WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชาวทวีวัฒนา-บางแคเดือด!ปิดถ.กาญนาฯ ร้องศปภ.แจงจัดการน้ำคลองมหาสวัสดิ์

    วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:27:22 น.
    Share

    ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ว่า ประชาชนที่อาศัยในเขตทวีวัฒนา และบางแค รวมตัวกันบริเวณถนนกาญจนาภิเษก พร้อมกับปิดถนนฝั่งขาออก บริเวณสะพานข้ามคลองบางเชือกหนัง ช่วงกิโลเมตรที่ 25 เพื่อเรียกร้องให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) อธิบายการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ หลังมีการเปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ 3 แห่ง

    พ.ต.อ.พจน์ บุญมาภาคย์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 7 เดินทางมาเจรจากับชาวบ้านเพื่อขอให้เปิดช่องการจราจร แต่แกนนำชาวบ้านยืนยันว่า จะเจรจากับตัวแทนของ ศปภ.เท่านั้น โดยจะรอคำตอบที่ชัดเจนภายในเย็นวันนี้ และล่าสุด ชาวบ้านได้ปิดถนนทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกแล้ว ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ประชาชนทางตอนเหนือของจีน ต้องเผชิญกับความหนาวสุดขั้ว อุณหภูมิ ติดลบ 30 องศา


    [​IMG]

    Low temperatures in Yakeshi city, North China's Inner Mongolia autonomous region, creates icy conditions for residents, Nov 24, 2011. Temperatures in several cities of Inner Mongolia dropped to 30 degrees below zero Celsius on Thursday. [Photo/CFP]

    [​IMG]

    Low temperatures cause icicles to form on a woman’s hat and mask in Yakeshi, Nov 24, 2011. [Photo/CFP]

    [​IMG]

    Residents ride through the cold in Yakeshi city, Nov 24, 2011. [Photo/CFP]

    http://www.chinadaily.com.cn/photo/2011-11/24/content_14157420.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 พฤศจิกายน 2011
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]

    สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

    ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 พฤศจิกายน 2011
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24 nov 11.jpg
      24 nov 11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.5 KB
      เปิดดู:
      3,915
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2011
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ความเครียดเริ่มมาเยือนอีกครั้ง... :boo:

    ผ่อนคลายกันหน่อย

    คุณเป็นคนแบบนี้ไหม ....เราคนหนึ่งแหล่ะ ที่เป็น หุหุหุ

    [​IMG]
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    <table border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr><th>
    </th> <th align="center">MAG </th> <th align="center">UTC DATE-TIME
    y/m/d h:m:s
    </th> <th align="center">LAT
    deg
    </th> <th align="center">LON
    deg
    </th> <th align="center">DEPTH
    km
    </th> <th> Region</th> </tr> <tr><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center">MAP</td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center"> 2.5 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center">2011/11/24 10:26:44 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> 62.032 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> -145.674 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> 8.3 </td><td valign="top"> CENTRAL ALASKA</td></tr> <tr><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center">MAP</td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center"> 6.2 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="center">2011/11/24 10:25:35 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> 41.877 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> 142.710 </td><td nowrap="nowrap" valign="top" align="right"> 42.3 </td><td valign="top"> HOKKAIDO, JAPAN REGION</td></tr></tbody> </table>
    10-degree Map Centered at 40°N,145°E

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
     
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    War Room Falkman

    เช้านี้ กทม. ชักชะเย็นๆ หนาวๆ แล้วนะจ้า เพราะมีลมหนาวพัดผ่านเข้ามา

    อย่าลืมหาเสื้อกันหนาวใส่ด้วยนะจ้ะ


    [​IMG]

    จากกรมอุตุ

    พยากรณ์อากาศสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล    ตั้งแต่เวลา 23:00 น.วันนี้ - 23:00 น.วันพรุ่งนี้  

    มีเมฆบางส่วน กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา

    อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา

    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2011
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
      ลักษณะอากาศทั่วไป   เมื่อเวลา 22:00 น.วันนี้  

    ในช่วงวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2554 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มริมน้ำ บริเวณจังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง สำหรับประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ระวังอันตรายจากคลื่นสูงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือของประเทศไทยแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยมีอากาศหนาวเย็นลงอย่างต่อเนื่อง และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบริเวณภูเขาสูงของภาคเหนือ
     
  10. ragpon

    ragpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    456
    ค่าพลัง:
    +954
    ท่าเรือไปเกาะสมุยคลื่นสูง3-4เมตรครับน่ากลัวมาก แต่เฟอร์รี่ยังให้บริการอยู่หากใครต้องการเดินทางไปเกาะสมุยโปรดคาดการอากาศไว้ด้วยครับระยะนี้ลมจะแรงกว่าฝนในช่วง1-2วันนี้ครับหลังจากนี้จากการคาดการของคนในพื้นที่น่าจะเป็นฝนตกหนักขึ้นครับ

    สำหรับคนเมาคลื่นให้เตรียมตัวให้พร้อมกว่าเดิมอีก2เท่าตัวครับ
     
  11. ragpon

    ragpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    456
    ค่าพลัง:
    +954
    ท่าเรือไปเกาะสมุยคลื่นสูง3-4เมตรครับน่ากลัวมาก แต่เฟอร์รี่ยังให้บริการอยู่หากใครต้องการเดินทางไปเกาะสมุยโปรดคาดการอากาศไว้ด้วยครับระยะนี้ลมจะแรงกว่าฝนในช่วง1-2วันนี้ครับหลังจากนี้จากการคาดการของคนในพื้นที่น่าจะเป็นฝนตกหนักขึ้นครับ

    สำหรับคนเมาคลื่นให้เตรียมตัวให้พร้อมกว่าเดิมอีก2เท่าตัวครับ
     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]

    สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

    ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
     
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปภ.สงขลา เผยน้ำท่วม 5 อำเภอหนักสุดสะบ้าย้อย เสียชีวิต 1 ราย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2554 09:38 น.


    สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สงขลา ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา รายงานว่า น้ำท่วมขยายวงกว้างเป็น 5 อำเภอ ประกอบด้วย สะบ้าย้อย จะนะ รัตภูมิ สิงหนคร และควนเนียง จากภาวะฝนที่ยังตกหนักต่อเนื่องหลายวัน โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ อ.สะบ้าย้อย หลังจากเมื่อวานนี้ต้องอพยพชาวบ้านไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวภายในโรงเรียนสะบ้าย้อย และมีผู้เสียชีวิต 1 คน ส่วนอำเภอที่เหลือส่วนใหญ่สภาพน้ำท่วมจะเป็นพื้นที่เกษตร ที่ลุ่ม แต่ยังไม่ประกาศให้อำเภอใดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ หากจะประกาศจะกำหนดเป็นรายหมู่บ้าน และตำบลเท่านั้น เพราะน้ำท่วมไม่ครอบคลุมทั้งอำเภอ
    อย่างไรก็ตาม จากภาวะฝนนที่ยังคงตกหนักติดต่อกันตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ล่าสุดเกิดน้ำป่าจากเขาแก้ว เทือกเขาบรรทัด ไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่การเกษตร ทั้งสวนยางพารา และสวนผลไม้ ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ นับร้อยหลังคาเรือน ส่วนใหญ่อยู่ติดแนวลำคลอง และพื้นที่ลุ่ม ทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่ง แต่สถานการณ์ยังไม่รุนแรงถึงขั้นต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่


    คลื่นเซาะหาดชลาทัศน์พังอีกกว่า 100 เมตรสนล้มเพิ่มอีก 10 ต้น

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤศจิกายน 2554 21:19 น.

    [​IMG]

    ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - คลื่นกัดเซาะชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา เสียหายหนัก โดยกินพื้นที่ชายหาดกว่า 100 เมตร ต้นสนล้มอีก 10 ต้นจากเดิมที่เพิ่งล้มไป 10 ต้น เทศบาลนครสงขลาเร่งหาทางป้องกัน

    วันนี้ (24 พ.ย.) จากสภาพคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยที่ยังคงมีกำลังแรงเนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่บริเวณชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา จ.สงขลา มากขึ้นอีก โดยคลื่นได้กัดเซาะหาดชลาทัศน์ ทำให้ต้นสนขนาดใหญ่ที่อยู่ริมชายหาดล้มเพิ่มอีก 10 ต้น จากที่ถูกคลื่นซัดล้มไปก่อนหน้านี้แล้ว 10 ต้น แม้ทางเทศบาลนครสงขลาจะนำกระสอบทรายไปวางป้องกัน แต่ก็ไม่สามารถต้านทานความแรงของคลื่นได้ นอกจากนี้ คลื่นยังได้กัดเซาะพื้นที่ชายหาดเสียหายระยะทางกว่า 100 เมตร และลึกจนใกล้ถึงแนวถนนชลาทัศน์ ซึ่งเป็นถนนเลี่ยงเมืองเลียบชายทะเลด้วย

    เบื้องต้น นายสมชาย เมฆาอภิรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้ลงตรวจสอบพื้นที่เพื่อเร่งหาทางป้องกันไม่ให้คลื่นซัดต้นสนที่อยู่ริมชายหาดล้มและทำให้แนวชายหาดเสียหายเพิ่มขึ้นอีก โดยจะนำเชือกมาผูกยึดต้นสนที่อยู่ติดทะเลและเสี่ยงที่จะล้ม โยงกับต้นสนที่อยู่ห่างชายหาด และจะนำกระสอบทรายมาเพิ่มในจุดที่ถูกคลื่นกัดเซาะ พร้อมกับแจ้งเตือนให้นักท่องเที่ยวเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลบริเวณชายหาดชลาทัศน์ในระยะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2011
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    สถานการณ์น้ำในคลองต่างๆ ลดลงต่อเนื่องยกเว้นฝั่งธนบุรี

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2554 10:07 น.


    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร สรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองตลาด วัดได้ 2.07 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับน้ำในคลองต่างๆ ฝั่งพระนคร ล้นตลิ่งคลองน้ำแก้ว ช่วงถนนรัชดาภิเษก คลองเปรมประชากร ช่วงวัดเทวสุนทร ฝั่งธนบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่ง ที่คลองมหาสวัสดิ์ ช่วงพุทธมณฑลสาย 2 คลองบางพรหม ช่วงถนนกาญจนาภิเษก และถนนพุทธมณฑลสาย 3 คลองบางเชือกหนัง ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 2 คลองบางแวก ช่วงถนนพุทธมณฑลสาย 1 ช่วงคลองทวีวัฒนา ส่วนคลองอื่นๆ ยังปกติ
    ส่วนน้ำท่วมบริเวณดอนเมือง ระดับน้ำลดลง 2 เซนติเมตร ช่วงคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำที่ประตูระบายน้ำคลอง 2 ลดลง 3 เซนติเมตร ส่วนคลองมหาสวัสดิ์ ที่ประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ลดลง 3 เซนติเมตร
    ภาพรวมสถานการณ์น้ำคลองสายหลักฝั่งพระนคร น้ำในคลองแสนแสบตลอดลำคลอง ลดลง 3-4 เซนติเมตร
     
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    บางกรวย-บางบัวทอง-ไทรน้อย น้ำลด 3-5 ซม.

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2554 09:27 น.


    นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เปิดเผว่า หลังจากที่ทาง กทม. ยอมเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ในแนวติดต่อฝั่งตะวันตก แนวคลองมหาสวัสดิ์ เป็นวันที่ 2 นั้น ระดับน้ำในพื้นที่ท่วมขังสูงของ จ.นนทบุรี ทั้ง อ.บางกรวย อ.บางบัวทอง และ อ.ไทรน้อย มีระดับน้ำลดลงเฉลี่ย 3-5 เซนติเมตร โดยบนถนน ลดลง 5 เซนติเมตร และน้ำในทุ่งลดลง 3 เซนติเมตร แต่อย่างไรก็ตามได้รับรายงานล่าสุดว่า วันนี้ น้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง ทำให้ระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นอีก ขณะนี้กำลังเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบอยู่
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    โปรดใช้วิจารณาญาณในการอ่าน

    ย้าย 'เมืองหลวง'!!!

