โลกุตรธรรม ตอนที่ ๑๑ เรื่อง พระพุทธอุทานครั้งที่ ๑

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 25 ธันวาคม 2008.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ชุมนุมบทความ
    ของ เปมงฺกโร ภิกฺขุ เรียบเรียง


    <O:pข้อ ๑๑ เรื่องพระพุทธอุทานครั้งแรก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธอุทานที่ทรงเปล่งขึ้นเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ<O:p</O:p
    ยังประทับอยู่ ณ ภายใต้โพธิพฤกษ์ ครั้งที่ ๑ แบ่งเป็น ๓ ตอน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตอนต้นว่า<O:p</O:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหมฺณสฺส<O:p</O:p
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ<O:p</O:p
    แปลว่า<O:p</O:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพินิจอยู่ <O:p</O:p
    ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่างขึ้น หมดความสงสัย<O:p</O:p
    เพราะรู้เห็นชัดว่า ธรรมส่วนที่เป็นผลจะตั้งอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยเหตุหนุน ดังนี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บรรยายความ คำว่า พราหมณ์ ในพระอุทานนี้ เป็นนามใช้แทนพระองค์เอง <O:p</O:p
    พราหมณ์ แปลว่า ผู้กำจัดล้างบาป นักบุญนักหาความรู้เรื่องภายในของตนเอง<O:p</O:p
    ดังพระวาจาที่ตรัสนี้ว่า <O:p</O:p
    อเนญฺชํ นหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พราหมฺณํ<O:p</O:p
    เราเรียกยกย่องคนที่มีจิตใจไม่หวั่นไหว ล้างกิเลสบาปธรรม<O:p</O:p
    บริสุทธิ์แล้ว รู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้<O:p</O:p
    พราหมณ์ คือ พระอรหันต์ เฉพาะในที่นี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระองค์ทรงสงสัยเรื่องอะไร<O:p</O:p
    และทรงพยายามเพียรเพ่งพินิจธรรมอะไรอยู่<O:p</O:p
    ความสงสัยนั้นจึงหมดสิ้นไปได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เข้าใจว่าพระองค์ทรงสงสัยตัวของพระองค์เองว่า<O:p</O:p
    เราเป็นตัวสุขไม่ใช่ตัวทุกข์ แต่เพราะอะไรจึงแปรไปเป็นตัวทุกข์<O:p</O:p
    และเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบสิ้นลงได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    และพระองค์ทรงเพียรเพ่งพินิจพิจารณาเรื่องซึ่งพัวพันอยู่กับจิต<O:p</O:p
    ส่วนที่สำคัญๆ คือ จิตผู้รู้ อารมณ์ต่างๆในภายนอกซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้<O:p</O:p
    อายตนะวิถีทางเครื่องต่อเครื่องดักอารมณ์ เช่น ตา หู จมูก เป็นต้น<O:p</O:p
    กิริยากรรมของจิตหรือพลังงานของจิตเกิดขึ้นในเมื่อพัวพันกับอารมณ์<O:p</O:p
    เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น<O:p</O:p
    พร้อมด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจในเมื่อรวมกันเข้ากับอารมณ์<O:p</O:p
    จิตก็แปรรูปเป็นลักษณะอาการต่างๆ<O:p</O:p
