จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เวทนากับเจตสิก

    เวทนาเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ
    ก. แสดงว่า เวทนาใดเกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
    ข. แสดงว่า เจตสิกใดเกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

    ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก

    สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

    ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

    โสมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวงคือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนา เจตสิก)
    อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
    โสภณ เจตสิก ๒๕

    โทมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๒๑ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
    อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

    อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
    อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
    โสภณเจตสิก ๒๕

    ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา

    ๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ
    โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
    ปิติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
    วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ
    โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้
    โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้

    ๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ
    โมจตุกเจตสิก ๔
    ถีนมิทธเจตสิก ๒
    วิตกเจตสิก ๑
    วิจารเจตสิก ๑
    อธิโมกขเจตสิก ๑
    วิริยเจตสิก ๑
    ฉันทเจตสิก ๑
    เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา
    โทมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาอย่างใดก็ได้

    ๔. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๕ มี ๖ ดวงคือ
    สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

    ๕. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือ เวทนาเจตสิก
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หมวดที่ ๒ เหตุสังคหะ

    เหตุ คือ ธรรมที่เป็นรากเง่าเค้ามูลที่ให้จิตเป็นอกุสล เป็นกุสล หรือเป็น อพยากตะ เหตุสังคหะ
    เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องเหตุ มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า

    ๕. โลโภ โทโส จ โมโห จ เหตู อกุสลา ตโย
    อโลภาโทสาโมโห จ กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ

    แปลความว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุสลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุสลเหตุ และอพยากตเหตุ

    อธิบาย

    เหตุ มี ๖ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ

    โลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก
    โทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก
    โมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
    อโลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโลภเจตสิก
    อโทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก
    อโมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก

    โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเจตสิก ๓ ดวง เป็น อกุสลเจตสิก เมื่อ เจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้
    ประกอบกับจิต ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นอกุสล อันเป็นจิตที่ชั่วที่บาป เป็นจิตที่มีโทษและจักให้ผลเป็นทุกข์
    ดังนั้น โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ จึงได้ชื่อว่าเป็น อกุสลเหตุ อกุสลเหตุประกอบกับจิตใด จิตนั้นก็เป็น อกุสลจิต

    อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เป็นโสภณเจตสิกทั้ง ๓ ดวง เมื่อเจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้ประกอบกับจิต
    ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นโสภณ เป็นจิตที่ดีงาม เรียกว่า โสภณจิต
    อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทกุสล เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด เป็นจิตที่ปราศจากโทษ
    และจักให้ผลเป็นสุขด้วย ดังนั้น อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ที่ประกอบกับกุสลจิตทั้งปวง จึงได้ชื่อว่าเป็น กุสลเหตุ

    อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทวิบากและกิริยา อันรวมเรียกว่า อพยากตจิต
    เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด ปราศจากโทษเหมือนกัน แต่ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป
    เพราะไม่สามารถให้เกิดผลอย่างใดขึ้นมาได้ ดังนั้นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
    ที่ประกอบกับวิบากจิตหรือกิริยาจิตทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็น อพยากตเหตุ
    รวมได้ความว่า เมื่อกล่าวถึงจำนวนเหตุโดยประเภทที่ประกอบกับจิตก็มี ๙ เหตุ คือ

    อกุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
    กุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
    อพยากตเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

    ถ้ากล่าวถึง จำนวนเหตุโดยประเภทแห่งองค์ธรรมแล้ว ก็มี ๖ เหตุ คือ
    โลภ เหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เหตุ กับ จิต
    เหตุที่ประกอบกับจิต จิตทั้งหมดมี ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง แบ่งเป็น ๒ ประเภท
    คือ จิตที่มีเหตุประกอบ กับ จิตที่ไม่มีเหตุประกอบ

    ก. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ (ไม่มีสัมปยุตตเหตุ) คือ ไม่มี เหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว
    ข. สเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ คือ มีเหตุ ๖ ประกอบอย่างน้อย ที่สุด ก็ ๑ เหตุ และอย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ

    มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๖ แสดงว่า

    ๖. อเหตุกาฏฺฐารเสก เหตุกา เทฺว ทฺวาวีสติ
    ทฺวิเหตุกา มตา สตฺต จตฺตาฬีส ติเหตุกา ฯ

    แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘
    เอกเหตุกจิต มี ๒
    ทวิเหตุกจิต มี ๒๒
    ติเหตุกจิต มี ๔๗

    อธิบาย

    ๑. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่ เหตุเดียว
    อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
    ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
    สัมปฏิจฉันนจิต ๒
    สันตีรณจิต ๓
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑
    หสิตุปปาทจิต ๑

    ๒. เอกเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็นสเหตุกจิต
    เอกเหตุกจิต มี ๒ ดวง ได้แก่
    โมหมูลจิต ๒ ซึ่งเป็นจิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุ

