ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ใน ชุด "คลังแห่งปัญญา " จะมีหนังสืออยู่ 4 เล่ม

    1.เทิดเกียรติบรรพชนไทย

    2.ธรรมานุภาพ

    3.ตื่นเถิดชาวไทย

    4.เพื่อชีวิตที่ดีงาม

    ที่ด้านหลังปกจะมีข้อความนี้ครับ

    " ลูกหลานทั้งหลาย​

    แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา​

    แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน​

    ให้ความร่มเย็นเป็นสุข​

    มิอาทรร้อนใจ​

    จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้นเถิด "​



    บันทึก กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ​
     
  2. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    น่าสงสารเหล่าครุฑดำนะครับ ขอคารวะต่อดวงวิญญาณออกหลวงไกรพิชิตเช่นกันขอรับ
     
  3. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "......ถึงแม้หลวงไกรพิชิตจะเชื่อมั่นว่า คนที่ถูกช่วยกลับมาทั้งหมื่นนั้นจะมาพังคุกช่วยพวกเขาออกไป . . .
    แต่ก็ไม่มีแม้คนมาเยี่ยม หรือถามข่าวพวกเขา จะมีก็แต่อาของหลวงไกรพิชิต...ขุนนคร เพียงคนเดียวเท่านั้น
    เขาถูกจองจำอยู่หลายเดือนก็ถูกนำตัวออกมาขำระคดีความ และหลวงไกรพิชิตก็ถูกตัดสินประหารชีวิต
    ถึงแม้ครุฑดำที่เหลืออีก 9 คนจะร้องขอโทษอย่างหลวงไกรพิชิตบ้างก็มิเป็นผล พวกเขาได้เพียงโทษจำคุกคลอดชีวิตเท่านั้น"



    -เป็นเพราะอะไรครับ คุณไก่เหลืองหางขาว ทำไมถึงไม่มีใครคิดอ่านช่วยเหลือ

    ครับ หรือคนสยามในสมัยนั้นลืมบุญคุณกันง่ายๆกระมังครับ ?
     
  4. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    อันนี้จนด้วยเกล้าจริงๆครับ แต่เดาว่าคงเป็นความกลัวพม่าและผู้ใหญ่ชั่วๆที่ไปเข้ากับพม่าเสียจนอุจจาระขึ้นสมองนะครับ
     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434

    นั่นซิคะ ท่านพี่ ทำไมจึงเป็นจั่งซี้ ทำไมไม่บุกเข้าไปช่วย ขาดผู้นำละมั้งค่ะ

    เรื่องนี้ก็ได้แง่คิดนะคะที่ว่า แม้จะมีคนมากเพียงใดก็ตาม หากขาดผู้นำที่เข้มแข็ง

    มีกองกำลังจำนวนมากก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร

    คนมากก็ทำอะไรไม่ได้ สมเด็จฯท่านทรงจุติมาเพื่อทรงมาเป็นผู้นำโดยแท้ค่ะ

    ช่วงนี้อะไรๆ ที่เข้ามาเป็นเรื่องของสมเด็จฯท่านทั้งนั้น

    ขับรถกลับบ้าน รายการวิทยุก็พาเที่ยวเมืองเพชรบุรี

    กล่าวถึงสมเด็จฯท่านอีกแล้ว ท่านมาปลุกคนไทยให้รักชาติมั้งค่ะ (ขนลุกค่ะ)
     
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อาณาจักรเพชรบุรี (เมืองพริบพรี)

    จากบันทึกของลาลูแบร์

    ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ. 1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. 1731 กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1894 จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระนามตรงกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียงไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ. 1547 ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมืองๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง

    พระนามกษัตริย์

    เมืองเพชรบุรี หรืออาณาจักรเพชรบุรี เคยมีกษัตริย์ปกครองนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะรวบรวมพระนามกษัตริย์อาณาจักรเพชรบุรีที่ปรากฏมี 6 พระนามคือ
    1. พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช
    2. พระพนมไชยศิริ
    3. พระกฤติสาร
    4. พระอินทราชา
    5. พระเจ้าอู่ทอง (เพชรบุรี: หลัง พ.ศ. 1868 - 1887; อโยธยา: พ.ศ. 1887 - 1893; กรุงศรีอยุธยา: พ.ศ. 1893 - 1912)
    6. เจ้าสาม
    ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีคือ พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทอง จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อาณาจักรเพชรบุรีจึงขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญของอาณาจักรจึงเป็นเพียงเมืองหนึ่งของอยุธยา นอกจากนี้ยังสามารถศึกษา ศิลปกรรมเมืองเพชร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นอย่างลงตัวแสดงความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตกาล
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระยาเพชรบุรี เจ้าเมืองพริบพรี

    พระยาเพชรบุรี

    พระยาเพชรบุรีหรือพระยาสุรินทรฦาไชย ตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรี หลักฐาน จากกฎหมายตราสามดวง พระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ระบุตำแหน่งเจ้าเมืองเพชรบุรี ความตอนหนึ่งว่า ออกพระศรีสุรินทรฦาไชย เมืองเพชรบุรี ขึ้นประแดงเสนาฏขวา
    อย่างไรก็ตาม เอกสารทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกนามเจ้าเมืองเพชรบุรีหลายท่านที่มีบทบาทสำคัญในการสู้รบปกป้องผืนแผ่นดินไทย อาทิ

    ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ( พ.ศ. 2112 - 2133 ) ครั้งนั้น กองทัพเรือเขมรยกข้ามทะเลมาตีเมืองเพชรบุรีถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2121 พระยาละแวก ( นักพระสัฏฐา ) เขมรให้พระยาอุเทศราชและพระยาจีนจันตุ คุมทัพเรือมาตีเมืองเพชรบุรีแต่พระยาสุรินทรฦาไชย เจ้าเมืองเพชรบุรีและกรมการเมืองทั้งหลายได้รบพุ่งต่อสู้ป้องกันเมืองไว้ได้อย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งทัพเขมรต้องล่าถอยกลับไป

