ไตรลักษณ์ เวทนา อารมณ์ ตัวรู้ บัญญัติธรรม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 16 ธันวาคม 2008.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขออนุญาตตอบคำถามด้วยการตั้งเป็นกระทู้ใหม่นะครับ เพราะเห็นว่าเป็นคำถามที่มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติโดยส่วนรวม

    สืบเนื่องจากกระทู้ "เรียนกัลยาณมิตร" ของท่าน เรียน "ทำดีทันทีทำได้ทุกที่"
    http://palungjit.org/showthread.php?t=164704

    - - - - - - - - - -
    ขอตอบเจ้าของกระทู้ "ทำดีทันทีทำได้ทุกที่" ดังนี้

    ถาม : ไตรลักษณ์ คือ สภาวธรรม และสภาวธรรม ก็คือไตรลักษณ์ใช่หรือไม่?

    ตอบ : ไตรลักษณ์ คือ สภาวธรรมด้วย สภาวธรรม คือ ไตรลักษณ์ด้วย แต่ไตรลักษณ์เป็นเพียงบางอย่างของสภาวะธรรม ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะทุกอย่างเป็นธรรม ไตรลักษณ์ให้เห็นแง่มุมธรรมทั้งหมดว่าย่อมไม่พ้นไปจากความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไปได้ แม้พระนิพพานก็ตามย่อมไม่พ้นไปจากอนัตตา

    ถาม : เวทนา = วิญญาณ + สังขาร หรือ เวทนา = วิญญาณ + สัญญา หรือ เวทนา = วิญญาณ + สังขาร + สัญญา ใช่หรือไม่?

    ตอบ : การตั้งคำถามนี้ มองได้เป็นสองนัย นัยแรก คือ ถามว่าเวทนามีอะไรบ้าง กับนัยที่สอง คือ ถามว่าเวทนามีกระบวนการเกิดขึ้นอย่างไร ดังนั้นผมขอตอบทั้งสองนัย ดังนี้

    นัยที่ 1 : เวทนา มีหลายแบบ เวทนา 2 ก็มี เวทนา 3 ก็มี เวทนา 5 ก็มี เวทนา 6 ก็มี เวทนา 18 ก็มี เวทนา 36 ก็มี เวทนา 108 ก็มี

    - เวทนา 2 คือ เวทนาทางกาย กับเวทนาทางใจ
    - เวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา(อุเบกขาเวทนา/เฉยๆ)
    - เวทนา 5 คือ สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ
    - เวทนา 6 คือ เวทนาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
    - เวทนา 18 คือ เวทนาที่ประกอบด้วยความดีใจ 6 เวทนาที่ประกอบด้วยความเสียใจ 6 เวทนาที่ประกอบด้วยอุเบกขา(เฉยๆ) 6
    (6 คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    - เวทนา 36 คือ ดีใจเกี่ยวกับกามคุณ 6, ดีใจไม่เกี่ยวกามคุณ 6, เสียใจเกี่ยวกับกามคุณ 6, เสียใจไม่เกี่ยวกับกามคุณ 6, เฉยๆ แบบชาวบ้าน 6, เฉยๆ แบบเนกขัมมะ 6
    - เวทนา 108 คือ เวทนา 36 ที่เป็นอดีต, เวทนา 36 ที่เป็นปัจจุบัน, เวทนา 36 ที่เป็นอนาคต

    นัยที่ 2 : เวทนามีกระบวนการเกิดขึ้น คือ อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก เกิดอายตนะภายในวิญญาณ ทั้งสามอย่างเกิดแล้ว
    จึงเกิด อายตนะภายในผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาต่างๆ

    * อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    * อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(เรื่องในใจ)
    * อายตนะภายในวิญญาณ ได้แก่ จักขุวิญญาณ(เห็น), โสตวิญญาณ(ได้ยิน), ฆานวิญญาณ(ได้กลิ่น), ชิวหาวิญญาณ(รู้รส), กายวิญญาณ(รู้สิ่งต้องกาย), มโนวิญญาณ(รู้เรื่องในใจ)
    * อายตนะภายในผัสสะ ได้แก่ การรับรู้ทางตา, ทางหู ทางจมูก, ทางลิ้น, ทางกาย, ทางใจ

    ยกตัวอย่างเช่น การดูหนังดูละครทีวี จะมีกระบวนการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

    1. เมื่อตา กับ รูป (สึ-ภาพในทีวี) ทำงานร่วมกัน จึงเกิดจักขุวิญญาณ (เห็นรูป) แต่ยังไม่รู้ว่ารูปอะไร เรียกว่าอะไร เพียงเกิดการเห็นขึ้น
    2. เมื่อมีทั้งสามอย่างในข้อ 1 ครบ จะเกิดผัสสะ คือ การรับรู้ทางตา รู้ว่าที่เห็นนั้นเห็นภาพอะไร
    3. เมื่อเกิดผัสสะ จึงเกิดเวทนา ได้แก่ เกิดความรู้สึกสุขใจ เป็นทุกข์ใจ หรือเฉยๆ ในใจแล้วแต่ว่าดูเรื่องอะไร เนื้อหาเกี่ยวอะไร

    ถาม : อารมณ์ เกิดจากจิต สัมผัสกับเวทนาใช่หรือไม่?

