WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เผยโรงพยาบาลเสียหายเซ่นน้ำท่วมถึง 561 แห่งค่า 340 ล้านบาท

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 08:26 น.


    สบส.ประเมินโรงพยาบาลที่เสียหาย เซ่นมหาอุทกภัย 561 แห่ง เบื้องต้นพบมูลค่าเสียหาย 340 ล้าน รพ.อยุธยา หนักสุดพุ่ง 160 ล้าน ห่วงห้องผ่าตัด ห้องคลอด ไอซียู เปื้อนเชื้อรา กำชับทุกแห่งเร่งดูแล

    นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงแผนการฟื้นฟูสถานบริการสาธารณสุขหลังน้ำลด ว่า ปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ ถือเป็นมหาอุทกภัยที่ถือว่ารุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา และส่งผลกระทบต่อสถานบริการสาธารณสุข (สธ.) ขนาดใหญ่ถึงขั้นปิดบริการหลายแห่ง โดยมีโรงพยาบาล (รพ.)ได้รับความเสียหายทั้งหมด 561 แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ. รพท.) 16 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 70 แห่ง และที่เหลืออีก 468 แห่ง เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลสังกัดกรมต่างๆ และสังกัด กทม.โดยเบื้องต้นได้สำรวจความเสียหายใน รพ.11 แห่ง มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 340 ล้านบาท แค่ รพ.พระนครศรีอยุธยา แห่งเดียวเสียหายราว 160 ล้านบาท และยังมี รพช.ที่ประเมินเบื้องต้นในพื้นที่เสียหาย 70 แห่ง ประมาณ 50 ล้านบาท

    นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า ในการซ่อมแซมสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหายนั้น เมื่อประเมินมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเสร็จสิ้น จะเสนอของบประมาณตามแผนปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัยของรัฐบาล และในส่วนของสถานพยาบาลที่มีความเสียหายต่ำกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น รพ.สต.ประมาณ 400 แห่ง จะประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในแต่ละพื้นที่เพื่อขอให้ประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด วิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ในการเข้าไปประเมินความเสียหายและรายงานกลับมายังกรม ซึ่งหากต้องการความช่วยเหลือด้านใดสารมารถประสานยังกรมได้

    อธิบดีกรม สบส.กล่าวด้วยว่า ในระหว่างการซ่อมแซม ฟื้นฟูสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหาย สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ คือ ระบบปลอดการติดเชื้อ ซึ่ง รพ.จะต้องมีการดูแลความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อ ในการฟื้นฟูจึงทำได้ยากกว่าการฟื้นฟูบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในห้องไอซียู ห้องคลอดและห้องผ่าตัด ซึ่งความชื้นจากน้ำที่ท่วมขัง ทำให้มีเชื้อรา อาจเป็นอันตรายได้

    สำหรับ รพ.ที่เสียหาย 11 แห่ง ได้แก่ รพ.พระนครศรีอยุธยา, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, สสจ.ปทุมธานี, สสจ.พระนครศรีอยุธยา, วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, รพ.นพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์, สถาบันธัญยารักษ์ กรมการแพทย์, สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต, รพ.ปทุมธานี, รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี และ รพ.สระบุรี
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    รู้ไหมว่า...ยุงรำคาญเป็นพาหะของโรคใดบ้าง?

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 14:18 น.

    [​IMG]


    ภาพวิวาดทางวิทยาศาสตร์ของยุงรำคาญสกุล คูเลกซ์ ควินคิวแฟสเวียตัส เพศผู้ (ซ้าย) และ เพศเมีย (ขวา)



    สภาวะหลังน้ำท่วมใหญ่ในหลายภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดมีน้ำท่วมขังตามแหล่งต่าง ๆ ในวงกว้างที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงหลายชนิด ที่กำลังเป็นปัญหาหนักในขณะนี้คือการมีกลุ่มยุงรำคาญจำนวนมากในทุกพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ยุงรำคาญมีหลายสกุล แต่ที่พบมากในขณะนี้คือ คูเลกซ์ ควินคิวแฟสเวียตัส (Culex quinquefasciatus) ที่พบในแหล่งน้ำขังที่เป็นน้ำเน่าเสีย ยุงรำคาญอีก 2 สกุล ที่พบได้มากในประเทศไทย ได้แก่ เจลิดัส (Cx. Gelidus) และ ไตรเตนิโอรินคัส (Cx. Tritaeniorhynchus) ซึ่งเป็นยุงรำคาญที่พบลูกน้ำอยู่ในหนองน้ำ น้ำขังตามไร่นา น้ำตามรอยเท้าสัตว์ กลุ่มยุงรำคาญเหล่านี้เป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้างในคน และโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข

    ยุงที่นำโรคที่สำคัญอีก 3 กลุ่มคือ กลุ่มยุงลาย สองสกุลที่สำคัญคือ Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน) และ Ae. albopictus (ยุงลายสวน) ที่นำเชื้อไข้เลือดออกที่ลูกน้ำอาศัยอยู่ในน้ำสะอาด เช่น ตามลุ่มน้ำ ภาชนะใส่น้ำ อื่น ๆ กลุ่มยุงก้นปล่อง (Anopheles) ที่นำเชื้อไข้มาลาเรีย และกลุ่มยุงเสือ (Mansonia) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ายุงทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น ที่นำเชื้อโรคเท้าช้าง ยุงเหล่านี้อาจสามารถนำโรคอื่น ๆ เช่น ยุงลายแม้จะเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก แต่ก็มีรายงานว่าสามารถนำโรคเท้าช้างได้ เป็นต้น

    โดยทั่วไปยุงจะมีการเจริญเติบโตเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเป็นไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยที่ในระยะลูกน้ำจะแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 วัย คือ วัย 1-4 ลูกน้ำจะมีการลอกคราบเมื่อเข้าสู่ระยะต่าง ๆ โดยมีระยะการเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำประมาณ 7-10 วัน อาจช้าหรือเร็วกว่านี้ขึ้นกับชนิดของลูกน้ำ อุณหภูมิและอาหาร ขณะที่ระยะตัวโม่งจะใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งในระยะตัวโม่งนี้จะไม่กินอาหารใดๆ และจากตัวโม่งจะลอกคราบออกมาเป็นยุง ในระยะตัวเต็มวัยที่เป็นยุงนี้ ตัวผู้จะมีชีวิตอยู่ได้ราว ๆ 7 วัน ขณะที่ยุงตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ได้นานนับเดือน โดยยุงทั้ง 2 เพศ จะใช้น้ำหวานจากดอกไม้ดำรงชีวิต ขณะที่ยุงตัวเมียจะต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์และสัตว์เพื่อการสร้างไข่ที่จะกลายเป็นลูกน้ำยุงต่อไป

    ยุงมีถิ่นอาศัยที่ต้องเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำหลายชนิด โดยยุงก้นปล่องวางไข่ใบเดี่ยว ๆ บนผิวน้ำ ยุงลายวางไข่ใบเดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ ยุงรำคาญวางไข่เป็นแพบนผิวน้ำและยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มติดกับใบของพืชน้ำ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจะได้ลูกน้ำวัย 1 และลอกคราบตามระยะ ลูกน้ำจะลอยขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ส่วนลูกน้ำยุงเสือจะหายใจโดยเจาะเอาออกซิเจนจากรากพืชน้ำ ลูกน้ำยุงจะกินอาหารพวกแบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่ายเล็ก ๆ เป็นต้น ในการควบคุมประชากรยุง มักจะควบคุมในระยะที่เป็นลูกน้ำ โดยใช้แบคทีเรียฆ่าลูกน้ำยุง หรือควบคุมระยะที่เป็นตัวยุงโดยใช้สารเคมีฆ่ายุงหรือหมอกควันที่ใช้ไล่ยุง (แต่อาจกำจัดยุงไม่ได้มากนัก เพราะยุงอาจบินหนีไปอยู่ที่อื่น)

    ข้อมูล - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  3. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/j_9-CHjDXB0?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/j_9-CHjDXB0?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/3LmjUlHx6nE?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/3LmjUlHx6nE?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/R3MGDF5lhlU?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/R3MGDF5lhlU?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/x0PaK3bbACs?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/x0PaK3bbACs?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/bgPoQ9juMm8?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/bgPoQ9juMm8?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/VjctUl-0KkY?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/VjctUl-0KkY?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/LMww5wI4OWk?version=3&feature=player_detailpage"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/LMww5wI4OWk?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360"></object>
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เซอร์ไพรซ์! ไทยทำสำเร็จ "ละมั่งหลอดแก้ว" ตัวแรกของโลก

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554 20:21 น.

    Share
    392

    [​IMG]


    ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก ผลงานของทีมนักวิทยาศาสตร์ไทยและความร่วมมือกับต่างชาติ (ภาพทั้งหมดจากองค์การสวนสัตว์ฯ )

    ครั้งหนึ่งเราเคยทำให้ “เนื้อสมัน” สัตว์ที่มีเขาสวยงามที่สุดสูญพันธุ์ไปจากโลก และสัตว์ป่าอีกหลายชนิดกำลังลดจำนวนลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญสิ้นไปจากป่าเมืองไทย แต่ความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการทำ “ละมั่งหลอดแก้ว” ตัวแรกของโลกได้จุดความหวังในการคืนสัตว์หายากสู่ป่าอีกครั้ง

    ทันทีที่เห็นหูเล็กๆ ของลูกละมั่งดุกดิกไปมาอยู่ใกล้ๆ ละมั่งตัวแม่ที่ได้รับการฝากตัวอ่อนจากการผสมแบบปฏิสนธินอกร่างกายหรือการผลิตตัวอ่อนหลอดแก้วหรือไอวีเอฟ (in vitro fertilization: IVF) น.สพ.สกนธ์ น้อยมูล สัตวแพทย์ผู้ดูแลละมั่งในโครงการผลิตละมั่งหลอดแก้วของส่วนอนุรักษ์วิจัยและการศึกษา ขององค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตื่นเต้นจนทำอะไรไม่ถูก ได้แต่โทรแจ้งผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่ในโครงการ