    ครั้งที่สองใน พ.ศ. 2124 พระยาจีนจันตุขอาสาพระยาละแวกมาตีเมืองเพชรบุรีอีกครั้งหนึ่ง ทัพเขมรมีจำนวนพลถึง 70,000 คน ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนยุทธวิธีเข้าตีเมืองเพชรบุรีจนสำเร็จ พระยาสุรินทรฦาไชย เจ้าเมืองเพชรบุรีสู้รบจนเสียชีวิตในสมรภูมินับเป็นตัวอย่างของผู้กล้าและสร้างเกียรติภูมิให้แก่เมืองเพชรบุรี

    ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( พ.ศ. 2133 - 2148 ) พระยาเพชรบุรีได้รัยพระราชโองการให้เป็นแม่ทัพเรือ คุมกองลำเลียงเสบียงอาหารไปทำศึกกับเขมรใน พ.ศ. 2136 ครั้งนั้นได้เกณฑ์กำลังจากหัวเมืองปักษ์ใต้ ตั้งแต่เมืองสงขลาขึ้นมาถึงเมืองเพชรบุรี เป็นจำนวนพล 10,000 คน เรือรบ 150 ลำ สรรพด้วยเครื่องศาสตราวุธใหญ่น้อยและกระสุนดินดำ จัดเป็นกองทัพเรือทัพหนึ่ง ร่วมกับกองทัพเรือภาคตะวันออกมีพระยาราชพังสันเป็นแม่ทัพ บัญชาการกองทัพเรือจากกำลังกองเรือรบอาสาจามและกองเรือรบเมืองจันทบุรี จำนวน พลรบ พลแจว 10,000 คน เรือรบ 150 ลำ กำหนดให้กองทัพเรือปักษ์ใต้ของพระยาเพขรบุรีเคลื่อนกำลังเข้าปากแม่น้ำโขงเพื่อตีเมืองป่าสัก ส่วนกองทัพเรือภาคตะวันออกของพระยาราชบังสัน เคลื่อนกำลังไปทางปากน้ำพุทไธมาศ เพื่อตีเมืองพุทไธมาศ ให้กองทัพทั้งสองไปบรรจบกับกองทัพหลวง ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นจอมทัพที่เมืองละแวก

    ครั้งนั้นกองทัพเรือพระยาเพชรบุรีได้เคลื่อนกำลังเข้ามาทางปากแม่น้ำโขง ได้ปะทะกับกองทัพเรือเขมรของพระยาวรวงศาธิราช กองทัพเรือเขมรแตกพ่าย แม่ทัพถูกกระสุนปืนใหญ่ตาย ไพร่พลเขมรจมน้ำตายเป็นอันมาก กองทัพเรือไทยยึดเมืองป่าสักไว้ได้สำเร็จในที่สุด

    อนึ่ง ปรากฎนามพระยาเพชรบุรี ซึ่งสามารถสืบประวัติได้ ดังนี้
    พระยาเพชรบุรี ( เรือง ) มีเชื้อสายจีน อยู่ตำบลบ้านสวนตาล หลังวัดพนัญเชิงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเจ้าสัวเงิน(เจ้าขรัวเงิน ... ทางสายธาตุเคยกล่าวถึงไว้ก่อนหน้านี้) ผู้เป็นพระชนกของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    พระยาเพชรบุรี ( เรือง ) นอกจากจะเป็นนักรบที่เก่งกล้าเลื่องลือว่า อยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังเป็นขุนนางที่มีความซี่อสัตย์สุจริตมาแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ( พ.ศ. 2275 - 2310 )
    พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระแห่งพม่าส่งทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในบรรดาเจ้าเมืองถูกเกณฑ์เข้าไปรักษาการสู้ศึกพม่าครั้งนั้น มีพระยาเพชรบุรี ( เรือง ) ซึ่งเป็นญาติกัน ร่วมสู้รบกับพม่าอย่างเข้มแข็ง ต่อมาพระยาตากได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันจะออกไปรับตำแหน่ง ก็มีศึกติดพันกรุงศรีอยุธยา

    ครั้งนั้นพระยาวชิรปราการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายกองทัพเรือพระยาเพชรบุรีเป็นกองหน้า หลวงศรเสนีเป็นกองหนุน ยกกองทัพเรือออกจากพระนครพร้อมทัพกันอยู่ ณ วัดป่าแก้ว คอยตีเรือทัพพม่า ขณะนั้นเรือรบพม่ายกขึ้นมาแต่ค่ายบางไทร ค่ายขนอนหลวง วัดโปรดสัตว์ มาถึงกลางทุ่งตรงวัดสังฆาวาส พระยาเพชรบุรีกองหน้าจึงให้แจวเรือรบในกอง 5 ลำ เข้าตีเรือรบพม่า ได้รับกันเป็นสามารถ พม่าเอาหม้อดินดำติดเพลิง ทิ้งลงในเรือของพระยาเพชรบุรี ไพร่พลบาดเจ็บโดดหนีลงนำ พม่าจับตัวพระยาเพชรบุรีได้ แต่พระยาเพชรบุรีอยู่ยงคงกระพันฟันแทนไม่เข้า ต่อมาพม่าเอาไม้หลาวเสียบแทงทางทวารหนักจนเสียชีวิตในที่สุด

    พระยาเพชรบุรี ( เรือง ) มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักต่อมาคือ เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย ( บุญมี ) เป็นต้นตระกูล " บุญ - หลง " และ " พลางกูล "

    พระยาเพชรบุรี ( ศุข ) เป็นบุตรพระยากลาโหมราชเสนา ( ทองอิน ) สมุหกลาโหมฝ่ายวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 1 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2434 บิดาของท่านต้องโทษถีงสิ้นชีวิตในข้อหากบฎ เมื่อ พ.ศ. 2346 สันนิษฐานว่า มารดาเป็นราชนิกุลบางช้าง พระยาเพชรบุรี ( ศุข ) รับราชการอยู่ในเมืองเพชรบุรีมาแต่ต้นจนได้เป็นหลวงเมือง ปลัดเมือง และเจ้าเมืองเพชรบุรี ตามลำดับ พระยาเพชรบุรี ( ศุข ) ถึงอนิจกรรมใน พ.ศ. 2395 ขณะดำรงตำแหน่งสมุหนายก

    พระยาเพชรบุรี ( ศุข ) สืบสายสกุลมาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพราะพระยากลาโหมราชเสนา ( ทองอิน ) บิดาของท่านเป็นพระราชบุตรเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ( จุ้ย ) ในพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยเหตุนี้ต่อมาในรัชกาลที่ 6 บุตรหลากผู้สืบสกุลจากท่านจึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า " สินศุข "


    --------------------------------------------------------------------------------
    ( ที่มา : กรมศิลปกร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบุรี., กรุงเทพฯ : กรมศิลปกร, 2544. หน้า 177.)


