จิตคืออะไร?จิตมีชื่อเรียกถึง ๑๐ ชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มหากิริยาจิต

    มหากิริยาจิต เป็นจิตที่ให้สำเร็จในการคิด การทำ การพูดของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้สิ้นกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิงแล้ว
    การคิด การทำ การพูด เหล่านั้นจึงหาก่อให้เกิดผลในอนาคตไม่มีความหมายว่า มหากุศลนั้น ถ้าเกิดแก่บุคคลอื่นที่มิใช่พระอรหันต์
    ก็คงเรียกว่า มหากุศลจิต แต่ถ้าเกิดแก่พระอรหันต์โดยเฉพาะแล้ว เรียกว่า มหากิริยาจิต
    ที่เรียกว่า มหากุศลจิต เพราะจะต้องให้ผลในภายหน้า แต่เรียกว่ามหากิริยาจิต เพราะจิตที่ปราศจากผลในอนาคต

    มหากิริยาจิตก็มีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่

    ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากิริยาจิตดวงที่ ๑ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วยความยินดี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๖ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น อสังขาริก คือเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักจูง

    ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
    มหากิริยาดวงที่ ๘ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็น สสังขาริก คือเกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักจูง

    จำแนกกามาวจรโสภณจิตโดยชาติเภทเป็นต้น

    ๑. ชาติเภท โดยประเภทแห่งชาติกามาวจรกุศลโสภณจิต หรือกามโสภณจิต ๒๔ ดวงนี้ มี ๓ ชาติ คือ
    มหากุศลจิต ๘ ดวง เป็นชาติกุศล
    มหาวิบากจิต ๘ ดวง เป็นชาติวิบาก
    มหากิริยาจิต ๘ ดวง เป็นชาติกิริยา
    ๒. ภูมิเภท โดยประเภทแห่งภูมิ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง เป็นกามาวจรภูมิ คือ เป็นจิตชั้นกามาวจรอย่างเดียว
    ๓. เวทนาเภท โดยประเภทแห่งเวทนา กามโสภณจิต ๒๔ ดวง มีเวทนา ๒ อย่างคือ โสมนัสเวทนา ๑๒ ดวง อุเบกขาเวทนา ๑๒ ดวง
    ซึ่งตามรายชื่อของจิตก็ได้ระบุบอกไว้แล้วว่าดวงเป็นเป็นเวทนาอะไร จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก
    ๔. เหตุเภท โดยประเภทแห่งเหตุ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง เป็น สเหตุกจิตทั้งนั้น

    ที่เป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวงนั้น เป็นสเหตุกจิตที่มี ๓ เหตุ คือ มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหะเหตุ
    ประกอบ ที่เป็นญาณวิปยุตต ๑๒ ดวง เป็นสเหตุกจิตที่มีสัมปยุตตเหตุเพียง ๒ คือ มี อโลภเหตุ อโทสเหตุ ประกอบเท่านั้น
    ๕. สังขารเภท โดยประเภทแห่งสังขาร กามโสภณจิต เป็นอสังขาริก ๑๒ ดวง เป็นสสังขาริก ๑๒ ดวง
    ซึ่งตามรายชื่อก็บอกไว้แล้วว่าดวงไหนเป็นอสังขาริก หรือสสังขาริก
    ๖. สัมปยุตตเภท โดยประเภทแห่งสัมปยุตต กามโสภณจิตเป็นญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง
    เป็นญาณวิปยุตต ๑๒ ดวง ตามรายชื่อก็บอกไว้แล้วเหมือนกัน
    ๗. โสภณเภท โดยประเภทแห่งโสภณะ กามโสภณจิตทั้ง ๒๔ ดวง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นโสภณจิต
    เป็นจิตที่ดีงามทั้งนั้นและเป็นจิตที่มีโสภณเจตสิกประกอบด้วย
    ๘. โลกเภท โดยประเภทแห่งโลก กามโสภณจิต ๒๔ ดวง เป็นโลกียจิต ไม่ใช่โลกุตตรจิต
    ๙. ฌาณเภท โดยประเภทแห่งฌาน กามโสภณจิตเป็น อฌานทั้ง ๒๔ ดวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การยิ้มและหัวเราะ

    การยิ้มแย้มและการหัวเราะนั้น ในคัมภีร์อลังการ ได้จำแนกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ
    ๑. สิตะ ยิ้มอยู่ในหน้า ไม่เห็นไรฟัน
    ๒. หสิตะ ยิ้มแย้มพอเห็นไรฟัน
    ๓. วิหสิตะ หัวเราะเบาๆ
    ๔. อุปหสิตะ หัวเราะจนกายไหว
    ๕. อปหสิตะ หัวเราะจนน้ำตาไหล
    ๖. อติหสิตะ หัวเราะจนสั่นพริ้วและโยกโคลงไปทั้งตัว
    สิตะ และ หสิตะ เป็นการยิ้มแย้มของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย
    ที่เรียกว่าหสิตุปปาทจิต แม้จะโสมนัสด้วยมหากิริยาก็เพียงแต่ยิ้มหรือแย้มเท่านั้น ไม่ถึงกับหัวเราะจนมีเสียง
    ส่วนพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน

    ตลอดจนปุถุชนทั่วๆ ไป เพียงแต่ยิ้มแย้ม ไม่ถึงกับหัวเราะก็มีได้ แต่ไม่เรียกว่ายิ้มแย้มด้วยหสิตุปปาทจิต
    วิหสิตะ และ อุปหสิตะ เป็นการหัวเราะของพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน กัลยาณชน ตลอดจนปุถุชนทั่วๆ ไป
    อปหสิตะ และ อติหสิตะ เป็นการหัวเราะของบุคคลชั้นต่ำ พาลบุคคล

    ในปรมัตทีปนีฏีกา แสดงจิตที่ทำให้การยิ้มแย้มและการหัวเราะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่จิต ๑๓ ดวง คือ
    โสมนัส โลภมูลจิต ๔
    โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
    โสมนัส มหากุศล ๔
    โสมนัส มหากิริยา ๔

    ปุถุชนยิ้มและหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ
    โสมนัส โลภมูลิจต ๔
    โสมนัส มหากุศล ๔

    พระเสกขบุคคล ๓ ยิ้มและหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ
    โสมนัส โลภมูลทิฏฐิคตวิปยุตตจิต ๒
    โสมนัส มหากุศล ๔

    พระอเสกขบุคคล ยิ้มแย้มด้วยจิต ๕ ดวง คือ
    โสมนัส หสิตุปาทะ ๑
    โสมนัส มหากิริยา ๔

    การยิ้มแย้มของพระอรหันต์นั้น ถ้าอารมณ์เป็น อโนฬาริกะ คือเป็นอารมณ์ละเอียดอันบุคคลธรรมดาไม่สามารถรู้
    ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย หสิตุปปาทจิต ( หสิตุปปาทจิตนี้ เรียกว่า หสนจิตก็ได้ )
    ถ้าอารมณ์เป็น โอฬาริกะ คือเป็นอารมณ์ที่หยาบ หมายความว่าเป็นอารมณ์ธรรมดาที่บุคคลทั่วๆ ไปสามารถรู้ได้นั้น
    ขณะนั้นยิ้มแย้มด้วย โสมนัสมหากิริยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แสดงชาติแห่งกามาวจรจิต

    มีคาถาสังคหะ แสดงชาติแห่งกามาวจรจิต คือ กามจิต เป็นคาถาที่ ๗ ว่า

    ๗. กาเม เตวีส ปากานิ ปุญฺญาปุญฺญานิ วีสติ
    เอกทส กฺริยา เจติ จตุปญฺญาส สพฺพถา ฯ


    แปลความว่า วิบากจิต ๒๓ กุศลจิตอกุศลจิต ๒๐ กิริยาจิต ๑๑ รวมเป็นกามจิต ๕๔ เท่านี้เอง


    ขยายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน นัยโดยย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิสดาร ๑๒๑ ดวงนั้น
    กล่าวโดยชาติก็มี ๔ ชาติเท่านั้น คือ ชาติอกุศล ชาติกุศล ชาติวิบาก และชาติกิริยา
    เฉพาะใน กามจิต คือ กามาวจรจิต ซึ่งเป็นจิตที่โดยมากท่องเที่ยวอยู่ในกามภูมินั้น มีครบทั้ง ๔ ชาติ
    ได้แก่ อกุศล ๑๒ กามกุศล ๘ รวม ๒๐ กามวิบาก ๒๓ และ กามกิริยา ๑๑
    ที่ต้องเรียกว่า กามกุศล กามวิบาก กามกิริยา เพราะว่า จิตที่เป็นชาติกุศลนั้น มีทั้งกามกุศล ซึ่งกล่าวถึงอยู่บัดนี้
    และ มหัคคตกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า

    จิตที่เป็นชาติวิบาก ก็มีทั้ง กามวิบาก ซึ่งกล่าวถึงอยู่ในบัดนี้ และมหัคคตวิบาก โลกุตตรวิบาก ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
    จิตที่เป็นชาติกิริยา ก็มีทั้ง กามกิริยา ซึ่งกล่าวถึงอยู่ในบัดนี้ และ มหัคคตกิริยา ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
    ส่วนจิตที่เป็นชาติอกุศลนั้น มีกามจิตแต่แห่งเดียว จิตที่เป็นชาติอกุศลไม่มีในมหัคคตจิตและโลกุตตรจิตเลย จึงไม่ต้องใช้ว่า กามอกุศล
    อกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นชาติอกุศล