    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 24 พฤศจิกายน 2554 17:16 น.

    [​IMG]

    หลังเหตุการณ์อุทกภัยผ่านไป ดูเหมือนเมืองไทยของเราจะมีปรากฏการณ์อะไรแปลกๆ เกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด อย่างกรณีหนึ่งที่แม้จะไม่สามารถเรียกเสียงฮือฮาได้มากมายจนเป็นทอล์ก ออฟ เดอะทวาน์ ก็ตาม แต่ก็เป็นประเด็นอยู่ในหน้าข่าวหลายวันเหมือนกัน เมื่อจู่ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย 20 คน ได้เสนอญัตติด่วนเพื่อให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา การย้ายเมืองหลวงจาก 'กรุงเทพมหานคร' ไปอยู่ที่ ‘นครนายก’ หรือ ‘เพชรบูรณ์’ แทน โดยอ้างว่าภายในระยะเวลา 10 ปีนี้ กรุงเทพฯ จะจมบาดาลอย่างแน่นอน เพราะตัวอย่างอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 นี้ก็เป็นประจักษ์แก่สายตาของประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว

    เจอแบบนี้เข้าไป แม้จะไม่มีเสียงตอบรับหรือคัดค้านออกมา เพราะคนส่วนใหญ่ดูจะสนใจปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเสียมากกว่า ตั้งแต่เรื่องของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จนถึงเรื่องวาระของการปรองดอง แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่ามีความหมายไม่ใช่น้อย

    ย้อนอดีตแนวคิด ‘ย้ายเมืองหลวง’

    เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ประเทศไทย (นับตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี) มีแนวคิดจะย้ายเมืองหลวง เพราะถ้าหากย้อนกลับเมื่อ 60 กว่าปีก่อน เรื่องพวกนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว โดยเจ้าตำรับไอเดียก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นจอมโปรเจ็กต์อย่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีช่วงแรก ก็คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะมีภูมิประเทศเป็นป่าทึบและภูเขาสูง อากาศดี แต่เนื่องจากเพชรบูรณ์ในเวลานั้นยังทุรกันดารอยู่มาก ประกอบกับช่วงนั้นรัฐบาลประสบปัญหาเรื่องภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนในที่สุดต้องลาออก ก็เลยทำให้การย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ล้มเลิกไป

    และหลังจากไม่นาน เมื่อจอมพล ป.กลับมามีอำนาจอีกรอบ คือในช่วงหลังปี 2492 ก็เคยมีความคิดจะพัฒนาจังหวัดลพบุรีและพุทธมณฑลให้มาเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่สุดท้ายแนวคิดนี้ก็ยังไม่ถูกดำเนินการ เพราะท่านผู้นำถูกลูกน้องคนสนิทอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร หลังจากที่เจอพิษการเลือกตั้งโคตรโกงเมื่อปี 2500

    เช่นเดียวกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เคยคิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ฉะเชิงเทราหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เล็งจังหวัดนครนายกเอาไว้ เพราะนอกจากจะอยู่ใกล้เมืองหลวงเดิมคือ กรุงเทพฯ แล้ว ยังไม่มีปัญหาน้ำท่วมและความแออัดให้กวนใจ แถมยังสามารถออกแบบเมืองหลวงตามใจของผู้มีอำนาจในขณะนั้นได้อีกต่างหาก แต่สิ่งที่สำคัญสุดน่าจะเป็นชื่อที่มีคำว่า 'นายก' อยู่ในจังหวัด เพราะมันช่างบ่งบอกสถานภาพของผู้นำในขณะนั้นได้ดีที่สุด แต่สุดท้ายก็อย่างที่ทราบๆ กันว่า ไปไม่รอดเหมือนกับสมัยรัฐบาลเผด็จการทหารเช่นกัน

    และจากประวัติศาสตร์ทางความคิดนี้เอง จึงสะท้อนว่าเอาเข้าจริงแล้วการจะย้ายเมืองหลวงคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เพราะแม้แต่อดีตผู้นำที่มีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมเคยคิดเคยฝันยังทำไม่สำเร็จเลย และอีกเรื่องที่หลายคนสงสัยว่า ตกลงแล้วคำว่า 'ย้ายเมืองหลวง' แท้ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เพราะถ้าบอกว่าย้ายศูนย์กลางทางราชการไปอยู่ในต่างจังหวัดก็ดูกระไรอยู่ เพราะที่ผ่านมาก็เคยมีความพยายามดันให้ทั้งรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ไล่จนถึงกระทรวง ทบวง กรม ออกสัญจรไปอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แต่ก็ไม่เห็นมีใครบอกว่า นั่นคือการย้ายเมืองหลวงสักคนเดียว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงน่าจะมีมิติอะไรที่ลึกลับซับซ้อนมากกว่าที่คิดเป็นแน่แท้

    กรุงเทพมหานคร ‘เอกนคร’ ที่ไม่ธรรมดา

    หากย้อนกลับไปถึงปัจจัยของการย้ายเมืองหลวงในโบราณกาลนั้น ก็จะมีไม่กี่เหตุผล ตัวอย่างเช่นเกิดโรคระบาด ถูกข้าศึกโจมตีทำลายจนแทบจำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นสมัยนี้ ต้องยอมรับว่ามีปัจจัยเยอะแยะมากมายที่พอจะทำให้ย้ายเมืองหลวงได้

    ยิ่งหากเป็นกรุงเทพมหานครด้วยแล้ว นอกจากจะมีความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นเมืองหลวงชื่อยาวที่สุดในโลกแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะที่หลายๆ ประเทศไม่มี

