ความเข้าใจผิดๆ เรื่องจิต จิตไมใช่วิญญาณขันธ์ และวิญญาณขันธ์ก็ไม่ใช่จิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 กรกฎาคม 2009.

  1. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ก็ถูกนะ ผู้ใหญ่ชอบหลอกเด็กก็เยอะไปนะ เด็กโกธร ก็แสดงความโกธรออก
    มาตรง ๆ แต่เด็กมักถูกมองว่าเป็นโทสะจริตสะงั้น ..ทั้ง ๆ ผู้ใหญ่โกธรมากกว่าเด็กอีก เด็กโกธร นิดเดียวก็หาย ..
    เขาเรียกว่าล้างกิเลิศเร็วมั้ง นี่แหล่ะนะ ผลดีที่ซื่อสัตย์ ต่ออารมณ์ตัวเอง ล่ะนะ สบายตัวและสบายใจ
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สมาทินำปัญญานี่มันทำให้หลงไปได้เยอะเลย นะ ถอยเรือออกทะเลเถอะ จะได้ไปถึงฝั่ง
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ความจริงแล้วเพราะการทำสมาธิคือการเจริญสติให้เป็นมหาสติ คงมีใครในทีนี้หลายคนที่เคยวูบเวลานั่งสมาธิ นั้นเพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ บางคนได้ยินเสียงเล็กน้อยก็ตกใจตอนมาถึงอุปจารสมาธิ ยังคลองสติไม่อยู่ และยิ่งตอนเข้าถึงอัปปนาสมาธิจริงๆแล้วพิจารณาธรรมบางทีมันก็เหมือนฝัน ล่องลอยเหมือนตัวเองมีปัญญา เห็นหลายสิ่งหลายอย่าง นั้นก็เพราะสติหลุดไปจากสิ่งที่กำลังพิจารณา ดังนั้นผู้ที่มีสมาธินั้นจะเป็นผู้ที่มีสติไตร่ตรองอะไรได้มากกว่าปกติทั้งที่สภาวะกดดันหรือไม่กดดัน ผมว่าประโยชน์และความหมายของสมาธินำปัญญาน่าจะเป็นอย่างนี้มากกว่า
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านจินที่รัก สติ สมาธิ ปัญญา นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเดินคู่ขนานกันไป
    ไม่มีอันไหนนำหน้าอันไหน จนทิ้งห่างได้
    ถ้าพูดถึงสมาธิที่กล้าแข็ง สติและปัญญาก็ต้องคมกล้าด้วยเช่นกัน
    มีสติปัญญาปล่อยวางอารมณ์อย่างรวดเร็ว จิตต้องตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

    ไม่ใช่ปัญญาที่มัวแต่ไปนึกไปคิดว่า ขณะนี้อยู่ตรงไหนแล้วมีธรรมอะไรประกอบ?
    เวลากิเลสมันโจมตี บอกล่วงหน้าที่ไหน? พอรู้ก็รับกิเลสเป็นแขกจรซะแล้ว
    ต้องรู้แล้วละได้เลยในทันทีขณะนั้นจึงถูกต้อง รู้แล้วต้องละให้เป็น
    จิตเป็นสมาธิอย่างรวดเร็ว รู้แล้วละได้ จิตจึงจะเป็นอัปปนาสมาธิได้
    ละไม่ได้ก็เป็นสมาธิไม่ได้เช่นกัน

    ในฌานที่๑บอกไว้แล้วว่า สงัดจากกามารมณ์และอกุศลธรรมทั้งหลายจึงเข้าสู่ฌานที่๑ได้

    ;aa24 ยินดีในธรรมเช่นกันครับ
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อาจจะพูดถึงสติ คนละตัวกันมั้งคะ

    สติที่เราพูดถึงหมายถึง อันนี้

    <CENTER>โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๔ อินทรีย์ ๕
    </CENTER> อินทรีย์ในมิสสกสังคหะมี ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง ในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น กุสล อกุสล หรือ อพยากตะ ก็มีอินทรีย ๒๒ นั้นได้ตามควร
    ส่วนอินทรีย์ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ เป็นความเป็นใหญ่ หรือ ความเป็นผู้ ปกครองในสภาวธรรมที่เป็นฝ่ายดี และเฉพาะฝ่ายดีที่จะให้รู้ให้ถึงซึ่งฌานธรรมและ อริยสัจจธรรม ดังนั้น อินทรียในโพธิปักขิยสังคหะนี้จึงมีเพียง ๕ ประการ
    เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ
    ๑. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความสัทธาปสาทในอารมณ์ ที่เป็นฝ่ายดี องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
    สัทธา มี ๒ อย่าง คือ ปกติสัทธา และ ภาวนาสัทธา
    ปกติสัทธา ได้แก่ ทาน สีล ภาวนา อย่างสามัญของชนทั้งหลาย โดยปกติซึ่ง สัทธาชนิดนี้ยังไม่แรงกล้า เพราะอกุสลธรรมสามารถทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยง่าย
    ส่วน ภาวนาสัทธา ได้แก่ สมถะหรือวิปัสสนาที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานต่าง ๆ มี อานาปานสติ เป็นต้น สัทธาชนิดนี้แรงกล้าและแนบแน่นในจิตใจมาก สมถะ ภาวนาสัทธานั้น อกุสลจะทำให้สัทธาเสื่อมไปได้โดยยาก ยิ่งเป็นวิปัสสนาภาวนา สัทธาแล้วไซร้ อกุสลไม่อาจจะทำให้สัทธานั้นเสื่อมไปได้เลย ภาวนาสัทธานี่แหละ ที่ได้ชื่อว่า
    สัทธินทรีย์


