ความรู้ึสึกในณานจริงๆนี่ เเท้จริงเป็นอย่างไรครับ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 5 กันยายน 2010.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ความมืดที่ปรากฏ ไม่ใช่ ส่วนบอกว่า ฌาณ หรือไม่ฌาณ

    ความมืด ที่ปรากฏ เป็นเพียง สิ่งที่เรียกว่า กลัวจะผิดทาง นั้นแหละที่
    เข้ามาขวางกั้น

    * * * * *

    เอ...อะไรกันหนอ

    ผมขอ ยกคำสอนของในหลวงมาใช้กับ คุณวิญญาณนิพพาน ท่าจะเหมาะ

    คำนี้มีอย่างนี้ " แม่นทฤษฏี มีวิญญาณ ประสานเซียน"

    คำนี้พระองค์ใช้เป็นหลักเกณฑ์อยู่ในส่วนของ การนำทฤษฏีเศรฐกิจพอเพียง
    เอามาใช้ให้เป็นรูปธรรม โดยใช้หลักการ 3 ข้อดังกล่าวเป็น คุณสมบัติของ
    บุคคลากร

    ผมเห็นว่าเหมาะกับคุณ วิญญาณนิพพาน เพราะ เข้าข้อที่หนึ่ง คือ "แม่นทฤษฏี"

    แต่ปัญหาตอนนี้คือ ขาด"วิญญาณ" (แหมตรงตามชื่อเลยนะ) ทำไมถึงปรักปรำว่า
    ขาดวิญญาณ ก็เพราะ คุณเอาจิตไปวางส่วน แม่นทฤษฏี แล้วไม่ยอมหลุดออกมา
    เสียที วิญญาณมันก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ แล้วตัว แม่นทฤษฏีนั้นแหละที่ปรากฏเป็น
    พื้นสีดำให้คุณแนบเข้าไป ไม่อาจหลุดออกมาได้

    แก้อย่างไร

    ก็แก้ที่ ยอมผิดเสียบ้าง ยอมทนเห็นว่า ทำผิดเสียบ้าง ให้ใจมันอิสระออก
    มา ใจที่อิสระออกมามันจะประยุกต์การเห็นผิดเป็น

    อย่าวางตัวมีส่วนได้ส่วนเสียกับการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ไม่ดีหลอก

    เคยได้ยินไหมว่า เมื่อรู้ว่าเห็นผิด ก็เท่ากับรู้ว่า เห็นถูก

    ถ้าคุณไม่วางใจยอมรับว่า คนเราพลาดกันได้ ผิดกันได้ มันก็จะผลิก
    มาเป็น คนเอาผิดมาเป็นครู ไม่ได้

    เมื่อผลิก เอาผิดมาเป็นครู ไม่ได้ มันก็ขาด วิญญาณ ในการหยั่งรู้

    เมื่อขาด วิญญาณในการหยั่งรู้ เอาผิดพลิกมาเป็นครูไม่ได้ ก็ ประสาน
    เซียนไม่ได้

    เซียนนี่ มีโป้ยเซียนนะ 8เซียน หรือ มรรคแปด หากมันปรากฏ แต่
    ขาดวิญญาณหยั่งรู้ด้วยตัวเอง เอาแต่กางทฤษฏีเข้าเปรียบเทียบ แล้ว
    จะประสานเซียน มรรค8 ให้สมังคีได้อย่างไรกัน

    พอมี วิญญาณ หยั่งรู้ได้นะ แหม ทีนี้ องค์ฌาณอันประกอบด้วย
    "วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา" มันมีในจิตเราหรือไม่อย่างไรนะ
    ไม่ต้องถามใคร ไม่ต้องเปิดตำราที่ไหน ดูมันในใจเราเองนั้นแหละ
    ตำราชั้นเยี่ยมมีอยู่ เนาะ

    "อ่านตำรามามากแล้ว ต่อไปนี้ให้อ่านจิตตัวเอง"

    คุณเจ้าของกระทู้ ลองสังเกตุดูดีๆนะ ตอนที่ไปแนบกับมืดๆ จริงๆแล้ว
    มันไม่ได้อยากอยู่ในนั้นหลอก

    มันจะมีจิตที่อยากจะออกมา อยากรู้ว่าเจออะไรอยู่ อยู่ตลอดเวลา

    บางท่านเรียกว่า "มันควานหา" บางท่านเรียกว่า "ควานไปหาแล้วเจอ
    สภาวะมันกลวงๆแล้วดับไป" เลยไม่รู้จะดูอะไรต่อ และไม่รู้ว่าเห็นอะไรอยู่
    เป็นพื้นเนียนๆอยู่ในอารมณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  2. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ญาณนี่มันเป็นอันนึง ญาณทัศนะนี่มันเป็นอาการของญาณอย่างนึงรึเปล่านะ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อันเดียวกัน................
     
  4. Snooty

    Snooty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +670
    ขอโทษเจ้าของกระทู้ก่อนค่ะ

    เป็นไปได้ไหมคะ ที่ลมหายใจเราดับก่อนถึง ฌาน 4 เพราะเราเป็นบ่อยมากเลยค่ะ

    บางครั้งก็อุเบกขา (ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างน่าเบื่อมากค่ะ มันเฉยๆ ไม่คิด นิ่งๆ ไร้อารมณ์)

    บางครั้งจิตก็ไม่เอกัตคตานะคะ ยังคิดโน่น คิดนี่อยู่บ้าง มันขัดๆ แย้งๆ กะองค์ฌานทั่วไป

    ลมหายใจนี่บางทีมันหายไปเร็วมากค่ะ ไม่เข้าใจ
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมไม่เเน่ใจครับคุณ djbkk ให้พี่ๆท่านอื่นเเนะนําดีกว่าครับ เเต่สําหรับผม ผมว่าตํารามาอย่างไหน ปริยัติธรรมมาเเบบไหนก็ควรเป็นไปตามขั้นตอนเเบบในปริยัติครับ คงไม่น่าจะนอกกรอบไปได้ครับ เจริญในธรรมครับ ขอบคุณพี่ เอกวีร์ ที่เเนะนําด้วยครับ อ่านเเล้วมีสติขึ้นมาเยอะเลยครับ อนุโมทนาครับ
     
  6. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    สำหรับผมนะครับ
    ขอเท้าความก่อน
    มีคราวหนึ่ง ผมภาวนาจนจิตไม่ยกคำภาวนาก็กำจัดความฟุ้งซ่านสัดส่านจนเหลือแต่อาการรู้อยู่แต่อย่างเดียว ไว้ได้ (ตามที่ผมเข้าใจนะ)
    ผมก็ถามขึ้นมาในจิตที่รู้อยู่นั้นละ (ต้องเข้าใจนะครับว่าเวลานั้นจิตมันถามตอบกันเองแบบใช้แต่เพียงความเข้าใจและรวดเร็วบางคราววเป็นแวบเดียวแล้วผมใส่สมมติให้ฟังทีหลังซึ่งมันอาจดูยืดยาวหรืออาจจะคลาดเคลื่อนตามความเข้าใจในสมมติของแต่ละท่าน)
    ว่าเหตุใดเป็นทุกข์ มันก็ตอบว่า ตัณหา (ซึ่งในตอนนั้นมันพรึ่บเดียว)
    ตั้งแต่นั้นมาผมก็เห็นตัณหาในทุกการกระทำ แม้แต่ลมหายใจ หากไม่มีตัณหาจริงๆมาเป็นแรงขับเคลื่อนที่พอมันจะไม่กิดการกระะทำนั้นได้ (ผมจึงมักกล่าวกับสหายด้วยกันเองว่า มีแต่ไม่รู้ ใช้ว่าจะไม่มี -ที่ไม่มี เพราะมีแต่ไม่รู้ต่างหาก มันจึงยังมี งงไหม ถ้างงข้ามไปอย่าเพิ่งสนในใจในคำนี้)
    หากเวลานั้นจิตจิตจ่ออยู่ในสิ่งใดจนตัณหาที่จะทำให้เกิดลมหายใจไม่พอที่จะทำให้เกิดการกระทำนี้ได้การกระทำนี้ก็จะไม่เกิด

