ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระเจ้าอยู่หัวในข้อความข้างบนคงหมายถึงสมเด็จพระเอกาทศรถ ตามนี้ก็ต้องแปลความว่าท่านทรงกริ้วจมื่นศรีสรรักษ์ พระโอรสของพระองค์เองมาก แม้จะยกให้เป็นบุตรบุญธรรม ออกญาศรีธรรมาธิราชแล้วก็ตาม จากเรื่องนี้ซึ่งดูไม่น่าจะร้ายแรง แต่พระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรถ ได้ฟันที่ขา 3 ทีเป็นแผลเหวอะหวะ จับขังคุกมืดที่อับชื้นและสกปรก แผลมีโอกาศติดเชื้อสูงมาก โดยไม่ยอมให้ลุกไปเข้าห้องน้ำ ให้นอนจมอยู่อย่างนั้นถึง 5 เดือน (ล็อคคอ แขน และขา ไม่ให้กระดุกกระดิก) คงจะใกล้สิ้นพระชนม์แล้วด้วย เดชะบุญ เกิดเรื่องใหญ่ยิ่งขึ้นเสียก่อน

    กล่าวคือเจ้าฟ้าสุทัศน์ทูลพระบิดาขอให้ปล่อยพระองค์ไล (ตอนนั้นติดคุกมาได้ สี่เดือนกว่า) จนพระเอกาทศรถกล่าวหาว่าเจ้าฟ้าสุทัศน์จะกบฏต่อพระบิดา เจ้าฟ้าสุทัศน์เสวยยาพิษปลิดพระชนม์ชีพองค์เอง

    เป็นจังหวะที่สมเด็จพระเอกาทศรถเสียพระทัยมาก จนเริ่มพระทัยอ่อนเพราะพระองค์ไลก็ใกล้จะสิ้นพระชนม์แล้วเช่นกัน เมื่อเจ้าขรัวมณีจันทร์มาทูลขอ (ตามหนังสือเจ้าไล เจ้าขรัวมณีจันทร์บวชชีอยู่ที่วัดปากคลองคูจาม พระยามหามนตรีไปทูลเชิญให้มาช่วยหลาน เจ้าขรัวเห็นแก่ พระพักตร์พระองค์ไลละม้ายกับพระพักตร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงตัดสินใจมาช่วยไว้)

    อาศัยช่วงที่พระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรถกำลังพระทัยอ่อนจากการสูญเสียพระโอรสองค์โตคือเจ้าฟ้าสุทัศน์ จึงโปรดทรงยอมให้นำร่างอันบอบช้ำของพระองค์ไลออกจากคุกมืดได้ พระชะตาของพระองค์ไลคงไม่ถึงฆาต เมื่อพาออกมาบรรเทาอาการ และบำรุงเลี้ยงพระองค์ก็ทรงกลับแข็งแรงขึ้น ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์เอง

    เจ้าขรัวมณีจันทร์ในเรื่องไม่ได้บอกว่าเป็นใครมาจากไหน แต่ว่าบวชเป็นชีอยู่ที่วัดตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคต (จากหนังสือ เจ้าไล)

    หมายเหตุ ในหนังสือเจ้าไล ไม่ได้เขียนแบบนี้ แต่อ่านแล้วไม่สามารถลงตัวเรื่องเวลาได้ คิดว่าอาจารย์คึกเดชก็คงจะยุ่งยากใจตอนแต่งหนังสือเหมือนกัน เพราะเวลาเดียวกันแล้ว เขียนออกเป็นสองเรื่อง คือ ที่เจ้าฟ้าสุทัศน์ขอให้คนออก คือให้ข้าราชการเกษียณอายุออกจากราชการ ซึ่งก็ไม่น่าจะถูกกล่าวหาว่าจะเป็นกบฏต่อพระบิดาได้นะคะเรื่องนี้

    กับเรื่องจมื่นศรีสรรักษ์ถูกคุมขังเพราะทำลายพิธีพระยาแรกนา ในหนังสือก็ไม่ได้อ้างข้อความในพงศาวดารว่าขณะนั้นจมื่นศรีสรรักษ์เดินมากับน้องชายซึ่งเป็นพระมหาอุปราชแล้ว คิดว่าอาจารย์คึกเดชก็คงจะเชื่อมเหตุการณ์สองเหตุการณ์นี้เข้าหากันไม่ได้ จึงเขียนออกเป็นสองเหตุการณ์ แต่ทางสายธาตุว่าตามนิยายเจ้าไลนั้น เวลาไม่ลงล็อคลงตัวกับเนื้อเรื่องในบางจุดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  2. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ขอคั่นเวลาด้วยเช่นกันครับ เรื่องพัฒนาเพื่อรู้ทัน รู้ทันแล้วไม่ทุกข์ โดย

    ท่านอาจารย์สุภีร์ ทุมทอง

    ปัญหาส่วนใหญ่ที่เราเป็นกันอยู่ ก็คือเป็นปัญหาโดยที่ไม่ใช่ปัญหาอะไร

    เลย เรียกว่าทุกข์โดยไม่จำเป็น

    ชีวิตที่เป็นขันธ์ 5 ประกอบด้วยกายกับใจ ติดต่อโลกผ่านอายาตนะ 6

    คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นไป

    ตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย อยู่ที่เวลาเกิดกระแสแห่งเหตุปัจจัยแล้ว เราจัด

    การได้ถูกต้องตามสมควรหรือเปล่า ถ้าเราไม่รู้เท่าทันจัดการไม่ถูกต้องตาม

    สมควรก็เกิดทุกข์ ถ้ารู้เท่าทันจัดการถูกต้องตามสมควร ก็ไม่ทุกข์เท่านั้น

    เอง ไม่มีอะไรยุ่งยาก แต่ที่มันยุ่งยากก็เพราะว่าเรารู้ไม่ทัน
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทันความคิด ความคิดเร็วอย่างกับปรอทเลยค่ะ ไหลปรู๊ดปร๊าด จับแทบไม่ทัน ^^

    ค่ำๆจะมาต่อเรื่องเจ้าแม่วัดดุสิต ตามการคาดคะเนว่าพระองค์มีโอกาศจะเป็นพระราชธิดาของพระองค์ใดได้บ้าง

    เรื่องเจ้าแม่วัดดุสิตนี้อ่านแล้วก็จะงงเหมือนเรื่องพระองค์ไล แต่ก็จะนำเสนอนะคะ

    จุดที่น่าสังเกตุคือ พระองค์ไลทรงนับถือเจ้าแม่วัดดุสิตมาก เพราะพระโอรสพระธิดาของพระองค์ไล

    พระองค์ท่านยกให้เป็นสิทธิ์ขาดให้เจ้าแม่วัดดุสิตอบรม เลี้ยงดู คงจะทรงไว้ใจและนับถือกันมากจริงๆค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ภาพเก่าหาดูยาก

    [​IMG]


    พระราชวังบางปะอินได้ก่อสร้างขึ้นบนพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยเกาะกลางน้ำ มีสะพานลักษณะหลากหลาย เป็นทางเดินเชื่อมฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
    เช่น สะพานไม้ ที่ออกแบบให้เป็นลูกคลื่น เป็นที่พอพระทัยของเจ้านายองค์เล็กๆ เมื่อปี พ.ศ.2433



    [​IMG]

    ภาพที่หายากภาพหนึ่ง
    พระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ฉายโดยช่างภาพชาวสกอต ชื่อ จอห์น ทอมสัน ซึ่งเดินทางมาสยาม เมื่อพ.ศ.2408


    [​IMG]


    ภาพสมัยรัชกาลที่ ๔ ขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จไปทอดกฐินหลวง ณ วัดพระเชตุพน ถ่ายโดยชาวต่างประเทศ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ (พ.ศ. ๒๔๐๙)

    [​IMG]

    กระทรวงกลาโหม

    [​IMG]

    หญิงสาวแต่งตัวเรียบร้อย รวมกลุ่มกันเล่นกีฬาในร่ม ดิฉันไม่แน่ใจว่าเป็นสกาหรือเปล่า ใครดูออกว่าเป็นอะไรช่วยบอกด้วยค่ะ ขอให้สังเกตการห่มผ้าแถบของแท้ดั้งเดิม เขาพันร่างกายท่อนบนแล้วเหน็บไว้เฉยๆ ค่อนข้างหลวม ไม่เหน็บกันแน่นเหมือนในละครทีวี ไม่มีกระดุม ไม่มีเข็มกลัดช่วยยึด ผ้าแถบอยู่ติดตัวได้ก็เพราะความชำนาญของคนห่ม รู้ว่าจะเคลื่อนไหวยังไงถึงจะไม่หลุด









     
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ปริศนา เจ้าแม่วัดดุสิต

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ตามหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นหมดโอกาสที่จะเป็นพระเจ้าลูกเธอของพระเจ้าแผ่นดินแน่ เนื่องจากสกุลยศต่ำสุดของพระเจ้าลูกเธออันเกิดแต่นางสนมนั้นก็เป็นถึงพระเยาวราช ตำแหน่งนามไม่ใช่น้อยเช่นนี้ ไม่สมควรที่ผู้จดพระราชพงศาวดารจะละเลยกล่าวถึงสกุลยศของพระองค์ หรือไม่ควรละเว้นการกล่าวย้อนไปถึงพระราชบิดาของพระองค์ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]อีกกรณีหนึ่งคือทรงเป็นหม่อมเจ้า คือเป็นหลานเธอของพระเจ้าแผ่นดิน หากเป็นในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา เจ้าแม่วัดดุสิตก็มีโอกาสเป็นพระธิดาของพระนเรศวร หรือพระเอกาทศรถ ก่อนที่ทั้งสองพระองค์นี้จะทรงครองราชย์ หากเป็นในแผ่นดินรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ก็ไม่น่าจะเข้าข่ายที่จะเป็นหม่อมเจ้าได้ ด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเป็นวังหน้าอยู่ในขณะนั้น พระธิดาสมควรที่จะได้เป็นพระองค์เจ้า [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]หากเป็นในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ก็มีโอกาสที่พระธิดาของเจ้าฟ้าสุทัศน์หรือพระศรีเสาวภาคย์ได้ เพียงแต่พระราชพงศาวดารจดเรื่องของสองพระองค์นี้ไว้น้อยนัก ยากจะสันนิษฐานประการใดได้ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]แต่ยังมีปัญหาตามมาอีกคือ หากทรงมีพระชาติกำเนิดที่ยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ เหตุใดเอกสารชั้นกรุงศรีอยุธยาหรือเอกสารตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ขึ้นไป จึงไม่พยายามเอ่ยถึงที่มาที่ไปของพระองค์ พระนามจริง แม้แต่พระนามของพระสวามี และหากทรงมีพระชาติกำเนิดสูงถึงระดับลูกหลวง หลานหลวง จะเป็นไปได้หรือที่พระสวามีจะเป็นเพียงขุนนางมอญที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ โอกาสเช่นนี้แทบจะไม่เกิดขึ้นในธรรมเนียมราชตระกูลในสยามประเทศ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ในทำนองเดียวกันหากพระสวามีเป็นเชื้อพระวงศ์ ก็จำเป็นจะต้องมีศักดิ์เสมอด้วยพระองค์จึงจะมีพระราชานุญาตให้อภิเษกสมรสได้ ซึ่งถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เหตุใดพระราชพงศาวดารจึงเว้นที่จะกล่าวถึง "ฝ่ายชาย" อย่างน่าสงสัย เพราะโอกาสที่ "ผู้หญิง" จะปรากฏในพระราชพงศาวดารไทยนั้นมีน้อยยิ่งนัก [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ปริศนา เจ้าแม่วัดดุสิต

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]หลักฐานเรื่องเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าพระองค์เป็นใครกันแน่ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]แต่มีข้อน่าสังเกตถึงเรื่องราวของเจ้าแม่วัดดุสิตที่ก่อให้เกิดความแตกต่างเป็น ๒ ส่วนอย่างชัดเจน ส่วนแรกคือหลักฐานตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ขึ้นไป คือประเภทจดหมายเหตุชาวต่างประเทศ หรือพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้แม้แต่น้อย รวมไปถึง "ความเป็นเจ้า" ของพระองค์ด้วย รวมไปถึงพระราชนิพนธ์ พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ ที่ไม่มีการกล่าวถึงเจ้าแม่วัดดุสิตเลย [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]อีกส่วนหนึ่งคือเอกสารหลังรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา กลับกล่าวถึงเจ้าแม่วัดดุสิต ทั้งพระนาม เชื้อสาย และความเป็นวงศ์พระร่วงของพระองค์ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้หลักฐานหลังรัชกาลที่ ๔ มีการกล่าวถึงเจ้าแม่วัดดุสิตอย่างละเอียดลออมากขึ้น และอาจเป็นต้นเหตุของเรื่อง "เชื้อเจ้า" ทั้งปวงนี้ ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ในพระราชวงศ์พระองค์ใด แต่กลับเป็นบุคคลที่นักประวัติศาสตร์ในพระราชวงศ์ไม่เคยยอมรับและประณามว่าเป็นจอมโกหก [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]บุคคลที่ว่านี้คือ ก.ศ.ร.กุหลาบ! [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]หนังสือปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร.กุหลาบ และหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ซึ่งเชื่อว่า ก.ศ.ร.กุหลาบเป็นผู้แต่งนั้น กล่าวถึงเจ้าแม่วัดดุสิตไว้เป็นสำนวนเดียวกัน โดยอ้างที่มาของเรื่องทั้งหมดไว้ในบานแผนกหนังสือปฐมวงศ์ว่า [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]"หนังสือปฐมวงศ์พระเจ้าแผ่นดินกรุงเทพ เป็นเรื่องราวกล่าวด้วยมูลเหตุอภินิหารท่านผู้เป็นบรรพบุรุษ ต้นฉบับนั้นได้คัดแต่หนังสือหอหลวง นายกุหลาบทูลเกล้าฯ ถวาย นายกุหลาบว่าคัดแต่ฉบับกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน" ("อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์," ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. ๒๕๔๕, น. ๖๗.) [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]หนังสือปฐมวงศ์ ฉบับ ก.ศ.ร.กุหลาบ กล่าวถึงต้นสายราชวงศ์จักรีไว้คล้ายกับหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ โดยกล่าวถึงความเป็นมาของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ เหมือนกับเอกสารชั้นหลังที่คงจะอาศัยหนังสือ ๒ เล่มนี้เป็นต้นแบบอ้างอิง เรื่องเจ้าแม่วัดดุสิตในหนังสือปฐมวงศ์ มีดังนี้ [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ปริศนา เจ้าแม่วัดดุสิต