    ไม่เชื่อก็ลองไปดูเมืองหลวงของประเทศอื่นๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน ฯลฯ ก็จะพบความจริงว่า เมืองเหล่านั้นนอกจากการเป็นที่ตั้งของส่วนราชการแล้วก็ไม่มีอะไรที่พิเศษมากกว่านั้น เพราะแม้แต่เศรษฐกิจก็ไม่ใหญ่ ประชาชนก็ไม่มาก แถมความเจริญอย่างทั่วถึงไปทั่วประเทศ ผิดกรุงเทพฯ ที่กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆ อย่าง ตั้งแต่เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การศึกษา การคมนาคม การปกครอง และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เมื่อหันกลับไปดูผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีของประเทศ จะพบว่ากระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ ถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว

    ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ นี้ ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า เรียกว่า กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองหลวงอย่างสมบูรณ์แบบ หรือ Primate City คือเป็นเมืองเอกนคร หรือจะเรียกว่า เป็นเมืองหลวงที่ปกติศักดิ์ศรีก็ใหญ่โตอยู่แล้ว แต่ยังเพิ่มความใหญ่ในฐานะศูนย์กลางที่ธุรกิจและการคมนาคมอีกต่างหาก ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่เป็น แต่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็เป็นแบบนี้เหมือนกันหมด

    แต่นั่นไม่ใช่การกำหนดว่า สิ่งนั้นจะเป็นเมืองหลวงหรือไม่ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว การจะเป็นเมืองหลวงนั้นมีปัจจัยอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น ก็คือ เมืองนั้นเป็นศูนย์กลางของอำนาจในการปกครองประเทศหรือไม่ ซึ่งอำนาจที่ว่านี้ก็คืออำนาจอธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่หากเมืองหลวงตั้งอยู่ไหน ที่ทำงานของส่วนราชการต่างๆ ก็มักจะไปอยู่ที่นั้นด้วย

    ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัด ก็คือประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนประเทศไทย คือกรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทุกอย่างของประเทศ เพราะฉะนั้น จึงมีความพยายามสร้างเมืองใหม่อย่าง ปุตราจายา เพื่อรองรับความเติบโตดังกล่าว แต่ในความรู้สึกของหลายๆ คนก็ไม่ได้คิดว่าที่นั่นเป็นเมืองหลวงอยู่ดี เพราะอำนาจหลักของประเทศก็ยังอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เช่นเดิม

    “ถ้าไปดูที่กัวลาลัมเปอร์จะพบว่าหน้าตาเหมือนกรุงเทพฯ มาก คือเป็นศูนย์กลางการปกครองของทุกอย่าง เศรษฐกิจก็ใหญ่ที่สุด พอทุกอย่างอยู่ที่นี่ คนก็เข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เต็มไปหมด พอตอนหลังมีการตัดสินใจสร้างเมืองปุตราจายา แล้วก็เอาส่วนราชการไปอยู่ที่นั้น แต่พอเอาเข้าจริง หลายๆ ฝ่ายก็พูดว่าปุตราจายาไม่ได้เป็นเมืองหลวงหรอก เพราะว่ามันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ เนื่องจากรัฐสภายังอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์

    “เพราะฉะนั้น เมืองหลวงอย่างน้อยต้องมีรัฐสภา รัฐบาลอยู่ที่นั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหลวง ซึ่งหากลองไปเปรียบเทียบกับประเทศพม่า ที่ตอนแรกเมืองหลวงคือเมืองย่างกุ้ง พอตอนหลังก็ย้ายไปที่เมืองเนปิดอว์ ซึ่งเขาก็จะมีการย้ายส่วนราชการไปอยู่ที่นั้นหมด อย่างนายกรัฐมนตรีก็จะทำงานจากที่นั้น บรรยากาศของเมืองหลวงมันต้องเป็นอย่างนั้นไป”

    ดังนั้น ในกรณีของกรุงเทพฯ ก็เช่นกัน หากจะย้ายก็ต้องทำการย้ายศูนย์กลางของอำนาจไปให้ได้ก่อน ซึ่งอย่างน้อยๆ ส่วนแรกที่ต้องไปก่อนเลยก็คือ คณะรัฐมนตรี ที่อาจจะต้องเปลี่ยนที่ประชุมหรือที่ทำงานไปอยู่ ณ สถานที่ที่เป็นเมืองหลวงแทน

    'หัวโตแต่ตัวลีบ' หัวใจของความยาก

    แต่อย่างว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะย้ายหรือไม่ย้าย หากเอาเข้าจริงแล้ว ความเป็นเมืองหลวงของกรุงเทพฯ ในความรู้สึกของคนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปเท่าใดหรอก เพราะอย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า ตอนนี้ก็มีหน่วยงานราชการหลายๆ แห่งไปอยู่แล้ว

    เช่นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติซึ่งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี หรือถ้าจะเอาชัดกว่านั้น ก็คงเป็นตอนที่ฝ่ายนิติบัญญัติในสมัยที่ อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานรัฐสภา คิดจะย้ายสภาฯ ไปอยู่แถวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่ก็ไม่มีใครคิดว่า นั่นเป็นการย้ายเมืองหลวงแต่อย่างใด

    เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือประเด็นที่สืบเนื่องจากความเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพฯ นั่นเอง ซึ่งเป็นผลทำให้ลักษณะความเจริญของประเทศไทยเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน หรืออย่างที่ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า 'หัวโตแต่ตัวลีบ'

    พูดง่ายๆ คือ แม้จะย้ายไปแล้ว แต่ทุกอย่างก็ต้องไปสร้างใหม่หมด เพราะของเก่าแทบจะไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นถ้าจะย้ายจริง ก็ต้องไปปรับเพิ่มบริการในด้านอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อข้าราชการที่ต้องย้ายตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่พัก เส้นทางคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ซึ่งนั่นก็หมายถึงงบประมาณมหาศาล

    “อาจจะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของรัฐ และการเมือง อย่างการคมนาคม การสาธารณูปโภคต่างๆ แต่เชื่อว่าคงจะไปเป็นส่วนน้อย อาจจะช่วยแบ่งเบาความหนาแน่นได้บ้าง แต่กรุงเทพฯ มันก็โตมาก เพราะฉะนั้นคนจึงย้ายตามไม่ได้ เพราะกิจกรรมทุกอย่างมันอยู่ที่นี่ แต่เราต้องมาดูกันถึงความคุ้มค่าถ้าจะทำ”