    เหมือนน้ำที่ถูกประสมให้แปรสีกลิ่นรสไปเป็นต่างๆตามวัตถุที่ประสม ฉะนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แล้วทรงทยอยแยกส่วนสำคัญๆนั้นออกไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม<O:p</O:p
    เป็นเหตุผลอุดหนุนซึ่งกันและกันให้เป็นไป<O:p</O:p
    เปรียบเหมือนเครื่องยนต์หรือเครื่องจักร หรือคั่นบันไดที่หนุนกันขึ้นไป ฉะนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ย่อใจความลงเป็นวัฏฏะ ๓ หรือ สังสารจักร คือ กิเลส กรรม วิบาก<O:p</O:p
    หมุนเวียนเป็นเหตุผลของกันเป็นอย่างนี้ คือ<O:p
    </O:pกิเลส เช่น ตัณหา เป็นต้น กดดันให้เกิด กรรม<O:p</O:p
    กรรมแยกออกเป็น ๒ คือ กุศลกรรม อกุศลกรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กรรม ย่อมกดดันให้เกิด วิบากผล<O:p</O:p
    กุศลกรรม มีวิบากผลเป็นสุข เกิดภพชาติใหม่ในสุคติ<O:p</O:p
    คือ มนุษย์โลก สวรรค์ พรหมโลก<O:p</O:p
    ส่วนอกุศลกรรม มีวิบากผลเป็นทุกข์ เกิดภพชาติใหม่ในทุคติอบายภูมิ<O:p</O:p
    คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อได้วิบากผลเกิดชาติใหม่เพราะอาศัยกุศลกรรมอกุศลกรรมนั้นแล้ว<O:p</O:p
    ตัววิบากผลนั้น ก็กดดันให้เกิดกิเลสอีก<O:p</O:p
    จัดว่าวิบากกลับเป็นเหตุให้เกิดกิเลสอีกต่อไป <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อย่างอัตภาพร่างกายของคนทุกคนเป็นวิบากผลของกรรมในชาติหลัง<O:p</O:p
    กลับเป็นเหตุให้เกิดกิเลส กิเลสนั้น สร้างกรรมต่อไปอีก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อำนาจ ๓ ประการนี้ หมุนเวียนเป็นเหตุผลของกันและกัน<O:p</O:p
    เหมือนลูกล้อที่หมุนกลิ้งอยู่ ฉะนั้น<O:p</O:p
    จึงได้นามว่าวัฏฏะ วัฏฏะแปลว่า หมุนเวียน หรือ สังสารจักร<O:p</O:p
    เที่ยววนเวียนเหมือนมดเที่ยววนเวียนไต่ปากขันน้ำไม่รู้จบสิ้นลงได้ ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วัฏฏะ ๓ นี้ จัดเป็น อริยสัจจ์ ๒ คือ ทุกข์ กับ สมุทัย<O:p</O:p
    กรรม กับ วิบากผล เป็น ทุกข์อริยสัจจ์<O:p</O:p
    กิเลส เป็น สมุทัยอริยสัจจ์ เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด<O:p</O:p
    เป็นภาคโลกียธรรม สมุทัยวารฝ่ายเกิดอนตฺตา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะรู้แจ้งชัดซึ่งธรรมเป็นไปกับด้วยเหตุ<O:p</O:p
    หรือเพราะรู้เห็นชัดว่าธรรมส่วนที่เป็นผลจะตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยเหตุนั้น<O:p</O:p
    ทรงหมายเอา ทุกข์อริยสัจจ์ กับ สมุทัยอริยสัจจ์ ดังว่ามานั้นแล<O:p</O:p
    เป็นเนื้อความในพระอุทานตอนที่ ๑ ดังนี้ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอุทานตอนที่ ๒ ว่า<O:p</O:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหฺมณสฺส<O:p</O:p
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ<O:p</O:p
    แปลว่า<O:p</O:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพินิจอยู่<O:p</O:p
    ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่าง ความสงสัยทั้งปวงหมดสิ้นไป<O:p</O:p
    เพราะรู้แจ้งชัดว่า ธรรมที่เป็นตัวผลหมดสิ้นไป เพราะสิ้นไปแห่งเหตุ ดังนี้