    <HR width="100%">
    หน้า ๖๓
    ๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในการยังความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ซึ่งต้องเป็น ความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์
    ทั้ง ๔ แห่งสัมมัปปธาน จึงจะเรียกได้ว่าเป็น วิริยินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน
    ติเหตุกชวนจิต ๓๔
    ๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกรู้อารมณ์อันเกิดมาจากสติปัฏฐาน ๔ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน
    ติเหตุกชวนจิต ๓๔
    ๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งใจมั่นอยู่ในอารมณ์ กัมมัฏฐาน องค์ธรรมได้แก่
    เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
    ๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้รู้เห็น รูป นาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ว่า เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัย เป็น
    วัฏฏทุกข์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกชวนจิต ๓๔
    อนึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่นับอินทรีย์ ๓ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ
    อัญญาตาวินทรีย์ รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมกองที่ ๔ นี้ด้วย เหตุที่ไม่นับรวมด้วยนั้น ก็เพราะว่า
    อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักขิยธรรมนี้ แสดงความเป็นใหญ่ในอันที่จะให้ถึงซึ่ง ความตรัสรู้ มัคค ผล นิพพาน
    ส่วนอินทรีย์ ๓ ที่กล่าวอ้างนี้ เป็นโลกุตตรอินทรีย์ เป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วถึงแล้ว ซึ่งมัคค ผล
    นิพพาน กล่าวอีก นัยหนึ่งว่า โพธิ เป็นตัวรู้ โพธิปักขิยธรรมเป็นเครื่องให้เกิดตัวรู้ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และ อัญญาตาวินทรีย์ ทั้ง ๓ นี้ เป็นตัวรู้ ไม่ใช่เป็นเครื่อง ที่จะให้เกิดตัวรู้ ดังนั้นจึงจัดรวมอยู่ในที่นี้ด้วยไม่ได้


     
  6. birdblackrose

    birdblackrose สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    เจตสิกมี 52 ชนิด เจตสิกอกุศล 14ชนิด เจตสิกที่ปรุงแต่งจิตคนทั่วไปไม่แยกดีร้าย 13 ชนิด เจตสิกฝ่ายกุศล 25 ชนิด
    สติ สัมปชัญยะ คือความรู้ตัว โดยวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล
    สัญญา ในทางธรรมคือ ความจำได้ เช่น เมือ่คุณกินเหล้า คุณจะสัมผัส โดยทวารหก จนเกิดเวทนา และสัญญาคือการจำในรส จำในความรู้สึก เมื่อเกิดการทำซ้ำอีก
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต, มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต, <!--coloro:#3333ff--><!--/coloro-->อาการ และ คุณสมบัติต่างๆของจิต<!--colorc--><!--/colorc-->)

    อาการที่ประกอบเป็นเจตสิก
    1. เกิดพร้อมจิต 2. ดับพร้อมจิต 3. มีอารมณ์เดียวกับจิต 4. อาศัยวิตถุเดียวกับจิต

    สภาวธรรม 4 ประการของเจตสิก
    1. ลักษณะ---มีกาิรอาศัยจิตเกิดขึ้น
    2. กิจการงาน---เกิดร่วมกับจิต
    3. ผล---รับอารมณ์เดียวกับจิต
    4. เหตุให้เกิด---การเกิดขึ้นของจิต

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->
    ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 <!--colorc--><!--/colorc-->(เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว)
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7<!--colorc--><!--/colorc--> (เจตสิก กลางๆ เกิดขึ้นได้กับจิตทุกดวง --- เวลาเกิดจะเกิดพร้อมกันทั้ง 7 ดวงแยกจากกันไม่ได้))
    1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
    2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์)
    3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์)
    4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ)
    5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)
    6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง)
    7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->2) ปกิณณกเจตสิก 6 <!--colorc--><!--/colorc-->(เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง)
    8. วิตก (ความตรึกอารมณ)
    9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์)
    10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์)
    11. วิริยะ (ความเพียร)
    12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ)
    13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

    <!--coloro:#6600cc--><!--/coloro-->ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล)<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#6600cc--><!--/coloro-->1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (<!--colorc--><!--/colorc-->เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง)
    14. โมหะ (ความหลง)
    15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป)
    16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป)
    17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

    <!--coloro:#6600cc--><!--/coloro-->2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 <!--colorc--><!--/colorc-->(อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต)
    18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์)
    19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
    20. มานะ (ความถือตัว)
    21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
    22. อิสสา (ความริษยา)
    23. มัจฉริยะ (ความตระหน)
    24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ)
    25. ถีนะ (ความหดหู่)
    26. มิทธะ (ความง่วงเหงา)
    27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย)

