โสดาบัน......การเข้าถึงกระแสพระนิพพาน.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 21 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53

    มีพระอริยเจ้าทั้งหลายเคยกล่าวไว้ว่า ธรรมอันแท้จริงนั้น "ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบ ไม่มีการบรรลุและผู้บรรลุ" นั้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเพราะธรรมอันแท้จริงที่ว่านั่น คือ "นิพพานธรรม"นั่นเองเป็นธรรมที่เสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ความที่พระพุทธองค์ลงมาจุติเพื่อมาประกาศธรรมอันเป็นสัมมาทิฐินั้น พระองค์มีความเมตตาต่อบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าในบรรดาหมู่เวไนยสัตว์นั้นมีความแตกต่างกันเปรียบเสมือนดอกบัวทั้ง 4 เหล่า รอบปัญญาบารมีแต่ละคนทำมาไม่เท่ากันพระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมไว้ทุกระดับแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นในเวลาที่มีพราหมณ์หรือบรรดานักบวชนอกศาสนาทั้งหลายมาถามปัญหาในธรรมต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จะตอบปัญหาข้อข้องใจในธรรมไปตามเหตุตามปัจจัย การตอบธรรมของท่านนั้นมีการกล่าวถึงธรรมในระดับต่างๆกันไปตามความเหมาะสม<O:p</O:p




    ในเส้นทางการบรรลุธรรมเป็นโสดาบันนั้นเป็นรอบบารมีของผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรมชั้นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะละอนุสัยของตัวเองออกจากระบบเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้ จุดโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นจุดที่เข้าใจในเส้นทางธรรมชาติแห่งธรรมเข้าใจในเส้นทางวิถีแห่งจิตที่เป็นธรรมชาติของมัน เป็นจุดที่กระบวนการแห่งจิตเริ่มปรับไปสู่ "วิถีธรรมชาติอันดั้งเดิมของมัน" เพื่อมุ่งไปสู่เส้นทางการหลุดพ้นซึ่งเป็นวิถีแห่งธรรมอันเป็น "ธรรมชาติล้วนๆ" จุดตรงนี้เองที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่าหากผู้ใดบรรลุธรรมอันเป็นโสดาบันแล้ว มันเปรียบเสมือนสายน้ำที่ไม่ไหลกลับ เป็นจุดที่จิตได้เรียนรู้เพื่อความกระจ่างชัดเจนในธรรมและแก้ไขปัญหาคือทุกข์เป็น และด้วยวิธีแก้ทุกข์หรือแก้อวิชชาความไม่รู้ทั้งปวงโดยปรับสภาพจิตไปสู่ "ความเป็นธรรมชาติ" ของมันนั้น วิธีหรือวิถีแห่งจิตที่เป็น "ธรรมชาติ"นั่นเองมันเป็นสภาพที่เหมือน "สายน้ำที่ไม่สามารถย้อนกลับไปสู่จุดเดิมที่เคยไหลผ่านมา" ได้ มันมีแต่สายน้ำหรือวิถีอันเป็นธรรมชาตินี้จะไหลไปเรื่อยจะคลายกำหนัดไปเรื่อยเพื่อไปสู่ "ปากน้ำแห่งพระนิพพาน" ในท้ายที่สุด ด้วยวิธี "ไหลหรือคลายกำหนัด" แบบวิธีธรรมชาติตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้นั่นเอง<O:p</O:p




    การบรรลุโสดาบันนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ใดๆตามความเห็นส่วนตัวของพระพุทธองค์เองแต่อย่างใดเลย "แต่โดยสภาพแห่งธรรม" หากความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้น องค์ประกอบแห่งความรู้ทุกส่วนได้ทำลาย สักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส และวิจิกิจฉาลงได้ทุกส่วนหมดแล้วเช่นกันไซร้ ก็เท่ากับ "ดวงจิต" นั้นได้บรรลุเป็นอริยชนชั้นต้น คือ โสดาบันแล้ว <O:p</O:p




    สักกายทิฐิ คือ ความเห็นที่เป็นส่วนอวิชชาล้วนๆว่าเป็นตัวเป็นตนว่าเป็นเราเป็นเขาว่าเป็นอัตตาล้วนๆ เป็นส่วนของดวงจิตที่ยังถูกอวิชชาครอบงำได้ในทุกส่วน วิธีแก้ไขคือต้องเรียนรู้และยอมรับเพื่อทำความเป็นสัจธรรมความเป็นจริงให้ปรากฏว่า จริงๆแล้วไม่มีเราไม่มีเขาไม่มีอัตตามีความเป็นตัวตน แต่ความเป็นจริงมันประกอบขึ้นไปด้วยขันธ์ทั้ง 5 หรือ สิ่งห้าอย่างมารวมตัวกันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และขันธ์ทั้ง 5 นี้ ก็ล้วนตกอยู่ในกฎธรรมชาติ คือ มันล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองโดยเนื้อหามันเอง มันคือความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันคืออนัตตาอยู่แล้วโดยเนื้อหาโดยสภาพของมัน เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้วก็ถือว่าดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งสักกายทิฐิลงได้โดยสิ้นเชิง<O:p</O:p




