(๑๑) ตำนานมูลศาสนา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 19 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    มูลเหตุสังคายนา

    ปฐมสังคายนา


    ในที่นี้จักกล่าวยังเหตุอันจักให้เจ้าไททั้งหลายกระทำสังคายนาให้พึงรู้ฉะนี้ ในขณะเมื่อพระพุทธองค์จักนิพพานนั้น ก็บังเกิดโกลาหลเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก มหากัสสปเถรเจ้าบ่อาจรู้ได้ เหตุเจ้าไทอยู่ในป่าย่อมเข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถจะรู้เพื่อเหตุนั้น พระศาสดาเสด็จเข้าสู่พระนิพพานไปได้ถึง ๗ วันแล้ว เจ้าไทออกจากป่ามากับด้วยชาวเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ องค์มาพักอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง ในทันใดนั้น ยังมีปริพพาชกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพอันเทวดาเอามาแต่ชั้นดาวดึงส์ ลงมาบูชาพระบรมศาสดาที่เสาเชิงตะกอนนั้น มันเอาไม้เสียเป็นคันถือกางกั้นต่างฉัตร เดินมาในที่มหากัสสปเถรเจ้าพักอยู่นั้น เจ้าไทเห็ฯดอกไม้อันนั้ จึงมาคำนึงแต่ในใจว่า ดอกมณฑารพนี้จะบังเกิดมีขึ้นในมนุษยโลก ก็ในเมื่อพระพุทธเจ้าลงมาถือเอาปฏิสนธิ ๑ เมื่อออกทรงผนวช ๑ เมื่อได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ๑ เมื่อเทศนาพระธรรมจักร ๑ และเมื่อนิพพาน ๑ บัดนี้พระศาสดาแห่งกูนี้มีวัยอันชราแล้ว มินิพพานไปเสียจากกูแล้วหรือ เจ้าไทอยากจะใคร่รู้แจ้ง จึงเรียกปริพพาชกผู้นั้นมาแล้วอาราธนาให้นั่งอยู่ในที่อันควร แล้วเจ้าไทจึงอุฏฐาการจากอาศน์ ทรงคลุมซึ่งจีวรไว้เหนือบ่าข้างหนึ่งแล้ว ดำเนินเข้าไปใกล้ปริพพาชก แล้วทรงนั่งยองๆ ประณมมือขึ้นเฉพาะหน้าปริพพาชกเพื่อเคารพต่อพระศาสดาแล้ว จึงถามว่าท่านยังรู้ข่าวพระพุทธเจ้าแห่งเราแลฤา ปริพพาชกจึงบอกแก่เจ้าไท ว่า ข้าแต่เจ้ากู พระพุทธเจ้าพระองค์เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานไปแล้วได้ว ๗ วันนี้แล อันดอกมณฑารพนี้ ข้าหากนำมาแต่ที่เสาเชิงตะกอนพระบรมศพแห่งพระศาสดา อันเทวดานำเอามาแต่ชั้นดาวดึงส์ เพื่อสักการบูชาพระบรมศพพระพุทธองค์นั้นแล เมื่อปริพพาชกกล่าวดังนั้น ชาวเจ้าหมู่พระชีณาสพทั้งหลายก็บังเกิดธรรมสังเวชเป็นอันมาก ส่วนชาวเจ้าหมู่ที่เป็นปุถุชนหรือผู้ที่ได้โสดา สกิทาคา อนาคาทั้งหลายเหล่านั้นก็บังเกิดโศกปริเทวทุกข์ร่ำร้องไปด้วยเสียงอันดังบ้าง แก้ผ้าทอดไว้แล้วล้มสลบกลิ้งเกลือกไปมา ประดุจดังคนทั้งหลายเหล่านั้น ถูกตัดตีนสินมือแล้วปล่อยไว้เหนือแผ่นดินนั้นทีเดียว

