จิตคิดหรือจิตกับอารมณ์ตามที่เห็นมา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ได้คับ, 8 เมษายน 2013.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    สำคัญที่ทำได้จริงตามพระท่านชี้ไหมครับปู่ ทำแล้วตามรอยพระตถาคตได้จริงไหม ตรงนี้น่าสน น่าปฏิบัติตามไหมปู่
     
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ไม่ใช่ จนไม่เผลอ... นะครับ อันนี้เข้าใจไม่ตรงกัน ความเผลอแล้วรู้ทันเห็นทันทำให้เกิดปัญญา เกิดสัมมาทิฏฐิ เริ่มรู้จักอาการความหลง เหตุที่ทำให้หลงเป็นทุกข์ ทำให้เดินได้ตรงทางขึ้น ถ้ามีสติจนไม่เผลอเลยน่าจะมีอยู่ 2 แบบ คือ บรรลุอรหันต์ไปแล้ว กับ เพ่งจนไม่กระดิก แต่ผมก็ว่าอย่างหลังนี่ก็คือเผลออยู่ดี คือ เผลอนึกว่าต้องเพ่ง จริง ๆ เขาไม่ได้ให้เพ่ง เขาให้รู้ให้ทันตามความเป็นจริงโดยอาศัยการมีสติ ฝึกสติบ่อย ๆ นะครับ

    ความจริงใช้คำว่า "ให้รู้ให้ทันตามความเป็นจริง" นี่ก็ยังไม่ถูกนัก ยังผสมด้วยความอยาก ยังมีโมหะอยู่มาก แค่ฝึกสติไปเรื่อย ๆ เผลอแล้วรู้บ่อย ๆ อีกหน่อย จากที่เคยเห็นแต่ตอนกลางตอนปลายของอาการ ก็จะเห็นตั้งแต่ตอนต้น ๆ ได้ ก็จะเข้าใจจริง ๆ มากขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2013
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..ไม่ให้เผลอ..ไม่ถึงเผลอ..ให้ดูอะไรครับ ดูการหลงให้ทันรึ..แล้วจะไปดูมันหลงทำไมครับ เกิดปัญญาตรงไหนครับ
    หรือรู้ตอนเผลอทำไมครับ..หากท่านโพสต์แบบนี้ ..ผมงง.:cool:
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....สมถะและวิปัสนา เป้นหนทาง เป็นเครื่องมือ เพื่อเห็นความจริง ของกายใจ ว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา....สภาพธรรมใดเกิด สภาพธรรมนั้นดับไปเป็นธรรมดา ต่างหากละเจ่ก...จึงต้องฉลาดในมรรค พอควร-------------------------------พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือ พึงทำในใจซึ่ง สมาธินิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุตามประกอบในอธิจิต พึงกระทำในใจแต่เพียงสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ฐานะเช่นนั้น จะทำให้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงกระทำปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ฐานะเช่นนั้น จะทำจิตให้เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุตามประกอบในอธิจิต พึงกระทำในใจแต่เพียงอุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้นไซร้ ฐานัเช่นนั้น จะไม่ทำให้จิตตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแลภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต กระทำในใจซึ่งสมาธินิมิตโดยกาลอันควร กระทำในใจซี่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร กระทำในใจซึ่งอุเบกขานิมิตโดยกาลอันควร ในกาลนั้นจิตนั้น ย่อมเป้น จิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย........................ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ประกอบตัวเบ้าตัวฉาบปากเบ้า แล้วจับแท่งทองด้วยคีม วางที่ปากเบ้า แล้วลูบลมโดยกาลอันควร พรมน้ำโดยกาลอันควร ตรวจดูโดยกาลอันควร ภิกษุทั้งหลายถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง จะพึงสูบลมตะพีดตะพือไปโดยส่วนเดียวกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็จะทำให้ทองไหม้ ถ้าพรมน้ำตะพึดตะพือไปกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็จะทำให้ทองเย็น ถ้าตรวจดูตะพีดตะพือโดยส่วนเดียวกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็จะไม่ทำให้ทองสุกอย่างพอดี ภิกษุทั้งหลายในกาลใด ช่างทองรือลูกมือของช่างทอง สูบลมโดยกาลอันควรกะทองนั้น ในกาลนั้นทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อน ควรแก่การงานแก่ช่างทอง มีรัศมีเนื้อไม่ร่วน และเหมาะสมแก่การกระทำของช่างทอง ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่างต่างเช่น ตาบ ตุ้มหู สร้อยคอ หรือ สุวรรณมาลาก็ตาม ก็สำเร็จประโยชน์แก่เขานั้น นี้ฉันใด ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือพึงทำในใจวึ่งสมาธินิมิตโดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิตโดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิตโดยกาลอันควรฉันนั้นเหมือนกัน ................ถ้าภิกษุน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทีควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอ้นยิ่ง ใดใด เธอย่อมลุถึง ซึ่งความสามารถทำได้ จนเป็นสักขีพยาน ในธรรมนั้นนั้นนั่นเทียว ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่มีอยู่----ติก.อํ.20/329-331/542.....(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส):cool:
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ไอ้แพทริค..เดี๋ยวเอ็งเจอ..วัดนาป่าพงไพร
    มูลนิธิ สร้างวิกฤติเพื่อฉวยโอกาส..เปิดรับเงินบริจาค พุทธพจน์บทใดวะ..อิอิ
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อกุศลอย่าใหเกิดบ่อยนัก พญานกเดี๋ยวระวังขนจะล่วง
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...............เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ครับผม....ทุกข์นั้นแหละเกิดขึ้น ทุกข์นั้นแหลตั้งอยู่ ทุกข์นั้นและดับไป......แม้ในฌาน ก็ต้องรู้ว่า " สภาพธรรม"ใดเกิด และ ดับไป เป็นขั้นขั้นไป เท่านั้น ถึง จะเรียกว่า วิปัสนา.............ให้เห็นไตรลักษณ์ของสภาพธรรม....เจริญให้มากทำให้มากตามพระสูตรมหาสติปัฎฐานสี่:cool:..............จนกว่ามรรคสมังคี สัมมาทิฎฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสตินำ องค์แห่งมรรคทั้งหลาย....อาจจะ วิราคะ แล้วสลัดคืน สลัดคืน สลัดคืนโลกไป เรื่อย เรื่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2013
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..ทุกข์อะไรเกิด..ทุกข์จากกายใช่ไหม นี่เอ็งกำลังคุยกับข้าเรื่อง..อาการเผลอ ระลึก ไม่หลง ไม่ใช่รึ..ใช้สติมั่งซิวะ อิอิ:'(
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...............ปัญจุปาทานักขันธิ์ ขันธิ์5เป็นทุกข์ทั้งนั้นแหละ(สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์)......ไม่ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม...ครับโผม....การเจริญมหาสติปัฎฐานสี่เป็นการเจริญมรรค เพื่อ ทุกข์ควรกำหนดรู้ และละอภิชฌาและโทมนัส ยินดี ยินร้าย ในตัวทุกข์(ปัญจุปาทานักขันธิื นั้นนั้น ไม่ว่า กาย เวทนา จิตธรรม)นั้น ด้วย สติ สติ อันมีคุณสมบัติ ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่ง ถ้าดูรู้ด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลางนุ่มนวลควรแก่การงานแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการเจริญ กุศล ละอกุศลอยู่แล้ว เพราะท้ายพระสูตรรมหาสติปัฎฐานสี่ ก็กล่าวไว้แล้วว่า" ก็แหละสติ ว่า (กาย เวทนา จิต ธรรม)มีอยู่ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้เพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ ตัรหาและ ทิฎฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรอะไรในโลก--------------".............................เจ่ก รู้กายดูกาย ก็เพื่อ สมถะและวิปัสนา อย่างนี้เท่านั้นแหละ....:cool:..........ส่วนสติปัฎฐานสี่บริบูรณ์ ก็จะยังให้โพชฌงค์เจ้ดบริบููรณืเอง เมื่อสัมโพชฌงค์เจ็ดบริบูรณ์ วิชชาและ วิมุติก็จะบริบูรณืเอง.....แก่รอบเข้า แก่รอบเข้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2013
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หญ้าปากคอก มันเป็นแบบนี้ครับ