    ตัวอย่างเช่นพม่าที่ตัดสินใจย้ายเมืองหลวง เหตุผลก็มาจากความจำเป็นจริงๆ เพราะนอกจากจะด้วยสาเหตุของธรรมชาติแล้วยังมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย ซึ่งอาจจะสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้ แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกสบายซึ่งตามมาเต็มไปหมด

    “ที่บริเวณใต้แผ่นดินของเมืองย่างกุ้งมันเป็นรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ อีกเหตุผลสำคัญเพราะการปกครองของพม่าที่มีชนกลุ่มน้อยเยอะ จึงตัดสินใจย้ายศูนย์กลางปกครองเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปกครองมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็มีเยอะมาก ข้าราชการพม่าต้องนั่งรถไปกลับจากเมืองที่ต้องย้ายไป เสียค่าใช้จ่าย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ”

    เพราะฉะนั้น ถ้ากลับไปพิจารณาถึงประเทศไทย่าต้องย้ายเมืองหลวง เพราะกรุงเทพฯ มีสิทธิ์จมบาดาล ก็อาจจะยังถือว่าไม่คุ้มค่าพอและไม่ช่วยทำอะไรให้ดีขึ้น แถมอาจจะต้องเผชิญปัญหาเดียวกับที่ข้าราชการพม่าเจออีกต่างหาก

    ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ ผศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ แห่งภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า แนวคิดแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก แต่สุดท้ายแล้วทำไม่ได้จริง เพราะประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการกระจายความเจริญ หรือเมืองอื่นๆ นั้นโตไม่ทันกรุงเทพฯ

    “เราคิดจะย้ายเมืองหลวงกันบ่อยมาก มีปัญหานิดหน่อยก็จะย้ายแล้ว แล้วถามต่อว่ามันจะเกิดอะไรตามมา พูดตามตรง การย้ายมันก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แล้วจะย้ายอะไรไป ถ้าเราพูดกันตามตรง เราต้องกระจายความเจริญก่อน ซึ่งเรื่องนี้มีแนวคิดเริ่มมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 มาชัดในฉบับที่ 5 แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ตามหลักสากลเมืองหลวงคือที่ตั้งของรัฐสภาอย่างที่พม่าก็มีการย้ายรัฐสภาไปที่เนปิดอว์ แต่สุดท้ายความเจริญต่างๆ ที่ย่างกุ้งก็ยังคงอยู่อยู่ดี ในแบบเดียวกันถ้า กรุงเทพฯ ต้องย้ายก็จะเป็นไปในทำนองนั้นเหมือนกัน มันไม่มีการแก้ปัญหาจริงๆ เกิดขึ้น อย่างดีก็ทำให้ที่ดินในที่ที่มีข่าวลือราคาสูงขึ้น”

    ‘ย้าย-ไม่ย้าย’ ทางออกที่เลือกได้

    เมื่อการตัดสินใจครั้งนี้ มีผลกระทบมากมายและไม่ได้ทำได้ง่ายๆ คำถามก็คือแล้ว ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรได้บ้าง ในเมื่อปัญหายังคงอยู่เช่นเดิม

    แน่นอนประเด็นที่สำคัญที่สุดก็ต้องกลับมาคิดให้ได้ก่อน ก็คือสรุปจะย้ายหรือไม่

    ซึ่งถ้าเลือกในกรณีที่ไม่ย้าย ก็ต้องเป็นการปรับปรุงกรุงเทพฯ ในแบบที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองบอก นั่นคือการกระจายความเจริญไปยังเมืองอื่นๆ ซึ่งถ้าไปดูในต่างประเทศจะเห็นว่าหลายๆ แห่งเมืองหลวงกับเมืองเศรษฐกิจก็เป็นคนละแห่ง ซึ่ง รศ.ดร.สมภพ ได้ยกกรณีของประเทศออสเตรเลียขึ้นมา หรือไม่ก็หันมาพัฒนาเมืองขนาดย่อมให้มีบทบาททางเศรษฐกิจขึ้น เพื่อรองรับความเติบโตแบบฉุดไม่อยู่ของกรุงเทพฯ

    “แคนเบอร์ราเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ขณะที่ซิดนีย์เป็นเมืองท่า ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แต่การที่เขาแยกกันแบบนี้มันก็มีปัญหาในช่วงแรกๆ เพราะจะติดต่ออะไรต้องเดินทางกันไป 300 กิโลเมตร แต่เมืองศูนย์กลางการปกครองก็ไม่จำเป็นต้องเจริญ หวือหวาอะไรนัก แคนเบอร์รายังเป็นป่า มีจิงโจ้โดดไปมาไม่ค่อยมีอะไร

    “แต่โดยส่วนตัว คิดว่าเราควรกระจายโอกาสการเติบโตของไปสู่หัวเมืองรองๆ อย่างพิษณุโลก เชียงใหม่ ราชบุรี หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งตลอดมาจังหวัดเหล่านี้ไม่โตขึ้นเลย เพราะสิ่งนี้ที่รัฐบาลต้องเป็นฝ่ายเริ่มทำ ไม่จำเป็นต้องย้ายต้องมีนโยบายที่ลงไปสร้างกิจกรรมเพื่อกระจายการเติบโตของเมืองไปยังหัวเมืองอื่นก็พอแล้ว”

    ซึ่งแน่นอน การทำแบบนี้จะลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหาย หากเกิดปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา

    แต่ถ้าตัดสินใจเลือกที่จะย้ายเมืองหลวงจริง ในแง่ความเจริญของกรุงเทพฯ ก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เพราะของที่เป็นอยู่แล้ว ก็คงยังอยู่ที่เดิมต่อไป แต่สิ่งที่ผู้มีอำนาจจะกลับมานั่งต้องคิด ต้องทำต่อไปก็คือสร้างเมืองอย่างไรให้มีคุณภาพ ซึ่ง ผศ.ดร.นพนันท์ย้ำว่า สิ่งสำคัญก็คือ ตำแหน่งของเมืองหลวงใหม่

