โลกุตรธรรม ตอนที่ ๘ เรื่อง พระมหาบุรุษรัตน์สิทธัตถะตรัสรู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 30 ตุลาคม 2008.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ข้อ ๘ เรื่องพระมหาบุรุษรัตน์สิทธัตถะตรัสรู้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระมหาบุรุษรัตน์สิทธัตถะ ตรัสรู้ธรรม เข้าถึงธรรม
    ได้พระนามใหม่ว่า<O:p</O:p
    พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ได้แก่ จิตเป็นผู้รู้
    เดิมพระองค์ก็มีจิตเป็นผู้รู้<O:p</O:p
    คนธรรมดาสามัญก็มีจิตเป็นผู้รู้<O:p</O:p
    ตลอดสัตว์เดรัจฉานก็มีจิตเป็นผู้รู้ <O:p</O:p
    แต่ไม่เรียกว่า พุทโธ .....เพราะรู้ไม่ทั่วถึง ไม่รู้สิ่งที่สำคัญ อวิชชาคุมจิตอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มีผู้รู้ ก็ต้องมี สิ่งที่ถูกรู้<O:p</O:p
    จิตของคนธรรมดาสามัญ ก็รู้แต่วิชาความรู้เรื่องในโลก<O:p</O:p
    รู้อารมณ์ต่างๆที่เข้ามาตามวิถีทางทั้ง ๕ มีตาเป็นต้น ในอัตภาพร่างกายของตนเท่านั้น<O:p</O:p
    และรู้แล้วติดโดยอำนาจกิเลส คือ ชอบใจอยากได้ยึดถือ<O:p</O:p
    ไม่รู้เรื่องนอกโลกคือ โลกุตตระธรรมหรือนิพพาน<O:p</O:p
    กล่าวคือ ไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้เรื่องภายในของตนเอง คือ ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ <O:p</O:p
    จิตคือผู้รู้ ดังว่านี้ จึงไม่เรียกว่าพุทโธ เป็นพวกอวิชชาหมด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ส่วนจิตของพระมหาบุรุษใหม่นี้ ได้ตรัสรู้ คือ รู้อริยสัจจ์ ๔<O:p</O:p
    เป็นเรื่องภายในของพระองค์เองนี้<O:p</O:p
    ทรงรู้ทราบซึ้ง ทั้งส่วนโลกียะเรื่องในโลก ทั้งส่วนโลกุตตระเรื่องนอกโลก<O:p</O:p
    ไม่ติดอยู่ในโลก พ้นแล้วจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก<O:p</O:p
    จิตคือผู้รู้ของพระองค์ จึงได้นามใหม่ว่า พุทโธ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จักตัวของตัวเองแล้ว จึงปัดพวก อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อริยสัจจ์นั้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค<O:p</O:p
    ที่เรียกว่าอริยสัจจ์ คือ เป็นของจริง เรื่องจริง ตามสภาพของมัน<O:p</O:p
    เกิดจริง ดับจริง ดีจริง ชั่วจริง เหม็นจริง หอมจริง ของพระอริยชนคนพิเศษ<O:p</O:p
    ไม่ใช่ของจริง เรื่องจริง ของคนธรรมดาสามัญ<O:p
    โดยอธิบายว่า<O:p</O:p
    ใครรู้อริยสัจจ์ ๔ นี้ ทราบซึ้งดีแล้ว ก็เป็นอริยบุคคล<O:p</O:p
    พ้นจากคนธรรมดาสามัญ เป็นพวกพิเศษ(โคตรภูญาณพระโสดา)<O:p</O:p
    ๔ ประการนั้นจึงได้นามว่า อริยสัจจ์ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อต้น คือ ทุกข์<O:p</O:p
    ทุกข์ แปลว่า ไม่ทนไม่ถาวร<O:p</O:p
    คือ พวกสังขาร สิ่งซึ่งไหลมาจากเหตุต่างๆ ปรุงให้เกิดเป็นวัตถุต่างๆขึ้น<O:p</O:p
    ได้แก่ สรรพวัตถุสิ่งต่างๆบรรดามีในโลก ตลอดถึงกายสัตว์และกายคน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สังขาร ตรงกันข้ามกับ อสังขตะ คู่กับอสังขตะ<O:p</O:p
    อสังขตะปฏิเสธเหตุ ไม่มีผู้สร้าง เป็นธาตุตัวยืน ไม่เกิดไม่ตาย<O:p</O:p
    คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และจิตของสัตว์โลก แต่เมื่อไปประสมกันเข้า เรียกว่า สังขาร<O:p</O:p