    ส่วนเรื่องจิตไม่เอกัคคตาในฌานนั้น เมื่อจิตเอกัคคตาอยู่ในฌานไหนได้เท่าไรก็ได้กำลังจากฌานนั้นเท่านั้น หากติดข้องอยู่ในสิ่งใด เช่น วิตกวิจารณ์หรือปิติหรือสุขหรืออุเบกขา ก็คือติดอยู่ในฌานนั้น วางลงได้ก็ไปต่อ

    สำหรับผมนะครับ ถูกผิดขออภัย (แต่ส่วนตัวแล้วไม่มีผิดไม่มีถูก ถูกของใครผิดของใครต่างหากที่มี)

    อยากเกิดจึงเกิด
    ไม่อยากเกิดก็ไม่เกิด
    เกิดแล้วที่ไม่อยากเกิดมีน้อย
    แต่ที่มากเห็นมีแต่อยากไม่อยากเกิด
    ไม่เห็นอยาก ก็เกิด
    เห็นอยาก แต่อยากไม่ดับก็เกิด
    อยากดับก็ไม่เกิด

    งงไหม งงข้ามไป ใจถึงใจ ใจเข้าใจ ไม่ติดในภาษา ไม่ยึดในสมมุติ ก็วางสมมุติ จะสื่อใจก็ใช้สมมุติเป็นเครื่องมือ ติดในสมมุติ ก็ไม่ถึงใจ ก็ไม่เข้าใจ
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ต้องลองเทียบดูเองครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2010
  8. โทรจิต

    โทรจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2010
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +1,377
    หลวงปู่ได้พูดธรรมะในการเฝ้าดูจิตของตนเองว่า

    "ประโยชน์ของการดูจิตนั้นมีอยู่มากนัก เบื้องต้นดูจิตเพื่อให้เห็นความคิด การเห็นความคิดบางทีเผลอบ้าง หลงลืมบ้างไม่เป็นไร ฝึกบ่อย ๆ จนชำนาญก็เอาอยู่ เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วแขกจะไม่ค่อยมาเยือน เมื่อถึงที่สุดเมื่อแขกมายืนหน้าบ้าน เราก็รู้ แต่ไม่ต้อนรับแขกให้เข้ามาแล้ว"

    คำของหลวงปู่ในประโยชน์นี้ คำว่าแขกก็คือ อาคันตุกะซึ่งในทางธรรมถือว่ากิเลสเป็นแขก

    เป็นอาคันตุกะนั้นเองพระพุทธเจ้าสอนว่า
    "จิตใจเราสะอาดอยู่แล้ว เพียงแต่มีแขกอาคันตุกะเข้ามาเยือนเท่านั้น''
     
  9. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไม่รู้สินะ ของผมเป็นแบบนี้ วิิญญาณนิพพานลองๆเปรียบเทียบดูนะครับ ฌานคือการเพ่งวัตถุใดวัตถุหนึ่งจะข้างในก็ได้ข้างนอกก็ได้ แต่ผมเลือกเพ่งกสิณภายในกายหลับตานอนเหยียดยาวในท่าที่ผ่อนคลายสบายๆ หายใจเข้าสั่นออกยาวมีสติจดจอจนละลมละคำบริกรรม ก็จะมีอาการเรียกว่าสมาธิหมุนวูบวาบกำหนดจิตเพ่งไปที่ ท้องก็เห็นกระดูกก็เอาจิตมาจับกระดูก
    เพ่งจนพลังชีวิตไหลเข้ามากระตุ้นกายหยาบให้ทำงานอย่างมีชีวิตชีวา เพื่อเป็นการเตรียมให้จิตออกจากร่างได้อย่างราบรื่น
    จากนั้นกระดูกที่เพ่งอยู่ก็จะลางเลือนๆๆๆ สติก็จะดับวูบไปรูปที่เพ่งดับสลายหายไป กลับเป็นจิต
    ดันออกนูนออกมาอยู่นอกกายหยาบ เห็นรอบๆตัวมีแต่ความเป็นของทิพย์ไปหมดแล้ว เพียงแค่คิดจิตก็ไปแล้ว
    การไปการมาของจิตขณะจิตเดียว
    จิตหมุนไปตามอุโมงค์ที่ทอดยาวที่ปลายทางสว่างสุดหูสุดตาจิตทิ้งดิ้งพุ่งไปตามแสงที่สว่าง ขณะจิตเดียวเมื่อจิตถึงฐานอันแน่นแฟ้น สมาธิหยุดหมุนเป็นตัวปกติ อยู่ในระนาบเดียวกับ
    เทวโลก เห็นอาทิสมานกาย ที่เป็นร่างยาบก็มี ระเอียด
    จนถึงปาณีต ก็มี พูดจาสนทนากันด้วยจิต ไม่ต้องอ้าปาก
    พูดคุยสนทนากับแบบอาทิสมานกายที่ยังอยู่ในขันธ์ห้า

    การไปเราเอาตัวจิตไป ไปทั้งตัว แต่ขอบอกกายหยาบเอาไปด้วยไม่ได้ กายหยาบยังคงมีอยู่ในอีกมิติเรียกว่ามิติที่สาม เลือดและเนื้อหนังจะเข้าไปในมิติที่สี่ไม่ได้

    วิิญญาณนิพพานขอให้ท่านสังเกตดู ผมเองไม่คิดที่จะพิมพ์
    คำว่าฌานให้มากความ ให้สนใจที่ตัวกระทำ
    มันจะเป็นเองโดยอัตโนมัตวิธี หากไปมุ่งดูโดยอาการของลำดับการเข้าฌานอย่างละเอียดละออก็จะไปยึดตัวอุปทาน
    ธรรมก็ไม่เกิด จะมีแต่นึกคิดเอาเองเป็นอย่างนั้นเอง

    อริยครูแท้ๆท่านจึงให้ทำไปเรื่อยๆ ถึงแล้วเราจะเข้าใจเอง
    เมื่อยังทำไม่ถึงก็จะติดตัวสงสัยอยู่ร่ำไปทำให้ภานาเป็นไปได้ช้าค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวหน้ามิติต่างๆถูกซุกซ่อนอยู่ในจิตเรานี้แหละครับ สงสัยอะไรอยากรู้อะไรค้นที่จิต:cool:
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ในหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี
    ของสมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน
    มีคำว่า ญานทัศนะอยู่ ลองไปหาอ่านดูนะ...
     
