(๓๑) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 26 มีนาคม 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๓๙
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๐๖
    เรื่อง

    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า ป่าช้า ๙ ข้อที่่ ๔)


    วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อที่ ๔ สืบต่อไป

    ถ. ป่าช้า ข้อที่ ๔ ได้แก่อะไร?
    ต. ได้แก่ การพิจารณา ซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีแต่ร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด ไม่มีเนื้อ มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ ผู้ปฏิบัติธรรมก็พิจารณาน้อมเข้ามาสูกายของตนว่าถึงร่างกายนี้ ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้แน่นอน

    ถ. ที่ได้บรรยายมานี้ มีอะไรเป็นเครื่องอ้าง หรือว่าต้นเดาเอาเองตามใจชอบ?
    ต. มีหลักฐานปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๐๗ ว่า "ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย สรีรํ สีวถิกาย ฉฑฺฑิตํ อฏฺฐิสงฺขาลิกํ นิมฺมํสโลหิต มกฺขิตํ นหารุสมฺพันฺธ์" เป็นต้น

    มีใจความว่า
    ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ป่าช้า ๙ ข้อที่ ๔ ยังมีอยู่อีกแล คือผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร พึงเห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่ร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด ไม่มีเนื้อ มีเส้นเอ็ดรัดรึงอยู่ ข้อนี้แม้ฏันใด ผู้ปฏิบัติธรรมก็น้อมนำมาสู่ร่างกายนี้ฉันนั้นเหมือนกันว่า "ถึงร่างกายของเรานี้ ก็จะต้องเป็นอย่างนี้แ่น่นอน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้เลย"
    ถ. ในป่าช้าข้อนี้ จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรถึงจะได้ผลดี โปรดอธิบาย?
    ต. ต้องปฏิบัติตามแบบสมถะและวิปัสสนา จึงจะได้ผลดี หมายความว่าเจริญสมถะให้ได้สมาธิ หรือให้ได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อไปก็ได้ จะเจริญวิปัสสนาโดยตรงเลยก็ได้

    ถ. สมถะ แปลและหมายความว่าอย่างไร?
    ต. สมถะ แปลและหมายความดังนี้ คือ
    ๑. สมถะ แปลว่า สงบกิเลสคือนิวรณ์ ๕ หมายความว่า ถ้าผู้ใดเจริญสมถกรรมฐาน นิวรณ์ ๕ ของผู้นั้นสงบระงับลงไปดุจเอาหินทับหญ้า ฉะนั้น ดังนี้หลักฐานรับรองไว้ว่า กิเลเส สเมตีติ สมโถ ชื่อว่าสมถะเพราะสงบกิเลส

    ๒. สมถะ แปลว่า สงบจิต หมายความว่า ธรรมที่ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้เป็นสมาธิ คือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า จิตฺตํ สเมตีติ สมโถ ชื่อว่า สมถะเพราะสงบจิต

    ๓. สมถะ แปลว่า สงบธรรมะที่หยาบๆ มีวิตกเป็นต้น หมายความว่าองค์ฌานทั้ง ๕ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นี้ ถ้าจะว่าตามอำนาจแห่งธรรมชั้นสูงขึ้นไปกว่านี้ คือ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานและปัญจมฌาน แล้ว ยังนับว่าเป็นธรรมหยาบอยู่ ครั้นเจริญฌานสูงๆ ขึ้นไป องค์ฌานเหล่านี้ก็สงบลงเพราะฉะนั้นสมธะจึงได้แปลว่า สงบธรรมที่หยาบๆ ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า วิตกฺกาทิโอฬาริกธมฺเม สเมตีติ สมโถ ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบธรรมที่หยาบ มีวิตกเป็นต้น

    ถ. ความเพียรในการเจริญสมถะมีเท่าไร อะไรบ้าง?
    ต. มี ๓ ขั้น คือ ขั้นต่ำ ขั้นกลาง ขั้นสูง
    ขั้นต่ำ ได้แก่ ความเพียรที่ตั้งใจเจริญสมถะพอให้เกิดขณิกสมาธิเท่านั้น เช่น ภาวนาว่า อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ จนทำให้สงบไปชั่วขณะหนึ่งๆ