    ประสมเกิดจากเหตุกลายเป็นของเกิดตาย เกิดดับ<O:p</O:p
    จิตของสัตว์โลก คนธรรมดาสามัญ เรียกว่าจิตตสังขาร ต้องเกิดตาย<O:p</O:p
    แต่จิตที่แยกเป็นนิพพานแล้วไม่เกิดไม่ตายต่อไป เป็นพวกนอกโลก ได้แก่ นิโรธสัจจ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำว่าทุกข์นี้มีชื่อหลายอย่าง ซึ่งเป็นไวพจน์กัน<O:p</O:p
    ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะไม่ทน ไม่ถาวร<O:p
    เรียกว่าสังขารอีกก็ได้ เพราะเป็นวัตถุตัวผลที่เหตุต่างๆ ปรุงสร้างให้มีให้เป็นขึ้น<O:p</O:p
    เรียกว่าอารมณ์อีกก็ได้ เพราะเป็นอารมณ์ของจิต เช่นรูป เสียง เป็นต้น<O:p</O:p
    เข้ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย<O:p</O:p
    จะเรียกว่ากามวัตถุก็ได้ เพราะอารมณ์ต่างๆฝ่ายข้างดี ก่อให้เกิดราคะตัณหา<O:p</O:p
    สรุปรวมลงก็คือ โลก (ซึ่งตรงกันข้ามกับโลกุตตระ อสังขตะนอกโลกนั้น)<O:p</O:p
    เรียกว่าทุกข์ เป็น สิ่งที่ถูกรู้ ของจิตคือผู้รู้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่รู้สึกว่าจะกว้างมากเกินไปแล้วที่พูดมานี้ พูดให้แคบเข้ามาอีกก็คือ<O:p</O:p
    ปัญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<O:p</O:p
    ซึ่งนับว่าเป็นรูปร่างอัตภาพของคน ทุกคนนี้แหละ เรียกว่า ทุกข์<O:p</O:p
    รวมทั้งอารมณ์ต่างๆ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น<O:p
    ซึ่งเข้ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕ มี ตา หู จมูก ฯลฯ เป็นต้น ดังว่านั้นด้วย จัดเป็นทุกข์หมด<O:p</O:p
    ไม่มีอะไรเที่ยงถาวรอยู่ได้ เกิดขึ้นแล้วแปรเสื่อมไปหมด เป็นอริยสัจจ์ข้อที่ ๑<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อที่ ๒ คือ สมุทัย<O:p</O:p
    หมายถึงต้นเหตุ ซึ่งก่อให้เกิดทุกข์ในข้อ ๑<O:p</O:p
    สมุทัยตัวเหตุนั้นได้แก่<O:p</O:p
    ตัณหาความร่านดิ้นรนอยากได้ซึ่งอารมณ์อันเป็นที่ถูกรู้ อันเป็นตัวทุกข์<O:p</O:p
    ตัณหาเป็นกิเลสตัวแม่บทแห่งบรรดากิเลสทั้งมวล มีอวิชชาความไม่รู้เรื่องเป็นมูลฐาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตัณหาแจกแยกไปตามอารมณ์เป็น ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา<O:p</O:p
    ข้อ ๑ กามตัณหา ตัณหาในกาม คือความใคร่ความต้องการกาม<O:p</O:p
    กาม คือ อารมณ์ที่ต้องการ หรือ กามวัตถุที่น่าใคร่ เช่น รูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้น<O:p</O:p
    ข้อ ๒ ภวตัณหา ตัณหาในภพ ๆเครื่องดักกามนั้นได้แก่รูปขันธ์<O:p
    ซึ่งจัดเป็นอัตตภาพร่างกาย ประกอบด้วย อายตนะหรือวิถีทวาร ๕<O:p</O:p
    คือเช่น ตา หู จมูก เป็นต้นสำหรับดักกามคือ อารมณ์ที่น่ารักใคร่<O:p</O:p
    ตรงกับสัญโยชน์ข้อรูปราคะ<O:p</O:p
    ข้อ ๓ วิภวตัณหา ตัณหาในวิภว เครื่องเก็บกักกาม คือ เก็บกักอารมณ์<O:p</O:p
    ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ<O:p</O:p
    ซึ่งเป็นกิริยากรรมของจิต หรือพลังงานของจิต ติดต่อกับอารมณ์<O:p</O:p
    ตรงกับสัญโยชน์ข้อ อรูปราคะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กิเลส คือ ตัณหา ๓ นี้ เป็น สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ทั้งภายนอกและภายในเป็นเหตุ<O:p</O:p
