“เหตุเสื่อมของพระพุทธศาสนา“

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 8 มิถุนายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>เหตุเสื่อมของพระพุทธศาสนา


    </TD><TD vAlign=top width=155></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>รายงานโดย :ดนัย จันทร์เจ้าฉาย:

    </TD><TD>วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    การที่เราชาวพุทธจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้อยู่กับสังคมไทยและสังคมโลก


    สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาก็คือ การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่ปฏิบัติตนไปในทางเสื่อมอันจะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลาย ซึ่งตามพุทธประสงค์แล้วพระองค์ต้องการให้เราทั้งหลายได้ศึกษาพระธรรมคำสอน เพราะการไม่ศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์เป็นเหตุเสื่อมของพระศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังที่ท่านได้ตรัสไว้ว่า ในอนาคตจะมีผู้ไม่สนใจคำสอนของท่าน จะไปสนใจคำของสาวก ธรรมของพระพุทธองค์ก็จะค่อยๆ เลือนหายไปจากโลก

    เมื่อครั้งพุทธกาล เวลาพระพุทธเจ้าจะแสดงธรรม ท่านจะเลือกดูว่าบุคคลนี้สมควรรับธรรมะแบบไหน เพื่อให้จิตของคนค่อยๆ ซึมซาบธรรมะไปตามลำดับ หากเราศึกษาให้ดีจะรู้ว่าคำสอนของสาวกนั้นไม่มี มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้า สาวกนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติตาม ก็เหมือนเราทุกคนมีอาจารย์คนเดียวกัน คือ มีพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ ถ้าทุกคนมีพระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ก็จะไม่มีข้อแตกต่างในคำสอนเลย เราจะไปวัดไหนก็ได้ อาจารย์ไหนก็ได้ เพราะทุกอาจารย์จะสอนตรงกันคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า

    [​IMG]

    คำถามยอดฮิตในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมที่มักถามไถ่กันว่า ปฏิบัติสายไหน เป็นลูกศิษย์ใคร ใครคือครูบาอาจารย์ก็จะไม่สำคัญ เพราะไม่ว่าจะสายใดก็ตาม ต้นสายผู้เป็นบรมครู คือ พระพุทธองค์ เราทุกคนล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ดั่งแม่น้ำลำธารน้อยใหญ่ล้วนไหลรวมลงสู่ท้องมหาสมุทรทั้งสิ้น
    แต่ธรรมะที่พระองค์นำมาสั่งสอนภายใต้ความหลากหลายก็ยังเป็นเพียงธรรมะในประดู่กำมือเดียว ซึ่งความรู้ของพระพุทธเจ้ามีมากมายเหมือนประดู่ในป่า แต่พระองค์บอกว่าที่เหลือท่านไม่ได้นำมาสอนเพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ ไม่เป็นไปเพื่อความพร้อมถึงพระนิพพาน ดังนั้นความรู้อันมากมายของพระพุทธเจ้าที่เหลืออยู่อีก เป็นเรื่องจริง แต่ธรรมที่ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อมรรค ผล นิพพาน พระพุทธเจ้าได้สอนไว้หมดแล้ว เท่ากับประดู่ในกำมือ ท่านไม่ได้ปกปิดเลย มีความสมบูรณ์และบริบูรณ์แล้ว พระองค์กล่าวว่า อย่าเติมและอย่าตัดของท่าน ให้สมาทานศึกษาในสิ่งที่ท่านได้สอนเอาไว้

    อย่างในเรื่อง ภพ ชาติ ชรา มรณะ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะอุปมาให้เห็นภาพชัดเจน พระพุทธองค์ทรงเปรียบ วิญญาณ เป็น เมล็ดพืช เปรียบ ภพ เป็น ผืนนา เมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนาแล้วเกิดงอกขึ้น ผืนนา คือ ตัวภพ สถานที่เมล็ดพืชใช้อาศัยเพื่อการเกิดการงอกขึ้น เป็นการอุปมาเพื่อแยก วิญญาณ ภพ ชาติ ออกจากกัน ส่วนเหตุให้เกิดชาติ หรือความงอกงามไพบูลย์ของวิญญาณขึ้นมา ก็คือ นันทิ ราคะ ความเพลินและความพอใจ ซึ่งพระองค์เปรียบเหมือนน้ำที่ไปรดเมล็ดพืชที่ตั้งอยู่บนภพ ทำให้เมล็ดพืช หรือวิญญาณเจริญงอกงามขึ้นมาโดยมีฐานที่ตั้งเป็นภพ งอกขึ้นมาเป็นชาติ นั่นคือความเพลินในอารมณ์ หรือจิตผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน พรหมจรรย์นี้จึงเป็นไปเพื่อการละซึ่งภพ คือไม่มีสถานที่ตั้งอาศัยของวิญญาณเกิดขึ้น เราปล่อยให้วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในภพหรืออารมณ์ แล้วปล่อยให้งอกงามเติบโตด้วยการเพลินไปกับอารมณ์ แล้วจะละภพชาติได้อย่างไร

    [​IMG]



    คำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ พระองค์ได้ใช้การลำดับเหตุไปตามความจริง ตามหลักธรรมหรือกฎของ “อิทัปปัจจยตา” คือ

    “เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ย่อมมี”
    “เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น”
    “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี”
    “เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป”

    สังคมชาวพุทธจะเป็นหนึ่งเดียว มีคำสอนเดียวกัน ตรงกัน คือ พุทธวัจนะ หรือคำที่ออกจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่จะเรียนรู้ธรรมะให้ได้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการรู้ธรรมะมากเป็นการดำรงไว้ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้า และเป็นการทำให้เกิดการถ่ายทอด บอกสอนกันไปได้อย่างกว้างขวาง แต่การรู้ธรรมะ พระพุทธเจ้าบอกว่ารู้เพียงบทเดียวก็พอแล้ว

    “การรู้ธรรมะเพียงบทเดียวก็จะเป็นประโยชน์ต่อเธอตลอดกาลนาน ไม่ต้องรู้มากก็ได้ ก็สามารถยังประโยชน์ตนให้ถึงพร้อมได้แล้ว”

    [​IMG]

    เพราะฉะนั้นเวลาที่เราฟังธรรมที่มีพระอาจารย์สั่งสอนกันมากมาย ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องให้เรารู้ทั้งหมด อยู่ที่ว่าใครจะสามารถรู้ตามได้ก็ให้รู้ตามไป แต่จริงๆ แล้วรู้เพียงบทเดียวก็พอ ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม พระองค์ก็ยกให้เป็นพหูสูตเหมือนกัน หลุดพ้นได้เหมือนกัน ดังนั้นเวลาเราได้ยินหรือปฏิบัติตามสิ่งใดก็ตาม ลองตรวจสอบกลับไปดูว่า อันนี้มีในพุทธวัจนะหรือไม่ ถ้าไม่มีก็เป็นการบัญญัติขึ้นของคนที่พูด ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดและมีตัวอย่างข้อผิดพลาดให้เห็นมาแล้วมากมาย เป็นคำเตือนที่น่าฟังและปฏิบัติตามอย่างยิ่ง จากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี ในการแสดงธรรม ณ หอประชุมพุทธคยา สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี www.dmgbooks.com เมื่อวันก่อน

    -----------
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...