    ตอบ : คำว่า "อารมณ์" นี้ จริงๆ แล้วจะหมายถึง "อารมณ์ 6" คือ อายตนะภายนอกครับ แต่หากผมเข้าใจคุณไม่ผิด คำว่า "อารมณ์" ของคุณจะหมายถึง "อารมณ์ปรุงแต่ง" ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โกรธ, โลภ, ฟุ้งซ่าน ฯลฯ หากเป็นอย่างว่ามาจัดเป็น "สังขารขันธ์" ที่เกิดสืบต่อมาจาก"เวทนา" อีกที ซึ่งเวทนาเองก็เกิดมาจาก "ผัสสะ" อีกทีหนึ่ง (ถ้าคำว่า "สัมผัส" ของคุณหมายถึงผัสสะ(การรับรู้) แสดงว่าถูกต้องแล้วครับ)

    หากจะยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากตัวอย่างข้างบน ที่กล่าวเรื่องดูหนังดูละครทีวี จะได้ว่า

    3. เมื่อเกิดผัสสะ จึงเกิดเวทนา ได้แก่ เกิดความรู้สึกสุขใจ เป็นทุกข์ใจ หรือเฉยๆ ในใจแล้วแต่ว่าดูเรื่องอะไร เนื้อหาเกี่ยวอะไร
    4. เมื่อเกิดผัสสะ ใจก็ปรุงแต่งไปต่างๆ ได้แก่ ชอบใจไปกับบทรัก, ไม่ชอบใจกับบทอกหัก, โมโหกับผู้ร้าย ฯลฯ

    ถาม : สัญญาขันธ์ เกี่ยวกับการระลึกได้ว่าตนขาดสติไป(ไม่เฉียบคม แต่เกิดอย่างอัตโนมัติตามความเคยชิน) เมื่อเกิดขึ้นเองบ่อย ๆ จะสามารถเรียกว่า "ตัวรู้" ได้หรือไม่?

    ตอบ : กรณีในคำถามคำว่า "ตัวรู้" ที่บอกว่าระลึกได้ว่าตนขาดสติไป ตรงนี้จะตรงกับคำว่า "สติ" แล้วจะไม่ใช่สัญญาขันธ์ แต่เป็น "สังขารขันธ์" เพราะสัญญาขันธ์จัดเป็นขั้นของการจำได้หมายรู้ที่เกิดควบคู่พร้อมกันกับการเกิดผัสสะเท่านั้น เช่น จำได้ว่านี้คือภาพอะไร, จำได้ว่านี้คือเสียงอะไรเป็นต้น ส่วน "ตัวรู้" หรือ "สติ" จะเกิดหลังจากที่ได้รับรู้แล้ว ใจเผลอไปปรุงแต่งเป็นสังขารขันธ์ คือ เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นในใจหรือเผลอไปพูดด่าคนอื่นไป จึงเกิด "สติ" ขึ้นในภายหลังแต่รวดเร็วเพราะฝึกมาบ่อย รู้สึกตัวว่าเผลอไปแล้ว จึงทำการละกิเลสที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว หยุดพูดด่าคนอื่น ตรงนี้จัดว่ายังเป็นฝ่าย "บุญ" เพราะขณะที่รู้สึกตัวว่าอะไรควร-ไม่ควร รู้ว่าเผลอไป จึงกลับมาดำรงอยู่ในสิ่งที่เหมาะสม ขณะนั้น จะมี "เจตนา" ร่วมอยู่ภายในด้วย ดังนั้น "เจตนา" จึงเป็นอะไรที่ปรุงแต่งมาจากใจอีกทอดหนึ่งนั่นเอง

    ถาม : บัญญัติธรรมในทางทฤษฏี ก็คือสภาวธรรมต่างๆ(ปรมัตถ์)ในทางปฏิบัติใช่หรือไม่?

    ตอบ : การบัญญัติคำศัพท์ต่างๆ ขึ้นมา ล้วนนำมาจากสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโลก หรือทางธรรม สิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้ หรือสิ่งที่ไม่ถูกปรุงแต่งครับคำศัพท์ที่เป็น "ปรัมัตถ์" จะเป็นสิ่งที่มาจากสภาวอันเกิดจากการภาวนาจนเห็นแจ้ง ที่มีขึ้นในจิตใจ จากผู้ปฏิบัติผ่านมา แล้วนำสิ่งที่เกิดขึ้น พบเจอมาบัญญัติเป็นคำศัพท์ให้เข้าใจง่าย ไม่เช่นนั้นแล้วย่อมสื่อสาร สอน เรียนรู้กันได้ลำบากครับ

    เท่าที่ตอบมาทั้งหมดคงเข้าใจมากขึ้นนะครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2008
  2. ทำดีทันทีทำได้ทุกที่

    ทำดีทันทีทำได้ทุกที่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +2
    โมทนาสาธุ....

    เมื่อจิตยังไม่แจ้ง บางครั้งข้อมูลก็มีความจำเป็นต้องนำมาพิจารณา
    เพื่อเป็นการนำร่อง
    กว่าจะรู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้มาถูกหรือไม่
    ก็หลังจากที่เกิดภาวนามยปัญญาแล้ว
    เรามาพิสูจน์ให้เห็นความจริงกันดีกว่า
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พูดมีเหตุผล

    มาน้อมปฏิบัติให้เข้าใจคำว่า ภาวนามัยปัญญาดีกว่า

    ถ้าเอาแต่สุตมัยปัญญา จินตมัยปัญญา อ่านออก ฟังเข้าใจ
    ขบคิด ตรึกตระหนักในเหตุผลได้ มันไม่แจ่ม

    สู้ภาวนามัยปัญญาไม่ได้ ไม่ต้องคิดก็เข้าใจเหตุปัจจัยแล้ว

    ไวกว่าไปตามรุ้เอาตอนผลมันเกิด มันช้าไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...