    "เริ่มความในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระศรีสรรเพชญ บรมราชาธิราชปราสาททอง ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒๕ พระองค์ ในกรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยา ปรากฏเป็นข้อต้น

    พระเจ้าปราสาททองมีพระราชโอรสกับพระราชเทพีพระองค์หนึ่ง เป็นพระราชกุมารทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านารายณ์ราชกุมาร ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพระราชบิดา จึ่งพระราชทานพระนมนางองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นหม่อมเจ้าหญิงในราชนิกูลพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทานให้เป็นพระนมของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านารายณ์ราชกุมาร เป็นพระนมเอกนั้น ไว้ทรงอภิบาลทะนุบำรุงเจ้าฟ้านารายณ์มาแต่ทรงพระเยาว์จนทรงพระเจริญ เป็นทั้งพระพี่เลี้ยงแลพระนม ด้วยพระราชชนนีของพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านารายณ์ราชกุมารนั้น ทิวงคตแต่เมื่อประสูติได้เก้าวัน เพราะเหตุนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึ่งได้ทรงรักใคร่นับถือเหมือนพระราชมารดา

    ครั้นเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้านารายณ์ได้เสด็จขึ้นเถลิงสิริราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินในที่ ๒๘ พระองค์ ในกรุงศรีอยุทธยา ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระบรมราชา รามาธิบดีศรีสรรเพชญ พระนารายณ์เป็นเจ้าๆ จึ่งทรงตั้งหม่อมเจ้าพระนมนางขึ้นเป็นพระองค์เจ้า แล้วทรงสร้างวังมีตำหนักตึก ที่ริมวัดดุสิดาราม นอกกำแพงพระนคร ถวายพระองค์เจ้าพระนมนางให้เสด็จประทับเป็นที่สำราญพระทัย ครั้งนั้นคนเรียกว่าเจ้าแม่วัดดุสิต ตามที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเรียกว่าเจ้าแม่วัดดุสิตๆ มีบุตรมาแต่เดิมนั้น ๒ คนเป็นชาย คนใหญ่ชื่อคุณเหล็ก คนที่ ๒ ชื่อคุณปาล" (อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์, น. ๖๗-๖๘)

    หนังสือปฐมวงศ์กับหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ได้ให้คำตอบเรื่องความเป็น "เจ้า" ของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ คือนอกจากจะบอกให้รู้ว่าทรงเป็นหม่อมเจ้าอยู่แต่เดิมและได้ยกเป็นพระองค์เจ้าภายหลัง และเรื่องนี้น่าจะเป็น "ต้นทาง" ให้เอกสารรุ่นหลังใช้เป็นแนวทางในการเดินตาม คือต่อเติมลากสายสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ต่างๆ จนสับสนไปหมด

    สำหรับพระนามแท้จริงของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นถึงบัดนี้ยังคงต้องถือว่าเป็นปริศนาชิ้นโตของประวัติราชวงศ์จักรีที่ยังคลี่คลายไม่ได้ จะอาศัยอ้างอิงพระนามจากเอกสารรุ่นหลังก็เลื่อนลอยเต็มที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ปริศนา เจ้าแม่วัดดุสิต

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]ส่วนคำตรัสเรียกว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" ของสมเด็จพระนารายณ์ ก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง คือเป็นพระนามโดยตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมนิยมที่คนรุ่นก่อนจะไม่เรียกชื่อกันตรงๆ เช่น สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นต้น และคำตรัสเรียก "เจ้าแม่วัดดุสิต" ก็ถือเป็นการยืนยันจากสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างดีว่าท่านผู้นี้เป็น "เจ้า" จริงๆ [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]คือ คำเรียก "เจ้าแม่" นั้นไม่ได้หมายความอย่างเดียวกับ "เจ้าพ่อ" นักเลงโต แต่ย่อมหมายถึงเจ้าที่เป็นแม่นั่นเอง หากนำไปรวมกับเรื่องการเรียกที่อยู่ว่าพระตำหนัก ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ก็ย่อมแสดงถึงที่ประทับของเจ้านาย ทำให้เรื่องนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น [/FONT]

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]เหลือปริศนาเรื่องการเป็น "หม่อมเจ้า" ของเจ้าแม่วัดดุสิตว่าสมควรจะยุติได้หรือไม่นั้น ปัญหาอยู่ที่ว่าคราวนี้จะยอมเชื่อ ก.ศ.ร.กุหลาบ หรือไม่เท่านั้นเอง?!? [/FONT]


    จากบทความของ ปรามินทร์ เครือทอง : นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม : ฉบับที่ 06 : วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 26
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความเห็นอีกสายหนึ่ง

    ในบันทึกของบรรพบุรษตระกูลชุมสายมีกล่าวไว้ ว่าพระยาเกียรติตามพระนเรศวรมา แล้วลูกพระยาเกียรติ แต่งงานกับเจ้าแม่วัดดุสิต มีบุตรเป็นโกษาเหล็ก ท้าวศรีสุดารักษ์ โกษาปาน โกษาปานมีลูกชื่อทองเป็นพระยากลาโหมสมัยพระเจ้าเสือ คุณทองมีลูกชื่อทองคำเป็นพระยารานิกูลสมัยพระเจ้าท้ายสระ ทองคำมีบุตรชื่อทองดี ได้เป็นหลวงพินิจอักษรสมัยพระเจ้าบรมโกศ ต่อมาแต่งงานกับคุณดาวเรือง มีบุตร7คน คนที่4ชื่อทองด้วง

    สันนิษฐาน ว่า เจ้าแม่วัดดุสิตเป็นลูกพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งพระเจ้าทรงธรรมเป็นหลานพระนเรศวรอีกที ซึ่งอยู่ในราชวงศ์สุโขทัยที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหาธรรมราชานั่นแหละครับ


    ป.ล. พระราชธิดาทั้ง 8 ของพระเจ้าทรงธรรมถูกตั้งให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าปราสาททองทั้งสิ้น เจ้าแม่วัดดุสิตจึงไม่น่าจะเป็นพระธิดาพระเจ้าทรงธรรม แต่มีพระธิดาองค์หนึ่งของพระเจ้าทรงธรรมเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชค่ะ

    คัดลอกบางส่วนมาจาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระปฐมวงศ์ใน พระบรมราชวงศ์จักรี
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2></TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>เจ้าแม่วัดดุสิต</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>เจ้าพระยามหาโกษาธิบดี (เหล็ก)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>เจ้าพระยามหาโกษาธิบดี (ปาน)</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>พระยาราชนิกูล (ทองคำ)</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระบรมราชชนนีหยก</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>น้องสาวสมเด็จพระบรมราชชนนีหยก</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>คุณมา</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
    (227x-2342)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระเจ้ารามณรงค์</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
    (227x-2342)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    (2279-2352)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(2286-2346)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี
    (228x-2370)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
    (2303-2350)</TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD></TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>พระอินทรรักษา (เสม)</TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>เจ้าขรัวเงิน</TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid; BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px solid">
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 2px solid; PADDING-RIGHT: 0.2em; BORDER-TOP: black 2px solid; PADDING-LEFT: 0.2em; PADDING-BOTTOM: 0.2em; BORDER-LEFT: black 2px solid; PADDING-TOP: 0.2em; BORDER-BOTTOM: black 2px solid" colSpan=6 rowSpan=2>กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (มุก)</TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid">
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed">
    </TD><TD>
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed" colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: black 1px dashed">
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2 rowSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px solid" rowSpan=2>
    </TD><TD rowSpan=2>
    </TD></TR><TR align=middle><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD colSpan=2>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: black 1px dashed">
    </TD></TR><TR align=middle><TD font rowspan<></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระราชพงศาวดารจึงเป็นแต่เพียงเนื้อเรื่องที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ "เปิดเผย" ได้ แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านั้นจำเป็นต้องคัดกรองเพื่อการเปิดเผยจริงๆ เหตุเพราะว่าการจดพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเกิดขึ้นร่วมสมัยกับการเกิด "การพิมพ์" ขึ้นในประเทศประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือแต่ละบุคคลแต่ละสกุลย่อมมีเรื่องราวอันควร "ปิดบัง" ไว้ทั้งสิ้น

    หากย้อน กลับไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ยังมีเรื่องราวที่ควรปกปิดมากกว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่เว้นแม้แต่พระนามของพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นเรื่องปกปิดเช่นกัน นิโกลาส์ แชรแวส กล่าวไว้ว่าการปกปิดพระนามของพระมหากษัตริย์ถือเป็นนโยบายทางการเมืองของราช อาณาจักรสยาม ที่จะออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินให้เป็นที่รู้แก่ประชาชนพลเมืองได้ ก็ต่อเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ดังนั้นนิโกลาส์ แชรแวส ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ตีพิมพ์ที่กรุงปารีสในปีพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต้องใช้ "เทคนิค" พอสมควรกว่าจะได้พระนามที่แท้จริงของสมเด็จพระนารายณ์มาได้ แชรแวสใช้เทคนิคดังนี้

    "มีอยู่สองคนที่ข้าพเจ้ารู้จักดี และได้รับความไว้วางใจ เพราะข้าพเจ้าได้เคยช่วยเหลือเขามาหลายครั้งหลายหน ได้บอกให้ข้าพเจ้าทราบเป็นความลับว่า พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน ทรงพระนามว่าเจ้านารายณ์" (นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. ก้าวหน้า, ๒๕๐๖, น. ๒๒๓.)

    การเปิด เผยพระนาม รวมไปถึงอธิบายความหมายของพระนามพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นจริงๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไม่เพียงแต่ทรงเปิดเผยพระนามเท่านั้น ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เปิดเผยประวัติความเป็นมาของราช ตระกูลอีกด้วย โดยมีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาว์ริง ไว้อย่างค่อนข้างชัดเจนตรงไปตรงมา ทรงยอมรับที่จะไม่ใช่ "ไทยแท้" หากแต่เป็น "มอญ" ผสม "จีน" ในชั้นบรรพบุรุษต้นตระกูล

    ความในพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ ทรงอ้างถึงต้นตระกูลชาวมอญหงสาวดี ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรหรือที่ทรงเรียกว่าพระนเรศร (King Phra Naresr) มายังกรุงศรีอยุธยา

    "ในตอนนี้คนในตระกูลที่รับราชการเป็นทหารของพระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ ติดตามมากับสมเด็จพระนเรศรด้วย แล้วตั้งหลักแหล่งอยู่ในอยุธยา" (เซอร์จอห์น เบาว์ริง. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๗, น. ๘๗.)