    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม)<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 <!--colorc--><!--/colorc-->(เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง)
    28. สัทธา (ความเชื่อ)
    29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่)
    30. หิริ (ความละอายต่อบาป)
    31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป)
    32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์)
    33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
    34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ)
    35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก)
    36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต)
    37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก)
    38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต)
    39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก)
    40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต)
    41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก)
    42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต)
    43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
    44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต)
    45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก)
    46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต)
    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->
    2) วิรตีเจตสิก 3<!--colorc--><!--/colorc--> (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น)
    47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
    48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
    49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)

    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 <!--colorc--><!--/colorc-->(เจตสิกคืออัปปมัญญา)
    50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์)
    51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข)
    <!--coloro:#006600--><!--/coloro-->
    4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1<!--colorc--><!--/colorc--> (เจตสิกคือปัญญินทรีย์)
    52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง)
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พี่ขวัญเท่ห์จัิง ^-^
     
  9. birdblackrose

    birdblackrose สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ตอบ คุณธรรมภูติ
    ผลที่ออกมาตรงตามตำราที่คิดเองเออเองเลยใช่มั้ย? การที่ผมอ้างกาลามสูตรเพราะ อย่าเชื่อ สิบ อย่างให้ศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฎิบัติ และเมื่อผมศึกษา ค้นคว้า หาที่มาที่ไปหลากหลายตำราแล้ว ผมจะลงมือปฎิบัติ วิปัสนากรรมฐาน อย่างที่พุทธองค์ทรงกล่าวไว้
    เราเข้ามาในบอร์ดนี้ถกธรรมกันเพื่อค้นหาความจริงใช่มั้ย??เพื่อให้ทำความเข้าใจในพุทธศาสนาตรงกัน และแน่นอนความขัดแย้งจะนำพาความเข้าใจอันหนึ่งอันเดียวกัน
    จิตเป็นธรรมชาติที่รู้รับอารมณ์ แล้วจิตรู้โดยไม่รับอารมณ์ได้มั้ย?ได้ ตอนหลับ หรือภวังคจิตผมศึกษาตัวนี้อยู่ลึกซึ้งมาก
    เราพูดถึงพุทธศาสนาเรื่องจิตก็สุดยอดอยู่แล้ว จะพูดถึงท่านอื่นเพื่ออะไร?เพื่อให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสัพพัญญู แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ เช่นฟรอยด์ ไอสไตน์ และอีกหลายท่านยังให้พุทธเป็นศาสนาแห่งจักรวาล
    จุดที่สติสัมผัสนั้น เพียงแค่มีสัมมาสติจริงๆเพียงจุดแรกจิตก็ปล่อยวาง
    ไม่ต้องมีจุด๒-๓-๔ แสดง ให้รู้เฉพาะสัมผ้สแล้วไม่รับได้มั้ย?เมื่อเกิดสัมผัสจิตนั้นรับเอากรรมเข้ามาแล้ว ถามว่าไม่รับได้มั้ย คิดว่าได้ เพราะสติจะเฝ้ามองดวงจิตที่ปรุงแต่งด้วยกรรม ให้รู้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    กำหมดสติดูจิต แล้วสติตั้งอยู่ที่ไหน?สติคือความรู้ตัว การที่ปล่อยจิตไปโดยขาดสติ จะทำให้วัฎจักรเวียนว่ายเป็นอนันต์
    สัมมาสมาธิในอริยมรรค๘ ควรศึกษาให้ถ่องแท้มั้ย?ธรรมคำสอนพระพุทธเจ้านั้นสูงค่านัก เกิดมาใต้ร่มพุทธศาสนา ไม่ศึกษาให้ถ่งอแท้ได้ อย่างไร และจะพบสุขที่แท้จริงได้อย่างไร
    ดูจิตให้ดูที่ไหน? เมือ่เกิดการกระทบผัสสะ จิตจะทำงาน เวทนา ตัณหา อุปาทาน
    รู้จักจิตแล้วหรือยัง?คิดว่ารู้แล้วน่ะ
    ขอบคุณครับ
    โปรดชี้แจงด้วย
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่รู้จะเข้าใจเจตนาคุณถูกไหม

    แต่อยากอธิบายคำว่า กุศลจิต กับ อกุศลจิต เราใช้ในความหมายของ
    จิตเกิดประกอบด้วยสติ กับจิตเกิดแบบขาดสติ แต่ในความหมายอื่นๆ
    ของกุศลจิต กับอกุศลจิต ในนิยามแบบอื่นๆก็มี แล้วแต่ใช้เรื่องไหน

    แต่ กุศลจิต อกุศลจิต ไม่ได้หมายถึง เจตสิกฝ่ายกุศล เจตสิกฝ่ายอกุศล

    อันนี้ คัดมาอ่านประกอบความรู้เรื่องของจิตในนิยามอีกแบบหนึ่ง

    บทที่ 19

    โสภณจิตในชีวิตของเรา

    มีจิตหลายประเภท และจำแนกจิตโดยนัยของชาติได้ดังนี้

    กุศลจิต (จิตที่ดีงาม)
    อกุศลจิต (จิตที่ไม่ดี)
    วิบากจิต (จิตที่เป็นผล)
    กิริยาจิต (จิตที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล)