    มหากุศลจิต ๘ ดวง เป็นชาติกุศล เพื่อให้ชัดแจ้ง จึงเรียกว่า กามกุศล
    อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง อเหตุกกุศลวิบาก ๘ ดวง และ มหาวิบากจิต ๘ ดวง รวมจิต ๒๓ ดวงนี้ เป็นชาติวิบาก
    เพื่อให้ชัดแจ้งจึงเรียกว่า กามวิบาก

    อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง และมหากิริยาจิต ๘ ดวง รวมจิต ๑๑ ดวงนี้เป็นชาติกิริยา เพื่อให้ชัดแจ้งจึงเรียกว่า กามกิริยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แสดงอย่างแบบบัญชีต่อไปนี้ บางทีจะทำให้เห็นชัดขึ้น


    ....จิต ....................ชาติอกุศล ...........ชาติกุศล .......ชาติวิบาก .........ชาติกิริยา
    อกุศลจิต ๑๒
    โลภมูลจิต ๘ ..................๘
    โทสมูลจิต ๒ ..................๒
    โมหมูลจิต ๒ ..................๒

    อเหตุกจิต ๑๘
    อกุศลวิบากจิต ๗ ........................................................๗
    อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ..................................................๘
    อเหตุกกิริยาจิต ๓ ............................................................................๓

    กามาวจรโสภณจิต ๒๔
    มหากุศลจิต ๘........................................ ๘
    มหาวิบากจิต ๘ ...........................................................๘
    มหากิริยาจิต ๘ ................................................................................๘

    รวมกามจิต ๕๔ .................๑๒ ...................๘ ................๒๓ ................๑๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2013
  5. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    เข้ามาดู เป็นองค์กร ไปเสียแระ เว็บพลังจิต
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็น่าจะว่าดี ที่เป็นองค์กรพระพุทธศาสนาครับ
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปาวจรจิต

    รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาน หรือเป็นจิตที่โดยมากท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ
    มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

    ๘. ปญฺจธา ฌานเภเทน รูปาวจรมานสํ
    ปุญฺญปากกริยาเภทา ตํ ปญฺจทสธา ภเว ฯ


    แปลความว่า รูปาวจรจิต กล่าวโดยประเภทแห่งฌานมี ๕ แล้ว
    จำแนกตามประเภท กุศล วิบาก กิริยา อีก จึงเป็น ๑๕ ดวง

    อธิบายว่า รูปาวจรจิตนั้น กล่าวโดยฌานเภท คือ โดยประเภทแห่งฌานแล้ว ก็มี ๕ ได้แก่

    รูปาวจรปฐมฌานจิต
    รูปาวจรทุติยฌานจิต
    รูปาวจรตติยฌานจิต
    รูปาวจรจตุตถฌานจิต
    รูปาวจรปัญจมฌานจิต

    ซึ่งมักเรียกกันสั้นๆ แต่เพียงว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน
    ฌานทั้ง ๕ นี้ เมื่อกล่าวโดยชาติเภท คือโดยประเภทแห่งชาติ ( ประเภทของจิตนั่นเอง )
    อีก ๓ ได้แก่ กุศล วิบาก กิริยา แล้ว ก็เป็นรูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรวิบากจิต ๕
    และรูปาวจรกิริยาจิต ๕ จึงรวมเป็น ๑๕ ดวง

    รูปาวจรกุศลจิต ๕ นั้นได้แก่ รูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต รูปาวจรทุติยฌานกุศลจิต
    รูปาวจรตติยฌานกุศลจิต รูปาวจรจตุตถฌานกุศลจิต และ รูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต
    รูปาวจรวิบากจิต ๕ และ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ ก็แจกทำนองเดียวกันนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5896-1.jpg
      5896-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.2 KB
      เปิดดู:
      93
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กรกฎาคม 2013
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฌานคืออะไร
    คำว่า ฌาน นี้ อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า

    อารมฺมณูปนิชฺฌานโต ปจฺจนิกฌาปนโต วา ฌานํ

    แปลความว่า ธรรมชาติที่เพ่งอารมณ์ ( อันมีกสิณ เป็นต้น ) ก็ดี
    หรือธรรมชาติที่เผาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ ( มีนิวรณ์เป็นต้น ) ก็ดี ธรรมชาตินั้นเรียกว่า ฌาน
    ในปรมัตถทีปนีฎีกาแสดงว่า