    ศีลพรตปรามาส คือ ข้อห้าม ข้อวัตรหรือเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่างๆที่ดวงจิตนั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นโดยคิดว่าจะต้องทำข้อวัตรข้อห้ามเงื่อนไขนั้นๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อไปสู่หนทางแห่งพระนิพพาน แต่โดยเนื้อแท้แล้วข้อวัตร ข้อห้ามเงื่อนไขเหล่านี้ล้วนเป็นอวิชชาทั้งสิ้นเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเป็นโมหะงมงาย ไม่ใช่เส้นทางแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหนทางอันหลุดพ้นแท้จริง เช่น ลัทธิที่ต้องถือข้อวัตรคลานสี่ขาเหมือนโคแล้วต้องกินหญ้าทุกวัน เมื่อทำเช่นนี้แล้วตนเองจักเชื่อว่าข้อวัตรเหล่านี้จะทำให้ตนพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง แต่ด้วยความเป็นจริงโดยเนื้อหาแห่งข้อวัตรนั้นมันกลับเป็นอวิชชาซึ่งเต็มไปด้วยโมหะอย่างยิ่ง แต่เมื่อนักบวชเหล่านี้ได้ฟังธรรมพระพุทธองค์แล้วเกิดความเข้าใจในธรรมทั้งปวงและปล่อยให้จิตมันดำเนินไปสู่วิถีธรรมชาติของมันอันเป็นข้อวัตรแห่งธรรมชาติ เมื่อสภาพแห่งธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้วก็ถือว่าดวงจิตนั้นได้ทำลายอวิชชาแห่งศีลพรตปรามาสลงได้โดยสิ้นเชิง<O:p</O:p




    วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในธรรม เป็นความลังเลสงสัยด้วยความไม่เข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือการดับทุกข์ได้ และอะไรคือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ความลังเลความไม่เข้าใจในธรรมทั้งปวงมันเป็นอุปสรรคต่อการจะเข้าไปแก้ไขปัญหาดวงจิตที่ถูกอวิชชาห่อหุ้มเอาไว้ เสมือนว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอยู่แต่ไม่มีความรู้เลยว่าปัญหานั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ปัญหาเกิดขึ้นตรงไหนแล้วจะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีอะไร หากไม่ยอมศึกษาเรียนรู้ในธรรมว่าอะไรคืออะไรให้เกิดความเข้าใจตรงต่อสัจธรรมและสรุปเอาเองว่าธรรมแบบนี้แบบนั้นใช่แล้วตามความเข้าใจของตน การเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยลักษณะไม่รู้จริงก็ทำให้ปัญหาคืออวิชชานั้นยังคงอยู่ และลักษณะการเข้าไปแบบความไม่รู้จริงก็กลายเป็นอวิชชาตัวใหม่ซ้อนเข้ามาทำให้เกิดปัญหามากขึ้นตามมาอีก<O:p</O:p




    ครั้งในสมัยพุทธกาลที่พระองค์ทรงประกาศธรรมไว้ครั้งแรกในนาม "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร" พระองค์ทรงตรัสถึงธรรมอันเป็นทางสายกลาง คือมรรคมีองค์ 8 ให้ละเว้นทางที่ตึงเกินไป คือ การบำเพ็ญทรมานกายต่างๆแบบทุกรกิริยา และให้ละเว้นทางที่หย่อนเกินไปคือทางที่เสพกามคุณ และพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสมุทัย(เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) อะไรคือนิโรธ(การดับทุกข์ได้) อะไรคือมรรค(หนทางแห่งความพ้นทุกข์) ซึ่งเป็นธรรมอริยสัจทั้ง4 พระองค์ทรงชี้ให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แก้ไขปัญหาในอวิชชาอย่างเป็นระบบและถูกต้องตรงต่อสัจธรรม เมื่ออัญญาโกณฑัญญะเข้าใจในธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วว่า ความปรุงแต่งความคิดทั้งปวงคือทุกข์ ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 จนก่อให้เกิดตัณหาอุปาทานคือสมุทัย ความไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองของขันธ์ทั้ง5 ของตัณหาอุปาทานทั้งปวงคือ นิโรธ และตรงนี้คือหนทางดับทุกข์ได้ คือมรรค ก็เท่ากับอัญญาโกณฑัญญะทำลายสักกายทิฐิ ศีลพรตปรามาส วิจิตรกิจฉาลงได้แล้ว และเมื่ออัญญาโกณฑัญญะปล่อยให้จิตดำเนินไปสู่ความดับโดยตัวมันเองซึ่งเป็นวิธีและวิถีธรรมชาติของมัน พระองค์จึงเปล่งวาจาออกมาว่า "อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอรู้แล้วหนอ" อัญญาโกณฑัญญะก็บรรลุเป็นอริยชนชั้นโสดาปัตติผล ณ เวลานั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p




    คัดลอกมาจาก</O:p<O:p</O:p
    <O:p



    หนังสือ....."ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์."</O:p
    <O:p
    </O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...