    ค้นหาเรื่องของเจ้าขรัวเงินได้อีกนิดโดยบังเอิญอีกแล้วคะ ขนลุกถึงหัวเลย

    วัดป่าแก้ว ใกล้บางไทร ใกล้ด่านขนอนหลวงวัดโปรดสัตว์ วัดป่าแก้วนี้ก็คือ วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) นั่นเอง

    ได้สองเรื่องเลย ขนลุกไม่หายอีกแล้วค่ะ
     
  8. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466


    สาธุ คงเป็นเช่นนั้นครับ ตื่นเถิดครับชาวไทย พ่อแม่พี่น้องไทย หน้าที่ของพวก

    เราคือต้องทดแทนคุณแผ่นดินไทย แผ่นดินแม่ แผ่นดินเกิด ที่บรรพบุรุษของ

    เราได้กอบกู้เอกราชและสร้างชาติไทยให้มั่นคงยืนยงสถาพรมาจนถึงทุกวันนี้
     
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดขุนก้อง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

    เมื่อวานตอนฟังวิทยุตอนขับรถกลับบ้าน ได้กล่าวถึงอีกสองวัดในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่สมเด็จฯท่านและพระอนุชา โปรดให้ขุนกอง พากำลังพลไปตั้งค่ายและปลูกข้าว เสริมเสบียงทัพ ที่วัดขุนก้อง อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และวัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ ตอนนี้พบข้อมูลวัดขุนก้องแล้ว จึงขอนำมาโพส ไว้ได้ความรู้กันนะคะ

    ศึกนี้คือเมื่อทรงประกอบพระราชพิธีอาสวยุทธและเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารถเพื่อประกอบการพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงบัญชาให้เตรียมทัพไปตีเขมรค่ะ

    “ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมศกเบญจศก สมเด็จพระนเรศเป็นเจ้า ครั้นเสด็จการพระราชพิธีอาสวยุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี...”

    ....ต้องแก้ปีศักราช ๙๔๕ เป็นปีศักราช ๙๕๕ ด้วยจึงจะตรงกันค่ะ... ทางสายธาตุ




    <TABLE class=imageborder cellSpacing=2 cellPadding=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]




    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- BEGIN img_desc --><TABLE class=img_caption_table cellSpacing=0 cellPadding=0><!-- BEGIN title --><TBODY><TR><TH>โบสถ์วัดขุนกอง

    </TH></TR><!-- END title --><!-- BEGIN caption --><TR><TD>ตั้งอยู่บนถ.สายโชคชัย-เดชอุดม อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น คือ หลังคามีมุขประเจิด หลังคามุงด้วยสังกะสี หน้าจั่วไม้ กระดานแนวนอน มีลายฉลุปลายป้านลม และระบายชายมุขประเจิด ตัวโบสถ์ก่ออิฐถือปูน อิฐก้อนใหญ่ฐานมีร่องรอยศิลาแลง ซึ่งอาจนำมาจากศาสนสถานอื่น ๆ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรีจับพระยานางรองไปประหารบริเวณวัดขุนก้องปัจจุบันนี้ ในคราวยกทัพมาปราบพระยานางรองและเจ้าโอ เจ้าอินอุปฮาดเมืองนครจำปาศักดิ์ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 86,91)

    _________________________________________________​


    เป็นวัดในพุทธศาสนา นิกายมหายาน สร้างในสมัยอยุธยาปีพ.ศ. 2136 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปปราบเขมร ขุนกองซึ่งเป็นนายทหารควบเสบียงมีจิตศรัทธาสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นแล้วให้ชื่อว่า "วัดขุนกอง" ทว่าภายหลังเพี้ยนเป็น"วัดขุนก้อง" ภายในวัด มีอุโบสถและกุฎิที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามน่าชม​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2009
  10. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เผอิญไปเจอว่าผมกดไม่เห็นด้วยกับคุณทางสายธาตุไป 1 ครั้ง ต้องขอโทษจริงๆครับ มันเป็นอุบัติเหตุ จริงๆแล้วจะกด อนุโมทนาครับ แต่ข้อความมันกว้าง ปุ่มอนุโมทนามันอยู่ไกล ด้วยความรีบเลยกดไปผิดปุ่ม แก้ให้แล้วครับ ขอโทษทีครับ
     
  11. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับที่ว่า องค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าท่านทรงเป็นยอดผู้นำโดยแท้ แต่คนตั้งหมื่นนั่น ถ้าร้อยคนมีจิตสำนึกสักหนึ่งคน ก้อจะมีคนประมาณร้อยคนที่อย่างน้อยที่สุดก้อมาเยี่ยมนะครับ ถึงจะมาช่วยแหกคุกไม่ได้ก็ตาม แต่ไม่มีใครโผล่มาเลยแบบนี้ผมว่ามันน่ารันทดมากๆครับ ในความเห็นของผม ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆที่ฟังขึ้นทั้งสิ้นแม้ว่าจะเป็นเรื่องการขาดผู้นำก้อตาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2009
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อย่ากังวลใจไปเลยท่านไก่กุ๊กๆ เหมยกวนซี (ภาษาจีนกลางแปลว่า ไม่เป็นไรเลยค่ะ)