    เซอร์ไพรซ์! ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก
    ลูกละมั่งที่เกิดอยู่ในภายในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนี้คือสัตว์ป่าที่เกิดด้วยวิธีผลิตตัวอ่อนหลอดแก้วตัวแรกของไทย และยังเป็นละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก โดย น.สพ.สกนธ์ บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่าเขามีส่วนร่วมในโครงการตั้งแต่การคัดเลือกแม่อุ้มบุญ คอยกำจัดโรคที่เป็นสาเหตุให้แท้ง จนแข็งแรงดี ระหว่างท้องจะให้แคลเซียมและเกลือแร่เสริมเพื่อลดความเครียด ส่วนลูกละมั่งที่เกิดมาได้รับการดูแลเรื่องการถ่ายพยาธิเพียงอย่างเดียวก่อน และเมื่อครบปีจะไดั้บวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ส่วนวัคซีนอื่นไม่จำเป็นเพราะยังไม่มีประวัติการติดโรคอื่นที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน

    “หลังจากลูกละมั่งเกิดมาแล้วทีมสัตวแพทย์ต้องเฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และเฝ้าดูว่าแม่ละมั่งเลี้ยงลูกหรือไม่ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เป็นแม่อุ้มบุญด้วย ไม่ทราบว่าตัวเอง และมีสัญชาตญาณระวังภัย ทำให้อาจทิ้งลูก แต่แม่อุ้มบุญก็เลี้ยงลูกได้อย่างดี และลูกละมั่งแข็งแรงมาก เพราะได้ภูมิคุ้มกันจากนมแม่” น.สพ.สกนธ์กล่าว พร้อมบอกด้วยว่าลักษณะภายนอกของละมั่งท้องนั้นเหมือนละมั่งทั่วไป การมองด้วยตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ นอกจากการเก็บมูลไปตรวจฮอร์โมนหาภาวะตั้งครรภ์ และตอนออกลูกละมั่งหลอดแก้วนี้แม่อุ้มบุญได้แอบไปคลอดอยู่ตรงพุ่มไม้

    รวมสุดทอดทีมวิจัย
    ความสำเร็จในการผลิตลูกละมั่งหลอดแก้วครั้งนี้ น.สพ.สุเมธ กมลนรนารถ หัวหน้าโครงการกล่าวว่ามีนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากกว่า 30 คน โดยมีทั้งทีมคนเลี้ยงสัตว์ให้สมบูรณ์ ทีมรีดน้ำเชื้อ โดยพ่อพันธุ์ละมั่งชุดนี้เป็นพ่อพันธุ์จากสวนสัตว์ที่นครราชสีมาที่ขนย้ายโดยการแช่แข็งมาผสมพันธุ์กับแม่ละมั่งที่เขาเขียว ทีมสัตวแพทย์และผู้ช่วยสัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายสาขาและระบบสนับสนุนต่างๆ อาทิ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลสัตว์ป่า และผู้บริหาร เป็นต้น

    น.สพ.สุเมธกล่าวว่ามีนักวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญ 6 คน ซึ่งมี 2 คนเป็นชาวต่างชาติได้แก่ ดร.ปิแอร์ โคมิซโซลี (Pierre Comizzoli) นักวิจัยเชื้อสายฝรั่งเศส-อิตาลี จากสถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์สมิทโซเนียน (Smithsonian Conservation Biology Institute) สหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะไข่หรือการดูดไข่จากระบบสืบพันธุ์สัตว์เพศเมีย โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลกวาง, ดร.เดบรา เบิร์ก (Dr.Debra Berg) นักวิจัยหญิงชาวอเมริกันจากสถาบันเอจีรีเสิร์ช (AG Research) นิวซีแลนด์ เธอเชี่ยวชาญเรื่องน้ำยาเพาะเลี้ยงในหลอดแก้วและการย้ายฝากตัวอ่อน โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลกวางและกวางแดง (Red Deer) อีกทั้งยังทำการโคลนนิงแกะและแพะด้วย

    นักวิทยาศาสตร์ไทยอีก 4 คนที่เหลือซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลติละมั่งลหอดแก้ว ได้แก่ ผศ.น.สพ.ธีรวัฒน์ ธาราศานิต จากคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ชำนาญด้านการแช่แข็งเซลล์สืบพันธุ์และการเลี้ยงเซลล์ไข่ไปปฏิสนธิในหลอดแก้ว ที่ผ่านมามีประสบการณ์ในการแช่แข็งตัวอ่อนสัตว์ตระกูลแมว ม้าและสุกร และผลิตลูกแมวหลอดแก้วมาแล้วหลายตัว, น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ทองทพิย์ศิริเดช จากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชี่ยวชาญด้านการแช่แช็งอสุจิ โดยเคยเป็นหัวหน้าทีมวิจัยช้างและผสมเทียมช้างเชือกแรกได้สำเร็จคือ “พลายปฐมสมภพ” และมีส่วนร่วมในการผสมเทียมละมั่งสายพันธุ์พม่าจากอสุจิแช่แข็งได้ละมั่งเพศผู้ที่เกิดเมื่อ 14 ก.พ.52 ชื่อ “อั่งเปา”

    สพ.ญ.ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมงานสวนสัตว์เขาเขียว ผู้มีประสบการณ์โคลนนิงแมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน และกำลังวิจัยเรื่องระบบสืบพันธุ์แมวป่าอีกหลายชนิด โดยในการผลิตละมั่งหลอดแก้วนี้เธอมีส่วนในการผลิตตัวอ่อนละมั่งระยะ 7 วัน หรือในระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่ง น.สพ.สุเมธกล่าวว่า เธอประสานการทำงานร่วมกับ ดร.เดบราได้เป็นอย่างดี

    ทำไมต้อง “ละมั่ง” ?
    “ละมั่งมีในหลายประเทศ แต่ไทยเป็นประเทศเดียวที่มีละมั่งถึง 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์พม่า โดยสายพันธุ์ไทยจะพบทางฝั่งตะวันออกและสายพันธุ์พม่าจะพบทางฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่น่าเสียดายที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติหมด ที่อินเดียมีละมั่งอินเดีย ที่พม่ามีละมั่งพม่า และที่ลาว เวียดนามและเขมรมีละมั่งไทย” ดร.สุเมธกล่าว และบอกว่าการผลิตละมั่งหลอดแก้วเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งที่สถาบันสมิทโซเนียนของสหรัฐฯ มีความพยายามทำละมั่งหลอดแก้วสายพันธุ์ไทย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการฝากถ่ายตัวอ่อนในหลอดแก้วไปยังแม่อุ้มบุญ

    เหตุผลที่เราต้องผลิตละมั่งหลอดแก้วนั้น นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีสมันแต่สูญพันธุ์ไปหมดไม่เหลือ จึงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นอีกในละมั่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สัตว์สงวนของไทย และไม่เหลือในธรรมชาติมา 50 ปีแล้ว แต่ข้อจำกัดในการขยายพันธุ์ละมั่งตามวิธีธรรมชาติคือได้ต้นพันธุ์ที่มีปัญหาการผสมเลือดชิด (inbreeding) ทำให้ได้ละมั่งที่ไม่แข็งแรง จึงต้องคิดเทคโนโลยีเพื่อหาสายพันธุ์ที่สมบูรณ์ และเมื่อวันที่ 30 มี.ค.53 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องละมั่งเป็นครั้งแรก จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 ก.พ.54 ได้ย้ายฝากตัวอ่อน และเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54 จึงได้ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก

    ตัวอ่อนหลอดแก้วแก้ปัญหาเลือดชิด
    การผลิตละมั่งหลอดแก้วแก้ปัญหาเลือดชิดได้อย่างนั้น ดร.น.สพ.บริพัตร หัวหน้าทีมวิจัยอธิบายว่า หากปล่อยให้ละมั่งขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ตัวผู้และตัวเมียที่เป็นพี่น้องกันนั้นมีโอกาสผสมพันธุ์กันได้ง่าย ทำให้ได้ลูกที่เลือดชิด อาจทะให้มีอาการปากแหว่ง ตาบอดหรือตายได้ ดังนั้น จึงต้องทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยการผลิตตัวอ่อนแบบหลอดแก้ว ซึ่งเราทราบว่าน้ำเชื้อตัวผู้นั้นมาจากไหน และการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นจะทำให้ได้ไข่มากถึง 20 ใบ ซึ่งนำไปผสมกับเชื้อตัวผู้และคัดเลือกพันธุ์ที่ดีเพื่อขยายต่อไป

    “ส่วนเหตุผลที่ต้องฝากตัวอ่อนให้แม่อุ้มบุญนั้น เพราะแม่อุ้มบุญไม่จำเป็นต้องมีสายพันธุ์ดี โดยเลือกตัวที่มีพี่น้องเยอะซึ่งแสดงว่าเป็นเลือดชิดเยอะแล้ว ควรหยุดได้แล้ว จึงเอามาเป็นโรงงานผลิตลูกแทน” ดร.น.สพ.บริพัตรให้เหตุผล นอกจากนี้ ผศ.น.สพ.ดร.ธีรวัฒน์ ยังได้อธิบายเพิ่มเติมแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า หากให้ละมั่งที่เป็นแม่พันธุ์ทำหน้าที่ตั้งท้องก็จะขยายพันะได้ครั้งละ 1 ตัว แต่ถ้าใช้แม่อุ้มบุญจะทำให้ขยายพันธุ์ได้ครั้งละหลายสิบตัว

    สำหรับละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลกนี้ทางทีมวิจัยได้เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเมื่อพิสูจน์แล้วว่าเทคโนโลยีในการขยายพันธุ์นี้ได้ผลดี ก็จะผลิตละมั่งหลอดแก้วเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป แต่การปล่อยคืนสู่ป่านั้นเป็นเรื่องซับซ้อน โดย น.สพ.ดร.บริพัตรอธิบายว่าเราปล่อยละมั่งเพื่อไปเป็นเหยื่อ ต้องไปอยู่รวมกับเสือ งู หมาไนและนักล่าอื่นๆ จึงเป็นเรื่องซับซ้อน สถานที่ปล่อยนั้นต้องเป็นป่าที่เหมาะสม มีอาหาร มีพื้นที่ให้วิ่งหนีนักล่า โดยก่อนหน้านี้ทางองค์การสวนสัตว์ฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชปล่อยละมั่ง 70 ตัวสู่ป่าห้วยขาแข้ง และปัจจุบันเหลือประมาณ 10 ตัว