    ทรงบรรยายต่อว่า หลังจากนั้นเรื่องราวของตระกูลก็ขาดหายไปราวครึ่งศตวรรษหรือประมาณ ๘ รัชกาล จนกระทั่งมาปรากฏขึ้นอีกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Narayu

    "หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศร...เรื่องราวของตระกูลนี้ได้ขาดหายไป จากการรับรู้ของพวกเราจนกระทั่งถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายู" (เบาว์ริง, น. ๘๗)

    ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นี่เองที่ "ต้นตระกูล" ได้รับโอกาสรับราชการสำคัญของแผ่นดินคือ เจ้าพระยาโกษาเหล็ก และเจ้าพระยาโกษาปาน [ในพระราชหัตถเลขาใช้ปาล (Pal) แต่ในพระราชพงศาวดารใช้ปาน]

    "กล่าวกันว่าบุพการีของพวกเราสืบสายเลือดต่อลงมาจากท่านผู้เป็นอภิชาตบุตรนี้เอง" (เบาว์ริง, น. ๘๘)

    จากนั้นก็ทรงเล่าสืบสายตระกูลลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมมหาชนก (คือพระราชบิดารัชกาลที่ ๑)

    "ต้น ตระกูลผู้เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรก และเป็นปู่ของพระราชบิดาในพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบัน (ตัวข้าพเจ้า) กับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน (พระเชษฐาผู้ทรงล่วงไปแล้วของข้าพเจ้า) แห่งสยาม เป็นอภิชาตบุตรของตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจากเสนาบดีต่างประเทศที่ได้กล่าวมา แล้ว ท่านได้ย้ายหลักแหล่งจากอยุธยามาเพื่อความสุขของชีวิต และตั้งบ้านเรือนที่ "สะกุตรัง" เป็นท่าเรือบนลำน้ำสายเล็ก อันเป็นสาขาของแม่น้ำใหญ่ ตรงรอยต่อของราชอาณาจักรสยามตอนเหนือกับตอนใต้" (เบาว์ริง, น. ๘๘)
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เพลง ดุจบิดามารดร

    <CENTER>เพลงพระราชนิพนธ์ ดุจบิดามารดร เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประพันธ์ทำนองโดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์
    คำร้อง

    รักชาติยอมสละแม้ ชีวี
    รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้
    รักราชมุ่งภักดี รองบาท
    รักศาสน์ราญเศิกไส้ เพื่อเกื้อพระศาสนา

    อันสยามเป็นบ้านเกิด เมืองนอน
    ดุจบิดามารดร เปรียบได้
    ยามสุขสโมสร ทุกเมื่อ
    ยามศึกทุกข์ยากไร้ ปลาตเร้นฤๅควร

    ประวัติ

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ร้อยกรองขึ้นมาชิ้นหนึ่งในลักษณะของโคลง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เริ่มต้นด้วยร่ายและต่อด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๓๐ บทร้อยเรียงต่อกัน มีชื่อว่า กษัตริยานุสรณ์ ทรงอธิบายไว้ในคำนำของหนังสือกษัตริยานุสรณ์ว่า
    "ขณะที่เริ่มเขียนเรื่อง "กษัตริยานุสรณ์" นี้ ข้าพเจ้ากำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนจิตรลดา ในวิชาการประพันธ์ อาจารย์สั่งให้แต่งโคลงส่งบ่อยๆ จึงมีความคิดอยากแต่งบทประพันธ์เป็นลิลิตหรือบทประพันธ์ คำโคลงสักเรื่องหนึ่งแต่ยังนึกเรื่องที่จะแต่งให้ถูกใจไม่ได้ พอดีเป็นเวลาที่ ข้าพเจ้าได้โดยเสด็จพระราชดำเนินในการแปรพระราชฐานไปจังหวัดเชียงใหม่ ในเครื่องบินท่านหญิงเป็น "เสมียน" เพราะตอนนั้น "น.ม.ส."(พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส หรือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ทรงนิพนธ์เรื่อง "สามกรุง" ตอนนั้น "น.ม.ส." ประชวรจ้องมองอะไรไม่เห็น พอไปถึงเชียงใหม่ท่านหญิงประทาน "สามกรุง" ข้าพเจ้า ๑ เล่ม"
    "ข้าพเจ้าเริ่มอ่านสามกรุงไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็นึกออกว่าโคลงที่นึกอยากจะแต่งนั้นควรเป็นเรื่อง "อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี" ซึ่งเป็นบทยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงวางโครงเรื่องลงในสมุดแล้วใช้เค้าโครงจากหนังสือ "ไทยรบพม่า"..."
    "การแต่งไม่ได้แต่งรวดเดียวจบ แต่แต่งเรื่อยไปวันละบทสองบทตามแต่จะคิดโคลงออก ซึ่งมักเป็นเวลาแปลกๆ เช่น เวลานั่งรถบ้าง เวลาคุยกับใครๆ หรือเวลาเข้านอน ตอนแรกๆไปได้ช้าเพราะต้องเตรียมสอบ ม.ศ. ๕ พอเสร็จแล้วแต่งตามสบาย โดยอ่าน "สามกรุง" ประกอบไปด้วย นับว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ใช้ประกอบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และโคลงที่ข้าพเจ้าแต่งก็บังเอิญเสร็จตอนมหาวิทยาลัยเปิดพอดี เมื่อจบแล้วได้ให้อาจารย์กำชัย ทองหล่อดู อาจารย์กรุณาตั้งชื่อให้ว่า "กษัตริยานุสรณ์"..."
    "ข้าพเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนพรรษาแทนการถวายรูปเขียนของขวัญอย่างที่เคย ท่านโปรดโคลงบทที่ขึ้นต้นว่า "รักชาติ ยอมสละแม้ชีวี" มากที่สุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ล.พวงร้อย อภัยวงศ์ ประพันธ์ทำนองเพลงที่ชื่อว่า "ดุจบิดามารดร" ใช้ร้องมาจนทุกวันนี้…"


    <TABLE style="BACKGROUND-COLOR: transparent"><TBODY><TR><TD>เพลงพระราชนิพนธ์ ดุจบิดามารดร

    [MUSIC]http://www.our-teacher.com/our-teacher/song/4.mp3[/MUSIC]



    </TD></TR><TR><TD>





    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 4pt; PADDING-LEFT: 0pt; FONT-SIZE: 8pt; PADDING-BOTTOM: 4pt; LINE-HEIGHT: 1.25em; PADDING-TOP: 4pt; TEXT-ALIGN: left" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#ffa01f cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=2 valign="top"><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffa01f colSpan=3><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>พระสหายแห่งสายบุรี 15 ปี ความภักดีไม่เสื่อมคลาย


    </TD><TD align=right><NOBR><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD width=5></TD><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></NOBR></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width=80><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=125 bgColor=#fff193>[​IMG]</TD><TD width="80%" bgColor=#fff193>Name : คุงโกชิกะ < My.iD > [ IP : 125.25.113.103 ]
    Email / Msn: nun_nut_(แอท)hotmail.com
    วันที่: 27 กันยายน 2552 / 11:40
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    วาเด็งปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี แม้ในวัย 92 ปี แต่ความจงรักภักดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณไม่เคยเสื่อมคลาย เผย หลังในหลวงทรงพระประชวร ก็ละหมาดขอพรพระเจ้าทุกวัน และตามข่าวอย่างใกล้ชิดทุกเช้า-ค่ำเพื่อติดตามพระอาการ
    "ตอนที่ไม่มีทีวีให้ดู เวลาอยากเห็นหน้าในหลวงก็จะหยิบเงินมาดูก็พอหายคิดถึงได้บ้าง พอมีทีวีแล้วก็จะรอดูแต่ข่าวในพระราชสำนักทุกวัน แต่พอพระองค์ทรงพระประชวรก็ต้องมาตามดูข่าวในพระราชสำนักตอนกลางวัน และตอนค่ำด้วย"
    หยาดฝนที่พรั่งพรูซึมทะลุหลังคาบ้านไม้ยกพื้นสองชั้น ซึ่งมีรูรั่วหลายแห่งจนต้องใช้ถังน้ำมารองไม่ได้ทำให้เจ้าของบ้านผู้สมถะอย่าง วาเด็งปูเต๊ะ หรือ "เป๊าะเด็ง" หรือที่รู้จักกันในนาม "พระสหายสายบุรี" ในวัย 92 ปี ละเลยต่อกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันที่ทำมาตลอดเกือบ 1 เดือน...นั่นคือ การละหมาดขอพรต่อพระเจ้าเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว
    ย้อนไปเมื่อวันที่30 กันยายน 2535 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี จึงทำให้เป๊าะเด็ง และพสกนิกรในพื้นที่ทุกคนพ้นจากความทุกข์ยากในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
    จากพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมขนาดใหญ่...ใช้ประโยชน์ไม่ได้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาหาวิธีระบายน้ำในที่ลุ่มยามน้ำหลาก และเก็บกักไว้ใช้ยามหน้าแล้ง ในวันนี้พสกนิกรจึงมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างทั่วถึง และบริบูรณ์
    นอกจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วการทูลเกล้าฯ ถวายข้อมูลในพื้นที่ และที่ดินผืนหนึ่งเพื่อทำโครงการพระราชดำริจึงทำให้เป๊าะเด็งได้กลายมาเป็น "พระสหาย" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งถือเป็นเกียรติยศสูงสุดในชีวิตที่น้อยคนจะได้รับ...
    ในวันที่7 พฤศจิกายน 2550 จึงถือเป็นวันที่เป๊าะเด็ง ปลาบปลื้มปีติอย่างที่สุดอีกวันหนึ่งในชีวิต เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวร และเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักจิตรลดา...ท่ามกลางความปีติยินดีของพสกนิกรทั้งประเทศ...
    อยากให้เป๊าะเด็ง ช่วยเล่าเหตุการณ์วันที่ได้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยไม่คาดฝัน จนกระทั่งได้กลายมาเป็น "พระสหาย" แห่งสายบุรี ในเวลาต่อมา
    วันนั้นเป๊าะกำลังทำสวนอยู่กับภรรยา(นางสาลาเมาะ ปูเต๊ะ) บริเวณประตูน้ำบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอเป็นป่าทึบ ก็มีคุณหญิงคนหนึ่งมาบอกว่า "ในหลวง" ต้องการพบตัวแต่ภรรยาไม่กล้าไปพบ จนกระทั่งเป๊าะเลี้ยงโคกลับมา ก็มีตำรวจมาตามเป็นครั้งที่สอง
    เป๊าะตกใจมากว่าตำรวจมาตามเรื่องอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด จนกระทั่งสื่อสารกันเข้าใจว่าในหลวงต้องการมาสร้างฝายกั้นน้ำคลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ ต.แป้นอ.สายบุรี เพื่อช่วยเหลือเรื่องแหล่งน้ำแก่ชาวบ้านในการทำการเกษตร เป๊าะ ถึงกล้าไปพบ

    แต่ตอนนั้นเป๊าะ ยังไม่ค่อยเชื่อว่าพระองค์จะเข้ามาอยู่ในป่าในเขาแบบนี้จึงคิดว่าคนที่มาบอกโกหก ขนาดมาพบพระองค์แล้วเป๊าะก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นในหลวงจริงหรือเปล่า จึงแอบหยิบเงินใบละ 100 ใบ กับใบละ 20 บาทขึ้นมาดู จึงแน่ใจว่าเป็นพระองค์เสด็จฯ มาจริงๆ ​

    ตอนแรกที่พบในหลวงเป๊าะก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ๆเพราะตอนนั้นนุ่งโสร่งตัวเดียว เสื้อก็ไม่ได้ใส่ด้วย แต่พอเข้าไปใกล้ๆ ในหลวงก็ตรัสเป็นภาษามลายู ว่า จะสร้างคลองชลประทานให้หลังจากนั้นในหลวงท่านก็ทรงสอบถามเส้นทางการขุดคลองสายทุ่งเค็จว่ามีเขตติดต่อที่ไหนบ้างจึงได้เล่าให้ในหลวงทรงทราบว่าคลองเส้นนี้ทางเหนือจะติดเขตพื้นที่ อ.ศรีสาครจ.นราธิวาส

    ในหลวงตรัสถามว่าหากออกไปทางทะเลจะมีเกาะกี่เกาะ เป๊าะก็ตอบพระองค์ไปว่ามี 4 เกาะในหลวงจึงทรงเอาแผนที่ที่นำติดตัวมาออกมาดูอีกครั้ง และตรัสชมว่า วาเด็งเป็นคนรู้พื้นที่จริง...เหมือนกับชาวบ้านอีกหลายพื้นที่ที่พระองค์เคยเข้าไปช่วยเหลือมาแล้ว "พระองค์ยังตรัสด้วยว่า"ไม่ว่าจะไปช่วยใครที่ไหนก็ต้องถามเจ้าของพื้นที่ก่อน...เพราะชาวบ้านจะรู้จริงกว่าคนอื่น"

    วันรุ่งขึ้น ข้าราชการที่มารับเสด็จก็ต้องตกตะลึงไปตามๆกัน เมื่อพระองค์ทรงรับสั่งให้เป๊าะพายเรือให้พระองค์เพื่อทำการสำรวจคลองสายทุ่งเค็จ พระองค์มีพระราชดำรัสถาม พร้อมเปิดแผนที่เพื่อให้รู้ว่าจะสร้างแหล่งชลประทานอย่างไร ​

    ตอนพายเรืออยู่ ในหลวงตรัสด้วยว่า "ให้วาเด็งทำตัวให้สบาย...มีอะไรที่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ให้เล่ามาตามความจริง"

    เป๊าะจึงบอกในหลวงว่าเมื่อถึงเวลาหน้าฝน น้ำจะท่วม ทำนาไม่ได้ เมื่อถึงหน้าแล้ง ก็ทำนาไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ​

    พระองค์ก็ตรัสกับเป๊าะอย่างไม่ถือพระองค์และตรัสถามอีกว่า ชาวบ้านทำการเกษตรอะไรบ้างเป๊าะจึงตอบพระองค์ไปว่าชาวบ้านไม่เดือดร้อนอะไร ทุกคนทำการเกษตรตามวิถีชีวิตของคนชนบท คือ ปลูกพืชผักสวนครัว และทำสวนไว้กินกันทุกบ้าน

    จากนั้นในหลวงคงจะทรงลองใจเป๊าะจึงตรัสถามขอที่ดินเพื่อทำโครงการพระราชดำริ ด้วยความปลาบปลื้มเป๊าะจึงขอยกที่ดินถวายให้พระองค์ทันที ในหลวงจึงแย้มพระสรวล และมีพระราชดำรัสว่าให้เป๊าะเป็น "พระสหาย ตั้งแต่บัดนั้น ​

