยอดผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติครั้งนี้ถึงพุ่งสูงขนาดนี้

    สถานการณ์น้ำท่วมในรัฐเกรละสร้างความเสียหายในระดับสูงสุดเมื่อสัปดาห์ก่อน แม้ปริมาณน้ำฝนในฤดูมรสุมเริ่มลดลงและหน่วยกู้ชีพกู้ภัยเริ่มเข้าพื้นที่ได้แล้ว แต่ประชาชนหลายพันคนก็ยังถูก “ปล่อยเกาะ” ให้อยู่กลางมวลน้ำมหาศาล

    มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลท้องถิ่นควรเตรียมแผนรับมือได้ดีกว่านี้ เพราะหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น รัฐบาลได้ออกรายงานเพื่อเตือนว่ารัฐเกรละว่ามีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ “ไร้ประสิทธิภาพที่สุด” ในบรรดารัฐต่าง ๆ ทางตอนใต้ของประเทศ โดยได้คะแนนเพียง 42 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 12

    ขณะที่สามอันดับแรกที่มีการบริหารจัดการดี ได้แก่ รัฐคุชราต ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ได้ 79 คะแนน รองลงมาคือ รัฐมัธยประเทศ อยู่ทางภาคกลาง ได้ 69 คะแนน และรัฐอานธรประเทศ อยู่ทางภาคใต้ ได้ 68 คะแนน

    ผ่านไปหนึ่งเดือน สถานการณ์ของรัฐเกรละก็ได้ยืนยันสิ่งที่รายงานชี้

    _103104743__103083930_048704892-1.jpg
    Image copyright Reuters
    คำบรรยายภาพ ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นบ้านเรือนประชาชนจมน้ำในรัฐเกรละ

    เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญระบุตรงกันว่า น้ำท่วมในรัฐเกรละจะไม่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างขนาดนี้ หากเจ้าหน้าที่ได้ระบายน้ำจากเขื่อนอย่างน้อย 30 แห่ง ลงสู่แม่น้ำ 44 สายที่ไหลพาดผ่านรัฐ

    “มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ถ้ามีการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนล่วงหน้า แทนที่จะรอน้ำเต็มเขื่อน จนไม่มีทางเลือกอื่น แล้วก็ต้องปล่อยน้ำออกมา” ฮิมานชู ทักกะ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำในเครือข่ายเขื่อน แม่น้ำ และประชาชนแห่งเอเชียใต้ กล่าว

    มวลน้ำมหาศาลที่ท่วมเต็มพื้นที่เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นผลจากการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน 80 แห่งพร้อมกัน

    _103104716_65fedcc4-fc6a-41d6-b65f-ebdad1bcf00f.jpg
    Image copyright PA
    คำบรรยายภาพ นสพ. เดอะ ไทม์ ออฟ อินเดีย ระบุว่ามีเฮลิคอปเตอร์ทหาร 23 ลำร่วมภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย


    _103104717__103068203_048704832-1.jpg
    Image copyright Reuters
    คำบรรยายภาพ ชายคนนี้นอนรอการเคลื่อนย้ายทางอากาศเพื่อไปรักษาตัว

    “เห็นได้ชัดว่าเขื่อนขนาดใหญ่ในรัฐ เช่น เขื่อนอิดักกี และเขื่อนอิดามาลายา ได้เปิดประตูระบายน้ำออกมาตอนที่รัฐเกรละกำลังจมน้ำแล้ว นี่พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายขึ้น” ทักกะ กล่าว

    เขาเสริมด้วยว่า ผู้บริหารจัดการเขื่อนมีเวลาเพียงพอในการปล่อยน้ำช่วงที่สภาพพื้นที่ยังแห้งอยู่ ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดความเสียหายบางประการได้

    _103104744__103068197_048707013-1.jpg
    Image copyright Getty Images
    คำบรรยายภาพ ชาวบ้านกว่า 3.53 แสนคน ต้องอพยพไปอยู่ตามศูนย์บรรเทาทุกข์กว่า 3 พันแห่งทั่วประเทศ