    พลาดขั้นตอนเดียว...ทุกอย่างจบ
    ผศ.น.สพ.ดร.ธีรวัฒน์กล่าวว่าการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้กับสัตว์ป่าไม่ง่าย อย่างแรกคือไม่มีข้อมูลเลยจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้าน โดยเลือกเทคโนโลยีที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาใช้ใช้วิทยาการจากหลายภาคส่วนที่สามารถผลิตลูกสัตว์มาใช้ รวมถึงใช้เทคโนโลยีที่ผ่านการพัฒนาในสัตว์หลายชนิดมาแล้ว ซึ่งแต่ละขั้นมีความสำคัญเท่ากันหมด เพราะหากมีขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดทำไม่ได้ทุกอย่างก็จบ

    กว่าจะได้ละมั่งหลอดแก้วตัวแรกนี้ทีมวิจัยเคยล้มเหลวครั้งหนึ่ง คือเมื่อวันที่ 30 มี.ค.53 ทีมวิจัยได้ย้ายฝากตัวอ่อนสู่ท่อนำไข่ของแม่ละมั่งอุ่มบุญ 3 ตัวเป็นครั้งแรก ณ สวนสัตว์เขาเขียว และพบว่าแม่อุ้มบุญ 2 ตัวตั้งท้อง ซึ่งคิดเป็นความสำเร็จ 66.7% แต่ละมั่งทั้งสองได้คลอดลูกตายก่อนกำหนดเมื่อมีอายุการตั้งท้องประมาณ 7 เดือน จากนั้นจึงมีความพยายามในครั้งที่ 2 คือเมื่อเดือน ก.พ.54นี้ ซึ่งได้ย้ายฝากตัวอ่อนสุ่แม่อุ้มบุญ 8 ตัว และพบว่าแม่อุ้มบุญ 1 ตัวตั้งท้อง

    สอดคล้องกับคำอธิบายของ น.สพ.ดร.บริพัตรที่แจกแจงว่าแต่ละขั้นตอนนั้นมีความสำคัญและมีโอกาสล้มเหลวทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแช่แข็งเซลล์ทั้งไข่และอสุจิที่มีโอกาสตายและฝ่อได้ เมื่อปฏิสนธิแล้วก็ตายได้ หรือเมื่อย้ายฝากไปยังแม่อุ้มบุญก็มีโอกาสไม่สำเร็จสูงมาก เมื่อทำสำเร็จแล้วจึงอยากส่งต่อความภูมิใจไปยังคนไทยทุกคน นอกจากนี้แล้วทางทีมวิจัยยังมีห้องปฏิบัติการผลิตตัวอ่อนที่มีมาตรฐานเทียบเท่าคลีนิคผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

    “เราคุยกันเรื่องละมั่งมาเป็น 10 ปี เรื่องจากการผสมเทียม มาจนถึงไอวีเอฟ วันหนึ่งๆ เราผ่าตัด (ละมั่ง) กันเป็น 10 ตัว ไม่เคยมีใครในโลกทำได้มาก่อน ภูมิใจในงานนี้มาก” น.สพ.ดร.สิทธวีร์ ผู้มีบทบาทในการแช่แข็งน้ำเชื้อกล่าว

    ทางด้าน สพ.ญ.ดร.อัมพิกา ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยงนั้นนำมาใช้ในสัตว์ป่าได้จริงๆ และเธอโชคดีที่ได้รับการผลักดันให้ศึกษามาในเรื่องนี้ซึ่งคิดว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นหนทางในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ ส่วนก้าวต่อไปคือการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างธนาคารพันธุกรรมเพื่อผลิตสัตว์พันธุ์ดีและผลิตสัตวแพทย์รุ่นใหม่ และอนาคตจะได้ก้าวต่อไปสู่การขยายพันธุ์สัตว์ชนิดอื่นๆ

    สำหรับละมั่งหลอดแก้วในโครงการนี้เป็นละมั่งสายพันธุ์พม่า ซึ่งมีอยู่ในแหล่งเพาะเลี้ยงเมืองไทยประมาณ 1,000 ตัว ส่วนสายพันธุ์ไทยเหลืออยู่ในสถานที่เลี้ยงประมาณ 40 ตัว โดนทีมวิจัยไม่ทราบว่ายังมีอยู่ในสถานเลี้ยงสัตว์เอกชนอีกหรือไม่ ด้วยจำนวนละมั่งพม่าที่มีเยอะกว่านี่เองทีมวิจัยจึงไม่อยากเสี่ยงทำวิจัยในละมั่งสายพันธุ์ไทย เมื่อได้ผลการทดลองที่ดีในสายพันธุ์พม่าแล้วจึงจะขยายสู่สายพันธุ์ไทยต่อไป

    พร้อมกันนี้ น.สพ.ดร.บริพัตรให้ข้อมูลทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ด้วยว่า ยังมีละมั่งสายพันธุ์ไทยในธรรมชาติอยู่ที่ประเทศกัมพูชา 200 ตัวและมีอีก 5 ตัวอยู่ในสถานที่เพาะเลี้ยง ซึ่งทางทีมวิจัยพยายามที่จะประสานความร่วมมือเพื่อขยายพันธุ์ละมั่งสายพันธุ์ไทย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจา
     
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    จัดอันดับดาวเคราะห์น่าอยู่ (ได้)

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤศจิกายน 2554 20:27 น.

    [​IMG]


    ดวงจันทร์ไททันมีสภาพหลายๆ อย่างความคล้ายคลึงกับโลกในยุคแรกๆ (ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)


    นักวิทยาศาสตร์จัดอันดับว่าดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ดวงไหนที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวอาศัยอยู่ได้ ซึ่งในจำนวนนั้นมีดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “กลีส 581จี” ที่อยู่ห่างออกไป 20.5 ปีแสงในทิศทางกลุ่มดาวคันชั่ง

    ทีมศึกษานานาชาติได้ร่วมกันสร้างระบบเพื่อประเมินโอกาสที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยบีบีซีนิวส์รายงานว่าพวกเขาได้จัดทำระบบขึ้นมา 2 ระบบ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวงในวารสารแอสโตรไบโอโลจี (Astrobiology) โดยมี 2 ดัชนีชี้วัดที่แตกต่างกัน คือ ดัชนีความคล้ายคลึงโลก (Earth Similarity Index) หรือ อีเอสไอ (ESI) และ ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้ (Planetary Habitability Index) หรือ พีเอชไอ (PHI)

    “คำถามแรกคือเราจะพบสภาพคล้ายคลึงกับโลกบนดาวอื่นหรือไม่ เพราะเรารู้อย่างประจักษ์แจ้งว่าสภาพเหล่านี้เอื้อต่อการดำรงชีวิตได้ คำถามที่สองคือ สภาพที่มีอยู่บนดาวเคราะห์อื่นนั้นบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะมีรูปแบบอื่นของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ไม่ว่าเราจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม” ดร.เดิร์ก สคูลซ์-มาคุช (Dr.Dirk Schulze-Makuch) ผู้ร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตท (Washington State University) สหรัฐฯ ผู้ร่วมศึกษากาารจัดอันดับดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้นี้กล่าว

    สำหรับดัชนีอีเอสไอนั้นจะจัดอันดับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ว่าเหมือนโลกอย่างไรบ้าง โดยคำนึงถึงปัจจัยอย่างเช่น ขนาด ความหนาแน่นและระยะห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่ ส่วนดัชนีพีเอชไอจะพิจารณากลุ่มปัจจัยที่แตกต่างออกไป เช่น ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีพื้นผิวเป็นหินแข็งหรือน้ำแข็ง มีบรรยากาศหรือสนามแม่เหล็กหรือไม่ รวมถึงปัจจัยทางเคมี อาทิองค์ประกอบเคมีใดที่ปรากฏ และสารละลายของเหลวใดที่อาจจะเอื้อต่อปฏิกิริยาเคมีของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

    ค่าสูงสุดสำหรับดัชนีความเหมือนโลกนั้นมีค่าเท่ากับ 1.00 สำหรับโลกของเรา โดยคะแนนสูงสุดเป็นของดาวเคราะห์กลีส 581จี (Gliese 581g) ซึ่งอยู่นอกระบบสุริยะ (แต่นักดาราศาสตร์ยังกังขาต่อการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงนี้) ที่ได้คะแนน 0.89 และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกันคือดาวเคราะห์ กลีส 581ดี (Gliese 581d) ซึ่งได้ค่าอีเอสไอ 0.74 ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาระบบดาวฤกษ์ กลีส 581 (Gliese 581) มาเป็นอย่างดี และประเมินว่าดาวเคราะห์แคระแดง (red dwarf star) นี้มีดาวเคระาห์บริวาร 4-5 ดวง

    ดาวเคราะห์เอชดี 69830ดี (HD 69830 d) ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดพอๆ ดาวเนปจูนซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ที่เห็นอยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ (Puppis) ก็เป็นดาวเคราะห์อีกดวงที่มีได้คะแนนสูง คือ 0.60 โดยเชื่อว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใน “โซนโกลดิลอคส์” (Goldilocks Zone) หรือบริเวณที่สิ่งมีชีวิตน่าจะอาศัยได้ โดยบริเวณรอบๆ ดาวฤกษ์แม่นั้นมีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต ส่วนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ได้คะแนนสูงได้แก่ดาวอังคารที่ได้คะแนน 0.70 และดาวพุธ 0.60

    แต่ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้ให้ผลที่แตกต่างออกไป โดยอันดับสูดเป็นของดวงจันทร์ไททัน (Titan) ของดาวเสาร์ ซึ่งได้คะแนนของดัชนีนี้ 0.64 ตามมาด้วยดาวอังคารที่ได้คะแนน 0.59 และดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) ของดาวพฤหัสบดี ที่ได้คะแนน 0.47 ซึ่งคาดว่ามีมหาสมุทรใต้ดินที่ได้ความร้อนจากการบิดงอไทดัล (tidal flexing) ส่วนคะแนนสุงสุดสำหรับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะยังเป็นของดาวเคราะห์ในระบบกลีส 581 อีกครั้ง โดยดาวเคราะห์กลีส 581จี ซึ่งได้ 0.49 คะแนน และดาวเคราะห์กลีส 581ดี ซึ่งได้คะแนน 0.43