  11. Snooty

    Snooty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +670
    อืมเหมือนจะเข้าใจประโยคสีแดง แต่ก็ยังไม่เข้าใจ

    แต่สีส้มชัดค่ะ อยากสงบ ไม่สงบ ปล่อยอยาก จึงสงบ อยากไม่เกิด แต่ไม่เห็นอยาก จึงเกิด

    ครั้งนึงเมื่อจิตหมดความฟุ้งซ่าน อยู่ดีๆ เกิดคำถามขึ้นว่า "ตัวเราอยู่ไหน" เราดูกายแล้วตอบว่า กายไม่ใช่เรา อันนี้สมมุติใช่มั้ยคะ

    คำถาม แล้วจิตที่เป็นปรมัติคือตัวไหน คือตัวที่ไม่มี "คำพูด" ใช่มั้ยคะ สภาวะธรรมที่เป็นปรมัติเป็นอย่างไรคะ แสงสว่าง สงบ ฟุ้ง อันนี้สมมุติล้วนๆ รูปกาย ลมหายใจ ก็สมมุติ แล้วจะดูปรมัติที่ไหนได้บ้างคะ

    เพราะตราบใดยังมีสมมุติ วิปัสนาก็ไม่เกิดใช่มั้ย???
     
  12. Snooty

    Snooty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +670
    ขออนุโมทนา คุณรู้รู้ไป คุณวิญญานนิพพาน และคุนจินนี่ ค่ะ คิดว่าฌานไหนก็ช่างมันดีกว่าเพราะยิ่งรู้มาก ยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งยึดติด
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ญาณทัศนะ การเข้าไปรู้จริงเห็นจริง เห็นอย่างประเสริฐอย่างแจ่มแจ้ง

    ญาณทัศนะ เป็นที่ใช้แพร่หลายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และมีความหมายหลายระดับตามเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ เช่นหมายถึงการเห็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าเห็น การแทงตลอดธรรมอย่างที่พระอริยเจ้าแทงตลอด การบรรลุธรรมที่ทำให้เป็นพระอริยะ การบรรลุความเป็นพระอริยะ ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง

    ญาณทัศนะ ยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนาญาณ ทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้

    ญาณทัศนะ - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2010
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ญาณ แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง

    ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่องๆ กล่าวได้ว่า ญาณ คือ ความรู้บริสุทธิ์ที่ผุดโพลงสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ บางครั้งญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยความคิดเหตุผล แต่ญาณนั้นเป็นอิสระจากความคิดเหตุผล คือไม่ต้องขึ้นต่อความคิดเหตุผล แต่ออกไปสัมพันธ์กับตัวสภาวะที่เป็นอยู่จริง

    มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ3 (3หมวด) และ ญาณ16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้

    ญาณ - วิกิพีเดีย
     
  15. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    ญาณคือความรู้ ฌานคือการเพ่ง(กําหนด)
    ผู้ได้ญาณย่อมไม่สงสัยในภูมิฌาน
    หากยังสงสัยในฌาน ความรู้นั้นเป็นเพียงปริยัติ

    ถูกหรือป่าวครับ
     
  16. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    พอดีไปเจออันนี้มาครับ ฟังกันได้เลยครับเกี่ยวกับเรื่องณานต่างๆ อนุโมทนาครับ

    รูปฌาน ๔ - Buddhism Audio

    <center> รูปฌาน ๔<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    Artist: หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ
    <fieldset class="fieldset"><legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG]
    </fieldset> <fieldset class="fieldset"><legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody> <tr> <td width="20"><input id="play_56897" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56897.value;" value="attachment.php?attachmentid=56897" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak1.wma (1.22 MB, 1523 views)</td></tr> <tr> <td width="20"><input id="play_56898" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56898.value;" value="attachment.php?attachmentid=56898" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak2.wma (1.22 MB, 857 views)</td></tr> <tr> <td width="20"><input id="play_56899" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56899.value;" value="attachment.php?attachmentid=56899" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak3.wma (1.23 MB, 713 views)</td></tr> <tr> <td width="20"><input id="play_56900" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56900.value;" value="attachment.php?attachmentid=56900" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak4.wma (1.22 MB, 674 views)</td></tr> <tr> <td width="20"><input id="play_56901" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56901.value;" value="attachment.php?attachmentid=56901" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak5.wma (1.23 MB, 652 views)</td></tr> <tr> <td width="20"><input id="play_56902" onclick="document.all.music.url=document.all.play_56902.value;" value="attachment.php?attachmentid=56902" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>Pokipak6.wma (1.22 MB, 660 views)</td></tr></tbody></table></fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->คลิปเสียง รูปฌาน 4

    โลกุตตระ (ตอนที่ ๑)
    โลกุตตระ (ตอนที่ ๒)
    โลกุตตระ (ตอนที่ ๓)
    โลกุตตระ (ตอนที่ ๔)


    โลกุตตระ (ตอนที่ ๕)
    โลกุตตระ (ตอนที่ ๖)

    ------------
    วิธีการฝึกนั่งสมาธิ (ฌาน) หลวงปู่สรวง


    [​IMG]


    <style>.fullpost{display:inline;}</style>
    รูปฌาณ ๔

    ในการปฏิบัติธรรมตามแบบสมถวิปัสสนานั้น ขอให้ศิษย์ทุก ๆ คนพึงทำความเห็นและทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน คือ ก่อนที่ปฎิบัติกรรมฐาน จำเป็นจะต้องรักษาศีลห้าให้ได้ เมื่อมีศีลห้าแล้วก็เริ่มปฏิบัติได้ ในการปฏิบัติเบื้องต้นจะต้องฝึกหัดทำฌาน (ชาน) ซึ่งเป็นการทำสมาธิแบบหนึ่ง และมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป

    ฌาน นั้นมี ๘ องค์ แบ่งเป็น รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ในที่นี้เราทำแค่รูปฌาน ๔ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว รูปฌาน ๔ มี ๔ องค์ ได้แก่




    ฌานที่ ๑. วิตก วิจาร
    ฌานที่ ๒. ปิติ
    ฌานที่ ๓. สุข
    ฌานที่ ๔. เอกัคคตา อุเบกขา




    ทำไมเราจึงต้องทำฌาน ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าการที่เรามุ่งหวังไปพระนิพพานนั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค มีองค์ ๘ ได้แก่...