    ในกาลนั้นยังมีชีเฒ่าองค์หนึ่ง ชื่อสุภัททะ มากับด้วยหมู่เจ้าไททั้งหลายในวันนั้น ท่านชีเฒ่าองค์นั้นเดิมอยู่ในฆราวาสนั้นได้เป็นช่างโกนหนวด และมีลูกชายอยู่ ๒ คน ครั้นต่อมาก็เข้ามาบวชในพระศาสนา เมื่อเวลาจะมาบวชนั้นก็นำเอาเครื่องอุปกรณ์สำหรับโกนหนวดนั้นมาเก็บไว้ด้วย และบุตรชายทั้ง ๒ คนก็เอาบวชเป็นสามเณรอยู่ด้วย บวชอยู่ในเมืองอตุมา (อีกฉบับหนึ่งว่า เมืองปทุม)นั้นแล

    ในกาลครั้งนั้น พระศาสดาพระองค์เสด็จไปเทศนาโปรดสัตว์ถึงเมืองอตุมา สุภัททะชีเฒ่ารู้ข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น มีใจปรารถนาจักใคร่ให้ทานแก่พระศาสดา สุภัททะชีเฒ่าจึงบังคับสามเณรทั้ง ๒ ที่เป็นบุตรนั้นว่า เขือทั้ง ๒ จงเอาเครื่องโกนหนวดนี้เดินไปทุกบ้านทุกเรือนเทอญ เมื่อคนทั้งหลายเขาจะโกนหนวดนั้น เขาให้เกลือก็ดี ข้าวสารก็ดี หรือน้ำผึ้ง น้ำมันงาและของเคี้ยวสิ่งอื่นๆ ก็ดี ให้เอามาเทอญ เราพ่อลูกจะกระทำข้าวยาคูถวายแก่พระศาสดาในเวลาเช้าวันพรุ่งนี้ เจ้าสามเณรน้อยทั้ง ๒ ก็พากันไปตามคำสั่งของสุภัททะชีเฒ่าผู้บิดานั้น ก็ได้วัตถุทั้งหลายมาพร้อมทุกอันนั้นแล ฝ่ายท่านสุภัททะชีเฒ่าครั้นตะวันเย็นก็ไปบอกให้คนทั้งหลายมาช่วยกระทำข้าวยาคู แล้วจ่ายกหาปณะในการทำข้าวยาคู ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ และในคืนวันนั้นสุภัททะชีเฒ่ากระทำอยู่จนตลอดรุ่งทีเดียว โภชนยาคูนั้นระคนไปด้วยรสทั้งหลายหอมฟุ้งขจรไป เป็นต้นว่ารสน้ำสัปปิ และน้ำผึ้ง น้ำอ้อยและชิ้นปลา และรสแห่งดอกไม้ลูกไม้ทั้งหลายต่างๆ และสิ่งที่เป็นอาหารทั้งหลาย ประกอบไปด้วยสุคนธรสหอมอร่อยควรบริโภคยิ่งนัก ในวันรุ่งเช้าวันนั้นพระศาสดาเสด็จเข้ามาบิณฑบาตในเมืองอตุมา พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร ๑,๕๐๐ องค์ ชาวเมืองทั้งหลายเมื่อได้เห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงนำความไปบอกแก่สุภัททะชีเฒ่า เมื่อสุภัททะได้ทราบความดังนั้น ก็หาได้ชำระสรีรกายและเครื่องนุ่งห่มแม้แต่อย่างใดไม่ เป็นที่น่าเกลียดยิ่งนัก มือข้างหนึ่งถือจวัก อีกข้างหนึ่งถือไม้ด้ามสำหรับคนข้าวแล้วให้คนหามหม้อข้าวยาคูตามหลังวิ่งออกไปเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา ครั้นถึงแล้วก็คุกเข่าข้างขวาลงข้างหนึ่งแล้ว ไหว้ขออาราธนาพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระศาสดา ขอพระองค์จงรับเอาข้าวยาคูเป็นอันมาก และมีรสอร่อยของข้าพระองค์นั้นเทอญ