    ยังหาข้อมูลวัดกลาง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ในวิทยุ เขาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มาพักทัพและปลูกต้นโพธิ์ที่วัดกลางแห่งนี้ค่ะ แต่หาข้อมูลให้อ่านไม่ได้ค่ะ ต้นโพธิ์จึงมีอายุกว่า 400 ปีแล้วค่ะ สาธุ
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ครั้งนั้นพระยาวชิรปราการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายกองทัพเรือพระยาเพชรบุรีเป็นกองหน้า หลวงศรเสนีเป็นกองหนุน ยกกองทัพเรือออกจากพระนครพร้อมทัพกันอยู่ ณ วัดป่าแก้ว คอยตีเรือทัพพม่า ขณะนั้นเรือรบพม่ายกขึ้นมาแต่ค่ายบางไทร ค่ายขนอนหลวง วัดโปรดสัตว์ มาถึงกลางทุ่งตรงวัดสังฆาวาส พระยาเพชรบุรีกองหน้าจึงให้แจวเรือรบในกอง 5 ลำ เข้าตีเรือรบพม่า ได้รับกันเป็นสามารถ


    วัดป่าแก้วนี้อยู่นอกพระนครแน่ เพราะจากข้อมูลนี้ว่ายกทัพออกจากพระนคร วัดวรเชษฐ์นอกเกาะ มีพื้นที่ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา จากหลักฐานแนวถนนโบราณ

    และมีพื้นที่มากพอที่จะเป็นที่ประชุมทัพเมื่อยกออกมาจากพระนครแล้ว

    [​IMG]
    ข้อมูลนี้มาจากหน่วยงานของกรมศิลปากรเอง

    ที่มา : กรมศิลปกร. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบุรี., กรุงเทพฯ : กรมศิลปกร, 2544. หน้า 177.

    ไม่รู้ว่าข้อมูลนี้จะช่วยชี้ได้ว่าวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) ว่าเป็นวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยาได้หรือไม่

    หากกรมศิลปากรก็มีข้อมูลชัดๆอย่างนี้ ก็น่าจะหาข้อสรุปได้แล้วว่าวัดป่าแก้วคือที่ใดนะคะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เครื่องแต่งกายขุนศึกฝ่ายพม่า <!--MsgFile=13-->

    <CENTER> </CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#444422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ชุดนี้แอบเก๋ที่มีผ้าขาวม้าแลบออกมาที่ชายเสื้อคลุมนะคะ ถอดเสื้อคลุมปุ๊บก็โดดน้ำคลองเล่นได้เลยไม่ต้องมีพิธีรีตอง ว่าไหมคะ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>คัดลอกจาก PANTIP.COM : K8258451
     
  15. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    ประวัติท่านเปาฯครับ ทุกท่านลองเช็คกันดูครับ

    เปาบุ้นจิ้น - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  16. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ไห่รุ่ย, เปาบุ้นจิ้นแห่งแดนใต้

    ทางสายธาตุนึกว่าคนนี้คือเปาปุ้นจิ้น ที่แท้เป็นเปาบุ้นจิ้นแห่งแดนใต้ คนใต้ก็เลยสนใจแต่คนใต้หน่ะค่ะ ขอโทษค่ะไม่ใช่ท่านเปาเดียวกัน


    ไห่รุ่ย, เปาบุ้นจิ้นแห่งแดนใต้<O:p</O:p


    Hai Rui, Lord Bao of the South<O:p</O:p


    (ค.ศ.1514-1587)


    <O:p</O:p


    <O:p>[​IMG]

    รูปปั้นไห่รุ่ย หน้าสุสานของเขาที่เกาะไหหลำ
    </O:pโดย อัล-ฮิลาล<O:p</O:p
    Chinese Muslim Thailand Hui Islam Zheng He China ?չ ?҇?չ ?ʅԁ ䷂ ਔ駠ˍ ???ҵԋ؂ ͔ʅҁ
    <O:p</O:p<O:p</O:p