    ในหลวงตรัสเรื่องนี้ว่า "วาเด็งเป็นคนซื่อตรง...จึงขอแต่งตั้งให้วาเด็งเป็นเพื่อนของในหลวง" พร้อมทรงชวนให้เป๊าะและภรรยาเดินทางไปเที่ยวที่กรุงเทพฯและเมื่อพระองค์เสด็จฯ มาสามจังหวัดก็เรียกให้เข้าเฝ้าที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ทุกครั้ง ​

    ต่อมาในหลวงทรงสงสารจึงมอบเงินให้เป๊าะครั้งละหลายหมื่นบาท หากไม่ได้เสด็จฯ มาก็ทรงฝากเงินมากับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทบทุกครั้ง ​

    ล่าสุด ในหลวง ตรัสว่าให้วาเด็งหยุดทำงานได้แล้ว เพราะแก่แล้ว อายุมากแล้ว ทรงเป็นห่วงสุขภาพวาเด็ง กลัวว่าทำงานหนักจะไม่สบาย เป๊าะก็นั่งทบทวนคำตรัสของพระองค์ด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มด้วยความภูมิกับคำว่า "พระสหายแห่งสายบุรี"

    ช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร เป๊าะเด็งติดตามพระอาการของพระองค์อย่างไร และได้ทำอะไรเพื่อถวายพระพรแด่พระองค์บ้าง ​

    เป๊าะติดตามข่าวพระอาการของในหลวงทางทีวีตลอดคิดว่า เมื่อพระองค์หายจากพระอาการประชวรก็จะติดต่อนายอำเภอเพื่อขอเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกครั้ง ขณะที่ร่างกายยังแข็งแรงพอที่จะไปพบพระองค์ได้อีกในชีวิตนี้
    เป๊าะยังละหมาดขอพรพระเจ้าให้ในหลวง และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน และไม่ใช่แต่เป๊าะเท่านั้นเพราะพี่น้องมุสลิมในหมู่บ้านกว่า 100 หลังคาเรือนก็ละหมาดเหมือนเป๊าะด้วยความเป็นห่วงในหลวง ซึ่งทรงเป็นพ่อของแผ่นดินกันทุกคน ​

    นอกจากละหมาดขอพระผู้เป็นเจ้าเป๊าะยังเดินทางจาก จ.นราธิวาส มาเยี่ยมพระอาการประชวรของในหลวงถึง รพ.ศิริราช ด้วย นอกจากจะทูลเกล้าฯ ถวายผลจำปาดะแล้ว เป๊าะได้เตรียมตัวอย่างไรบ้าง ก่อนจะเดินทางไปเข้าเฝ้าฯในหลวง เป๊าะยังได้สั่งตัดเสื้อผ้าเอาไว้ที่ร้านในเมืองเพื่อหวังว่าพระองค์ท่านจะได้เห็นเสื้อผ้าชุดใหม่ กว่าจะตัดเสื้อผ้าเสร็จต้องไปเฝ้าร้านอยู่หลายวัน กลัวจะไม่ทันใส่เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อให้พระองค์ดูว่า วาเด็งแต่งกายเรียบร้อย...ไม่อายคนที่ได้เป็นพระสหายแห่งสายบุรี

    ความรู้สึกหลังกลับจากเดินทางเข้าเฝ้าฯพระอาการประชวรเป็นอย่างไร และมีเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาถามรายละเอียดพระอาการประชวรของในหลวงกับเป๊าะมากแค่ไหน ​

    พอกลับมาจากการถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีชาวบ้านจำนวนมากทยอยกันมาหามาเยี่ยมถึงบ้านเพื่อสอบถามพระอาการประชวร เป๊าะก็บอกว่า ในหลวงมีคุณหมอรักษาดีคงจะหายประชวรในไม่นานนี้ ทำให้ชาวบ้านทุกคนคลายความเป็นห่วงไปมาก ทุกวันนี้เวลาอยู่บ้านและคิดถึงในหลวง เป๊าะจะทำอย่างไร

    เวลาคิดถึงในหลวงมากเป๊าะก็จะขี่รถจักยานยนต์คันเก่าออกไปที่ประตูน้ำที่เคยพบในหลวงครั้งแรกเพื่อทบทวนความทรงจำเก่าอันแสนภูมิใจที่อัลเลาะห์ประทานพรให้เป๊าะเป็นคนโชคดีได้พบกับเจ้าแผ่นดินที่ทรงช่วยเหลือปกป้องพี่น้องมุสลิมทั้งสามจังหวัดให้อยู่ดีกินดี
    เมื่อก่อนตอนที่ไม่มีทีวีให้ดูเวลาอยากเห็นหน้าในหลวง ก็จะหยิบธนบัตรมาดูก็พอหายคิดถึงได้บ้าง พอมีทีวีแล้วก็จะรอดูแต่ข่าวพระราชสำนักทุกวันแต่พอพระองค์ทรงพระประชวรก็ต้องมาตามดูข่าวพระราชสำนักตอนกลางวัน และตอนค่ำด้วย เพราะต้องการจะรู้ว่าพระองค์ทรงหายประชวรแล้วหรือยัง อาการดีขึ้นขนาดไหน

    นอกจากความจงรักภักดีซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว เป๊าะ และพี่น้องมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้นำเอาแนวพระราชดำรัสของพระองค์ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

    ในหลวงทรงมีพระราชดำริโครงการต่างๆให้ชาวบ้านรับรู้มานานแล้ว อย่างเช่นตอนที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาด้วยความยากลำบากกว่าจะมาทำโครงการขุดคลองสายชลประทานบ้านทุ่งเค็จเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมตลอดปี เพราะไม่มีที่ระบายน้ำยามฝนตก และไม่มีที่กักเก็บน้ำยามหน้าแล้ง พระองค์จึงต้องรีบช่วยเหลือให้ชาวบ้านช่วยเหลือตัวเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ​

    พระองค์ยังทรงเป็นต้นแบบของความพอเพียงฉะนั้น เมื่อจะใช้เงินไปซื้ออะไรเป๊าะก็ไม่อยากซื้อ เพราะต้องเอารูปในหลวงไปให้คนอื่น จึงทำให้เป็นการประหยัดไปในตัว เพื่อนบ้านยกย่องต้นแบบ ศก.พอเพียง
    นายมะแอสาและ อายุ 61 ปีชาวบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเป๊าะเด็ง กล่าวว่า หลังจากเป๊าะเด็ง กลับมาจากกรุงเทพฯ ชาวบ้านจำนวนมากได้แวะเวียนไปถามพระอาการของในหลวงกันมาก

    "พอถึงเวลาละหมาดร่วมกันที่มัสยิด ทุกคนก็พร้อมใจกันละหมาดขอพรพระเจ้าให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว"
    มะแอกล่าวชื่นชมเป๊าะเด็งว่า ปกติเป๊าะจะเป็นคนซื่อตรงเรียบง่าย หลังจากเข้าเฝ้าฯ ในหลวงแล้วยังได้บริจาคที่ดินสร้างสถานีอนามัยและถนนแทบทุกสายในหมู่บ้านบาเลาะ จึงทำให้ชาวบ้านให้ความเคารพรักพระสหายแห่งสายบุรีเป็นอย่างมาก
    นอกจากจะนำสถานีอนามัยและถนนมาสู่หมู่บ้านแล้ว เป๊าะเด็งยังนำแสงสว่าง คือ "ไฟฟ้า" มาสู่หมู่บ้านของท่านอีกด้วย ฝ่ายปกครองผู้ที่เป๊าะเด็งมีความสนิทสนมมากที่สุด คือ นายพลากรสุวรรณรัฐ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี)
    "ท่านพลากร เป็นผู้ว่าฯ คนเดียวที่เข้าใจชาวบ้านดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านทำให้เป๊าะเด็ง รักท่านพลากรมาก มีหลายครั้งที่เป๊าะเด็ง บ่นว่าเมื่อผู้ว่าฯ พลากร ไม่อยู่แล้ว ชาวบ้านต้องพึ่งตัวเอง ไม่มีที่พึ่งที่ไหนอีก เพราะคงไม่มีผู้ว่าฯ คนไหนจะเข้ามาเดินดูความเดือดร้อนของชาวบ้านถึงในป่าเหมือนผู้ว่าฯ คนนี้ที่เป๊าะเด็งสนิทสนมมาก"

    เพื่อนบ้านรายนี้ยังยกให้เป๊าะเด็งเป็น "แบบอย่าง" ของคนที่ซื่อสัตย์ เจียมเนื้อเจียมตัวและใช้จ่ายอย่างประหยัด เพราะต้องการทำตัวให้เป็นแบบอย่างตามพระราชดำรัสของในหลวงที่รู้จักกินรู้จักใช้ตามวิถีทางชุมชนชนบทกับเศรษฐกิจพอเพียงของชาวบ้านจนถึงทุกวันนี้
    อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ดีใจและปลาบปลื้มใจมากที่สุด คือ พระสหายแห่งสายบุรีได้มีโอกาสเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งในฐานะ "พระสหายแห่งสายบุรี" และ "ตัวแทนพี่น้องมุสลิม" ในสามจังหวัดชายแดนใต้ทุกๆคน

    <!--test-->
     
  14. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    <TABLE class=tborder style="MARGIN-BOTTOM: 5px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR class=catbg><TD class=middletext>: [1] </TD><TD class=postbuttons align=right><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tborder style="BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR class=catbg3><TD style="PADDING-LEFT: 6px" vAlign=center width="2%">[​IMG] </TD><TD width="13%">ผู้เขียน</TD><TD id=top_subject style="PADDING-LEFT: 6px" vAlign=center width="85%">หัวข้อ: "ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง (อ่าน 399 ครั้ง) </TD></TR></TBODY></TABLE><FORM id=quickModForm style="MARGIN: 0px" name=quickModForm onsubmit="return in_edit_mode == 1 ? modify_save('f963a479ae5235dec9815598b4bbe30a') : confirm('คุณแน่ใจหรือไม่?');" action=http://www.siamhardcore.com/board/index.php?PHPSESSID=56171ab316fa79a593429bb6311810bd&action=quickmod2;topic=204.0 method=post><TABLE class=bordercolor cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 1px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=windowbg><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2>XNongX MOSH WARRIOR
    [​IMG]
    กระทู้: 21




    [​IMG]



    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>"ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง
    « เมื่อ: มกราคม 05, 2008, 04:42:16 PM »



    </TD><TD class=postbuttons align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>ผมเห็นพูดคำๆนี้กันบ่อยเหลือเกิน....เลยอยากรู้ว่าแต่ละคนมีความหมายว่าอย่างไรมั่ง [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_1671 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right>[​IMG] บันทึกการเข้า </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 1px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=windowbg2><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2>M MOSH WARRIOR
    [​IMG]
    กระทู้: 30



    Never Give Up

    [​IMG]
    [​IMG]



    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>Re: "ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง
    « ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 05, 2008, 05:33:05 PM »



    </TD><TD class=postbuttons align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>คำๆนี้ มันมีความหมาย เเละ คุนค่าที่มันมาจาก จิตใจความรู้สึก การกระทำเเละ จิตใต้ สำนึก ครับ

    ง่ายๆเลยนะครับ เคยถามตัวเองมั้ยว่าทำไม เรารักในหลวงของเราเเละประเทศชาติ ของเราได้ขนาดนี้ บางครั้งจะตอบมาเป็นคำพูดคงอยากครับ

    เเต่เราจะรู้ในใจของเราว่า นี่หละ คือความจงรัก ภัคดีที่เรามีให้บ้านเกิดของเรา เเละเราจะไม่ ทรยศ กับบ้านเมืองเรา เเน่นอน ไม่ว่าวันนี้ หรือวันไหน



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_1673 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right>[​IMG] บันทึกการเข้า </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 1px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=windowbg><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2>ILIE_Romania ตากล้องมือพระกาฬ
    Hard Mosh
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    กระทู้: 167



    [​IMG]
    [​IMG]



    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>Re: "ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง
    « ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2008, 06:19:24 AM »



    </TD><TD class=postbuttons align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>ทุกสิ่งทุกอย่าง มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกเราครับ



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_1687 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right>[​IMG] บันทึกการเข้า </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 1px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=windowbg2><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2>bx Hard Mosh
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    กระทู้: 128








    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>Re: "ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง
    « ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 06, 2008, 07:40:46 PM »



    </TD><TD class=postbuttons align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>คือ..จิตสำนึก



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_1691 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right>[​IMG] บันทึกการเข้า </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 1px; PADDING-LEFT: 1px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 1px"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=windowbg><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD style="OVERFLOW: hidden" vAlign=top width="16%" rowSpan=2>xKengx Sr. Member
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    กระทู้: 322




    [​IMG]



    </TD><TD vAlign=top width="85%" height="100%"><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>[​IMG]</TD><TD vAlign=center>Re: "ความจงรักภักดี" คืออะไร ครับ???....พี่น้อง
    « ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 09, 2008, 02:16:58 AM »