    ฌาเนน สมฺปยุตฺตํ จิตฺตนฺติ ฌานจิตฺตํ

    แปลความว่า จิตใดที่ประกอบด้วยฌาน จิตนั้นเรียกว่า ฌานจิต

    ฌานจิตนี้ทั้งเพ่งอารมณ์และเผาปฏิปักษ์ธรรมไปพร้อมกันในขณะเดียวกันด้วย
    ปฏิปักษ์ธรรมที่ทำลายการเพ่งอารมณ์ จนไม่สามารถที่จะให้เกิดฌานจิตได้นั้น เรียกว่า นิวรณ์
    อันมีความหมายว่าเป็น เครื่องกั้น เครื่องกีดกัน เครื่องกีดขวางการกระทำความดี
    ในที่นี้ก็หมายความว่า ขัดขวางไม่ให้ทำจนถึงฌานได้

    นิวรณ์ของฌาน

    นิวรณ์อันเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดฌานได้นั้น มี ๕ ประการ คือ
    กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ และ วิจิกิจฉานิวรณ์

    ๑. กามฉันทนิวรณ์ คือความติดใจในกามคุณอารมณ์
    อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ระคนด้วยสี
    ถ้ามัวไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้ เป็นไม่ได้ฌานแน่ ต้องใช้เอกัคคตา เผากามฉันทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

    ๒. พยาปาทนิวรณ์ ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน
    ถ้ามัวแต่ครุ่นคิดปองร้ายใครๆ อยู่ ฌานจิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้ปิติเผาพยาปาทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

    ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น
    ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่มีจอกแหนปิดบังอยู่ ถ้าลงใจท้อถอยคลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่งนั้นแล้ว
    ย่อมไม่เกิดผลให้ถึงฌานได้ ต้องใช้วิตก เผาถีนมิทธนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่า เหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ
    ถ้าจิตใจเลื่อนลอยซัดส่ายอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ไม่เป็นฌานจิต ต้องใช้สุขเผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

    ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตม หรือน้ำที่ตั้งอยู่ในที่มืด
    ถ้าเกิดลังเลไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็เป็นอันว่าไม่ทำถึงฌานอยู่ตราบนั้น ต้องใช้วิจารเผาวิจิกิจฉานิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์เสีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กรกฎาคม 2013
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การเผานิวรณ์
    การเผา การข่ม การทำลายหรือการประหารนิวรณ์นี้ กล่าวสรุปอย่างสั้นๆ ก็ว่าต้องใช้

    วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์
    วิจาร เผา วิจิกิจฉานิวรณ์
    ปีติ เผา พยาปาทนิวรณ์
    สุข เผา อุทัธจจกุกกุจจนิวรณ์
    เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์

    ต่อเมื่อเผาหรือข่มนิวรณ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ธรรมอันเป็นเครื่องขัดขวาง
    มิให้เกิดฌานนี้ได้เมื่อใดฌานจิตจึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้
    ยังคงอยู่แม้แต่อย่างเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
    เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต
    ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นี้ว่าเป็น องค์ฌาน
    เพราะ เป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต

    การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
    เป็นการประหารไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม
    ซึ่งเปรียบไว้ว่าประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็ขึ้นไม่ได้ฉันใด
    ถ้าฌานยังไม่เสื่อม นิวรณ์ก็ไม่มีโอกาสจะกำเริบขึ้นได้ฉันนั้น
    หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็เสื่อมไปเมื่อนั้น
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕ ประการใดนั้น มีอธิบายไว้ดังต่อไปนี้

    ๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรื่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า
    ใช้ดินมาทำเป็นดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือ ดวงกสิณนี้หมายความว่า
    ต้องเพ่งดวงกสิณ ไม่ให้จิตใจไปคิดอะไรอื่น ถ้าไปคิดอะไรอื่นก็หมายความว่า
    มี ถีนมิทธะ คือจิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง คลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่ง
    เป็นจิตที่ตกไปจากดวงกสิณแล้ว ต้องยกจิตให้กลับมาสู่ดวงกสิณใหม่
    คือให้เพ่งดวงกสิณอีก จนไม่คลาดไปจากดวงกสิณเลยเช่นนี้
    เป็นอันว่ามีวิตกโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตมีวิตกอยู่เฉพาะดวงกสิณ
    ก็ได้ว่าชื่อว่าเผาหรือข่มถีนมิทธะ ได้แล้ว เพราะจิตใจไม่ท้อถอยคลาดคลายไปจากดวงกสิณเลย

    ๒. วิจาร คือการประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว
    วิจารก็ประคองไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ไม่ไห้มีการลังเลใจว่า เพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ
    ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น ก็จะหน่ายในการประคองจิต จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
    ความลังเลใจเช่นนี้ก็คือ วิจิกิจฉา เมื่อประคองจิตไม่ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
    โดยปราศจากความลังเลใจ ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์ เผาหรือข่มวิจิกิจฉาได้แล้ว