    โดยเป็นเครื่องผูกมัด จิต ผู้รู้ กับ ทุกข์(คืออารมณ์) ซึ่งเป็นสิ่งถูกรู้<O:p</O:p
    เข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จิตคือผู้รู้ ที่เป็นพุทธะหรือพุทโธ รู้อารมณ์อะไรแล้วไม่ติด<O:p</O:p
    เพราะท่านไม่มีกิเลสเป็นเหตุติด คือ ตัณหาเป็นเครื่องผูกมัดให้ติด<O:p</O:p
    เรียกสั้นๆว่า รับรู้แต่ไม่รับรอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ส่วนจิตคือผู้รู้ของคนสามัญไม่ใช่พุทโธ รู้อารมณ์อะไรแล้วติดอยู่กับอารมณ์นั้น<O:p</O:p
    เพราะมีกิเลสคือตัณหาอุปาทาน จึงพูดกันว่าเป็นทุกข์เฉพาะ<O:p</O:p
    จิตคือผู้รู้นั้นเป็นตัวสุขไม่ใช่ตัวทุกข์ กิเลสกับอารมณ์ต่างหากเป็นตัวทุกข์<O:p</O:p
    ไปมัดติดกันเข้าก็เลยกลายเป็นทุกข์ไปด้วยกัน อย่างตักข้าวใส่จานปนอุจจาระ<O:p</O:p
    จิตคือผู้รู้อย่างนี้เป็นโลกียจิตคือจิตสามัญชน ถูกมัดติดกับทุกข์<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นจึงว่า ตัณหาเป็นสมุทัยเหตุให้ทุกข์เกิดดังนี้ ฯ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อ ๓ คือ นิโรธ<O:p</O:p
    นิโรธแปลว่าดับ คือ กิเลสตัณหาซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ดับไปจากจิต<O:p</O:p
    จิตหลุดพ้นไปจากอำนาจกิเลสตัณหา<O:p</O:p
    นิโรธมิได้หมายความว่าจิตดับอย่างมติเลอะเทอะผิดๆของคนบางจำพวก<O:p</O:p
    นิโรธ หมายถึง จิตคือผู้รู้ บริสุทธิ์หมดจด เพราะกิเลสดับ<O:p</O:p
    จิตเป็นสันตินิพพานในภาคโลกุตตระ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตรงกันข้ามกับจิตในข้อ ๑ ข้อ ๒ ปรากฏขึ้น<O:p</O:p
    นิโรธจิตหรือโลกุตตระจิตถึงแม้ยังเป็นสอุปาทิเสสนิพพานยังครองปัญจขันธ์อยู่ <O:p</O:p
    นิโรธ จิตผู้รู้นี้ ไม่ติดในอารมณ์กลอกกลิ้งเหมือนน้ำบนใบบัว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นิโรธ ภาษาไทยว่า ดับ ดับเป็นกิริยากรรมของสิ่งหนึ่ง<O:p</O:p
    ในที่นี้หมายถึงกิริยากรรมของกิเลส <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตัณหาดับไปจากจิต เปิดความบริสุทธิ์แห่งจิตซึ่งประจำเป็นธรรมชาติแห่งจิต<O:p</O:p
    ให้ปรากฏเด่นขึ้นโดยอำนาจข้อปฏิบัติคือมรรคในข้อ ๔ ต่อไป<O:p</O:p
    แต่มิได้หมายความว่า<O:p</O:p
    ข้อปฏิบัติคือมรรคนั้นสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตหรือสันตินิพพานให้เกิดขึ้น<O:p</O:p
    มรรคเพียงกำจัดให้กิเลสตัณหาหมดไปดับไปเท่านั้น<O:p</O:p
    ความบริสุทธิ์แห่งจิตหรือสันตินิพพานเขามีอยู่ก่อนแล้ว<O:p</O:p
    เปรียบเหมือนการซักฟอกมลทินให้หมดไปจากผ้าเครื่องนุ่งห่มฉะนั้น ดังนี้ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อ ๔ มรรค ออกจากคำว่า มคฺโค แปลว่า ทาง<O:p</O:p
    เราพูดกันว่า มรรค เป็นชื่อของทางเดิน อย่างสถลมรรค ทางถนน<O:p</O:p
    แต่ในที่นี้หมายถึงกิริยากรรมของจิต<O:p</O:p
    ปฏิบัติตนเอง เป็นอุบายวิธีทำ ข้อปฏิบัติซักฟอกจิตให้ได้ความบริสุทธิ์เท่าเดิม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มรรค พระองค์ตรัสจัดไว้ โดยกิริยากรรมถึง ๘ ประการ คือ<O:p</O:p
    ๑.สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นความรู้ถูก คือ<O:p</O:p
    รู้เห็นอริยสัจจ์ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้น<O:p</O:p