    และยังจำแนกจิตโดยนัย โสภณ อโสภณ ดังนี้ คือ

    โสภณจิต จิตที่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย
    อโสภณจิต จิตที่ไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    อกุศลจิต และ อเหตุกจิต เป็น อโสภณจิต ซึ่งไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย ตามที่ทราบแล้วว่า อกุศลจิตมี 12 ดวง คือ

    โลภมูลจิต 8 ดวง (จิตที่มีโลภะเป็นมูล)
    โทสมูลจิต 2 ดวง (จิตที่มีโทสะเป็นมูล)
    โมหมูลจิต 2 ดวง (จิตที่มีโมหะเป็นมูล)

    อเหตุกจิตเป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เมื่อจิตเป็นอเหตุกะนั้นไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย ฉะนั้น อเหตุกจิตจึงเป็นอโสภณ ตามที่ได้ศึกษาแล้วว่า อเหตุกจิตมี 18 ดวง โดยย่อดังนี้

    ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง เป็นอเหตุกวิบากจิต (ปัญจวิญญาณ 5 คู่ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฯลฯ )

    สัมปฏิจฉันนจิต 2 ดวง เป็นอเหตุกวิบากจิต (กุศลวิบาก 1 และ อกุศลวิบาก 1)

    สันตีรณจิต 3 ดวง เป็นอเหตุกวิบากจิต (อุเบกขาอกุศลวิบาก 1 อุเบกขากุศลวิบาก 1 และ โสมนัสสกุศลวิบาก 1)

    ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 ดวง เป็นอเหตุกกิริยาจิต

    มโนทวาราวัชชนจิต 1 ดวง เป็นอเหตุกกิริยาจิต

    หสิตุปปาทจิต 1 ดวง เป็นอเหตุกกิริยาจิต ซึ่งทำให้พระอรหันต์แย้มยิ้ม

    ฉะนั้น จึงมี อโสภณจิต 30 ดวง เป็นอกุศลจิต 12 ดวง และอเหตุกจิต 18 ดวง

    ในชีวิตของเรามี โสภณจิต ที่เกิดร่วมกับโสภณเจตสิกด้วยโสภณเจตสิก 3 ดวงเป็นเหตุ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ หรือปัญญา โสภณจิตเกิดร่วมกับอโลภเจตสิกและอโทสเจตสิกทุกครั้ง และอาจมีปัญญาหรือไม่มีปัญญาก็ได้เกิดร่วมด้วย ฉะนั้น โสภณจิตจึงเป็น สเหตุกะ คือมีเหตุเกิดร่วมด้วย ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา (ซึ่งได้แก่ การเจริญสมถะวิปัสสนา การศึกษาธรรมหรือแสดงธรรม) ขณะนั้น จิตเป็นกุศลที่มีโสภณเจตสิก เกิดร่วมด้วย ฉะนั้น กุศลจิต จึงเป็น จิต ประเภท โสภณ

    กุศลจิตที่กระทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา เป็นจิตภูมิตํ่าสุด คือ กามาวจรจิต กามาวจรจิตเป็นจิตที่เกิดในชีวิตประจำวัน เช่น กำลังเห็น กำลังคิดนึก หรือต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด กามาวจรจิตบางดวง เกิดร่วมกับโสภณเหตุ บางดวงเกิดร่วมกับอกุศลเหตุ และบางดวงก็ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย ทาน ศีล และภาวนา เป็นกามาวจรกุศลจิตซึ่งปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันเมื่อมีอารมณ์กระทบทวาร 6 กามาวจรจิตมีชื่อว่า มหากุศลจิต (คำว่า "มหา" แปลว่า "มาก" หรือ "ใหญ่")

    สำหรับผู้ที่บรรลุ ญาณ (สมถภาวนา ขั้นอัปปนาสมาธิ) ขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รับรู้อารมณ์ใด ๆ ทางปัญจทวาร จิตขณะนั้นไม่ใช่กามาวจรจิต แต่เป็นจิตขั้นสูงกว่านั้น ฌานจิต เป็นรูปาวจรจิต (รูปฌานจิต) หรืออรูปาวจรจิต (อรูปฌานจิต) ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่กำลังเจริญสมถภาวนานั้น จิตเป็นมหากุศล ก่อนที่จะบรรลุฌาน

    ขณะที่จิตมีนิพพานเป็นอารมณ์นั้นเป็นจิตขั้น โลกุตตรภูมิ เมื่อกำลังจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในมัคควิถีนั้น มหากุศลจิต ต้องเกิดก่อนโลกุตตรกุศลจิต (มัคคจิต)