    ขั้นกลาง ได้แก่ ความเพียรที่ตั้งใจเจริญสมถะจนเกิดอุปจารสมาธิ เช่นภาวนาว่า อุฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ จนใจสงบจวนจะถึงอัปปนาอยู่แล้ว แต่ยังไม่ถึงอัปปนา

    ขั้นสูง ด้แก่ความเพียรที่ตั้งใจเจริญสมถะจนถึงอัปปนาสมาธิ จนได้ฌาน
    ถ. ถ้าเจริญสมถะอย่างเดียว ไม่ยอมเจริญวิปัสสนาจะมีโอกาสบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้หรือไม่ เพราะเหตุไร?
    ต. ไม่ได้ เพราะอารมณ์คนละอย่าง อารมณ์ของสมถะทั้ง ๔๐ นั้นอย่างสูงก็ได้แค่อรูปฌานเท่านั้น

    ถ. ถ้าเป็นเช่นนั้น จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถึงมรรค ผล นิพพานได้?
    ต. ต้องเจริญวิปัสสนาต่ออีก โดยเอาฌานเป็นบาทก็ได้ ไม่เอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาตรงไปเลยก็ได้

    ถ. วิปัสสนา แปลและหมายความว่าอย่างไร?
    ต. แปลและหมายความว่าอย่างนี้ คือ
    ๑. วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งในอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ว่าเป็นเพียงรูปนามและเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่เห็นอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ โดยความเป็นสมมติบัญญัติ และไม่เห็นผิดไปว่า อารมณ์ คือรุป เสียง เป็นต้นนั้น เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เป็นของสวยงาม หมายความว่า มีปัญญาพิจารณาเห็นรูป นามและเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเป็นอสุภะของรูปนามตามความเป็นจริงนั่นเอง ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า
    รูปาทิอารมฺมเณสุ ปญฺญตฺติยา จ นิจฺจสุขอตฺตสุภสญฺญาย จ วิเสเสน นามรูปภาวเวน วา อนิจฺจาทิอากาเรน วา ปสฺสตีติ วิปสฺสนา

    ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นแจ้งในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น โดยเป็นเพียงรูปนามบ้าง โดยอาการที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ้าง พิเศษไปจากสมมติบัญยัติและพิเศษไปจากสัญญาวิปลาสทั้ง ๔ คือ นิจจสัญญา สุขสัญญา อัตตสัญญา สุภสัญญา
    ๒. วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งโดยวิเศษ ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า วิเสเสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นแจ้งโดยวิเศษ หมายความว่า ผู้เจริญวิปัสสนานั้น เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมสามารถจะได้รู้ได้เห็นรูปนามและเห็นความเป็นไปต่างๆ ของรูปนามทางทวารทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง และเห็นพิเศษยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เช่นเห็นรูปนามทางทวาร ๖ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ เป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นของไม่สวยไม่งาม เห็นความเกิดดับของรูปนามเห็นเฉพาะความดับไปฝ่ายเดียว เห็นรูปนามน่ากลัว เห็นโทษของรูปนาม เบื่อหน่ายรูปนาม อยากพ้นจากรูปนาม เห็นรูปนามเป็ตดุจถูกเข็มแทง ถูกเลื่อยตัด ถูกทิ่มแทงด้วยของแหลม ถูกเวทนากล้าครอบงำร้อนดุจดังไฟ เห็นพระไตรลักษณ์ชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่ทุกขณะ ทราบชัดว่านี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุเกิดของทุกข์ นี้เป็นความดับทุกข์ นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทิ้งรูปนาม ยึดความดับเป็นอารมณ์ ละความยึดมั่นถือมั่นละทิฏฐิคตสัมปยุต ละความสงสัยลังเลใจ มีความสงบเงียบเป็นอารมณ์ พิจารณากิเลสที่ละที่เหลือ มรรค ผล นิพพาน เป็นปริโยสาน

    วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งโดยวิเศษ คือ เห็นอย่างบรรยายมาฉะนี้

    ๓. วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งขันธ์ ๕ ว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า

    ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจฺจาทิอากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีประการต่างๆ

    หมายความว่า เมื่อนักปฏิบัติธรรมได้เจริญวิปัสสนามาโดยลำดับๆ แล้ว จะมีสติปัญญารู้แจ้งขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง คือเห็นว่าขันธ์ ๕ นี้ เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง มีแต่เสื่อมไป สิ้นไปเป็นนิตย์ เป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว เป็นอนัตตา คือบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ เมื่อใด เมื่อนั้นก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์นั่นแหละเป็นแนวทางแห่งความบริสุทธิ์

    คำว่า วิปัสสนา แปลและหมายความได้โดยย่อๆ ๓ อย่าง ดังที่ได้บรรยายมาฉะนี้

    ถ. วิปัสสนานั้น เมื่อจะประมวลกล่าวโดยหลักใหญ่ๆ แล้ว มีเท่าไรอะไรบ้าง?
    ต. เมื่อจะกล่าวโดยหลักใหญ่แล้ว มีอยู่ ๓ ประการ คือ
    ๑. สงฺขารปริคฺคณฺหนกิปสฺสนา ได้แก่ วิปัสนาญาณที่กำหนดรู้สังขารคือรูปกับนาม

    ๒. ผลปตฺติวิปสฺสนา ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ที่เป็นเหตุให้เข้าผลสมาบัติได้

    ๓. นิโรธสมาปตฺตวิปสฺฺสนา ได้แก่ วิปัสสนาญาณที่เป็นเหตุให้เข้านิโรธสมาบัติได้

    สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา นั้น ได้แก่ การลงมือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาโดยลำดับๆ นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงวุฏฐานคามินีวิปัสสนา จะเป็นมันทวิปัสสนา หรือติกขวิปัสสนาก็ตาม ย่อมเป็นเหตุใกล้ที่จะให้ได้มรรคทั้งนั้น ต่างกันแต่เพียงว่า ได้สำเร็จมรรคช้าหรือเร็วเท่านั้น คือถ้าวิปัสสนาเป็นมันทะก็ให้สำเร็จมรรคช้า มรรคนั้นเรียกว่า ทันธาภิญญามรรค ถ้าวิปัสสนาเป็นติกขะ ก็ให้สำเร็จมรรคเร็ว มรรคนั้นเรียกว่า ขิปปาภิญญามรรค

    ผลสมาปัตติวิปัสสนา นั้น ได้แก่ วิปัสสนาของผู้ที่จะเข้าผลสมาบัติต้องเป็นติกขวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาที่กล้าแข็ง ติกขวิปัสสนานี้จึงจะเข้าผลสมาบัติได้เพราะเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้ผลจิตตุปบาทเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยมัคคจิตตุปบาทเช่นเดียวกันกับจิตตุปาทในมรรควิถี เป็นปัจจัยช่่วยอุปการะให้ผลจิตตุปบาทเกิด ๒-๓ ขณะต่อจากตนฉะนั้น นี้มุ่งหมายเอาเฉพาะผู้ที่เริ่มเข้าผลสมาบัติใหม่ๆ เท่านั้น ถ้าผู้นั้นชำนาญในการเข้าผลสมาบัติแล้ว มันทวิปัสสนาก็สามารถเข้าผลสมาบัติได้

    ส่วน นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา นั้น ได้แก่ วิปัสสนาของผู้ที่จะเข้านิโรธจะต้องเป็นวิปัสสนากลางๆ จะเป็นติกขวิปัสสนา คือวิปัสสนาอย่างแก่กล้าไปก็ไม่ได้ เพราะว่านิโรธสมาปัตติวิปัสสนานี้ เป็นวิปัสสนาที่เกิดขึ้นสลับกันไปกับสมถะเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคนัทธวิปัสสนา

    ถ. คำว่า กรรมฐาน แปลและหมายความว่าอย่างไร?
    ต. กรรมฐาน แปลว่า การกระทำซึ่เงป็นเหตุให้ได้บรรลุคุณวิเศษ ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า กมฺมเมว วเสสาธิคมสฺส ฐานนฺติ กมฺมฏฺฐานํ หมายความว่า โรงงานฝึกจิต เพื่อให้ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถเาน ปัญจมฌาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคารมิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล

    ถ. ข้อว่า เห็นกายในกายในภายในและภายนอก เห็นทั้งภายในและภายนอก นั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า พิจารณาเห็นกายของตน พิจารณาเห็นกายของคนอื่น และพิจารณาเห็นทั้งกายตนทั้งกายคนอื่น

    ถ. ข้อว่า เห็นธรรมคือความเกิดและความดับ เห็นธรรมทั้งความเกิดและความดับนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต.หมายความว่า ผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นมาโดยลำดับๆ แล้ว จนถึงอุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ และสัจจานุโลมิกญาณ

    ถ. ข้อว่า มีสติปรากฏเฉพาะหน้าว่า กายมีอยู่แต่มีอยู่เพียงเพื่อรู้ เพียงเพื่อระลึกได้เท่านั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ผู้นั้นมีสมาธิดี มีสติปัญญาแก่กล้าจนวางเฉยอยู่กับรูปนามได้ดีแล้ว ไม่ฟุ้งซ่านไปทางอื่น เรียกว่าถึงสังขารุเปกขาญาณ คือญาณที่ ๑๑

    ถ. ข้อว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ไม่อาศัยนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ไม่ยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน เรา เขา เพราะละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา เป็นต้นได้เด็ดขาดแล้ว

    ถ. จะกำหนดอะไร จึงจะถูกป่าช้าข้อที่ ๔ นี้?
    ต. ต้องกำหนดสติปัฏฐาน ๔ คือกาย เวทนา จิต ธรรม

    ถ. กาย เวทนา จิต ธรรมอยู่ที่ไหน?
    ต. อยู่ที่บุคคลทุกๆ คน

    ถ. จะกำหนดตรงไหนจึงจะถูก ยกตัวอย่าง?
    ต. กำหนดกาย เช่นท้องพอง ท้องยุบ กำหนดใจคิด ใจโกรธก็ถูก กำหนดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ อริยสัจ ๔ โพชฌงค์ ๗ นิวรณ์ ๕ ก็ถูก

    ถ. ปฏิบัติอย่างไรจึงจะชื่อว่ามีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ได้?
    ต. ปฏิบัติอย่างที่ได้บรรยายมาตั้งแต่ต้นจนจบนี้แหละ จึงจะได้ชื่อว่ามีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ สมดังพระบาลีว่า
    เอวมฺปิ ภิกฺขเว กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร มีปกติพิจารณาเห็นกายอยู่เนืองๆ สมดังที่ได้บรรยายมาแล้วนั้น

    ถ. การกำหนดป่าช้า ๙ ข้อที่ ๔ จัดเป็นอริสัจ ๔ ได้อย่างไร?
    ต. จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้คือ
    ๑. จตุตฺถสิวฏฺฐิกปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจฺจํสติที่กำหนดป่าช้าข้อที่ ๔ จัดเป็นทุกขสัจ

    ๒. ตสฺสา สมุฏฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทยสัจ

    ๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นโรธสจฺจํ ทุกข์กับสมุทัยทั้ง ๒ ดับลงไป จัดเป็นนิโรธสัจ

    ๔. ทุกฺขปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ อริยมรรค กำหนดรู้ทุกข์ ละสมทัย มีนิโรธ คือ พระนิพพานเป็นอารมณ์ จัดเป็นมัคคสัจ

    วันนี้ ได้บรรยาย เรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อที่ ๔ มา ก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.
    (rose)


     

แชร์หน้านี้

Loading...