    ไม่กี่ปีมานี้การค้นหาดาวเคราะห์ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตนอกระบบสุริยะได้ใส่เกียร์เร่งขึ้นมา เฉพาะกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2009 ก็พบดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แล้วมากกว่า 1,000 ดวงมาจนถึงตอนนี้ และกล้องโทรทรรศน์ในอนาคตอาจมีความสามารถมากที่จะตรวจพบ “ตัวบ่งชี้ชีวภาพ” (biomarkers) จากแสงที่เปล่งออกมาจากดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้น อย่างเช่น ร่องรอยการมีคลอโรฟิลด์ซึ่งเป็นสารสีที่สำคัญในพืช เป็นต้น

    ***********


    [​IMG]


    ดัชนีความคล้ายคลึงโลก

    โลก - 1.00
    กลีส 581จี - 0.89
    กลีส 581ดี - 0.74
    กลีส 581ซี - 0.70
    ดาวอังคาร - 0.70
    ดาวพุธ - 0.60
    ดาวเคราะห์เอชดี 69830ดี - 0.60
    ดาวเคราะห์ 55 ซีเอ็นซี ซี - 0.56
    ดวงจันทร์ - 0.56
    กลีส 581อี - 0.53


    [​IMG]


    ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้


    ดวงจันทร์ไททัน - 0.64
    ดาวอังคาร - 0.59
    ดวงจันทร์ยูโรปา - 0.49
    กลีส 581จี - 0.45
    กลีส 581ดี - 0.43
    กลีส 581ซี - 0.41
    ดาวพฤหัสบดี - 0.37
    ดาวเสาร์ - 0.37
    ดาวศุกร์ - 0.7
    ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus-ดวงจันทร์ของดาวเสาร์) - 0.35
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]
     
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    คลิปข่าว รายงานน้ำท่วม ออสเตรเลีย / ปากีสถาน

    Aerial video of flood in Australia! / Pakistan, Sindh - media reports that all flood-affected areas are still under water!

    This video is of raw footage taken of flooding around the Moree, Garah and Narrabri areas on Sunday 27 November. It features the Minister for Emergency Services Michael Gallacher and Acting NSW SES Commissioner Steve Pearce on a visit to the flood affected areas. The footage shows the extent of the flooding, and the efforts of local SES volunteers to help their communities.

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=uFgsUSyU_GM"]Flooding around Moree, Garah and Narrabri 27 November 2011 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ธรรมชาติที่ขั้วโลกใต้

    โดย สุทัศน์ ยกส้าน 25 พฤศจิกายน 2554 09:31 น.

    Share
    58

    [​IMG]

    ภูเขาน้ำแข็งในทะเล

    องค์การ International Council for Science (ICSU) และ World Meteorological Organization (WMO) ได้กำหนดให้ปี 2007-2008 ที่ผ่านมาเป็นปีขั้วโลกสากล (International Polar Year-IPY) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้นักวิทยาศาสตร์มุ่งศึกษาธรรมชาติแถบขั้วโลกทุกรูปแบบรวมถึงให้วิเคราะห์อิทธิพลของเหตุการณ์ที่อุบัติที่ขั้วโลกเหนือและใต้ ว่ามีผลกระทบต่อธรรมชาติในบริเวณอื่นของโลกอย่างไร และมากหรือน้อยเพียงใดด้วย

    ย้อนอดีตไปถึง 1882 ซึ่งเป็นปีที่มีปีขั้วโลกสากลครั้งแรก สิบเอ็ดประเทศที่เข้าร่วมโครงการได้จัดตั้งสถานีวิจัยสภาพดินฟ้าอากาศในแถบขั้วโลกเหนือและใต้ รวมถึงวิจัยธรรมชาติของสนามแม่เหล็กโลกว่ามีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์แสงเหนือและใต้ (aurora) และสภาพอากาศในประเทศต่างๆ แถบขั้วโลกอย่างไร สำหรับปีขั้วโลกสากลครั้งที่สองซึ่งจัดขึ้นในอีก 50 ปีต่อมา คือในปี 2475 แม้ในปีนั้นสภาพเศรษฐกิจของโลกจะตกต่ำ แต่โครงการนี้ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบรรดา 44 ประเทศทั่วโลกเพื่อศึกษาสภาพบรรยากาศเหนือขั้วโลก

    เมื่อถึงปี ค.ศ.1957 ซึ่งเป็นปีขั้วโลกสากลครั้งที่ 3 ได้มีประเทศ 67 ประเทศเข้าร่วมโครงการ และบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างรู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อได้มีโอกาสสำรวจบรรยากาศด้วยดาวเทียมของรัสเซียชื่อ Sputnik โครงการนี้มีนักวิทยาศาสตร์ 8,000 คน เข้าร่วมวิจัยบรรยากาศชั้น ionosphere การค้นพบที่สำคัญ คือ การพบแถบรังสี Van Allen ที่ห่อหุ้มปกป้องโลก

    ถึงโลกจะมีขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แต่ขั้วโลกใต้กลับเป็นที่น่าสนใจในเชิงวิทยาศาสตร์ยิ่งกว่า เพราะเป็นที่ตั้งของทวีปแอนตาร์กติกาที่มีภูมิอากาศและภูมิประเทศเหมาะสำหรับการค้นหาและดูดาวเคราะห์ เพราะท้องฟ้าบริเวณนี้มักไร้เมฆ ทำให้รังสีอินฟราเรดจากดาวเคราะห์นอกสุริยจักรวาลสามารถเดินทางถึงโลกได้สะดวกโดยไม่ถูกไอน้ำหรือเมฆดูดกลืน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลอิตาลีจึงจัดตั้งโครงการ Concordia ขึ้น โดยให้นักวิทยาศาสตร์ 16 คน เฝ้าสังเกตดาวติดต่อกันเป็นเวลานาน 9 เดือนในฤดูหนาว เมื่อถึงหน้าร้อนนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็ได้เพิ่มเป็น 30 คน ส่วนนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น แพทย์และนักชีววิทยาที่สนใจวิถีการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนทวีปน้ำแข็งก็ได้วิเคราะห์สุขภาพของคนและสัตว์ที่ตกอยู่ในสภาพอากาศหนาวที่อุณหภูมิ -50 องศาเซลเซียสตลอดเวลา และพบว่า แม้แต่สัตว์ในบริเวณรอบทวีปน้ำแข็งก็มีชีวิตที่น่าสนใจ เช่นมีการพบว่าหนอนทะเลที่อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งของประเทศแองโกลาที่ระดับลึก 5,000 เมตร มีรูปร่างเหมือนหนอนที่พบในทะเลขอบทวีปแอนตาร์กติกาทุกประการ นั่นแสดงให้เห็นว่า กระแสน้ำในบริเวณใกล้ทวีปแอนตาร์กติกาสามารถไหลไปไกลถึงฝั่งของประเทศแองโกลาในทวีปแอฟริกาได้ ทั้งๆ ที่บริเวณทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ 4,000 กิโลเมตร

    [​IMG]

    แผนที่ทวีปแอนตาร์กติกา

    นักอุตุนิยมวิทยาก็ใคร่รู้สภาพอากาศในอดีต เช่นว่าเมื่อ 750,000 ปีก่อน สภาพอากาศในบริเวณนี้เป็นอย่างไร ซึ่งก็สามารถรู้ได้โดยขุดเจาะน้ำแข็งลงไปลึกประมาณ 3 กิโลเมตร เช่น ในปี 2003 คณะนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าน้ำแข็งที่ขุดขึ้นมามีฟองก๊าซและฝุ่นปน การวิเคราะห์ก๊าซ ในน้ำแข็งทำให้รู้ว่า เมื่อ 750,000 ปีก่อน โลกมีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณน้อยกว่าปัจจุบัน ส่วนการวัดปริมาณไอโซโทปของ O-16 กับ O-18 ที่พบในน้ำแข็ง ก็สามารถบอกได้ว่าโลกขณะนั้นมีอุณหภูมิสูงเพียงใด การศึกษาลักษณะนี้ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า โลกได้ผ่านยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อ 10,700 ปีก่อนนี้

    การศึกษาปริมาณน้ำแข็งที่มีบนทวีปแอนตาร์กติกาก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเมื่อถึงหน้าหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลงมาก น้ำบริเวณขอบทวีปจะแข็งตัว ทำให้ทวีปมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่เมื่อถึงหน้าร้อนน้ำแข็งที่อยู่บริเวณขอบทวีปจะละลายก่อน น้ำแข็งบางส่วนจะแตกแยกออกจากก้อนน้ำแข็งใหญ่เป็นภูเขาน้ำแข็งลอยเท้งเต้งในทะเล จึงเป็นภัยต่อเรือที่สัญจรไปมา เมื่อขนาดของทวีปมีการแปรปรวนเช่นนี้ ถ้ามนุษย์ต่างดาวสามารถเห็นโลกจากอวกาศไกลๆ ได้ เขาก็จะสามารถบอกได้ทันทีว่าโลกมีฤดู เพราะทวีปจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและลดลงสลับกัน นักวิทยาศาสตร์ ณ วันนี้รู้ว่าแอนตาร์กติกามีพื้นที่ประมาณ 13 ล้านตารางกิโลเมตร และน้ำแข็งบนทวีปหนาประมาณ 5 กิโลเมตร การมีน้ำแข็งปริมาณมากเช่นนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ถ้าน้ำแข็งละลายหมด ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มสูงถึง 80 เมตร และนั่นก็หมายความว่า บรรดาเมืองน้อยใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลจะจมน้ำหมด

    สำหรับการสำรวจทางธรณีวิทยาก็แสดงให้เห็นว่า ใต้ชั้นน้ำแข็งมีแผ่นดินที่มีแร่หลายชนิด เช่น เหล็ก ทองคำ ดีบุก ถ่านหิน และสังกะสี แต่มีในปริมาณไม่มากพอที่จะให้มีอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ขั้วโลกได้

    นอกจากนี้การขุดพบฟอสซิลของสัตว์และพืชต่างๆ ในทวีปแอนตาร์กติกาก็ทำให้เรารู้ว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน แอนตาร์กติกาเคยมีอากาศอบอุ่น มีป่า มีพืชและสัตว์นานาชนิด แต่การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกได้ทำให้อากาศเหนือทวีปเย็นลงๆ จนพืชและสัตว์ล้มตายและสูญพันธุ์ไปในที่สุด