    ไห่รุ่ย หรือ ห่ายรุ่ย (Hai Rui, Wade-Giles Hai Jui, 海瑞) เป็นขุนนางซื่อสัตย์เถรตรง ที่มีชื่อเสียงสมัย ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) จนได้รับการขนานนามว่า "เปาบุ้นจิ้นแห่งแดนใต้" (Lord Bao of the South) หรือ "ฟ้าสีทองตระกูลไห่" ซึ่ง เปาบุ้นจิ้น แห่งศาลไคฟง เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยในด้านการผดุงความยุติธรรม ท่านเป็นข้าราชการในราชวงศ์ซ่ง เกิดก่อนไห่รุ่ยประมาณ 500 ปี
    <O:p</O:p
    ชั่วชีวิตของไห่รุ่ยเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับผู้ที่กระทำผิด เชิดชูผู้กระทำความดี และสร้างผลประโยชน์ให้แก่พี่น้องประชาชน ชื่อเสียงเกียรติยศของเขาเป็นที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    ไห่รุ่ยเป็นชาวหุยหรือชาวจีนมุสลิม เกิดที่เฉียงซาน เกาะไหหลำ ในปีค.ศ. 1514 ตระกูลของเขาเคยเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาแล้วหลายชั่วอายุ แต่สำหรับตัวเขาแล้วชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น เนื่องจากกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม มารดาของเขาเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งและรู้จักอดออม นางหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างเย็บปักถักร้อย และสั่งสอนลูกอย่างดี ไห่รุ่ยได้อ่านหนังสือลัทธิขงจื๊อมาตั้งแต่เด็ก จึงได้รับการปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับ "การตอบแทนบุญคุณแผ่นดินและรักประชาชน" อยู่ในสายเลือดอย่างเหนียวแน่น
    <O:p</O:p
    แม้จะขยันเรียนปานใด ไห่รุ่ยก็ใช้เวลานานมากกว่าจะสอบผ่านข้อสอบของราชสำนักเพื่อเข้ารับราชการ จนเมื่ออายุได้ 37 ปีนั่นแหละไห่รุ่ยถึงสอบผ่านข้อสอบระดับมณฑล จากนั้นก็ไปสอบตกอีกสองครั้งในการสอบแข่งขันระดับชาติ (หมายเหตุ: เรื่องสอบจอหงวนกันจนแก่เฒ่าเป็นเรื่องปกติของชาวจีนสมัยระบอบกษัตริย์) ไห่รุ่ยเริ่มต้นรับราชการเมื่ออายุได้ 39 ปีในตำแหน่งเสมียนของกระทรวงศึกษาที่เมืองหนานผิง มณฑลฝูเจี้ยน ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้พิพากษาที่ชุนอานและสิ่งกั๋วในมณฑลเจียงซี แม้ตำแหน่งราชการจะไม่สูงมากและรายได้ก็ช่างน้อยนิด ไห่รุ่ยก็ยังคงมัธยัสถ์และเถรตรงไม่หวั่นไหวต่อสินบน เขาไม่เคยก้มหัวให้ผู้อำนาจหรือเงินตรา
    <O:p</O:p
    ไห่รุ่ยชนะใจประชาชนผู้โดนนายทุนศักดินาขูดรีดมานาน จนทำให้ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว ได้ยินไปถึงพระกรรณของพระจักรพรรดิ เจียจิ้ง (Jiajing) ในปี 1565 ไห่รุ่ยได้เลื่อนขั้นเป็นมหาอำมาตย์ดูแลการเก็บภาษี แต่แทนที่ไห่รุ่ยจะขอบพระทัยพระจักรพรรดิ เขากลับถวายหนังสือวิพากษ์พระจักรพรรดิแทน ซึ่งทำให้พระองค์กริ้วสุดๆ สั่งให้ลงโทษประหารชีวิตไห่รุ่ยในปี 1566 แต่บังเอิญพระจักรพรรดิเจียจิ้งสิ้นพระชนม์ในต้นปี 1567 พระจักรพรรดิหลงชิง (Longqing) ขึ้นครองราชย์ต่อมา พระองค์กลับเห็นว่าไห่รุ่ยป็นข้าราชการตงฉิน นอกจากพระองค์จะปล่อยไห่รุ่ยออกจากคุกแล้ว ยังเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นอีก โดยให้ไปเป็นผู้ว่าเมืองอิงเถียน (Yingtian) และอีก 9 เขต
    <O:p</O:p
    ปี 1569 ไห่รุ่ยได้รับเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้ว่าการแคว้นเจียงหนัน คือ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนปลาย ได้แก่ เมือง นานจิง และ ซูโจว เป็นต้น ซึ่งเป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แต่หลังจากที่ไห่รุ่ยเข้าดำรงตำแหน่งแล้วไม่นาน เขากลับพบว่า ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีชีวิตยากลำบากเพราะต้องจ่ายสรรพสามิตและภาษีอากรอย่างหนัก ถูกขุนนางทุจริตกดขี่ขูดรีด ยามที่เกิดภัยน้ำท่วม ราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารก็พุ่งสูงอย่างรวดเร็ว ประชาชนต้องอพยพไปขอทานที่ต่างถิ่น ไห่รุ่ยจึงลงมือแก้ไขทั้งเรื่องภัยน้ำหลากและเรื่องการกู้ภัยบรรเทาทุกข์ กล่าวกันว่า เขาเรียกประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนไปช่วยกันขุดลอกแม่น้ำลำคลอง ทำให้สามารถระบายลงออกสู่ทะเลได้ เป็นการแก้ปัญหาภัยน้ำท่วม ต่อจากนั้น ไห่รุ่ยก็ยื่นถวายหนังสือถึงฮ่องเต้ให้พระราชทานธัญญาหารที่เก็บจากประชาชนส่วนหนึ่งให้แก่ประชาชนผู้ประสบภัย เป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ประชาชนที่อยู่ใต้การปกครองของเขาจึงพากันสรรเสริญแซ่ซ้องไห่รุ่ยซึ่งเป็นขุนนางดีเด่นเยี่ยงบิดามารดา
    <O:p</O:p
    เจ้าที่ดินบางรายใช้อิทธิพลไม่จ่ายภาษีหรือจ่ายน้อยกว่าที่ควรโดยปัดภาระไปให้กับชาวนาผู้ซึ่งมีที่ดินเพาะปลูกน้อยนิดอยู่แล้ว เพิ่มความทุกข์ให้ประชาชนต้องแบกรับภาษีหนักขึ้นไปอีก เพื่อให้ประชาชนพ้นจากภาวะสภาพดังกล่าว ไห่รุ่ยจึงออกคำสั่งให้บรรดาเจ้าที่ดินนำที่ดินจำนวนมากที่ปล้นชิงจากชาวนาไปคืนให้ชาวนาเจ้าของที่ดิน อีกทั้งสั่งให้แจ้งปริมาณที่ดินที่แต่ละครอบครัวใช้เพาะปลูก และให้จ่ายภาษีธัญญาหารตามจำนวนที่ดินในการครอบครอง ด้วยวิธีนี้ ประชาชนจึงจ่ายภาษีอย่างยุติธรรมไม่ถูกบังคับรีดไถอย่างเคย
    <O:p</O:p
    อย่างไรก็ตาม การกระทำต่างๆ ของไห่รุ่ยสร้างความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของบรรดาผู้ดีและเจ้าที่ดินอย่างร้ายแรง พวกเขาจึงได้รวมหัวกันล่ารายชื่อถวายฮ่องเต้ กล่าวหาว่าไห่รุ่ยให้การสนับสนุนโจรสลัดญี่ปุ่นที่รุกรานชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน ในที่สุดไห่รุ่ยถูกปลดออกจากตำแหน่งในปี 1570 เขากลับไปบ้านที่ไหหลำและใช้ชีวิตแบบสามัญชนเป็นเวลา 16 ปี ไห่รุ่ยได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งเมื่อเข้าอายุ 72 ปีแล้วโดยพระบรมราชานุญาติของพระจักรพรรดิว่านลี่ ให้ประจำที่ศาลเมืองนานจิง ไห่รุ่ยเสียชีวิตในอีก 2 ปีถัดมา

