โลกุตรธรรม ตอนที่ ๑๓ เรื่อง พระพุทธอุทานครั้งที่ ๓

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 22 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ชุมนุมบทความ
    ของ เปมงฺกโร ภิกฺขุ เรียบเรียง

    ข้อ ๑๓ เรื่องพระพุทธอุทานครั้ง๓<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พระพุทธอุทานทรงเปล่งขึ้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ<o:p></o:p>
    ยังไม่เสด็จออกจากจังหวัดขอบเขตโพธิพฤกษ์ อีกเรื่องหนึ่งมีดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พราหฺมโณ อถรูปา อรูปาจ สุขทุกฺขา ปมุญฺจติ ดังนี้<o:p></o:p>
    แปลว่า<o:p></o:p>
    เมื่อใดพราหมณ์ผู้มุนี ได้รู้จักตน พบตน ด้วยความเป็นผู้นิ่งสงบ<o:p></o:p>
    หรือด้วยปัญญาอันเกิดแต่ความนิ่งสงบ<o:p></o:p>
    เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ได้ ดังนี้
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    บรรยายความ<o:p></o:p>
    คำว่าพราหมณ์ในพระอุทานนี้ เป็นคำใช้แทนตัวพระองค์เอง<o:p></o:p>
    ดังที่ได้พูดแล้วในข้อ ๑๑<o:p></o:p>
    คำว่า มุนิ หมายถึง อาการจิตที่นิ่งสงบเป็นสมาธิจิต แต่ใช้เป็นนามของนักปราชญ์<o:p></o:p>
    เข้าใจว่า อาการจิตที่นิ่งสงบนั้น เป็นคุณสมบัติของนักปราชญ์<o:p></o:p>
    ไม่พูดพล่ามในเมื่อไม่มีเหตุการณ์อะไรที่จะต้องพูด<o:p></o:p>
    รู้จักเวลากาลที่ควรพูดและไม่ควรพูด<o:p></o:p>
    อีกประการหนึ่ง ความนิ่งสงบเป็นบ่อเกิดแห่งปรัชญาณ คือ บ่อเกิดแห่งปัญญา<o:p></o:p>
    คำว่า มุนิ มุนี จึงมีความหมายเป็นนามของนักปราชญ์<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ข้อความในพระอุทานนี้ แสดงให้เห็นเป็นเรื่องของคนเข้าใจผิด<o:p></o:p>
    ที่ไปหลงยึดถือในสิ่งที่ผิด โดยความเข้าใจว่าถูก<o:p></o:p>
    คือ ยึดถือปัญจขันธ์ว่าเป็นอัตตาตัวตนโดยความเข้าใจผิด<o:p></o:p>
    เพราะยังไม่เห็นยังไม่พบอัตตาที่แท้จริง ก็งมถือผิดๆอยู่ตลอดกาล<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ปัญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ นั้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<o:p></o:p>
    รูปร่างกาย จัดเป็น รูปขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูป<o:p></o:p>
    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นั้น เป็นนามขันธ์<o:p></o:p>
    เรียกสั้นๆว่า พวกนาม หรือ พวกอรูป คือ ไม่ใช่พวกรูป<o:p></o:p>
    ขันธ์ ๕ นี้คุมกันเข้าก็เป็นอัตภาพร่างกายของคนทุกคน<o:p></o:p>
    ตลอดถึงร่างกายสัตว์ชาวโลก<o:p></o:p>
    พวกสามัญชนมวลมนุษย์ยึดถือเอาขันธ์ ๕ นี้เป็นอัตภาพตัวตน<o:p></o:p>
    เพราะไม่เห็นอื่นนอกไปจากนี้ที่จะเป็นอัตตาตัวตนได้<o:p></o:p>
    แปลว่า ยังไม่รู้จักตัวเอง ยังไม่พบอัตตาตัวตน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เมื่อพระพุทธเจ้า ผู้รู้จักแล้ว พบแล้ว ตรัสสอนว่า<o:p></o:p>
    ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ปล่อยวางเสีย<o:p></o:p>
    คนฟังไปเข้าใจเสียว่า พุทธศาสนาไม่มีตัวตน ยิ่งจะหนักเข้าไปอีก<o:p></o:p>
    ก่อนนั้นความมืดมนมันหนาเพียงสองวา อีคราวนี้น่าจะถึงสองแสนสี่หมื่นวา<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ขันธ์ ๕ ที่เป็นอัตภาพร่างกายของคนนั้น<o:p></o:p>
    เมื่อพินิจพิจารณาลงไปให้ละเอียดทั่วถึงแล้วก็เห็นเป็นโลก เป็นอารมณ์<o:p></o:p>
    เป็นทุกข์อริยสัจจ์ เนื่องกับธาตุ ๔ น้ำ ดิน ไฟ ลม ดังพูดแล้วในข้อ ๑๒<o:p></o:p>