    ในทันใดนั้น พระศาสดาทรงรู้แจ้งในอันกระทำของสุภัททะชีเฒ่านั้นแล้ว แต่พระองค์ทรงแสร้งถามว่า ดูกรสุภัททะ ข้าวยาคูนี้ท่านได้มาด้วยประการใด สุภัททะก็กราบทูลให้พระองค์ทรงทราบทุกประการ ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงติเตียนในการกระทำของสุภัททะชีเฒ่าด้วยประการต่างๆ แล้วพระองค์จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรสูท่านทั้งหลายๆ แสวงหาข้าวบริโภคมาก็นานนักหนาแล้ว ก็หาได้บริโภคข้าวอันไม่ควรและไม่ชอบในคำสอนของตถาคตไม่ อันข้าวยาคูของสุภัททะชีเฒ่านี้ ไ่ม่ควรบริโภคและไม่ชอบในคำสอนของตถาคต เมื่อสูท่านทั้งหลายได้บริโภค ก็ควรจักได้ไปเกิดในอบายทั้ง ๔ มากกว่า ๑,๐๐๐ ชาติแท้จริง สูท่านทั้งหลายจงพากันหลีกหนีไป และอย่าได้รับเอาข้าวอันนั้นเทอญ ภิกษุทั้งหลายก็มิได้รับเอายังข้าวยาคูแห่งสุภัททะแม้แต่องค์เดียวนั้นแล

    ฝ่ายสุภัททะชีเฒ่า เมื่อได้ยินพระศาสดารับสั่งดังนั้น ก็มีความเสียใจยิ่งนัก จึงกล่าวว่า พระศาสดานี้เห็นพระองค์จะรู้ทุกอย่างจริงหนา ผิว่าพระองค์ไม่ชอบจริง ก็ควรใช้ให้คนมาบอกแก่กูก่อน อาหารอันกูกระทำสุกแล้วนี้ จะเอาไว้ได้ก็เสมอ ๗ วันเท่านั้น และอาหารอันนี้ก็สิ้นเปลืองไปถึง ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ๆ กูเอาไว้เลี้ยงชีวิตกูก็เห็นจะพอดีทีเดียว พระมหาสมณะนี้ให้ความฉิบหายแก่กูฉะนี้ สุภัททะชีเฒ่าก็อาฆาตพระศาสดาตั้งแต่ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ยังทรมานโปรดสัตว์อยู่นั้น แต่ก็ไม่อาจกล่าวยังถ้อยคำอันใดอันหนึ่งได้ เห็นว่าพระศาสดาเป็นเชื้อขัตติยชาติมีบริวารก็มาก เกรงว่าจะถูกกระทำโทษด้วยประการต่างๆ จำเป็นต้องนิ่งอยู่นั้นแล


    ท่านชีเฒ่าองค์นี้ ได้มากับหมู่เจ้าไททั้งหลายในราวป่าที่นั้น สุภัททะชีเฒ่าเห็นชาวเจ้าทั้งหลาย ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่ดังนั้น จึงกล่าวแก่ชาวเจ้าทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้ไปทำไม อย่าร้องเลย คราวนี้เราทั้งหลายพ้นจากมหาสมณะแล้ว แต่ก่อนนั้นมหาสมณะย่อมเบียดเบียนเราทั้งหลายด้วยคำว่า สูท่านทั้งหลายจงกระทำกิจอย่างนี้ สูท่านทั้งหลายอย่าได้กระทำกิจอย่างนี้ กิจอันนี้ควรแก่สูท่านทั้งหลาย กิจอันนี้สูท่านทั้งหลายไม่ควรทำ พระมหาสมณะย่อมว่ากล่าวแก่เราทั้งหลายอยู่อย่างนี้เสมอๆ ตั้งแต่นี้ไป เราทั้งหลายชอบใจกระทำสิ่งใด เราทั้งหลายจักกระทำสิ่งนั้นได้ตามความพอใจของเรา สิ่งอันใดเราทั้งหลายไม่ชอบใจทำ เราก็ไม่ทำ เราทั้งหลายได้รับความสุขกสำราญ ตามความพอใจของพวกเราทุกๆ อย่าง ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ห้ามสูเจ้าทั้งหลายว่า อย่าได้ร้องไห้และคิดถึงพระสมณะโคดม ด้วยประการฉะนี้แล