    เราอยากจะให้กุศลจิตเกิดบ่อยขึ้น เราอาจคิดว่าเหตุการณ์ในชีวิตของเราหรือคนอื่นทำให้จิตเราไม่เป็นกุศล แต่ถ้าเรารู้ปัจจัยที่จะเจริญกุศล กุศลจิตก็จะเกิดบ่อยขึ้น การศึกษาพระธรรมทำให้เรารู้วิธีเจริญกุศล ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม เราอาจคิดว่าเรากำลังเจริญกุศล ทั้ง ๆ ที่เรากำลังเจริญอกุศล เช่น เราอาจคิดว่าขณะที่ให้วัตถุทานนั้นก็มีแต่กุศลจิต แต่โลภมูลจิตก็อาจจะเกิดด้วย เราอาจให้สิ่งของแก่มิตรสหายและหวังว่าเขาจะดีกะเราเป็นการตอบแทน นี่ไม่ใช่กุศลแต่เป็นโลภะ เมื่อได้ศึกษาพระธรรมแล้ว เรารู้ว่าการให้ที่เป็นกุศลจริง ๆ ก็คือให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนเลย เราควรพิจารณาให้รู้ว่า ทำไม เราจึงให้ ในส่วนลึกของหัวใจ เราให้เพราะหวังสิ่งตอบแทนหรือเปล่า หรือว่าเราต้องการมีกิเลสน้อยลง

    แต่ละคนสะสมมาต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกุศลจิตบ้างและอกุศลจิตบ้าง เช่น เมื่อไปวัดและเห็นคนอื่นถวายไทยธรรมแก่พระภิกษุ เมื่อสะสมมาต่างกัน แต่ละบุคคลก็มีปฏิกิริยาต่างกัน บางคนอาจจะเกิดมุทิตาจิตต่อกุศลกรรมของผู้อื่น บางคนอาจจะไม่สนใจเลย ถ้าเราเพียงแต่จะรู้คุณประโยชน์ของกุศล และรู้ว่าการยินดีด้วยในกุศลของคนอื่นนั้นเป็นกุศลที่เป็นไปในทาน เราก็จะมีโอกาสเจริญกุศลเพิ่มขึ้น

    ถ้าพระผู้มีพระภาคมิได้ทรงตรัสรู้และมิได้ทรงแสดงพระสัทธรรมแล้ว เราจะไม่มีทางรู้จักตัวเองโดยละเอียดถี่ถ้วน เราจะไม่รู้เรื่องกุศลจิตและอกุศลจิตและปัจจัยที่ทำให้จิตเหล่านี้เกิดขึ้นโดยถ่องแท้ พระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้เราเจริญกุศลและขัดเกลากิเลส การดำเนินชีวิตในศีลในธรรมและกระทำกุศลต่าง ๆ เป็นการแสดงการเคารพต่อพระองค์ ในทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มีข้อความว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ โคนไม้สาละคู่ซึ่งเผล็ดดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกสาละเหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคต แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศเพื่อบูชาพระตถาคต พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

    "ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้

    ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่า สักการะเคารพนับถือบูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ฯ "


    ในชีวิตประจำวัน เรามีโอกาสที่จะให้ทานและรักษาศีล สำหรับภาวนา ก็รวมทั้งสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา การศึกษาและการแสดงธรรม ไม่ใช่แต่พระภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ก็ศึกษาและแสดงธรรมได้เช่นเดียวกัน ในมหาปรินิพพานสูตร
    พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า หลังจากที่ทรงตรัสรู้ มารได้ทูลพระองค์ว่า ถึงเวลาแล้วที่พระองค์ควรจะทรงดับขันธปรินิพพาน พระตถาคตตรัสว่า

    "เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า

    ดูกรมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ... อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา ภิกษุณีผู้เป็นสาวกของเรา ... อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูตร ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรับปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด พรหมจรรย์ของเรานี้จักยังไม่สมบูรณ์กว้างขวางแพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น"


    ความจริงที่ว่าเราจะกระทำกุศลในชีวิตของเราได้นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ตัวตน ใด ๆ เลย

    ในอังคุตตรนิกาย จักกสูตร จตุกกนิบาต มีข้อความเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งเป็นประโยชน์ว่า

    "จักร 4 ประการเป็นไฉน คือ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (ปฏิรูปเทสวาสะ) การคบสัปบุรุษ (สัปปุริสโสปัสสโย) การตั้งตนไว้ชอบ (อัตตสัมมาปณิธิ) และ ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน (ปุพเพกตปุญญตา) "


    ในข้อ ปฏิรูปเทสวาสะ (การได้อยู่สถานที่เหมาะสม) คือ การอยู่ในประเทศที่มีพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกุศลจิต ทำให้มีโอกาสไปวัดฟังธรรม พระธรรมสามารถเปลี่ยนชีวิตของเราได้ และเป็นปัจจัยไห้เรากระทำกุศลทั้งทาน ศีล และภาวนา

    ในข้อ สัปปุริสโสปัสสโย (การคบสัปบุรุษ) หมายถึงการคบกัลยาณมิตร ผู้ที่ถึงแม้จะอยู่ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้พบกัลยาณมิตรที่สามารถจะช่วยให้ได้พบสัจจธรรม ผู้นั้นก็ขาดปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะเกื้อกูลการเจริญปัญญาและการขัดเกลากิเลส

    อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ) คือ การตั้งตนไว้ในกุศลอันเป็นจุดหมาย กุศลมีหลายขั้น ผู้ที่อบรมเจริญสัมมาทิฏฐิในมัคค์มีองค์ 8 โดยมีสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมก็จะคลายความยึดมั่นในตัวตนลง ขณะที่กระทำกุศลและสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรม ก็จะรู้ว่าไม่มีตัวตน บุคคล ที่กระทำกุศล กุศลกรรมก็จะบริสุทธิ์ขึ้น และในที่สุดกิเลสก็จะดับหมดเป็นสมุจเฉท