    ๓. ปีติ คือความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบใจในการเพ่งอารมณ์
    เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์
    โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ
    ในการกระทำเช่นนั้น ขณะที่จิตมีปีติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่
    ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งมาดจะทำร้ายขุ่นเคืองใคร
    จึงได้ชื่อว่าปีตินี้ เผาหรือข่มพยาบาทนิวรณ์ได้แล้ว

    ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจนี้มีถึง ๕ ประการ คือ
    ก. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
    ข. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
    ค. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ถึงกับตัวโยกตัวโคลง
    ง. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนตัวลอย
    จ. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มอาบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ

    ปีติที่เป็นองค์ฌาน สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น
    ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน
    เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่

    ๔. สุข ในองค์ฌานนี้หมายถึงความสุขใจ คือ โสมนัสเวทนานั้นเอง เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
    ประคองจิตจนตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ ถึงกับเกิดปีติเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นสุขใจยิ่งนัก
    ความสุขก็คือความสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นธรรมดา
    จึงได้ชื่อว่าสุขนี้เผาหรือข่ม อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ได้แล้ว

    ๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
    ที่เพ่งดังที่กล่าวมาเป็นลำดับเช่นนี้แล้ว ขณะนั้นจิตใจก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย
    หมายความว่าขณะนั้นไม่ได้คำนึงถึง รูป เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัสถูกต้อง
    แต่ประการใดๆ ทั้งสิ้น แน่วแน่แต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า เอกัคคตา
    นี้เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ได้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2013
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ประเภทแห่งฌาน ๕

    ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทแห่งฌาน ( คือฌานเภท ) ว่ามี ๕ ฌาน
    เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌาน ๕ นี้ได้แก่

    ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา
    ทุติยฌาน ...."...... ๔ . " . _ .วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา
    ตติยฌาน ....".......๓ . " . _ . _ .. ปีติ สุข เอกัคตตา
    จตุตถฌาน .. " ..... ๒ . ". _ . _ ... _ สุข เอกัคตตา
    ปัญจมฌาน ..".......๒ . " . _ . _ . _ . อุเบกขา เอกัคตตา

    มีข้อที่ควรสังเกตว่า จตุตตถฌานก็มีองค์ฌาน ๒ และปัญจมฌานก็มีองค์ฌาน ๒
    ซึ่งจำนวนนั้นเท่ากัน แต่ว่าชนิดขององค์ฌานนั้นไม่เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กรกฎาคม 2013
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๑. ปฐมฌาน ต้องมีองค์ฌานครบทั้ง ๕ เพื่อเป็นเครื่องทำลาย
    เครื่องประหาร เครื่องเผา เครื่องข่ม ปฏิปักษ์ธรรม คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนั้น
    ปฐมฌานกุศลจิตจึงจะเกิดได้
    อนึ่ง ในขณะที่ปฐมฌานจิตเกิดนั้น เกิดพร้อมกับองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ ในขณะเดียวกันด้วย
    และในขณะนั้นเอง องค์ฌานทั้ง ๕ ก็เผาหรือข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ไปพร้อมกันในขณะเดียวกันนั้นอีกด้วย
    หาใช่ว่าองค์ฌานเกิดทีละองค์ เผานิวรณ์ทีละอย่างไม่ แม้ในฌานจิตชั้นอื่นๆ ก็เป็นเช่นที่กล่าวนี้

    ๒. ทุติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๔ โดยละ วิตก ซึ่งเป็นองค์ฌานองค์แรกได้
    ที่ละวิตกเสียได้เพราะ ปฐมฌานลาภีบุคคล คือผู้ที่ได้ปฐมฌาน จะต้องหัดเข้าปฐมฌานจนชำนิชำนาญ
    แคล่วคล่องว่องไวถึง ๕ ประการ ที่เรียกว่ามี วสี ๕ แล้ว จึงจะเริ่มทำทุติยฌานได้ เมื่อจะขึ้นทุติยฌานนั้น
    เห็นว่าวิตกที่เป็นองค์ฌานนี้มีสภาพที่หยาบกว่าองค์ฌานอีก ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงละเสีย
    แล้วเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลยทีเดียว เพ่งปฏิภาคนิมิตตามวิธีการจนทุติยฌานเกิด วสี ๕
    และวิธีการเจริญสมถภาวนาจนฌานจิตเกิดนั้น มีแสดงอยู่ในปริเฉทที่ ๙ จึงของดไม่กล่าวในที่นี้

    อนึ่ง การละวิตกเพราะว่าเป็นของหยาบตามหลักที่กล่าวแล้วนั้น ยังเห็นว่าน่าจะเป็นดังต่อไปนี้ด้วย