    คนเราคิดแต่ว่า
    การปฏิบัติธรรม การฝึกกรรมฐาน มันต้องมีอะไรพิศดารไม่ธรรมดา

    แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติ เพื่อที่จะรู้ธรรมเห็นธรรม
    วิธีนั้นง่าย รู้ทุกข์อย่างเดียว ที่ยาก คือ ความเพียรในการรู้


    บทคำว่า พิจารณา
    หากใช้คำแปลในภาษาไทย มาเป็นหลัก
    อะไรอะไรก็จะพิจารณาอย่างเดียว

    การปฏิบัติธรรมจะเขว วนอ้อมในอ่างทันที

    ทีนี้ สำหรับ บทพิจารณากาย
    หากเอาความหมายภาษาไทย
    เช่น การพิจารณากาย เน่าปื่อย

    จังหวะนี้ เป็นการเสริมสร้างพลัง สร้างฐานสมถะ
    เมื่อจิต มีความพร้อม
    มีสมาธิจดจ่อ ในการพิจารณากายเน่าเปื่อย
    จุดเชื่อมการเดินวิปัสนามันจึงจะเริ่มเดิน เมื่อเริ่มกำหนดรู้ทุกข์

    หากชำนาญ มีสมาธิในการจดจ่อพิจารณากาย
    หากคล่องแล้ว สิ่งที่มันผุดขึ้นมา สิ่งนั้นคือสิ่งที่ต้องกำหนดรู้

    " กำหนดรู้อย่างเดียว "

    การกำหนดรู้อย่างเดียวนี้
    เป็นการสร้างสติ สัมปชัญญะ ให้มีพละ มีกำลัง

    หากไม่ทำอย่างนี้แล้วไซร้
    คอยแต่จะพิจารณา(ในความหมายภาษาไทย)
    จิตจะไม่มี วันได้พลังงาน ทางสติ สัมปชัญญะ
    จะไม่มีวันก้าวไปสู่การเห็นไตรลักษณะได้


    จะเห็นเลยว่า กำหนดรู้ ง่ายนิดเดียว เส้นผมบังโลกแท้ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...