    ปุพเพกตปุญญตา (การสะสมบุญในอดีต) เป็นปัจจัยที่ 4 ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ถ้าไม่ได้สะสมกุศลมาแล้วในอดีต เราจะกระทำกุศลในชาตินี้ได้อย่างไร กุศลกรรมที่ได้สะสมมาแล้วในอดีตเป็นปัจจัยให้เราไปสู่สถานที่เหมาะสมและพบสัปบุรุษ กรรมเป็นเหตุให้เกิดหรืออยู่ในประเทศมีพระพุทธศาสนา กุศลกรรมที่ได้สะสมมาในอดีตเป็นปัจจัยให้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในขณะนี้ ถ้าเราพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ในชีวิตซึ่งเป็นปัจจัยให้กุศลเกิดแล้ว เราก็จะเข้าใจดีขึ้นว่าไม่มีตัวตนที่กระทำกุศล

    ในพระอภิธรรม เราศึกษาว่ามี มหากุศลจิต 8 ดวง ซึ่งเป็นกามาวจรกุศลจิต ทำไมจึงไม่มีมหากุศลจิตแต่เพียงดวงเดียว เหตุผลก็คือจิตแต่ละประเภท (ดวง) มีปัจจัยเฉพาะตน ๆ ที่ทำให้จิตนั้นเกิดขึ้น ถ้าเรารู้เรื่องจิตประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ และถ้ามีสติระลึกรู้ขณะที่ลักษณะของจิตเหล่านี้ปรากฏ ก็จะทำให้เราไม่ยึดถือจิตเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน มหากุศลจิต 4 ดวง เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา และ มหากุศลจิตอีก 4 ดวง เกิดกับ อุเบกขาเวทนา เราอยากจะมีมหากุศลโสมนัส เพราะเราชอบโสมนัสเวทนา แต่เราก็ไม่สามารถบังคับบัญชาให้โสมนัสเวทนาเกิดได้ บางครั้งเราก็ให้ทานด้วยโสมนัสเวทนา บางครั้งก็ด้วยอุเบกขา โสมนัสหรืออุเบกขาจะเกิดกับมหากุศลจิตตามเหตุปัจจัย มหากุศลจิต 4 ดวงสัมปยุตต์ด้วยปัญญา อีก 4 ดวงไม่สัมปยุตต์ด้วยปัญญา เช่น เราอาจช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่มีปัญญาหรือมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เมื่อเรารู้ว่าการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่นเป็นกุศล หรือถ้าสติระลึกรู้นามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น มหากุศลจิตนั้นก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย มหากุศลจิต 4 ดวงเป็นอสังขาริก (เกิดขึ้นเอง ไม่มีการชักจูงด้วยตนเองหรือผู้อื่น) อีก 4 ดวงเป็นสสังขาริก (โดยการชักจูงของตนเองหรือผู้อื่น) มหากุศลจิต 8 ดวง คือ

    1. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ญาณสัมปยุตต์ อสังขาริก

    (โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกเมกํ)

    2. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ญาณสัมปยุตต์ สสังขาริก

    (โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ สสงฺขาริกเมกํ)

    3. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ญาณวิปปยุตต์ อสังขาริก

    (โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปปยุตตํ อสงฺขาริกเมกํ)

    4. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ญาณวิปปยุตต์ สสังขาริก

    (โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปปยุตตํ สสงฺขาริกเมกํ)

    5. เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ญาณสัมปยุตต์ อสังขาริก

    (อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกเมกํ)

    6. เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ญาณสัมปยุตต์ สสังขาริก

    (อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ สสงฺขาริกเมกํ)

    7. เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ญาณวิปปยุตต์ อสังขาริก

    (อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตตํ อสงฺขาริกเมกํ)

    8. เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ญาณวิปปยุตต์ สสังขาริก

    (อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตตํ สสงฺขาริกเมกํ)

    กามาวจรโสภณจิต (จิตดีงามขั้นกามภูมิ) ไม่ใช่มีแต่มหากุศลจิตเท่านั้น มหากุศลจิตเป็นจิตที่เป็นเหตุให้กระทำกุศลกรรมทางกาย วาจา และใจ ซึ่งทำให้เกิดผลเป็น มหาวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม มหาวิบากจิตก็เป็นโสภณจิตเกิดพร้อมกับโสภณเจตสิก การกระทำของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ฉะนั้นผลก็ย่อมไม่เหมือนกันด้วย แต่ละคนมีปฏิสนธิจิตต่างกัน ปฏิสนธิจิตเป็นวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรม

    ตามที่ทราบแล้วในบทที่ 11 ว่า มนุษย์ก็ปฏิสนธิด้วยจิตที่เป็น อเหตุกกุศลวิบาก ได้ (สำหรับผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิด) หรือปฏิสนธิด้วยจิตที่เป็น สเหตุกกุศลวิบาก ประกอบด้วยโสภณเหตุ สำหรับผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์หรือเทพในกามภูมิอื่น ๆ ปฏิสนธิจิตที่เป็นสเหตุกวิบากจิตคือ มหาวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกามาวจรกุศลกรรม (กรรมที่กระทำโดยกามาวจรกุศลจิต) นอกจากมหาวิบากจิต ยังมีสเหตุกวิบากจิตอื่น ๆ อีก ที่ไม่ใช่ผลของกามาวจรกุศลกรรม แต่เป็นผลของฌานจิต ซึ่งจะได้กล่าวถึงภายหลัง

    มหาวิบากจิตมี 8 ดวง มหาวิบากจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาก็ได้ ญาณสัมปยุตต์หรือญาณวิปปยุตต์ก็ได้ เป็นอสังขาริกหรือสสังขาริกก็ได้ การจำแนกมหาวิบากจิต 8 ดวงโดยนัยเดียวกับมหากุศลจิต 8
    ที่กล่าวถึงตอนต้น

    ภวังคจิต และจุติจิตเป็นจิตประเภทเดียวกันกับจิตดวงแรก คือ ปฏิสนธิจิต ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นมหาวิบากจิต ภวังคจิตและจุติจิตในชาตินั้นก็เป็นมหาวิบากจิตด้วย ฉะนั้น มหาวิบากจิตจึงทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ นอกจากนั้นมหาวิบากจิตยังทำกิจตทาลัมพณะได้ด้วย

    เมื่อเราเห็นภาพที่งดงามหรือรู้อารมณ์ที่น่าพอใจทางทวาร 5 นั้น เป็นวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม แต่วิบากจิตนั้นเป็น อเหตุกวิบาก (ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) ไม่ใช่มหาวิบาก มหาวิบากจิตทำกิจเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และกระทบโผฏฐัพพารมณ์ หรือทำสัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจไม่ได้ อเหตุกวิบากจิตทำกิจเหล่านี้ สำหรับ ตทาลัมพณจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้นภายหลังชวนจิตนั้น อาจจะเป็น อเหตุกวิบากจิต หรือ มหาวิบากจิต ก็ได้

    ยังมีกามาวจรโสภณจิตอีกประเภทหนึ่งคือ มหากิริยาจิต พระอรหันต์ มี มหากิริยาจิต แทนมหากุศลจิต เมื่อเราประสบอิฏฐารมณ์ โลภะอาจจะเกิด และเมื่อประสบอนิฏฐารมณ์โทสะอาจจะเกิด พระอรหันต์ไม่ยินดียินร้ายในอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ท่านไม่มีกิเลสเลย พระอรหันต์ไม่สะสมกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมต่อไปอีกแล้ว ฉะนั้นท่านจึงมี มหากิริยาจิต สำหรับพระอรหันต์ท่านมี มหากิริยาจิต แทนมหากุศลจิตทำ กิจชวนะ หลังจากโวฏฐัพพนจิตและมโนทวาราวัชชนจิตดับ บางคนอาจสงสัยว่าพระอรหันต์มีมหากิริยาจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต์ได้หรือ พระอรหันต์มีมหากิริยาจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต์ได้ เพราะปัญญาไม่จำเป็นต้องเกิดร่วมกับมหากิริยาจิตในขณะที่พระอรหันต์ไม่ได้สอนหรือสนทนาธรรม

    พระอรหันต์มีกิริยาจิตซึ่งเป็นโสภณจิตและกิริยาจิตที่เป็นอโสภณจิต ปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชนจิต และหสิตุปปาทจิต (จิตแย้มยิ้มของพระอรหันต์) เป็น อโสภณกิริยาจิต จิตเหล่านี้ไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตเหล่านี้เป็นอเหตุกะ

    มหากิริยาจิต มีทั้งหมด 8 ดวง มีโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย เป็นญาณสัมปยุตต์หรือญาณวิปปยุตต์ เป็นอสังขาริกหรือสสังขาริก มหากิริยาจิตจำแนกโดยนัยเดียวกับมหากุศลจิต

    จิตที่เป็น กามภูมิ (ภูมิ ในที่นี้หมายถึงภูมิของจิต ไม่ใช่ที่เกิดของสัตว์) หรือกามาวจรจิต มี 54 ดวง คือ

    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 height=158 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=321 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=23></TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=23>อกุศลจิต 12 ดวง</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" width=24 height=73 rowSpan=3>}</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=23>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=23> </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=23>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=23>อโสภณจิต 30 ดวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=23> </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=23>อเหตุกจิต 18 ดวง</TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=23>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=24>
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=23>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=23>มหากุศลจิต 8 ดวง
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: 1px solid; BORDER-BOTTOM: medium none" width=24 height=81 rowSpan=3>}
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=23>
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=31>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=31>มหาวิบากจิต 8 ดวง
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=31>โสภณจิต 24 ดวง
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=57 height=23>
    </TD><TD style="BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=182 height=23>มหากิริยาจิต 8 ดวง
    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=168 height=23>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ยังมีโสภณจิตที่ไม่ใช่กามโสภณจิต คือ