    ในทันใดนั้น เจ้าไทมหากัสสปเถร เมื่อได้ยินชีเฒ่ากล่าวดังนั้น ก็บังเกิดความสังเวชสลดจิต ในถ้อยคำที่สุภัททะกล่าวยิ่งนัก เจ้าไทมหาเถรคำนึแต่ในใจว่า ชีเฒ่าองค์นี้ประจบคบคิดกับด้วยบุคคลทั้งหลาย เป็นปรปักษ์ทำลายล้างคำสั่งสอนของพระศาสดาเป็นแน่แท้

    นัยหนึ่งเจ้าไทระลึกถึงกิจอันพระศาสดา ทรงกระทำำำพระองค์ให้เป็นสาธารณบริโภคแลกผ้าบังสุกุลกับตนวันนั้น และพระศาสดาทรงนุ่งผ้าของมหาเถรๆ ก็นุ่งผ้าของพระศาสดา ในวันนั้นก็บังเกิดแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง ลำดับนั้น พระบรมครูเจ้าของเรา ก็วางพระองค์ไว้ในอันเสมอกับด้วยพระมหาเถรว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเข้าฌาณก็ดี เข้าผลสมาบัติและเข้านิโรธสมาบัติประการใดก็ดี พระมหากัสสปเถรศิษย์กูตถาคตนี้ ก็อาจกระทำได้เสมอกับตัวกูตถาคตหนา เจ้าไทก็คำนึงนึกในใจ ในถ้อยคำที่พระศาสดาทรงตรัสไว้นี้ แล้วพระมหาเถรก็พาภิกษุบริษัทออกจากที่ราวป่านั้น ไปสู่ที่ชุมนุมเพื่อส่งสักการพระศาสดา

    ในกาลนั้นมีเจ้าไท มหากัสสปเถรเป็นประธาน แก่ชาวเจ้าทั้งหลายที่มาประชุมในวันนั้น มีประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ องค์ ครั้นสิ้นกิจส่งสักการพระบรมศพพระศาสดาแล้ว เจ้าไทจึงเจรจากับด้วยชาวเจ้าทั้งหลายว่า เราจะเลือกเอาชาวเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ กระทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา ประมาณ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แทบประตูถ้ำอันชื่อว่าสัตตบรรพตคูหา ในเมืองราชคฤห์ อันพระยาอชาติศัตรู หากเป็นผู้ทรงอุปถัมภกธรรมทั้งหลายอันพระศาสดาได้ตรัสเทศนามา ตั้งแต่พระองค์ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณมาได้ ๔๕ พระวัสสา นั้น เป็นอนันตยปริมาณด้วยดีด้วยชอบ เจ้าไทเลือกเอามาขึ้นสู่สังคายนาประมาณ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่มิได้เอานั้นยังอเนกแท้จริง