    ๓. ทวิเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต
    ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ดวง ได้แก่
    โลภมูลจิต ๘ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
    โทสมูลจิต ๒ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ
    มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
    มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
    มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

    ๔. ติเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต
    ติเหตุกจิต มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่
    มหากุสล ญาณสัมปยุตตจิต ๔
    มหาวิบาก ญาณสัมปยุตตจิต ๔
    มหากิริยา ญาณสัมปยุตตจิต ๔
    มหัคคตจิต ๒๗
    โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

    มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ

    ข้อสังเกต

    อเหตุกจิต ไม่มีเหตุประกอบเลย
    อกุสลจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๑ เหตุ อย่างมาก ๒ เหตุ
    โสภณจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๒ เหตุ อย่างมาก ๓ เหตุ
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นับจำนวนเหตุ

    อกุสลเหตุ ๓
    โลภเหตุ ประกอบใน โลภมูลจิต ๘ เป็น ๘ เหตุ
    โทสเหตุ ประกอบใน โทสมูลจิต ๒ เป็น ๒ เหตุ
    โมหเหตุ ประกอบใน โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ เป็น ๑๒ เหตุ

    รวมอกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ


    กุสลเหตุ ๓

    อโลภเหตุ

    ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโลภเหตุ ๒๑ เหตุ


    (มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

    อโทสเหตุ

    ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโทสเหตุ ๒๑ เหตุ


    (มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

    อโมหเหตุ

    ประกอบในมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโมหเหตุ ๑๗ เหตุ

    (มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๓๓เหตุ)

    รวม กุสลเหตุ คืออโลภเหตุ ๒๑ อโทสเหตุ ๒๑ อโมหเหตุ ๑๗ เป็น ๕๙ เหตุ
    อย่างพิสดาร คือ อโลภเหตุ ๓๗ อโทสเหตุ ๓๗ อโมหเหตุ ๓๓ เป็น ๑๐๗ เหตุ
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อพยากตเหตุ ๓

    อโลภเหตุ
    ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโลภเหตุ ๓๘ เหตุ


    (ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

    อโทสเหตุ
    ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโทสเหตุ ๓๘ เหตุ


    (ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

    อโมหเหตุ
    ประกอบในมหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    ประกอบในมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
    ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
    รวมอโมหเหตุ ๓๐ เหตุ


    (ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
    (อย่างพิสดาร ๔๖ เหตุ)

    รวม อพยากตเหตุ คืออโลภเหตุ ๓๘ อโทสเหตุ ๓๘ อโมหเหตุ ๓๐ เป็น ๑๐๖ เหตุ
    อย่างพิสดาร อโลภเหตุ ๕๔ อโทสเหตุ ๕๔ อโมหเหตุ ๔๖ เป็น ๑๕๔ เหตุ


    รวม อกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๒ เหตุ
    กุสลเหตุ ๕๙ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๐๗ เหตุ
    อพยากตเหตุ ๑๐๖ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๕๔ เหตุ
    รวมเหตุทั้งหมดเป็น ๑๘๗ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๘๓ เหตุ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คิดจำนวนเหตุอย่างง่าย

    โลภมูลจิต ๘ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๑๖ เหตุ
    โทสมูลจิต ๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๔ เหตุ
    โมหมูลจิต ๒ ดวง x ๑ เหตุ เป็น ๒ เหตุ
    รวม ๒๒ เหตุ


    กามโสภณ ญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
    กามโสภณ ญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๓๖ เหตุ
    รวม ๖๐ เหตุ


    มหัคคตจิต ๒๗ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๘๑ เหตุ
    โลกุตตรจิต ๘ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
    ( โลกุตตรจิต อย่างพิสดาร ๔๐ x ๓ เป็น ๑๒๐ เหตุ )
    รวม ๑๐๕ เหตุ


    รวมเหตุใน อกุสลจิต มี ๒๒ เหตุ
    รวมเหตุใน กามโสภณจิต มี ๖๐ เหตุ
    รวมเหตุใน มหัคคตจิต มี ๘๑ เหตุ
    รวมเหตุใน โลกุตตรจิต มี ๒๔ เหตุ หรือ ๑๒๐ เหตุ
    รวมเหตุทั้งสิ้น ๑๘๗ เหตุ หรือ ๒๘๓ เหตุ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เหตุกับเจตสิก

    เหตุกับเจตสิกนี้ เป็นการแสดงว่า เจตสิกใดมีเหตุอะไรบ้าง
    หรือว่า เจตสิกใด เกิดพร้อมกับเหตุอะไรได้บ้าง มีแสดงเป็น ๒ นัย
    มีชื่อว่า อคหิตัคคหณนัย และ คหิตัคคหณนัย

    อคหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วไม่นับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ ยกเป็นหัวข้อ
    ขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวแล้ว จะไม่นำมาแสดง ไม่นำมากล่าวอ้าง ไม่นำมานับซ้ำอีก

    คหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วนับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ยก เป็นหัวข้อ
    ขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวอ้างแล้ว ก็ยังจะต้องนำมาแสดง ยกมากล่าวอ้าง นำมานับซ้ำอีก

    อคหิตัคคหณนัย

    ๑. เจตสิกที่มี เหตุเดียว มี ๓ ดวง ได้แก่ โลภะ โทสะ วิจิกิจฉา
    ๒. เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๙ ดวง ได้แก่ โมหะ ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริยะ
    กุกกุจจะ อโลภะ อโทสะ ปัญญา
    ๓. เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง ได้แก่ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ถีนะ
    มิทธะ และ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา)
    ๔. เจตสิกที่มี ๕ เหตุ มี ๑ ดวง ได้แก่ ปิติ
    ๕. เจตสิกที่มี ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปิติ)
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    ในข้อ ๑ โลภเจตสิก จะต้องเกิดพร้อมกับโมหะอย่างแน่นอน จะเกิดแต่ลำพัง
    โดยไม่มีโมหะไม่ได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิก มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ
    โทสเจตสิกก็ดี วิจิกิจฉาเจตสิกก็ดี ก็จะต้องเกิดกับโมหะเช่นเดียวกัน ดังนั้น โทสเจตสิก
    จึงมีเหตุเดียว คือโมหเหตุ และวิจิกิจฉาเจตสิก ก็มีเหตุเดียว คือ โมหเหตุ

    ในข้อ ๒ โมหเจตสิก เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ เพราะว่าโมหเจตสิกที่เกิดพร้อม กับโลภะก็มีโลภเหตุเป็นเหตุ
    เมื่อโมหเจตสิกเกิดพร้อมกับโทสะ ก็มีโทสะเหตุเป็น เหตุ รวมความว่า โมหเจตสิก มีโลภเหตุเป็นเหตุก็ได้
    มีโทสเหตุเป็นเหตุก็ได้ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า โมหเจตสิก มี ๒ เหตุ

    ทิฏฐิเจตสิก กับ มานเจตสิก รวม ๒ ดวงนี้จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะ โลภะ ก็ต้องเกิดพร้อมกับโมหะ เป็นอันว่า
    ทิฏฐิเจตสิกก็ดี มานเจตสิกก็ดี แต่ละดวงต่างก็ จะต้องเกิดพร้อมกับโลภะและโมหะ ดังนั้น ทิฏฐิ มานะ เป็นเจตสิก
    ที่มี ๒ เหตุ คือ มีโลภเหตุ โมหเหตุเป็นเหตุร่วมพร้อมกัน

    เจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก รวม ๓ ดวงนี้ แต่ละดวงที่เกิด จะต้องเกิดร่วมกับโทสะและโมหะด้วยพร้อมกัน
    ดังนั้น เจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ แต่ละ ดวงมี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเหตุร่วมพร้อมกัน


    อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ประกอบพร้อมกันในจิตดวง ใด เจตสิก ๓ ดวงนี้ต่างก็เป็นเหตุซึ่งกันและกัน คือ
    อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
    อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโมหเหตุ รวมมี ๒ เหตุ
    ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ และ อโทสเหตุ รวมมี ๒ เหตุ

    ในข้อ ๓ อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก อุทธัจจเจตสิก รวมเจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้อยู่ใน
    ประเภทโมจตุกเจตสิก ซึ่งประกอบกับอกุสลจิตได้ทุก ๆ ดวงทั้ง ๑๒ ดวง อกุสลจิตทั้งหมดนั้นมี ๓ เหตุ
    คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ ดังนั้นเจตสิก ทั้ง ๓ ดวงที่กล่าวนี้จึงสามารถเกิดกับเหตุทั้ง ๓ นั้นได้ จึง
    ได้ชื่อว่าเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ
    ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับโลภมูลจิตก็ได้ ประกอบกับ โทสมูลจิตก็ได้ โลภมูลจิตมีโลภเหตุ
    กับโมหเหตุ โทสมูลจิตมีโทสเหตุกับโมหเหตุ รวมจิต ๒ ประเภทนี้มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
    ดังนั้น ถีนะ มิทธะ ซึ่งประกอบกับจิต ๒ ประเภทนี้ได้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
    โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็น ต้นเหตุ และได้กล่าวในข้อ ๒ แล้ว)
    เป็นเจตสิกที่สามารถเกิดพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิกได้ จึงกล่าวว่า โสภณเจตสิก ๒๒ ดวงนี้มี ๓ เหตุ

    ในข้อ ๔ ปีติเจตสิก ดวงเดียว เป็นเจตสิกที่มี ๕ เหตุ คือ เมื่อเกิดพร้อมกับ โลภโสมนัสก็มี โลภเหตุ โมหเหตุ
    เมื่อเกิดกับโสมนัสญาณสัมปยุตต ก็มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ จึงรวมเป็น ๕ เหตุ เว้นโทสเหตุอย่างเดียว
    เพราะโทสมูลจิต นั้นไม่มีปิติ มีแต่โทมนัส