    ในการประเมินของรัฐบาลกลางเมื่อต้นปีนี้ พบว่า รัฐเกรละเป็นหนึ่งใน 10 รัฐที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการเกิดน้ำท่วม นอกจากนี้ในการบริหารจัดการของรัฐยังถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตาม “ขั้นตอนที่จำเป็น” เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากอุทกภัย

    ขณะเดียวกันรัฐบาลกลางก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีนี้ด้วย เนื่องจากรัฐเกรละไม่ได้รับการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าจากคณะกรรมการกลางด้านน้ำ (Central Water Commission: CWC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ

    “มหาอุทกภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และการปล่อยน้ำในเขื่อนมหาศาล ทำให้เกิดคำถามเรื่องการพยากรณ์สถานการณ์น้ำท่วมและการเตรียมแผนรับมือของ CWC” ทักกะ กล่าว

    “เราตกใจสุดขีดเมื่อพบว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่ได้คาดการณ์อย่างจริงจังว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้น มีแค่การติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในรัฐเกรละเท่านั้น”


    _103104714__103067732_f72951f7-1794-4d6a-b902-0c38144745a8.jpg
    Image copyright Reuters
    คำบรรยายภาพ ประชาชนกว่า 350 คนในรัฐเกรละ ต้องสังเวยชีวิตในอุทกภัยในห้วง 2 เดือนเศษ

    ในขณะที่รัฐไม่ได้เตรียมมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างเพียงพอ ฝนที่มีปริมาณสูงกว่าปกติมากได้ถล่มลงมาอย่างต่อเนื่อง

    เจมส์ วิลสัน ที่ปรึกษาด้านน้ำของรัฐบาลเกรละ บอกกับบีบีซีว่า “มันเป็นหายนะที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี และไม่มีใครทำนายได้ว่าปริมาณน้ำฝนจะมากขนาดนี้ นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราไม่ได้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติในระดับขนาดนี้”

    เขายืนยันว่า รัฐบาลท้องถิ่นมีการบริหารจัดการน้ำท่วมทุกปี แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องสุดวิสัยจริง ๆ และบังคับให้พวกเขาต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อน

    _103104745__103068371_048715257-1.jpg
    Image copyright Reuters

    ในเวลาเพียงสองเดือนครึ่ง ปริมาณน้ำฝนสะสมในรัฐเกรละเพิ่มมากกว่าร้อยละ 37 ซึ่งเท่ากับปริมาณของฝนตลอดฤดูมรสุมของปีก่อน ๆ แต่ก็ยังเหลือช่วงเวลาอีกเกือบสองเดือนที่จะสิ้นสุดมรสุม

    ฝนที่ถล่มลงมาอย่างหนักและต่อเนื่องทำให้เกิดดินโคลนถล่ม คร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก นักสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้ผู้ตัดไม้ทำลายป่ารับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    บางพื้นที่ของรัฐเกรละที่จมใต้น้ำในครั้งนี้ เพราะพื้นที่ชุ่มน้ำและทะเลสาบที่เป็น”เครื่องป้องกันทางธรรมชาติ” ของอุทกภัยได้หายไป เนื่องจากการขยายตัวของเมือง และการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ


    _103104715__103068119_048710047-1.jpg
    Image copyright EPA
    คำบรรยายภาพ ไม่เพียงผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ ประชาชนก็พยายามช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงของพวกเขา เช่น หมูตัวนี้

    เหตุฝนถล่มอย่างหนักในปี 2015 ทางตอนใต้ของเมืองเชนไน คร่าชีวิตประชาชนไปอย่างน้อย 70 คน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีผังเมืองที่เลวร้าย

    ทว่าผู้เชี่ยวชาญระบุว่าหายนะจากมหาอุทกภัยในรัฐเกรละได้เพิ่มอีก “มิติใหม่” ของภัยพิบัติ นั่นคือ อันตรายจากเขื่อน

    หากรัฐไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ และปริมาณฝนตกยังคงเพิ่มมากขึ้น ดังนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก “มหาภัยพิบัติ” ในระดับนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าหนึ่งครั้งในรอบศตวรรษ



    ขอบคุณที่มา
    https://www.bbc.com/thai/international-45255301
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 สิงหาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...