    <O:p[​IMG][​IMG]</O:p
    <O:pงานเขียนต้นฉบับของไห่รุ่ยที่ยังคงเก็บไว้ที่สุสานของเขา
    <O:p</O:p
    </O:p
    <O:p</O:pชั่วชีวิตของไห่รุ่ย เขาคัดค้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด ไม่เคยรับสินบนใคร และไม่เคยให้สินบนใครด้วย โดยเห็นว่า การให้สินบนและการรับสินบนเป็นเรื่องอัปยศอดสูของชีวิต
    <O:p</O:p
    ถึงแม้ว่าไห่รุ่ยเคยรับราชการเป็นขุนนางมาเป็นเวลานานปีก็ตาม แต่เขายังคงใช้ชีวิตเยี่ยงปัญญาชนธรรมดาที่ค่อนข้างขัดสน หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ผู้คนทั้งหลายพบว่า สิ่งที่เขาทิ้งไว้แก่โลกนั้นเป็นเพียงเงิน 8 ตำลึงและเสื้อผ้าเก่าๆ ไม่กี่ชุดเท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยกว่าสามัญชนทั่วๆ ไปเสียด้วยซ้ำ วันฌาปนกิจศพไห่รุ่ยนั้น ชาวบ้านนับพันนับหมื่นไปร่วมพิธีอำลาเขาเป็นครั้งสุดท้าย ร้านค้าโรงเตี๊ยมต่างๆ ตามตรอกซอกซอยพากันปิดกิจการ ตั้งขบวนส่งศพไห่รุ่ยเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร กระทั่งทุกวันนี้ ไห่รุ่ยยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นธรรม เรื่องราวของไห่รุ่ยยังคงได้รับการนำเสนอในรูปแบบการแสดงต่างๆ เช่น งิ้วที่เล่นกันทั่วประเทศ ในปี 1959 อู๋ฮั่น (Wu Han) นักเขียนชื่อดังของคอมมิวนิสต์จีนได้เขียนหนังสือเรื่อง ไห่รุ่ยโดนไล่ออกจากราชการ (Hai Rui Dismissed from Office) และต่อมาถูกนำมาเล่นเป็นงิ้วที่ปักกิ่งโอเปร่า
    <O:p</O:p

    ฮวงซุ้ยไห่รุ่ย
    <O:p</O:p
    สุสาน หรือ ฮวงซุ้ย ของไห่รุ่ยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเกาะไหหลำ เป็นหนึ่งในโปรแกรมท่องเที่ยวที่รัฐบาลจีนมักจัดนำนักท่องเที่ยวไปแวะเยี่ยมชมและสักการะ ฮวงซุ้ยไห่รุ่ยตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปินยา <ST1:pเขตสิ่วอิง (Xiuying District) ห่างจากใจกลางเมือง ไหโข่ว เมืองหลวงของเกาะไหหลำ เพียง 5 กม. ฮวงซุ้ยไห่รุ่ยมีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร ถูกสร้างขึ้นในปี 1589 ปีที่ 17 ของรัชสมัยพระจักรพรรดิว่านลี่ พระองค์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดการก่อสร้างฮวงซุ้ยไห่รุ่ยให้สมเกียรติ

    [​IMG]


    ทางเข้าสุสานไห่รุ่ย<O:p</O:p


    ที่ตั้งของฮวงซุ้ยไห่รุ่ยนี้ชาวจีนที่ไหหลำถือเป็นลิขิตสวรรค์ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อขบวนส่งศพไห่รุ่ยแห่มาถึงบริเวณนี้ เชือกผูกโลงศพก็หลุดออก ชาวบ้านเชื่อว่าไห่รุ่ยน่าจะเลือกที่ตรงนี้เป็นที่พักผ่อนนิรันดร์ของเขา ชาวบ้านจึงสร้างฮวงซุ้ยไห่รุ่ยไว้ที่นี่
    <O:p</O:p
    หากผู้ใดไปเกาะไหหลำก็น่าจะไปเยี่ยมเยียนสุสานไห่รุ่ยด้วย ทางไปฮวงซุ้ยไห่รุ่ยสะดวกมาก เพียงข้ามสะพานไห่รุ่ย ก็เจอทางเข้าอุทยานของสุสาน ซึ่งเต็มไปด้วยทิวต้นสน ต้นมะพร้าว
    [​IMG]

    และกอบัว ทำให้สวนแลดูสงบและร่มรื่น ทางเข้าไปยังตัวศาลาฮวงซุ้ยมีรูปปั้นสิงโต แพะ ม้า เรียงกันไป จากนั้นจะถึงยังเชิงบันไดเตี้ยๆ 3 ขั้นมีแท่นรูปปั้นไห่รุ่ยตั้งอยู่ ด้านหลังมีแผ่นหินจารึก<O:p></O:p>
    จากนั้นเดินไปอีก 30 กว่าเมตรก็จะถึงบริเวณหลุมฝังศพของไห่รุ่ย ด้านหน้าหลุมศพมีควันธูปเทียนลอยกรุ่นจากการสักการะของผู้มาเยือน ดูขลังเหมือนศาลเจ้าจีนทั่วๆ ไป เบื้องหน้าทั้งด้านซ้ายและขวามีรูปปั้นของสาวกและเพื่อนฝูงของไห่รุ่ย จากนั้นมีบันไดขึ้นไปอีก 4 ขั้น และเบื้องหน้านั้นคือ หลุมศพไห่รุ่ย
    <O:p</O:p
    หลุมศพไห่รุ่ยทำเป็นหินแกรนิตสีขาว สูงราว 3.3 เมตร และหันไปทางทิศตะวันตก (ทิศของนครมักกะฮ์หรือ เมกกะ) ฐานของหลุมศพเป็นรูป 8 เหลี่ยม (น่าจะมาจาก สัญลักษณ์ของอาหรับคือ ดาวแปดเหลี่ยม คือใช้รูปสี่เหลี่ยมสองรูปไขว้กัน ส่วนของยิวคือ รูปดาวเดวิด เป็นดาวหกแฉก หรือ หกเหลี่ยม คือใช้สามเหลี่ยมสองรูปไขว้กัน)
    <O:p</O:p
    ด้านในเป็นศาลามีแผ่นหินจารึก 2 แผ่น เป็นงานเขียนของไห่รุ่ยเอง ส่วนด้านหลังเข้าไปอีกจะเป็นศาลาชิงฟง ไว้แสดงนิทรรศการเรื่องราวของไห่รุ่ยและสมบัติส่วนตัวของไห่รุ่ยที่เหลือเพียงไม่กี่อย่าง