    ในข้อ ๕ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) เป็นเจตสิกที่มีเหตุทั้ง ๖ ครบบริบูรณ์ เพราะอัญญสมานาเจตสิก ๑๒ ดวงนี้
    เกิดพร้อมกับเหตุใด ๆ ได้ทั้ง ๖ เหตุ
    ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นการแสดงตามนัยที่ นับแล้วไม่นับอีก ที่ชื่อ อคหิตัคคหณนัย และคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใด
    ที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างแล้ว เช่น โลภ เจตสิก โทสเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก หรือเจตสิกดวงอื่น ๆ ก็ดี
    เมื่อได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวอ้างในข้อใดที่ใดแล้ว ก็ไม่ได้ยกมากล่าวอ้าง หรือยกมาแสดงซ้ำในข้อ อื่น ๆ อีกเลย
    ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า นับแล้วไม่นับอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 สิงหาคม 2013
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คหิตัคคหณนัย

    ๑. อเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่ไม่มีเหตุ มี ๑๓ ดวง ได้แก่
    ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘
    ข. โมหเจตสิก ๑ เฉพาะที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒

    ๒. เอกเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุเดียว มี ๒๐ ดวง ได้แก่
    ก. เจตสิก ๑๕ ดวง ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒ (เว้นโมหเจตสิก)
    ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (สำหรับโมห เจตสิก
    นี้ หมายถึง ประกอบกับโลภมูลจิตโดยเฉพาะ และที่ประกอบ กับ โทสมูลจิตโดยเฉพาะ)
    ค. เจตสิก ๒ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ที่ประกอบกับ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒

    ๓. ทวิเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๔๘ ดวง ได้แก่
    ก. เจตสิก ๔๕ ดวง (เว้นโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ ที่เป็น ตัวเหตุ) ที่ ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒
    ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก ที่ ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

    ๔. ติเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๓๕ ดวง ได้แก่
    ก. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
    ข. โสภณเจตสิก ๒๒ ดวง (เว้นอโลภะ อโทสะ ปัญญา อันเป็นตัวเหตุ) ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อธิบาย

    ๑. อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีเจตสิกประกอบได้อย่างมากที่สุด ๑๒ ดวง
    คืออัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทเจตสิก) อันได้แก่
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย
    มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ และปิติ
    ใน บรรดาเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้
    ไม่มีโลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก
    และปัญญาเจตสิก
    อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๖ ประกอบร่วมอยู่ด้วยเลยแม้แต่ เหตุเดียว
    ดังนั้นเจตสิกทั้ง ๑๒ ดวงนี้ จึงได้ชื่อว่าเจตสิกที่ไม่มีเหตุตรงตามข้อ ๑ ก.

    ๒. โมหมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก ฉันทเจตสิก)
    โมจตุกเจตสิก ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ รวมเป็น ๑๖ ดวง ได้แก่
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย
    มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉา

    ในบรรดา เจตสิกทั้ง ๑๖ ดวงนี้ มีโมหเจตสิก อันเป็นตัวเหตุอยู่เพียง ๑ เหตุเท่านั้น เจตสิกอีก ๑๕ ดวง นั้น
    ไม่มีเจตสิกอันเป็นตัวเหตุอีกเลย ดังนั้นจึงไได้ชื่อว่า โมหเจตสิก ที่ใน โมหมูลจิต ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุ
    ตรงตามข้อ ๑ ข. เพราะโมหเจตสิก ในที่นี้ แม้ตัวเองจะเป็นตัวเหตุก็จริง แต่ไม่มีเหตุอื่นมาประกอบร่วมอีกด้วยเลย

    ๓. โมหมูลจิต ๒ ดวง มี เจตสิกประกอบได้ ๑๖ ดวง ดังที่ได้กล่าวแล้วใน ข้อ ๒ ข้างบนนี้นั้น
    ในจำนวนเจตสิก ๑๖ ดวง มีโมหเจตสิกอันเป็นตัวโมหเหตุ ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๑๕ ดวง
    เฉพาะเจตสิก ๑๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับโมหเจตสิกอัน เป็นโมหเหตุ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเจตสิก ๑๕ ดวงนี้
    เป็นเจตสิกที่มีเหตุ คือ โมหเหตุ เหตุเดียวตรงตามข้อ ๒ก.เพราะเจตสิก ๑๕ดวงนี้มีโมหเหตุเกิดมาร่วมประกอบด้วย

    ๔. โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โมจตุกเจตสิก ๔
    โลติกเจตสิก ๓ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่
    ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ
    วิตก วิจาร อธิโมกข วิริยะ ปีติ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โลภะ ทิฏฐิ มานะ ถีนะ และมิทธะ

    ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโลภเจตสิก อันเป็นโลภเหตุ ๑ มีโมห เจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ ร่วมอยู่ด้วยกัน
    ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โลภเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน
    โมหเจตสิกในที่นี้ก็มีเหตุ ๑ คือมี โลภเหตุเกิดร่วมด้วย

    โทสมูลจิต ๒ ดวง มีเจตสิกที่ประกอบได้ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้น ปีติเจตสิก) โมจตุกเจตสิก ๔
    โทจตุกเจตสิก ๔ และถีทุกเจตสิก ๒ รวม ๒๒ ดวง อันได้แก่ [
    color=#0000FF]ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย มนสิการ วิตก วิจาร อธิโมกข
    วิริยะ ฉันทะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ และ มิทธะ [/color]
    ในบรรดาเจตสิกทั้ง ๒๒ ดวงนี้ มีโทสเจตสิกอันเป็น โทสเหตุ ๑ มีโมหเจตสิกอันเป็นโมหเหตุ ๑ เกิดร่วมอยู่ด้วยกัน
    ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า โทสเจตสิกมีเหตุ ๑ คือมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย และโดยทำนองเดียวกัน โมหเจตสิก
    ในที่นี้ (คือในโทสมูลจิตนี้) ก็มีเหตุ ๑ คือมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วย

    รวมความในข้อ ๔ นี้คงได้ความว่า โลภเจตสิกก็ดี โทสเจตสิกก็ดี โมหเจตสิก ที่ในโลภมูลจิตก็ดี
    และโมหเจตสิกที่ในโทสมูลจิตก็ดี ต่างก็มีเหตุเดียวเท่านั้น ตรง ตามข้อ ๒ ข.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 สิงหาคม 2013
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๕. กามาวจรโสภณจิตญาณวิปปยุตต ๑๒ มีเจตสิก ประกอบ ๓๗ ดวง คือ
    อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ในจำนวนเจตสิก ๓๗ ดวงนี้
    มี อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เพราะว่า อโลภเจตสิก
    เกิดร่วมกับอโทสเจตสิกซึ่งต่างก็เป็นตัวเหตุด้วยกันทั้งคู่ และ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน
    ดังนั้นในที่นี้ อโลภเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโทสเหตุ และ อโทสเจตสิก ก็มีเหตุ ๑ คือ อโลภเหตุ ตรงตามข้อ ๒ ค.

    ๖. ทวิเหตุกจิต ๒๒ นั้นได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ กามาวจรโสภณ ญาณวิปปยุตตจิต ๑๒
    โลภมูลจิต ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โลภเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และ
    เจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโลภะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโลภเจตสิก โมหเจตสิก
    ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
    โทสมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง คือ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๒๐ ดวง
    เจตสิกอื่น ๆ (เว้นโทสะ โมหะ) ๒๐ ดวงนี้เกิด ร่วมกับโทสเจตสิก โมหเจตสิก
    ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๒๐ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ

    กามาวจรโสภณญาณวิปปยุตตจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑
    และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง เจตสิกอื่น ๆ (ที่ เว้น อโลภะ อโทสะ แล้ว) ๓๕ ดวงนี้ เกิดร่วมกับ
    อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ ดวงนี้มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ และอโทสเหตุ
    เมื่อรวมเจตสิกที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒ ดวง ที่กล่าวในข้อ ๖ นี้เข้าด้วย กันทั้งหมดแล้วหัก
    โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ เจตสิกที่เป็นตัวเหตุออก และหักเจตสิกที่ซ้ำกันออกเสียอีกด้วยแล้ว
    จะได้เจตสิก ๔๕ ดวง ในเจตสิก ๔๕ ดวงนี้แหละที่ได้ชื่อว่า มี ๒ เหตุ คือ
    เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโลภมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุกับโมหเหตุ
    เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ซึ่งประกอบกับโทสมูลจิตนั้น มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุกับโมหเหตุ
    เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุซึ่งประกอบกับกามจิตวิปปยุตตนั้น มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุกับอโทสเหตุ
    เป็นอันว่าตรงกับข้อ ๓ ก.
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๗. จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง จะต้องมี อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
    ประกอบ เจตสิก ๓ ดวงนี้ ก็คือเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง เหตุทั้ง ๓ ที่เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกันนี้ ต่างก็เป็นเหตุให้แก่กันและกัน คือ
    อโลภเจตสิก ก็มี อโทสเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
    อโทสเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโมหเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
    ปัญญาเจตสิก ก็มี อโลภเหตุ กับ อโทสเหตุ เป็นเหตุรวม ๒ เหตุ
    ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก รวมเจตสิก ๓ ดวงนี้
    แต่ละดวงก็เป็นเจตสิกที่มี ๒ เหตุ ตรงตามข้อ ๓ ข.