    มรรคองค์ที่ ๑ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    มรรคองค์ที่ ๒ คือ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
    มรรคองค์ที่ ๓ คือ สัมมาวาจา เจรจาชอบ​
    มรรคองค์ที่ ๔ คือ สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
    มรรคองค์ที่ ๕ คือ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ​
    มรรคองค์ที่ ๖ คือ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
    มรรคองค์ที่ ๗ คือ สัมมาสติ ระลึกชอบ
    มรรคองค์ที่ ๘ คือ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ​

    มรรค องค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิหรือความเห็นชอบนั้นจะต้องเห็นชอบในอริยสัจ ๔ อันมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ส่วนมรรคองค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่าให้มีรูปฌาน ๔ ถ้าเราไม่รู้จักรูปฌาน ๔ เราก็ทำสัมมาสมาธิไม่ครบองค์และก็ทำวิปัสสนาไม่ได้ผล ฌานจึงมีความจำเป็นมาก การทำฌานเป็นการทำสมาธิในระดับลึก ซึ่งสมาธิมีอยู่ ๓ ระดับ คือสมาธิขั้นต้นเรียกว่าขณิกสมาธิ สมาธิขั้นกลางเรียกว่าอุปจารสมาธิ และสมาธิขั้นสูงเรียกว่าอัปปนาสมาธิ สมาธิทั้ง ๓ ขั้นนี้ ยากที่เราจะรู้จักได้ เพราะแต่ละขั้นของสมาธินับตั้งแต่ขณิกสมาธิไปถึงอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ นั้น จิตจะละเอียดมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงอัปปนาสมาธิ จิตก็จะยิ่งละเอียดเป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อมาทำเป็นฌานแล้วจึงกำหนดเป็นขั้นตอน ๔ ขั้น มีฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ และฌาน ๔

    ความจริงฌานนั้นมีอยู่ ๕ ตามแบบบัญญัติตามแผน ๕ เรียก ปัญจฌาน แต่ที่นิยมในตำราในพระสูตรกล่าวไว้ว่ามี ๕ ในพระอภิธรรมที่บัญญัติไว้ในธรรมวิภาค รูปฌาน ๔ เรียก ฌาน ๔ ไม่ได้เรียกฌาน ๕ คือ รูปฌานที่ ๑ นั้นแยกวิตกเป็นฌานหนึ่ง วิจารเป็นฌานหนึ่ง “วิตกคือความนึกคิดนั่นเอง วิจารคือการหยุดความนึกคิดได้” เมื่อเราหยุดความนึกคิดได้ ฌาน ๑ ก็เกิดแก่จิตเรา

    ในการนั่งกรรมฐาน ก่อนที่เราจะนั่งต้องกราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามครั้ง กราบด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของมีจริง เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูง ไม่มีสิ่งใดที่จะเคารพยิ่งกว่าพระรัตนตรัย แล้วกราบบิดามารดาอีกครั้งหนึ่ง กราบครูบาอาจารย์ผู้ที่สั่งสอนธรรมเราอีกครั้งหนึ่ง รวมแล้ว ๕ ครั้ง เรียกว่า ปัญจเคารพ เมื่อเราออกจากนั่งสมาธิก็กราบอีก ๕ ครั้ง เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เรามีศรัทธาและมีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ บิดามารดาของเราก็เป็นพระอรหันต์ของลูก พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้นเป็นความจริงเราจึงจำเป็นที่จะต้องกราบไหว้บูชา เป็นการระลึกถึงพระคุณของท่านครูบาอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน การที่เรามีความรู้ในปัจจุบันนี้ได้ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งสิ้น แม้จะทางโลกก็ตาม ยิ่งทางธรรมด้วยแล้ว ยิ่งสำคัญมาก เพราะการที่ครูบาอาจารย์ไม่รู้หรือรู้ผิดๆ แล้วมาสอนเราผู้เป็นศิษย์ เราก็ต้องรู้ผิดตามไปด้วย ต้องหลงผิดตามไปด้วย เมื่อครูบาอาจารย์ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง จะไปสอนศิษย์ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไร นี่ให้ทำความเห็นอย่างนี้ให้ถูกต้อง ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ด้วย เหมือนกับตัวอาจารย์นี้ ไม่เคยคิดว่าให้พวกศิษย์หรือใครๆ กราบไหว้อาจารย์นักหนา เพราะในความคิดความนึกในใจของอาจารย์ ไม่มีสิ่งเหล่านี้เพราะไม่ได้ยึดถือโลกธรรม ๘ อันมี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์ก็เช่นเดียวกัน อาจารย์ก็ไม่เดือดร้อนอะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นโลกธรรม ๘ ซึ่งมีฝ่ายที่ดี ๔ และฝ่ายไม่ดี ๔ ฝ่าย ในการสั่งสอนของอาจารย์ ก็เพื่อเป็นแบบแผนให้ศิษย์มีปัญญา ถ้าศิษย์ไม่เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูบาอาจารย์แล้วจะไปเคารพอะไร เมื่อมีศรัทธาในการเคารพกราบไหว้บูชาอันเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวที รู้คุณแล้วก็จะช่วยให้จิตใจของเราผ่องใสเป็นสิริมงคล ก่อนที่เราจะปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

    การนั่งก็เช่นเดียวกัน เวลานั่งกรรมฐานถ้าเป็นฝ่ายอุบาสิกาจะนั่งพับเพียบก็ได้ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ ฝ่ายอุบาสกหรือผู้ชายก็นิยมนั่งขัดสมาธิ คือนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางทับมือซ้ายบนตักของเรา และตั้งตัวให้ตรงอย่าให้ตัวงอหน้าตรงอย่าก้ม ถ้าหลังงอแล้วนั่งได้ไม่ทน มันจะปวดเอวปวดหลัง ทำให้เรานั่งนานเป็นชั่วโมงหรือ ๔๐,๕๐ นาทีไม่ได้ ฉะนั้นกายให้นั่งตัวตรง เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มบริกรรมภาวนา คือใช้ เกศาโลมา นขา ทันตา ตโจ เรียงกันไปเรียกว่าเป็นอนุโลม เมื่อครบแล้วก็ท่องถอยหลังว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เรียกว่าปฏิโลม ระหว่างที่ภาวนาอยู่นั้นหากมีความคิดใดๆขึ้นมาที่จิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามก็ให้พยายามมีสติรู้ว่ากำลังคิดเรื่องนั้นๆ แล้วละความคิดนั้นเสีย หันมาภาวนา เกศา โลมา...ใหม่ โดยมากจิตเรานั้นชอบนึกชอบคิดเสมอ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงมีอุบายให้ภาวนา เพื่อให้จิตไปยึดกรรมฐาน ๕ (เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ)นอกจากกรรมฐาน ๕ แล้วยังมีกรรมฐานอื่นๆ อีกทั้งหมด ตั้ง ๔๐ อย่าง แต่จะไม่สอนเพราะถือว่ากรรมฐาน ๕ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ว่าเป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่าตามบัญญัติเรียกว่า เป็นโกฏฐาส คือเป็นสิ่งของที่หยาบมีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น สามารถเห็นด้วยตาเนื้อได้

    เมื่อว่าไปๆ แล้วจิตก็ยึดกรรมฐานได้ การที่จิตยึดกรรมฐานได้ก็ด้วยไม่หลง ถ้าหลงอย่าไปเที่ยวค้นหา เช่นว่า เกศา โลมา แล้ว มันก็ลืมเสียไม่รู้ อะไรจำไม่ได้ อย่าเที่ยวนึก ถ้านึกแล้วเดี๋ยวสังขารขันธ์หรือการปรุงแต่งของจิตของเรา มันจะเอาตัวอื่นมาใส่ให้ ซึ่งจะทำให้จิตคิดไปถึงเรื่องอื่น ฉะนั้นอย่าให้นึกขึ้น ให้ตั้งต้นว่า เกศา โลมา ใหม่ไม่นึกอะไร ถ้ามันนึกคิดอะไรก็ละเสีย เพราะธรรมชาติของจิตมันชอบนึกคิดอยู่นิ่งไม่ได้ เมื่อเราภาวนาไปจนจิตตั้งมั่นไว้ได้ดีแล้วฌาน ๑ ก็จะเกิดขึ้น ไม่มีความนึกคิดอื่นมาปะปน เมื่อจิตยึดกรรมฐานได้มั่นคงแล้ว ก็จะเกิดปีติขึ้นมาโดยมีความรู้สึกต่างๆ เช่น รู้สึกว่าขนลุกขนพองหรือซาบซ่านที่ผิวกาย ขนลุกซู่ๆ ซ่าๆ อะไรอย่างนี้ บางทีก็รู้สึกตัวพองออกไป หรือตัวยาวขึ้น บางทีก็รู้สึกว่าตัวเตี้ยลง แล้วมาตัวเล็กตัวเบา บางทีก็มีการกระตุกที่มือ อาการเหล่านี้แสดงว่า ฌาน ๒ เริ่มเกิดขึ้น