    ในสายตาของคนทั่วไปที่มีโอกาสได้ไปเยือนจะคิดว่า ทวีปแอนตาร์กติกามีแต่น้ำแข็งและน้ำแข็งที่ทอดไกลสุดลูกหูลูกตา จึงเป็นทวีปที่มีแต่สีขาวโพลนจนน่าเบื่อ แต่นักอุกกาบาตวิทยาที่ไปเยือนแอนตาร์กติกาจะรู้สึกตื่นเต้น เพราะเวลาอุกกาบาตตกบนโลก สีดำของก้อนอุกกาบาตจะตัดกับสีขาวของน้ำแข็งอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นแอนตาร์กติกาจึงเป็นสวนสวรรค์ของนักอุกกาบาตวิทยาที่จะได้เดินเก็บอุกกาบาตมาศึกษา

    ไม่เพียงแต่สิ่งชีวิตหรือวัตถุบนผิวน้ำแข็งเท่านั้นที่น่าสนใจ ใต้น้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาก็น่าสนใจเพราะมีทะเลสาบน้ำจืดแฝงซ่อนอยู่ให้นักดาราศาสตร์และนักชีววิทยาที่สนใจชีวิตนอกโลกได้ศึกษาด้วย

    ทั้งนี้เพราะในปี 1994 เมื่อ Andrei Kapitza แห่ง Moscow State University ได้ “เห็น” ทะเลสาบใต้น้ำแข็ง เป็นครั้งแรกจากการได้ทดลองขุดน้ำแข็งจนเป็นรูลึก 40 เมตร แล้วจุดประทัดดินปืนในรูนั้น พลังระเบิดทำให้คลื่นเสียงแผ่กระจายไปในน้ำแข็งทุกทิศทุกทาง และก็ได้พบว่า เมื่อเจาะรูที่ 2 ให้ขนานและอยู่ห่างจากรูแรกเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร การจุดระเบิดดินปืนในรูแรกทำให้คลื่นเสียงเดินทางจากรูแรกไปยังเครื่องรับเสียงในรูที่ 2 มากมายหลายทิศทาง การรู้ความเร็วของเสียงในน้ำแข็งและน้ำเหลวอย่างแม่นยำทำให้ Kapitza พบว่าใต้น้ำแข็งลึกลงไปมีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่

    ข้อมูลคลื่นสะท้อน คลื่นกระทบ และคลื่นหักเห ณ วันนี้ยืนยันให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า แหล่งน้ำที่พบใหม่มีความกว้าง 50 กิโลเมตร ยาว 230 กิโลเมตร ลึก 500 เมตร และทะเลสาบน้ำจืดนี้อยู่ ใต้ผิวน้ำแข็งเป็นระยะลึก 4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว อุณหภูมิของน้ำในทะเลสาบเท่ากับ -28 องศาเซลเซียส แม้อุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศา แต่น้ำก็ยังเป็นของเหลวเพราะถูกกดทับด้วยน้ำแข็งที่หนามาก จนทำให้เกิดความดันที่มีค่ามากประมาณพันเท่าของความดันบรรยากาศ นอกจากเหตุผลเรื่องความดันนี้แล้วนักวิทยาศาสตร์บางคนได้สันนิษฐานว่า ในบริเวณใต้ทะเลสาบนี้อาจมีแหล่งสารกัมมันตรังสีที่คายพลังงานความร้อนให้น้ำแข็งตลอดเวลาก็เป็นได้ ดังนั้น น้ำแข็งจึงละลายเป็นน้ำเหลวดังที่ Kapitza “เห็น”

    ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้สำรวจพบแล้วว่า ขั้วโลกใต้มีทะเลสาบใต้น้ำแข็งกว่า 150 แห่ง และทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดชื่อ ทะเลสาบ Vostok การพบทะเลสาบเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตื่นเต้นมาก เพราะทะเลใต้น้ำแข็งลึกขนาดนั้นแสดงว่ามีอายุมากถึง 1 ล้านปี จึงอาจมีสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ไม่เคยรู้จักมาก่อนอาศัยอยู่ก็ได้

    องค์การนาซา (NASA) ก็สนใจการพบทะเลสาบน้ำจืดใต้ทวีปแอนตาร์กติกาเช่นกัน เพราะดวงจันทร์ชื่อ Europa ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีผิวน้ำแข็งปกคลุมก็มีทะเลสาบข้างล่างเช่นกัน ดังนั้นนาซาจึงหวังว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาทะเลสาบ Vostok จะทำให้เราเข้าใจทะเลบน Europa ด้วย เช่นถ้า Vostok มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ Europa ก็อาจมีสิ่งมีชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นนาซาจึงตั้งโครงการ Subglacial Antarctic Lake Exploration (SALE) เพื่อศึกษาทะเลสาบใต้น้ำแข็งโดยใช้คลื่นเรดาห์ คลื่นแผ่นดินไหว และสนามแม่เหล็กโลก เพื่อหาขนาด ระดับความเค็ม และองค์ประกอบของน้ำในทะเลสาบ รวมถึงแหล่งน้ำพุร้อนและภูเขาไฟใต้น้ำแข็งด้วย

    ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1999 J. Jouzel ได้รายงานว่า ในการขุดน้ำแข็งตรงบริเวณเหนือทะเลสาบจนถึงระดับลึก 3 กิโลเมตร เขาได้พบจุลินทรีย์ สารอนินทรีย์ และคาร์บอนมาก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าในทะเลสาบจะมีจุลินทรีย์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ แต่การจะขุดลงไปให้ลึกยิ่งกว่านี้ต้องยุติ เพราะองค์การนาซาไม่ต้องการให้สิ่งแปลกปลอมใดๆ จากอุปกรณ์ที่ใช้ขุดตกลงในทะเลสาบ ซึ่งจะทำให้น้ำในทะเลสาบมีสิ่งปนเปื้อน และทำให้ความรู้ใดๆ ที่จะได้จากทะเลสาบที่ไม่เคยถูกมนุษย์สัมผัสมลายหมดไปทันทีทันใด

    ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2006 Robert Bindschadler แห่ง NASA Goddard Space Flight Center ได้รายงานว่า ในการศึกษาภาพถ่ายดาวเทียมที่ถ่ายระหว่างปี 2003-2006 ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าขั้วโลกใต้มีทะเลสาบใต้น้ำแข็งมากกว่า 150 แห่ง

    ในวารสาร Nature ฉบับที่ 445 ปี 2007 R.E. Bell และคณะได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมและจากพื้นดิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ณ บริเวณที่เรียกว่า Dronning Maud Land มีทะเลสาบน้ำจืด 4 แห่ง ทะเลสาบเหล่านี้ไม่เพียงมีขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ตำแหน่งที่อยู่ของมันก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจด้วย กล่าวคือ เวลานักวิทยาศาสตร์วัดความหนาของน้ำแข็ง เขาจะปล่อยคลื่นเรดาห์จากสถานีสำรวจที่อยู่บนน้ำแข็งและจากดาวเทียม เพราะน้ำแข็งจะให้คลื่นเรดาห์ผ่านสะดวก คือไม่ดูดกลืนคลื่น และเมื่อคลื่นเรดาห์ปะทะชั้นหินที่อยู่ใต้น้ำแข็ง คลื่นจะสะท้อน เพราะหินสะท้อนคลื่นได้ดีกว่าน้ำแข็ง ดังนั้นสัญญาณเรดาห์จึงสามารถใช้บอกขนาดและตำแหน่งของทะเลสาบใต้น้ำแข็งได้ละเอียด แต่เดิมนั้นนักวิทยาศาสตร์คิดว่าน้ำในทะเลสาบใต้น้ำแข็งไม่สามารถไหลติดต่อถึงกันได้เลย แต่การสำรวจของ Bell และคณะแสดงให้ทุกคนเห็นว่า ผิวน้ำแข็งที่อยู่ติดน้ำในทะเลสาบมีการเคลื่อนที่ (ขึ้น-ลง) เช่นเมื่อผิวน้ำแข็งด้านหนึ่งเคลื่อนที่ขึ้น ผิวน้ำแข็งในทะเลสาบซึ่งอยู่ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตรจะเคลื่อนที่ลง การเคลื่อนที่ของผิวน้ำแข็งเช่นนี้ทำให้น้ำบางส่วนในทะเลสาบแห่งหนึ่งสามารถไหลไปรวมกับน้ำในทะเลสาบอีกแห่งหนึ่งได้

    เราจึงเห็นได้ว่าในอดีตหลังจากที่ F. Von Bellingshausen นักสำรวจชาวรัสเซียได้เห็นทวีปแอนตาร์กติกาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1820 และคิดว่าผืนแผ่นดินนั้นไม่มีอะไรน่าสนใจหรือน่าอยู่เลย เพราะไม่มีต้นไม้หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ จะมีก็แต่น้ำแข็งเท่านั้น และการสำรวจโดย C. Wilkes นักสำรวจชาวอเมริกันในเวลาต่อมาก็ได้ทำให้โลกรู้ว่าแผ่นดินนี้เป็นทวีป หาใช่เกาะน้ำแข็งไม่ เขาจึงตั้งชื่อว่าทวีปแอนตาร์กติกา มาบัดนี้ แอนตาร์กติกาได้กลายสภาพเป็นดินแดนใหม่ที่มีอะไรที่น่าสนใจ และเป็นที่ที่น่าอยู่ สำหรับคนที่ชอบอากาศหนาว หรือถ้าใครคิดจะไปอยู่บนดาวอังคาร สถานที่นี้ก็เหมาะสำหรับการซ้อมใช้ชีวิตก่อนไปจริงครับ

    สุทัศน์ ยกส้าน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปิดการจราจรบรมราชชนนีขาเข้า-ขาออก


    29 พย. 2554 09:26 น.

    ถ.สายหลัก ฝั่งทิศตะวันตก- ใต้ ที่ยังปิดการจราจรเนื่องจากมีน้ำท่วมขังมี 1 เส้นทาง) คือ

    ถนนบรมราชชนนี ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจรตั้งแต่ ทางลงคู่ขนานลอยฟ้า ถึง ถ.พุทธมณฑลสาย 4


    ปิด 6 เส้นทางจราจรถ.สายรองตะวันตก-ใต้


    29 พย. 2554 09:20 น.

    ถ.สายรอง ฝั่งทิศตะวันตก- ใต้ ที่ยังปิดการจราจรเนื่องจากมีน้ำท่วมขัง มี 6 เส้นทาง) ดังนี้

    1) ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด คลองบางไผ่

    2) ถ.ฉิมพลี ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน

    3) ถ.บางแวก ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ถึงคลองทวีวัฒนา

    4) ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย

    5) ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย

    6) ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนา ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์
     
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ถ.สายรองทิศเหนือปิดการจราจร 8 เส้นทาง


    29 พย. 2554 09:52 น.