    ในกาลครั้งนั้น พระศาสดาพระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไปแล้ว ๔ เดือน พระมหากัสสปเถรพร้อมด้วยพระขีณาสพ ๕๐๐ พระองค์ กระทำปฐมสังคายนาธรรมแล้วกระทำให้พระอุบาลีมหาเถรเป็นใหญ่ในฝ่ายพระวินัยปิฎก เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัย พระมหากัสสปเถรเจ้าเป็นผู้ถาม ครั้นแล้วพระมหาเถรทั้ง ๒ ก็ขึ้นสู่ธรรมาศน์ แล้วพระมหากัสสปเถรเจ้าก็สมมติอาตมาขึ้นเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเถรเจ้าก็สมมติอาตมาขึ้นเป็นผู้แก้ ในันใดนั้นพระมหากัสสปเถรเจ้าจึึงถามขึ้นว่า ดูกรอาวุโสอุบาลี สิกขาบททั้งหลายชื่อนี้ๆ พระศาสดาทรงบัญญัติ ณ ประเทศที่ใด และอาศัยบุคคลผู้ใดให้เป็นเหตุในสิกชาบทนั้นๆ พระอุบาลีมหาเถรก็วิสัชชนาแก้ไขในสิกขาบทนั้นๆ โดยลำดับมา ให้พระมหากัสสปเถรแจ้งทุกประการ แล้วพระอุบาลีมหาเถรจึงจัดปาราชิกสิกขาบททั้ง ๔ นั้นเข้าไว้เป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่า ปาราชิกกัณฑ์, จัดสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทนั้นเข้าไว้เป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่าเตรสกัณฑ์, ตั้งไว้ซึ่งอนิยตสิกขาบททั้ง ๒ นั้นเป็นกัณฑ์ที่ ๑ ชื่อว่าอนิยตกัณต์ ตั้งไว้ซึ่งนิสสัคคียสิกขาบท ๓๐ นั้นเป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่า นิสสัคคียกัณฑ์, ตั้งไว้ซึ่งสุทธปาจิตติยสิกขาบท ๙๒ นั้นเป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่าปาจิตติยกัณฑ์ ตั้งไว้ซึ่งปาฏิเทสนิยสิกขาบททั้ง ๔ นั้นเป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่าปาฏิเทสนียกัณฑฺ, ตั้งไว้ซึ่งทุกกฎสิกขาบททั้ง ๗๕ นั้นเป็นกัณฑ์ ๑ ชื่อว่าเสขิยกัณฑ์, แล้วตั้งไว้ซึ่งอธิกรณสมถ ๗ นั้นเป็นกัณฑฺ ๑ ชื่อว่่าอธิกรณสมถกัณฑฺ, สิกขาบททั้งหลาย ๒๒๗ นี้ พระศาสดาทรงบัญญัติแก่ชาวเจ้าภิกษุทั้งหลายแล


    สิกขาบทแห่งนางภิกษุณีนั้น เจ้าไทก็กฎหมายจัดเป็นปาราชิกสิกขาบทถึง ๘ สิกขาบท จัดเป็นสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท จัดเป็นนิสสัคคีย ๓๐ สิกขาบท จัดเป็นสุทธปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท จัดเป็นปาาฏิเทสนีย ๘ สิกขาบท จัดเป็นเสขิยวัตร์ ๗๕ สิกขาบท จัดเป็นอธิกรณสมถ ๗ สิกขาบท สิขาบทแห่งนางภิกษุณีทั้งสิ้น ๓๑๑ สิกขาบทแล

    ลำดับต่อจากนั้นมา เจ้าไทก็ร้อยกรองขันธกะและบริวาร อันพระศาสดาทรงบัญญัติไว้ รวมเข้าเป็นคัมภีร์ คือ ปาราชิกกัณฑ์คัมภีร์ ๑ ปาจิตติยคัมภีร์ ๑ มหาวรรคคัมภีร์ ๑ จุลวรรคคัมภีร์ ๑ ปริวารคัมภีร์ ๑ เป็น ๕ พระคัมภีร์ ด้วยกัน ผิว่าจะลำดับเป็นภาณวารนั้นไซร้ ในคัมภีร์ปาราชิกกัณฑ์มี ๓๒ ภาณวาร คัมภีร์ปาจิตติยมี ๓๒ ภาณวาร คัมภีร์มหาวรรคมี ๔๐ ภาณวาร คัมภีร์จุลวรรค มี ๔๐ ภาณวาร คัมภีร์ปริวารมี ๒๔ ภาณวารนั่นแล


    อาจาริยเจ้าท่านกล่าวว่า ภารวารแต่ละอันๆนั้น มีอักขระถึง ๘,๐๐๐ ตัวแท้ไซร้ เพราะเหตุปริภาสาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ในบาลีคัมภีร์ปาราชิกกัณฑ์นั้นมีอักขระทั้งสิ้น ๒๕๖,๐๐๐ ตัว ในบาลีคัมภีร์ปาจิตตีย์นั้นมีอักขระทั้งสิ้น ๒๕๖,๐๐๐ ตัว ในบาลีคัมภีร์มหาวรรคนั้นมีอักขระทั้งสิ้น ๓๒๐,๐๐๐ ตัว ในบาลีคัมภีร์จุลวรรคนั้นมีอักขระทั้งสิ้น ๓๒๐,๐๐๐ ตัว ในบาลีคัมภีร์ปริวารนั้นมีอักขระทั้สิ้น ๑๙๒,๐๐๐ ตัว รวมอักขระทั้งสิ้นใน ๕ คัมภีร์มี ๑,๓๔๔,๐๐๐ ตัวแท้แล