    โสภณจิตที่เป็นรูปภูมิ (รูปาวจรจิตสำหรับผู้ที่บรรลุรูปฌาน)
    โสภณจิตที่เป็นอรูปภูมิ (อรูปาวจรจิตสำหรับผู้ที่บรรลุอรูปฌาน)
    โสภณจิตซึ่งเป็นโลกุตตรภูมิ สำหรับผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคล

    กามาวจรจิตเท่านั้นที่เป็นอโสภณจิตได้ จิตที่เป็นรูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิเป็นโสภณจิตได้เท่านั้น

    ผู้ที่ไม่ได้บรรลุฌานหรือไม่รู้แจ้งพระนิพพาน ไม่มีจิตภูมิอื่นแต่สามารถรู้แจ้งสัจจธรรมที่เป็นกามภูมิที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้แล้ว เราจะรู้ได้ด้วยตนเองว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ที่จะกระทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เราจะรู้ได้ว่าการเจริญกุศลดังกล่าวนี้ทำให้เรามีอกุศลจิตน้อยลงหรือไม่ บางครั้งเป็นโอกาสที่จะทำทาน บางครั้งเป็นโอกาสจะรักษาศีลหรือเจริญภาวนา แต่การเจริญวิปัสสนานั้นเจริญได้ขณะที่ทำทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนา หรือขณะที่ศึกษาธรรม หรือแสดงธรรม และในขณะที่ไม่มีโอกาสที่จะกระทำทาน รักษาศีลหรือกุศลอื่น ๆ แม้ว่าจะยังไม่ได้อบรมเจริญสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมมากนัก เราก็สามารถที่จะรู้ว่าสติเป็นปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดน้อยลง และการยึดมั่นในตัวตนน้อยลงบ้างหรือไม่ การเจริญสติทำให้เราพิสูจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคได้

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิดฯ "

    "ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้ โดยส่วนหนึ่งว่า นี้มิใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดาฯ "

     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความรู้ จากอากู๋(กูเกิล) ทั้งนั้น

    ของปลอม ก็เท่ห์ได้ นิ มันขี้สงสัยน่ะ ก็ต้องค้นคว้าไปเรื่อย ได้สมใจแล้วก็สงบ

    ถ้าคาใจ นะ มันร้อน...อยู่ในอก ใจมันก็ไม่ยอมที่ตัว ถ้าพอใจมันแล้วก็กลับมาเอง
     
  12. birdblackrose

    birdblackrose สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    ถูกของท่านแล้ว แต่มีบางท่านไม่เข้าใจ เหมารวมว่า เจตสิกกับสติคืออันเดียวกันก็เลยอธิบายให้พอเห็นภาพเท่านั้น แต่ท่านลึกซึ้งดี
     
  13. birdblackrose

    birdblackrose สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +0
    กุศลจิต อกุศลจิต ไม่ได้หมายถึง เจตสิกฝ่ายกุศล เจตสิกฝ่ายอกุศล
    ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ไปปรุงแต่งจิตเมื่อเกิดผัสสะ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    กระบี่เย้ยยุทธจักร ( เดี๋ยวจะจะมีผู้นำภาพมาประกอบ )
     
  15. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    โปเยโปโลเย ...ปะทะ เดชคัมภีร์เทวดา ...นะ
     
  16. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ^^

    น่าจะรู้นะ..ว่าที่นี่เป็นที่สาธารณะ..
    ไม่ใช่ที่ส่วนตัว..ทำตัวให้มีสาระบ้าง..

    โตจนหมาเลียตูดไม่ถึงแล้ว...
    ไป..คุยในPM ดีกว่ามั๊ย....
     
  17. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    หรือว่า..ไม่รู้สึกตัว..
    แบบนี้..อย่างหนา..
    หมายถึง...สันดาน..
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผมรู้สึกว่าผมโชคดี ที่ไม่ได้ศึกษาอภิธรรมมามาก ผมเริ่มจากอ่านแนวปฎิบัติต่าง ๆ ของหลวงปู่ดัง ๆ หลายเล่ม แล้วก็อ่านตำราแปลหัวใจกรรมฐาน ตลอดไปจนแนวสมาธิต่าง ๆ แล้วก็ลืมไป

    จนมาเจอทุกข์ประสบทุกข์จริง ๆ อย่างแสนสาหัส ตอนนั้นก็จับหลักแค่วิธีการพวกสติฐาน พอจะจำแนวว่าขันธ์แต่ละตัวเป็นไง นิวรณ์เป็นไง ด้วยความอยากพ้นทุกข์ก็ลงมือทำทันที

    ทำเสร็จทำได้เลิกทำหยุดพักก่อน เพราะทุกข์ไม่แรง แล้วค่อยมาหาความรู้เพิ่ม สำหรับผมนี่ถ้าอ่านพวกอธิบายจำแนกระหว่างทางไว้เยอะ ถึงมึนนะ ^-^
     
  19. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    เจ๋ง ขนาด อวตาร มาด่า เจ๋ง กล้าดี ....
    ....คม ...ชัด...ลึก...oishi_
     
  20. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    หรือว่า..ไม่รู้สึกตัว..
    แบบนี้..อย่างหนา..
    หมายถึง...สันดาน.
     

แชร์หน้านี้

Loading...