    ไห่รุ่ย ข้าราชการตงฉินผู้ทำเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนตลอดชีวิตยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวจีนทุกผู้คนไม่เสื่อมคลาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มา: china radio international<O:p</O:p
    Tomb of Hai Rui, Haikou, Hainan<O:p</O:p
    English Channel<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  18. ไก่เหลืองหางขาว

    ไก่เหลืองหางขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +493
    รัชสมัยขององค์สมเด็จพ่อพระนเรศเป็นเจ้าคือ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘

    อ้างอิง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช - วิกิพีเดีย

    ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์หมิง

    ราชวงศ์หมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644)

    อ้างอิง ราชวงศ์หมิง - วิกิพีเดีย

    ส่วน องค์ฮ่องเต้เสินจง ทรงอยู่ในราชวงศ์ซ่งและท่านทรงพระนามเต็มว่า
    จักรพรรดิซ่งเสินจง

    จักรพรรดิซ่งเสินจง ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1591 ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิซ่งอิงจงพระราชบิดา เมื่อ ค.ศ. 1067 (พ.ศ. 1610)ขณะพระชนม์ได้เพียง 19 พรรษา

    ทรงเป็นจักรพรรดินักปฏิรูป โดยมีหวังอันสือ ขุนนางคนสำคัญเป็นแกนนำ แต่ก็มีขุนนางหัวอนุรักษ์คอยต่อต้าน ทำให้การปฏิรูปประสบความล้มเหลว และกลุ่มของหวังอันสือหมดสิ้นลงหลังสิ้นรัชกาล

    จักรพรรดิซ่งเสินจงทรงครองราชย์ได้ 18 ปี ก็สวรรคตลงเมื่อปี ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) ขณะพระชนม์เพียง 37 พรรษา โอรสชันษา 10 พรรษา จึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิซ่งเจ๋อจง

    อ้างอิง จักรพรรดิซ่งเสินจง - วิกิพีเดีย
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ขออภัยตอบช้า อิอิ เนื่องจากประชุมต่อเนื่องตลอดเช้าเพิ่งออกจากห้องประชุม ตอนนี้ขอตอบ ท่านไก่กุ๊กๆ

    ท่านต้องหา จักรพรรดิแซ่จู ไม่ใช่จักรพรรดิแซ่ซ่ง พอดีชื่อเกิดใช้เหมือนกัน

    ต้องหาจักรพรรดิเสินจง ราชวงศ์หมิง นะคะ เป็นพระจักรพรรดิจีนองค์ที่13 แห่งราชวงศ์หมิงค่ะ

    ------------------------------------------------------------------------------------
    จักรพรรดิเสินจง