    เป็นพวกที่ถูกรู้ ของผู้รู้คือ จิต แปลว่า มันเป็นอารมณ์ของจิตซึ่งเป็นผู้รู้หมดทั้งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    รูปขันธ์ข้อต้น มียนต์กลไกพิสดารมาก<o:p></o:p>
    ประกอบด้วยอวัยวะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเครื่องดักอารมณ์<o:p></o:p>
    รูปขันธ์ที่ว่านี้ก็เป็นธาตุ ๔ มาจากธาตุ ๔ ส่วนใหญ่<o:p></o:p>
    ภายนอกเป็นอารมณ์ของจิตเพราะเป็นพวกถูกรู้<o:p></o:p>
    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นั้น<o:p></o:p>
    เป็นกิริยากรรมการกระทำของจิตเนื่องด้วยอารมณ์ที่เข้ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕<o:p></o:p>
    เช่น ตา หู เป็นต้น ซึ่งเนื่องด้วยธาตุ ๔ ภายนอกเหมือนกัน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    สรุปรวมแล้วก็เป็น ๒ เท่านั้น คือ จิต กับ อารมณ์<o:p></o:p>
    อารมณ์เป็นพวกถูกรู้ เนื่องด้วยรูปธาตุ ๔ คือ น้ำดิน ไฟ ลม<o:p></o:p>
    ภายนอกเป็นโลก เป็นทุกข์อริยสัจจ์<o:p></o:p>
    จิต เป็นผู้รู้อารมณ์ รู้โลก รู้ทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    จิตที่เป็นผู้รู้นั้นเมื่อเกิดปัญญา รู้ความจริงของอารมณ์แล้ว<o:p></o:p>
    ไม่ติดในอารมณ์ ไม่มีกิเลสคือ ตัณหาอุปาทาน<o:p></o:p>
    เป็นจิตบริสุทธิ์ คือ ผู้รู้บริสุทธิ์ชั้นพุทธะ นี้แหละเป็นอัตตาตัวตน
    ไม่มีการยึดถือที่ไปเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ คือ อัตภาพร่างกาย ยึดมั่นถือมั่นเอาเป็นอัตตาตัวตนนั้น<o:p></o:p>
    เป็นความเข้าใจผิดเพราะฤทธิ์อวิชชา<o:p></o:p>
    การยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตัวตน ก็คือ ยึดถืออารมณ์ ติดอารมณ์<o:p></o:p>
    นับว่ายึดติดแน่นอยู่ในโลก จมปุกอยู่ในกองทุกข์<o:p></o:p>
    ตกอยู่ในอำนาจ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบากนั้นเอง ไม่ใช่อัตตาตัวตนจริงๆ<o:p></o:p>
    เห็นได้ชัดๆ จิตที่เป็นผู้รู้ รู้แล้วไม่ติดไม่ยึดถือ<o:p></o:p>
    มีความบริสุทธิ์เป็นพุทธะต่างหากเป็นอัตตาตัวตน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่ผู้ยึดถืออัตตาผิดดังว่านั้นจะไปพูดกับเขาว่าอัตตาตัวตนไม่มีนั้นไม่ได้<o:p></o:p>
    คือ ใช้คำปฏิเสธว่าไม่มีนั้นไม่ได้ ต้องใช้คำปฏิเสธว่าไม่ใช่จึงจะถูก เพราะสิ่งที่เขายึดถืออยู่นั้นมี<o:p></o:p>
    ถ้าไม่มีกิริยายึดถือจะประกอบกับอะไร สิ่งที่ยึดถือนั้นมีจริงๆแต่ว่ามันไม่ใช่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจึงตรัสปฏิเสธขันธ์ ๕ กับพวกพระปัญจวัคคีย์ผู้ยึดถือขันธ์ ๕ เป็นอัตตา<o:p></o:p>
    ด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน จะพูดว่าตัวตนไม่มีไม่ได้เพราะเขายึดถืออยู่<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อย่างคนที่ถือธนบัตรปลอมหรือทองวิทยาศาสตร์ เข้าใจว่า ธนบัตรแท้ ทองแท้<o:p></o:p>
    เราเป็นผู้รู้จักธนบัตรดี ทองดี ชำนาญเห็นเข้าแล้ว<o:p></o:p>
    เมื่อจะเปลื้องความเข้าใจผิดความโง่เขลาของเขา<o:p></o:p>
    เราจะพูดกับเขาว่า ธนบัตรไม่มีนั้นไม่ได้ ของมีอยู่ในตัวเขา จะว่าไม่มีอย่างไร<o:p></o:p>
    ต้องพูดว่าธนบัตรทองคำที่ถืออยู่นั้นไม่ใช่ของแท้ เป็นของปลอมแปลงต่างหาก<o:p></o:p>
    ดังนี้จึงจะถูก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้นที่เข้าใจกันว่า พระพุทธศาสนาไม่มีตัวตน<o:p></o:p>
    โดยยึดคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน<o:p></o:p>
    ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอนัตตลักขณสูตรเป็นหลักอ้างนั้น<o:p></o:p>
    ต้องถือว่าไม่รู้จักภาษาคำพูดหรือฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ในพระพุทธศาสนามีทั้ง ๒ อย่าง คือ ตัวตนก็มี ไม่ใช่ตัวตนก็มี<o:p></o:p>
    ดื่นดาษอยู่ในพระบาลีที่มานั้นๆฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เมื่อเข้าใจว่าอัตตาตัวตนมีในพระพุทธศาสนาดังว่ามานี้แล้ว<o:p></o:p>
    ควรหวนไปตรวจคิดถึงข้อความในพระพุทธอุทานนี้เสียใหม่ ทรงเปล่งออกมาว่า<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เมื่อใดพราหมณ์มุนีได้รู้จักตน หรือได้พบตนด้วยอำนาจปัญญาอันเกิดจากสมาธิจิต<o:p></o:p>
    เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุข และทุกข์ได้ ดังนี้ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อัตตาตัวตนได้แก่ จิตผู้รู้บริสุทธิ์ถึงขีดสุด<o:p></o:p>
    ดับสมุทัย คือ กิเลสตัณหาอุปาทาน<o:p></o:p>
    ดับทุกข์คือ อารมณ์ต่างๆ ดับหมด เป็นสันตินิพพาน<o:p></o:p>
    จิตเป็นเอกภาพว่าง ไม่มีนิมิตหมาย<o:p></o:p>
    อนารมฺมณํ ไม่ใช่พวกอารมณ์ ออกนอกอารมณ์ ไม่มีอารมณ์<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    อารมณ์เป็นตัวทุกข์ อารมณ์เป็นโลก เนื่องด้วยธาตุ ๔ ดังกล่าวแล้ว<o:p></o:p>
    สันตินิพพานซึ่งเป็นอัตตาตัวตนอยู่นอกโลกเหนือโลก<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ข้อความตอนปลายที่แสดงผลไว้ว่า<o:p></o:p>
    ย่อมพ้นจากรูป อรูป สุขและทุกข์ได้ ในเมื่อพบเห็นตนแล้วนั้น<o:p></o:p>
    รูป อรูป สุขและทุกข์ในที่นี้คือ ปัญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ เป็นอัตภาพร่างกาย<o:p></o:p>
    ที่โลกสามัญชนมวลมนุษย์ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตน โดยความเข้าใจผิด<o:p></o:p>
    เพราะไม่เห็นอื่นนอกไปจากนี้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ส่วนท่านผู้ที่ถึงสันตินิพพาน เห็นตน พบตน แล้วปัดทิ้งไปแล้ว<o:p></o:p>
    ไม่ใช่อัตตาตัวตนโดยประการดังนี้ ฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เบญเอย เบญจขันธ์<o:p></o:p>
    สิ่งสำคัญ ไม่เห็น มีที่ไหน<o:p></o:p>
    พิจารณา ตรวจตรา หาทั่วไป<o:p></o:p>
    ส่วนใดๆ ก็ไม่เห็น เป็นทนทาน<o:p></o:p>
    โลกไม่ เฉลียว เพ่งพินิจ<o:p></o:p>
    เพราะฤทธิ์โง่ วนวง ในสงสาร<o:p></o:p>
    เอาเป็นตัว เป็นตน ว่าทนทาน<o:p></o:p>
    ต้องทนทุกข์ ดักดาน อยู่นานเอยฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ทุกข์เอย ทุกขัง<o:p></o:p>
    ใครได้ฟัง นึกได้ ไม่ประสงค์<o:p></o:p>
    แต่ยึดเหนี่ยว เกี่ยวพัน ทุกข์มั่นคง<o:p></o:p>
    ไม่จำนง ปล่อยปลด ลดเสียมั่ง<o:p></o:p>
    ทุกข์หนัก ทุกข์แรง มันแผลงฤทธิ์<o:p></o:p>
    อวิชชา คลุมมิด ทั้งหน้าหลัง<o:p></o:p>
    เกลียดทุกข์ ขังทุกข์ ทุกข์ก็ประดัง<o:p></o:p>
    เฝ้าแต่นั่ง ครวญคราง ไม่วางเอยฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ --------

    <o:p><o:p>ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เชิญท่านแวะชมและโมทนาบุญ
    มีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มจากเดิมอีกหลายรายการครับ

    [​IMG]</o:p>

    </o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2009
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    กราบหลวงปู่เปรม เปมงฺกโร พระแท้ที่ควรสักการะบูชา

    และอนุโมทนา จขกท. ครับ

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...