    ลำดับแต่นั้นมา เจ้าไทก็กระทำอรรถกถาปาราชิกกัณฑ์ และอรรถกถาปาจิตตีย์ต่อเท่าถึงอรรถกถาปริวาร พึงรู้ในอธิบายของพระศาสดาเจ้านั้นแล ในอรรถกถาปาราชิกกัณฑ์นั้น มี ๕๙ ภาณวาร เป็นอักขระ ๔๗๒,๐๐๐ ตัว ในอรรถกถาปาจิตตีย์ถึงอรรถกถาปริวารนั้นมี ๕๔ ภาณวาร เป็นอักขระ ๔๓๒,๐๐๐ ตัว แต่หมู่อรรถกถาทั้งหลายนั้นนับเป็นภาณวารได้ ๑๑๓ ภาณวาร มีอักขระทั้งสิ้น ๙๐๔,๐๐๐ ตัวแล

    เมื่อมหากัสสปเถรเจ้ากับพระอุบาลีมหาเถรทั้ง ๒ พระองค์ ปุจฉาวิสัชชนาพระวินัยปิฎกจบแล้ว พระอุบาลีมหาเถรก็วางพัดวาลวิชนีไว้เหนือธรรมาศน์ พระมหาเถรก็ลงจากธรรมาศน์มานมัสการพระเถรผู้ใหญ่ แล้วเข้าไปนั่งในอาสนะแห่งตน ชาวเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ พระองค์ก็กระทำคณะสาธยายขึ้นพร้อมๆ กันนั้นแล

    ครั้นเมื่อกระทำสังคายนาพระวินัยปิฎกจบลงแล้ว เจ้าไทใคร่จะกระทำสังคายนาพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกสืบต่อไป จึงถามชาวเจ้าทั้งหลายว่า เราทั้งหลายจะกระทำท่านผู้ใดให้เป็นใหญ่ในการกระทำสังคายนาพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก ครั้นี้ชาวเจ้าทั้งหลายจึงขานว่า เราเจ้าข้าทั้งหลายจงกระทำเจ้าอานนท์ให้เป็นใหญ่ในตำแหน่งนี้ควรแท้ เหตุว่าอานนท์นั้นที่จะไม่ได้ฟังสูตรต่างๆ อันพระศาสดาตรัสเทศนานั้นเป็นอันไม่มี เมื่อชาวเจ้าทั้งหลายเห็นพร้อมกันดังนี้ มหากัสสปเถรเจ้าก็สมมติอาตมาเป็นผู้ถาม เจ้าอานนท์ก็สมมติอาตมาเป็นผู้แก้ ฝ่ายพระอานนท์เมื่อสมมติอาตมาแล้ว ก็มนัสการชาวเจ้าผู้มีอายุ แล้วถือเอายังพัดวาลวิชนีขึ้นนั่งเหนือธรรมาศน์ พระมหากัสสปเถรเจ้าจึงถามว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ พรหมชาลสูตรนี้พระศาสดาทรงตรัสเทศนา ณ ที่ใด และเฉพาะซึ่งบุคคลผู้ใดให้เป็นเหตุเล่า มหาอานนท์เถรเจ้าก็วิสัชชนาแก้ไขโดยลำดับ ดังที่ได้สดับมาในสำนักพระศาสดา ให้พระมหากัสสปเถรเจ้าแจ้งด้วยนิกาย รส ปฐมวจน มัชฌิมวจน ปัจฉิมวจน และปิฎก ทุกประการนั้นแล