    ขณะที่จิตเข้าสู่ ฌาน ๒ อาจจะมีอาการกระตุกเกิดขึ้นก็อย่ากักอย่ากดไว้ คืออย่าเกร็งข้อมือไว้ปล่อยให้มันเกิดขึ้น ถึงตอนนี้กายอาจจะโยกคลอน หรือสั่นอย่างแรงดังสนั่นหวั่นไหว ก็อย่าไปตกใจ นั่นแหละเป็นปีติของฌาน ๒ ชื่อของปีติอันนี้ชื่อว่า "อุพเพงคาปีติ" ส่วนที่รู้สึกซาบซ่านตามผิวกาย เรียกว่า ผรณาปีติ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามทำให้มีอุพเพงคาปีติจึงจะสมบูรณ์ เพราะเหตุว่าฌาน ๒ นี้ อุพเพงคาปีติ นี้เป็นฤทธิ์เป็นกำลัง


    ที่เราต้องทำฌานก็เนื่องจากว่าเมื่อได้ฌาน ๔ แล้วมันก็สู้กับทุกขเวทนาได้ คือความรู้สึกเจ็บปวดต่างๆ หรือง่วงเหงาหาวนอนจะหายไป แต่ถ้าไม่มีฌานแล้วมันสู้ไม่ได้ นอกจากนี้เมื่อปฏิบัติสูงแล้วการเหาะเหินเดินอากาศด้วยกายภายในกายของเรา หรือเรียกว่า กายทิพย์ ก็อาศัยฌานนี้แหละเหาะเหินเดินอากาศได้ การรู้การเห็นต่างๆ การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รสโผฏฐัพพะกระทบกายต่างๆ ก็รู้ด้วยฌานทั้งสิ้น หูทิพย์ ตาทิพย์ หยั่งรู้ใจคน มีอิทธิฤทธิ์ ระลึกชาติได้ แล้วก็มีฤทธิ์ทางใจที่เรียกว่า ‘มโนมยิทธิ’ ส่วนการทำกิเลสให้หมดไปจากจิต โดยการฟอกจิตใจให้สะอาด ก็อาศัยฌานนี้แหละเป็นพื้นฐาน จึงจำเป็นที่จะต้องทำฌาน ถ้าขาดฌานเสียมรรคองค์ที่ ๘ ก็ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นใครจะไปพระนิพพานกับมรรค ๗, ๖ หรือ ๕ องค์ หรือมรรคองค์เดียวไม่ได้ทั้งสิ้น มรรคต้องครบทั้ง ๘ องค์ จึงจะไปพระนิพพานได้

    ส่วนการเข้าฌานที่ ๓ นั้น จะเข้าได้ต่อเมื่อฌาน ๒ เกิดขึ้นแล้ว คือเมื่อมีอุพเพงคาปีติขึ้นโครมๆ ดีแล้ว หรือกายสั่นท่าต่างๆ หรือโยกหน้าโยกหลังแล้ว ซึ่งอาการของปีติเหล่านี้จะต้องมีสติเข้ากำกับอย่าให้ล้มหงายไป เมื่อมีสติอยู่รักษาจิตมันก็มีสัมปชัญญะสำหรับคุมกายไว้เอง เพราะสัมปชัญญะคู่สติ สตินี้เป็นสิ่งสำคัญคอยคุมจิต สัมปชัญญะคอยคุมกาย ธรรม ๒ ประการนี้เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก คือส่งให้เราไปถึงพระนิพพานได้ทีเดียว เมื่อเราเข้าได้ฌาน ๒ ดีแล้ว เราก็กระตุกกายขึ้นไปให้ลำตัวตั้งตรง และให้คิดว่าฌาน ๓ อย่านึกถึงฌาน ๒ อีก ถ้านึกถึง จิตจะถอยลงมาตัวก็จะสั่นเพราะปีติ ดังนั้นเมื่อไปถึงฌาน ๓ แล้ว จิตของเราก็จะเข้าไปสู่ความสงบ บางครั้งก็พบกับความสุข นั่นคือรู้ว่าสุขกาย สุขใจ ฌานที่ ๓ จึงได้ชื่อว่า ฌานสุข

    เมื่อเราไปอยู่ในฌาน ๓ พอสมควรแล้ว เราก็มีสติกำหนดที่จิตว่า ๔ กระตุกตัวขึ้นไปอีกให้กายตั้งตรง อย่าลดตัวลงมาให้อยู่นิ่งเฉย แล้วก็ผ่อนลมหายใจให้อ่อนลง ภาวนากรรมฐานโดยท่องเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไปเรื่อยๆ จิตก็จะแนบขึ้นๆ แนบเข้าๆ เมื่อจิตสงบมากขึ้นแล้วบางคนก็พบว่า เท้าจะเริ่มชามือจะเริ่มชาขึ้นมา คือชาทั้งปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า แม้ที่ก้นของเราก็เริ่มชาขึ้นมา (ไม่ใช่เหน็บชา) ริมฝีปากก็ชา หากฌาน ๔ จับดีจะชาเข้าไปถึงลิ้นแม้ข้อมือ ตลอดถึงลำแขนและหัวไหล่ก็ชา ตัวจะเกร็ง เสียงที่มากระทบหูได้ยินแต่ก็วางเฉย แม้แต่ฟ้าผ่าลงมาดังเปรี้ยงก็ไม่สะดุ้งเลย เพราะจิตเป็นเอกัคคตา-อุเบกขา คือวางเฉย

    ตรงนี้ที่ฝ่ายที่ปฏิบัติทางวิปัสสนา เขาตำหนิติเตียนว่าทำทางสมถะคือทำฌานนั้นไปพระนิพพานไม่ได้เพราะว่าไปติดฌาน เสียนั่น การที่กล่าวเช่นนี้นั้นเป็นความหลงหรือเป็นโมหะของผู้กล่าว เพราะผู้กล่าวไม่รู้ถึงวิธีของการทำฌาน นอกจากนี้ยังไม่รู้ว่าเมื่อทำฌานแล้วจะไม่ให้ติดฌานได้อย่างไร โดยมากส่วนใหญ่ที่เห็นพวกปฏิบัติทางวิปัสสนานั้น เมื่อนั่งสมาธิแล้วถึงเวลาออกก็ลืมตาออกมาเฉยๆ ซึ่งถ้าขณะปฏิบัติอยู่ในสมาธิระดับลึก เช่น อุปจารสมาธิ หรือฌาน ๒, ๓, ๔ เวลาออกถ้าลืมตาเฉยๆ สมาธิก็จะค้างอยู่ ทางที่ถูกแล้วจะต้องถอยสมาธิออกมาเป็นขั้นๆเช่น จากฌาน ๔ ลงมา ๓, ๒, ๑ แล้วสลัดกายพร้อมกับสติที่คิดในใจคิดว่าออก ฌานก็จะไม่ค้าง พระพุทธองค์สอนไว้ดีแล้วสมบูรณ์ทุกอย่าง ทรงให้เข้าฌานออกฌานให้ชำนิชำนาญเป็นวสี