    ก. เพราะความชำนาญ มีวสีในปฐมฌานนั้นเอง จึงเริ่มทำทุติยฌานด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลยทีเดียว
    ไม่ต้องเพ่งดวงกสิณเหมือนเมื่อเริ่มทำปฐมฌาน นี่ก็หมายความว่า ไม่ต้องใช้วิตกยกจิตขึ้นเพ่งดวงกสิณ
    ถ้าจะเปรียบก็เห็นจะเปรียบได้ว่า เหมือนเด็กที่เริ่มเรียนเลขบวกว่า ๔ กับ ๓ บวกกันได้เท่าใด
    ซึ่งอาจจะต้องทำพิธีคิด คือยกมือซ้ายชูขึ้น ๔ นิ้ว ยกมือขวาชูขึ้นอีก ๓ นิ้ว แล้วนับจึงจะตอบได้ว่าเป็น ๗
    นี่แปลว่าต้องมีพิธีในการคิด คือมีวิตก ถ้าหากว่าเรียนมาคล่องแคล่วชำนาญแล้ว ก็ตอบได้ในทันทีที่ถามว่า
    เป็น ๗ โดยไม่ต้องชูนิ้ว ไม่ต้องนับ เท่ากับว่าไม่ต้องคิด ไม่ต้องใช้วิตก

    ข. ผู้เข้าปฐมฌานจนถึงมีวสีแล้ว ย่อมไม่มีความหดหู่ท้อถอย
    ไม่หย่อนคลายความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์นั้นแล้ว
    คือปราศจากถีนมิทธะแล้ว จึงไม่ต้องอาศัยวิตกหรือไม่ต้องใช้วิตกมาเผา
    มาข่มถีนมิทธะอีก เพราะปฐมฌานได้ข่มถีนมิทธะจนอยู่มือแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กรกฎาคม 2013
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ๓. ตติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา โดยละวิจาร ซึ่งเป็นองค์ฌานองค์ที่ ๒
    ได้อีกองค์ ที่ละวิจารได้อีก เพราะทุติยฌานลาภีบุคคล จะต้องมีวสีในทุติยฌานนั้นแล้ว
    จึงจะเริ่มทำตติยฌานได้ เมื่อจะขึ้นตติยฌาน ก็เห็นโทษของวิจารว่ามีสภาพที่หยาบกว่า
    ปีติ สุข เอกัคคตา จึงละวิจารอันเป็น องค์ฌานที่มีสภาพหยาบนั้นเสีย
    ให้สมกับตติยฌานอันเป็นฌานที่ประณีตกว่าทุติยฌาน จึงเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิต
    จนกว่าตติยฌานจิตจะเกิดที่ตติยฌานละวิจารได้ นอกจากหลักที่กล่าวแล้วข้างบนนี้
    น่าจะเป็นดังนี้ด้วยคือ ปฐมฌานได้เผาได้ข่มความลังเลใจคือวิจิกิจฉามาแล้ว และทุติยฌาน
    ก็ได้เผาได้ข่มซ้ำอีกต่อหนึ่งด้วย ข่มวิจิกิจฉาเสียจนอยู่มือแล้ว
    ในการทำตติยฌานจึงไม่ต้องอาศัยวิจารมาเผาข่มวิจิกิจฉานิวรณ์นี้อีก

    ๔. จตุตถฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่านั้น โดยละ ปีติ ได้อีก คงเหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา
    ตติยฌานลาภีบุคคลผู้มีวสีในตติยฌานแล้ว ก็พิจารณาเห็นว่าปีติที่เป็นองค์ฌานองค์หนึ่งนั้น
    เป็นความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจจนซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจนี้
    มีอาการโน้มเอียงไปในทางที่มีความลิงโลดใจอยู่ นับได้ว่ามีสภาพเป็นของหยาบอยู่
    เมื่อต้องการฌานที่ประณีตขึ้นไปอีกก็ไม่ควรที่จะติดใจในของหยาบเช่นนี้ในเวลาที่เจริญเพื่อขึ้นจตุตถฌาน
    จึงละปีติเสีย ดังนั้น เมื่อจตุตถฌานจิตเกิด จึงเหลือองค์ฌานเพียง ๒ องค์ คือ สุขกับเอกัคคตา