    </TD><TD class=postbuttons align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>มันออกมาจากใจ หาใช่การบังคับ หรือ ถูกบีบคั้นทางจิตใจให้ทำ ไม่ อิอิอิ [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_1703 vAlign=bottom></TD><TD class=smalltext vAlign=bottom align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></FORM>
    *ขอขอบคุณแหล่งที่มา "�������ѡ�ѡ��" ������� ��Ѻ???....�����ͧ
     
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    ความจงรักภักดี

    ผมจั่วหัวข้อนี้สั้น ๆ เพราะเมื่อสักครู่ดูสารคดี "เสด็จประพาสต้น" ของ ร.๕ ตอน เสด็จราชบุรี เยี่ยมเรือนเจ๊กฮวด ผมชมดูไปเรื่อย ๆ ก็น้ำตาซึม จะขอเล่าย่อ ๆ ดังนี้
    ขบวนเสด็จของพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จถึงราชบุรีตอนเย็น เรือพระที่นั่งถึงคุ้งน้ำหน้าบ้านเจ๊กฮวด ก็ทรงขึ้นไปเยี่ยมเยียน ซึ่งเจ๊กฮวดและครอบครัวได้ออกมาต้อนรับเชื้อเชิญให้เข้ามาพักผ่อนและรับประทานมื้อเย็นด้วยกัน ด้วยคิดว่าเป็นแขกสูงศักดิ์จากบางกอก ขณะที่กำลังรับประทานอาหารอยู่นั้น จู่ ๆ เจ๊กฮวดก็ปูผ้าแล้วกราบในหลวง ร.๕ พร้อมกับพูดว่า เหมือนมาก ใช่แน่ขอรับ ในหลวงเสด็จมา ...
    ถึงตอนนี้ผมน้ำตาซึม เจ๊กจีนแท้ ๆ ที่มาอาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทย ยังจำองค์ในหลวงได้ คิดดูสิครับ สมัยนั้นใครจะเคยเห็นในหลวงสักกี่คน รูปภาพของในหลวงจะมีสักกี่ใบในแผ่นดิน เพราะเทคโนโลยีถ่ายภาพพึ่งจะเข้าเมืองไทยได้ไม่นานเลย แต่เจ๊กฮวดค่อนข้างมีฐานะ และเขาก็มีรูปของในหลวงรัชกาลที่ ๕ อยู่ในบ้าน ตัวเจ๊กฮวดมองรูปไป มองในหลวงไป แล้วจึงปูผ้ากราบ
    พระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดปรานเจ๊กฮวด ด้วยชอบในความฉลาดหลักแหลม ต่อมาเจ๊กฮวดได้รับตำแหน่งมหาดเล็ก แล้วได้เข้าเฝ้าอีกหลายหน ณ บ้านปัจจุบันของเจ๊กฮวด มีป้ายเขียนไว้หน้าบ้านว่า "เจ๊กฮวดมหาดเล็ก"
    ในฐานะที่ผมเองมีเชื้อสายจีนอยู่ในตัว บรรพบุรุษเคยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่รุ่นก๋ง จนปัจจุบันก็เป็นไทยเต็มตัว หัวใจผมเองยังรู้สึกจงรักภักดีต่อองค์กษัตริย์ทุกพระองค์ ความจงรักภักดี (Royalty) มีเต็มเปี่ยมไม่เสื่อมคลาย อยากจะถ่ายทอดความรู้สึกนี้ออกมา ด้วยว่าเหตุการณ์ปัจจุบันมีการจาบจ้วงสถาบันกษ้ตริย์มากมายนัก ลองย้อนไปดูไปอ่านประวัติศาสตร์เดิม ๆ บ้างสิ หากไม่มีกษ้ตริย์จะมีประเทศชาติไม๊ ทรงใช้พระราชอำนาจในการรวบรวมให้ป็นปึกแผ่นมั่นคงจนเป็นประเทศไทยมา กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีบุญญาบารมี ทรงเป็นผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดินไทย จึงควรแล้วที่จะทรงอยู่เหนือคำติเตียนกล่าวโทษทั้งปวง สมตามที่กล่าวในรัฐธรรมนูญที่ว่า "ผู้ใดจะฟ้องร้องมิได้"
    ...............


    -อีกแบบอย่างของความจงรักภักดี ที่สมควรนำมาเล่าขานสู่กันฟัง

    *ขอขอบคุณแหล่งที่มา ความจงรักภักดี(หน้า 1) - กระทู้ทั่วไป - Tsc Club - Powered by Discuz! Archiver และท่านเจ้าของบทความ
     
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=519 border=0><TBODY><TR><TD class=xtopic vAlign=top align=middle background=../image/template/bgHilight.gif>Sister Cities ระหว่าง กทม. กับเมืองแต้จิ๋ว (3)




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left>วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘


    ภาพหนึ่งซึ่งติดตาผมมาตั้งแต่สมัยเรียนที่โรงเรียนมัธยมเซนต์เออนาด มลรัฐวิกตอเรีย เครือรัฐออสเตรเลีย จนถึงบัดนี้ ก็คือ ภาพของผู้หญิงออสเตรเลียกำลังนอนหลับสบายในห้อง โดยมีภาพของผู้ชายจีนถือมีดปีนเข้ามาทางหน้าต่าง แม้เป็นเพียงภาพวาด แต่ ภาพนี้ ก็ชวนชี้ให้คนออสเตรเลียเกลียดชังชาวจีน และเห็นภัยคนผิวเหลืองที่เข้าไปทำมาหากินในแผ่นดินออสเตรเลีย​

    <O:p</O:p<O:p</O:p
    คนจีนส่วนใหญ่อพยพออกนอกแผ่นดินจีนจาก 2 มณฑล คือ มณฑลฝูเจี้ยน (บางสำเนียงเรียกฮกเกี้ยน) และมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ซึ่งมีทั้งจีนกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ (ฮากกาหรือเคอะ) และแต้จิ๋ว คนจีนทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้มักได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากเจ้าของพื้นที่และพวกเจ้าอาณานิคมที่เป็นฝรั่ง ผู้อ่านท่านที่เคยอ่านการต่อต้านคนจีนโพ้นทะเลที่ไปตั้งรกรากในไลม์เฮาส์ของอังกฤษ หรือแม้แต่ในซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ อ่านแล้ว ท่านก็คงจะแทบกลั้นน้ำตาแห่งความสงสารเผ่าพันธุ์จีนเอาไว้ไม่อยู่

    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ในรัชสมัยรัชกาลที่ 20 แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปิดประเทศค้าขายกับชาวต่างชาติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีนเป็นอิหร่าน หรือเป็นฝรั่งฮอลันดา ก็ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้ามาทำการค้าขายได้เสรีในแผ่นดินสยาม แต่ในเวลาเดียวกัน ชาวจีนโพ้นทะเลในฟิลิปปินส์ย่านปาลีอัน กลับถูกชาวสเปนฆ่าล้างผลาญตายไปมากกว่า 23,000 คน

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    36 ปีต่อมา สเปนไล่ฆ่าชาวจีนจากเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ การต่อสู้ป้องกันภัยทำให้คนจีนตายไปมากถึง 24,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2305 อังกฤษยึดมะนิลาได้ ทำให้ชาวจีนที่ทำมาหากินในกรุงมะนิลามีอิสระขึ้น แต่ก็แฮปปี้มีความสุขได้เพียง 2 ปี อังกฤษก็มอบเอกราชคืนให้สเปนผิวขาวด้วยกันคนจีนในฟิลิปปินส์ก็ถูกสเปนจับไปแขวนคอตายหลายหมื่นคน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ชาวจีนโพ้นทะเลที่นั่งเรือจากตอนใต้ของจีนไปลงเรือที่เกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เจอความโหดร้ายมากกว่าจีนพวกที่ไปฟิลิปปินส์ซะอีก เพราะพวกดัตช์ได้ให้สภาอินดีสตรากฎหมาย “ล่าจีนฟรี” ทำให้มี กรณี “ปัตตาเวียพิโรธ” และมีการไล่ฆ่าคนจีนตายไปอีกเป็นหมื่นๆ คน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ประเทศที่จีนถูกฆ่าตายไปมากกว่าประเทศใดก็คือมาเลเซีย ที่นั่นคนจีนปะทะกับเจ้าอาณานิคมอังกฤษที่ร่วมกับชาวพื้นเมืองมาเลย์กีดกันจีน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จีนโชคดี คือพวกที่เรือโดยสารพาล่องมาที่ท่าน้ำราชวงศ์ มาถึงก็ได้เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ในดินแดนสยามแห่งนี้ คนจีนมีแต่ความสุขสงบร่มเย็น และไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย หรือผู้คนชนชาติเผ่าพันธุ์ใด ศาสนาไหน ก็มีสิทธิ์ทำมาหากินบนแผ่นดินไทยได้เสมอเหมือนเท่าเทียมกันหมด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกคนจีนเป็นอย่างมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนเยาวราชให้คนจีนเมื่อ พ.ศ. 2434 <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กาลต่อมา พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2448 ทรงมีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “พวกจีนทั้งหลายซึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงสยามนี้ ย่อมมาทำการให้เป็นความเจริญแก่แผ่นดินของเราเป็นอันมาก เพราะเหตุฉนั้น พวกจีนจึงได้รับความปกครองทะนุบำรุงด้วยความเอื้อเฟื้อเสมอเหมือนอย่างคนไทย ความสนิทสนมในระหว่างพวกจีนกับราษฎรของเรา ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้ถือว่าเป็นคนมาแต่ต่างประเทศ”
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    วันนี้ กระแสต้านจีนจากสหรัฐฯ แรงมาก ผู้อ่านท่านคงจะทราบมติจากสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ แล้วนะครับ ว่ามีการโหวตด้วยคะแนน 333-92 เสียง ห้ามรัฐบาลสหรัฐฯ อนุมัติให้บริษัทซีนุกของจีน ซื้อบริษัทน้ำมันยูโนแคลของสหรัฐฯ ทั้งๆ ที่ บริษัทซีนุกเสนอซื้อในราคา 18,500 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่บริษัทเชฟรอนเสนอซื้อเพียง 16,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ไหนสหรัฐฯประกาศว่า การค้าในโลกนี้ต้องเสรี โถ เสรีเฉพาะเมื่อคราวจะเอาประโยชน์จากชาวบ้านเท่านั้น พอถึงคราวของเอ็ง เอ็งก็ไม่เสรี<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดีแล้วครับ ที่รัฐบาลไทย ทั้งรัฐบาลใหญ่ของนายกฯทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลท้องถิ่น กทม. ของคุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>อภิรักษ์ โกษะโยธิน คบจีนเป็นญาติสนิท และมีการลงนามสัมพันธ์เป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน โดยเฉพาะ กทม.กับเมืองแต้จิ๋ว<O:p</O:p<O:p</O:p
    • นิติภูมิ นวรัตน์
    </TD></TR><TR><TD class=graytxt vAlign=top align=middle>[6/7/2548]

    อ่านแล้วน้ำตาซึม ใต้ร่มบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย พระกรุณามากล้นรำพัน คงตอบคำถามในใจของหลายๆคนได้ว่า ทำไมคนไทยเชื้อสายจีนแต่โบราณมา จึงสละชีพเพื่อผืนแผ่นดินไทยนี้ได้อย่างไม่อาลัยต่อชีวิตตนเองเลย


    หากจริงตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อจรัญที่ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชท่านทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐกับสนมชาวจีนนั้น ก็เท่ากับพระโลหิตในพระวรกายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสืบสายเลือดมาจากกษัตริย์ผู้กล้าหาญตั้งแต่ชั้นบรรพบุรุษ และท่านทรงดำเนินชีวิตตามแบบบรรพชนคือสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม รักชาติ ยอมสละแม้ชีวี

    ทางสายธาตุคิดว่าหากพระองค์ท่านยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์คงจะไม่ทรงยอมทำอะไรที่จะทำให้ประเทศไทยนี้เข้าสู่จุดอ่อนไหวอันตรายแน่นอน เพราะว่าเพื่อชาติแล้วแม้พระชนม์ชีพก็ทรงสละได้มาแล้ว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    nitipoom.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สาธุค่ะ ท่านพี่จงรักภักดี
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ภรรยา วัน วลิต "ออสุต"ล็อบบี้ยิสต์ กิ๊กมหาภัย ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา

    คั่นรายการด้วยความรู้รอบตัวเกี่ยวกับสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนะคะ คาดว่าออกญาพระคลังจะเป็นท่านเฉกอะหมัดหรืออาจจะเป็นลูกชายคนโตของท่านเฉกอะหมัด เดี๋ยวดึกๆจะค้นประวัติเฉกอะหมัดในส่วนนี้มาจับกับประวัติศาสตร์ส่วนนี้ดูค่ะ

    "ออสุต"ล็อบบี้ยิสต์ กิ๊กมหาภัย ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา
    โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com

    [​IMG]

    เรามักได้ยินคนพูดว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องเชย คนแก่เชย หากเมื่อบทความที่ชื่อว่า "นางออสุต : เมียลับ ผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม" โดย สุภัตรา ภูมิประภาส-นักเขียนผู้สนใจนำเสนอบทบาทของผู้หญิงในภูมิภาคสุวรรณภูมิ มาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น 4 กษัตริยาแห่งนครรัฐปตานี (ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส ) เรื่องของ ราตูซาฟี เจ้านครองค์ที่ 14 สตรีคนแรกที่ปกครองนครอาเจะห์ ดารุสซาลาม และทรงเป็นผู้นำหญิงชาวมุสลิมคนแรกในอุษาคเนย์ที่ใช้ทินนามว่า "สุลต่านนะห์" (sultanah) ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนกันยายนนี้จบ

    คงต้องพูดใหม่ว่า ปัจจุบันมันเชยจริงๆ มันเอ๊าท์ ซะไม่มี!!!