    การเข้าฌานนั้นเราเข้าไปตั้งแต่ฌาน ๑ ขึ้นฌาน ๒ จากฌาน ๒ ขึ้นฌาน ๓ จากฌาน ๓ ขึ้นฌาน ๔ เรียกว่า ‘เข้าฌาน’ เวลาออกก็จะต้องรู้จักวิธีออกฌานด้วย การออกฌานนั้นให้กำหนดที่จิตว่าถอย ๓ โดยถอยจากฌาน ๔ ลงมาฌาน ๓ คือ ลดตัวลงมาหน่อยฌานก็จะถอยแล้ว เมื่อจิตคิดถอย ฌานมันก็จะลอยลงมา อุเบกขาจะค่อยหมดไป มาอยู่ที่ฌาน ๓ ซึ่งเป็นฌานสุข แล้วก็ถอยจากฌาน ๓ มาฌาน ๒ พอถอยมาถึงฌาน ๒ อุพเพงคาปิติ ก็ขึ้นโครมๆ กายโยกกายสั่นอีก ตรงนี้พวกที่ได้ฌานใหม่ๆ ติดมาก ที่มันติดเพราะมันสนุกชวนให้เพลินมาก รู้สึกมีกำลังวังชาด้วย แล้วก็รู้สึกกายมันเบาอยากกระโดดโลดเต้นไปด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าจะกระโดดโลดเต้นก็จะออกอึกทึกไป เอาเพียงให้มันสั่น กายโยกกายสั่น กายคลอน บางทีหมุนติ้ว บางทีก็เอาแขนสองแขนตีปีกดังเหมือนไก่ก็มี บางทีก็ตบมือสองมือเลย มีลักษณะต่างๆ ปีติทั้งหมดมี ๕ ชนิดแต่ละชนิดมี ๘, ๙ อย่าง อาการของปีติทั้งหมดมีถึง ๓๘-๓๙ อย่าง เมื่อออกจากฌาน ๒ แล้วก็ให้ถอยมาฌาน ๑ แล้วออกจากฌาน ๑ โดยการสลัดหัวพร้อมกับคิดว่า “ออก” จากนั้นก็ลืมตาขึ้นเป็นการออกจากฌาน

    การเข้าฌานตามขั้นเหมือนกับเราขึ้นบันไดเรือนขั้น ๑ ขั้น ๒ ขั้น ๓ ขั้น ๔ เวลาออกฌานก็เหมือนกับถอยหลังเดินลงมาจากขั้น ๔ มาขั้น ๓, ๒ และ ๑ และก็ลงถึงพื้นเป็นแบบนี้ ถ้าใครอวดดีไม่ลงตามขั้นฌาน คือไม่ถอยลงมาจะไปติดฌาน ๔ มันถอยไม่ออก จิตยังติดอยู่ในสมาธิระดับลึก เที่ยวเดินซึมอยู่นั่นแหละ เป็นคนไม่พูด แม้บางครั้งเขาถามอะไรก็ไม่ได้ยิน บางทีพูดอะไรคำหนึ่ง แล้วก็ไม่พูดต่อ มันหยุดเสียเพราะฌานยังค้างอยู่

    ผู้ได้ฌานแล้วตั้งแต่ ฌาน ๒, ๓, ๔ อาจมีฤทธิ์มีอำนาจ วาจาสิทธิ์ได้ เพราะวาจามีสัจจะ เราจะว่าใครให้ฉิบหายเข้า ให้ป่นปี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าว่าไปแล้วอาจเป็นจริงๆ ขึ้นมา เพราะตอนที่เรามีฌานอยู่ทุกวันนั้นจิตเราเป็นพรหม แม้กายเรายังเป็นมนุษย์อยู่ก็จริง แต่จิตเป็นพรหมจึงมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ได้ อย่าได้พูดปรักปรำใคร อย่าได้กล่าวตำหนิใครในทางที่เสีย เขาอาจเสียจริงๆ ได้ เช่น สมมติว่าเห็นคนขึ้นต้นไม้ เราพูดเชิงเล่นว่า ‘เออ...ระวังนะ..มันจะตกลงมา’ อย่าพูดเข้า ถ้าพูดมันจะตกลงมาจริงๆ นี่สำคัญมาก ฉะนั้นเราต้องระวังความคิดระวังวาจา การทำฌานมีอานิสงส์มากมาย เช่น นอนก็หลับสบายไม่ฝันเลอะเทอะ ตื่นขึ้นมาก็สบาย จิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมองหน้าตามีสง่าราศีอิ่มเอิบด้วยเลือดฝาด ศาสตราวุธไม่กินกาย ไฟก็ไม่ไหม้บ้าน แม้ยาพิษก็ทำอันตรายไม่ได้ เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาคุ้มครองรักษา เป็นผู้ที่มีโชคลาภ โรคภัยไม่ค่อยเบียดเบียน ถ้าใครเกิดตายลงขณะที่มีฌานก็จะไม่เกิดในอบายภูมิ (อันมี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน) แต่จะไปเกิดในพรหมโลก ซึ่งมีอยู่ ๒๐ ชั้น เป็นชั้นของรูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ชั้น แล้วแต่กำลังที่เรามีฌานอยู่ ถ้าอยู่ในฌานที่ ๔ เต็มที่ ต้องไปเกิดในพรหมโลก ในชั้นที่ไม่เกิน ๑๑ คือวิสัญญีภพมีอายุยืนถึง ๕๐๐ กัป (๑ กัปเท่ากับ ๖,๔๒๐ ล้านปี)

    ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์แสดงธรรมในเรื่องการปฏิบัติฌานที่ว่า ตาทิพย์ หูทิพย์ อาจารย์ได้รู้ได้พบ ได้เห็นมาแล้วทั้งสิ้น เป็นของมีจริงเป็นจริง จึงยืนยันให้ศิษย์ทุกๆ คนจงเชื่อมั่นในคำสั่งสอนที่ให้ไว้นี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราได้ฌานแล้ว เราก็จะรู้ทันทีว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของมีจริง ทำให้เราศรัทธาอันแรงกล้าขึ้นทีเดียว แล้วที่เมื่อก่อนเคยดูหมิ่นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีจริงอะไรเหล่านี้ เมื่อเราทำฌานได้เราจะรู้คุณค่าของพระธรรม ว่าพระธรรมเป็นของมีจริง เมื่อมีพระธรรมก็ต้องมีพระพุทธเจ้าจริง พระสงฆ์ก็อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตามจนหมาอาสวะ (กิเลสที่ละเอียด) ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า