    ๘. จิตที่เป็นไตรเหตุ หรือ ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง มีเจตสิกประกอบ ๓๘ ดวง
    คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ และเจตสิกอื่น ๆ อีก ๓๕ ดวง
    เพราะเจตสิก ๓๕ ดวงนี้เกิดร่วมพร้อมกับอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก
    อันเป็นตัวเหตุทั้ง ๓ นั่นเอง จึงได้ชื่อว่า เจตสิก ๓๕ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา)
    ประกอบกับติเหตุกจิตนั้นเป็นเจตสิกที่มี ๓ เหตุ ตรงตามข้อ ๔
    ที่กล่าวมาตอนนี้ เป็นการแสดงตามนัย นับแล้วนับอีก ที่ชื่อ คหิตัคคหณนัย
    ซึ่งคงจะเห็นแล้วว่า เจตสิก ดวงใดที่ได้ยกเป็นหัวข้อขึ้นกล่าวแล้ว
    อ้างแล้วเช่น อัญญสมานาเจตสิก โมหเจตสิก เป็นต้น ในข้อต่อมาก็ยังยกมาแสดง
    ยกมากล่าว อ้างซ้ำอีก ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า นับแล้วนับอีก
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หมวดที่ ๓ กิจจสังคหะ

    กิจจสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงเรื่องกิจ หมายความว่า รวบรวมแสดงเรื่อง กิจการงาน หรือหน้าที่ของจิต เจตสิก
    เพื่อให้ทราบว่าจิตดวงใดตลอดจนเจตสิกที่ ประกอบกับจิตนั้น มีกิจการงาน หรือมีหน้าที่ทำอะไรกัน นอกจากกิจแล้ว
    ท่านแสดงฐานให้ทราบไว้ด้วย ฐาน แปลว่าที่ตั้ง ฐานของกิจ ก็คือที่ตั้ง ที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่จิตและเจตสิกทำกิจการงาน
    มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๗ แสดงว่า

    ๗. ปฏิสนฺธทโย นาม กิจฺจเภเทน จุทฺทส
    ทสธา ฐานเภเทน จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ


    แปลความว่า บรรดาจิตที่เกิดขึ้น มีกิจการงานที่ต้องทำ ๑๔ ประเภท เช่น ปฏิสนธิกิจ เป็นต้น ฐาน
    หรือสถานที่ทำงานของจิต มีเพียง ๑๐ เท่านั้น

    อธิบาย

    จิตทั้งหมด คือ ทั้ง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง มีกิจการงานหรือมีหน้าที่ต้องทำเพียง ๑๔ อย่าง หรือ ๑๔ กิจ เท่านั้น
    และใน ๑๔ กิจนี้ มีสถานที่สำหรับทำกิจการงาน นั้น ๑๐ แห่ง หรือ ๑๐ ฐาน คือ
    ๑. ปฏิสนธิกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปฏิสนธิฐาน
    ๒. ภวังคกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ภวังคฐาน
    ๓. อาวัชชนกิจ มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า อาวัชชนฐาน
    ๔. ทัสสนกิจ
    ๕. สวนกิจ
    ๖. ฆายนกิจ
    ๗. สายนกิจ
    ๘. ผุสนกิจ
    มีฐาน คือ สถานที่ทำการงานเรียกว่า ปัญจวิญญาณฐาน

    ๙. สัมปฏิจฉันนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สัมปฏิจฉันนฐาน
    ๑๐. สันตีรณกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า สันตีรณฐาน
    ๑๑. โวฏฐัพพนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า โวฏฐัพพนฐาน
    ๑๒. ชวนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ชวนฐาน
    ๑๓. ตทาลัมพนกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า ตทาลัมพนฐาน
    ๑๔. จุติกิจ มีฐาน คือสถานที่ทำการงานเรียกว่า จุติฐาน
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หน้าที่ของกิจ

    ๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพสืบต่อชาติ คือ ความเกิดขึ้นในภพใหม่ หมายเฉพาะ
    ขณะแรกที่เกิดใหม่ขณะเดียวเท่านั้น ฉะนั้นในภพหนึ่งชาติหนึ่ง จิตที่ทำ กิจปฏิสนธิจึงมีเพียงครั้งเดียว ขณะเดียวเท่านั้น
    ๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์ของภพ ทำให้ตั้งอยู่ในภพนั้น ๆ เท่าที่อายุ สังขารจะพึงอยู่ได้
    จิตทำภวังคกิจนี้ทำอยู่เสมอ น้อยบ้าง มากบ้าง นับประมาณไม่ได้
    ๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่มาถึงตน ทั้งทางปัญจทวาร และ มโนทวาร ในวิถีหนึ่ง ๆ
    เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เป็นจิตนำวิถี เพราะเป็นจิตดวง แรกที่ขึ้นวิถีใหม่ในทุก ๆ วิถี
    ๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่ เห็น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ ได้ยิน ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่ ได้กลิ่น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๗. สายนกิจ ทำหน้าที่ รู้รส ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่ รู้สิ่งที่มากระทบกาย มีเย็น ร้อน อ่อนแข็ง เป็นต้น ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๙. สัมปฏิจฉันนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์ที่สัมปฏิจฉันนกิจส่งมาให้ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นขณะเดียว
    ๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ กำหนดให้เป็นกุสล อกุสล หรือ กิริยา ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดขึ้น
    เพียงขณะเดียว แต่ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัด ตัดสิน ไม่ลง ก็อาจเกิด ๒ ขณะ ก็มี มากที่สุดเพียง ๓ ขณะ
    ๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์เป็น กุสล อกุสล หรือ กิริยา ตามที่ โวฏฐัพพนกิจได้ตัดสินและกำหนดมา
    ในวิถีหนึ่ง ๆ ตามปกติก็เกิดชวนะ ๗ ขณะ แต่ว่าที่เกิดน้อยกว่านี้ก็มี และที่เกิดมากมายจนประมาณไม่ได้
    ก็มีเหมือนกัน (เช่น เวลาเข้าฌานสมาบัติ)
    ๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ที่เหลือจากชวนกิจ ในวิถีหนึ่ง ๆ เกิด ขึ้น ๒ ขณะ
    ๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เป็นจิตสุดท้ายในภพนั้นชาตินั้น ในภพ หนึ่งชาติหนึ่ง
    จิตทำจุติกิจนี้เพียงครั้งเดียวขณะเดียวเท่านั้น
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตทำกิจ
    ๑. จิตทำ ปฏิสนธิกิจ มี ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
    มหาวิบากจิต ๘
    มหัคคตวิบากจิต ๙
    ๒. จิตทำ ภวังคกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ
    ๓. จิตทำ อาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑
    ๔. จิตทำ ทัสสนกิจ มี ๒ ดวง คือ จักขุวิญญาณจิต ๒
    ๕. จิตทำ สวนกิจ มี ๒ ดวง คือ โสตวิญญาณจิต ๒
    ๖. จิตทำ ฆายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ฆานวิญญาณจิต ๒
    ๗. จิตทำ สายนกิจ มี ๒ ดวง คือ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
    ๘. จิตทำ ผุสนกิจ มี ๒ ดวง คือ กายวิญญาณจิต ๒
    ๙. จิตทำ สัมปฏิจฉันนกิจ มี ๒ ดวง คือ สัมปฏิจฉันนจิต ๒
    ๑๐. จิตทำ สันตีรณกิจ มี ๓ ดวง คือ
    อุเบกขา สันตีรณจิต ๒
    โสมนัส สันตีรณจิต ๑
    ๑๑. จิตทำ โวฏฐัพพนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
    ๑๒. จิตทำ ชวนกิจ มี ๕๕ ดวง คือ
    อกุสลจิต ๑๒
    หสิตุปปาทจิต ๑
    มหากุสลจิต ๘
    มหากิริยาจิต ๘

    เรียกว่ากามชวนะ ๒๙

    มหัคคตกุสลจิต ๙
    มหัคคตกิริยา ๙
    โลกุตตรจิต ๘

    เรียกว่าอัปปนาชวนะ ๒๖

    ๑๓. ตทาลัมพนกิจ มี ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓
    มหาวิบากจิต ๘
    ๑๔. จุติกิจ มี ๑๙ ดวง คือ เท่ากันและเหมือนกันกับปฏิสนธิกิจ
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๘. อฏฺฐสฏฺฐี ตถา เทฺว จ นวาฏฺฐ เทฺว ยถากฺกมํ
    เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ กิจฺจฏฺฐานานิ นิทฺทิเส ฯ


    แปลความว่า จิตทำกิจ ๑ มีฐาน ๑ นั้น มีอยู่ ๖๘ ดวง
    จิตทำกิจ ๒ มีฐาน ๒ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง
    จิตทำกิจ ๓ มีฐาน ๓ นั้น มีอยู่ ๙ ดวง
    จิตทำกิจ ๔ มีฐาน ๔ นั้น มีอยู่ ๘ ดวง
    จิตทำกิจ ๕ มีฐาน ๕ นั้น มีอยู่ ๒ ดวง

    อธิบาย

    จิตที่ทำกิจ ๑ อย่าง และมีฐาน ๑ นั้น มีจำนวน ๖๘ ดวง คือ
    จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
    โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
    ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ฆายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
    ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สายนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
    กายวิญญาณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ผุสนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ปัญจวิญญาณฐาน
    ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ อย่างเดียว ทำที่ อาวัชชนฐาน
    สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉันนกิจ อย่างเดียว ทำที่ สัมปฏิจฉันนฐาน
    ชวนจิต ๕๕ ดวง ทำหน้าที่ ชวนกิจ อย่างเดียว ทำที่ ชวนฐาน