    ถ.สายรอง ฝั่งทิศเหนือที่ยังปิดการจราจรเนื่องจากมีน้ำท่วมขังมี 8 เส้นทาง ดังนี้)

    1) ถ.ช่างอากาศอุทิศ

    2) ถ.เทิดราชันย์

    3) ถ.กำแพงเพชร 6 ตั้งแต่ ปากทางเข้าการเคหะทุ่งสองห้อง ถึง สุดเขตนครบาล (สน.ดอนเมือง)

    4) ถ.สรงประภา

    5) ถ.เชิดวุฒากาศ

    6) ถ.โกสุมร่วมใจ

    7) ถ.เตชะตุงคะ

    8) ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14


    2 เส้นทางถ.สายหลักฝั่งทิศเหนือปิดการจราจร


    29 พย. 2554 09:41 น.


    ถ.สายหลัก ฝั่งทิศเหนือที่ยังปิดการจราจรเนื่องจากมีน้ำท่วมขังมี 2 เส้นทาง

    ถ.พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่ตลาดยิ่งเจริญ ถึง อนุสรณ์สถาน 2

    ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า -ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่เคหะทุ่งสองห้อง ถึง อนุสรณ์สถาน
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พายุแม่เหล็ก

    [​IMG]

    พายุสุริยะจากวันที่ 26 มาถึงโลกในเวลาประมาณ 21 UTC

    โดยสังเกตุจากความเร็วลมสุริยะที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

    ในขณะที่ความหนาแน่นประจุไฟฟ้ายังเพิ่มไม่สูงมากนักในขณะนี้

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่

    on วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 with 0 comments

    [​IMG]

    นาซาพบดาวเคราะห์ "กลิส 581 จี" สภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ดวงจันทร์ "ไตตัน" ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่...

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 พ.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุด ชื่อว่า "กลิส 581 จี" มีสภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" เท่าที่เคยค้นพบมาก่อนหน้านี้

    ทั้งนี้ กลิส 581 จี อยู่ห่างออกไปราว 123 แส้นล้านไมล์ พบในกลุ่มดาวตราชั่ง ขนาดใหญ่กว่าโลก 3-4 เท่า ใช้เวลาโคจรเป็นเวลา 37 วัน นอกจากนี้ยังอาจมีของเหลว หรือแหล่งน้ำอยู่บนพื้นผิวด้วย การค้นพบครั้งล่าสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมาร่วม 11 ปีแล้ว และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารแอสโตรฟิสิคอลด้วย

    ขณะที่เหล่านักวิทยา ศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า "ไตตัน" ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ และอาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่.

    [​IMG]

    Read more: http://allmysteryworld.blogspot.com/2011/11/blog-post_27.html#ixzz1f3pd1v7Y
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  13. ธาตุ4

    ธาตุ4 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +91
    แปลว่า ผลจากการสื่อสารทางจิตครับ (หรือโทรจิต ครับ)
     
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    อ๋อๆ จะได้ทราบว่าข้อมูลทางจิต หรือ ทางวิทยาศาสตร์ อ่ะจ้า :cool:
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    <table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2" valign="top" width="100%">2011-11-29 04:01:47 - Volcano Activity - Bolivia

    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" width="100%">
    </td> </tr> <tr> <td valign="top"> <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td width="25%">EDIS Code:</td> <td>VA-20111129-33203-BOL</td> </tr> <tr> <td>Date&Time:</td> <td>2011-11-29 04:01:47 [UTC]</td> </tr> <tr> <td>Continent:</td> <td>South-America</td> </tr> <tr> <td>Country:</td> <td>Bolivia</td> </tr> <tr> <td>State/Prov.:</td> <td>Departmento de Potosi, </td> </tr> <tr> <td>Location:</td> <td>Mt. Uturuncu Volcano, </td> </tr> <tr> <td>City:</td> <td>
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2"> Not confirmed information!
    </td> </tr> </tbody></table> </td> <td align="right" width="440"> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td colspan="2" valign="top"> Description: </td> </tr><tr> <td colspan="2" valign="top"> Given that there has been some recent interest in Uturuncu in the media, when this paper from the Bulletin of Volcanology came up among my RSS feeds it instantly piqued my interest. Titled "Shallow seismicity, triggered seismicity, and ambient noise tomography at the long-dormant Uturuncu Volcano, Bolivia", it reports the findings from a seismic survey of the volcano between April 2009 and April 2010. Uturuncu is in a remote part of the Bolivian Andes, and hasn't erupted for the last 271,000 years. However, InSAR (satellite) measurements have shown it to be inflating by 1-1.5 cm/year, which is quite fast. Modelling this deformation shows it is most likely in response to some increase in volume 15-17 km bellow sea level (21-23 km below the summit). There is a zone of material at this depth where the velocity of seismic waves is found to be low compared to solid rock, and this implies it is partially molten (at least 14-27% melt, likely in some sort of crystal mush). This suggests that the inflation is due to the injection of fresh magma.

    This recent study placed a temporary network of seismometers around Uturuncu in order to map out the locations of any earthquakes that might be there. They then did three things with it: attempted to determine the cause of the seismicity; used the low-level seismic noise to calculate some the structures found beneath the volcano; and looked at the effect of the 27 February magnitude 8.8 Maule earthquake. With respect to the Maule earthquake, the team recorded the seismic waves as they arrived. They found that these waves triggered a swarm of small earthquakes. This has been observed before, and doesn't tell us much about the volcano itself, so I shall leave the discussion at that and move on to the cause of the earthquakes. They recorded on average three earthquakes a day, although several times a month there would be a swarm of 5-60 within a few hours. The largest was a magnitude 3.7. The earthquakes clustered around the summit, at depths of around sea-level (The summit of Uturuncu is 6,008 m above sea level).
    </td></tr></tbody></table>
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    หน้าหนาวเริ่มเข้ามาแล้ว ไปซื้อผ้าพันคอแบบนี้มาใส่ก็ดีนะ 5555555555555

    คลายเครียด.... ^_^ คิคิคิ

    [​IMG]
     
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    10 วัตถุลึกลับโบราณ ที่ท้าทายทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์

    on วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 with 0 comments


    OPARTS โอพาร์ทส หรือย่อมาจาก Out Of Place Artifacts นี้แปลตรงตัวแล้วหมายถึง"วัตถุเหนือยุค" หมายถึงวัตถุซึ่งไม่น่าจะมีปรากฏอยู่ในยุคนั้นๆซึ่งถูกสร้างขึ้น ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เครื่องบินเจ็ตทองคำ(โคลัมเบีย) กะโหลกคริสตัล(แอสเทคและที่อื่นๆ) รูปวาดนักบิน(มายา) รูปเฮลิคอปเตอร์+รถถัง+เครื่องบินรบ(อียิปต์) ฯลฯ กล่าวกันว่าการค้นพบสิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานว่า ในสมัยโบราณ มนุษย์มีวัฒนธรรมซึ่งล้ำหน้ากว่าที่เราคาดคิดไว้มากนัก ถือเป็นการค้นพบที่พลิกประวัติศาสตร์โลกทีเดียว
    ในช่วงหลายร้อยปีมานี้ มีการพบวัตถุลึกลับต่างๆ มากมายทั่วโลก(ไม่ยักมีไทย) ซึ่งวัตถุแต่ละอย่างไม่สอดคล้องกับทฤษฏีความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารยธรรม, ความฉลาดของสมอง, ความคิดของมนุษย์ ฯลฯ และนี้คือ 10 วัตถุโบราณที่กำลังท้าทางคำตอบ ว่ามันคืออะไรกันแน่ และมันมีไว้เพื่ออะไร

    อันดับ 10 Klerksdorp sphere

    [​IMG]

    หรือ The Grooved Spheres เป็นโลหะลึกลับที่มีการค้นพบกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยคนงานเหมืองใน Ottosdal เมืองเล็กๆ ในประเทศแอฟริกาใต้ได้ขุดค้นพบวัตถุโลหะทรงกลมลึกลับจำนวนหนึ่ง ขึ้นมาในชั้นหินแร่ไพโรฟิลไลท์ โดยไม่ทราบที่มาและแหล่งกำเนิดได้ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ มันเป็นวัตถุโลหะทรงกลมลึกลับนี้วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรอบวงได้ประมาณ 1 นิ้วกว่าๆ (0.5-10 ซม.) และมี 2 แบบ คือโลหะสีน้ำเงินอ่อน มีสีขาวเป็นจุดๆ อีกแบบเป็นทรงกลวง ข้างในบรรจุข้าวสาลี และจากการตรวจสอบหาอายุวัตถุลึกลับนี้จากชั้นของหินพบว่ามันมีอายุนานถึง 2,800 ล้านปี!!(ในวีพีมีเดียอังกฤษบอกว่า 3,000 ล้านปี) ซึ่งมันเป็นยุคพรีแคมเบรียน(Precambrian)หรือบรมยุคกำเนิดโลก ดูจากยุคแล้วก็บอกได้แน่นอนว่าไม่มีวิทยาการที่สามารถใช้ไฟหลอมโลหะเป็นทรงกลมได้แน่ๆ แถมเป็นยุคที่ไม่มีมนุษย์อีก ทำให้จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบคำตอบว่าใครเป็นทำโลหะทรงกลมเหล่านั้น?? และทำเพื่ออะไร?? ทำให้ตั้งข้อสมมุติฐานว่าเกิดจากธรรมชาติเท่านั้น.....