    ๒ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริถูก คือ<O:p</O:p
    ดำริจะออกจากกาม ดำริในอันไม่พยาบาท ดำริในอันไม่เบียดเบียนฯ<O:p</O:p
    ๓. สมฺมาวาจา วจีกรรมถูก คือ เจตนางดเว้นวจีทุจริตฯ<O:p</O:p
    ๔. สมฺมากมฺมนฺโต กายกรรมถูก คือ เจตนางดเว้นกายทุจริตฯ<O:p</O:p
    ๕. สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพถูกไม่หลอกลวงเขากินฯ<O:p</O:p
    ๖. สมฺมาวายาโม เพียรพยายาม คือ เพียรละความชั่ว ประพฤติความดีฯ<O:p</O:p
    ๗. สมฺมาสติ ตั้งสติไว้ถูกต้อง คือ ตั้งสติไว้ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม<O:p</O:p
    ๘. สมฺมาสมาธิ สมาธิถูก คือ เจริญฌาน ๔ ได้แก่ ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมฺมาสมาธิ เป็นวิธีแยกจิตออกจากอารมณ์ แล้วจึงรู้เห็นอริยสัจจ์ ๔<O:p</O:p
    ในมหาจตฺตาริสูตร เอาสมฺมาสมาธิเป็นบทที่ ๑ สมฺมาทิฏฐิเป็นบทที่ ๒<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อริยมรรค ๘ ประการเหล่านี้เป็นกิริยากรรมของจิต<O:p</O:p
    เป็นวิธีการชำระจิตให้บริสุทธิ์ เป็นกิจเพื่อทำความบริสุทธิ์อย่างเดียว<O:p</O:p
    แต่มีวิธีการทำถึง ๘ ส่วน ๘ ตอนต่างๆกัน ส่วนนั้นต้องทำอย่างนั้นๆไม่เหมือนกัน<O:p</O:p
    ต้องทำครบทุกส่วนพร้อมเพรียงกัน กระทำตามหน้าที่เป็นมัคคสมังคี<O:p</O:p
    ต้องพร้อมกันทำ ครบทั้ง ๘ ไม่พร่องไม่เลย เช่น ๗ไม่ได้ ๙ไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระองค์ตรัสจัดไว้พอดีแล้ว อริยมรรค ๘ ส่วน ทางทำจิตให้บริสุทธิ์นี้<O:p</O:p
    มีเนื้อความพิสดารกว้างขวางมาก ของดไม่ขยายในที่นี้ จะพูดต่อไปเป็นข้ออื่นๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระมหาบุรุษรัตน์สิทธัตถะตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ดังว่ามานี้ จึงได้พระนามใหม่ว่า พุทโธ<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้า ณ.บัลลังก์ภายใต้ไม้อัสสถะ ซึ่งภายหลังเรียกโพธิพฤกษ์<O:p</O:p
    ในดิถี วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขมาสก่อนพุทธศก ๔๖ ปีฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ -------- <O:p</O:p

    ขออนุญาตทำลิงค์มาให้ เผื่อท่านอื่นๆอาจจะยังไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้านี้ค่ะ

    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๑ เรื่องจิตผู้รู้
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๒ เรื่องจิตประภัสสร
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๓ เรื่องคำปฏิเสธปัดอัตตา
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๔ เรื่อง สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชา
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๕ เรื่อง สอนให้ช่วยตัวเอง
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๖ เรื่อง ประโยชน์ของการศึกษา

    ขอขอบคุณและอนุโมทนากับคุณธรรมะสวนังที่กรุณาทำลิงค์บทความของหลวงปู่
    ท่านที่สนใจและยังไม่ได้อ่าน เปิดอ่านได้มีประโยชน์มากครับ

    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน

    [​IMG]


    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2008
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

แชร์หน้านี้

Loading...