    บรรยายความ พระองค์ทรงสงสัยอะไรอยู่<O:p</O:p
    และทรงเพียรพยายามเพ่งพินิจธรรมอะไรอยู่<O:p</O:p
    ความสงสัยนั้นจึงหมดสิ้นไปได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เข้าใจว่าพระองค์ทรงสงสัยเรื่องกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นสมุทัยเหตุให้ทุกข์เกิด<O:p</O:p
    ว่าเพราะอะไรกิเลสมันจึงเกิดได้ ทำอย่างไรกิเลสจึงดับลงได้<O:p</O:p
    แล้วทรงพยายามเพ่งพินิจหาทางออก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงทรงเห็นว่า เพราะอวิชชา ความโง่ ไม่รู้ความจริงแห่งทุกข์<O:p</O:p
    แล้วทรงกำหนดพิจารณาเรื่องของทุกข์ ทั้งส่วนที่เป็นนามและรูป<O:p</O:p
    (ปริญฺเญยฺย นามญฺจ รูปญฺจ)<O:p</O:p
    จนปรากฏตามความเป็นจริงตามสภาพว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา<O:p</O:p
    ไม่ควรต้องการยึดถือเข้าไว้<O:p</O:p
    นี่เป็นทางให้ละกิเลสตัณหาได้ เมื่อปฏิบัติตามทางนี้ กิเลสตัณหาก็หมดสิ้น
    ไม่ใช่จิตดับ จิตไม่เคยดับ จิตเป็นอสังขตธรรม ไม่ใช่สังขารธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถ้าสมมุติว่าจิตดับ
    <O:p</O:pความบริสุทธิ์ที่เป็นตัวนิโรธหรือสันตินิพพานจะอยู่กับอะไร ก็พลอยดับไปด้วย<O:p</O:p
    เหมือนความบริสุทธิ์สะอาดของผ้าอยู่กับผ้า<O:p</O:p
    ไฟไหม้ผ้าหมดแล้ว ความบริสุทธิ์ยังจะมีอีกหรือ ฉันใด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นิโรธหรือสันตินิพพาน ก็เป็นคุณภาพ คือ ความบริสุทธิ์ของจิต<O:p</O:p
    จิตเป็นอสังขตะปราศจากเหตุ เป็นอมตธรรม คือ ธรรมทรงตัวไม่ตาย ฉะนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอุทานตอนที่ ๒ นี้เป็นเรื่องทรงทำธุระในอริยสัจจ์ ๒ คือ มรรค กับ นิโรธ<O:p</O:p
    จิตบริสุทธิ์ถึงขีดสุด พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก<O:p</O:p
    กิเลสดับ ทุกข์ดับไปจากจิต จิตออกนอกโลก คือ โลกุตตระ<O:p</O:p
    ตรงกับคำในพระอุทานตอน ๒ นี้ว่า ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวที<O:p</O:p
    เพราะรู้แจ้งชัดว่า ธรรมที่เป็นผลหมดสิ้นไปแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งเหตุ ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอุทานตอน ๓ ว่า<O:p</O:p
    ยทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พราหมฺณสฺส<O:p</O:p
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ<O:p</O:p
    แปลว่า<O:p</O:p
    เมื่อพราหมณ์เพียรพยายามเพ่งพินิจอยู่ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏแจ่มกระจ่างขึ้น
    <O:p</O:pย่อมกำจัดมารและเสนามารซึ่งตั้งประชิดอยู่ให้หมดสิ้นไปได้<O:p</O:p
    เหมือนอาทิตย์อุทัยขึ้นเด่นดวงโชติช่วงรัศมี กำจัดความมืดที่คลุมกลบ<O:p</O:p
    ทำพื้นพิภพให้สว่างกระจ่างจ้า แสดงสรรพวัตถุต่างๆให้ปรากฏชัด ฉะนั้น ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธอุทานตอนที่ ๓ นี้ เข้าใจว่าพระองค์ทรงเสร็จกิจ<O:p</O:p
    ไม่มีอะไรอีกที่จะต้องทรงพยายามเพ่งพินิจในอริยสัจจ์ ๔ เหล่านี้<O:p</O:p
    ได้วิมุตติความหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงเป็นสันตินิพพาน<O:p</O:p
    บรรลุผลถึงที่สุดจุดจบ โดยพระญาณ ๓ ที่เป็นไปแล้ว ในอริยสัจจ์ ๔ อย่างนี้คือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ<O:p</O:p
    ทุกข์ พึงกำหนดรู้ความจริง กำหนดรู้แล้ว<O:p</O:p
    สมุทัย พึงละเสียให้หมดสิ้น ละหมดแล้ว<O:p</O:p
    นิโรธ พึงทำให้แจ้งปรากฏขึ้น ทำให้แจ้งแล้ว<O:p</O:p
    มรรค พึงเจริญขึ้นให้สมบูรณ์ ได้เจริญขึ้นแล้ว<O:p</O:p
    โดยประการดังนี้ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ --------

    จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร (โปรดติดตามตอนต่อไปครับ)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    +++++++++++++++++++++
    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3


    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน

    [​IMG]


    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...