    อันดับ 9 The Dropa Stones

    [​IMG]

    ในปี 1938 นักโบราณคดีกลุ่มหนึ่งนำโดยดร.ชีปูเตย (Dr. Chi Pu) ได้เข้าไปสำรวจเทือกเขาเป่ยอัน-คารา-ยูลา Baian-Kara-Ulaในเมืองจีน ได้ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ในถ้ำแห่งหนึ่งเข้า สิ่งมหัศจรรย์นี้เป็นวัตถุอารยธรรมโบราณฝังรูปร่างเหมือนแผ่นศิลาทรงกลมหลายร้อยแผ่นฝังอยู่ฝุ่นตามพื้นถ้ำ ศิลาเหล่านี้วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 9 นิ้ว แต่ละแผ่นมี รอยสลักเป็นวงกลมที่ศูนย์กลาง แล้วแกะหมุนวนแบบลายก้นหอย ดูคล้ายแผ่นเสียง ทว่ามีอายุราว 10,000-12,000 ปี เมื่อเพ่งพินิจให้ดีก็จะพบว่า ที่จริงแล้ว เส้นสายเหล่านั้นเป็น อักษรภาพตัวเล็กจิ๋วที่บอกเล่าเรื่องราวที่เหลือเชื่อว่า ครั้งหนึ่งเคยมียานอวกาศบินมาตก ที่เทือกเขาแห่งนั้น ยานอวกาศที่ว่ามีนักบินเป็นเผ่าชนที่เรียกตัวเองว่า โดรปา ซึ่งมีการพบซากของมนุษย์ที่อาจเป็นลูกหลานของชนกลุ่มนี้ในถ้ำด้วย

    อันดับ 8 The Ica Stones

    [​IMG]

    ในช่วงทศวรรษ 1930 บิดาของดร.ฮาเวียร์ คาบรีบรา นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ผู้ศึกษาเรื่องราวของชนพื้นเมืองในเปรู ได้พบหินหลายร้อยก้อนตามหลุมศพของชาวอินคาโบราณ ดร.คาบรีบราได้สานต่องานของพ่อ ด้วยการสะสมก้อนหิน ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟเหล่านี้ได้มากถึงกว่า 1,100 ก้อน ซึ่งประมาณว่ามีอายุราว 500-1,500 ปี และต่อมารู้จักกันในชื่อก้อนหินอิคา หินเหล่านี้มีรอยสลัก บางชิ้นเป็นเรื่องราวทางเการแพทย์ เช่นผ่าตัด ตัดหัวใจ และปลูกถ่ายสมอง แต่ที่น่าทึ่งที่สุดก็คือ ภาพสลักรูปไดโนเสาร์ ทั้งบรอนโตซอ รัส ไทรเซอราท็อป สเตโกซอรัส และเทอโรซอร์ รูปของคนขี่ไดโนเสาร์ รูปกล้องโทรทัศน์ แล้วก็แผนที่โลกที่มองลงมาจากทางอากาศ ปัจจุบัน ยังไม่มีนักโบราณคดีคนใดอธิบายเรื่องนี้ได้ แม้นักวิชาการบอกว่า หินอิคาเป็นของที่กุขึ้นมาเอง แต่ก็ไม่เคยมีการ วิจัยเพื่อพิสูจน์ความจริงหรือหักล้างในเรื่องนี้ หินอิคาจึงเป็นก้อนหินที่น่าพิศวงต่อไป

    อันดับ 7 Giant Stone Balls of Costa Rica

    [​IMG]

    เมื่อทศวรรษ 1930 ขณะกำลังหักร้างถางพงในป่าทึบของ ประเทศคอสตาริกาเพื่อทำสวนกล้วย พวกคนงานได้เจอลูกหินขนาดต่างๆ หลายสิบลูก หลายลูกมีรูปร่างกลมดิก ขนาดก็แตกต่างกันไป มีตั้งแต่เท่า ลูกเทนนิสไปจนถึงลูกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ฟุต หนักถึง 16 ตัน เห็นได้ชัดว่าลูกหินพวกนี้ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ปัญหาก็คือไม่ได้พบร่อยรอยมนุษย์ที่อยู่ใกล้เคียงแม้แต่น้อย แม้แต่เศษเครื่องปั้นดินเผาก็พบสักชิ้น มันไม่น่าจะเป็นฝีมือมนุษย์ เพราะว่าลูกบอลยักษ์กลมดิกมาก จากข้อสันนิษฐานพบว่าลูกบอลยักษ์เหล่านี้เกิดขึ้นก่อนมนุษย์จะเกิดเสียอีก คือเกิดในยุคแทร์เซียรีพีเรีนดซึ่งนานกว่า 40 ล้านปีมาแล้ว คนพวกไหนมาสร้างเอาไว้ ทำขึ้นมาด้วยจุดประ สงค์อันใด และที่สำคัญมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีอะไรจึงทำลูกหิน ได้กลมเกลี้ยงถึงปานนี้?

    อันดับ 6 Oera Linda Book

    [​IMG]


    "Oera Linda Book เป็นหนังสือของพวก รีสแลนด์(ฟรีสแลนด์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์) เป็นหนังสือที่เขียนด้วยมือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เทพนิยาย และศาสนา ที่ปรากฏออกมาเมื่อศตวรรษที่ 19 หนังสือนี้ประกอบด้วยเรื่องความหายนะ, ชาตินิยมที่ผู้หญิงเป็นผู้นำครอบครัว,เทพนิยาย พบว่ามีการภาษาที่ใช้เขียนเล่มเป็นภาษาของชนชาติยุโรปและของชนชาติอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยเนื้อหาที่เขียนถูกรวบรวมและจัดเรียงโดย(เจ้า)แม่ผู้นำขนบธรรมเนียมท้องถิ่น ที่อุทิศตัวเป็นนักบวชหญิงของเฟรย่า ( Freya ) เทพีแห่งความรัก บุตรีแห่งมหาเทพ Wralda กับ Irtha มารดาแห่งปฐพี ด้วยเหตุนี้ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษากรีกโบราณและภาษาฟีนิเชี่ยน ฉบับปัจจุบันถูกพบว่าเขียนในปี 1260 ส่วนฉบับที่เก่าแก่กว่าถูกพบว่าเขียนในช่วงระหว่าง2194 ปีก่อนคริสตศักราช ถึง ค.ศ.803 ซึ่งสมัยนั้นไม่มีทางที่เขียนภาษาแบบนี้ได้แน่ๆ แต่กระนั้นก็มีการโต้แย้งว่ามันอาจเขียนขึ้นก่อนหน้านั้นแล้วทำให้ดูเหมือนโบราณเท่านั้น

    อันดับ 5 Impossible Fossils

    [​IMG]

    อย่างที่เราเคยเรียนกันสมัยมัธยม ซากฟอสซิลที่ปรากฏอยู่ตาม ก้อนหินนั้น ต้องใช้เวลาก่อตัวนานนับล้านปี แต่ก็มีฟอสซิลจำนวนหนึ่งซึ่งดูจะ ขัดกับหลักธรณีวิทยาหรือประวัติศาสตร์ ชนิดผิดฝาผิดตัวอย่างสุดๆ เช่น ฟอสซิลรูปมือประทับของมนุษย์ที่พบในชั้นหินปูน ซึ่งประมาณว่ามีอายุ 110 ล้านปี เป็นต้น แล้วยังมีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นฟอสซิลนิ้วมือของมนุษย์ ที่พบในเขต อาร์กติกของแคนาดาอีก ชิ้นนี้มีอายุราว 100-110 ล้านปี ไม่แต่เท่านั้น ยังมีการพบรอยเท้ามนุษย์ ซึ่งมองเหมือนสวม รองเท้าแตะ ที่เมืองเดลตา มลรัฐยูทาห์ ในชั้นหินดินดาน อายุราว 300-600 ล้านปีด้วย

    อันดับ 4 Out-of-Place Metal Objects

    [​IMG]

    เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ตามตำราบอกว่ามนุษย์ยังไม่เกิด และแน่นอนเรื่องช่างโลหะย่อมไม่มีแน่ แต่แล้วในฝรั่งเศสดันมีการค้นพบท่อโลหะ ทรงกึ่งรูปไข่ ที่ขุดพบในหินชอล์ก ยุคครีเตเชียส(Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของยุคเมโสโซอิค หรือ "ยุคไดโนเสาร์" ก่อนทวีปต่างๆ ก็ได้แยกออกจากกันเช่นในปัจจุบันได้อย่างไรกัน? ...นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างกรณีทำนองนี้มีมากมาย เช่น...เมื่อปี 1885 มีการพบท่อ โลหะในก้อนถ่านหิน ซึ่งเห็นได้ว่าทำขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์ ...เมื่อปี 1912 คนงานของโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งก็เจอกาน้ำโลหะใน ถ่านหินก้อนใหญ่ จากยุคหิน(Mesozoic)

    อันดับ 3 Ark Of The Covenant

    [​IMG]

    หรือหีบพันธะสัญญานั้นเองครับ ที่จริงยังไม่มีใครเจอมันหรอก แต่เรื่องราวที่เกี่ยวกับมันนั้นช่างน่าพิศวงเหลือเกิน
    ลักษณะของหีบพันธะสัญญาคร่าวๆ ตามตำนาน เล่าว่า เป็นหีบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยไม้ชิดติม (Shittim) ยาว 2.5 คิวบิท กว้าง และสูงเท่ากัน คือ 1.5 คิวบิท (เทียบหน่วยคิวบิทของอียิปต์ ซึ่ง 1 คิวบิทเท่ากับ 525 ซ.ม. หีบก็จะยาว 1.3 เมตร กว้างและสูง 76 ซ.ม. )บุด้านนอกและด้านในด้วยแผ่นทองคำ โดยรอบหีบด้านบนยกเป็นขอบสูงขึ้นเล็กน้อย ที่มุมสี่ด้านมีห่วงทองคำสำหรับสอดไม้คาน เพื่อแบกหามเวลาเดินทาง และไม้คานทำจากไม้ชนิดเดียวกันหุ้มด้วยแผ่นทอง(มีคำสั่งห้ามถอดไม้คานออกด้วย) ส่วนฝาหีบ เรียกว่าMercy Seat หรือ “การุณอาสน์” มีขนาดรับกับตัวหีบ และบุแผ่นทองเช่นเดียวกัน ด้านบนมีเทวดาสององค์สยายปีก หันหน้าเข้าหากัน ปีกทั้งสองโอบคล้ายซุ้มโค้งเหนือหีบ
    มีเรื่องเล่ากันว่า หีบพันธะสัญญาเป็นหีบที่สร้างขึ้นตามพระบัญชาของพระเจ้า(??) เพื่อเป็นที่บรรจุแผ่นหินจารึกบัญญัติ 10ประการของพระองค์ ที่ประทานแก่ โมเสส ในระหว่างที่เขาพาพวกฮีบรูเร่ร่อนอยู่กลางทะเลทราย อันกันดาร โดยชนชาวฮีบรูจะแบกหีบแห่งพันธสัญญาตลอดการเดินทางในพระคัมภีร์ไบเบิลเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ของหีบ ที่มีพลังมากมายมหาศาลถึงขั้นสามารถทำลายล้างผู้บังอาจเข้าไปแตะต้อง และถูกพระเพลิงเผาวอดตาย
    แน่นอนหลายคนที่ได้รู้เรื่องราวหีบพันธะสัญญานี้ได้บอกว่ามันน่าเหลือเชื่อและหากเป็นเรื่องจริงละก็มันน่าจะเป็นวิทยาการอะไรสักอย่างที่ไม่มีในยุคนั้น ดังนั้นจึงมีข้อสันนิฐานตามมาว่า หีบพันธะสัญญาน่าจะ ขวดแก้วไลเดน (Leyden Jar) ซึ่ง ปีเตอร์ แวน มุสเซนโบรค ได้คิดค้นขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1745 (เป็น อุปกรณ์เก็บสะสมประจุไฟฟ้า แบบง่าย) ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวกับไฟฟ้าทั้งสิ้น สมัยก่อนนั้นมีการใช้ไฟฟ้าได้อย่างไรกัน?? และจนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครพบหีบพันธะสัญญาที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถรู้ว่าหีบพันธะสัญญาคืออุปกรณ์อะไรกันแน่