    ๕. ปัญจมฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่ากันกับจตุตถฌาน แต่ไม่เหมือกันกับจตุตถฌาน
    กล่าวคือ จตุตถฌานมีสุขกับเอกัคคตาเป็นองค์ฌาน ส่วนปัญจมฌานนี้มีอุเบกขากับเอกัคคตาเป็นองค์ฌาน
    สุขที่เป็นองค์ฌานนี้ หมายถึงสุขใจ คือ โสมนัสเวทนานั่นเอง ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า
    โสมนัสเวทนาในฌานเป็นของหยาบกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่าอุเบกขาเวทนาในฌาน
    เมื่อจตุตถฌานลาภีบุคคลมีวสีในจตุตถฌานแล้ว พิจารณาเห็นว่าปัญจมฌานเป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน
    จึงได้ละสุขเสีย มาตั้งอยู่ในความวางเฉยต่อความสุข คืออุเบกขา
    ดังนั้นขณะที่เกิดปัญจมฌานจิตจึงพร้อมด้วยองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขากับเอกัคคตา
    ดังนี้จะเห็นได้ว่า ประเภทแห่งฌาน ๕ หรือ รูปาวจรจิตมี ๕ ฌานนั้นแตกต่างกันที่องค์ฌาน
    แต่ละฌานแต่ละชั้น ซึ่งมีจำนวนมากน้อยลดหลั่นกันเป็นข้อสำคัญ ส่วนอารมณ์นั้นอาจจะเป็นอารมณ์
    อย่างเดียวกัน ไม่แตกต่างกันก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กรกฎาคม 2013
  14. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210

    เข้าใจว่าฌานห้านี้หากเทียบปฏิบัติคือเวทนานุสติกรรมฐาน
    ในสติปัฏฐานสี่
    ใช่หรือไม่อย่างไรขอรับ

    แล้วฌานสี่นี้อาการทางโลกคือเบื่อโลก
    อยากบวช
    อยากหนีไปที่ไม่มีผู้คน
    เบื่อคน
    เบื่อตัวเอง

    แต่เบื่อๆอยากๆหรือไม่อย่างไร

    ผลของฌานห้าในเรื่องทางโลกละขอรับ
    เป็นอย่างไร
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อายาตนะมีหก
    เพื่อนเขาบอกว่าจิตเกิดขึ้นได้ทีละดวงแล้วดับไป
    แต่เกิดไวมาก

    มาเรื่องวินญานมีหก
    ตามอายาตะนะ
    จักษุวินญานรับ
    จิตเกิดตรงจักษุหรือไม่พอเห็นเขาก็เปลี่ยนไปที่อื่นทันทีหรือไม่เช่นหันไปฟัง

    ตาดูหูฟังสมองคิดประมวล

    ลองหลับตา
    ตาไม่เห็นแต่หูได้ยิน
    จมูกตามหรือไม่

    เขาเกิดพร้อมกันหรือคนละเกิด
    หากตามให้ทัน
    ตาไม่เห็นหูก็ไม่ฟัง
    หูไม่ได้ยินตาก็ไม่ตามไปดูหรือไม่

    อย่างไรวิญญานอย่างไรจิตหรือขอรับ
     
  16. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ได้แล้ว[/QUOTE]
    [/SIZE][/COLOR]
    ได้ตอนไหนหรือขอรับ
    ได้ตอนที่ท่านนั่งหลับตาอยู่หรือไม่
    หากท่านลืมตาขึ้นมายังได้อีกไหม
    และหากได้เรียกอะไร

    หากไม่ได้หรือได้ไม่หมด
    อย่างแก่นแท้ของเหตุคือกามนี้ไปตัดตอนไหน
    อรูปฌานแปดหรือไม่

    แล้วฌานสี่นี้ไปตัดอะไรได้
    ขันธ์หรือนิวรณ์ขอรับ
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อารมณ์ที่ให้เกิดฌาน

    อารมณ์ที่ใช้เพ่งให้เกิดฌานจิตนั้น เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน แสดงไว้โดยละเอียดในปริจเฉทที่ ๙
    ในที่นี้ขอยกมากล่าว โดยย่อพอเป็นเค้าที่เกี่ยวแก่ฌานจิตนี้ คือ

    ปฐมฌาน มีอารมณ์ได้ ๒๕ อย่าง
    ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๓
    ( พรหมวิหาร ๓ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา )

    ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน มีอารมณ์ได้ ๑๔ อย่าง
    ได้แก่ กสิณ ๑๐ อานาปานสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๓

    ปัญจมฌาน มีอารมณ์ได้ ๑๒ อย่าง ได้แก่ กสิณ ๑๐ อานาปานสติ ๑
    และอุเบกขาพรหมวิหาร ๑

    ฌานจตุกนัย

    ตามที่กล่าวมาแล้วเป็นการกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม ซึ่งจำแนกประเภทแห่งฌาน
    ออกเป็นฌาน ๕ เรียกว่า ฌานปัญจกนัย
    แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตร
    จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้

    ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ...............ปีติ สุข เอกัคคตา

    ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ ................สุข เอกัคคตา

    จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ ..............อุเบกขา เอกัคคตา

    น้อยกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรม ๑ ฌาน โดยทุติยฌาน ละได้ทั้งวิตกและวิจารพร้อมกันเลย
    เท่ากับรวมทุติยฌานกับตติยฌาน ทางปัญจกนัย ๒ ฌาน รวมกันเป็นฌานเดียว
    ซึ่งทางจตุกนัยจัดเป็นทุติยฌานเท่านั้นเอง ฌานอื่นๆ นอกนั้นก็ทำนองเดียวกัน

    ส่วนทางพระอภิธรรมที่จำแนกฌานเป็นปัญจกนัย ก็เพื่อให้ตรงตามสภาวะ ตรงตามประเภทจิต
    และตรงตามจำนวนของจิตที่มีอยู่ และที่ทุติยฌานละได้แต่เพียงวิตกอย่างเดียว
    ต่อเมื่อตติยฌานจึงจะละวิจารได้อีกนั้นก็เพราะเป็น มันทบุคคล คือผู้รู้ช้า
    จึงละได้เพียงฌานละหนึ่งองค์ฌานเท่านั้น แต่ถ้าเป็น ติกขบุคคล คือผู้รู้เร็ว
    ก็ละได้ทีเดียวทั้งวิตก วิจาร เหมือนกัน

    เหตุนี้ทางพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๘
    และเมื่อกล่าวถึงการเข้าฌานสมาบัติจึง กล่าวว่าสมาบัติ ๘
    ทางพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๙ สมาบัติ ๙
    ฌานปัญจกนัยตามแนวแห่งพระอภิธรรมที่กล่าวถึงอยู่นี้ มีฌาน ๕ และเมื่อจำแนกโดยชาติเภท
    คือตามประเภทแห่งชาติ มี กุศล วิบาก กิริยา แล้ว ก็มี รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรวิบากจิต ๕
    รูปาวจรกิริยาจิต ๕ รวม ๑๕ ดวง มีรายละเอียดดังต่อ ไปนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปาวจรกุศลจิต

    รูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่บำเพ็ญจนถึงรูปฌาน เป็นจิตที่ตกแต่งบุญกุศลไว้เพื่อรับสมบัติ
    คือ เป็นรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง คือ

    ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรกุศลดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกุศล

    ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรกุศลดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกุศล

    ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกุสลจิตฺตํ
    รูปาวจจรกุศลดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกุศล

    ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกุศลจิตฺตํ
    รูปาวจรกุศลดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกุศล

    ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกุสลจิตฺตํ
    รูปาวจรกุศลดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกุศล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9622-5.jpg
      9622-5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.2 KB
      เปิดดู:
      82
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปาวจรวิบากจิต

    รูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เสวยสมบัติซึ่งรูปาวจรกุศลจิตได้ตกแต่งมาให้
    เป็นจิตของรูปพรหมในพรหมโลกจำนวน ๕ ดวง อันเป็นจำนวนที่เท่ากันกับรูปาวจรกุศลจิต

    รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง คือ

    ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานวิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานวิบาก

    ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานวิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานวิบาก

    ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานวิปากจิตฺตํ
    รูปาวจจรวิบากดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานวิบาก

    ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานวิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานวิบาก

    ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานวิปากจิตฺตํ
    รูปาวจรวิบากดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานวิบาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    รูปาวจรกิริยาจิต

    รูปาวจรกิริยาจิต เป็นจิตโดยเฉพาะของพระอรหันต์ที่เข้ารูปฌานตามสำนวนเก่าอธิบายว่า
    รูปาวจรกุศลกับรูปาวจร- กิริยาก็เหมือนกัน ต่างแต่ที่เกิด รูปาวจรกุศลเกิดในสันดานปุถุชน
    และเสกขบุคคล ( เสกขบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี )
    ส่วนรูปาวจรกิริยาเกิดในสันดาน พระขีณาสพ ( พระขีณาสพ หรือ อเสกขบุคคล คือ พระอรหันต์ )
    รูปาวจรกิริยาจิต มีจำนวน ๕ ดวง คือ

    ๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ปฐมฌานกิริยาจิตฺตํ
    รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกิริยา

    ๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ทุติยฌานกิริยาจิตฺตํ
    รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกิริยา

    ๓. ปีติสุเขกคฺคตา สหิตํ ตติยฌานกิริยาจิตฺตํ
    รูปาวจจรกิริยาดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกิริยา

    ๔. สุเขกคฺคตา สหิตํ จตุตฺถฌานกิริยาจิตฺตํ
    รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกิริยา

    ๕. อุเปกฺเขกคฺคตา สหิตํ ปญฺจมฌานกิริยาจิตฺตํ
    รูปาวจรกิริยาดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกิริยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...