    "การจะวางผังเมืองของเมืองที่เกิดใหม่นั้น ขั้นแรกต้องเลือกสถานที่ตั้งให้เหมาะสมก่อน ต้องไม่ใช่ที่ที่อยู่นอกทิศทางการเชื่อมโยงของระบบ ประเทศไทยเรานั้นมีแกนประเทศหลักๆ อยู่ไม่กี่แกน เช่น แกนเหนือใต้ตั้งแต่เชียงใหม่ลงไปถึงหาดใหญ่โดยผ่าน กทม. แกนตะวันออกตะวันตกจะอยู่จาก กทม. ไปยังอีสเทิร์นซีบอร์ด หรือแกนที่ไกลออกไป เช่น แกนที่เชื่อมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงมา หรือแกนที่เชื่อมภาคกลางตอนบนหรือภาคเหนือเข้ากับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แถวพิษณุโลก ที่ที่เหมาะสมไม่ควรจะหลุดโลกออกไปไกลๆ มันควรจะอยู่ในทิศทางที่ทำให้การลงทุนตรงนี้เกิดประโยชน์ในภาพรวม ไม่ใช่ย้ายไปในที่ที่ไปยากและสุดท้ายก็ไม่มีคนไปนอกจากว่าจำเป็นจริงๆ เหมือนที่เราชอบย้ายศูนย์ราชการจังหวัดไปชานเมือง คนไปติดต่อก็ลำบาก ข้าราชการก็ลำบาก

    "ต่อมาก็ต้องวางผังให้ดูดี สมหน้าสมตามีสง่าราศี แต่อย่าลืมว่าของใหม่ที่สร้างขึ้นอย่างไรก็เป็นของใหม่ ไม่สามารถจะลงไปเข้าถึงรากฐานได้ สมัยนี้เขาไม่ได้มองการออกแบบเมืองให้มันสวยเหมือนในยุคทศวรรษ 1970 กันแล้ว แต่ตอนนี้ เขามองที่ฐานรากเหง้ามากกว่า เขาจะเน้นเรื่องการออกแบบที่ลงลึกโยงไปถึงรากเหง้าของเมืองได้มากแค่ไหนมากกว่า ถ้าทำผังเมืองแบบใหม่เอี่ยม ทันสมัยถอดด้ามมา มันก็อาจจะดูตื้นเขิน ถ้าทำสองอย่างนี้ได้ก็พอแล้ว เพราะเรื่องการเติบโตของเมือง เราสามารถคาดเดาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริง การย้ายเมืองหลวง มันไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะฐานเศรษฐกิจใหญ่ยังอยู่ตรงนี้ เมืองท่ายังอยู่ตรงนี้ การพาณิชยกรรมก็อยู่ตรงนี้ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวก็ยังไม่ไปไหน มันคงไม่มีใครอยากไปเที่ยวเมืองใหม่ที่นครนายก หรือท่าตะเกียบหรอก"

    ซึ่งแน่นอน ถ้าทั้งหมดนี้ ก็ต้องผ่านการพิจารณาศึกษาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้น สุดท้ายก็จะเท่ากับรัฐเทงบประมาณลงไปเสียเปล่า เพราะนอกจากจะไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของประชาชนแล้ว อาจจะนำไปสู่วิกฤตการณ์อีกมากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นที่รับรู้ว่า นอกจากตอนนี้ประเทศจะอยู่ในช่วงข้าวยากหมากแพงแล้ว ยังมีนโยบายของรัฐที่กำลังจะใช้เงินมหาศาลรออยู่อีกเพียบ
    >>>>>>>>>>
    ……..
    เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2011
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อัพเดทเส้นทางการจราจร25พ.ย.

    25 พฤศจิกายน 2554 เวลา 09:36 น. |เปิดอ่าน 247 | ความคิดเห็น 0
    ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,

    บก.จร. แจ้ง ปิดเส้นทางการจราจร จำนวน 36 เส้นทาง เนื่องจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานครมีน้ำท่วมขัง

    กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) แจ้ง ปิดการจราจรประจำวันที่ 25 พ.ย.2554 ซึ่งมีเส้นทางทิศเหนือ จำนวน 19 เส้นทาง เส้นทางทิศตะวันตก-ใต้ จำนวน 14 เส้นทาง และทิศตะวันออก จำนวน 3 เส้นทาง

    ถนนสายหลัก ด้านทิศเหนือ จำนวน 3 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถ.พหลโยธิน ขาเข้า – ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึง อนุสรณ์สถาน
    2. ถ.วิภาวดีรังสิต ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกหลักสี่ ถึง อนุสรณ์สถาน
    3. ถ.นวมินทร์ ขาเข้า- ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกรามอินทรา กม.8 ถึง ถ.นวมินทร์ ซ.157

    ถนนสายรอง ด้านทิศเหนือ จำนวน 16 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถนนช่างอากาศอุทิศ ระดับน้ำ 53 ซม.
    2. ถ.เลียบคลองสอง ระดับน้ำ 65-70 ซม.
    3. ถ.จันทรุเบกษา ระดับน้ำ 45 ซม.
    4. ถ.วัชรพล ตั้งแต่หน้าตลาดถนอมมิตร ถึง ตัด ถ.เพิ่มสิน ระดับน้ำ 30 ซม.
    5. เพิ่มสิน ระดับน้ำ 25-30 ซม.
    6. ถ.สุขาภิบาล 5 ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    7. ถ.เทิดราชันย์ ระดับน้ำ 60 ซม.
    8. ถ.กำแพงเพชร 6 ตั้งแต่ปากทางเข้าการเคหะทุ่งสองห้อง ถึง สุดเขตนครบาล (สน.ดอนเมือง) ระดับน้ำ 30 - 40 ซม.
    9. สรงประภา ระดับน้ำ 48 ซม.
    10.ถ.เชิดวุฒากาศ ระดับน้ำ 53 ซม.
    11.ถ.โกสุมร่วมใจ ระดับน้ำ 40 ซม.
    12.ถ.เตชะตุงคะ ระดับน้ำ 53 ซม.
    13.ถ.เวฬุวนาราม ระดับน้ำ 30 ซม.
    14.ถ.บูรพา(ดอนเมือง) ระดับน้ำ 20 ซม.
    15.ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ระดับน้ำ 80 ซม.
    16.ถ.พระยาสุเรนทร์ ระดับน้ำ 30 -60 ซม.