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->จักรพรรดิเสินจง (Shenzong) สามารถหมายถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    [แก้] รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์หมิง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="85%" border=1><TBODY><TR style="BACKGROUND: #efefef"><TH>พระนามเดิม</TH><TH>พระนามเรียกขาน <SUP>1</SUP>
    (อย่างสั้น)</TH><TH>พระนามแต่งตั้ง <SUP>1</SUP></TH><TH>รัชศก</TH><TH>ปีครองราชย์
    พุทธศักราช
    (คริสต์ศักราช)</TH><TH>พระนามที่
    รู้จักโดยทั่วไป</TH></TR><TR align=middle><TD>จู หยวนจาง
    (朱元璋, Zhū Yuánzhāng)</TD><TD>เกาตี้
    (高帝, Gāodì)</TD><TD>ไท่จู่
    (太祖, Tàizǔ)</TD><TD>หงอู่
    (洪武, Hóngwǔ)</TD><TD>1911 - 1941
    (1368 - 1398)</TD><TD>จักรพรรดิหงอู่</TD></TR><TR align=middle><TD>จู หยุ่นเหวิน
    (朱允炆, Zhū Yǔnwén)</TD><TD>ฮุ่ยตี้
    (惠帝, Huìdì)</TD><TD>ไม่มี</TD><TD>เจี้ยนเหวิน
    (建文, Jiànwén)</TD><TD>1941 - 1945
    (1398 - 1402)</TD><TD>จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน</TD></TR><TR align=middle><TD>จู ตี้
    (朱棣, Zhū Dì)</TD><TD>เวินตี้
    (文帝, Wēndì)</TD><TD>เฉิงจู่ (成祖, Chéngzǔ) หรือ
    ไท่จง (太宗, Tàizōng)</TD><TD>หย่งเล่อ
    (永樂, Yǒnglè)</TD><TD>1945 - 1967
    (1402 - 1424)</TD><TD>จักรพรรดิหย่งเล่อ</TD></TR><TR align=middle><TD>จู เกาชื่อ
    (朱高熾, Zhū Gāochì)</TD><TD>เจาตี้
    (昭帝, Zhāodì)</TD><TD>เหรินจง
    (仁宗, Rénzōng)</TD><TD>หงซี
    (洪熙, Hóngxī)</TD><TD>1967 - 1968
    (1424 - 1425)</TD><TD>จักรพรรดิหงซี</TD></TR><TR align=middle><TD>จู จานจี
    (朱瞻基, Zhū Zhānjī)</TD><TD>จางตี้
    (章帝, Zhāngdì)</TD><TD>ซวนจง
    (宣宗, Xuānzōng)</TD><TD>ซวนเต๋อ
    (宣德, Xuāndé)</TD><TD>1968 - 1978
    (1425 - 1435)</TD><TD>จักรพรรดิซวนเต๋อ</TD></TR><TR align=middle><TD>จูฉีเจิ้น
    (朱祁鎮, Zhū Qízhèn)</TD><TD>รุ่ยตี้
    (睿帝, Ruìdì)</TD><TD>อิงจง
    (英宗, Yīngzōng)</TD><TD>เจิ้งถ่ง (正統, Zhèngtǒng)
    1979 - 1992
    (1436 - 1449)
    เทียนสุ้น (天順, Tiānshùn)
    2000 - 2007
    (1457 - 1464)</TD><TD>1979 - 1992
    (1436 - 1449)
    2000 - 2007
    (1457 - 1464)</TD><TD>จักรพรรดิเจิ้งถง</TD></TR><TR align=middle><TD>จู ฉือหยู่ว์
    (朱祁鈺, Zhū Qíyù)</TD><TD>จิ่งตี้
    (景帝, Jǐngdì)</TD><TD>ไต้จง
    (代宗, Dàizōng)</TD><TD>จิ่งไท่
    (景泰, Jǐngtài)</TD><TD>1992 - 2000
    (1449 - 1457)</TD><TD>จักรพรรดิจิ่งไท่</TD></TR><TR align=middle><TD>จู เจี้ยนเซิน
    (朱見深, Zhū Jiànshēn)</TD><TD>ฉุนตี้
    (純帝, Chúndì)</TD><TD>เซี่ยนจง
    (憲宗, Xiànzōng)</TD><TD>เฉิงฮวา
    (成化, Chénghuà)</TD><TD>2007 - 2030
    (1464 - 1487)</TD><TD>จักรพรรดิเฉิงฮวา</TD></TR><TR align=middle><TD>จู โย้วถัง
    (朱祐樘, Zhū Yòutáng)</TD><TD>จิ้งตี้
    (敬帝, Jìngdì)</TD><TD>เสี้ยวจง
    (孝宗, Xiàozōng)</TD><TD>หงจื้อ
    (弘治, Hóngzhì)</TD><TD>2030 - 2048
    (1487 - 1505)</TD><TD>จักรพรรดิหงจื้อ</TD></TR><TR align=middle><TD>จู โห้วจ้าว
    (朱厚照, Zhū Hòuzhào)</TD><TD>อี้ตี้
    (毅帝, Yìdì)</TD><TD>อู่จง
    (武宗, Wǔzōng)</TD><TD>เจิ้งเต๋อ
    (正德, Zhèngdé)</TD><TD>2048 - 2064
    (1505 - 1521)</TD><TD>จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ</TD></TR><TR align=middle><TD>จู โห้วชง
    (朱厚熜, Zhū Hòucōng)</TD><TD>สู้ตี้
    (肅帝, Sùdì)</TD><TD>ซื่อจง
    (世宗, Shìzōng)</TD><TD>เจียจิ้ง
    (嘉靖, Jiājìng)</TD><TD>2064 - 2109
    (1521 - 1566)</TD><TD>จักรพรรดิเจียจิ้ง</TD></TR><TR align=middle><TD>จู ไจ่โห้ว
    (朱載垕, Zhū Zǎihòu)</TD><TD>จวงตี้
    (莊帝, Zhuāngdì)</TD><TD>มู่จง
    (穆宗, Mùzōng)</TD><TD>หลงชิ่ง
    (隆慶, Lóngqìng)</TD><TD>2109 - 2115
    (1566 - 1572)</TD><TD>จักรพรรดิหลงชิ่ง</TD></TR><TR align=middle><TD>จู อี้จวุน
    (朱翊鈞, Zhū Yìjūn)</TD><TD>เสี่ยนตี้
    (顯帝, Xiǎndì)</TD><TD>เซิ๋นจง
    (神宗, Shénzōng)</TD><TD>ว่านลี้
    (萬曆, Wànlì)</TD><TD>2115 - 2163
    (1572 - 1620)</TD><TD>จักรพรรดิว่านลี่</TD></TR><TR align=middle><TD>จู ฉางลั่ว
    (朱常洛, Zhū Chángluò)</TD><TD>เจินตี้
    (貞帝, Zhēndì)</TD><TD>กวงจง
    (光宗, Guāngzōng)</TD><TD>ไท่ฉาง
    (泰昌, Tàichāng)</TD><TD>2163
    (1620)</TD><TD>จักรพรรดิไท่ฉาง</TD></TR><TR align=middle><TD>จู โหยวเจี้ยว
    (朱由校, Zhū Yóujiào)</TD><TD>เจ๋อตี้
    (悊帝, Zhédì)</TD><TD>ซีจง
    (熹宗, Xīzōng)</TD><TD>เทียนฉี่
    (天啟, Tiānqǐ)</TD><TD>2163 - 2170
    (1620 - 1627)</TD><TD>จักรพรรดิเทียนฉี่</TD></TR><TR align=middle><TD>จู โหยวเจี่ยน
    (朱由檢, Zhū Yóujiǎn)</TD><TD>จวงเล่ยหมิ่น
    (莊烈愍, Zhuānglièmǐn)</TD><TD>ซือจง
    (思宗, Sīzōng)</TD><TD>ฉงเจิน
    (崇禎, Chóngzhēn)</TD><TD>2170 - 2187
    (1627 - 1644)</TD><TD>จักรพรรดิฉงเจิน</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สมัยพระจักรพรรดิ จู อี้ จวุน พระนามที่รู้จักโดยทั่วไป เรียกรัชสมัย ว่านลี่ ที่พระนเรศวรเคยส่งพระราชสาสน์ไปว่าขอเสนออาสาไปปราบสลัดญี่ปุ่น

    สลัดญี่ปุ่นมีปัญหากับกองเรือการค้าของไทยด้วย หากปราบได้ก็จะได้ประโยชน์ร่วมกันสองประเทศค่ะ แต่พระจักรพรรดิจีนมิได้ทรงยินยอม จึงไม่มีการส่งกองเรือไทยไปช่วยปราบสลัดญี่ปุ่นค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...