    จิตที่ทำกิจ ๒ อย่าง และมีฐาน ๒ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

    โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
    ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
    มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
    โวฏฐัพพนกิจ ที่ โวฏฐัพพนฐาน

    จิตที่ทำกิจ ๓ อย่าง และมี ฐาน ๓ ฐานนั้น มี ๙ ดวง คือ

    มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
    ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
    จุติกิจ ที่ จุติฐาน

    จิตที่ทำกิจ ๔ อย่าง และมีฐาน ๔ ฐานนั้น มี ๘ ดวง คือ

    มหาวิบากจิต ๘ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
    ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
    จุติกิจ ที่ จุติฐาน
    ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

    จิตที่ทำกิจ ๕ อย่าง และมีฐาน ๕ ฐานนั้น มี ๒ ดวง คือ

    อุเบกขา สันตีรณจิต ๒ ดวง ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
    ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
    จุติกิจ ที่ จุติฐาน
    สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
    ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    จิตคือใจ เป็นธรรมอัพยากฤติ คือเป็นได้ทั้งอัตตาและอนัตตา จิตคือนิวเคลียสของไข่ฝ่า่ยแม่ในตอนเกิดที่ผสมพันธ์กับสเปริ์ม กระบวนการทำงานของจิตเป็นวิถีที่เนื่องกับอายตนะทั้ง 6 ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตที่ปรกติคือพยายามละราคะ โทสะ โมหะ ทำได้ด้วยการมีศรัทธา คลายละทิฎฐิ รู้จักให้ทานเป็นนิจ รักษาศีล5 และทำสมาธิภาวนา
     
  19. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ตั้งแต่จำความได้นี่ ผมว่าผมน่าจะยังไม่เคยนับ 1 ถึง 1000 สักครั้งเลยนะ ส่วนมากพอถึง 10 ถึง 100 ก็จะเริ่มคูณแล้วเพราะนิสัยขี้เกียจมากๆ เช่น หยอดเศษตังเข้ากระปุกพอทุบออกมา คำนวณคร่าวๆน่าจะได้สักสองพันกว่าบาท ผมก็จะเริ่มจาก กองไว้เป็นกองละสิบบ้าง กองละร้อยบ้าง แล้วก็จับคูณเอา แล้วก็เอาเศษๆมากบวกเอาทีหลัง เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่ง่ายละสั้นกว่า ถ้านับรวดเดียวนี่ไม่เคยจะได้ตรงสักที บางครั้งยังไม่ทันนับไปหมดโดนอะไรเข้ามากวนลืมอีกต้องนับใหม่เสียเวลามาก แต่ผมเคยเห็นพวกอัจฉริยะเขาก็ทำอะไรประมาณนี้ได้เหมือนกันนะครับ อะไรที่แปลกๆ ยากๆ เพียงแต่จะหาคนที่เข้าใจพฤติกรรมเหล่านั้นของเขาได้ยากมากๆ เคยฟังมาว่า มีคนเข้าใจในสิ่งทีไอน์สไตน์พูดมาไม่ถึง 10 คนในโลกนี้เกี่ยวกับทฤษฎีชั้นสูงๆนะครับ ไม่ใช่คำพูดทั่วๆไป
     
  20. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    จิต ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง จิตเดิมที่เป็นธาตุรู้ การที่จะเข้าถึงธาตุรู้ได้เราต้องมีตัวรู้ คือ สติสัมปชัญญะเป็นตัวระลึกเข้าไปหาธาตุรู้เดิมที่รู้สภาวะความจริง โดยตัวสตินำเข้าไประลึกในสมาธิแบบแนวดิ่ง สงบนิ่งปราศจากความคิดและอารมณ์ใด ๆ จะเกิดคลื่นพลังงานเป็นตัวรู้นั้นจะนำไปฉุดตัวผู้รู้ที่อยู่ข้างใน ที่เรียกว่าความรู้ผุดออกมาจากภายใน ให้กับสิ่งที่เราต้องการรู้ ก็จะเป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริง เรียกว่า ได้ความสว่างจากภายใน มีสติระลึกรู้เข้าไปถึงจิต การที่จะทำได้ในขณะนั้น ๆ ต้องอยู่ที่น้ำหนักของสติสัมปชัญญะ เราต้องมีกาย วาจา ใจ ทีบริสุทธิ์ผ่องใส หรือ ยิ่งละวางตัวตนได้มากเท่าไร ก็สามารถบุกเข้าไปถึงจิต และก็จะได้เห็นตรงตามความจริงจากจิตนั้น

    **************************************

    ข้าพเจ้ายังเป็นผู้มีปัญญาน้อย ยังต้องศึกษาเรียนรู้อีกมาก เพื่อแลกเปลี่ยนประการณ์กันเท่านั้น พร้อมรับคำแนะนำ
     

แชร์หน้านี้

Loading...