    อันดับ 2. The Coso Artifact

    [​IMG]

    ขณะออกไปหาเก็บก้อนแร่และหินสวยงามบนเทือกเขาโอ ลัน คา ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงฤดูหนาวของปี 1961 วอลเลซ เลน(Wallace Lane), เวอร์จิเนีย แม็กซี(Virginia Maxey) และไมค์ ไมค์เซล(Mike Mikesell) ได้เจอหินที่เข้าใจว่าเป็นแก้วผลึก ก้อนหนึ่ง ทั้งสามชอบใจมาก เพราะคิดว่าถ้าเอากลับไปขายที่ร้านอัญมณี ของตัวเอง คงได้ราคาพอควร แต่เมื่อกะเทาะออกดู ไมค์เซลก็เจอวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ข้างใน มองเหมือนเครื่องเคลือบสีขาว ตรงกลางมีแท่งโลหะแวววาว ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่า ต้องใช้เวลาร่วม 500,000 ปี กว่าที่เจ้าก้อนผลึกนี้จะก่อตัวห่อหุ้มวัตถุนี้ไว้ภายในได้เช่นนี้ ทั้งๆ ที่วัตถุดังกล่าวมองเหมือนเป็นผลงานจากน้ำมือของมนุษย์ เมื่อตรวจสอบเจ้าแท่งโลหะดังกล่าวอย่างละเอียดด้วยการ เอกซเรย์ ก็พบว่ามันมีสปริงเล็กๆ ติดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่ง บางคนที่ได้เห็น บอกว่ามันมองเหมือนหัวเทียนของเครื่องยนต์ แล้วหัวเทียนเข้าไปอยู่
    ในก้อนหินอายุ 5 แสนปีได้อย่างไร?

    อันดับ 1 Piri Reis

    [​IMG]

    ในปี ค.ศ. 1979 ในระหว่างที่มีการซ่อมแซมมหาราชวังคอนสแตนทิโนเปิล (Constantinople) ในอิสตันบูล ประเทศตรุกี ก็ได้มีการค้นพบภาพวาดแผนที่ที่ถูกวาดลงบนหนังกวาง ซึ่งถูกวาดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1513 แผนที่ดังกล่าวมีการลงชื่อแสดงความเป็นเจ้าของโดยของนายทหารเรือชาวเติร์กชื่อ Piri Haji Memmed ทำให้มีการเรียกแผนที่นี้ว่า Piri Reis คาดว่ามันถูกทำขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1513
    แผนที่ของ Piri Reis เป็นสิ่งที่ท้าทายนักประวัติศาสตร์อย่างมาก เนื่องด้วยแผนที่นี้มันแสดงภูมิศาสตร์สมบูร์แบบเกินกว่าแผนที่ธรรมดาทั่วไป อีกทั้งยังมีเส้นรุ้งเส้นแวงที่ชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักวิชาการแผนที่สมัยใหม่ทุกประการ มันแสดงถึงพิ้นที่ของทวีปอาฟริกาใต้อย่างละเอียดละออเป็นพิเศษ รวมไปถึงทวีปอื่นๆอย่างคร่าวๆ ซึ่งนับว่าเหลือเชื่อที่สุด เพราะถูกทำขึ้นหลังจากโคลัมบัสคนเก่ง ค้นพบโลกใหม่ เพียง 21 ปีเท่านั้น เวลาสั้นๆแค่นี้ไม่น่า จะมีใครสำรวจจนทำแผนที่ที่แทบจะครอบคลุมโลกแบบนี้ออกมาได้ ยิ่งน่าทึ่งกว่านี้อีกคือมันมีทวีปแอนตาร์กติก้าด้วย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการค้นพบทวีปดังกล่าวนี้เลย ( แอนตาร์กติก้าค้นพบราวๆ ปี 1800) เขาสามารถแสดงชายฝั่งของทวีปที่อยู่ภายใต้น้ำแข็งหนาเป็นกิโลได้อย่างไรหากไม่ใช้กรรมวิธีสมัยใหม่ทางภูมิศาสตร์ที่เรียกกันว่าการสำรวจจากทางอากาศ
    จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครอธิบายได้ว่าคนวาดแผน Piri Reis นี้มีวิธีการวาดอย่างไรถึงทำให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลทางธรณีในยุคปัจจุบัน ทั้งๆที่มันถูกวาดขึ้นในปี 1513


    Read more: http://allmysteryworld.blogspot.com/2011/02/10.html#ixzz1f4EDhRiK
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2011
  18. ธาตุ4

    ธาตุ4 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +91
    การเชื่อมต่อด้วยตำแหน่งตาที่สาม ใช้ระบบการสั่นแล้วพุ่งกำลังเชื่อมต่อเป็นสายกสิณ (อย่าทำบ่อยเพราะเป็นการส่งจิตออกนอก เป็นทุกข์)

    จิตเป็นแสง แต่มีความเร็วมากกว่าแสง ดังนั้นหากจะหาคลื่นความถี่จิตต้องใช้หลักการยิงอิเล็กตรอนบนแผ่นทองคำ นั่นคือจอรับพลังคลื่นต้องเป็นคลื่นไฟฟ้าสถิตย์ (เรียนแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะใช้ความถี่เดียวกัน) เมื่อจะทดสอบก็ให้เพ่งกำลังจิตไปยังสนามไฟฟ้าสถิตย์ที่สร้างขึ้น (ลักษณะคล้ายๆสตาร์เกท) แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงบนสนามไฟฟ้าที่เป็นจอรับ อาจจะสามารถหาความถี่ของพลังจิตนั้นได้

    สมมุติฐานการสร้างเครื่องข้ามมิติจักรวาล
    การจัดเรียงตัวของธรรมชาติส่วนมากเป็นไปตามเลขเลขฟีโบนัชชี เมื่อทำการเชื่อมต่อจุดตัดระหว่างตัวเลขคู่ขนานจะพบว่าตำแหน่งโฟกัสของแต่ละทางไม่ตรงกัน เช่นเมื่อเวียนขวาอยู่อีกที่หนึ่งเมื่อวนซ้านก็อยุ่อีกที่หนึ่ง ตำแหน่งทั้งสองอาจจะเป้นไปได้ว่า อาจจะมีจักรวาลโลกคู่ขนานอยู่จริง ช่วงต่อกันอาจจะเป็นรูปกรวยหรือรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ อาจจะเป็นทางเชื่อมต่อกาล เวลา อวกาศ ก็เป็นได้ครับ พอดีผมไม่ได้ลงรูป ขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
    ส่วนประตูกาลเวลานั้น อาจจะต้องสร้างด้วยระบบตัวเลขฐาน 12 และอาศัยหลักเลขฟิโบนัชชีเพื่อสร้างสนามพลังงานไฟฟ้าแบบ bipilar ความถี่เดียวกับจอรับในสมมุติฐาน จากนั้นยิงพลังงงานที่ค่าความเร็วมากกว่าแสง (ความถี่คลื่นจิต) อาจจะมีผลที่น่าสนใจได้ครับ อาจจะเป็นสตาร์เกท ก็เป็นได้ครับ

    ดูจินตนาการสูงไปมั๊ยครับ 555 ศึกษาระบบคลื่นหัวใจดีๆ อาจจะมีความลับซ่อนอยู่ก็เป็นได้นะครับ
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พุทธมณฑลสาย 4 น้ำลดต่อเนื่อง รถเล็กวิ่งได้

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 12:03 น.

    Share



    สถานการณ์บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 4 ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ระดับน้ำลดลงแล้ว โดยที่มีน้ำท่วมขังบ้างเล็กน้อย โดยที่ป้อมตำรวจ สภ.พุทธมณฑล ที่อยู่ตรงข้ามหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความเสียหายจากกระแสน้ำที่ไหลทะลักผ่านไปยังถนนบรมราชชนนี ช่วงน้ำไหลหลากเมื่อช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ถนนพุทธมณฑลสาย 4 มุ่งหน้าไป อ.บางเลน จ.นครปฐม น้ำได้ลดลงไปแล้ว รถเล็กสามารถวิ่งได้ตลอดเส้นทาง
    ส่วนจุดจากแยกไฟแดงหน้ามหวิทยาลัยมหิดลฝั่งตะวันตก ตรงข้าม สภ.พุทธมณฑล จะไป อ.นครชัยศรี รถเล็กยังผ่านไม่ได้ เนื่องจากยังมีน้ำท่วมสูงตั้งแต่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มีน้ำท่วมสูง จึงต้องใช้เลี่ยงถนนเพชรเกษมแทน ส่วนตลาดศาลายาระดับน้ำยังท่วมสูง พ่อค้าแม่ค้ายังไม่สามารถเปิดค้าขายได้
     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    น้ำท่วมมาเลย์ยังไม่คลี่คลาย ปชช.นับร้อยไร้ที่อยู่

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2554 11:54 น.


    สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียยังไม่คลี่คลาย โดยที่รัฐกลันตันมีรายงานว่า น้ำในแม่น้ำโกลกยังคงอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย และถนน 4 สายยังคงปิดไม่ให้รถเล็กผ่าน ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมมีจำนวน 4 คน และสูญหาย 3 คน ขณะที่รัฐตรังกานูประชาชนกว่า 100 คนต้องอพยพไปอยู่ที่ศูนย์พักพิง
     

แชร์หน้านี้

Loading...