    ผู้ปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีลในธรรมทำฌานให้ได้ เมื่อทำฌาน ๔ ได้แล้ว จึงจะเริ่มวิปัสสนา การขึ้นวิปัสสนาคือการขึ้นไปหาธรรมปัญญา ปัญญารู้จักละกิเลส ขอเตือนสติไว้อย่างหนึ่งว่าในขณะที่เรานั่งฌานจิตอย่าคิดอยากได้ หากมีตัณหาคือมีความอยากมันก็มีกิเลส เมื่อมีกิเลสมันก็ก้าวหน้าไปไม่ได้ เราต้องรู้จักทำใจของเราเฉยๆ อย่าไปคิดอยากได้นั่นอยากได้นี่ ถึงจะนานแสนนานที่นั่งอยู่ก็ต้องอดทน ขั้นต้นต้องมีความอดทน มันจะเจ็บปวดอะไรก็ตามอย่าคิดอย่าเกา เช่นสมมติมันคันขณะนั่งก็อย่าไปเกา ถึงแม้ยุงกัดหรืออะไรก็ตามก็ต้องมีความอดทน ถ้าจิตคิดให้มือไปเกา หรือเคลื่อนไหวกายอะไรเข้าแล้ว จิตมันจะถอยทันทีเพราะจิตต้องไปสั่งงานให้กายเคลื่อนไหว จิตก็เริ่มถอย ไม่ยึดกรรมฐานเสียแล้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อมีความมุ่งหมายต้องการที่จะไปพระนิพพาน หรือรู้จักพระนิพพาน เราต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้อย่างเคร่งครัด
    พระเครื่องรางต่างๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นอาศัยฌานนี้ทั้งสิ้นในการปลุกเสก ไม่ใช่อาศัยอื่น ตัวคาถาที่เขียนเป็นอักษรขอมไว้นั้น มันไม่ได้เป็นอะไรขึ้นมาหรอกมันตัวหนังสือ ถ้าขลังจริงที่ตัวหนังสือก็ไม่จำเป็นต้องเอามานั่งนั่งเสกนั่งปรกตามที่เขา ทำๆกัน แต่อาจารย์นี้ไม่สอนตามนั้น พระพุทธเจ้าห้ามไว้ การเล่นเครื่องรางของขลังเล่นไสยศาสตร์ต่างๆ ผิดศีล ผิดวินัยพระ เป็นอาบัติทีเดียวแหละ ผู้ที่มีความมุ่งหมายที่จะไปพระนิพพาน หรือพบพระนิพพาน จงเลิกสิ่งเหล่านั้นเสีย อย่าไปเล่น อย่าริเล่น เราตั้งใจให้มันรู้ให้มันเห็นแล้วก็ละกิเลส รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันเกิดขึ้นที่ตัวเราขณะที่เรานั่งฌานนั่นแหละทุกอย่าง ไม่ใช่ไปเพ่งหาจากข้างนอก มันเกิดขึ้นให้เราพบให้เราเห็นให้เรารู้ เมื่อเราได้ยินเสียงเราก็ทำการละมันเสีย มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นกับกายกับจิต ก็ให้รู้แล้วละมันเรื่อยไป จึงเรียกว่าทำวิปัสสนา ส่วนของวิปัสสนานั้นได้สอนไว้ ได้แสดงธรรมไว้ในเรื่องอิทธิบาท ๔ กับพละ ๕ ซึ่งต่อจากรูปฌาน ๔ นี้ไว้แล้ว

    ที่แสดงมานี่เราทุกคนจงปลูกศรัทธาให้มั่นคง มีความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ มีสัจจะคือความจริงใจในการที่จะกระทำที่จะปฏิบัติ อย่าเป็นคนเหลวไหลหละหลวม ผัดวันประกันพรุ่ง อย่าเป็นคนเกียจคร้านและรักษาศีลให้ดีให้เรียบร้อย คือขัดเกลากิเลสหยาบ ธรรมะคือสมาธิขัดเกลากิเลสอย่างกลาง เมื่อ เรารักษาศีลดีเราก็จะนั่งสมาธิได้เร็ว คือ ศีลวิสุทธิ จิตก็จะวิสุทธิไปด้วย จิตคือสมาธินั่นเอง เมื่อจิตเราวิสุทธิ ทิฏฐิก็วิสุทธิ ทิฏฐิก็คือปัญหานั่นเอง กล่าวโดยสรุป ศีล สมาธิ กับ ปัญญา เป็นองค์ของมรรค ๘ ซึ่งย่อลงมา ถ้าเราปฏิบัติตรงแล้วทุกอย่าง เช่น รักษาศีลไว้ให้มั่นแล้ว มีสมาธิฌานเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิดปัญญานำไปสู่การละกิเลส จึงขอเน้นว่าจงทำตามที่สั่งสอนนี้ขึ้นไปตามขั้นตอน ทำให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    ที่อาจารย์ปฏิบัติอยู่นี้รู้แน่ชัด ขอยืนยันไว้กับศิษย์ทุกคนว่าไม่มีคำสั่งสอนใดที่อาจารย์คิดขึ้นเอง อาจารย์ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ครบถ้วนทั้งสิ้น จึงสามารถสอนพวกเราได้ ถ้าไม่รู้จริงอาจารย์ไม่กล้าสอนพวกเรา เพราะนรกเป็นของมีจริง การสอนให้ศิษย์ทำผิด ครูบาอาจารย์เป็นผู้ลงนรก ศิษย์ไม่เท่าไหร่หรอก นี่เป็นหลักสำคัญ จะอวดดีอวดเก่งไม่ได้ในการที่ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก่อนที่จะสอนศิษย์ของพระองค์ พระองค์ก็ได้ตรัสรู้แล้วเป็นพระอรหันต์แล้ว และพระอรหันต์ต่างๆ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระกัสสปะเถระ ล้วนเป็นพระอรหันต์ระดับอัครสาวก มีอภิญญา ๖* ปฏิสัมภิทาญาณ ๔* ทั้งสิ้น การเขียนตำราใดๆ ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติเพื่อสั่งสอนผู้อื่นที่คิดว่าดี วิเศษยิ่งกว่าคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มีอยู่ในอภิธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ รู้ที่ใจไม่ใช่จากการพูด

    *อภิญญา ๖ เป็นความรู้ชั้นสูงอันเกิดจากการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ประกอบด้วย

    ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้
    ๒. ทิพโสต มีหูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ สามารถทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพจักขุ (จุตูปปาตญาณ) มีตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ คือทำให้อาสวะกิเลส (กิเลสละเอียด) หมดสิ้นไป


    ๕ อย่างแรก เป็นโลกียอภิญญา เสื่อมได้ยังไม่ถึงพระนิพพาน อย่างที่ ๖ คือ อาสวักขยญาณเป็นโลกุตตรอภิญญา ทำให้กิเลสหมดสิ้น บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้

    *ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือปัญญาแตกฉานมี ๔ อย่างด้วยกันคือ

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในทางอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในทางธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในทางนิรุกติหรือภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในทางปฏิภาณ


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    การ upload ธรรมะ ทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกินหรือตั้งใจละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเชื่อว่าพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เข้าถึงทุกชนชั้น ไม่แบ่งแยกหรือจำกัดให้เพียงบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่หากธรรมบรรยายเรื่องใด สงวนลิขสิทธิ์หรือเจ้าของไม่อนุญาต โปรดกรุณาแจ้งมายังwebmaster ^_^
     
  17. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    อืม...สำหรับผมนะ

    เป็นเอกคัตตา มีปิติ สุข อยู่ในภวังค์
    สำคัญตรงภวังค์นี่ ท่านว่า องค์แห่งภพ
    ผมฟังดูเข้าใจยาก สองคำนี้ ภวังค์ หรือ องค์แห่งภพ

    ถ้าว่า เรือนแห่งจิต นี่ผมรู้สึกสนิทใจกว่า

    สรุปคือ เป็นเอกคัตตา มีวิตก วิจารณ์ ปิติ สุข อยู่ในเรือนแห่งจิต
    นี่ปฐมฌาณ...