    ถนนสายหลัก ฝั่งทิศตะวันตก- ใต้ จำนวน 2 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถ.เพชรเกษม ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ ถ.เพชรเกษมซอย 47 ถึง ถ.เพชรเกษม ซ.88 (หน้าเดอะมอลล์บางแค ระดับน้ำสูง 40 -50 ซม.) 2. ถ.บรมราชชนนี ตั้งแต่ ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย 3 ระดับน้ำ 20-30 ซม./ ตั้งแต่ ถ.พุทธมณฑลสาย 3 ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ระดับน้ำ 30-60 ซม.

    ถนนสายรอง ฝั่งทิศตะวันตก-ใต้ จำนวน 12 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด คลองบางไผ่ 30-40 ซม.
    2. ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    3. ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    4. ถ.บางแวก ขาเข้า – ขาออก ตั้งแต่ ถ.กาญจนาฯ ถึงคลองทวีวัฒนา ระดับน้ำ 30 – 50 ซม.
    5. ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 30-50 ซม.
    6. ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    7. ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 30-60 ซม.
    8. ถ.สวนผัก ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    9. ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 20-30 ซม.
    10.ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า –ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก มีระดับน้ำท่วมขังเป็นระยะ ความสูงประมาณ 10-30 ซม.
    11.ถ.พัฒนาการ (บางแค) ขาเข้า – ขาออก ตลอดสาย ระดับน้ำ 30-40 ซม.
    12.ถ.เทอดไท ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 30 -50 ซม.

    ถนนสายหลัก ทิศตะวันออก จำนวน 1 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกพาณิชยการมีนบุรี ระดับน้ำ 30-45 ซม.

    ถนนสายรอง ทิศตะวันออก จำนวน 2 เส้นทาง ดังนี้

    1. ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า -ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถ.สุวินทวงศ์ ถึงซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 40 ซม.
    2. ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 25-30 ซม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2011
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    น้ำลดมธ.ศูนย์รังสิตเสียหายยับ

    24 พฤศจิกายน 2554 เวลา 20:09 น. |เปิดอ่าน 3,162 | ความคิดเห็น 24
    ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,

    [​IMG]

    สภาพน้ำท่วมในสนามกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตเมื่อปลายเดือนต.ค.

    มธ.ศูนย์รังสิตเสียหายยับคณะวิศวกรรมหนักสุดหวั่นอาคารเรียนจมน้ำนานทรุดตั้งงบ3พันล้านอาจไม่พอบูรณะ

    รศ.กำพล รุจิวิชชญ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดเผยว่าหลังจากที่ได้สูบน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมดแล้วขั้นต่อไปคือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งหมดโดยเฉพาะหม้อแปลงไฟจำนวน 107 ตัว ที่ติดตั้งบนพื้นดิน สายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัย ระบบน้ำประปาต้องตรวจสอบคุณภาพของน้ำ ส่วนอาคารเรียนห้องเรียน รวมทั้งอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ทั้งหมดเสียหาย 100% ไม่สามารถดำเนินการเรียนหรือสอนได้ ต้องซ่อมแซมให้เสร็จก่อนสิ้นปี 1 สัปดาห์

    ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับความเสียหายที่สุด โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นเครื่องมือที่ใหญ่ และหนัก สนามกีฬาที่ใช้แข่งกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ก็เสียหายทั้งหมด และไม่มีประกันความเสียหายจากอุทกภัย แต่ที่น่าเป็นห่วง คืออาคารเรียนที่สร้างมาพร้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ที่มีอายุกว่า 20 ปี ก็จะต้องตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของตึก เพราะถ้าปล่อยให้มีนักศึกษาเข้าไปเรียนแล้วหากชำรุดจะมีความเสียหายมากกับชีวิตและทรัพย์สิน

    "เดิมเคยตั้งงบประมาณในการบูรณะไว้ที่ 3,000 ล้านบาท คิดว่าคงไม่พอที่จะบูรณะได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังมีความเสียหายที่ยังมองไม่เห็นอีก เช่น ท่อน้ำใต้ดินที่ถูกแรงอัดของน้ำ หากเสียหายต้องรื้อถนนซึ่งมีค่าใช้จ่ายมหาศาล" รศ.ดร.กำพล กล่าว

    ทั้งนี้ ในวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 09.00 น.จะเป็นวันคลีนนิ่งเดย์ คาดว่าน่าจะมีคนจำนวนเป็นหมื่นเข้ามาช่วยงาน ถ้ามีศิษย์เก่าหรือประชาชนที่มีจิตอาสาก็เชิญร่วมงานได้ เพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีขนาดมากกว่า6,000ไร่
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    กรมอุทกฯคาดน้ำทะเลหนุนสูง07.52น.ที่2.15ม.


    25 พย. 2554 06:47 น.

    กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ขอแจ้งสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ ประจำวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ดังนี้
    ๑.เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ น้ำลงเต็มที่ เวลา ๐๐.๒๔ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๑๘ เมตร น้ำขึ้นเต็มที่ เวลา ๐๖.๐๘ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๒.๐๐ เมตร น้ำลงเต็มที่ เวลา ๑๒.๕๖ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๖๔ เมตร น้ำขึ้นเต็มที่เวลา ๑๕.๓๖ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๙๙ เมตร
    ๒.ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คาดว่าน้ำลงเต็มที่ เวลา ๐๑.๑๔ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๐๒ เมตร น้ำขึ้นเต็มที่ เวลา ๐๗.๕๒ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๒.๑๕ เมตร น้ำลงเต็มที่ เวลา ๑๒.๒๔ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๙๔ เมตร น้ำขึ้นเต็มที่ เวลา ๑๖.๓๑ น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๒.๐๙ เมตร
    ๓.ระดับน้ำที่ให้ไว้เป็นระดับซึ่งรวมระดับน้ำทะเลหนุนและอิทธิพลอื่น ๆ ไว้แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำ หรือ มีสภาวะอากาศที่ผิดปกติ ระดับน้ำอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากนี้ได้


    ตลาดรังสิต น้ำสูง 50-60 ซ.ม. หลัง ชาว ม.รัตนโกสินทร์ รื้อคันกั้น วานนี้

    สถานการณ์น้ำในพื้นที่ตลาดรังสิต อยู่ที่ระดับ 50 - 60 ซ.ม. และ คันกั้นน้ำที่วางเป็นแนวไว้ด้านหน้าตลาดรังสิต ได้รับ ความเสียหาย เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้เข้ามารื้อแนวกระสอบทรายออก เมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งทางตลาดมีแผนที่จะดำเนินการกู้ตลาดในวันนี้และหลังจากเทศบาลนครรังสิต ได้ทำความเข้าใจกับประชาชน หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ว่า จะเข้าไปกู้หมู่บ้านในวันนี้เช่นกัน ทางเทศบาลกับทางตลาด ก็จะเดินหน้ากู้ตลาดรังสิตโดยพร้อมกันด้วย อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่บริเวณตลาดรังสิตในขณะนี้ ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการ นำเรือออกมาดูระดับน้ำในพื้นที่ตลาด รวมถึง ดูสภาพความเสียหายของแนวกระสอบทรายที่ถูกชาวบ้านรื้อออกและบางร้านค้าก็ยังเปิดขายตามปกติ แต่ก็มีจำนวนน้อย ขณะที่ ประชาชนในย่านนี้ ยังคงออกไปทำงานกันตามปกติ


    สะพานใหม่ ระดับน้ำสูง 30 - 40 ซ.ม. ลดลงบางจุด

    สำหรับสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่เขตสายไหม และสะพานใหม่ หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ชาวบ้านหลังแนวบิ๊กแบ็ก รวมตัวกันรื้อแนวบิ๊กแบ็กบริเวณ แยก คปอ. พบว่า ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน มาจนถึงห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี สาขาสะพานใหม่ ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 30 เซนติเมตร รถเล็กสามารถสัญจรผ่านไปมาได้โดยใช้ช่องขวาสุด แต่เมื่อเลยห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ระดับน้ำเพิ่งสูงขึ้นมากกว่า 40 เซนติเมตร และจะมาลดระดับลงอีกครั้งบริเวณสะพานตลาดยิ่งเจริญ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ พบว่า ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา ระดับน้ำไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งบางจุดระดับน้ำได้ลดลงประมาณ 2 เซนติเมตร แต่หลังจากการเปิดแนวบิ๊กแบ็กก็มีความกังวลว่าระดับน้ำจะกลับมาท่วมสูงอีกครั้ง นอกจากนี้ ประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว ยังขอความร่วมมือไปยังผู้ใช้รถใช้ถนน ร่วมไปถึงอาสาสมัครต่างๆ ให้ชะลอความเร็วเมื่อขับผ่านบ้านเรือนประชาชน เนื่องจากแรงดันน้ำจะทำให้บ้านเสียหาย โดยบริเวณสะพานใหม่ มีบ้านเรือนประชาชน รวมทั้งร้านค้าจำนวนมากได้รับความเสียหายจากแรงดันน้ำ และยังรวมไปถึงธนาคาร และโรงเรียนอีกหายแห่ง ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน



    เขตบึงกุ่ม ประสานร้านค้าจำหน่ายสินค้าราคาถูก 25-27พ.ย.2554

    นายกฤษณ์ เกียรติพนชาติ ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่ม เปิดเผยว่า สำนักงานเขตบึงกุ่มได้ประสานร้านค้า เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคราคาถูก ให้แก่พี่น้องประชาชนชาวบึงกุ่ม ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ให้ได้ซื้อสินค้าในราคาถูก จึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวบึงกุ่มและผู้ที่พักอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงจับจ่าย ซื้อสินค้าราคาถูกได้ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 น.- 20.00 น. บริเวณตลาดนัดบ้านเอื้ออาทร ซอยเสรีไทย 43 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม



    นนทบุรี ระดับน้ำยังทรงตัว 40-50 ซ.ม. รถเล็กผ่านไม่ได้

    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ต.บางศรีเมือง อ.เมืองนนทบุรี ล่าสุดระดับน้ำยังคงทรงตัว โดยเฉพาะในพื้นที่สี่แยกบางสีทอง มุ่งหน้าสู่สามแยกบางศรีเมือง ระดับน้ำยังคงอยู่ในช่วง 40-50 ซ.ม. รถขนาดเล็กไม่สามารถขับเข้ามาได้ ส่วนความเป็นอยู่ของประชาชน พบว่าตลอดทั้ง 2 ข้างทาง เป็นพื้นที่ลุ่มจึงมีน้ำท่วม และในชั้นล่างสูงถึง 60 ซ.ม. ซึ่งส่วนใหญ่ ยังคงต้องต่อไม้กระดานทำเป็นโต๊ะและเตียงนอนให้พ้นจากระดับน้ำ ทางด้านความช่วยเหลือชาวบ้านส่วนใหญ่ กล่าวว่า อยากได้รับถุงยังชีพจากทางจังหวัด มากกว่าอาหารกล่อง เพราะที่ผ่านมา ข้าวกล่องที่ได้รับมีกลิ่นเหม็นบูดไม่สามารถรับประทานได้ รวมไปถึงต้องการโลชั่นและยาทากันยุง เพราะน้ำในขณะนี้เริ่มเน่าเสียและมียุงชุม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2011
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    รายงานอุณหภูมิจ้า

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...