    "ออสุต" หรือ นางออสุต พะโค เป็นชื่อที่ฟังดูเหมือนแรงงานต่างชาติและไม่ค่อยคุ้นหูนัก เธอเป็นลูกสาวมอญที่เกิดและโตระหว่างปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองต่อสมเด็จพระนารายณ์

    แม้ชื่อจะไม่คุ้นหู หากชื่อบุคคลที่เธอมีปฏิสัมพันธ์ล้วนเป็นผู้มากบารมีที่มีอิทธิพลกับบ้านเมือง

    เธอสัมพันธ์กับใคร ใครที่เธอสัมพันธ์ด้วยมีความสำคัญอย่างไรกับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา

    เธอมีสามีลับ 3 คน ทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติและมีอิทธิพลทางการค้ากับสยามในขณะนั้น

    สามีลำดับที่ 1 คือ นายยาน ฟาน เมียร์ ไวค์ - พ่อค้าชาวดัตช์ที่มาค้าขายในสยาม สามีลำดับที่ 2 คือ นายวันวลิต หรือ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีค้าขายของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หรือก็คือวันวลิต ผู้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของประเทศสยาม ไว้เป็นเล่มหนังสือชื่อ "จดหมายเหตุวันวลิต" สามีลำดับที่ 3 คือ นายฟาน เมาเดน หัวหน้าสถานีค้าขายของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา

    นอกจากนี้ เธอยังมีสายสัมพันธ์กับบุคคลระดับสูงในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา

    ผู้เขียน (สุภัตรา) เปิดเรื่องของนางออสุตด้วยบันทึกของวันวลิต-สามีลับลำดับที่ 2 ของเธอ วันวลิตนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับ วันวลิต บันทึกนั้นกล่าวว่า

    </SPAN><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 align=center border=0><TBODY><TR><TD>Quote:</TD></TR><TR><TD class=quote>
    [​IMG]
    (ซ้าย) ภาพจิตรกรรมบนฝาไม้วัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม แสดงการแต่งกายของสาวมอญ (ภาพจากจิตรกรรมฝาผนังหนึ่งในสยาม) (ขวา) ภาพจากหนังสือที่เขียนโดย Isaak Tirion ฉบับพิมพ์ ค.ศ.1740 (พ.ศ.2283) แสดงภาพผู้แทนของ VOC นั่งอยู่บนบัลลังก์ที่มีสัญลักษณ์ของ VOC โดยมีชาวพื้นเมืองเข้ามามอบเครื่องบรรณาการต่างๆ พร้อมทั้งแสดงแผนที่อุษาคเนย์ให้แก่ผู้แทน (เอื้อเฟื้อภาพโดยธวัชชัย ตั้งศิริวาณิช)
    ---------------------------​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "4 มกราคม ค.ศ.1637 (พ.ศ.2180) วันที่ 4 มกราคม ออสุต พะโค (อดีตภรรยาลับของเมียร์ไวค์) แจ้งกับข้าพเจ้าว่าช่วงเช้าของวันนั้น

    พระธิดาองค์หนึ่งของพระราชินีได้เรียกนางไปที่พระราชวังและบอกกับนางว่า พระราชินีเคยมีพระประสงค์ที่จะส่งนางกำนัลคนหนึ่งในตำหนักของพระนางมาให้ข้าพเจ้า เพราะพระนางแน่ใจว่าข้าพเจ้าได้รับความเดือดร้อนและรู้สึกเจ็บช้ำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของพระเจ้าแผ่นดิน

    แต่พระราชินีทรงระงับความตั้งใจที่จะส่งเด็กสาวนั้นมาให้ข้าพเจ้าเสียแล้วเพราะความกลัว (ว่าบรรดานางสนมคนอื่นๆ ที่มีความริษยาจะนำเรื่องนี้ไปเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดิน)

    ...ออสุต พะโค บอกกับข้าพเจ้าอีกว่า พระราชินีทรงเสียพระทัยและขัดเคืองพระราชหฤทัยอย่างยิ่งต่อสิ่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำ เพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่เคยประณามชาวต่างชาติอย่างรุนแรงเยี่ยงนี้มาก่อน ด้วยเหตุนี้พระนางจึงต้องการวิงวอนไม่ให้ข้าพเจ้าคิดไปในทางร้ายและเขียนรายงานไปถึงกษัตริย์และผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า..."

    ฟังดูอาจคิดว่าออสุตอาศัยบารมีของสามีลับที่กุมอำนาจทางการค้า หากความจริงเป็นสมประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และเธอเองก็มีความสามารถเฉพาะตัวอยู่ไม่น้อย

    เพราะเธอรู้จักบุคคลระดับผู้นำในแวดวงต่างๆ และรู้จักวิธีการที่จะติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นที่แตกต่างกันไป นี่คือจุดแข็งของออสุตที่สุภัตรากล่าวไว้ว่า

    "ก่อนหน้าที่จะมีชื่อของนางออสุตปรากฏในบันทึกของ VOC นั้น สถานะความสัมพันธ์ของบริษัท VOC กับทางราชสำนักอยุธยาค่อนข้างตกต่ำ ซึ่ง นายโยส เซาเต็น หัวหน้าสถานีคนเก่าบอกกับ นายฟาน ฟลีต ที่ถูกส่งมารักษาการแทนช่วงที่นายเซาเต็นต้องเดินทางไปปัตตะเวีย ว่า

    ...สาเหตุของความตกต่ำมาจากการที่ลูกจ้างของบริษัท VOC ไม่รู้เรื่อง "ธรรมเนียมปฏิบัติในการติดต่อกับทางราชสำนัก" เขาแนะนำ นายฟาน ฟลีต ว่า อย่ามุ่งแต่การทำให้พระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับบรรดาข้าทาสบริวารของพระองค์ด้วย

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 align=center border=0><TBODY><TR><TD>Quote:</TD></TR><TR><TD class=quote>
    [​IMG]
    (ภาพบน) ภาพเขียนสีน้ำมันกองเรือของบริษัท VOC ที่น่าจะประเมินมูลค่าการค้าและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น (ภาพจาก VOC : A Bibliography of Publications) (ภาพล่าง) ภาพ "กรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ" โดย ฟาน เดอ อา เป็นภาพมุมกว้างกรุงศรีอยุธยาที่มองจากหมู่บ้านวิลันดา ชุมชนและสถานีการค้าของฮอลันดา (ภาพจากกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง โดยธวัชชัย ตั้งศิริวาณิช)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    และนี่อาจเป็นจุดเริ่มแรกที่นำนางออสุตมาสู่ราชสำนัก และสร้างเครือข่ายผลประโยชน์ที่ทำให้นางกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการค้าในอยุธยายาวนานกว่า 2 ศตวรรษถัดมา

    นางออสุตเริ่มมีบทบาทในการเป็น "ตัวเชื่อม" ของบริษัท VOC กับทางราชสำนักสยามประมาณปี ค.ศ.1636 (พ.ศ.2179) เมื่อบริษัท VOC ต้องการกำจัดออกหลวงศรียศ (Okluang Siyot) เจ้ากรมท่าให้พ้นทางเพราะไม่เป็นมิตรกับบริษัทเท่าที่ควร

    เดือนมิถุนายน ค.ศ.1636(พ.ศ.2179) นายฟาน ฟลีต ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสถานีการค้าของ VOC แล้ว พยายามที่จะเข้าถึงกรมวัง คือ ออกญาอุไทยธรรม (Okya Uthaitham) เขาได้ใช้เครือข่ายของ "ฝ่ายใน" โดยให้นางออสุตติดต่อผ่านนางกำนัลของมเหสีพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งพระมเหสีองค์นี้มีพี่ชายเป็นเสนาบดีคลัง (Phrakhlang)

    และแน่นอนที่นางออสุตไม่ได้ไปด้วยมือเปล่า แต่ไปพร้อมกับของกำนัลอันมีค่าในระดับที่ผู้รับทั้งหลายพอใจ พระมเหสีจึงได้ให้นางกำนัลจัดการนำพ่อค้าให้ได้พบปะเจรจากับพระคลัง

    บันทึก VOC ฉบับหนึ่งของเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1637 (พ.ศ.2180) ระบุว่า นายฟาน ฟลีต ส่งนางออสุตพร้อมกับของกำนัลที่เหมาะสม ไปขอยืมเงินตราสยามจากภรรยาของออกญาตะนาว อดีตผู้ควบคุมการผลิตเหรียญกษาปณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน

    บันทึกของ นายฟาน คุนส์ ผู้แทนพิเศษของ VOC เดือนมกราคม ค.ศ.1651 (พ.ศ.2194) ระบุว่า นางออสุตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภรรยาคนโปรดของออกญาสมบัติธิบาล ผู้ที่มีอิทธิพลสูงในราชสำนักจนกล่าวกันว่าสิ่งที่ออกญาสมบัติธิบาลพูดออกมานั้นเสมือนเป็นพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์สยาม

    ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างนางออสุตและภรรยาของออกญาสมบัติธิบาลนี้ ทำให้บริษัท VOC ได้รับใบอนุญาตจากราชสำนักในการส่งออกข้าวและสินค้าอื่นๆ จำนวนมากโดยไม่ต้องนำของขวัญต่างๆ ไปเข้าหาเสนาบดีคลังที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการออกใบอนุญาต

    นอกจากใบอนุญาตให้ค้าขายแบบบนโต๊ะแล้ว นางออสุตยังสามารถดำเนินการค้าแบบใต้โต๊ะ ผ่านเครือข่ายของเธอในราชสำนักอีกด้วย หลักฐานที่ปรากฏคือบันทึกของ นายฟาน ฟลีต ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1639 (พ.ศ. 2182) ที่รายงานกับทางบริษัทว่า นางออสุตสัญญาว่าจะลักลอบนำแร่ดีบุกซึ่งเป็นสินค้าผูกขาดของหลวงมาขายให้บริษัท VOC...

    ความสามารถของออสุตไม่ได้เป็นเพียงคนกลางที่คอยประสานประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น เมื่อต้องต่อสู้กับวันวลิตผู้แทนการค้าจากฮอลันดา เพื่อแย่งสิทธิที่จะเลี้ยงดูลูกสาวของเธอทำให้สังคมประจักษ์ว่าเธอมีฝีมือไม่ธรรมดา

    "เอกสารของ VOC ยังเผยให้เห็นถึงอิทธิพลระดับไม่ธรรมดาของนางออสุตในกรณีพิพาทแย่งลูกสาวกับ นายฟาน ฟลีต อดีตสามี เพราะทั้งๆ ที่ทางบริษัท VOC พยายามช่วย นายฟาน ฟลีต เต็มที่ในการร้องขอให้ทางสยามส่งบุตรสาวทั้ง 3 คนไปให้เขา แต่นางออสุตไม่ยอมและใช้อิทธิพลเครือข่ายของเธอในราชสำนักช่วยยื้อแย่งบุตรสาวทั้ง 3 คนให้อยู่ในสยามตราบจนนางสิ้นชีวิตในปี ค.ศ.1658 (พ.ศ. 2201)"

    เรื่องราวของออสุตเป็นเรื่องที่เกิดมากว่า 300 ปีแล้ว ทำให้รู้ว่าคนกลางผู้ประสานผลประโยชน์ที่ เราเรียกว่า "ล็อบบี้ยิสต์" มีมาตั้งแต่ปีมะโว้ รู้ว่า "กิ๊ก" มีมานานเหมือนกันแต่เขาเรียกว่า สามี/ภรรยาลับ รู้ว่าอำนาจและผลประโยชน์เป็นใครมีอำนาจในมือมากก็มีผลประโยชน์ที่ต้องดูแลรักษามากตาม ฯลฯ

    ที่ยกมานี้ก็แค่บางช่วงบางตอน รบกวนท่านช่วยอ่านในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมจนจบเถิดค่ะ

    แล้วช่วยกันยืนยันว่าปัจจุบัน หรือ อดีตกันแน่ที่เชย

    โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com
    วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11504
    [​IMG]
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

    เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --><TABLE class="infobox vcard" style="FONT-SIZE: 95%; WIDTH: 24em; TEXT-ALIGN: left"><TBODY><TR><TH class=title style="FONT-SIZE: 120%; COLOR: white; BACKGROUND-COLOR: slategray; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)</TH></TR><TR><TH style="BACKGROUND-COLOR: gainsboro; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>จุฬาราชมนตรี</TH></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TH>ชื่ออื่น</TH><TD>เชค-อะหมัด หรือ ชัยคอะหมัด<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP></TD></TR><TR><TH>เชื้อชาติ</TH><TD>เปอร์เซีย</TD></TR><TR><TH>สมัย</TH><TD>สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม-สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง</TD></TR><TR><TH class=title style="FONT-SIZE: 110%; BACKGROUND-COLOR: gainsboro; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>ข้อมูลส่วนตัว</TH></TR><TR><TH>เกิด</TH><TD>พ.ศ. 2086, ตำบลปาอิเนะชาฮาร เมืองกุม ประเทศอิหร่าน</TD></TR><TR><TH>เสียชีวิต</TH><TD>พ.ศ. 2174, พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย</TD></TR><TR><TH>คู่สมรส</TH><TD>ท่านเชย</TD></TR><TR><TH>ข้อมูลอื่น</TH><TD>จุฬาราชมนตรีคนแรกในสมัยอยุธยา</TD></TR><TR><TH class=title style="FONT-SIZE: 110%; BACKGROUND-COLOR: gainsboro; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>หมวดหมู่:จุฬาราชมนตรี</TH></TR></TBODY></TABLE>เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปาอีเนะชาฮาร ในเมืองกุม ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนที่ราบต่ำทางตอนเหนือของเตหะราน ในประเทศอิหร่าน<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>
    <TABLE class=toc id=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>การเดินทางสู่กรุงศรีอยุธยา

    ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยานั้น เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วงๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก จากนั้น เดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล จากนั้นลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา
    ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเฉกอะหมัดและบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน
    ปฐมจุฬาราชมนตรี

    ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ท่านเฉกอะหมัดได้ช่วยปรับปรุงราชการกรมท่า จนได้ผลดี จึงโปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐีเจ้ากรมท่าขวาและ จุฬาราชมนตรี นับได้ว่าท่านเป็นปฐมจุฬาราชมนตรีและเป็นผู้นำพาศาสนาอิสลามนิกายชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ มาสู่ประเทศไทย ต่อมาท่านเฉกอะหมัดพร้อมด้วยมิตรสหาย ร่วมใจกันปราบปรามชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่ง ที่ก่อการจลาจล และจะยึดพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าพระยาเฉกอะหมัด รัตนาธิบดี สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ
    [แก้] สายสกุล

    ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุลบุนนาค เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา อาทิ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

    เข้าสู่แผ่นดินพระเจ้าปราสาททองได้ไม่ถึงสามปี ท่านเฉกอะหมัดก็เสียชีวิต คงเป็นลูกชายคนโตของท่านเฉกอะหมัดที่ดำรงตำแหน่งต่อจากพ่อต่อมา
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วงศ์เฉกอะหมัด

    วงศ์เฉกอะหมัด

    [​IMG] เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) นับเป็นต้นสายสกุลหรือวงศ์เฉกอะหมัด ชั้นที่ ๑ ท่านมีบุตร ๒ คน ธิดา ๑ คน ได้แก่ ท่านชื่น ท่านชม และท่านชี ท่านชื่นได้เป็นพระยาบวรเชษฐภักดีมาแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม และได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง

    วงศ์เฉกอะหมัดชั้นที่ ๒ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) มีบุตรสองคนกับภรรยาหลวง (ไม่ปรากฎชื่อ) ที่หนึ่งเป็นหญิง ชื่อเลื่อน ซึ่งได้ถวายเป็นพระสนมของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระองค์เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าแสงจันทร์ ที่สองเป็นชายชื่อสมบุญ ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจมื่นจงภักดีในกรมวัง ในแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ ขึ้นเป็นพระยาบำเรอภักดี ปลัดทูลฉลองกรมวัง

    ท่านมหะหมัด ซาอิด น้องชายเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งได้เดินทางกลับเปอร์เซีย และได้มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ อากามหะหมัด ผู้ได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยและอยู่กับเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ผู้เป็นพี่ เจ้า พระยาอภัยราชาได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์ขอพระราชทานท่านชี น้องสาวให้เป็นภรรยาท่านอากามหะหมัด ท่านทั้งสองจึงได้ตั้งรกราก อยู่กรุงศรีอยุธยา สร้างบ้านเรือนหลายหลังอยู่ใกล้วัดอำแม ชาวพระนครเรียกหมู่บ้านนั้นว่า บ้านแขกกะฎีใหญ่ ต่อมาสมเด็จ พระนารายณ์โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านอากามหะหมัดเป็นพระยาศรีนวรัตน์

    เมื่อเจ้าพระยาอภัยราชา(ชื่น)ถึงอสัญกรรม พระยาบำเรอภักดี (สมบุญ) ผู้บุตรมีอายุได้ ๔๐ ปี สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าพระยาชำนาญภักดี ที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ

    วงศ์เฉกอะหมัดชั้นที่ ๓ เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) มีบุตร ๒ คน ชื่อใจ และชื่อจิตร บิดาได้ถวายตัวให้เป็นมหาดเล็กทั้งสองคน ส่วนพระยาศรีนวรัตน์และท่านชี มีบุตรชาย ๒ คน ชื่อ ยี และชื่อแก้ว บิดาถวายตัวให้เป็นมหาดเล็กทั้งคู่ รับราชการมีความสามารถมาก พระอนุรักษ์ราชา(ยี) เป็นผู้กล้าหาญและมีฝีมือเข้มแข็งได้เคยไปร่วมรบกับพระเพทราชา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และร่วมไปในกองทัพของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)ด้วย สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาอนุรักษ์ราชา(ยี) ให้เป็นเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรีรักษาเมืองหน้าศึก และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงศรียศ(แก้ว) เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา

    ในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา บุตรเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) สองคน คือ ท่านใจและท่านจิตรนั้น ท่านใจไม่ได้ทำราชการ แต่ท่านจิตรน้องชายซึ่งชอบพอรักใคร่กับขุนหลวงสรศักดิ์ มหาอุปราชเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านจิตรเป็นพระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมตำรวจหน้าในพระราชวังบวรฯ แต่ท่านถึงแก่อนิจกรรมก่อนที่ขุนหลวงสรศักดิ์จะขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

    ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงโปรดให้ข้าหลวงเดิมหลายคนที่มีความดีความชอบเป็นเจ้าพระยา พระยา พระ ฯลฯ ตามฐานานุศักดิ์ความชอบมากและน้อย ทั้งพระราชทานทรัพย์สินตามลำดับ ในจำนวนขุนนางที่ทรงตั้งขึ้นนั้น มีท่านใจซึ่งเป็นบุตรคนใหญ่ของเจ้าพระยาชำนาญศักดิ์(สมบุญ)ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นพระยาเพ็ชรพิไชย จางวางกรมล้อมพระราชวังหลวง และให้ว่ากรมอาสาจามและอาสาญี่ปุ่นด้วย

    ส่วนบุตรสองคนของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) เจ้าเมืองตะนาวศรี ชื่อ ท่านสี และท่านสน นั้น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดา ศักดิ์ให้ท่านสีผู้พี่เป็นพระยาอมเรนทร์ จางวางกรมอาสาจาม ให้ท่านสนผู้น้องเป็นหลวงศรียศในกรมท่าขวา ต่อมาเมื่อพระยาศรีนวรัตน์ (อากามหะหมัด) บิดาเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ ชราภาพ และถึงอนิจกรรมลง เมื่ออายุ ๘๕ ปี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงศรียศ(สน) ขึ้นเป็นพระยา-จุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา ทั้งพระยาอมเรนทร์ (สี) และพระยาจุฬาราชมนตรี(สน) สองคนพี่น้องนี้หาได้มีบุตรธิดาสืบเชื้อสายไม่

    วงศ์เฉกอะหมัดชั้นที่ ๔ ส่วนพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ได้แต่งงานกับ ท่านแฉ่ง ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศ ที่สมุหพระกลาโหม มีบุตรธิดาด้วยกัน ๓ คน คือ ธิดาชื่อ แก้ว บุตรชื่อ เชน และเสน มีบุตรกับภรรยาอื่นอีก ๑ คน ชื่อ หนู

    พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีความตอนหนึ่งว่า "ณ เดือนแปดแรมสิบค่ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก จนสะอึกสามชั้น ต่อกลางคืนตีสิบเอ็ดจึงคลาย ครั้นเดือนสิบสองขึ้น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสมโพธน์พระพุทธบาท เป็นกระบวนรับเสด็จพัก ณ พระตำหนักท่าเจ้าสนุก แล้วทรงพระวอขึ้นไปประทับร้อนบ่อโศก เพลาเย็นเสด็จไปถึงท้ายพิกุล ครั้นสมโพธน์พระพุทธบาทครบเจ็ดวันแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับยังกรุงเทพพระนครศรีอยุธยา"

    ในการเสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธบาทครั้งนั้น ข้าทูลละอองธุลีพระบาททุกคนคงยินดีที่พระเจ้าอยู่หัวหายประชวร ต่างคนก็ต่างอยากตามเสด็จ แต่พระยาเพ็ชร์พิไชย(ใจ) ไม่มีชื่ออยู่ในจำนวนที่โปรดให้ตามเสด็จในกระบวน พระยาเพ็ชร์พิไชยจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานตามเสด็จด้วย พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าพระยาเพ็ชร์พิไชยเป็นแขก ไม่ควรไปนมัสการพระพุทธบาท แต่ถ้าทิ้งเพศแขกมาเข้ารีดไทย จึงจะให้ตามเสด็จ พระยาเพ็ชร์พิไชยกราบบังคมทูลว่า เต็มใจที่จะเป็นไทยตามพระบรมราชประสงค์ จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยาเพ็ชร์พิไชยตามเสด็จไปด้วย ครั้นเสด็จถึงพระพุทธบาทแล้ว พระยาเพ็ชร์พิไชยได้รับศีล ปฏิญาณ เป็นพุทธศาสนิกชนต่อสมเด็จพระสังฆราช หน้าที่นั่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน

    นี่เป็นต้นเหตุให้วงศ์เฉกอะหมัดละศาสนาเดิมมาถือพุทธศาสนา และเมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย และให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย

    ท่านแก้ว ธิดาเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ได้แต่งงานกับเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งมีบ้านอยู่ที่คลองแกลบ ราษฎรเลยเรียกท่านว่า เจ้าพระยากลาโหม คลองแกลบ เจ้าพระยามหาเสนากับท่านผู้หญิงแก้วมีธิดาคนเดียวชื่อ แจ่ม และมีบุตรชายกับภรรยาอื่นสองคน ชื่อ ปลี และคุ้ม

    ท่านเชน บุตรคนที่สองของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ได้เป็นพระยาวิชิตณรงค์ เจ้ากรมเขนทองซ้ายและว่ากรมอาสาจามด้วย
    ส่วนท่านเสน บุตรคนที่สามของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชยเข้ารับราชการในเจ้าฟ้านราธิเบศร์ (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์) กรมขุนเสนาพิทักษ์มหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านเสน เป็นพระยาเสน่หาภูธร จางวางมหาดเล็กในวังหน้า ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ถูกลงพระราชอาญาจนสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจเป็นพระมหาอุปราชแทน และได้ทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์พระยาเสน่หาภูธร (เสน) ขึ้นเป็นพระยาจ่าแสนยากร จางวางกรมมหาดไทยในกรมพระราชวังบวรฯ

    วงศ์เฉกอะหมัดชั้นที่ ๕ พระยาจ่าแสนยากร (เสน) ได้ท่านพวงแก้ว ธิดาเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (ขุนทอง) มาเป็นภรรยา มีบุตรธิดา ๔ คน เป็นหญิง ๓ คน ชื่อ เป้า แป้น และ ทองดี คนที่สี่เป็นชายชื่อ บุญมา และมีบุตรกับท่านบุญศรี ภรรยาซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ก่อนประทานคนหนึ่งเป็นชายชื่อ บุนนาค

    กรมขุนพรพินิจมหาอุปราชโปรดเกล้าฯ ให้นาย บุญมา เป็นหลวงมหาใจภักดิ์ นายเวรมหาดเล็กวังหน้า และให้ นายบุนนาค เป็นนายฉลองไนยนาถ มหาดเล็กหุ้มแพรวังหน้า
    เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๓๐๑ กรมขุนพรพินิจได้ครองราชย์ต่อมาทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาจ่าแสนยากร (เสน) ข้าหลวงเดิมขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหมอัครมหาเสนาบดีปักษ์ใต้ เพราะเหตุที่ท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ริมวัดสามวิหาร ราษฎรจึงเรียกท่านว่า "เจ้าคุณกลาโหมวัดสามวิหาร"

    ต่อมา พระเจ้าอุทุมพรทรงสละราชสมบัติ ถวายเจ้าฟ้าเอกทัต กรมขุนอนุรักษ์มนตรีพระเชษฐาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒ หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จออกทรงผนวช ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "ขุนหลวงหาวัด" ส่วนเจ้าฟ้าเอกทัต กรมขุนอนุรักษ์มนตรี เมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามสมเด็จพระมหากษัตริย์บวรสุจริต ทศพิศธรรม ธเรศเชฐโลกา นายกอุดมบรมนารถบพิตร แต่ราษฎรนิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า "พระเจ้าเอกทัต"