    จิตเราพักอยู่ในเรือนแห่งจิตนั้นนะครับ
    สภาพของอาการคือ รู้สึกว่าจิตอยู่ในเรือนแห่งจิต
    เป็นเอกคัตตา มีวิตก วิจารณ์ ปิติ สุข อยู่...
     
  18. สุคน

    สุคน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2009
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +898


    เราก็เป็นเหมือนกันค่ะ
    ลมหายใจดับเร็วมาก แต่ก็ไม่ได้เอกัตคตา คือยังคิดอยู่ แต่เบามาก คิดเบา
    ได้ยินเสียงทุกอย่างปกติ แต่ค่อยๆ เบา ตัวแข็งแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รับรู้อะไร
    รู้สึกว่าตัวหายไปความรู้สึกเหลือแค่ที่หัว

    เราก็สงสัยเหมือนกัน ว่าอันนี้มันยังไง ฌานไหน..
     
  19. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    ด้วยเคารพต่อพระรัตนตรัย
    อนุโมทนาครับ
    อืมเหมือนจะเข้าใจประโยคสีแดง แต่ก็ยังไม่เข้าใจ
    ว่ากันเรื่องเข้าใจไม่เข้าใจก่อนเลยแล้วกันนะครับ
    มันรู้แล้วเข้าใจแล้ว แต่มันถูกทับด้วยสมมุติปรุงแต่งสงสัยทีหลังหรือเปล่าเป็นไปได้ไหมครับ จิตเราทำงานรวดเร็วน้า ไม่เข้าใจจริงๆ หรือเข้าใจแล้วกลับมาไม่เข้าใจ ในเสี้ยววินาทีนั้นเอง

    เหมือนจะเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจ ถ้าเป็นอีกคำพูดหนึ่งละว่า เข้าใจแล้ว แต่ถูกความไม่เข้าใจ(นึกคิดปรุงแต่งลังเลสงสัย)ซ้อนทับไปอีกทีละ เป็นไปได้ไหมหนอ แต่เดิมจิตเราฉลาด แต่เรา เปิดประะตูรับอาคัตุกะผู้ไม่หวังดีเข้ามาโดยรู้ไม่ทัน
    รู้ทันเราจะไม่เปิดรับ คำพูดครูบาอาจารย์ ท่านกล่าวไว้ ปฏิบัติไปเราจะรู้ทันอาคันตุกะเหล่านั้น

    ครั้งนึงเมื่อจิตหมดความฟุ้งซ่าน อยู่ดีๆ เกิดคำถามขึ้นว่า "ตัวเราอยู่ไหน" เราดูกายแล้วตอบว่า กายไม่ใช่เรา อันนี้สมมุติใช่มั้ยคะ
    ในเสี้ยวเวลาจริงๆ
    ความรุ้สึกเป็นของจริง ภาษาเป็นสมมุติ รู้สึกจะเบากว่าปรุงแต่งที่เป็นภาษาแล้วในเสี้ยวเวลานั้นเห็นทันจะแยกสมมติออกได้ สมมติแล้วจะมีน้ำหนักกว่ารู้สึกสังเกตุไหมครับนิดเดียวในเวลานั้น ยิ่งเห็นบ่อยจะยิ่งเข้าใจครับ
    มันซ่อนมันซ้อนกันอยู่แค่นั้นเอง

    แยกสมมุติออกได้สมมุติก็จะเป็นเพียงสมมุติ
    หาความไร้สมมุติ ก็เฉียดกับสมมุติไปนิดเดียวเองไง

    คำถาม แล้วจิตที่เป็นปรมัติคือตัวไหน คือตัวที่ไม่มี "คำพูด" ใช่มั้ยคะ สภาวะธรรมที่เป็นปรมัติเป็นอย่างไรคะ แสงสว่าง สงบ ฟุ้ง อันนี้สมมุติล้วนๆ รูปกาย ลมหายใจ ก็สมมุติ แล้วจะดูปรมัติที่ไหนได้บ้างคะ

    ตอนที่รู้แล้ว สมมุติยังตามไม่ทันในช่วงเสี้ยวเวลานั้นนั่นละครับ เรามักจะปรุงสมมติต่างๆเข้ามาทับเอาไว้อย่างรวดเร็ว เสี้ยวเวลานั้นมันถูกซ้อนแล้วแค่นั้นเอง
    ว่างจากสมมติหรือปรมัตถ์ไม่ใช่ของยาก เกิดขึ้นประจำแต่เราจับไม่ทันเอง เรามักไปจับสมมุติที่ตามมาทีหลัง แล้วไปยึดสมมุติ ไปถือสมมติ จึงเห็นแต่สมมติ จึงมีแต่สมมุติ

    เพราะตราบใดยังมีสมมุติ วิปัสนาก็ไม่เกิดใช่มั้ย???
    นิดเดียวเอง ยังไม่เข้าใจเห็นบ่อยเข้า ก็เข้าใจ มาตั้งขนาดนี้แล้ว ลังเลสงสัย สมมุตินิวรณ์ทั้งหลายรู้เท่าทันอีกนิดเดียว รู้เท่าทัน

    สมมุติก็สมมุติไปสิ


    แต่เดิมก็เป็นปรมัตถ์ แต่ถูกสมมุติโถมทับ เลยจับสมมติ รู้เท่าทันสมมุติ หยุดปรุงสมมุติใยจะไม่ถึงปรมัตถ์ ใยไม่ถึงไร้สมมุติ รู้เท่านทันสมมุติ

    สำหรับผมครับ

    ขอโทษที่มาตอบช้าครับ คิดว่าไม่มีใครสนใจข้อความนั้นซะแล้ว
    มีผู้สนใจตีความผมอนุโมทนแล้วครับ

    เข้าใจไม่เข้าใจถือไว้ใย ในเมื่อเข้าใจ ไม่ถือไว้ แม้ความไม่เข้าใจ แม้ความลังเลสงสัย ในความเข้าใจ

    มีแต่ไม่รู้ ใช้ว่าจะไม่มี -ที่ไม่มี เพราะมีแต่ไม่รู้ต่างหาก มันจึงยังมี
    ตัณหามีแต่ไมรู้ ใช่ว่าจะไม่มีตัณหา มีตัณหาอยู่มันก็ยังเกิดได้ด้วยแรงตัณหานั้น ก็ยังไม่ถึงภาวะสิ้นตัณหา
    เพราะไม่รู้ว่ามีตัณหา แต่มีตัณหาอยู่ ก็มีการเกิดได้ด้วยแรงตัณหานั้น ก็ไม่ถึงซึ่งภาวะสิ้นตัณหา

    อนุโมทนาครับ เจริญในธรรม สาธุครับ
    รู้เท่าทัน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2010
  20. ละโศก

    ละโศก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +17
    ก็คือวางสมมติได้ ก็ถึงปรมัตถ์ได้

    ประมาณนั้นไหมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...