    ในนิกายนั้นแบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือทีฆนิกายคัมภีร์ ๑ มัชฌิมนิกาย ๑ สังยุตตนิกาย ๑ อังคุตตรนิกาย ๑ ขุททกนิกาย ๑ ทั้ง ๕ พระคัมภีร์นี้ ประกอบด้วยองค์ ๙ คือ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถา อุทานํ อิติวุตฺตกํ ชาตกํ อมฺภูตธมฺมํ เวทลฺล นี้แล

    รสะนั้น ตั้งแต่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเทศนาด้วยพระวาจาใจ ตลอดถึงวันที่พระศาสดาเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานนั้น แม้ว่าเป็นอนันตอปริมาณก็ดี ก็เพื่อให้สำเร็จกิจอันจักให้สัตว์พ้นจากทุกข์สิ่งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุว่ารสะนั้นเป็นรสเอกกว่ารสทั้งหลาย มักว่าธรรมทั้งหลายเท่ามีกิจอันเดียว ปฐมวจนนั้นได้แก่ธรรมอันพระศาสดาทรงเทศนาด้วยใจ ทีแรกก่อนธรรมทั้งหลาย ด้วยพระบาลีว่า อเนกชาติ สํสารํ เป็นอาทิ อันนี้เป็นปฐมวจนในมโนทวารแห่งพระศาสนานั้น และเป็นธรรมอันพระศาสดาเทศนาด้วยใจแท้ไซร้

    ครั้นต่อมาในวันภายหลัง พระศาสดายังทรงนั่งพับพะแนงเชิง (นั่งขัดสมาธิ) อยู่แทบเค้าไม้มหาโพธิได้ประมาณ ๗ วัน แล้วทรงเปล่งออกยังอุทานคาถาด้วยโสมนัสญาณว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เป็นอาทิ พระบาลีอุทานคาถานี้ พระศาสดาตรัสเทศนาด้วยวาจาใจวันนั้นก็ได้ชื่อว่าปฐมวจนะ และปฐมวจนะทั้งหลายนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดมาในโลกนี้ ย่อมตรัสเทศนาด้วยวาจาใจทกุๆ พระองค์

    ครั้งเมื่อพระศาสดาใกล้จักเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงนั่งเหนืออาศนะในระหว่างไม้รัง ๒ ต้นวันนั้น พระศาสดาทรงสั่งกับด้วยชาวเจ้าทั้งหลาย มีพระบาลีว่า หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว เป็นอาทิ อันนี้เป็นปัจฉิมพุทธวจนะ มักว่าเป็นพุทธวจนคำสุดท้ายของพระศาสดา

    และธรรมทั้งหลาย อันพระศาสดาตรัสเทศนาด้วยพระวาจามาได้ ๔๕ พระวัสสานั้น เรียกว่ามัชฌิมพุทธวจนทั้งสิ้น และมักว่าเป็นคำในท่ามกลางแห่งคำอันนั้นแล

    ในกาลเมื่อพระมหากัสสปเถรเจ้า เป็นประธานแก่ชาวเจ้าหมู่พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ๕๐๐ พระองค์ กระทำสังคายนาธรรม คือเอาคำสอนของพระศาสดามารวบรวมร้อยกรองไว้ มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้บริบูรณ์ครั้งนั้น แผ่นดินอันใหญ่และหนาได้ถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ มีครุวนาประดุจดังจะเจรจากับด้วยเจ้าไทว่า ข้าแต่มหากัสสปเถรธรรมอันเจ้ากูร้อยกรองนี้จักตั้งอยู่ได้ถึง ๕,๐๐๐ ปีแท้จริง เพื่อให้เป็นไม้ไต้อันใหญ่สำหรับส่องยังหนทาง อันจักไปสู่พระนิพพาน แลฝูงสัตว์ทั้งหลายแท้จริง กูข้านี้พลอยกระทำอนุโมทนากับด้วยเจ้ากู และพลอยเขม่นสะเทือนไหวยิ่งนักในวันนั้นแล


    อ่านต่อทุตยสังคายนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...