    ในรัชกาลนี้ พระยาวิชิตณรงค์(เชน) ซึ่งเป็นบุตรคนที่สองของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย(ใจ) และเป็นพี่ชายของเจ้าพระยามหาเสนา(เสน) ได้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี โปรดเกล้าฯ ให้ว่าทั้งกรมท่ากลางและกรมอาสาจาม พระราชทานเกียรติยศเสมอเจ้าพระยาพระคลัง แต่ไม่ได้ตั้งเป็นเจ้าพระยา ส่วนท่านหนูบุตรคนที่สี่ของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย(ใจ) ได้เป็นจมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็กได้สมรสกับละม่อม ธิดาเจ้าพระยาจักรีโรงฆ้อง ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลบางกะจะ ใกล้วัดพนัญเชิง มีบุตรธิดาด้วยกันหลายคน


    ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ผู้สืบเชื้อสายวงศ์เฉกอะหมัดต่างก็พลัดพรากกระจัดกระจายจากกันไปเช่นเดียวกับวงศ์อื่นๆ บ้างก็เสียชีวิต บ้างก็ถูกจับเป็นเชลยตกไปอยู่ในเมืองพม่า บ้างก็พยายามหนีซ่อนเร้นให้พ้นจากเงื้อมมือข้าศึกทุกวิถีทาง






    <CENTER>[​IMG] เชื้อสายตระกูลสกุลบุนนาค

    </CENTER>
    เชื้อสายวงศ์เฉกอะหมัดในชั้นที่ ๖ นี้ แบ่งออกเป็นหลายสาย แต่ละสายล้วนถือกำเนิดมาจากเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย(ใจ) ทั้งสิ้น บทความต่อไปจะกล่าวเฉพาะเชื้อสายที่สืบมาถึงท่านบุนนาค ซึ่งเป็นต้นตระกูลของสกุลบุนนาคกับพี่น้องบางคนเท่านั้น

    หลวงมหาใจภักดิ์ (บุญมา) บุตรคนที่สี่ของเจ้าพระยามหาเสนา(เสน) ซึ่งเป็นบุตรคนที่สามของ เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย(ใจ)นั้น พลัดกับครอบครัวตอนกรุงแตก หนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ ส่วนพี่สาวทั้งสามของหลวงมหาใจภักดิ์ คือ เป้า แป้น และทองดี ตลอดทั้งภรรยาและบุตรของหลวงมหาใจภักดิ์เองถูกกวาดต้อนไปอยู่เมืองพม่า ครั้นถึงรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี หลวงมหาใจภักดิ์(บุญมา) เข้ามาถวายตัวเข้ารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพลเมืองเพชรบูรณ์ พระพลเมืองเพชรบูรณ์ได้โอกาสจึงกราบทูลขอถวายตัวนายก้อนแก้วพี่ชาย ซึ่งเป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี(เชน) ผู้เป็นลุง ให้เข้ารับราชการ จึงโปรดเกล้าฯตั้งนายก้อนแก้วเป็นหลวงศรีนวรัตน์

    ส่วนนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) บุตรคนที่ห้าของเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ได้แต่งงานกับท่านลิ้ม ธิดาพระยาธิเบศร์บดีจางวางมหาดเล็ก มีธิดาคนหนึ่งชื่อ ตานี เมื่อกรุงเก่าจวนจะเสียแก่พม่า นายฉลองไนยนารถได้พาภรรยา ธิดา และนายก้อนแก้ว ซึ่งเป็นบุตรของลุง ออกไปอยู่กับหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (คือ นายทองด้วง ซึ่งต่อมาปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี)

    ในสมัยกรุงธนบุรี เพื่อนและญาติหลายคนของนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) ได้ถวายตัวรับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมทั้งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ทองด้วง) ซึ่งพระมหามนตรี (บุญมา) ผู้น้องชวนมารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย ส่วนนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) ไม่ยอมเข้ารับราชการ ทั้งยังขอมิให้ญาติและเพื่อนฝูงกล่าวชื่อตนให้เข้าพระกรรณพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นอันขาด เนื่องจากมีเรื่องหมางใจกันมาแต่เยาว์

    มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ มีเด็กชายสามคน คนหนึ่งชื่อ สิน บุตรจีนแต้ไหฮอง ซึ่งเจ้าพระยาจักรีในเวลานั้นขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม คนหนึ่งชื่อ ทองด้วง บุตรหลวงพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรากรมมหาดไทย คนหนึ่งชื่อ บุนนาค บุตรพระยาจ่าแสนยากร (เสน) สามคนนี้เป็นเพื่อนเล่นรักใคร่กันมาก เมื่ออุปสมบทเป็นสามเณรก็อยู่วัดสามวิหารด้วยกัน ครั้งหนึ่งสามเณรบุนนาค ได้รับนิมนต์ให้เทศน์กัณฑ์มัทรีในศาลาการเปรียญ ขณะที่กำลังเทศน์อยู่ สามเณรสินแอบเข้าไปถอดบันไดออกจากธรรมาสน์ พอสามเณร บุนนาค เทศน์จบห่อคัมภีร์แล้วไม่ทันดูว่าธรรมาสน์มีบันไดหรือไม่ เมื่อก้าวลงมาจึงพลัดตกลง สามเณรบุนนาคได้รับทั้งความเจ็บความอาย

    เมื่อสึกจากสามเณรแล้ว เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ส่วนนายทองด้วงกับนายบุนนาคนั้นบิดานำขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังบวร แม้รับราชการแยกแห่งกัน ทั้งสามคนนี้ก็ยังพบปะเที่ยวเล่นด้วยกันเสมอ วันหนึ่งในขณะที่ทั้งสามคนนอนคุยกันที่หน้าบ้านเจ้าพระยาจักรี นายสินเคลิ้มหลับไป นายสินเวลานั้นยังไว้ผมเปีย นายบุนนาคเห็นได้ทีก็ค่อยๆ เอาผมเปียนายสินผูกเข้ากับฟากเรือนที่นอนกันอยู่โดยมิให้นายสินรู้สึกตัว ผูกแน่นดีแล้วก็ทำเสียงดังเอะอะขึ้น นายสินตื่นขึ้นด้วยความตกใจ รีบลุกขึ้นกระชากผมเปียตนเองโดยแรง คนที่ได้เห็นก็พากันหัวเราะ เป็นเหตุให้ทั้งสองคนมีความหมางเมินกันตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อนายสินได้ขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี และนายทองด้วงเป็นเจ้าพระยาจักรี นายบุนนาคจึงไม่กล้าถวายตัวรับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรีเนื่องด้วยเรื่องผิดใจกันดังกล่าว

    เมื่อหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (ทองด้วง) เข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระราชวรินทร์ และขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรีต่อมา นายบุญมาน้องชาย โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ ส่วนนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) ยังคงอยู่กับเจ้าพระยาจักรีตลอดมา โดยเป็นทนายคอยถือพานทองล่วมหมากตามหลังเจ้าพระยาจักรีไม่ว่าจะไปไหน แต่ต่อมานายฉลองไนยนารถเกรงพระเจ้ากรุงธนบุรี จะทอดพระเนตรเห็น และจะทราบเรื่องของตน จึงไม่ตามเจ้าพระยาจักรีเข้าไปในพระราชวังอีก เพียงแต่รับใช้กิจการอยู่ภายนอกเท่านั้น

    ต่อมานายฉลองไนยนารถ ชวนท่านลิ้มผู้เป็นภรรยาไปขุดทรัพย์ที่บิดาฝังไว้ ณ กรุงเก่า เมื่อตอนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าเพื่อไม่ให้ตกเป็นของข้าศึก หลังจากขุดสมบัติได้แล้วจึงเดินทางกลับ ล่องเรือเข้ามาทางแม่น้ำอ้อมเมืองนนทบุรี มาถึงปากคลองบางใหญ่ถูกผู้ร้ายปล้นสมบัติ ภรรยาและข้าทาสอีกสองคนถูกฆ่าตาย นายฉลองไนยนารถกับทาสอีกหนึ่งคนต้องกระโดดน้ำหนีไปโดยไม่ได้ทรัพย์สินเลย

    เมื่อท่านผู้หญิงนาก ภรรยาของเจ้าพระยาจักรีทราบถึงเหตุร้ายดังกล่าว เกิดความสงสารนายฉลองไนยนารถ จึงยกท่านนวล น้องสาวให้เป็นภรรยาโดยเป็นผู้ประกอบพิธีสมรสให้ ดังนั้นนายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในฐานะเป็นน้องเขยของเจ้าพระยาจักรีกับท่านผู้หญิงนากด้วย นอกเหนือจากเป็นเพื่อนและเป็นผู้คอยรับใช้ช่วยเหลือแล้ว

    ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งเคยทำความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นต้น ทั้งยังทรงตั้งตำแหน่งเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยหลายกรม กอง สำหรับผู้สืบสายเฉกอะหมัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครั้งนั้นมี ๕ ท่าน คือ

    ท่านแจ่ม ธิดาท่านผู้หญิงแก้วมหาเสนา กับเจ้าพระยากลาโหมคลองแกลบ ซึ่งเป็นพี่ต่างมารดาของเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) เป็นท้าววรจันทร์

    หลวงศรีนวรัตน์ (ก้อนแก้ว) บุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) เป็นพระยาจุฬาราชมนตรีแทนบิดา

    พระพลเมืองเพชรบูรณ์ (บุญมา) บุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) เป็นพระยาตะเกิง (ได้เป็นเจ้าพระยามหาเสนาในสมัยรัชกาลที่ ๒)

    นายฉลองไนยนารถ (บุนนาค) บุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) น้องต่างมารดาของท่านบุญมา ได้เป็นพระยาอุไทยธรรม (ตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม)

    ท่านน้อย บุตรจมื่นไวยวรนารถ (หนู) หลานเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) เป็นหลวงนายสิทธิ์มหาดเล็ก

    ผู้สืบเชื้อสายในวงศ์เฉกอะหมัดในชั้นที่หกนี้มี ๘ ท่าน อยู่ในกรุงสยาม ๕ ท่านดังกล่าวแล้ว ส่วนอีก ๓ ท่านได้แก่ ท่านเป้า ท่านแป้น และท่านทองดี ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา(เสน) พี่สาวต่างมารดาของท่านบุนนาคนั้นเป็นเชลยตกไปอยู่เมืองพม่า และไม่มีใครทราบเรื่องราวของท่านทั้งสามเลย

    วงศ์เฉกอะหมัดอันรวมเป็นวงศ์เดียวกันมา ๕ ชั่วคนนั้น ตั้งแต่ชั้นที่หกนี้ไปแยกออกไป ๕ สาย และเมื่อครั้งตั้งนามสกุลคนไทยในแผ่นดินสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สายหนึ่งๆ ยังแยกออกเป็นหลายสกุล

    หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประวัติผู้สืบสายสกุลโดยตรงจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับท่านเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) ซึ่งมีบิดาใช้นามสกุลว่า "บุนนาค" และเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติ ผลงานรับใช้ประเทศชาติและราชบัลลังก์ ด้วยความจงรักภักดีตลอดมา





    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    ……………………………………………………

    [SIZE=+0]ที่มา : อุทัย ภาณุวงศ์. ประวัติการสืบเชื้อสายของวงศ์ เฉกอะหมัด คูมี เจ้าพระยาบวรราชนายก ชาวเปอร์เซีย. (หนังสือถ่ายสำเนา)
    [SIZE=+0]ที่มา : ชมรมสายสกุลบุนนาค (www.bunnag.in.th) [/SIZE][/SIZE]

    ท่านชื่นได้เป็นพระยาบวรเชษฐภักดีมาแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม และได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง

    [SIZE=+0]วงศ์เฉกอะหมัดชั้นที่ ๒ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) มีบุตรสองคนกับภรรยาหลวง (ไม่ปรากฎชื่อ) ที่หนึ่งเป็นหญิง ชื่อเลื่อน ซึ่งได้ถวายเป็นพระสนมของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระองค์เจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าแสงจันทร์ [/SIZE]

    [SIZE=+0]อาจจะหมายถึงพระสนมองค์นี้ในบทความเรื่อง ออสุต เพราะพระมเหสีของพระเจ้าปราสาททองที่เป็นพระภรรยาเจ้าล้วนเป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม


    ในหนังสือ เฉกอะหมัด ฉบับของพระยาโกมารกุลมนตรี หน้า 21 เขียนไว้ว่า

    ได้กล่าวมาแล้วว่า เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) มีบุตรธิดา รวม 3 คนคือ ท่านชื่น ท่านชม ท่านชี และว่าท่านชมเป็นไข้พิษตาย ท่านชื่นนั้นได้เป็นพระยาบวรเชฐภักดีมาแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม และเป็นคนโปรดของเจ้าพระยากลาโหม เมื่อคราวกบฏไม่ปรากฏว่าพวกวงศ์เฉกอะหมัดได้ทำอะไร แต่เข้าใจว่าพระยาบวรเชฐภักดี ซึ่งรู้ความลับลี้ของเจ้าพระยากลาโหมคงจะเป็นคนสำคัญในการนั้นคนหนึ่ง เพราะพอเจ้าพระยากลาโหมขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินก็โปรดเกล้าปลดเจ้าพระยาบวรราชนายกให้พ้นจากงานหนักแล้วเลื่อนพระยาบวรเชฐ (ชื่น) ซึ่งเวลานั้นมีอายุเพียง 30 ปี ขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ


    [/SIZE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...